วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 09:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2009, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2009, 22:22
โพสต์: 4


 ข้อมูลส่วนตัว


อยากถามว่าในระหว่างนั่งสมาธิเราฟังบทสวดมนต์ไปด้วย ได้หรือเปล่าค่ะ เพราะเพิ่งเริ่มนั่งค่ะ สติยังไม่นิ่งพอที่จะให้นั่งเงียบ ๆ เลยนั่งไปด้วยฟังไปด้วยบางครั้งจิตก็ออกนอกลู่นอกทางแต่พอจะดึงกลับมาได้เพราะท่องบทสวดมนต์ที่ฟังไปด้วยค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2009, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ตามความคิดเห็นส่วนตัว

การนั่งสมาธิ แล้วแต่ละคนว่าจะถนัดแบบไหน สิ่งที่สำคัญน่าจะเป็นผลของการนั่งสมาธิมากกว่า
ว่าผลที่ได้ = สติสัมปชัญญะ :b20: รึเปล่า

ขออนุโมทนาบุญสำหรับความเพียรในการนั่งสมาธิด้วยครับ
:b44: :b8: เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2009, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 23:00
โพสต์: 48

ที่อยู่: บางแค

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนผมแนะนำว่า ถ้าจะกล่าวถึงการนั่งสมาธิ ทำอะไรก็ตามให้จิตเรานิ่ง ตั้งมั่น อาจจะใช้่เสียงสวดมนต์เป็นตัวช่วย ก็โอเคแล้วครับ

แต่ทำไมไม่ลองแค่อย่างเดียวละครับ จิตจะได้ตั้งมั่นเต็มที่ เหมือนบังคับให้ตั้งมั่น ถ้าให้่ดีมีสติบังคับด้วยตลอดเวลา

ส่วนตัวผม ชอบด้านวิปัสนามากกว่า เพราะสามารถนำไปปฏิบัติกับชีวิตประจำวันได้ตลอดเวลา ไม่เหมือนนั่งสมาธินิ่งๆ บางทีทำงานอะไร ไม่ทันเพราะใจเย็นไปหมด

พอถึงเวลาอยู่บ้านก็ค่อย เดินจงกรม+นั่งสมาธิ แต่ผมจะใ ช้เวลาจงกรมมากกว่านั่งสมาธิกว่าเท่านึง

แต่ถ้าให้ดีหาครูบาอาจารย์ มาช่วยแนะนำด้วยดีกว่าสำหรับคนใหม่ๆ อาจจะไปตามสำนักหรือวัดปฏิบัติธรรมบ่อยๆครั้งหน่อย เพราะเดี๋ยวจะเกิดอาการเพ้อ จิตหลุด หลงยึดติดกับนิมิต ฯลฯ แล้วจะไปกันใหญ่ เป็นกันไม่น้อยนะครับ

.....................................................
คำที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอ้างมาทั้งหมดนี้ ส่วนมากเป็นของครูบาอาจารย์ ผู้เขียนหนังสือต่างๆ พ่อแม่ ญาติ ผู้มีคุณและเพื่อนๆของข้าพเจ้า สิ่งที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปนั้น ถ้าผิดพลาดอย่างไรก็ขอความกรุณาชี้แนะด้วย และบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้แจกจ่ายธรรมทานนั้นขอให้ผลบุญนั้นส่งถึง บุคคลที่ได้กล่าวมา ขอให้ท่านทั้งหลายมีความสุข ข้าพเจ้าขอถวายเป็นพุทธบูชา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2009, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ตอบก่อนว่า ได้ ไม่มีปัญหาครับ

แต่พึงทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้กว้างขึ้นอีก

อากัปกิริยาที่เรานั่ง กับคำว่า สมาธิต่างกันคนละส่วนกันครับ
ท่านั่งหรืออิริยาบถนั่งเป็นส่วนรูปธรรม (กาย) มองเห็นได้ชี้ให้คนดูได้ว่าคนนั้นคนนี้กำลังนั่งท่านั้นท่านี้ นี่ส่วนหนึ่ง
ส่วนสมาธิหรือวิปัสสนาเป็นต้น เป็นนามธรรมมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น

ขณะนั้นคุณ sompriew กำลังใช้อิริยาบถนั่งฝึกจิตหรือเจริญสมาธิเป็นต้นอยู่ ด้วยการใช้เสียงสวดมนต์ผูกจิตให้คลอเคลียอยู่กับเสียงสวดนั้น
ในกรณีเช่นนี้เราจะยืนฟัง นอนฟัง เดินฟังก็ย่อมได้ เห็นไหมครับ ยืน เดิน นั่ง นอน ฟังได้ทั้งนั้น แม้ในอิริยาบถย่อยอื่นๆ ก็พึงเข้าใจทำนองนี้

ลมหายใจละเอียดกว่าเสียง เสียงหยาบกว่า จิตเกาะอารมณ์หยาบง่ายกว่าอารมณ์ละเอียด
และไม่ใช่แต่เสียงเท่านั้นนะครับ สิ่งอื่นๆอีก เช่น การนับลูกประคำ เป็นต้น ก็เป็นเครื่องฝึกจิตให้เกิดสมาธิ เป็นต้นได้ หรือจะฝึกไปด้วยกัน เช่น ฟังเสียงไปสักระยะหนึ่ง แล้วปิดเสียง แล้วยึดเอาลมหายใจเข้าออก หรือ อาการท้องพองท้องยุบเป็นอารมณ์ภาวนาไปก็ได้
อุบายวิธีมีมากมาย หากเข้าใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2009, 04:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2009, 22:22
โพสต์: 4


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำ จะนำไปใช้ค่ะอีกอย่างต้องพยายามทำให้ได้ ตอนนี้อยากให้ตัวเองพ้นจากทุกข์และมีความสุขเหลือเกินค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2009, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



จขกท. พิจารณาตัวอย่างผู้ปฏิบัติกรรมฐานท่านหนึ่งแล้วพ้นจากทุกข์ประสบสุข
แต่ไม่พึงยึตติดถือมั่นในถ้อยคำภาษา ถือเอาแต่สาระ ดังนี้



ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทย
รูปหนึ่ง ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางในอานาปานสติสูตร แล้วผมก็กราบลาท่านมา

หลังจากได้หนังสือสามเล่มนั้นมาแล้ว ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน
ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่ ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้
หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน
เวลาเดิน ก็รู้สึกดีครับ รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ
หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ
(ก่อนหน้านี้ตอนเด็กๆ เวลาคุณครูที่ ร.ร. สั่งให้นั่งสมาธิในห้องเรียน ให้พยายามตามดูลมหายใจจะรู้สึกว่า มันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ น่าปวดหัวมาก แต่คาดว่า คงเป็นเพราะจากที่ได้ฝึก
ในชีวิตประจำวัน ทำให้ตั้งแต่นั่งครั้งนี้ก็ไม่รู้สึกเช่นนั้นอีก)

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ สามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่า
ผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นแบบอัปปมัญญา ๔
แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า จากนั้นก็เบื้องหลัง จากนั้นก็เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย แล้วก็เบื้องขวา พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศจนรู้สึกว่ากายหายไป คือไม่มีกาย เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่ความสุขไปหมด จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า
"มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด
โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก (ส่วนใหญ่)มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน (ส่วนใหญ่) ในโลกกลับไม่รู้
"
จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่า ลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปีติ คือปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือ มีความรู้พร้อมอยู่ จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น
แต่หลังจากนั้นมา ผมก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะดังกล่าวได้อีกเลย คือทำได้มากสุดก็แค่ทำปีติให้เกิดขึ้นแวบหนึ่งเท่านั้น (แต่ก็สามารถทำให้เกิดได้ตลอดเวลา ตามที่ต้องการทันที) แต่ไม่สามารถทำให้เกิดค้างไว้ จนรู้สึกเหมือนจุ่มลงในปีติ แล้วมีลมหายใจละเอียดแบบครั้งแรกได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2009, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เก็บประเด็นสำคัญที่ขีดเส้นใต้ให้เห็นแนวทางปฏิบัติกรรมฐานและความตั้งใจในการปฏิบัติของโยคีอีกครั้ง


-เบื้องต้นพึงตั้งใจว่า เราจะปฏิบัติธรรมเพื่อเปลื้องตนออกจากวัฏทุกข์
-หมั่นบริกรรมภาวนาเนื่องๆ แม้ในการทำงานประจำวัน คือใช้งานนั้นๆเป็นกรรมฐาน ก็จะได้ประโยชน์ทั้งสองทาง คือ มีความสุขในการทำงานด้วย ได้ใช้งานประจำวันเป็นที่ฝึกจิตด้วย
-เมื่อภาวนาติดต่อเนื่องๆ กุศลจิต หรือ กุศลธรรมก็เกิดต่อกันนานขึ้น อกุศลจิตก็ไม่มีช่อง
-เมื่อต้องการใช้กรรมฐานคือลมหายใจ หรือ ท้องพอง-ท้องยุบ จิตจะเชื่องขึ้น คือ ฝึกได้ง่ายขึ้น
ความสุขก็เกิด ความสุขประเภทนี้ ผู้ปฏิบัติถึงเท่านั้นสัมผัสได้ คือ ได้สัมผัส จึงเข้าใจว่า
สุขนี้ประณีตลึกซึ้งกว่าสุขที่ตนเคยประสบก่อนหน้า
-ก็รู้ว่า ลมหายใจเข้าออก เป็นต้น ละเอียดนุ่มนวลแค่ไหนเพียงใดด้วยตน ต่างจากที่ตนเคยคิดเก็งไว้ก่อนหน้าอย่างไร
-และจะรู้เข้าใจว่า จิตที่ปราศจากนิวรณ์มีลักษณะอย่างไร เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2009, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงทำความเข้าใจสารัตถะคำว่า "กรรมฐาน"


กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือ ที่ให้จิตทำงาน
มีความหมายเป็นทางการว่า สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรือ อุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรือ อุบาย หรือ กลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ

พูดง่ายๆว่า สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด จิตจะได้มีงานทำเป็นเครื่องเป็นราว สงบอยู่ที่ได้
ไม่เที่ยววิ่งเล่นเตลิด หรือ เลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย
เฉพาะในกรณีนี้ ก็คือสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนดเพื่อชักนำให้เกิดสมาธิ หรือ อะไรก็ได้ที่พอจิตกำหนดจับเข้าแล้ว จะชักนำจิตให้แน่วแน่อยู่กับมันจนเป็นสมาธิได้เร็วและมั่นคงที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร