วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 03:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m208623.jpg
m208623.jpg [ 88.82 KiB | เปิดดู 1088 ครั้ง ]
๒. กรณีที่ไม่เสวยกามสุข

ก. ขั้นดีเลิศ ได้แก่ การเสวยความสุขอย่างประณีตที่มีความเต็มอิ่มสมบูรณ์ในตัวแล้ว

โดยที่จิตของบุคคลผู้นั้นหลุดพ้นจากความใฝ่ปรารถนาต่อกามสุข ไม่โน้มมาหรือไม่วกเวียนมาหากาม

สุขนั้น อย่างเป็นไปเองโดยธรรมดา

บุคคลเช่นนี้ย่อมหลุดพ้นจากปัญหาที่จะเกิดจากกามไปไดโดยสิ้นเชิง


ข.ขั้นดี ได้แก่ การละกามสุขของผู้หวังจะไดและกำลังฝึกเพื่อจะได้ความสุขอย่างประณีต

การละกามสุขในกรณีนี้จะเป็นสิ่งสมควรต่อเมื่อบุคคลนั้นเบื่อหน่ายกามสุขแล้ว มีความพร้อมที่จะฝึกตน

เพื่อเข้าถึงความสุขอย่างประณีตต่อไป

หรือ แม้ยังไม่พร้อมในแง่ของความเบื่อหน่ายอย่างนั้น แต่ได้มองเห็นหยั่งทราบถึงโทษของกาม

และเล็งเห็นคุณของสุขที่ประณีตกว่า พร้อมทั้งมีความหวังว่าจะได้ความสุขประณีตนั้นและสมัครใจ

ที่จะฝึกตน

การสมัครใจและรู้ตัวว่ากำลังฝึกตนจะป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียเนื่องด้วยการกักกดหรือฝืน

แต่เมื่อใดไม่ต้องการจะฝึก หรือ หมดกำลังศรัทธาจะฝึกเสียแล้วอย่างแน่นอน

ก็พึงยอมรับความพ่ายแพ้และเลิกการฝึกได้ เช่น

ถ้าเป็นภิกษุก็ลาลิกขาเสียโดยสมัครใจ

สำหรับผู้ทำเช่นนี้โดยสุจริตใจ แม้แต่กรณีสึกๆบวชๆ ซึ่งตามปกติมิใช่เป็นวิธีการที่ท่านสนับสนุนเลย

ก็เป็นเครื่องช่วยทำให้เกิดความพร้อม จัดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฝึกได้ด้วย เช่น

พระจิตตหัตถสารีบุตร ที่บวชและสึกถึงเจ็ดครั้งแล้วในที่สุดได้บรรลุอรหัตผล เป็นต้น

(องฺ. ฉกฺ.ก. 22/331/439-446 ; ท่านผู้นี้ ได้วิหารสมาบัติชั้นสูงแล้วก็ยังสึก)


ค. ขั้นทราม ได้แก่ การละกามสุขเนื่องจากปฏิกิริยาต่อกาม แล้วแล่นไปสุดทางตรงข้าม

ประพฤติวัตรเข้มงวดบีบคั้นตนเอง ระบายความเกลียดชังกามโดยเอากายตนหรือชีวิตเป็นเป้า

ระดมทุกข์เข้าทับถมตน การบีบคั้นตนเช่นนี้ หรือ การกักกดโดยขาดความหมายของความเข้าใจ

และการฝึกฝนที่กล่าวในข้อ ๒ ข. ย่อมกลายเป็นการเบียดเบียนตน และกลายเป็นปัญหาทางจิต

อีกอย่างหนึ่ง

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

พึงระลึกไว้ว่า พระพุทธศาสนาถือว่าการไม่เบียดเบียนตนเองเป็นหลักสำคัญ เป็นการปฏิบัติธรรม

อย่างหนึ่ง เช่น เดียวกับการไม่เบียดเบียนผู้อื่น *

ผู้ปฏิบัติตัวด้วยฝืน หรือ ด้วยปฏิกิริยาเช่นที่กล่าวนั้น พึงแก้ไขด้วยการเปลี่ยนแปรไปเป็นการฝึก

ในข้อ ๒ ข.




(ในสังคมไทย ได้มีประเพณีการบวชอย่างหนึ่งเรียกว่าบวชเรียน ซึ่งนอกจากเปิดโอกาสแห่งการ

บวชสำหรับผู้พร้อมที่จะฝึกตนเพื่อเข้าถึงความสุขอย่างประณีตแล้ว ก็ใช้การบวชเป็นช่องทางสำหรับ

ให้การศึกษาแก่มวลชน ด้วยการฝึกฝนเยาวชน ทั้งด้านวิชาการ ศีลธรรม และวัฒนธรรม

เป็นเครื่องเตรียมตนให้พร้อมที่จะเข้าสู่สังคม

ผู้บวชส่วนมาก บวชตั้งแต่ยังเด็กตามความประสงค์ของผู้ปกครอง เมื่อบวชและได้เรียนพอสมควร

แล้วก็ตัดสินเองโดยสมัครใจว่า จะบวชอยู่ต่อไป หรือ จะกลับคืนสู่เพศคฤหัสถ์ด้วยความยินดีต้อนรับ

ของสังคม

โดยวิธีนี้ ระหว่างที่บวชอยู่ ผู้บวชย่อมรู้ตระหนักว่าตนอยู่ระหว่างการฝึก ซึ่งถ้าตนไม่ต้องการอยู่

จริง ก็จะฝึกอยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น แล้วก็จะละเลิกไป

เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตก็ยอมรับความจริงได้

และแม้แต่คนที่ไม่พร้อม ก็อาจตั้งใจฝึกตนให้ดีที่สุดตลอดช่วงเวลาชั่วคราวนั้น วิธีฝึกโดยสอด

คล้องกับความเป็นจริงเช่นนี้ จึงทำให้เกิดผลดีโดยไม่เกิดโทษที่เนื่องจากความกักกดแล้วดิ้นรน

ออกนอกลู่นอกทาง หรือ หากมีโทษก็เหลือน้อยที่สุด

โดยนัยนี้ หากยังคงรักษาประเพณีบวชอย่างนี้ไว้ ก็จะต้องเปิดโอกาสให้การสึกเป็นไปโดย

สมัครใจอย่างเสรีด้วย จึงจะเป็นการชอบธรรมแก่บุคคล และก่อประโยชน์สุขแก่สังคม)


พระพุทธศาสนา สอนให้มองดูรู้เห็นและยอมรับสิ่งทั้งหลายตามสภาวะที่เป็นจริง

สนับสนุนให้ฝึกตนเพื่อก้าวหน้างอกงามในธรรมยิ่งๆขึ้นไป

ผู้ที่มีความพร้อมและฝึกฝนตนอยู่ในระดับต่างกัน ต่างก็อยู่ร่วมกันโดยสงบสุข ปรารถนาดี

และเกื้อกูลต่อกัน ส่งเสริมประโยชน์สุขอันชอบธรรมและความก้าวหน้าของกันและกันตามลำดับ



:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


* ม.อุ. 14/146-7/113 ฯลฯ ; แต่พึงระลึกไว้ด้วยว่า การเบียนเบียดตนเองนี้ เป็นคนละเรื่อง

กันกับการเสียสละในเมื่อมีเหตุ ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมอีกอย่างหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 18:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2009, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสุขจัดเป็นคู่ๆ (องฺ.ทุก.20/309-321/100-2) มีดังนี้


๑.คิหิสุข -สุข ของคฤหัสถ์ หรือ สุขของชาวบ้าน
กับ
บรรพชาสุข หรือ บรรพชิตสุข สุขจากการบวช หรือ สุขของนักบวช

๒. กามสุข สุขเกิดจากกาม
กับ
เนกขัมมสุข สุขเกิดจากความปลอดโปร่งจากกาม

๓. อุปธิสุข สุขกลั้วทุกข์ ได้แก่สุขในไตรภูมิ หรือ โลกียสุข
กับ
นิรุปธิสุข สุขไม่กลั้วทุกข์ ได้แก่ โลกุตรสุข

๔. สาสวสุข สุขก่ออาสวะ
กับ
อนาสวสุข สุขไม่ก่ออาสวะ หรือสุขไร้อาสวะ



๕. สามิสสุข สุขอิงอามิส หรือ สุขอาศัยเหยื่อล่อ หรือ สุขทางเนื้อหนัง
กับ
นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส หรือ สุขไม่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ หรือ สุขไม่ขึ้นต่อสิ่งเสพเสวย


๖. อริยสุข สุขของพระอริยะ
กับ
อนริยสุข สุขของผู้ไม่เป็นอริยะ คือสุขของปุถุชน

๗. กายิกสุข สุขทางกาย
กับ
เจตสิกสุข สุขทางใจ

๘. สัปปีติกสุข สุขเจือปีติ ได้แก่ สุขในฌานที่ ๑ และที่ ๒
กับ
นิปปีติกสุข สุขไม่เจือปีติ ได้แก่ สุขในฌานที่ ๓ และที่ ๔

๙. สาตสุข สุขมีรสชื่น อรรถกถาว่า ได้แก่ สุขในฌาน ๓ ขั้นต้น

แต่น่าจะได้แก่สุขตั้งแต่ฌานที่ ๓ ลงมาทั้งหมด)
กับ
อุเบกขาสุข สุขเกิดแต่อุเบกขา คือสุขเมื่อจิตได้ดุลเต็มที่ มองเฉยอย่างเป็นกลางพร้อมที่จะเห็น

ตามเป็นจริงวินิจฉัยโดยถูกต้อง เสมือนคนมีปัญญาผู้มองจากนอกเหตุการณ์

ท่านว่าได้แก่สุขในฌานที่ ๔

๑๐. สมาธิสุข สุขเกิดจากสมาธิ ไม่ว่าอุปจาระหรือ อัปปนาก็ตาม
กับ
อสมาธิสุข สุขที่ไม่ถึงสมาธิ ไม่ว่าอุปจาระหรือ อัปปนาก็ตาม

๑๑. สัปปีติการัมมณสุข สุขเกิดแก่ผู้พิจารณาฌาน ๒ ขั้นแรกที่มีปีติ
กับ
นิปปีติการัมมณสุข สุขเกิดแก่ผู้พิจารณาฌาน ๓ และ ๔ ซึ่งไม่มีปีติ

๑๒. สาตารัมมณสุข สุขเกิดแก่ผู้พิจารณาฌาน ๓ แรกที่มีรสชื่น
กับ
อุเปกขารัมมณสุข สุขเกิดแก่ผู้พิจารณาฌาน ๔ ซึ่งมีอุเบกขา

๑๓. รูปารัมมณสุข สุขมีรูปธรรมหรือรูปฌานเป็นอารมณ์
กับ
อรูปารัมมณสุข สุขมีอรูปธรรมหรืออรูปฌานเป็นอารมณ์

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

แต่ละคู่มีคำสรุปท้ายว่า สุขอย่างหลังเป็นเลิศ หรือ ยอดเยี่ยมกว่า

อนึ่ง พึงระลึกไว้ด้วยว่าอุเบกขา ที่กล่าวถึงในสุขข้างต้นนั้นไม่ใช่อุเบกขาเวทนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 18:56, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ

รูปภาพ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร