ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ความหมาย อัตตา และ มานะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=18973
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 09 พ.ย. 2008, 05:10 ]
หัวข้อกระทู้:  ความหมาย อัตตา และ มานะ

อัตตา กับ มานะ

ปัจจุบัน ได้มีความสับสนเกิดขึ้นบ้าง ในการใช้คำศัพท์ ที่มีความหมายเกี่ยวกับตัวตน ที่เป็นปัญหา

ในกรณีนี้คือ อัตตา กับ มานะ


อัตตา เป็นคำบาลี รูปสันสกฤต เป็น อาตมัน แปลว่า ตน ตัว หรือ ตัวตน พุทธศาสนาสอน

ว่า ตัวตน หรือ อัตตา นี้ ไม่มีอยู่จริง (ว่าโดยปรมัตถ์) แต่เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นเพื่อสะดวกในการสื่อสาร

เพื่อความหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ในความเป็นอยู่ประจำวัน กำหนดตามชื่อที่บัญญัติขึ้นหรือตั้งขึ้น

สำหรับเรียกหน่วยรวมหรือภาพรวมหนึ่งๆ

อัตตา นี้จะเกิดปัญหาขึ้น ก็ต่อเมื่อคนหลงผิด เกิดความยึดถือขึ้นมา ว่ามีตัวตนจริงๆ

หรือ เป็นตัวตนจริงๆ เรียกว่า รู้ไม่เท่าทันความเป็นจริง หรือ หลงสมมุติ


ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอัตตานี้ พึงทราบว่า อัตตาไม่ใช่กิเลส มิใช่สิ่งที่จะต้องละ

เพราะอัตตาไม่มีอยู่จริง จึงไม่มีอัตตาที่ใครจะละได้ อัตตามีอยู่แต่เพียงในความยึดถือ

สิ่งที่จะต้องทำก็มีเพียงการรู้เท่าทันตามเป็นจริงว่า ไม่มีอัตตา หรือ ไม่เป็นอัตตา อย่างที่เรียกว่า

รู้ทันสมมุติเท่านั้น


พูดอีกนัยหนึ่งว่า ละความยึดถือในอัตตา ละความยึดถือว่า เป็นอัตตา หรือ ถอนความหลงผิดใน

ภาพของอัตตา หรือ ในบัญญัติแห่งอัตตาเสียเท่านั้น

เรื่องอัตตา และ การปฏิบัติต่ออัตตา ในความหมายที่ใช้ทั่วไป มีเพียงเท่านี้

ไฟล์แนป:
40.jpg
40.jpg [ 92.71 KiB | เปิดดู 5592 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 09 พ.ย. 2008, 12:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา กับ มานะ

อย่างไรก็ดี ในสุตตนิบาต ที่ได้ยกมาอ้างในข้อก่อนลิงค์นี้ =>

viewtopic.php?f=2&t=18974


ท่านใช้คำว่า อัตตา คู่กับ นิรัตตา (หรือ อัตตัง คู่กับ นิรัตตัง) และได้ขยายความหมาย

ของอัตตาในกรณีนี้ออกไปว่า หมายถึง การยึดถือในอัตตา หรือ การยึดถือว่า มีอัตตา

และอีกนัยหนึ่งว่า สิ่งที่ยึดถือไว้ คู่กับนิรัตตา ซึ่งหมายถึง การยึดถือว่าไม่มีอัตตา

หรือ การถือว่า อัตตาขาดสูญไป

และอีกนัยหนึ่งว่า สิ่งที่จะต้องปล่อยละ

ความหมายของอัตตาในกรณีนี้ เป็นความหมายแบบขยายตัวเกินศัพท์ คือ มุ่งเน้นที่ ทิฏฐิ

อันได้แก่ ความเชื่อถือ หรือ ความยึดถือในอัตตา ที่เรียกว่า อัตตทิฏฐิ

หรือ อัตตานุทิฏฐิ ซึ่งก็คือ ความเชื่อว่า มีตัวตนที่เป็นแก่น เป็นแกนถาวร ที่เรียกว่า

สัสสตทิฏฐิ


ดังนั้น ในคัมภีร์มหานิทเทส และ จูฬนิเทส ที่อธิบายสุตตนิบาตตอนที่อ้างนั้น

จึงไขความคำ อัตตา หรือ อัตตัง ว่าได้แก่ อัตตทิฏฐิ หรือ สัสสตทิฏฐิ

ในเมื่ออัตตาในกรณีนี้หมายถืงตัวทิฏฐิ ซึ่งเป็นกิเลส (ทิฏฐิต่ออัตตา หรือ ทิฏฐิว่า มีอัตตา)

จึงเป็นสิ่งที่ต้องละ

ฉะนั้น ในสุตตนิบาตนั้น จึงมีข้อความบาลีกล่าวถึงการละอัตตาว่า ผู้ละอัตตาว่า

ผู้ละอัตตา (อตฺตญฺชโห) * บ้าง

ละอัตตา (คือ อัตตาทิฏฐิ หรือ สัสสตทิฏฐิ) ได้แล้ว (อตฺตํ ปหาย) ** บ้าง



*ขุ.สุ.25/411/489
**ขุ.สุ.25/412/491

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 10 พ.ย. 2008, 11:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา กับ มานะ

ยังมีการถือเกี่ยวกับตัวตนอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากการถืออย่างทิฏฐิ

กล่าวคือ ทิฏฐินั้นเป็นการถือว่า มีตัวตน หรือ เป็นตัวตน เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นตัวตน เห็นว่า

ตัวตนเป็นของถาวร เป็นต้น


ส่วนการถือ เกี่ยวกับตัวตนอีกอย่างหนึ่งนั้น เป็นการถือสำคัญ หมายความว่า ถือเทียบเคียงระหว่าง

ตัวเองกับตัวอื่น ถือเอาไว้วัดไว้แข่งกัน ถือสูงต่ำ ถือตัวตนในลักษณะที่จะเอาตัวตนนั้น ไปเป็นนั่น

เป็นนี่ เช่นว่า ฉันเป็นนี่ ฉันแค่นี้ ฉันสูงกว่า ฉันต่ำกว่า เราด้อยกว่า เราเท่ากับเขา เป็นต้น

การถืออย่างนี้ มีชื่อเฉพาะเรียกว่า มานะ * แปลว่า ความถือตัว ความทะนงตน

ความสำคัญตนว่าสูง ต่ำ เด่น ด้อย เท่าเทียม เทียบเขาเทียบเรา

ตลอดจนความรู้สึกภูมิๆ พองๆ ถือตัวอยู่ภายใน

มานะ เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับทิฏฐิ จึงเป็นสิ่งที่ต้องละ หรือ ต้องกำจัดเสีย

......

* ในที่นี้ จะไม่พูดถึงความหมายของ มานะ อย่างที่เข้าใจกันในภาษาไทยปัจจุบัน

ซึ่งเคลื่อนคลาดไปห่างไกล กลายเป็นเพียรพยายาม เหตุที่จะไม่พูดถึง ก็เพราะจะล้ำเลยเข้าไป

ในแดนของเรื่องภาษามากเกินไป

เจ้าของ:  บุญชัย [ 10 พ.ย. 2008, 14:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา กับ มานะ

มานะเป็นฝ่ายกุศลบท
อัตตาเป็นทั้งอกุศลและกุศลมั้ยครับ
ทิฏฐิจัดอยู่ในอกุศลกรรม

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 28 ก.ค. 2009, 20:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา กับ มานะ

ในปัจจุบันได้เริ่มมีความนิยมขึ้นบ้าง ในบางท่าน หรือ บางหมู่ที่จะใช้ อัตตา

ในความหมายของ มานะ อย่างนี้ เช่นว่า คนนั้นมีอัตตามาก อัตตาเขาใหญ่ อย่าเอาอัตตามาว่ากัน

อย่าให้อัตตาแรงหนัก ดังนี้ เป็นต้น


พึงตระหนักว่า การใช้อัตตาอย่างนี้ เป็นเพียงความนิยมเท่านั้น แต่ไม่ถูกต้อง คำที่ถูกต้อง

สำหรับกรณีนี้ คือ มานะ ซึ่งเป็นกิเลส ตัวการที่ทำให้ไม่ฟังกัน ไม่ลงกัน ไม่ยอมกัน

ทำให้แข่งให้อวดกัน ตลอดจนกดข่มกัน

นอกจากนี้ พึงสังเกตว่า แม้แต่การถือตัวว่า เท่ากับเขา ก็เป็นมานะ เป็นกิเลส เช่นเดียวกับการถือว่า

สูงกว่าเขา เหนือกว่าเขา หรือ ต่ำกว่าเขา ด้อยกว่าเขา เพราะตราบใดที่ยังเป็นการถือ

ตราบนั้น ก็ยังเป็นการกำเริบ การจำกัดตัว และการกดบีบหรือเบ่งพองของจิต ซึ่งอาจจะไม่ตรงเท่ากับ

ความเป็นจริง หรือ เอาความจริงมาเป็นฐานก่อความกำเริบกดบีบเบ่งพองจิต จึงยังเป็นภาวะไม่อิสระ

ไม่ปลอดโปร่งผ่องใส

การที่จะไม่ให้เป็นมานะ ไม่ให้เป็นกิเลส ก็คือการที่รู้ตามเป็นจริง ไม่ว่า จะรู้สูง ต่ำ หรือ เท่าเทียม

ก็ตาม ถ้าเป็นการเข้าถึงความรู้และเป็นเพียงแค่รู้ ก็ไม่เป็นมานะ ไม่เป็นกิเลส

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 28 ก.ค. 2009, 20:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา กับ มานะ

(มีกล่าวถึง ทิฏฐิ พึงทราบความหมาย ทิฏฐิ ให้มากขึ้นอีก)



ทิฏฐิ - คือความเห็น ความเข้าใจตามแนวความคิดของตน * เป็นขั้นตอน

สำคัญในกระบวนการพัฒนาปัญญา เพราะความรู้ความเข้าใจของมนุษย์ปุถุชน ที่ต่อจากขั้นขึ้นต่อผู้อื่น

ด้วยศรัทธา ก้าวมาสู่การมีความคิดความเข้าใจ หรือ มีสิ่งที่เรียกว่าเหตุผล ของตนเองประกอบ

พอจะนับได้ว่า เป็นความเข้าใจของตนเอง ก็คือ ทิฏฐิ

บางครั้ง ทิฏฐิก็สัมพันธ์กับศรัทธาอย่างใกล้ชิด หรือ ถึงกับเป็นคนละแง่ของเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ

แง่ที่เป็นการมอบความไว้วางใจไว้ในความรู้ของผู้อื่น ยอมไปตามปัญญาของเขา (แล่นออกหรือพุ่งไปหา)

เป็นศรัทธา

ส่วนแง่ ที่เป็นการรับเอาความรู้นั้น หรือ สิ่งที่เขาบอกให้นั้นมายึดถือทำเป็นของตน (รับมาถือหรือเอาเข้ามา)

เป็นทิฏฐิ

ลักษณะสำคัญของทิฏฐิ คือ การยึดถือเป็นของตน ** ความรู้ที่เป็นทิฏฐินี้ มีได้ตั้งแต่ขั้นไม่มีเหตุผล

เลย จนถึงมีเหตุผลบ้าง และ มีเหตุผลมาก

เมื่อใดทิฏฐินั้นพัฒนาขึ้นไปจนเป็นความรู้ ความเห็น ความเข้าใจ ที่ถูกต้องตรงความเป็นจริง คือ ตรงตาม

สภาวะ ก็เรียกว่า เป็น สัมมาทิฏฐิ

และจัดเป็นปัญญา -(เช่น อภิ. วิ.35/240/164 ฯลฯ) เมื่อปัญญานั้น เจริญขึ้นจนมองเห็นสภาวะนั้น

ด้วยตนเอง อย่างชัดแจ้งสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องยึดถือความรู้นั้นเป็นของตน เพราะความจริงแท้ดำรงอยู่

อย่างนั้นเป็นกลางๆ ไม่ต้อมีที่อ้างที่ยัน เป็นอันเลยพ้นขั้นของทิฏฐิไปเอง

แต่เพราะทิฏฐิ พ่วงอยู่กับความยึดถือเป็นของตน ทิฏฐิจึงมักก่อให้เกิดผลเสีย

ถ้ายึดถือเหนียวแน่น แม้จะเป็นทิฏฐิ ที่ใกล้เคียงความจริงอย่างมาก แต่ก็กลายเป็นเครื่องปิดบัง

ขวางกั้น ไม่ให้เข้าถึงความจริงนั้น

……………..

* ไม่พึงปะปนกับคำว่า ทิฏฐิ ที่หมาย ถึงความดื้อดึงในความเห็น ตามที่ใช้ในภาษาไทย

(ทิฏฐินี้ รูปสันสกฤตเป็นทฤษฎี แต่ก็ไม่ตรงกันนัก กับคำว่า ทฤษฎีที่ใช้ในภาษาไทย)

** ไวพจน์บางคำของทิฏฐิ คือ อภินิเวส ปรามาส และอุปาทาน

(ซึ่งลึกลงไป ย่อมมีตัณหาเป็นปัจจัย)

ดู อภิ.วิ.35/312/200

เจ้าของ:  บุญชัย [ 29 ก.ค. 2009, 10:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา กับ มานะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นี้ในเบื้องแรกนั้น เทพเจ้าเป็นผู้กล่าวนมัสการพระพุทธองค์ก่อนดังพระองค์ตรัสเทศนาไว้ใน พระจตุราคมนิกาย ดังนี้
๑. ณ กาลสมัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเรานี้ เสด็จไปทรมานอารวกะยักษ์ แคว้นอารวีนคร ขณะที่พระองค์เสด็จไปประทับรออารวกะยักษ์อยู่ในวิมานนั้น อารวกะยักษ์ไปประชุม ณ เทวสันนิบาตยังไม่กลับมา สาตาคิรายักษ์กับสหายเหมวะตายักษ์ออกจากวิมานแห่งตนแล้วเหาะไป เพื่อจะนมัสการพระองค์ที่พระเชตวันวิหาร ณ กรุงสาวัตถี เมื่อไม่พบพระพุทธเจ้าจึงเหาะกลับมาทางวิมานของอารวกะยักษ์ ขณะที่เหาะมาข้ามวิมานของอารวกะยักษ์ซึ่งมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ภายในนั้น ด้วยอานุภาพ สาตาคิรายักษ์กับเหมวตายักษ์ก็หมดกำลังฤทธิและตกลง เมื่อยักษ์ทั้ง ๒ เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ในวิมานของอารวกะยักษ์นั้นจึงประคองมือขึ้นนมัสสการกล่าวว่า “นะโม” แปลว่า ข้าพเจ้าของถวายความนอบน้อม เป็นคำรพแรกในสมัยพุทธกาล อันเป็นที่มาของบท นะโม
คำนี้ นะโม อยู่ในคัมภีร์เล่มใด วรรคใดท่าน ขอนอกเรื่องนิดๆ
คำว่า ตัสสะอยู่ในคัมภีร์เล่มใด วรรคใดท่าน ขอนอกเรื่องนิดๆ
คำว่า ภะคะวาอยู่ในคัมภีร์เล่มใด วรรคใดท่าน ขอนอกเรื่องนิดๆ
คำว่า อะระหะโตอยู่ในคัมภีร์เล่มใด วรรคใดท่าน ขอนอกเรื่องนิดๆ
คำว่า สัมมาสัมพุทธัสสะอยู่ในคัมภีร์เล่มใด วรรคใดท่าน ใครกล่าว ขอนอกเรื่องนิดๆ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 29 ก.ค. 2009, 10:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา กับ มานะ

สวัสดีขอรับคุณบุญชัย :b8:

หาเรืองที่สอดคล้องกับกระทุ้มาลงสิขอรับ จะได้กลมกลืนไปด้วยกันได้

เอางี้ดีไหม หากต้องการสนทนากับกรัชกาย ตั้งกระทู้ใหม่คุยกันให้เป็นเรื่องเป็นราวไป :b16: :b38:


ปิดกระทู้

ไฟล์แนป:
pic_top3_b.gif
pic_top3_b.gif [ 26.52 KiB | เปิดดู 5702 ครั้ง ]

เจ้าของ:  walaiporn [ 31 ก.ค. 2009, 18:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา กับ มานะ


แหมมม .. ก่อนปิดทำไมไม่สรุปด้วยละคะ ว่า แท้จริงอัตตาต่างกับมานะยังไง

ขอสรุปแบบภาษาชาวบ้านเข้าใจง่ายๆนะคะว่า

อัตตา คือ การมีตัวตนเข้าไปยึดว่าเป็นโน่นเป็นนี่

มานะ คือ ตัวรู้นี่แหละ คิดว่ารู้ที่รู้อยู่นั้นว่ารู้มากกว่าคนอื่นๆ เลยยอมกันไม่ได้

ใช่ป่ะจ๊านนนนนน :b32:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 31 ก.ค. 2009, 19:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา กับ มานะ

walaiporn เขียน:

แหมมม .. ก่อนปิดทำไมไม่สรุปด้วยละคะ ว่า แท้จริงอัตตาต่างกับมานะยังไง

ขอสรุปแบบภาษาชาวบ้านเข้าใจง่ายๆนะคะว่า

อัตตา คือ การมีตัวตนเข้าไปยึดว่าเป็นโน่นเป็นนี่

มานะ คือ ตัวรู้นี่แหละ คิดว่ารู้ที่รู้อยู่นั้นว่ารู้มากกว่าคนอื่นๆ เลยยอมกันไม่ได้

ใช่ป่ะจ๊านนนนนน :b32:



หากอ่านมาตั้งแต่ต้น (ขยันอ่านหน่อย) ท่านก็บออกอยู่แล้วว่า อัตตา ได้แก่อะไร
มานะ ได้แก่อะไร จะต้องสรุปทำไม่อีก ถ้าอ่านทำความเข้าใจมาแต่ต้น :b16:

ใครจะนำอะไรมาลงต่อ ไม่ว่าอะไร แต่ขอให้เรื่องเข้ากับกระทู้ตั้งหน่อย ไม่ใช่สับไปสับมา จะได้ผสมกลมกลืนกัน ดูเนียนง่ายต่อการทำความเข้าใจ น่าติดตามอ่าน เจตนาก็เท่านี้ :b1:

มาทำปากดีส่งท้ายอีก กรัชกายก็นำมาจากหนังสือพุทธธรรมทั้งนั้น ไม่ได้คิดว่ารู้มากกว่าใคร :b32:
แม้แต่คุณวลัยเองกรัชกายก็ยอม :b20:

เจ้าของ:  walaiporn [ 31 ก.ค. 2009, 19:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา กับ มานะ

กรัชกาย เขียน:
walaiporn เขียน:

แหมมม .. ก่อนปิดทำไมไม่สรุปด้วยละคะ ว่า แท้จริงอัตตาต่างกับมานะยังไง

ขอสรุปแบบภาษาชาวบ้านเข้าใจง่ายๆนะคะว่า

อัตตา คือ การมีตัวตนเข้าไปยึดว่าเป็นโน่นเป็นนี่

มานะ คือ ตัวรู้นี่แหละ คิดว่ารู้ที่รู้อยู่นั้นว่ารู้มากกว่าคนอื่นๆ เลยยอมกันไม่ได้

ใช่ป่ะจ๊านนนนนน :b32:



หากอ่านมาตั้งแต่ต้น (ขยันอ่านหน่อย) ท่านก็บออกอยู่แล้วว่า อัตตา ได้แก่อะไร
มานะ ได้แก่อะไร จะต้องสรุปทำไม่อีก ถ้าอ่านทำความเข้าใจมาแต่ต้น :b16:

ใครจะนำอะไรมาลงต่อ ไม่ว่าอะไร แต่ขอให้เรื่องเข้ากับกระทู้ตั้งหน่อย ไม่ใช่สับไปสับมา จะได้ผสมกลมกลืนกัน ดูเนียนง่ายต่อการทำความเข้าใจ น่าติดตามอ่าน เจตนาก็เท่านี้ :b1:

มาทำปากดีส่งท้ายอีก กรัชกายก็นำมาจากหนังสือพุทธธรรมทั้งนั้น ไม่ได้คิดว่ารู้มากกว่าใคร :b32:
แม้แต่คุณวลัยเองกรัชกายก็ยอม :b20:




บางคนอ่านหลายตลบแล้ว ที่ยังไม่เข้าใจก็มีนะคะ :b32:

ไม่เห็นเหรอนำมาลงแจมยาวยืด :b9:

อิอิ ... แล้วพูดจริงๆหรือคะที่ว่า ยอม น่ะค่ะ :b28:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 31 ก.ค. 2009, 19:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา กับ มานะ

อ้างคำพูด:
บางคนอ่านหลายตลบแล้ว ที่ยังไม่เข้าใจก็มีนะคะ

ไม่เห็นเหรอนำมาลงแจมยาวยืด

อิอิ ... แล้วพูดจริงๆหรือคะที่ว่า ยอม น่ะค่ะ


คุณรู้ได้ไงว่าเขาอ่าน :b16:

ที่เขานำมาลงยาวยืด ยืดยาว เพราะไม่อ่าน ไม่รู้ว่าเขากำลังพูดถึงอะไร แล้วเรื่องที่ตนนำมาลง เรื่องอะไร นี่ละถึงต้องติงกัน

อิอิ ... แล้วพูดจริงๆหรือคะที่ว่า ยอม น่ะค่ะ

แล้วรู้ได้ไงว่าพูดเล่น ทำเป็นรู้ไปโหมด :b1:

ไฟล์แนป:
2643605056711sb9.gif
2643605056711sb9.gif [ 3.96 KiB | เปิดดู 5640 ครั้ง ]

เจ้าของ:  walaiporn [ 31 ก.ค. 2009, 19:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา กับ มานะ

นั่นสินะคะ ... รู้ได้ไง ... :b14:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/