วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะ หรือ สภาพของสมาธิ ตอนที่๑
สภาวะ หมายถึง สภาพ หรือ ความเป็นไปตามธรรมดาของตัวมัน หรือ ลักษณะของตัวมันเอง (จากพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน) )
สมาธิ หมายถึง ความมีจิตใจสงบตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน มีความสงบในใจอย่างแน่วแน่ หรือความมี อารมณ์สงบในใจไม่ฟุ้งซ่านเพียงอารมณ์เดียว
สมาธิ มีสภาวะหลายรูปแบบ แบ่งออกได้คือ
๑.ขณิกสมาธิ ๒.อุปจารสมาธิ ๓.อัปปนาสมาธิ
อีกหมวดหนึ่งได้แก่
๑.สุญญตสมาธิ ๒.อนิมิตตสมาธิ ๓.อัปปณิหิตสมาธิ;
(คัดจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต)

ทำไมจึงต้องเรียนรู้ เกี่ยวกับ สภาพ หรือสภาวะ ของสมาธิ
ที่จำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ สภาวะของสมาธิ ก็เพราะจักทำให้บุคคลรู้จักว่าควรใช้สมาธิอย่างไร หรือ สมาธิเกิดขึ้นในรูปแบบใดบ้าง ในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อจักทำให้บุคคลรู้จักใช้การปฏิบัติสมาธิในการประกอบกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ สมาธิ อย่างละเอียดและถ่องแท้ อีกทั้ง ยังทำให้เกิดความเข้าใจในหลักการของสมาธิเพิ่มเติมจากที่ได้เรียนรู้ และสามารถปฏิบัติหรือเลือกใช้ สมาธิได้อย่างถูกต้องตามเหตุ ตามความต้องการ ของแต่ละบุคคล

สมาธิ ในชั้นพื้นฐาน คือ สมาธิ ทั่วๆไป อันเป็นสมาธิ ชั้นพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวบุคคล(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) โดยธรรมชาติในทางพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ได้แก่
๑.ขณิกสมาธิ
๒.อุปจารสมาธิ
๓.อัปปนาสมาธิ
ขณิกสมาธิ หมายถึง สมาธิที่เกิดขึ้นทุกครั้งในการประกอบกิจกรรมใดใด ของบุคคลทั่วไป ในทางพุทธศาสนา เรียกว่า สมาธิขั้นต้น หรือ สมาธิชั่วขณะ ซึ่งสมาธิขณิก นี้ย่อมเกิดขึ้นเกือบตลอดเวลาที่มีการประกอบกิจกรรมของตัวบุคคลนั้นๆ แต่เนื่องจาก ในการประกอบกิจกรรมใดใดของบุคคล ล้วนย่อมมีการคิด มีการระลึกนึกถึง ความรู้ ประสบการ หรือเรียนรู้ จดจำสิ่งที่ได้พบเห็น สมาธิจึงเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่ง หมายความว่า มีจิตใจสงบเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่ง อันเป็นเหตุทำให้เกิดความตั้งใจในการประกอบกิจกรรมนั้นๆ ต่อเมื่อบุคคลได้ประกอบกิจกรรมอันสืบเนื่องจากการมีสมาธิชั่วขณะนั้นแล้ว หรือบุคคลปฏิบัติสมาธิ สามารถละ หรือกำจัด ซึ่ง วิตก วิจาร เกิดปีติสุข
อุปจาร สมาธิ จึงเกิดขึ้น อุปจารสมาธิ ในทางพุทธศาสนา หมายถึง สมาธิ จวนจะแน่วแน่ คือ ยังไม่ถึงกับเป็น เอกัคคตา คือจิตสงบ เป็นสมาธิ เพราะยังมี ปีติสุข เกิดอยู่ในใจและในขั้นนี้นิวรณ์ต่างๆจะถูกระงับไว้ เพราะสามารถละ กำจัด หรือขจัด ซึ่ง วิตก วิจาร เกิดปีติสุข
หากเป็นการประกอบกิจกรรมใดใดของบุคคล ก็คือการเอาใจจดจ่อ หรือการเอาใจฝักใฝ่หรือเอาใจเข้าไปผูกอยู่ในกิจการงานนั้นๆ ด้วยการระลึกนึกถึงความรู้ วิธีปฏิบัติ หรือทำความเข้าใจ หรือจดจำ จึงทำให้เกิดสมาธิขั้นจวนจะแน่วแน่ หรือ อุปจาร สมาธิ และในการประกอบกิจการงานใดใดของแต่ละบุคคล ก็จะเกิด สภาวะหรือสภาพของสมาธิ ๒ ชนิด คือ ขณิกสมาธิ และ อุปจาร สมาธิ อยู่ตลอดหมุนวนกันไป เหตุเพราะความจำเป็นในการดำรงชีวิตและสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ของบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น แล้ว อัปปนาสมาธิ หรือสมาธิขั้นแน่วแน่ เกิดขึ้นได้อย่างไร

อัปปนาสมาธิ หรือ สมาธิ หรือสมาธิ ขั้นแน่วแน่ เป็นสมาธิ ที่ต้องมีการฝึกฝน ตามรูปแบบที่ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า "ฌาน" เพราะการจะมีความสงบใจ มี เอกัคคตา คือ ความมีอารมณ์ที่สงบเพียงอารมณ์เดียว หรือสมาธิ ได้นั้น จะต้องรู้จักหรือปฏิบัติตามขั้นตอนของ" ฌาน"
แล้วในบุคคลทั่วไป เกิดมี อัปปนาสมาธิ กันบ้างหรือไม่
คำตอบก็คือ ในบุคคลทั่วไป ก็เกิดมี อัปนาสมาธิ ได้เพราะ "ฌาน" นั้น เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และเมื่อบุคคล ละ ขจัด กำจัด การคิด การระลึกนึกถึง การคิดหารายละเอียดแห่งการคิดนั้นๆ และละ ขจัด กำจัด หรือ สำรอก ความปีติสุข ที่เกิดขึ้นได้ สมาธิ คือ ความสงบใจ หรือสมาธิแน่วแน่ก็จะเกิดขึ้น แต่เนื่องจากบุคคลทั่วไปมีการปฏิสัมพันธ์ มีการสังคมเกี่ยวข้องเพื่อการดำรงชีวิต หากไม่ฝึกฝนสมาธิ เพิ่มเติม ความสงบใจหรือความมีอารมณ์สงบใจเพียงอารมณ์เดียว ย่อมมีน้อย หรือบางคนอาจไม่เกิดมีเลยก็เป็นได้ แต่ก็จะมีเพียงสมาธิ ขั้นพื้นฐาน ๒ ชนิด คือ ขณิกสมาธิ และอุปจารสมาธิ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
ผู้เขียน ๑ ธันวาคม ๒๕๕๒


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 11:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 15:37
โพสต์: 112

ชื่อเล่น: ดอกพุทธ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุ ค่ะ

.....................................................
หลอมจิตบรรจง สู่แสงแห่งธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ดอกพุทธ เขียน:
:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุ ค่ะ



ความตั้งใจ ที่จะทำความดี เป็นไปตามหลักธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งในทางพุทธศาสนามีบัญญัติไว้ เป็นเครื่องช่วยหรือเครื่องมือ ในการที่จะทำให้บุคคลบรรลุถึงซึ่งความหลุดพ้นในแต่ละชั้น ในแต่ละระดับ นั้นก็คือ

๑.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ๒.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ ๔.สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ ๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ๖.สัมมาวายามะ เพียรชอบ ๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ ๘.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ

หรือเรียกว่า อริยะมรรค มีองค์ ๘
นั่นเองขอรับ ขอให้พิจารณาให้ดีขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 15:37
โพสต์: 112

ชื่อเล่น: ดอกพุทธ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:
ความตั้งใจ ที่จะทำความดี เป็นไปตามหลักธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งในทางพุทธศาสนามีบัญญัติไว้ เป็นเครื่องช่วยหรือเครื่องมือ ในการที่จะทำให้บุคคลบรรลุถึงซึ่งความหลุดพ้นในแต่ละชั้น ในแต่ละระดับ นั้นก็คือ

๑.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ๒.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ ๔.สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ ๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ๖.สัมมาวายามะ เพียรชอบ ๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ ๘.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ


ขอบคุณค่ะ :b3: :b3:
ถึงแม้จะยังไม่เค่อยเข้าใจเท่าไหร่ ก็พยายามเรียนรู้จากในเว็บนี้แหละค่ะ

แต่ที่แน่ๆ บอกกับตัวเองว่า แต่นี้ต่อไปจะขอตั้งใจและเต็มใจทำความดีต่อไป

ว่าคนอื่นให้น้อย มองตัวเองให้มาก

และตอนนี้ เริ่มที่จะรู้จักเป็นผู้ให้มากขึ้นเรื่อยๆ ให้...ด้วยความเต็มใจ :b16: :b16:

.....................................................
หลอมจิตบรรจง สู่แสงแห่งธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2009, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ดอกพุทธ เขียน:
Buddha เขียน:
ความตั้งใจ ที่จะทำความดี เป็นไปตามหลักธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งในทางพุทธศาสนามีบัญญัติไว้ เป็นเครื่องช่วยหรือเครื่องมือ ในการที่จะทำให้บุคคลบรรลุถึงซึ่งความหลุดพ้นในแต่ละชั้น ในแต่ละระดับ นั้นก็คือ

๑.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ๒.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ ๔.สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ ๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ๖.สัมมาวายามะ เพียรชอบ ๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ ๘.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ


ขอบคุณค่ะ :b3: :b3:
ถึงแม้จะยังไม่เค่อยเข้าใจเท่าไหร่ ก็พยายามเรียนรู้จากในเว็บนี้แหละค่ะ

แต่ที่แน่ๆ บอกกับตัวเองว่า แต่นี้ต่อไปจะขอตั้งใจและเต็มใจทำความดีต่อไป

ว่าคนอื่นให้น้อย มองตัวเองให้มาก

และตอนนี้ เริ่มที่จะรู้จักเป็นผู้ให้มากขึ้นเรื่อยๆ ให้...ด้วยความเต็มใจ :b16: :b16:


สาเหตุที่คุณอ่านแล้ว ไม่เกิดความเข้าใจ ก็เพราะ คุณมีประสบการน้อย อีกทั้งยังไม่รุ้จักสังเกตตัวเอง และผู้อื่น ประกอบกับ คุณไม่มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทำงาน เกี่ยวกับ พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์
มนุษย์ ทุกคน ไม่ว่าจะทำความดี หรือทำความชั่ว จะต้องประกอบไปด้วยสาเหตุหลายสิ่งหลายประการร่วมกันเข้า แล้วจึงกลายเป็นพฤติกรรมต่างๆ
การทำงานทุกชนิดก็เช่นกัน ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ประกอบกันเข้า จึงจะสามารถทำงานได้ อาจจะทำงานได้ดี หรืออาจจะทำงานได้ไม่ค่อยดี ก็แล้วแต่ปัจจัยประกอบต่างๆ นับตั้งแต่ ตัวของผู้ทำงานนั้นๆ
เช่นกัน การจะทำความดี หรือการกระทำความชั่วความไม่ดี ก็ต้องมีปัจจัยประกอบกันหลายปัจจัย จึงจะเกิดเป็นการกระทำ หรือพฤติกรรม ทั้งในทางที่ดี และหรือ ในทางที่ไม่ดี นับตังแต่ตัวผู้กระทำเป็นต้นไป
อ่านช้าๆ คิดพิจารณา ไปทีละขั้น ที่ละตอน แล้วจะเกิดความเข้าใจ
สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อย่างดียิ่ง ในทุกสาขา อาชีพ และวิชาการ


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 08 ธ.ค. 2009, 20:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2009, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2009, 15:56
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2009, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอให้เจริญยิ่งในปัญญาแห่งธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron