วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 08:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2008, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




DSC01694.jpg
DSC01694.jpg [ 44.92 KiB | เปิดดู 10625 ครั้ง ]
เบื้องต้นควรทำความเข้าใจวิธีคิดแบบต่างๆ ที่ลิงค์นี้ก่อน :b1:


viewtopic.php?f=2&t=22303&start=0


๑ .วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย


วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ พิจารณาปรากฏการณ์ที่เป็นผล ให้รู้จักสภาวะที่เป็นจริง

หรือ พิจารณาปัญหา หาหนทางแก้ไข ด้วยการค้นหาสาเหตุและปัจจัยต่างๆ

ที่สัมพันธ์ส่งผลสืบทอดกันมา อาจเรียกว่า

วิธีคิดแบบอิทัปปัจจยตา หรือคิดตามหลักปฏิจจสมุปบาท

จัดเป็นวิธีโยนิโสมนสิการแบบพื้นฐาน ดังจะเห็นได้

บางครั้งท่านใช้บรรยายการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า วิธีนี้กล่าวตามบาลีพบแนวปฏิบัติดังนี้



ก. คิดแบบปัจจัยสัมพันธ์ โดยอริยสาวกโยนิโสมนสิการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน

จึงเกิดขึ้นพรั่งพร้อมว่า

“เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี

เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ”


(สํ.นิ.16/144/77 ฯลฯ)


ข. คิดแบบสอบสวน หรือตั้งคำถาม เช่น

ที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาว่า เรานั้นได้มีความคิดว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ อุปาทานจึงมี

อุปาทานมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ?

ลำดับนั้น เพราะเราโยนิโสมนสิการ จึงรู้ได้ด้วยปัญญาว่า

เมื่อตัณหามีอยู่ อุปาทานจึงมี

อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ?

ลำดับนั้น เราได้มีความคิดว่า

เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ตัณหาจึงมี

ตัณหามีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ?

ลำดับนั้น เพราะเราโยนิโสมนสิการ จึงรู้ได้ด้วยปัญญาว่า

เมื่อเวทนามีอยู่ ตัณหาจึงมี

ตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ”


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


สํ.นิ.16/26/11; 251/126 ; กล่าวถึงความคิดของพระวิปัสสีพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้า 7

พระองค์อย่างเดียวกันที่ ที.ม. 10/39/35 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 10:47, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2008, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2038264y1a3fut64v.gif
2038264y1a3fut64v.gif [ 25.81 KiB | เปิดดู 10591 ครั้ง ]
๒. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ


วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ หรือกระจายเนื้อหา

เป็นการคิดที่มุ่งให้มองและให้รู้จักสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมันเองอีกแบบหนึ่ง


ในทางธรรม ท่านมักใช้พิจารณา เพื่อให้เห็นความไม่มีแก่นสาร หรือความไม่เป็นตัวเป็นตน

ที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย ให้หายยึดติดถือมั่นในสมมุติบัญญัติ

โดยเฉพาะการพิจารณาเห็นสัตว์บุคคลเป็นเพียงการประชุมกันเข้า ขององค์ประกอบต่างๆที่เรียกว่า

ขันธ์ 5 และขันธ์ 5 แต่ละอย่างก็เกิดขึ้นจากส่วนประกอบย่อยต่อไปอีก

การพิจารณาเช่นนี้

ช่วยให้มองเห็นความเป็นอนัตตา แต่การที่จะมองเห็นสภาวะเช่นนี้ได้ชัดเจน

มักต้องอาศัยวิธีคิดแบบที่ 1 และหรือแบบที่ 3 (แบบสามัญลักษณ์) โดยพิจารณาไปพร้อมๆกัน

กล่าวคือ

เมื่อแยกแยะส่วนประกอบออก ก็เห็นภาวะที่องค์ประกอบเหล่านั้น อาศัยกันและขึ้นต่อเหตุปัจจัย

ต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่เป็นตัวของมันเองโดยแท้จริง

ยิ่งกว่านั้น องค์ประกอบและเหตุปัจจัยต่างๆเหล่านั้น

ล้วนเป็นไปตามกฎธรรมดา คือมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน

ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป และต้องขึ้นต่อเหตุปัจจัยต่างๆ

ถูกเหตุปัจจัยทั้งหลายบีบคั้นขัดแย้งนั้น

ถ้าไม่มองในแง่สืบสาวเหตุปัจจัยตามวิธีที่ 1 ซึ่งอาจจะยากสักหน่อย

ก็มองได้ในแง่ลักษณะทั่วไปที่เป็นธรรมดาสามัญ ของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งอยู่ในขอบเขตของวิธีคิด

แบบที่ 3 ในบาลีท่านมักกล่าวถึงวิธีคิด แบบที่ 2 นี้ รวมพร้อมไปด้วยกันกับแบบที่ 3

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 10:52, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2008, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ในชั้นอรรถกถา ซึ่งเป็นแนวอภิธรรมสมัยหลัง

นิยมจัดวิธีคิดแบบที่ 2 นี้เป็นขั้นหนึ่งต่างหาก

และถือเป็น วิภัชชวิธี อย่างหนึ่ง (1)

นอกจากนั้นยังนิยมจำแนวขั้นพื้นฐาน โดยถือนามรูปเป็นหลัก ยิ่งกว่าจะจำแนกเป็นขันธ์ 5 ทันที

ความจริงวิธีคิดแบบนี้

ไม่ใช่มีแต่การจำแนกแยกแยะ หรือ แจกแจงออกไปอย่างเดียวเท่านั้น

แต่มีการจัดหมวดหมู่หรือจัดประเภทไปด้วยพร้อมกัน

แต่ท่านเน้นในแง่การจำแนกแยกแยะจึงเรียกว่า วิภัชชะ

ถ้าจะเรียกอย่างสมัยใหม่ก็คงว่า วิธีคิดแบบวิเคราะห์

ในการบำเพ็ญวิปัสสนาตามประเพณีที่บรรยายไว้ในชั้นอรรถกถา

เรียกการคิดพิจารณาที่แยกแยะโดยถือเอานามรูปเป็นหลักในขั้นต้นนี้ว่า นามรูปววัตถาน

หรือนามรูปปริคคหะ (2)

คือ ไม่มองสัตว์บุคคลตามสมมุติบัญญัติ ว่าเป็นเขา เป็นเรา เป็นนานนั่นนางนี่

แต่มองตามสภาวะแยกออกไปว่า เป็นนามธรรมและรูปธรรม

กำหนดส่วนประกอบทั้งหลาย ที่ประชุมกันอยู่แต่ละอย่างๆว่า อย่างนั้นเป็นรูป อย่างนี้เป็นนาม

รูปคือสภาวะที่มีลักษณะอย่างนี้

นามคือสภาวะที่มีลักษณะอย่างนี้

สิ่งนี้มีลักษณะอย่างนี้ จึงจัดเป็นรูป

สิ่งนี้มีลักษณะอย่างนี้ จึงจัดเป็นนาม ดังนี้เป็นต้น

เมื่อแยกแยะออกไปแล้ว ก็มีแต่นามกับรูป หรือนามธรรมกับรูปธรรม

เมื่อหัดมองหรือฝึกความคิดอย่างนี้จนชำนาญ

ในเวลาที่พบเห็นสัตว์และสิ่งต่างๆ ก็จะมองเห็นเป็นเพียงกองแห่งนามธรรมและรูปธรรม

เป็นเพียงสภาวะว่างเปล่า จากความเป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา

นับว่ามีกระแสความคิด ความเข้าใจที่คอยช่วยต้านทานไม่ให้คิดอย่างหลงใหลหมายมั่น

ติดตามสมมุติบัญญัติมากเกินไป


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


อ้างอิงที่มีเครื่องหมาย (..)

(1) วิสุทธิ.ฎีกา.3/45,397,349,518 ฯลฯ การแยกแยะดูตามเหตุปัจจัยแบบปฏิจจสมุปบาท

ก็ถือเป็นวิภัชชวิธี เช่นกัน –วิสุทธิ. 3/114/ ฯลฯ

(2) วิสุทธิ.3/205-219 ฯลฯ บางทีเรียก นามรูปปริจเฉท บ้าง สังขารปริจเฉทบ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 10:57, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างการใช้ความคิดแนวนี้ในบาลี พึงเห็นดังนี้

“เพราะคุมส่วนประกอบทั้งหลายเข้า จึงมีศัพท์ว่ารถ ฉันใด

เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สมมุติว่าสัตว์ จึงมีฉันนั้น”

(สํ.ส.15/554/198)


"ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ช่องว่าง อาศัยเครื่องไม้ เถารัด ดินฉาบ และหญ้ามุงล้อมเข้า ย่อมถึงความนับว่า

เรือน ฉันใด

ช่อวงว่าง อาศัยกระดูก เอ็น เนื้อ และหนังแวดล้อมแล้ว ย่อมถึงความนับว่า รูป ฉันนั้น ...

เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ การคุมเข้า การปะชุมกัน การประมวลเข้าด้วยกันแห่งอุปาทาน

ขันธ์ห้า เหล่านี้ เป็นอย่างนี้"

(ม.มู.12/346/358)


“ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้ พึงพาเอากลุ่มฟองน้ำใหญ่มา คนตาดีมองดู เพ่งพินิจ พิจารณาโดย

แยบคาย เมื่อเขามองดู เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย ก็จะปรากฏเป็นแต่สภาพว่างเปล่า ไร้แก่นสาร

เท่านั้น แก่นสารในกลุ่มฟองน้ำ จะมีได้อย่างไร ฉันใด

รูป ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม ฯลฯ ไกล

หรือใกล้ก็ตาม

ภิกษุมองดูรูปนั้น เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย เมื่อเขามองดู เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย

ก็จะปรากฏเป็นแต่สภาพว่าง เปล่า ไม่มีแก่นสาร แก่นสารในรูปจะพึงมีได้อย่างไร”



ต่อจากนี้ ตรัสถึงเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และมีคาถาสรุปว่า

“พระพุทธเจ้า ได้ตรัสแสดงไว้ว่า รูปอุปมาเหมือนฟูมฟองน้ำ

เวทนาอุปมาเหมือนฟองน้ำฝน

สัญญาอุปมาเหมือนพยับแดด

สังขารอุปมาเหมือนต้นกล้วย

วิญญาณอุปมาเหมือนมายากล

ภิกษุพินิจดู พิจารณาโดยแยบคาย ซึ่งเบญจขันธ์นั้น ด้วยประการใดๆ ก็มีแต่สภาวะที่ว่างเปล่า…”

(สํ.ข.17/242-7/171-4

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร