วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 14:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2008, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

แท้ที่จริงแล้ว การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องยาก จริงหรือไม่ ?
สันตินันท์ (พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)


ถาม – เคยได้ยินคนบ่นกันว่าการปฏิบัติเป็นเรื่องยากเหลือเกิน ไม่ว่าการทำทาน ถือศีล บำเพ็ญภาวนา ล้วนยาก และน่าเหนื่อยหน่ายท้อแท้เสียเหลือเกิน แท้ที่จริงแล้ว การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องยาก จริงหรือไม่

พิจารณาจากพระพุทธวจนะก็ไม่พบว่าท่านระบุตายตัวว่า การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องง่ายหรือยากท่านเพียงแต่กล่าวว่า "คนดีทำดีง่าย แต่ทำชั่วยากส่วนคนชั่วทำชั่วง่าย แต่ทำดียาก" รวมความแล้วคงต้องสรุปว่า การปฏิบัติจะยากหรือง่าย ลำบากหรือสบาย มันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลแต่ในแง่ของผมที่พิจารณาดูแล้ว กลับเห็นว่า การปฏิบัติธรรมไม่ใช่เรื่องยากเกินไป แถมมีผลเป็นความสบายเสียอีกเราลองมาพิจารณาถึงการปฏิบัติธรรมกันเป็นขั้นๆ ไปเลยดีกว่าเริ่มจากการทำทาน เช่น การให้วัตถุทาน ผมเห็นว่าเป็นเรื่องง่ายที่เราจะทำทานในขอบเขตที่ตนจะไม่เดือดร้อนคือการ "ให้" ถ้าพอใจก็ให้ได้แล้วแต่การจะเป็นฝ่าย "เอา" นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยแม้ได้มาแล้ว การจะดูแลรักษาทรัพย์สมบัติ ก็เป็นงานที่น่าปวดหัวอีกเช่น ตอนนี้จะนำเงินไปฝากธนาคาร ก็กลัวธนาคารล้ม แถมดอกเบี้ยต่ำจะเปลี่ยนไปเล่นหุ้น ก็กลัวจะต้องแปลงสัญชาติไปเกิดในภพแมลงเม่าการให้อภัยทาน ก็ง่ายกว่าการตามจองล้างจองผลาญใครเพราะไม่ต้องวางแผนอะไร ไม่ต้องลงมือทำอะไรให้อภัยได้เมื่อไร ก็นอนหลับสบายได้เมื่อนั้นในขณะที่ถ้าจะตามจองล้างจองผลาญใคร จะต้องคิดวางแผนแถมถ้าดำเนินการไม่ดี อาจจะเป็นฝ่ายถูกเล่นงานเสียอีกการให้อภัยจึงง่ายกว่า เป็นไหนๆการถือศีลก็เป็นเรื่องง่ายกว่าการทำผิดศีลเช่น ถ้าจะฆ่า จะตีคนอื่น ก็ต้องวางแผน เตรียมอาวุธตอนไปตีเขาก็อาจถูกเขาตีตายเสียเองก็ได้ทำร้ายเขาแล้วก็ต้องหลบซ่อนจากเงื้อมมือของกฎหมายหรืออย่างจะไปตกปลาล่าสัตว์ ก็ลำบากกว่าการไม่ทำเป็นไหนๆ บางคนต้องไปซื้อหาเบ็ดราคาแพงๆ ไปนั่งตากแดดตากลมอยู่ริมน้ำเพื่อจะตกปลาการไม่ลักทรัพย์ก็ง่ายกว่าการลักทรัพย์การไม่ผิดลูกผิดเมียเขา ก็ง่ายกว่าการทำผิดเพราะเสี่ยงต่อการเจ็บตัว เสี่ยงต่อการเสียชื่อเสียงเกียรติยศการพูดความจริง ก็ง่ายกว่าการโกหกพกลมอย่างน้อยที่สุด ก็ไม่ต้องใช้ความจำเท่ากับคนพูดโกหกคนไม่ดื่มเหล้าเมายาบ้า ก็สบายกว่าคนดื่มเหล้าไม่เสียเงิน ไม่เสียเวลา ไม่เสียสุขภาพ ง่ายกว่ากันเป็นไหนๆ พอมาถึงการภาวนา หรือการปฏิบัติในขั้นสมถะและวิปัสสนาอันนี้ผมก็เห็นว่ามันสบายกว่าการไม่ปฏิบัติเช่นกันเช่น การทำสมถะ ถ้ารู้หลักแล้วเอาจิตประคองรู้เข้ากับอารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่องไม่เห็นจะต้องทำอะไรมากมายเลยแค่รู้อารมณ์อันเดียวเรื่อยๆ ไปอย่างสบายเท่านั้นเองหรือจะทำวิปัสสนา ก็ทำจิตทำใจของตนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์อะไรจะเกิดขึ้นกับกายกับจิตก็รู้เรื่อยๆ ไป โดยไม่ต้องเข้าไปข้องแวะยินดียินร้ายอะไรเลยแทบจะเรียกว่า เป็นการไม่ทำอะไรเลย นอกจากรู้ทันอย่างเดียวเท่านั้นแบบนี้มันจะยากได้อย่างไร ก็นึกไม่ออกเหมือนกันครับบางคนปฏิบัติธรรมแล้วรู้สึกลำบากมากต้องคอยกดข่มบังคับจิตใจตนเองจนเครียดไปหมดอันนั้นไม่ใช่ว่า การปฏิบัติธรรมทำให้ยากลำบากหรอกครับแต่การปฏิบัติผิดๆ ต่างหาก ที่ทำความลำบากให้เรา

คนที่มีลูกอ่อนจะบ่นว่ายากลำบากเหลือเกินเดี๋ยวลูกก็ร้องกวน อดหลับอดนอนเวลาเด็กเจ็บไข้ พ่อแม่ก็เป็นทุกข์เป็นร้อนมากมายเวลาเด็กจะเรียนหนังสือ ก็ต้องวิ่งเต้นหาที่เรียนให้บางคราว โรงเรียนเขาจับพ่อแม่ไปนั่งสอบเข้าเรียนด้วยจนเด็กเลิกนับถือพ่อแม่ เพราะเด็กสอบได้ แต่พ่อแม่สอบตกทำให้เด็กไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าโรงเรียนนั้นตอนลูกยังเล็กก็ห่วงสารพัด กะว่ามันโตกว่านี้หน่อยคงจะสบายแต่แล้วก็ไม่สบาย เพราะพอเด็กโตพ่อแม่ก็มีรายจ่ายมากขึ้นแถมต้องห่วงใยสารพัด เพราะสังคมของเรามันทารุณโหดร้ายเหลือเกินพอลูกเรียบจบ พ่อแม่ก็ปวดหัวเรื่องอาชีพการงานของลูกอีกถัดจากนั้นก็ปวดหัวเรื่องการหาคู่ของลูกหลังจากนั้น ก็เตรียมตัวรับภาระเรื่องหลานต่อไปอีกเลี้ยงลูกแต่ละคนลำบากแทบตาย ก็ยังเห็นตั้งหน้าจะมีลูกกันเป็นส่วนมากบางคนต้องเสียเงินทองมากมาย เพราะมีลูกยาก แต่อยากจะมีพอบอกว่าให้ทำใจสบายๆ หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้แค่นี้บอกว่าทุกข์ยากเหลือเกิน ทำไม่ไหวแล้วเรื่องของเรื่องก็ไม่มีอะไรมากหรอก กิเลสมันหลอกเอาน่ะครับเราจึงเห็นผิดเป็นชอบ เห็นการปฏิบัติธรรมที่เป็นของสบาย ว่าลำบากเหลือประมาณส่วนการไม่ทำทาน ไม่รักษาศีล ไม่ภาวนาและการคลุกคลีอยู่กับโลกที่แสนจะลำบากกลับรู้สึกว่าพอทนได้ ไม่ลำบากเท่าไรเลยถาม – รู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมมันยากค่ะ เพราะเราต้องสู้กับความเคยชินบ้าง บางคนก็รู้สึกว่าไม่มีวิธีเหมาะกับตัวเองบ้าง หรือไม่มีฐานเก่ามาบ้างอยากจะขอคำชี้แนะให้เห็นมุมมองของการปฎิบัติธรรมที่บอกว่าง่ายค่ะ

ผมเห็นว่าปัญหาใหญ่อยู่ที่ เรามองว่าการปฏิบัติธรรมคือกิจกรรมอะไรสักอย่างหนึ่งที่จะต้องใช้เวลา หรือมีกิจกรรมแยกออกต่างหากจากชีวิตประจำวันของเรา (เหมือนคนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย จะรู้สึกลำบากที่จะจัดเวลาไปออกกำลังกาย) ถ้าหากเราเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมคือการทำในสิ่งที่เคยทำ หรือจำเป็นต้องทำแต่บวก "ความรู้ตัว" ในขณะที่ทำเข้าไปด้วยเท่านั้นการปฏิบัติธรรมก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่กินเวลา ไม่เสียกิจกรรมที่จำเป็นต้องทำเมื่อฝึกหัดมากขึ้น กระทั่งศีลก็ไม่ต้องรักษาเพราะกิเลสแหยมหน้ามาให้เห็นนิดเดียวก็ถูกเปิดโปงแล้วกิเลสจึงครอบงำจิตไม่ได้ การทำผิดศีลจึงเกิดขึ้นไม่ได้การนั่งสมาธิ ถ้าไม่มีเวลาจริงๆ จะไม่นั่งก็ได้เพราะในขณะที่ทำความรู้ตัวอยู่ในชีวิตประจำวันนั้นจิตจะมีสมาธิในขั้นพื้นฐานอยู่แล้วถ้าเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันให้มากเราอาจจะใช้เวลาก่อนนอน เข้าห้องน้ำ นั่งรถเมล์ทำความสงบเป็นช่วงๆ ไปก็ได้ คราวละ 5 - 10 นาทีก็ยังดีบางท่านรู้ว่าตนต้องเลี้ยงลูกอ่อน ก็ปฏิบัติธรรมอยู่ในชีวิตประจำวันหรือเลี้ยงลูกไป ปฏิบัติไป ก็ทำได้ใครจะเอาอย่างก็ได้นะครับเช่น ลูกร้องตอนดึกๆ พอหูได้ยิน ใจก็หงุดหงิดเพราะอยากนอน ก็รู้ทันจิตตนเองหรือได้ยินเสียงลูกร่าเริง หัวเราะ น่ารักน่าเอ็นดู ก็รู้ใจตนเองจะนั่งดูโทรทัศน์เป็นเพื่อนคนในครอบครัว ก็ดูไปแล้วก็ดูจิตไปด้วยมันสนุก มันขบขัน มันเศร้าโศก ก็รู้มันไป อย่าไปห้ามไปฝืนมันรวมความแล้ว จำเป็นต้องทำอะไรก็ทำไป แต่บวกความรู้ตัวเข้าไปอีกอย่างเดียวก็พอแล้วครับสมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระรูปหนึ่งว่าท่านไม่ต้องรักษาวินัยหรือปฏิบัติข้อวัตรใดๆ ก็ได้มีสติรักษาอยู่ที่จิตอย่างเดียวก็พอแล้ว


ถาม - หากใช้วิธีการกำหนดรู้กาย หรืออิริยาบถต่างๆ กำกับไปทุกขั้นตอนอย่างละเอียดช้าๆ เช่น หิว (กำหนดรู้ความรู้สึกหิวที่กำลังเกิด) อยากรับประทาน (กำหนดรู้ที่ใจที่อยาก) เห็น (อาหาร) ยก (มือ) ไปจับ (ช้อน) แข็ง(รู้สึกว่าช้อนแข็ง- ถ้ารู้สึกว่าแข็ง ถ้าไม่รู้สึกอะไรชัดเจนก็ไม่ต้องกำหนดรู้) เย็น(รู้สึกว่าช้อนเย็น- ถ้ารู้สึกอย่างอื่นเช่นอุ่นหรือร้อนก็กำหนดไปตามจริง ถ้าไม่รู้สึกอะไรชัดก็ไม่ต้องกำหนดรู้อะไร) ยก (มือ)ไปจับ (ส้อม) แข็ง เย็น ยก(มือที่จับช้อน)ไปตัก เขี่ย(ใช้ช้อนและส้อมช่วยกันทำคำข้าวให้พอดี) ยก (ส้อม) ไปวาง ยก (มือและช้อนพร้อมอาหาร) มา (ที่ปาก) อ้า (ปาก) ใส่ (อาหารเข้าไปในปาก) ยก (ช้อนและส้อม)ไปวาง เคี้ยว (อาหาร) เคี้ยว เคี้ยวๆ เคี้ยวๆ กลืน (อาหารลงในลำคอ) ถึง (ถ้ารู้สึกว่าอาหารตกถึงกระเพาะ ถ้าไม่รู้สึกก็ไม่ต้องกำหนด) เห็น (อาหาร) อยากรับประทาน …จะเป็นหนทางทำให้เกิดสติได้ดีไหมครับ รบกวนขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่องการเจริญสติเพื่อรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏแต่ต่างจากที่ผมทำอยู่นิดหน่อยตรงที่ผมจะไม่เคลื่อนไหวให้ช้าลง แต่จะฝึกสติให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ แต่รายละเอียดเหล่านี้มันต่างกันไปตามจริตนิสัยของแต่ละคนครับธรรมปฏิบัติจึงมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันมากมายแต่แกนกลางเป็นอันเดียวกันทั้งสิ้นคือการมีสติรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในปัจจุบันผู้ปฏิบัติจำนวนมากจะคลาดเคลื่อนอยู่จุดหนึ่งคือเมื่อมีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่กำลังปรากฏแล้วจิตมักจะเคลื่อนหลงตามอิริยาบถ เป็นการเพ่งจ้องใส่อิริยาบถอย่างหนึ่งและไปหลงคิดนำว่าเดี๋ยวจะเคลื่อนไหวอย่างนี้ๆ อีกอย่างหนึ่งถ้าระวัง 2 จุดนี้ได้ การปฏิบัติจะประสบผลอย่างรวดเร็วครับถาม - สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นเป็นกลางเป็นอย่างไรคะ แล้วเราควรมีความเป็นกลางของจิตไว้ก่อนใช่ไหมคะเมื่อจิตไหลไปก็เห็นทัน แบบนี้หรือเปล่าคะหลักการข้อแรกของวิปัสสนา เป็นเรื่องของการ "จำแนกรูปนาม" ครับซึ่งรูปนามนั้น ถ้าจำแนกให้ละเอียดขึ้น ก็จะประกอบด้วย(1) รูป และ (2) นาม = เจตสิก กับ จิต

ถ้าจิตไม่หลงตามรูป หรือหลงตามเจตสิก ก็ถือว่าแยกออกจากกันแล้วจิตในขณะนั้น จะรู้อารมณ์ได้ชัดเจนในภาวะ "สักว่ารู้"ไม่ว่าจะเป็นการรู้รูป เช่น อิริยาบถของกาย หรือรู้นามคือเจตสิก เช่น กิเลสต่างๆแต่เมื่อใดจิตหลงตามรูป หรือหลงตามเจตสิกจิตจะเกิดความยินดียินร้าย ไม่ตั้งมั่น ไม่เป็นกลาง ไม่สักว่ารู้

ถ้ากล่าวกันตามตำราจะเห็นภาพยากครับแต่ถ้ามองในแง่การปฏิบัติจะไม่ยากนักที่จะทำความเข้าใจคือถ้าเราเห็นอารมณ์เกิดขึ้น เช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้นโดยจิตไม่เคลื่อนหลงไปตามความโกรธหรือเห็นการเคลื่อนไหวของกาย โดยจิตไม่เคลื่อนหลงเข้าไปเพ่งจ้องกายอันนี้คือจิตมีความตั้งมั่นเป็นสมาธิ และเป็นการเดินวิปัสสนาแล้วแต่ถ้าสังเกตให้ดี เวลามีอารมณ์เช่น ความโกรธเกิดขึ้นเราจะเห็นแรงผลักดันบางอย่าง (ตัณหา) เกิดขึ้นกับจิตใจของเราเองแรงดันนั้น จะผลักดันให้จิตเคลื่อนเข้าไปยึดอารมณ์เช่น พอเกิดความโกรธ จิตรู้ไม่ทัน จิตจะเคลื่อนไปตามแรงตัณหามุ่งเข้าไปหาอารมณ์ที่ไม่ชอบใจนั้น หรือไปจ้องใส่คนที่ทำให้โกรธไม่ย้อนมาสังเกตจิตใจตนเองที่กำลังถูกความโกรธครอบงำอันนี้เกิดขึ้นเพราะเรารู้ไม่ทัน และเพราะจิตไม่มีความตั้งมั่นพอท่านอาจารย์แนบ ท่านชอบพูดประโยคหนึ่งที่เห็นภาพชัดดีมากคือท่านบอกว่า "ให้ดูละคร แต่อย่าไปเล่นละครเสียเอง"หมายความว่าเมื่อจิตไปรู้อารมณ์อะไร ก็ให้รู้ในฐานะเป็นผู้รู้ผู้ดูเฉยๆอย่าหลงเข้าไปยึดถือยินดียินร้ายไปกับอารมณ์นั้นด้วยก่อนที่จะลงมือทำวิปัสสนา ท่านจึงสอนให้มีสัมมาสมาธิเสียก่อนคือจะต้องมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลางวิธีการมาตรฐานที่สุดก็คือการทำสมถะจนจิตสงบเมื่อจิตสงบแล้วก็จะสังเกตเห็นชัดว่า ความสุข ความสงบ เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้จิตเป็นผู้รู้ความสงบเท่านั้น

แต่บางคนทำสมถะก่อนไม่ได้จะกำหนดรูปนามไปก่อนก็ได้ แต่พึงทราบว่านั่นยังไม่ใช่วิปัสสนาจริงๆ เมื่อทำไปช่วงหนึ่งจึงค่อยสังเกตว่า รูปนามเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่จิตอันนั้นจึงเริ่มเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ หรือเป็นการเริ่มต้นทำวิปัสสนาครับเมื่อจิตรู้ตัว ตั้งมั่นอยู่แล้ว หากไม่หลงไปเพ่งจ้องใส่จิตแต่ปล่อยให้จิตรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏไปตามธรรมชาติธรรมดาจิตจะเป็นผู้รู้ผู้ดูละครของโลก โดยไม่โดดเข้าไปแสดงละครเสียเองแต่เมื่อใดจิตไม่วิสุทธิ์ คือไม่มีสัมมาสมาธิพอมีอารมณ์มาล่อ จิตก็จะเคลื่อนออกไปยึดเกาะอารมณ์ สร้างภพสร้างชาติขึ้นทันทีดังนั้นที่กล่าวว่า เราควรมีความเป็นกลางของจิตไว้ก่อนนั้นถูกต้องแล้วครับ

ยิ่งถ้ารู้ทันว่าจิตหลง จิตเคลื่อน จิตไหล จิตวิ่งตามตัณหา ฯลฯ (แล้วแต่จะเรียก) อันนั้นดีมากเลยครับเพราะผู้ปฏิบัติจำนวนมากนั้นจิตกำลังหลงอยู่แท้ๆ กลับรู้สึกว่าตนกำลังเจริญสติสัมปชัญญะรู้รูปนามอยู่

แท้จริงจิตของคนและสัตว์ทั้งหลาย จะส่งออกไปเกาะเกี่ยวกับอารมณ์อยู่ตลอดเวลาราวกับท่อนไม้แช่น้ำ แล้วจิตจะเกิดการกระเพื่อมหวั่นไหว ยินดียินร้ายไปกับอารมณ์อย่างไม่มีทางรู้เท่าทันได้เลย

ต่อเมื่อเริ่มศึกษา หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จนเกิดสติรู้เห็นสภาวธรรมได้แล้ว จะรู้สึกว่าอารมณ์ก็เป็นอันหนึ่ง จิตก็เป็นอีกอันหนึ่ง คล้ายกับเห็นว่ากาย เวทนาและจิตสังขารก็ทำงาน โลภ โกรธ หลงไป โดยมีธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้รู้ผู้เห็นสภาวธรรมที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น และเห็นว่าบางคราวธรรมชาติรู้ก็แยกจากอารมณ์ บางคราวธรรมชาติรู้ก็ไหลรวมเข้ากับอารมณ์

เมื่อศึกษามาถึงจุดนี้บางท่านก็เกิดความสงสัยว่า ควรจะรู้อารมณ์ที่ปรากฏอยู่กลางอก เป็นก้อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง หนักบ้าง เบาบาง สุขบ้างทุกข์บ้าง ดีบ้างชั่วบ้าง หรือควรตามรู้ธรรมชาติรู้ที่เหมือนจะอยู่ด้านบนแถวๆ ศีรษะดี เรื่องนี้ขอเรียนว่า ถ้าสติจะระลึกรู้อะไรก็รู้อันนั้น อย่าจงใจรู้อันใดอันหนึ่ง เพราะเราไม่ได้เอาอะไรสักอย่างเดียว

เมื่อเจริญปัญญา เรียนรู้จิตใจของตนเองมากเข้าๆ ก็จะเห็นอีกว่า จิตใจจะถูกยึดถือและบีบเค้นอยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดความทุกข์ อย่างไม่รู้จักจบสิ้น.

จากหนังสือ วิมุตติมรรค
โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ที่มา http://board.agalico.com


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร