วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 09:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 22:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:03
โพสต์: 111


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้กำลังลองหัดนั่งสมาธิอยู่ค่ะ ไม่เคยไปฝึกที่ไหนค่ะ อ่านๆ จากเวปบอร์ดที่นี่แหละค่ะ แล้วลองทำดู ไม่รู้ว่าผิดถูกยังไงบ้าง แนะนำด้วยนะคะ

สวดมนต์ แผ่เมตตาก่อนนอนทุกวันมาได้เกือบปีแล้ว แต่พึ่งลองหัดทำสมาธิได้แค่สองอาทิตย์ ทำไม่ได้ทุกวัน
ใช้วิธีนั่งขัดสมาธิสบายๆอยู่บนเตียง หลับตาจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ เข้านับ1 ออกนับ1 นับไปเรื่อยๆค่ะ พยายามนับให้ได้อย่างน้อยถึง 50 ไม่ได้กำหนดพุทธ โท เพราะคิดว่าอยากบังคับตัวเองให้นั่งได้นานขึ้นเลยใช้วิธีนับค่ะ ก็ลองดูได้ 10 นาทีบ้าง 15 นาทีบ้าง :b15:

วันนี้ได้อ่านวิธีทำสมาธิของหลวงปู่มั่นค่ะ

๏ อิริยาบถนั่งสมาธิ

นั่ง ขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางลงบนตัก ตั้งกายตรง (ไม่นั่งก้มหน้า ไม่นั่งเงยหน้า ไม่นั่งเอียงซ้าย ไม่เอียงขวา ไม่โยกหน้า ไม่โยกหลัง) ไม่กดและข่มอวัยวะในร่างกาย วางกายให้สบายๆ ตั้งจิตให้ตรง ลงตรงหน้า กำหนดรู้ซึ่งจิตเฉพาะหน้า ไม่ส่งจิตให้ฟุ้งซ่าน ไปในเบื้องหน้า-เบื้องหลัง (อนาคตและอดีต) พึงเป็นผู้มีสติ กำหนดจิตรวมเข้าตั้งไว้ในจิต บริกรรม “พุทโธ” จนกว่าจะเป็น
เอกัคคตาจิต

เอกัคคตาจิต หมายถึงอะไรคะ :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




98.jpg
98.jpg [ 45.72 KiB | เปิดดู 7517 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
เอกัคคตาจิต หมายถึงอะไรคะ


คุณแทนขวัญแบมือข้างใดข้างหนึ่งออกสิครับ แล้วกรัชกายจะอุปมาอุปไมยภาพเอกัคคตาจิต
หรือ สมาธิให้พอมองเห็นเป็นรูปธรรม
แบมือออกแล้วนะครับ
นิ้วทั้ง ๕ นิ้ว เปรียบเหมือนจิตที่ฟุ้งซ่าน พุ่งออกหลายทาง จึงไร้กำลัง ไร้อานุภาพ
หรือ เหมือนท่อน้ำที่รั่วไหลในระหว่างๆ น้ำที่ไหลออกปลายท่อปลายสาย จึงไม่แรงพอ

ทีนี้กำมือแล้วชี้นิ้วชี้ไปข้างหน้าสิครับ นั่นลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ จะเหลือเป็นหนึ่งเดียวพุ่งไป
ย่อมมีกำลัง
หรือ เปรียบเหมือนสาย-หรือท่อน้ำที่ไม่มีรูรั่วในระหว่าง ๆ น้ำจึงไหลพุ่งออกทางเดีย และมีกำลังแรง
เอกัคคตาจิตก็ลักษณะนั้น พุ่งไปทางเดียว

ดูความหมายสั้นๆ ดังนี้


เอกัคคตา ได้แก่ ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ ตัวสมาธินั่นเอง


มีตัวอย่าง การฝึกสมาธิของคนๆหนึ่ง
สังเกตข้อความที่ขีดเส้นใต้ นั่นคือลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ จะรับรู้อยู่กับอารมณ์ (งาน)
ได้นานๆ แล้วนิวรณ์มีความฟุ้งซ่านเป็นต้น จะสงบราบคาบลงด้วยกำลังของธรรม มีสมาธิเป็นต้น ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมัน

ตัวอย่างนั้นสั้นๆ ครับ

หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ
ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ สามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น
แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือ มีความรู้พร้อมอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ต.ค. 2009, 19:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 14:05
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายว่าด้วยเอกัคคตาแห่งจิต

ความที่จิตมีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่ง ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตา คำว่า
จิตตัสเสกัคคตานี้ เป็นชื่อของสมาธิ. ก็ในบรรดาธรรมมีลักษณะเป็นต้นของ
สมาธินั้น ท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาก่อนแล้ว. สมาธินั้นมีความ
เป็นประธานเป็นลักษณะ (ปาโมกฺขลกฺขโณ) และมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็น
ลักษณะ (อวิกฺเขปลกฺขโณ).

จริงอยู่ สมาธิชื่อว่า เป็นประธานแห่งธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
เพราะกุศลธรรมทั้งปวงสำเร็จด้วยสมาธิ เหมือนช่อฟ้าเรือนยอดชื่อว่าเป็น
ประธานของทัพสัมภาระของเรือนที่เหลือ เพราะเป็นเครื่องยืดไว้ เพราะ
เหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรว่า มหาบพิตร ไม้จันทันทั้งหลาย
ไม่ว่าอันใดแห่งเรือนยอด ไม้จันทันทั้งหมดเหล่านั้นไปรวมที่ยอดเรือน
น้อมไปที่ยอด ไปประชุมกันยอด เงื้อมไปที่ยอด ยอดเรือน บัณฑิตกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่าไม้จันทันเหล่านั้น ฉันใด ขอถวายพระพรมหาบพิตร กุศลธรรม
ไม่ว่าชนิดใด กุศลธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดน้อมไปสู่สมาธิ ประชุมลงที่สมาธิ
เงื้อมไปสู่สมาธิ สมาธิ บัณฑิต ย่อมเรียกว่าเป็นเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
ฉันนั้น สมาธิชื่อว่า มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ เพราะไม่ให้สหชาตธรรม
ทั้งหลายฟุ้งซ่านกระจัดกระจาย เหมือนพระราชาจอมทัพเสด็จไปสู่ที่ทหาร





--------------------------------------------------------------------------------

ประชุมกันเนืองแน่น ในที่ที่พระองค์เสด็จไป ๆ ทหารย่อมพรั่งพร้อมทำลาย
ทหารข้าศึก ย่อมคล้อยตามพระราชานั่นแหละ.

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า สมาธิ กล่าวคือเอกกัคคตาแห่งจิตนี้ มีความไม่ซ่าน
ไปเป็นลักษณะ หรือมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ มีการประมวลมาซึ่ง
สหชาตธรรมทั้งหลายเข้าด้วยกันเป็นรสดุจน้ำประมวลจุรณสำหรับอาบน้ำ (ทำ
จุรณให้เป็นก้อน) มีความเข้าไปสงบเป็นปัจจุปัฎฐาน หรือมีญาณเป็นปัจจุ-
ปัฏฐาน คือว่า บุคคลมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมทราบชัด ย่อมเห็นตามความ
เป็นจริง ว่าโดยพิเศษ สมาธิมีสุขเป็นปทัฏฐาน บัณฑิตพึงทราบ ความตั้งอยู่
แห่งจิต เหมือนการตั้งอยู่แห่งเปลวประทีปทั้งหลายที่ปราศจากลม ฉะนั้น.

เอกัคคตา หมายถึง ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว
คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่ สมาธิ
(พจนานุกรม เขียน เอกัคตา)

ที่มา : หนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

.....................................................
ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนี ผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้ว มีสติในกาลทุกเมื่อ

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ารัก
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ารัก

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันเร่าร้อน
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 01:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:03
โพสต์: 111


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอบคุณคุณกรัชกาย และคุณเดช ที่มาให้ความรู้แทนขวัญค่ะ

แต่ แทนขวัญปัญญาน้อยค่ะ เท่าที่เข้าใจคือเรานั่งจดจ่ออยู่กับลมหายใจไปเรื่อยๆ ช่วงแรกๆก็อาจจะมีคิดฟุ้งซ่านบ้าง วอกแวกบ้าง แต่ก็ฝึกไปเรื่อยๆพยายามไม่คิดฟุ้งซ่านแต่จดจ่ออยู่กับหายใจเข้าหายใจออกอย่างเดียวจนจิตเราสงบเป็นเวลานานๆได้โดยไม่คิดฟุ้งซ่านอีก ถูกต้องมั้ยคะ

ขออภัยหากแทนขวัญผิดพลาด เพราะเรื่องปัญญาน้อยนี่แหละค่ะ แทนขวัญเลยอยากฝึกสมาธิให้ใจสงบได้นานๆก่อนค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b16: K.กรัชกรายว่าเราจะลองวิธีนี้บ้างใด้ไม๊คะ
เราก็ยังไมรู้ว่าวิธีไหนเหมาะกับเรา หรือคุณจะช่วยแนะนำ :b8:
เราก็เหมือนน้องเค้ามังคะ
:b9: เพราะเรื่องปัญญาน้อยนี่แหละค่ะ เลยอยากฝึกสมาธิให้ใจสงบได้นานๆก่อนค่ะ ชอยืมคำ
คุณแทนขวัญมาใช้ด้วยคนนะคะ
:b19: k. กรัชกรายตอบแล้ว ตบท้ายขอเพลงส่งให้ลูกที่ต่างแดนได้ไม๊คะ :b27: :b27:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
K.กรัชกรายว่าเราจะลองวิธีนี้บ้างใด้ไม๊คะ
เราก็ยังไมรู้ว่าวิธีไหนเหมาะกับเรา หรือคุณจะช่วยแนะนำ
เราก็เหมือนน้องเค้ามังคะ
เพราะเรื่องปัญญาน้อยนี่แหละค่ะ เลยอยากฝึกสมาธิให้ใจสงบได้นานๆก่อนค่ะ
ตบท้ายขอเพลงส่งให้ลูกที่ต่างแดนได้ไม๊คะ


ได้ครับ อุบายวิธีใด ที่จิตจับแล้วเกิดความสงบ สิ่งนั้นก็ใช้ได้ครับ ลองสังเกตดูครับ

ตบท้ายด้วยเพลงส่งให้ลูกสาวที่อยู่แดนไกล :b1:


"ฝากเพลงลอยลม"


http://www.imeem.com/people/LWzSMB/music/6leTK_x2//

เพลง "ค่าน้ำนม" ให้ลูกคนที่นั่งข้างๆ

http://musicstation.kapook.com/newmusic ... php?id=548

"แม่ของใคร" มอบให้ผู้เป็นลูกทุกๆคน :b1:

http://www.pookpuy.com/luktung/?p=235

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ก.พ. 2009, 22:31, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เท่าที่เข้าใจคือเรานั่งจดจ่ออยู่กับลมหายใจไปเรื่อยๆ
ช่วงแรกๆก็อาจจะมีคิดฟุ้งซ่านบ้าง วอกแวกบ้าง
แต่ก็ฝึกไปเรื่อยๆพยายามไม่คิดฟุ้งซ่านแต่จดจ่ออยู่กับหายใจเข้าหายใจออกอย่างเดียวจนจิตเราสงบเป็นเวลานานๆได้โดยไม่คิดฟุ้งซ่านอีก ถูกต้องมั้ยคะ


ถูกครับ :b1:

แต่เสริมความเข้าใจให้นิดหนึ่งว่า
ไม่พึงคิดรังเกียจเดียจฉันท์ความฟุ้งซ่านหรือกิเลสอื่นใด เพราะนั่นเปรียบเสมือนครูสอนเรา ให้เรารู้ว่า
ความสงบเป็นอย่างไร หากไม่มีความฟุ้งซ่าน เปรียบเทียบ เราก็ไม่รู้จักความสงบ
เหมือนเหรียญสองด้านครับ
เมื่อเกิดฟุ้งซ่านให้กำหนดรู้จักความฟุ้งซ่านนั้นว่า "ฟุ้งซ่านหนอๆๆ" เมื่อกำหนดจิตลงอย่างนั้นแล้ว จิตจะเกิดปัญญารู้เห็นตามเป็นจริง ไม่เลือกที่รัก ผลักที่ชัง (มีอุเบกขาอยู่) รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร จะแก้ไขด้วยวิธีใด เห็นไหมครับ กิเลสก็มีประโยชน์ ไม่พึงผลักใสครับ แต่ให้กำหนดรู้ตามเป็นจริง หรือ ตามที่มันเป็น :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ก.พ. 2009, 09:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 14:05
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่ก็ฝึกไปเรื่อยๆพยายามไม่คิด ฟุ้งซ่าน แต่จดจ่ออยู่กับหายใจเข้าหายใจออกอย่างเดียวจนจิตเราสงบเป็นเวลานานๆได้โดยไม่คิดฟุ้งซ่านอีกถูกต้องมั้ยคะ


ความหมายของ "นิวรณ์"

คือเครื่องกั้นขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในธรรม โดยนัยของการปฏิบัติแล้วมีอยู่ 5 ประการได้แก่

1) กามฉันทะ ความพอใจยินดีในกาม
2) พยาบาท ความมุ่งร้าย ผูกใจโกรธแค้น
3) ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาซึมเซา
4) อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน, ความวิตกกังวล, ความหงุดหงิดรำคาญใจ
5) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย


แนวทางกำจัดนิวรณ์ของพระพุทธองค์

หากพิจารณาจากพระพุทธพจน์ที่ชี้แนวจัดการกับนิวรณ์ไว้ พอจะนำมาย่อเป็นหลักรวมได้ดังนี้


- เมื่อนิวรณ์มีอยู่ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่านิวรณ์มีอยู่ภายในจิตของเรา หรือเมื่อนิวรณ์ไม่มีอยู่ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่านิวรณ์ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา

- อนึ่ง นิวรณ์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย นิวรณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย นิวรณ์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

1) เมื่อนิวรณ์มีในจิตก็รู้ เมื่อนิวรณ์หายไปจากจิตก็รู้ ไม่แตกต่างจากที่เคยดำเนินในจิตตานุปัสสนา เหมือนกับหลักของการกำหนดสติรู้อาการของจิตทั่วไป คือเมื่ออาการใดถูกรู้ อาการนั้นย่อมแสดงความไม่เที่ยงให้เห็น

2) รู้ต้นเหตุของนิวรณ์ประจำตน แต่ละคนจะแตกต่างกัน ทว่าตัวของตัวเองย่อมรู้แก่ใจว่าสิ่งใดเป็นต้นเหตุของนิวรณ์ได้บ้าง

3) รู้ว่าหลุดออกมาได้อย่างไร บางคนอาจมีรูปแบบวิธีที่แตกต่าง อันนี้พระพุทธองค์ก็ประทานแนวไว้กว้างๆแบบไม่เจาะจง แต่ให้ครอบคลุมทั่วหมด

4) รู้ว่าวิธีป้องกันไม่ให้เกิดนิวรณ์ อันนี้พระพุทธองค์ก็ประทานแนวไว้ในต่างกาล ต่างบุคคลหลายประการ


หลักการของพระพุทธองค์คือมีทั้ง "ปล่อย" และทั้ง "ห้าม"

คือถ้าเห็นว่าอยู่ในจังหวะที่สามารถรู้ได้ก็ปล่อยให้เกิดแล้วดูมันหายไป เหมือนมองเฉยๆโดยไม่เข้าไปข้องเกี่ยวอันใด ซึ่งความเห็นว่าเกิดแล้วต้องดับลงเป็นธรรมดานั้น บ่อยเข้าย่อมทำให้จิตเป็นกลางได้เอง

เหมือนเห็นไฟไหม้ฟางเส้นเดียวก็อย่าเดือดร้อนวิ่งเต้นหาทางดับ รอดูมันดับไปเองดีกว่า

แต่ถ้าเห็นว่านิวรณ์ครอบงำจิตจนไม่เป็นอันปฏิบัติ ก็ต้องหักห้ามกันด้วยเจตนา ทั้งทางกายและทางใจต่อไป เหมือนเห็นไฟเริ่มลามทุ่งและมีเชื้ออยู่รายรอบ อันนี้ก็นิ่งนอนใจไม่ได้ ต้องหาอุปกรณ์มาดับเสีย


เหตุเกิดและทางละความฟุ้งซ่านรำคาญใจ

พระพุทธองค์ตรัสว่า

ความไม่สงบแห่งใจเป็นเหตุหลักของความฟุ้งซ่าน กล่าวคือพระองค์ตรัสเข้าไปถึงสภาพจิตของแต่ละคนตรงๆว่าปกติมีแนวโน้มจะกระเพื่อมไหวมากน้อยเพียงใด

คนเราเคยชินที่จะปล่อยให้จิตใจตระเวนไป ล่องเลื่อนไปตามวิมานอากาศในอดีตบ้าง ในอนาคตบ้าง เป็นนักสะสมขยะบ้าง เป็นนักก่อเรื่องบ้าง ล้วนแล้วแต่ทำให้ธรรมชาติของจิตขาดความสงบ ความไม่สงบนั้นเองก่อพายุความคิดให้อื้ออึงไม่หยุดหย่อน ทั้งที่ไม่น่าจะมีอะไรต้องคิดก็คิด ยากจะบังคับควบคุม


อุบายกำจัดความฟุ้งซ่านรำคาญใจ

ลักษณะความฟุ้งซ่าน

ใหม่ๆเมื่อนักภาวนาพยายามรู้ภาวะฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นในจิตตนเอง มักประสบปัญหาเหมือนกันคือแทนที่จะเห็นความฟุ้งซ่าน กลับยิ่งเหมือนเติมฟืนกระพือไฟฟุ้งให้พลุ่งพล่านแรงขึ้นอีก หรือไม่อาการจดจ้องดูความฟุ้งนั้นเองก็กลายเป็นแรงกดให้ความคิดจับเป็นก้อนแข็งตัว

อุบายการรู้ความฟุ้งให้เกิดความ "เห็นตามจริง" คือ


1) เหมือนถามตัวเองง่ายๆว่ากำลังฟุ้งอยู่หรือไม่ เมื่อตอบตัวเองได้ว่ากำลังฟุ้ง ให้รู้แค่นั้น ถือว่าจิตทราบว่าตัวเองฟุ้งแล้ว อีกครู่หนึ่งค่อยถามตัวเองว่าขณะนี้ฟุ้งน้อยลง หรือหายฟุ้งแบบเมื่อครู่หรือยัง เอาแค่การเปรียบเทียบระหว่างสองภาวะที่ต่างเวลากัน อย่ามุ่งดูให้เห็นความไม่เที่ยงหรือลักษณะความแปรปรวนของคลื่นความฟุ้งใดๆ และอย่าใส่ใจว่าตอนฟุ้งนั้นคิดเรื่องอะไรอยู่

2) สังเกตที่ผลของความฟุ้งอันเกิดขึ้นที่กาย เช่นเหมือนมีอาการกระจุกตัวในช่องอก หรือเหมือนตึงขมับ หรือสายตาพร่ามัวจับอะไรไม่ติด ตาและหูไร้กำลังที่จะรับรู้ผัสสะให้ชัดๆ เช่นเดียวกันกับอุบายข้อแรกคือให้เปรียบเทียบระหว่างสองเวลาว่ามีอาการคลี่คลายต่างไปจากเก่าหรือยัง และอย่าใส่ใจว่าตอนฟุ้งนั้นคิดเรื่องอะไรด้วย

หัดมองขณะที่ความฟุ้งหายไป

สังเกตดูว่าอาการรู้ตรงนั้นเป็นอย่างไร

ลองประคองลักษณะรู้แบบนั้นไว้ได้ไหม


คือใช่ว่าห้ามจิตบังคับใจไม่ให้ฟุ้งอีก แต่ประคองอาการว่างจากฟุ้งไว้บ้าง เพื่อให้เห็นชัดว่าเมื่อเริ่มฟุ้งอย่างไม่อาจห้ามครั้งต่อไป มีความแตกต่างกันอย่างไรระหว่างฟุ้งกับไม่ฟุ้ง และจะได้ประจักษ์ชัดขึ้นเรื่อยๆว่าความฟุ้งเป็นอาการของจิต เป็นอนัตตา ควบคุมให้เกิดหรือดับไม่ได้

ขณะที่ฝึกสติรู้ความแตกต่างระหว่างภาวะฟุ้งกับภาวะที่ความฟุ้งแปรตัวจางลงหรือเลือนหายไป จะเป็นพื้นฐานแก้อาการผิดๆของจิตได้เกือบครอบจักรวาล เพราะอาการผิดๆเช่นหลงบังคับหักห้ามความคิด หรือหลงเพ่งเข้ามาหาที่ตั้งของจิตกลางอกนั้น ย่อมก่อให้เกิดการรวมความฟุ้งไว้เป็นก้อนโดยไม่รู้ตัว แบบเดียวกับกวาดเอาเศษผงจากพายุมาอัดรวมกอง ส่วนการเห็นความฟุ้งสลายไปตามธรรมชาติโดยปราศจากความจงใจสอดมือยุ่งเกี่ยว ย่อมเหลือแต่สภาพรู้ที่โปร่งโล่งปราศจากตำแหน่งที่ตั้ง แบบเดียวกับปล่อยให้เศษผงซัดหายกับพายุที่ผ่านมาแล้วผ่านไป


ที่กล่าวมาเป็นหลักวิปัสสนาเพื่อแก้ฟุ้งชั่วคราว



จากอังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต พระสุตตันตปิฎกเล่ม 12

.....................................................
ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนี ผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้ว มีสติในกาลทุกเมื่อ

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ารัก
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ารัก

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันเร่าร้อน
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2009, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:03
โพสต์: 111


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ :b8: ทั้งคุณกรัชกายและคุณเดช :b8: แทนขวัญจะฝึกฝนต่อไป ช่วงนี้ทำได้บ่อยขึ้นเกือบทุกวัน

คุณกรัชกาย [color=#4000FF]"ฝากเพลงลอยลม" เพราะมากเลยค่ะ[/color] :b20:
คุณ O.wan ฝากให้ลูกที่ต่างแดน แต่แทนขวัญมีคนที่คนที่อยากใช้ชีวิตคู่ด้วยไปอยู่ต่างแดน :b3:

แต่อะไรก็ไม่แน่นอนได้เสมอ ยิ่งคิดถึงก็ยิ่งคิดมาก ยิ่งฟุ้งมาก เลยใช้หลักทำวันนี้ให้ดีที่สุด และฝึกสงบใจให้พร้อมรับทุกสถานการณ์ดีกว่า :b26:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 16:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b20: น่าปลื้มใจ แค่คิดก็เป็นกุศลแล้ว คุณแทนขวัญ สาธุ..

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 19:51
โพสต์: 58

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b17: เคยหัดนั่งนะค่ะ จิตใจไม่สงบค่ะ เพราะทำไม่ได้

.....................................................
ถ้าเราไม่เป็นผู้ให้ก่อนแล้วเราจะเป็นผู้รับได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2009, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 08:50
โพสต์: 1


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ เราก็ลองนั่งสมาธิเกือบทุกวันนะค่ะ แต่จิตใจมันไม่นิ่งเลยค่ะ คิดไปเรื่อย อยากนั่งได้แบบที่คนเขาบอกกันว่า สมาธิสงบนิ่งเป็นแบบไหน เคยลองกำหนดลมหายใจเข้า พุทธ ออก โธ แต่รู้สึก เหมือนหายใจไม่ทัน แต่ทุกวันนี้ก็พยายามนะค่ะ ที่จะนั่งให้สงบนิ่ง ได้2-3นาทีก็ยังดี :b18: :b18: onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 00:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 เม.ย. 2009, 22:03
โพสต์: 1

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาด้วยนะคะ tongue :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2009, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 20:41
โพสต์: 83

ที่อยู่: ขอนแก่น

 ข้อมูลส่วนตัว www


สู้ๆครับ :b8: :b4:

.....................................................
ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2009, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สวัสดีค่ะ เราก็ลองนั่งสมาธิเกือบทุกวันนะค่ะ แต่จิตใจมันไม่นิ่งเลยค่ะ คิดไปเรื่อย อยากนั่งได้แบบที่คนเขาบอกกันว่า สมาธิสงบนิ่งเป็นแบบไหน เคยลองกำหนดลมหายใจเข้า พุทธ ออก โธ แต่รู้สึก เหมือนหายใจไม่ทัน แต่ทุกวันนี้ก็พยายามนะค่ะ


ก็ต้องหายใจช้าๆ เข้าไว้น่ะ ถึงจะค่อยตามลมทัน ลมหายใจเป็นสิ่งละเอียด หากจิตยังไม่นิ่งไม่เป็นสมาธิ ก็ยากที่จะตามลมให้ทัน อีกอย่างต้ัองจับตำแหน่งที่ลมมากระทบจมูก
ลมเข้าจมูกเป็นอย่างไร ลมออกจากจมูกเป็นอย่างไร ทำสักห้านาที ก็จะค่อยๆนิ่งและสงบไปตาม
ธรรมชาติมันเอง :b40:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร