วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 00:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผลของการปฏิบัติ


1. ในแง่ของความบริสุทธิ์

เมื่อสติจับอยู่กับสิ่งที่ต้องการกำหนดอย่างเดียว และ สัมปชัญญะรู้เข้าใจสิ่งนั้น ตามที่มันเป็น

ย่อมเป็นการควบคุมกระแสการรับรู้และความคิดไว้ให้บริสุทธิ์ ไม่มีช่องที่กิเลสต่างๆ จะเกิดขึ้นได้

และ ในเมื่อวิเคราะห์มองเห็นสิ่งเหล่านั้น เพียงแค่ตามที่มันเป็น ไม่ใส่ความรู้สึก

ไม่สร้างความคิดคำนึง ตามความโน้มเอียงและความใฝ่ใจต่างๆที่เป็นสกวิสัย (subjective)

ลงไป ก็ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ไม่มีช่องที่กิเลสทั้งหลาย เช่น ความโกรธจะเกิดขึ้นได้

เป็นวิธีกำจัดอาสวะเก่า และป้องกันอาสวะใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น



2. ในแง่ของความเป็นอิสระ

เมื่อมีสภาพจิต ที่บริสุทธิ์อย่างในข้อ 1. แล้ว ก็ย่อมมีความเป็นอิสระด้วย โดยจะไม่หวั่นไหวไปตาม

อารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ เพราะอารมณ์เหล่านั้นถูกใช้เป็นวัตถุสำหรับศึกษาพิจารณาแบบสภาวะ

วิสัย (objective) ไปหมด

เมื่อไม่ถูกแปลความหมายตามอำนาจอาสวะที่เป็นสกวิสัย (subjective)

สิ่งเหล่านั้น ก็ไม่มีอิทธิพลตามสกวิสัยแก่บุคคลนั้น และพฤติกรรมต่างๆของเขา

จะหลุดพ้นจากการถูกบังคับด้วยกิเลสที่เป็นแรงขับ หรือแรงจูงใจไร้สำนึกต่างๆ (unconscious

drives หรือ unconscious motivations)

เขาจะเป็นอยู่อย่างที่เรียกว่า ไม่อิงอาศัย (คือ ไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฏฐิ) ไม่ยึดมั่น

สิ่งใดในโลก


3. ในแง่ของปัญญา

เมื่ออยู่ในกระบวนการทำงาน ของจิตเช่นนี้ ปัญญาย่อมทำหน้าที่ได้ผลดีที่สุด เพราะจะไม่ถูก

เคลือบ หรือ หันเหไปด้วยความรู้สึก ความเอนเอียง และอคติต่างๆ ทำให้รู้เห็นได้ตามที่มันเป็น

คือ รู้ตามความจริง


4.ในแง่ความพ้นทุกข์

เมื่อจิตอยู่ในภาวะตื่นตัว เข้าใจสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็น และคอยรักษาท่าทีของจิตอยู่ได้เช่นนี้

ความรู้สึกเอนเอียงในทางบวก หรือ ลบต่อสิ่งนั้นๆ ที่มิใช่เป็นไปโดยเหตุผลบริสุทธิ์

ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ จึงไม่มีทั้งความรู้สึกในด้านกระหายอยาก (อภิชฌา)

และความขัดเคืองกระทบใจ (โทมนัส)

ปราศจากอาการกระวนกระวาย (anxiety) ต่างๆ

เป็นภาวะจิต ที่เรียกว่าพ้นทุกข์ มีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย สงบ เป็นตัวของตัวเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ธ.ค. 2016, 09:32, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ความจริงก็สัมพันธ์เป็นอันเดียวกัน เป็นแต่แยกกล่าวในแง่ต่างๆ

เมื่อสรุป ตามแนวปฏิจจสมุปบาท และ ไตรลักษณ์ ก็ได้ความว่า

เดิมมนุษย์ไม่รู้ว่า ตัวตนที่ตนยึดถือไว้ ไม่มีจริง เป็นเพียงกระแสของรูปธรรมนามธรรม

ส่วนย่อยจำนวนมากมาย ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกัน กำลังเกิดขึ้นและเสื่อมสลาย

เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา

เมื่อไม่รู้เช่นนี้ จึงยึดถือเอาความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ความเคยชิน ทัศนคติ

ความเชื่อถือ ความเห็น การรับรู้ เป็นต้น ในขณะนั้นๆ ว่าเป็นตัวตนของตน

แล้วตัวตนนั้นก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยไป รู้สึกว่า

ฉันเป็นนั่น ฉันเป็นนี่ ฉันรู้สึกอย่างนั้น ฉันรู้สึกอย่างนี้ ฯลฯ

การรู้สึกว่า ตัวฉันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็คือการถูกความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น

ที่เป็นนามธรรมส่วนย่อยในขณะนั้นๆ หลอกเอานั้นเอง

เมื่อตกอยู่ในภาวะถูกหลอกเช่นนั้น ก็คือการตั้งต้นความคิดที่ผิดพลาด จึงถูกชักจูงบังคับให้คิดเห็น

รู้สึกและทำการต่างๆ ไปตามอำนาจของสิ่งที่ตนยึดว่า เป็นตัวตนของตนในขณะนั้นๆ

ครั้นมาปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานแล้ว ก็มองเห็นรูปธรรมนามธรรมแต่ละอย่างที่เป็นส่วนประกอบ

ของกระแสนั้น กำลังเกิดดับอยู่ตามสภาวะของมัน เมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ในกระแสแยก

แยะออกมอง

เห็นกระจายออกไปเป็นส่วนๆ เป็นขณะๆ มองเห็นอาการที่ดำเนินสืบต่อกันเป็นกระบวนการแล้ว ย่อมไม่

ถูกหลอกให้ยึดถือเอาสิ่งนั้นๆ เป็นตัวตนของตน และสิ่งเหล่านั้นก็หมดอำนาจบังคับให้บุคคลอยู่ใน

บงการของมัน


ถ้าการมองเห็นนี้ เป็นไปอย่างลึกซึ้งแจ่มชัดเต็มที่ ก็เป็นภาวะที่เรียกว่า ความหลุดพ้น

ทำให้จิตตั้งต้นดำเนินในรูปใหม่ เป็นกระแสที่บริสุทธิ์โปร่งเบา เป็นอิสระไม่มีความเอนเอียงยึดติด

เงื่อนปมต่างๆ ในภายใน เกิดเป็นบุคลิกภาพใหม่


กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นสภาพของจิตที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ดุจร่างกายที่เรียกว่า มีสุขภาพ

สมบูรณ์ เพราะองค์อวัยวะทุกส่วนปฏิบัติหน้าที่ได้คล่องเต็มที่ตามปรกติของมัน ในเมื่อไม่มีโรคเป็น

ข้อบกพร่องอยู่เลย


โดยนัยนี้ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน จึงเป็นวิธีการชำระล้างอาการเป็นโรคต่างๆ ที่มีในจิต

กำจัดสิ่งที่เป็นเงื่อนปมเป็นอุปสรรค ถ่วงขัดขวางการทำงานของจิตให้หมดไป ทำให้ปลอดโปร่ง

พร้อม

ที่จะดำรงชีวิตอยู่ เผชิญและจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกด้วยความเข็มแข็งและสดชื่นต่อไป.

(จากหนังสือพุทธธรรมหน้า 817)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ธ.ค. 2016, 09:32, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมธาตุต่าง ๆ ที่เป็นผลของสมถะและวิปัสสนา อันดับสุดท้าย
(: อภิญญาหก )


"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ผลเท่าใด อันบุคคลพึงบรรลุด้วยเสขญาณ ด้วย
เสขวิชชา ผลนั้น ข้าพระองค์บรรลุแล้วลำดับ ; ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดง
ธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า !"


วัจ ฉ ะ ! ถ้าเช่น นั ้น เธ อ จ งเจ ริญ ธ รรม ทั ้งส อ งให ้ยิ่งขึ้น ไป ค ือ
สมถะและวิปัสสนา, วัจฉะ ! ธรรมทั้งสองคือ สมถะและวิปัสสนา เหล่านี้แล
อันเธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนก
(กล่าวคือ:-)

๑. วัจฉะ! เธอจัก มีได้โดยเฉพาะซึ่งอิทธิวิธี มีอย่างต่าง ๆ ตามที่เธอ
หวัง เช่นเธอหวังว่า เราผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน, หลายคนเป็นคนเดียว,
ทำ ที่กำ ลังให้เป็นที่แจ้ง, ทำ ที่แจ้งให้เป็นที่กำ บัง, ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา
ทะลุกำ แพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่าง ๆ, ผุดขึ้นและดำ ลงในแผ่นดินได้
เหมือนในน้ำ , เดินได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน, ทั้งที่ยังนั่งขัดสมาธิ
คู้บัลลังก์ ก็ลอยไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก, ลูบคลำ ดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพมากอย่างนี้ได้ ด้วยฝ่ามือ, และแสดงอำ นาจทาง
กาย เป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้, ดังนี้. ในอิทธิวิธิญาณธาตุ นั้น ๆ นั่นแหละ
เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ ๆ.

๒. วัจนะ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ มีโสตธาตุอันเป็นทิพย์
บริสุทธิ์หมดจดล่วงโสตแห่งสามัญมนุษย์ ได้ยินเสียงทั้งสองคือทั้งเสียงทิพย์และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ดังนี้. ใน ทิพพโสตญาณธาตุ นั้นๆ นั่นแหละ
เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ ๆ.

๓. วัจฉะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ กำหนดรู้ใจแห่งสัตว์อื่น
บุคคลอื่นด้วยใจของตน คือกำหนดรู้จิตที่มีราคะว่ามีราคะ กำหนดรู้จิตที่ไม่มีราคะว่าไม่มีราคะ มีโทสะว่ามีโทสะ ไม่มีโทสะว่าไม่มีโทสะ มีโมหะว่ามีโมหะ ไม่มี
โมหะว่าไม่มีโมหะ หดหู่ว่าหดหู่ ฟุ้งซ่านว่าฟุ้งซ่าน ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ว่าถึงซึ่งคุณ
อันใหญ่ ไม่ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ว่าไม่ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ มีจิตอื่นยิ่งกว่าว่ามีจิตอื่นยิ่ง
กว่า ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ตั้งมั่นว่าตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นว่าไม่ตั้งมั่น
หลุดพ้นว่าหลุดพ้น ไม่หลุดพ้นว่าไม่หลุดพ้น ดังนี้. ใน เจโตปริยญาณธาตุ นั้น ๆ
นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะ
ยังมีอยู่ ๆ.

๔. วัจฉะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ ระลึกได้ถึงขันธ์ที่เคยอยู่
อาศัยในภพก่อน มีอย่างต่าง ๆ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ สามชาติ สี่
ชาติ ห้าชาติบ้าง, สิบชาติ ยี่สิบชาติ สามสิบชาติ สี่สิบชาติ ห้าสิบชาติบ้าง,
ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติบ้าง, ตลอดหลายสังวัฏฏกัปป์ หลายวิวัฏฏกัปป์
หลายสังวัฏฏกัปป์และวิวัฏฏกัปป์บ้าง, ว่าเมื่อเราอยู่ในภพโน้น มีชื่อย่างนั้น
มีโคตร มีวรรณะ มีอาหาร อย่างนั้น ๆ. เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้น ๆ มีอายุ
สุด ล งเท ่านั้น; ค รั้น จุติจ าก ภ พ นั้น แ ล้ว ได้เกิด ใน ภ พ โน้น มีชื่อ โค ต ร
วรรณะ อาหาร อย่างนั้น ๆ, ได้เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้น ๆ มีอายุสุดลง
เท่านั้น ; ครั้นจุติจากภพ นั้น ๆ ๆ ๆ แล่ว มาเกิดในภพ นี้ ดังนี้ : ระลึก
ได้ถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อน มีอย่างต่าง ๆ พร้อมทั้งอาการและอุทเทส
ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้. ใน ปุพเพนิวาสานุสสติญาณธาตุ๑ นั้น ๆ นั่นแหละ
เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะทีอายตนะยังมีอยู่ ๆ.

๕. วัจฉะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ มีจักษุ อันเป็นทิพ ย์
บริสุทธิ์หมดจดล่วงจักษุของสามัญมนุษย์ เห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ บังเกิดอยู่,
เลวทรามประณ ีต, มีวรรณ ะดี มีวรรณ ะเลว, มีทุกข์ มีสุข. รู้แจ้งชัดหมู่
สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า "ผู้เจริญทั้งหลาย! สัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต พูดติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบ
การงานด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ, เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป ย่อมพากันเข้าสู่
อบายทุคติวินิบาตนรก. ท่านผู้เจริญทั้งหลาย! ส่วนสัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบ
กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพ ระอริยเจ้า, เป็นสัมมาทิฏฐิ
ประกอบการงานด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ, เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป ย่อมพากัน
เข้าสู่สุคติโลกสวรรค์," ดังนี้; มีจักษุทิพย์ บริสุทธิ์หมดจดล่วงจักษุสามัญ-
มนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ผู้จุติอยู่ บังเกิดอยู่ เลวประณีต มีวรรณะดี วรรณะทราม
มีทุกข์ มีสุข รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมได้ดังนี้. ใน จุตูปปาตญาณธาตุ
นั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารทำ ได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณ ะที่
อายตนะยังมีอยู่ ๆ

๖. วัจฉะ ! เธอจักได้ตามที่เธอหวัง คือ กระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโต-
วิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาวสะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ดังนี้. ใน อาสวักขย-ญาณธาตุ นั้น ๆ
นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายนตนะยังมีอยู่ ๆ.


- ม. ม. ๑๓/๒๕๗-๒๖๑/๒๖๑-๒๖๖.
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร