วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2009, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรม ท่านพุทธทาสภิกขุ


ระยะแห่งการปฏิบัติธรรม

สัมมาทิฏฐิที่เป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน... เกิดขึ้นเท่าใด ก็จูงองค์อื่นๆให้เกิดขึ้นตามส่วน. องค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยอุดหนุนสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็จูงองค์นั้นๆให้กล้าขึ้นอีก.....
และ ส่งเสริมชักจูงกันไปต่อไปอีกโดยทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอ และ สามัคคีพร้อมกันได้ครบองค์
การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เอง คือ ระยะแห่งการปฏิบัติธรรม

ยิ่งมาก ก็ยิ่งเร็ว
ยิ่งอธิษฐานใจกล้า ก็ยิ่งแรง
ยิ่งในที่วิเวก ก็ยิ่งสุขุมลุ่มลึก
ยิ่งชำนาญ ก็ยิ่งคมกล้า




โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2009, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรม ท่านพุทธทาสภิกขุ

อริยบุคคล

การเป็นอริยบุคคล มิใช่สิ่งที่เป็นแทน หรือ ทำให้แก่กันได้
มิใช่ สิ่งสำหรับยกขึ้นเป็นเครื่องเชิดชูตัวเอง ให้ผู้อื่นกราบไหว้ หรือ นับถือ เหมือนประกาศนียบัตร ดีกรี หรือ ยศศักดิ์
เพราะเหตุนั้น อริยบุคคล จึงไม่มีเครื่องหมายภายนอก เป็นเครื่องแสดงอย่างแน่นอน
การเป็นอริยบุคคลนั้น
จะให้ใครช่วยตั้ง ก็ไม่ได้
จะตั้งตัวเองเอาเอง ก็ไม่ได้

ธรรมเท่านั้น เป็นผู้ตั้งให้เอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2009, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรม ท่านพุทธทาสภิกขุ


การเจริญสมาธิ

บุคคลผู้เจริญสมาธิด้วยคิดว่า แหม เขาจะเห็นได้ว่า ฉันเป็นคนปฏิบัติธรรมะชั้นสูง นั่งสมาธิได้แล้วพากันสรรเสริญก็ตาม หรือ ด้วยคิดว่า การเจริญสมาธินั้นจะทำให้เป็นผู้วิเศษ ได้แว่นวิเศษ มองเห็นนรก มองเห็นสวรรค์ มองเห็นโลกหน้า เป็นผู้มีอิทธฤทธิ์โดยประการต่างๆ อย่างนี้ก็ตาม หรือว่า เจริญสมาธิด้วยเจตนามุ่งเพื่อความเป็นพรหมขั้นใดขั้นหนึ่งก็ตาม สมาธิอย่างนี้ เรียกว่า ได้ลูกโป่ง คือได้บุญ.... ไม่ใช่ได้มีดหรือกุศล

ต่อเมื่อใด เจริญสมาธิในลักษณะที่ว่า ขออย่าให้ความชั่วร้าย๕อย่างมาเกิดเวียนตอมอยู่ในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ปลอดโปร่งจากความชั่วร้าย ที่มักเกิดในปริมณฑลของใจมนุษย์นั้น เป็นการมีใจสงบสุขหรือมีความแจ่มใส พอใจที่จะเจริญปัญญา... อย่างนี้เรียกว่า ได้กุศล หรือ ได้มีด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


บทความนี้ แสดงโดย ท่านพุทธทาส

ชาวพุทธในยุคปัจจุบันทุกๆท่าน สมควรได้อ่าน



จาก หนังสือ โพธิปักขิยธรรม


เรื่องแรก คือ เรื่อง กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เอากายมาเป็นอารมณ์ เป็นวัตถุสำหรับตั้งสติ;-
ในที่นี้เราจะเอากายตามความหมายธรรมดา คือเนื้อหนังร่างกายนี้ ; เอาเนื่องหนังร่างกายมากำหนด
....ๆลๆ...
.........................

คำว่า กายนี้ ยังหมายถึงลมหายใจด้วย เพราะว่า ลมหายใจ นั้นเนื่องอยู่กับกาย แล้วปรุงแต่งกาย หรือ เป็นตัวชีวิตนั่นเอง. พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่ากายเป็นชื่อๆหนึ่งของลมหายใจ ลมหายใจนี้มันปรุงแต่งกาย กายขาดเครื่องปรุงแต่งเมื่อไรก็สลายเมื่อนั้น . .ดังนั้น ลมหายใจจึงถูกเรียกว่ากายด้วย.

ตั้งสติอย่างที่๑ คือ ถ้าเอากายลมหายใจมากำหนด เหมือนกำหนดอานาปานสติขั้นแรกๆ : หายใจยาวรู้ว่าหายใจยาว หายใจสั้นรู้ว่าหายใจสั้น. กำหนดกายเพียงเท่านี้ อย่างนี้ เป็น สมถะ มีผลทำให้หยุดความฟุ้งซ่านกระวนกระวาย แม้จะทำไปได้มากจนถึงเป็นฌาน เป็นสมาบัติสูงสุด มันก็อยู่แค่สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญ ไม่เป็นทุกข์ แต่ยังไม่หายโง่. นี่กำหนดที่ร่างกายนี้ก็ดี กำหนดที่ลมหายใจก็ดี เพียงประโยชน์แค่ความสงบ หยุดฟุ้งซ่าน นี้อย่างหนึ่ง เรียกว่าตั้งสติไว้อย่างสมถะ.

อย่างที่สอง ตั้งสติอย่างวิปัสสนา หรือ ปัญญา .ตอนนี้เมื่อใจคอปกติดีแล้ว ก็พิจารณากายว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา .ลมหายใจนั้นก็ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา .ชาวบ้านเรียกว่า ยกพระไตรลักษณ์เข้ามาจับ หรือว่า ยกอารมณ์ขึ้นไปสู่พระไตรลักษณ์ก็ได้เหมือนกัน .ยกพระไตรลักษณ์มาใส่ หรือ ว่ายกอารมณ์นี้ไปหาพระไตรลักษณ์ก็เหมือนกัน .ให้มาพบกับพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็แล้วกัน.ถ้าเพ่งอย่างนี้ เพ่งกายนั่นละ แต่เพ่งอย่างนี้เรียกว่า ตั้งสติอย่างปัญญา หรืออย่าง วิปัสสนา.

เรื่อง “ความเพ่ง “ นี้ ก็ได้พูดให้ฟัง กันมาหลายครั้งหลายหนแล้ว .คำว่า เพ่ง คือ ฌานะ แปลว่าเพ่ง. ฌาน นี้แปลว่าเพ่ง . ถ้าเพ่งอย่างกำหนดอารมณ์ก็เป็นสมถะ ถ้าเพ่งลักษณะให้รู้ความจริงก็เป็นปัญญาหรือวิปัสสนา มันมีอยู่สองเพ่ง. คำว่าเพ่งใช้สับสนปนเปกันไปหมดจนลำบาก พวกที่แปลเป็นภาษาฝรั่งก็ใช้ผิดๆ จนฝรั่งอ่านไม่รู้เรื่อง หรือ ไม่ได้เรื่องที่แท้จริง มันปนกันหมดระหว่างคำว่า meditate concentrate speculate อะไรนี้ ปนกันยุ่งไปหมด

ถ้าจะเอาเป็นหลักเป็นเกฌฑ์ meditate นี้เป็นเพ่งเฉยๆ เพ่งอย่างไรก็ได้ . ถ้า meditate ลงไปในวัตถุนั้นก็เป็น concentrate คือ รวบรวมจิต กระแสจิตทั้งหมดมาจดจ่ออยู่ที่สิ่งนี้สิ่งเดียวเป็น concentrate . ถ้าเพ่งรายละเอียด หาข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็กลายเป็น speculate ก็รู้ข้อเท็จจริงอันละเอียดลึกซึ้งออกไป .เดี๋ยวนี้เอาคำว่า concentrate กับ meditate มาใช้ปนกันยุ่ง ในหนังสือที่เขียนเป็นภาษาต่างประเทศมันก็ลำบาก . แม้แต่ในภาษาไทยนี้ก็ยังลำบาก.

ต้องไปหาหลักที่ถูกต้องและแน่นอนว่า
คำว่า ฌานะ แปลว่า เพ่ง .
ถ้าเพ่งอารมณ์ก็เพ่งให้จิตหยุดอยู่ที่นั่น แล้วเป็นสมถะ.
ถ้าเพ่งหาความจริงอย่างลึกซึ้งก็เป็นปัญญา หรือ เป็นวิปัสสนา
.

คำว่า สติปัฏฐาน คำเดียวนี้ มีความหมายสองอย่าง แยกไปในทางสมถะก็ได้ แยกไปในทางวิปัสสนาก็ได้ .
เหมือนอย่างที่พูดแล้ว สำหรับกายว่าเป็นอย่างไร . เพ่งให้จิตหยุดอยู่ที่นั่น คือ เพ่งกายให้จิตหยุดอยู่ที่นั่นก็เป็นสมถะ .เพ่งกาย ให้รู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปัญญา.



เรื่องที่สอง เวทนานุปัสสสนาสติปัฏฐาน เอาเวทนามาเพ่งเป็นอารมณ์ ;-
.....ๆลๆ......
......................



เรื่องที่สาม คือ จิต : กำหนดลักษณะจิตเป็นอย่างไร กำลังเป็นอยู่อย่างไร กำลังโกรธ หรือกำลังรัก หรือกำลังอะไรก็ตาม : อย่างนี้มันเป็นสมถะ เอาจิตเป็นอารมณ์ พอกำหนดจิตอีกอันหนึ่ง คือเพ่งเข้าไปที่นั้นเป็นสมถะ

ทีนี้ก็ดูต่อไป ดูจิต เพ่งต่อไปถึงว่าจิตนี้คือเป็นสักว่าธาตุ วิญญาณธาตุ ประกอบอยู่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาใส่เข้าไปที่จิต ไม่ให้เป็นตัวตน ไม่ให้เป็นตัวกู-ของกู ไม่ให้เป็นตัวตนของตน อย่างนี้ก็เป็นปัญญา เป็นวิปัสสนา

พิจารณาจิตก็มี ๒ อย่าง
เพียงรู้ว่าจิตเป็นอย่างไรกำหนดเท่านี้ก็เป็นสมถะ กำหนดเพียงภาวะว่าจิตของเรากำลังเป็นอย่างไรเท่านั้นเป็นสมถะ
ถ้าว่ากำหนดข้อเท็จจริงของมันเป็นอย่างไร ที่มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างไร นี่เรียกว่าปัญญาเป็นวิปัสสนา

ๆลๆ......
.................................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร