วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 05:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2008, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m208749.gif
m208749.gif [ 23.74 KiB | เปิดดู 5168 ครั้ง ]
ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ

อธิจิตตสิกขา คือการฝึกปรือเพื่อเสริมสร้างคุณภาพและสมรรถภาพของจิต

ดังนั้น สมาธิ ซึ่งเป็นเป้าหมายของอธิจิตตสิกขานั้น จึงหมายถึง ภาวะจิตที่มีคุณภาพและมีสมรรถภาพดี

ที่สุด

จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณภาพดีมีสมรรถภาพนั้น มีลักษณะที่สำคัญดังนี้


1. แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนกระแสน้ำที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทิศทางเดียว

ย่อมมีกำลังแรงกว่าน้ำที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป

2. ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระหรือบึงน้ำใหญ่ ที่มีน้ำนิ่ง ไม่มีลมพัดต้อง

ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว

3. ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่นละอองที่มีก็ตกตะกอน

นอนก้นหมด

4. นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน

ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


ไวพจน์ที่แสดงความหมายของสมาธิคำหนึ่งคือ เอกัคคตา แปลกันว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว

แต่ถ้าว่าตามรูปศัพท์ จะเห็นลักษณะของจิตที่คล้ายกับข้อแรกคือ เอกัคคตา = เอก+อัคค+ตา (ภาวะ)

คำว่า อัคคะ ในที่นี้ ท่านให้แปลว่า อารมณ์

แต่ความหมายเดิมแท้ก็คือ จุดยอด หรือจุดปลาย

โดยนัยนี้

จิตเป็นสมาธิก็คือจิตที่มียอด หรือ มีจุดปลายจุดเดียว ซึ่งย่อมมีลักษณะแหลมพุ่ง

แทงทะลุสิ่งต่างๆไปได้ง่าย

จิตที่เป็นสมาธิขั้นสมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่งสมาธิถึงขั้นฌาน

พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า จิตประประกอบด้วยองค์ 8

องค์ 8 นั้นท่านนับจากคำบรรยายที่เป็นพุทธพจน์นั่นเอง กล่าวคือ


1. ตั้งมั่น 2. บริสุทธิ์ 3. ผ่องใส 4 โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา 5. ปราศจากสิ่งมัวหมอง 6. นุ่มนวล

7. ควรแก่งาน 8. อยู่ตัวไม่วอกแวกหวั่นไหว


(องค์ 8 ตามบาลี คือ 1.สมาหิตะ 2.ปริสุทธะ 3 ปริโยทาตะ 4. อนังคณะ

5. วิคตูปกิเลส 6.มุทุภูตะ 7. กัมมนิยะ 8. ฐิตะ อาเนญชัปปัตตะ

มีที่มามากมาย เช่น ที.สี. 9 /131/101; ม.มู.12/48/38 ฯลฯ)


ท่านว่าจิต ที่มีองค์ประกอบเช่นนี้ เหมาะแก่การนำเอาไปใช้ได้ดีที่สุด

ไม่ว่าจะเอาไปใช้งานทางปัญญา พิจารณาให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด

หรือใช้ในทางสร้างพลังจิตให้เกิดอภิญญาสมาบัติอย่างใดๆ ก็ได้


-ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วยก็คือ

ความควรแก่งาน หรือความเหมาะแก่งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาก็คือ

งานทางปัญญา อันได้แก่การใช้จิตพร้อมดีเช่นนั้น

เป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง

และ โดยนัยนี้ จึงควรย้ำเพิ่มไว้อีกด้วยว่า สมาธิที่ถูกต้อง ไม่ใช่อาการที่จิตหมดความรู้สึก

ปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ

แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โล่งโปร่ง หลุดออกจากสิ่งบดบังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง

ตื่นอยู่ เบิกบาน พร้อมที่จะใช้ปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 21:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2008, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




908650e6nbhrlj0r.gif
908650e6nbhrlj0r.gif [ 119.8 KiB | เปิดดู 5167 ครั้ง ]
ความหมายสมาธิ



สมาธิ แปลกันว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือ ภาวะทิ่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด

คำจำกัดความของสมาธิที่พบเสมอ คือ จิตตัสเสกัคคตา หรือเรียกสั้นๆว่า เอกัคคตา แปลว่า

ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ การที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านหรือส่ายไป


คัมภีร์รุ่นอรรถกถาระบุความหมายจำกัดลงไปอีกว่า สมาธิ คือภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียวของกุศลจิต

และไขความออกไปอีกว่า หมายถึงการดำรงจิตและเจตสิกไว้ในอารมณ์หนึ่งเดียว

อย่างเรียบสม่ำเสมอ และด้วยดี

(วิสุทธิ.1/105; นิทฺ.อ.2/99 ฯลฯ)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

สัมมาสมาธิ ตามคำจำกัดความในพระสูตรทั่วไป เจาะจงว่าได้แก่สมาธิตามแนวฌาน 4 ดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิเป็นไฉน ? (คือ) ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1. สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ซึ่งมีวิตก มีวิจาร

มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่

2. บรรลุทุติยฌาน ซึ่งมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีภาวะใจเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก

ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีแต่ปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่

3.เพราะปีติจางไป เธอจึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย บรรลุทุติยฌาน

ที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

4. เพราะละสุขและทุกข์ และเพราะโสมนัสโทมนัสดับหายไปก่อน จึงบรรลุจตุตถฌาน

อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่”

(ที.ม.10/299/349 ฯลฯ)



อย่างไรก็ตาม คำจำกัดความนี้ น่าจะถือว่าเป็นการแสดงความหมายแบบเต็มกระบวน ดังจะเห็นว่า

บางแห่งท่านกล่าวถึงจิตตัสเสกัคคตานั่นเองว่า เป็นสมาธินทรีย์ ดังความบาลีว่า

“ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์คือสมาธิ (สมาธินทรีย์) เป็นไฉน ? (คือ)

อริยสาวในธรรมวินัยนี้ กำหนดเอาภาวะปล่อยวางเป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ

ได้เอกัคคตาแห่งจิต นี้เรียกว่า อินทรีย์คือสมาธิ”


(สํ.ม.19/874/264 ฯลฯ )


ส่วนคำจำกัดความ ในคัมภีร์อภิธรรม ว่าดังนี้


“สัมมาสมาธิ เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความตั้งมั่นแห่งจิต ความมั่นลงไปแห่งจิต

ความไม่ส่ายไป ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่มีใจไม่ซัดซ่าน ความสงบ (= สมถะ)

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค

อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ”


(อภิ.วิ.35/183/140; 589/322)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 21:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2008, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




559802.gif
559802.gif [ 57.14 KiB | เปิดดู 5166 ครั้ง ]
ว่าโดยสาระสำคัญ สมาธิที่ใช้ถูกทาง เพื่อจุดหมายในทางหลุดพ้น

เป็นไปเพื่อปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง

มิใช่เพื่อผลในทางสนองความอยากของตน เช่น อวดความสามารถ เป็นต้น นั่นเอง

เป็นสัมมาสมาธิ *

ดังหลักฐานที่ท่านแสดงไว้ว่า ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเจริญวิปัสสนาได้โดยใช้สมาธิเพียงขั้นต้นๆ

ที่เรียกว่าวิปัสสนาสมาธิ คือสมาธิที่ประกอบกับวิปัสสนา หรือเพื่อสร้างปัญญาที่รู้แจ้ง


* สังเกตความหมายที่อรรถกถาแสดงไว้อีกแห่งหนึ่งว่า สัมมาสมาธิ ได้แก่ ยาถาวสมาธิ

(สมาธิที่แท้หรือสมาธิที่ตรงตามสภาวะ)

นิยยานิกสมาธิ (สมาธิที่นำออกจากวัฏฏะ คือนำไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์หรือสู่ความเป็นอิสระ)

กุศลสมาธิ (สมาธิที่เป็นกุศล)

เช่น สงฺคณี.อ. 244


:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

ข้ออุปมาของพระอรรถกถาจารย์เกี่ยวกับสมาธินี้ก็น่าฟัง

ท่านว่า สมาธิทำให้จิตตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างสม่ำเสมอ

ทำให้องค์ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกับมันผนึกประสานกันอยู่ ไม่พร่า ไม่ฟุ้งกระจาย เหมือนน้ำผนึก

ประสานแป้งเข้าเป็นก้อนเดียว และทำให้จิตสืบต่ออย่างนิ่งแน่วมั่นคง

เหมือนเปลวเทียนในที่สงัดลมลุกไหม้ไปเรื่อยๆ ส่องแสงสว่างสม่ำเสมอเป็นอย่างดี

(สงฺคณี อ. 209; วิสุทธิ.3/37 ฯลฯ)


-คำว่า ตั้งมั่น หรือเป็นสมาธิ ตามรูปศัพท์จะแปลว่า ทรงตัวเรียบก็ได้ ดูเหมือนว่า

ถ้าแปลอย่างนี้จะให้ความรู้สึกเป็นการเคลื่อนไหวดีกว่า คือ คล้ายกับแปลว่า เดินแน่วสม่ำเสมอ

เหมือนคนใจแน่วแน่เดินเรียบบนเส้นลวดซึ่งขึงในที่สูง

-คำว่า ไม่กระสับกระส่าย จะแปลว่า ไม่เครียดก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 21:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2008, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


-ในอกุศลจิต เอกัคคตา หรือสมาธิก็เกิดได้ -ดังที่ อภิ.สํ. 34/275-337/108-127

แสดงการที่เอกัคคตา สมาธินทรีย์ และมิจฉาสมาธิ ประกอบร่วมอยู่ในจิตที่เป็นอกุศล

และอรรถกถาได้ยกตัวอย่าง คนที่มีจิตแน่วแน่ในขณะเอาศัสตราฟาดฟันลงที่ร่างกายของสัตว์

ไม่ให้ผิดพลาด

ในเวลาตั้งใจลักของเขา และในเวลาประพฤติกาเมสุมิจฉาจารเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เอกัคคตาในฝ่ายอกุศลนี้มีกำลังน้อย อ่อนแอ ไม่เข้มแข็งทนทาน

เหมือนในฝ่ายกุศล เปรียบดังเอาน้ำราดในที่แห้งฝุ่นฟุ้ง ฝุ่นสงบลงชั่วเวลาสั้น

ไม่นานที่ก็จะแห้งมีฝุ่นขึ้นตามเดิม

(สงฺคณี.อ.243,308,385)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 21:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2009, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b44:

คุณภาพจิต...แข็งแรง//ราบเรียบสงบ//ใส่กระจ่าง//นุ่มนวลควรแก่งาน

สัมมาสมาธิ
1. สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ซึ่งมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่วิเวก อยู่

2. บรรลุทุติยฌาน ซึ่งมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีภาวะใจเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารระงับไป มีแต่ปีติและสุข เกิดแต่สมาธิ อยู่

3.เพราะปีติจางไป เธอจึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย บรรลุทุติยฌานที่
พระอริยะทั้งหลายกล่าวว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

4. เพราะละสุขและทุกข์ และเพราะโสมนัสโทมนัสดับหายไปก่อน จึงบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่” (ที.ม.10/299/349 ฯลฯ)


:b8: :b8: เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:03
โพสต์: 111


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8:
อนุโมทนาค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2009, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 13:10
โพสต์: 43


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนา สาธุด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 14:42
โพสต์: 121


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: แล้วอย่างนี้เขาเรียกว่าจิตมีสมาธิมัย
เวลานั่งปฏิบัติจิตจะอยู่นิ่ง เหมือนกับจะหลับในฌาน แต่จริง ๆแล้วไม่ได้หลับแต่มีสติรู้ทุก
อย่าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนา สาธุ

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร