วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 06:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2009, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณเจ้าของกระทู้

ผมมีความเข้าใจส่วนตัวเรื่องการเพ่งกสินอยู่บ้างนิดหน่อยครับ
ไม่ทราบว่าจะถูกหรือผิดอย่างไร แต่ก็อยากจะเพิ่มแง่มุมมองไว้
เผื่อท่านผู้รู้ท่านอื่นจะได้ ช่วยวิพากวิจารณ์


ตอนผมเริ่มปฏิบัติใหม่ๆ ก็เคยพยายามเล่นเกี่ยวกับการเพ่งกสิน
โดยใช้ดวงตาเพ่งจ้องเพื่อให้จำ แล้วก็หลับตา ทุกครั้งที่หลับตา
ภาพติดตาจะสว่างตามรูปร่างของสิ่งที่เพ่ง ขณะหลับตาก็เห็นลืมตาก็เห็น
แต่ภาพนั้นจะคงอยู่ได้ไม่นาน มันจะค่อยๆเล็กลงๆ และก็จางหายไป
ในตอนนั้นแค่ผมมองจ้องเพียงชั่วการหายใจเพียงสองสามครั้ง นิมิตร
ที่เป็นความสว่างก็ติดตาแล้ว ไม่ว่าจะเพ่งอะไร นิมิตรที่ติดตา
ก็จะเป็น ดวงสว่างตามรูปร่างของสิ่งที่เพ่ง และค่อยๆเล็กลงแล้ว
จางหายไปในที่สุด

ใหม่ๆก็ตื่นเต้น ที่มองอะไรแป๊บเดียวนิมิตรก็ติดตา แต่ทำไปสักระยะก็เริ่มท้อ
เพราะนิมิตร มันเกิดง่าย แต่จางหายไปทุกครั้ง ลองเปลี่ยนไปเพ่งกสินกองอื่นๆ
ก็เป็นเหมือนเดิม ผมจึงเลิกสนใจเรื่องกสิน

จนมาวันหนึ่งผมไปนั่งสงบอยู่ริมน้ำ แล้วลืมตาปล่อยจิตให้แผ่กว้าง
ผ่านผิวน้ำผ่านไปด้านหน้า สักพักหนึ่งเมื่อหลับตาลง ภาพผิวน้ำ
ก็มาปรากฏชัดที่ใจ เป็นความแจ่มชัดที่ไม่ได้เกิดจากการจำของดวงตา
แต่เป็นการจำของใจ มันเป็นภาพในใจ ที่ติดอยู่กับใจอย่างธรรมดาที่สุด

ทดลองมองที่ผิวดิน แล้วใช้ใจจำ ภาพผิวดินก็ขึ้นมาในใจ
จะเพ่งเทียน เพ่งดวงจันทร์ เพ่งเปลวไฟ แค่มอบแวบเดียวแล้วหลับตา
จิตที่จำภาพไว้ จะถูกดึงภาพออกมาด้วยการนึก เมื่อนึกภาพก็มาอยู่ที่ใจ

ไม่ว่าจะเดินอยู่ หรือทำอะไรอยู่ แค่นึกขึ้นมา ภาพก็ขึ้นมาในใจทันที
และภาพที่อยู่ในใจ เราสามารถที่จะบังคับได้ ว่าจะให้นิ่งให้สั่นไหว
หรือให้เล็กให้ใหญ่ ตามแต่ใจเราจะนึก

อย่างเช่นตอนนี้ขณะที่กำลังพิมพ์อยู่นี้ ก็นั่งดูภาพของผืนน้ำที่มาปรากฏ
คาอยู่ในใจไปด้วย เพราะขณะที่อธิบายผมก็นึกย้อนไปถึงภาพอดีตด้วย
จะได้บรรยายถูก

ไม่ทราบว่าประสพการณ์ของผมเรียกว่ากสินรึเปล่า ผมรู้แต่ว่า
ใช้ใจจำ เป็นคนละอย่างกับใช้ตาจำ

และภาพติดตาก็ต่างกัน ภาพที่เกิดจากการใช้ดวงตาเพ่งนานๆเพื่อให้จำ
จะเป็นภาพนิมิตรอย่างเดียวกันหมด คือมีรูปร่างแตกต่างกันตามรูปทรง
ที่เพ่งแต่เป็นดวงสว่างแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะเพ่งอะไร

ประเภทที่ใช้ใจจำ ภาพในใจ จะเป็นภาพเหมือนจริงทุกอย่าง
เหมือนทั้งรูปทรง สีสัน และการไหวตัว มีความเป็นธรรมชาติ
และติดคาอยู่ในใจทันทีที่นึกถึง

ขอเล่าประสพการณ์ คร่าวๆเท่านี้ครับ ผิดถูกอย่างไรก็แค่
ประสพการณ์ส่วนตัวนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2009, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว




.gif
.gif [ 4.66 KiB | เปิดดู 4543 ครั้ง ]
เอ...
ทำสมถะด้วย วิปัสสนาด้วย ทำไมไม่เอาสมถะ(กสิณ)มาเป็นพื้นปูทาง
ในการทำวิปัสสนา ในช่วงเดียวกันทำสมถะ แล้วไปวิปัสสนา พอทำวิปัสสนากลับมาทำสมถะ
มันจะเป็นไงเนี่ย
ทำวิปัสสนาอยู่ ออกปุ๊บ ต่อสมถะเลย สติยังไวอยู่ สมถะรวมยากหน่อย เพราะสติจะคอย
กำหนดรู้เสมอๆ สติไม่ต้องการสมาธิแนบแน่นมาก คงต้องการสมาธิที่มีกำลังมากกว่า
ออกสมถะปุ๊บ ทำวิปัสสนาเลย ถ้าสติไม่พอๆกับสมาธิ
กำหนดยากอีก มักนิ่งลงภวังค์ไปง่ายๆ สมาธิยังแนบแน่นดี

ลองแบบบ้างซิครับ
ในระยะเวลา 1.5 ชม. ทำสมถะให้แน่นก่อนซัก 1.0 ชม.
ระยะถอยลงเพื่อปรับทำวิปัสสนาต่อ 0.5 ชม.
เริ่มทำวิปัสสนาโดยจงกรม(เพื่อปรับสติให้พอกับสมาธิที่ยังมีอยู่แนบแน่น)
ซัก 1.0 ชม. จากนั้นนั่งเจริญวิปัสสนา .5 ชม.พอ(สมาธิดีอยู่แล้ว ไม่ควรนั่งมาก
ควรเจริญสติด้วยจงกรมมากๆหน่อย เลือกระยะ จังหวะการเดินที่ไม่กระทุ้งวิริยะ
มากไป(เดี๋ยวต้องปรับกันวุ่นอีก)
ทำกสิณ ถึงปฏิภาคแล้ว ลองถอยลงมาถึงบริกรรม
ยกขึ้นวิปัสสนา จบ
ครั้งต่อๆไปทำแบบนี้ประจำ น่าจะดีกว่าครับ

ผมทำแบบนี้ประจำ พอเจริญวิปัสสนามีปัญหาเหมือนกัน แต่ไม่หนักหน่วงเท่าไร
ปัญหาคือระยะเวลาไม่มากเท่าคุณเท่านั้นเอง
แต่ถ้าทางไหนสัปปายะคุณ ก็ทางนั้นเลยครับ เพราะคนละบุคคล คนละปัญหา

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


โบราณจารย์ ส่วนอารมณ์ของฌาณ จะเป็นไปในขั้นตอนของ อานาปานสติ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ให้มีความรู้ใกล้เคียงกับการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ดังนี้
@ เมื่อหายใจ เข้า ให้กำหนดคำภาวนาในกองกสิณ นั้นๆ เช่น....... “เตโช“
@ เมื่อหายใจ ออก ให้กำหนดคำภาวนาในกองกสิณ นั้นๆ เช่น...... “กสิณัง“
....... การกำหนดภาพนิมิตของกสิณเบื้องต้น
............โบราณจารย์ ให้ดู เปลวไฟ ที่จุดไฟจากตะเกียง หรือเทียนไข ท่านหมายเอาส่วนกลางของเปลวไฟนั้น.... หากเป็นกองไฟควรที่จะคัดกระดาษให้เป็นช่องกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๓ นิ้ว วางไว้ระหว่าง ตากับ องค์กสิณไฟนั้น เป็นการกำหนดรูปทรงที่เหมาะกับ เพื่อง่ายกับความจำหรือสีที่มีความคล้ายคลึงกัน ตามแต่สถานกาล ที่ธุดงค์ไป เช่นดวงพระอาทิตย์ยามเช้า และพลบค่ำ ที่มีสีแดงเพลิง หรือดอกไม้ ใบไม้ หิน ที่มีสีแดงก็อนุโลมใช้แทนกันได้
............ให้ลืมตามองแล้วกำหนดจำภาพ กสิณไฟนั้น เมื่อมีความมั่นใจได้ก็ให้หลับตา กำหนดภาพให้ติดตาติดใจนั้นต่อไป ในระยะแรกๆภาพจะไม่ทรงตัว ภาพกสิณในใจนั้นหายไปให้ท่านลืมตามองในองค์กสิณนั้นใหม่ อีกครั้ง
............ปฏิภาคนิมิต ( หมายถึง กลับกัน ไป/มา ) ในระยะแรกๆนิมิตของกสิณไฟจะกลับกันไป/มา คือปรากฏแล้วหายไป แล้วปรากฏขึ้นมาใหม่
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ขณิกสมาธิ
............อุคคหนิมิต (หมายถึง ขั้นอุกฤต หรือมั่นคงแน่นอนนั้นเอง ) นิมิตของกสิณไฟจะมั่นคง
ระหว่างทรงอารมณ์
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ อุปจารสมาธิ
............ภาพกสิณของกสิณไฟในนิมิต จะเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับของฌาณไป
๑.เมื่อกำลังในทรงตัวในฌาณที่๑ ภาพกสิณไฟ ทรงตัวดีแล้วภาพสินนั้นจะเปลี่ยนไป
............ฌาณที่ ๑ หยาบ ภาพกสิณไฟจากอาการเลื่อนไหว จนเห็นเป็น ไฟหนาทึบเป็นลูกกลมขนาดที่ เจาะรู
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๑ หยาบ
............ฌาณที่ ๑ กลาง ภาพกสิณไฟ จะเป็น จนเห็นเป็น ลูกกลมขนาดที่ เจาะรูสีขาวผิวนอกเงาวาวเริ่มโปร่งใสบ้าง
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๑ กลาง
............ฌาณที่ ๑ ละเอียด ภาพกสิณไฟ จะเป็น จนเห็นเป็น ลูกกลมขนาดที่ เจาะรู โปร่งใสคล้ายแก้วทึบ
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๑ ละเอียด
๒.เมื่อกำลังในทรงตัวในฌาณที่๒ภาพกสิณไฟ ทรงตัวดีแล้วภาพกสิณนั้นจะเปลี่ยนไป
............ฌาณที่ ๒ หยาบ ภาพกสิณไฟ จะเป็น แก้วทึบ เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๒ ส่วนใน ๔ ส่วนผิวนอกเงาวาวเล็กน้อย
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๒ หยาบ
............ฌาณที่ ๒ กลาง ภาพกสิณไฟ จะเป็น แก้วทึบเทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๒ ส่วนใน ๔ ส่วนผิวนอกเงาวาวมากขึ้น
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๒ กลาง
............ฌาณที่ ๒ ละเอียด ภาพกสิณไฟ จะเป็น แก้วทึบเทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน ผิวนอกเงาวาวมากสุด
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๒ ละเอียด
๓.เมื่อกำลังในทรงตัวใน ฌาณที่ ๓ ภาพกสิณไฟ ทรงตัวดีแล้ว ภาพสินนั้นจะเปลี่ยนไป
............ฌาณที่ ๓ หยาบ ภาพกสิณไฟ จะเป็น แก้วโปร่งใสมาก เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๓ ส่วนใน ๔ ส่วน ภายในองค์กสิณไฟ ก็จะมีความเป็นประกายพรึกเล็กน้อย หรือ ๑ ส่วนใน ๓ ส่วน ผิวนอกเงาวาวเล็กน้อย
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๓ หยาบ
............ฌาณที่ ๓ กลาง ภาพกสิณไฟ จะเป็นแก้วโปร่งใสมาก เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๓ ส่วนใน ๔ ส่วน ภายในองค์กสิณไฟ ก็จะมีความเป็นประกายพรึกปานกลางหรือ ๒ ส่วนใน ๓ ส่วน ผิวนอกเงาวาวมากขึ้น
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๓ กลาง
............ฌาณที่ ๓ ละเอียด ภาพกสิณไฟ จะเป็นแก้วโปร่งใสมาก เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๓ ส่วนใน ๔ ส่วน ภายในองค์กสิณไฟ ก็จะมีความเป็นประกายพรึกมากสุด หรือ ๓ ส่วนใน ๓ ส่วน ผิวนอกเงาวาวมากสุด
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๓ ละเอียด

๔.เมื่อกำลังในทรงตัวใน ฌาณที่ ๔ ภาพกสิณไฟทรงตัวดีแล้ว ภาพสินนั้นจะเปลี่ยนไป
............ฌาณที่ ๔ หยาบ ภาพกสิณไฟ จะเป็น แก้วโปร่งใสมาก เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๔ ส่วนใน ๔ ส่วน ภายในองค์กสิณไฟ ก็จะมีความเป็นประกายพรึกทั้งองค์กสิณ มีการส่องสว่างจากจาภายในออกมาภายนอก ๑ ใน ๓ ส่วน ผิวนอกเงาวาวเล็กน้อย
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๔หยาบ
............ฌาณที่ ๔ กลาง ภาพกสิณไฟ จะเป็นแก้วโปร่งใสมาก เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๔ ส่วนใน ๔ ส่วน ภายในองค์กสิณไฟ ก็จะมีความเป็นประกายพรึกทั้งองค์กสิณ มีการส่องสว่างจากจาภายในออกมาภายนอก ๒ ใน ๓ ส่วน ผิวนอกเงาวาวมากขึ้น
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๔ กลาง
............ฌาณที่ ๔ ละเอียด ภาพกสิณไฟ จะเป็นแก้วโปร่งใสมาก เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๔ ส่วนใน ๔ ส่วนภายในองค์กสิณไฟ ก็จะมีความเป็นประกายพรึกทั้งองค์กสิณ มีการส่องสว่างจากจาภายในออกมาภายนอก ๓ ใน ๓ ส่วนผิวนอกเงาวาวมาก
............ประดุจโหลแก้วผิวบางทรงกลม ใส่เพชรเจียรนัยแล้วเม็ดเล็ก เท่าเม็ดทราย ที่สามารถเรืองแสงสว่างใสได้ ใส่ไว้จนเต็มองค์กสิณนั้นเอง
- อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๔ ละเอียด
............เมื่อท่านสามารถที่จะทรงอารมณ์ฌาณในอานาปานสติ + กสิณ ...จนมมีความคล่องตัวตามลำดับฌาณ ลำดับกสิณแล้ว ควรที่จะเข้าสลับฌาณ สลับกสิณ จนคล่องตัว
............จากนั้นก็นำผลของฌาณในอนาปานสติ+กสิน มาเป็นกำลังในวิปัสสนาญาณ จนเกิดปัญญาว่า กสิณถึงจะเป็นสิ่งดีในฝ่ายกุศล แต่ก็หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ มีความเกิดในเบื้องต้น เปลี่ยนแปรงในทามกลาง ในที่สุดก็เสื่อมสลายไป เป็นธรรมดา
............กายสังขารของเราก็เช่นกันหาความเที่ยงแท้แน่นอนมิได้ ดังความเปลี่ยนแปรงของกสิน ก็ความทุกข์ทั้งหลายที่เป็นส่วนหนึ่งให้เราต้องเกิดทุกข์ได้แก่
๑) รูปราคา....เห็นรูป แล้วตั้งอุปทานว่า รูปนั้นเป็นของเรา มีในเรา จึงเป็นทุกข์
๒) อรูปราคา...ไม่มีของจริงให้เห็นรูป แต่ยึดติดในการปรุงแต่งว่าเป็นรูปในใจ หรือนิมิต แล้วตั้งอุปทานว่า อรูปนั้นเป็นของเรา มีในเรา จึงเป็นทุกข์
............ดังนี้หารเรายังคงยึดติดทั้ง รูป ทั้งอรูป ย่อมก่อให้เกิดภพชาติ ด้วยหวังต้องการใน ความเป็น รูป และ อรูปว่าเป็นของเรา
............เราย่อมเวียนตายเวียนเกินในภพภูมิทั้งสี่ ได้แก่ อบายภูมิ มนุษยโลก เทวะโลก พรหมโลก อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจะขอเพียงเพื่อ อยู่เพื่อ อาศัยทั้งรูปทั้งอรูป ชั่วคราว เมื่อหมดหน้าที่ของการเป็นมนุษย์ในชาตินี้ เมื่อใดขอไป “ พระนิพพาน “ เมื่อนั้น

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


กสิณไฟ” เป็นกรรมฐานกองที่มีพลังมากที่สุดในการปฏิบัติสมาธิภาวนา การเพ่งกสิณไฟสามารถช่วยประคองจิตของผู้ปฏิบัติให้เกิดสมาธิจนเข้าสู่รูปฌานและอรูปฌานได้

พลังแห่งกสิณไฟนอกจากจะมีอำนาจอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติและกฎบัญญัติบนโลกแล้ว พลังแห่งกสิณไฟยังนำมาซึ่งพลังจิตที่สามารถแทรกแซงเข้าไปในวิถีชีวิตของเราได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการบังคับธาตุทั้งสี่ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) เช่น ทำให้เกิดฝนตก ฟ้าร้อง มีลมพายุ หรือแม้กระทั่งสามารถนำไปใช้ควบคุมความคิดและจิตใจของคนเราได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง พลังอำนาจของกสิณไฟจึงสมควรนำไปใช้อย่างถูกวิธี อย่างมีความเข้าใจ เพราะหากเราไม่มีความเข้าใจในอำนาจแห่งพลังกสิณไฟแล้ว ผู้ปฏิบัติที่สำเร็จกสิณไฟอาจไม่สามารถควบคุมพลังอำนาจพิเศษจากกสิณไฟได้ และอาจนำพลังอำนาจจากกสิณไฟนั้นไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ใช้พลังอำนาจจิตจากกสิณไฟบังคับธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หรือใช้พลังอำนาจจิตจากกสิณไฟครอบงำความรู้สึกนึกคิดและจิตใจของมนุษย์ ฯลฯ ซึ่งผลที่เกิดจากการใช้พลังอำนาจจิตจากกสิณไฟได้ก่อให้เกิดความเสียหายและสร้างความวุ่นวายต่อเพื่อนมนุษย์บนโลกเป็นอย่างมาก อันเป็นการสร้างบาปกรรมให้เกิดขึ้นจากการใช้พลังอำนาจจิตจากกสิณไฟโดยที่ผู้ฝึกกสิณไฟไม่ได้ตั้งใจ ผู้ที่ฝึกกสิณไฟจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงวิธีการควบคุมพลังอำนาจแห่งกสิณไฟ

ผู้ที่ฝึกกสิณไฟจึงจำเป็นต้องให้สัจจะวาจารับศีลและปฏิญาณตนรับข้อห้ามต่างๆ กับครูบาอาจารย์ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้ฝึกกสิณไฟในชั้นสูงนำเอาพลังอำนาจพิเศษจากกสิณไฟไปใช้เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยขอบเขตของศีลห้าจะเป็นเครื่องเตือนใจของผู้ที่ฝึกกสิณไฟให้มีสติเท่าทันกิเลสทั้งปวง[1]

กล่าวกันว่าบรรดาผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยการเพ่งกสิณและสำเร็จกสิณ (ไฟ) ยามเมื่อตายลง ร่างกายสังขารของผู้ที่สำเร็จกสิณไฟจะสามารถลุกไหม้เผาทำลายตัวเองได้ ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็สืบเนื่องมาจากพลังอำนาจของกสิณไฟที่พวกเขาได้เฝ้าฝึกปรือเอาไว้จนชำนิชำนาญ แม้เมื่อถึงเวลาที่พวกเขาได้ตายจากโลกนี้ พลังกสิณไฟที่อยู่ภายในจิตของผู้สำเร็จกสิณไฟจะทำหน้าที่ของตนด้วยการลุกไหม้เผาร่างกายสังขารอันเป็นก้อนธาตุทั้งสี่นี้ให้สูญสิ้นไป

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ภวังคจิต มี 3 อย่าง คือ ภวังคบาท คือ จิตรวมวูบหายไปเดี๋ยวเดียวก็รู้สึกตัว เหมือนกับขณิกสมาธิ ภวังคจลนะ คือ จิตรวมวูบเข้าไป แล้วมีอาการส่ายไปมารับรู้อยู่ในนั้น แต่ไม่ส่ายออกมาข้างนอก ส่ายเรื่องของมันเอง เหมือนกับ อุปจารสมาธิ โดยมากส่ายไปในธรรม หรือ ธัมมวิจัย ภวังคปัจเฉทะ คือ จิตรวมวูบไปแล้วขาดจากอารมณ์ภายนอกหมดเงียบหายไปเลย คล้ายกับอัปปนาสมาธิ ซึ่งหายจากอารมณ์ภายนอกไป มีความรู้สึกอยู่ภายใน สว่างจ้าของมันอยู่ต่างหาก

สมาธินั้น เมื่อจิตรวมเข้าไป รู้อยู่ตลอดเวลา จิตจะหยาบละเอียดสักเท่าไร สติย่อมตามรู้อยู่ทุกขณะจิต เมื่อยังหยาบอยู่มันจะรู้แต่ภายนอก เมื่อละเอียดเข้ามันจะรู้ทั้งภายนอกภายใน ไม่หลงไปตามอาการของจิตของตน รู้ทั้งจิตที่เป็นธรรม และจิตที่ปนไปกับโลก ไม่เห็นไปหน้าเดียว ซึ่งเรียกว่า หลงโลกหลงธรรม จิตจะเป็นกลางวางอารมณ์ทั้งหมดเฉยได้ จะทำก็ได้จะไม่ทำก็ได้ เมื่อจะทำก็ทำแต่ในสิ่งที่ควรสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ทำสุ่มสี่สุ่มห้า สมาธิเป็นลักษณะของผู้ใหญ่ผู้รู้เดียงสาทำ ส่วนฌานเป็นลักษณะของเด็กผู้ไม่รู้เดียงสาทำ นิมิตและความรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมาธินั้น นอกจากเป็นรูปแล้ว มันอาจเกิดความรู้ที่เป็นอรรถคาถา หรือเป็นเสียงไม่มีตัวตน หรือ เป็นเสียงพร้อมทั้งตัวตนก็ได้ ทั้งหมดล้วนเป็นเครื่องเตือนตนเอง และคนอื่นให้ระวังภัยอันตรายที่เกิดขึ้นข้างหน้า หรือเตือนว่าสิ่งที่ตนทำมานั้นผิดหรือถูกก็ได้ นิมิตและความรู้ที่เกิดขึ้นในสมาธินั้นสำคัญมากทีเดียว เป็นเครื่องมือของเจ้าสำนัก นักบริหาร นักปกครอง

นิมิตและความรู้ จะเกิดขึ้นแก่นักปฏิบัติธรรม ในเวลาจิตเป็นอุปจารสมาธิ แต่ตัวเองไม่รู้วาเป็นอุปจารสมาธิ เกิดขณะยืนก็มี ขณะนั่งสมาธิก็มี ขณะเดินไปเดินมาก็มี นิมิตและความรู้ทั้งหลายมักเกิดขึ้นกระท่อนกระแท่นไม่ติดต่อกัน จริงบ้างไม่จริงบ้างเพราะผู้เข้าสมาธิไม่ชำนาญ ท่านที่ชำนาญแล้ว จะเข้าสมาธิถึงอัปปนาสมาธิ แล้วถอนออกมาอยู่วางเฉย เมื่อเหตุการณ์อะไรจะเกิดก็จะเกิดขึ้น เมื่อมันไม่มี มันก็ไม่เกิด เมื่อมันเกิดขึ้นแน่นอนที่สุดเป็นจริงทุกอย่าง

ผู้ใดไม่มีฌานผู้นั้นไม่มีสมาธิ ผู้ใดไม่มีสมาธิผู้นั้นก็ไม่มีฌานเหมือนกัน จงพากันหมั่นเจริญฌาน และฝึกอบรมสมาธิให้ชำนาญจิตจะเกิดความรู้เฉพาะที่เป็นอุปจารสมาธิเท่านั้น สมาธิอื่นๆ ไม่เกิดเลย อัปปนาสมาธิไม่เกิดปัญญาแต่เป็นที่พักของจิต เมื่อจิตทำงานด้านค้นคว้าหาเหตุผลจนพอตัวแล้ว ศีลเมื่อเจริญดีแล้ว จะสนับสนุนให้เกิดวิมุตติหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายจนพ้นทุกข์ทั้งปวงในที่สุด ธรรมแท้ย่อมสัมผัสที่ใจ ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้สัมผัสด้วยใจตนเองแล้ว จะได้ชื่อว่าเป็นปัญญาความรู้รอบ หรือรอบรู้ได้อย่างไร อะไรหมด อะไรยังอยู่ จะรู้ได้อย่างไร

ฌาน สมาธิ และวิปัสสนา

เมื่อชำนิชำนาญแก่กล้าพอแล้ว จะทำให้เกิดมรรคสมังคี
มรรคสมังคี มิใช่จิตที่รวมเข้าเป็นภวังค์อย่างฌาน และมิใช่จิตรวมเป็นสมาธิ แต่จะรวมทั้งหมดเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อวิปัสสนาพิจารณาค้นคว้าหาเหตุผลภายนอกภายใน เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริง ไม่เคลือบแคลงสงสัยแล้ว จิตจะรวมเอาองค์มรรคทั้งแปด คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เข้ามาไว้ในที่เดียวกันเป็นสัมมาทิฏฐิอันเดียวกันในขณะจิตเดียว แล้วก็ถอนออกจากนั้น แล้วก็เดินไปตามกามาพจรจิต มีแต่ความรู้เท่าอยู่ตลอดเวลา มิได้หลงไปตามอารมณ์เช่นเมื่อก่อน มรรคจิตแต่ละมรรคจะเกิดหนเดียว แล้วไม่เกิดอีกเด็ดขาด

แต่ละมรรคสมังคี เกิดขึ้นด้วยปัญญาอันแก่กล้า เจริญมรรคให้คล่องแคล่วชำนาญแล้ว มันหากเกิดขึ้นของมันเองต่างหาก ใครจะแต่งเอาไม่ได้ แต่ละภูมิพระอริยเจ้า จะเป็นเครื่องตัดสินชี้ขาดได้ขั้นนั้นจริงๆ แต่จะรู้จักชัดด้วยตนเองเท่านั้น การจะรู้ด้วยอภิญญา หรือผู้มีภูมิสูงกว่า หรือด้วยสังเกตก็ได้ แต่การสังเกตอาจไม่แน่นอน

ผู้เขียนเคยพิจารณามรรคสมังคีเห็นว่า ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิปัญญาจะพิจารณาสภาวธรรมต่างๆ ที่มาสัมผัสใจ จนรู้รอบคอบในองค์ประกอบของแต่ละมรรค ซึ่งได้แก่ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามีมรรค อรหัตตมรรค ว่าแต่ละอย่างมีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง ละสังโยชน์ได้กี่ข้อ สังโยชน์แต่ละข้อมีขอบเขตเพียงใด พิจารณามรรคแปดข้อต้นจนถึงข้อสุดท้าย แล้วถอยลงมารวมกันเป็นสัมมาทิฏฐิอันเดียว รู้เท่าท้นสภาวะธรรมอยู่อย่างนั้น เรียกว่า มรรคสมังคี เป็นเครื่องประหารกิเลสในแต่ละมรรค เรียกว่า มรรคประหาร เป็นโลกุตรฌาน

ที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า การรักษาอุโบสถศีล เป็นการกระทำที่สำคัญอย่างยิ่งของพุทธศาสนิกชนทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะผู้ครองเรือน เพราะศีลแปดเป็นศีลที่ช่วยกำจัดนิวรณ์ เครื่องกั้นกลางความดี ช่วยให้การภาวนาอบรมสมาธิเป็นไปได้ง่าย เป็นแนวทางให้เกิดปัญญาอันยิ่งใหญ่ บรรลุมรรคผลนิพพาน จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ทุกคนควรจะได้สนใจศึกษาอุโบสถศีล และหาเวลาปฏิบัติภาวนารักษาศีลแปดอย่างน้อยปีละครั้ง ครั้งละ 7 วัน ผู้เขียนเห็นว่า เวลาที่เหมาะที่สุด สำหรับฆราวาสผู้มากด้วยการงาน คือ การทำบุญฉลองวันเกิดของตนเอง ควรจะทำสังฆทานรักษาศีลภาวนาดีกว่าจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ ดื่มสุรายาเมา อันเป็นเหตุให้ตกนรกหมกไหม้ เพราะการรักษาศีลแปดทำภาวนา ถ้าไม่ได้วิมุตติหลุดพ้นในชาตินี้ ก็เป็นเหตุให้เข้าถึงสวรรค์เสวยทิพย์สมบัติ และเป็นอุปนิสัยเป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน ในกาลข้างหน้า จงรักษาอุโบสถศีลทำสมาธิในวันพระกันเถิด นอกจากเป็นการสะสมบุญบารมีแล้ว การทำสมาธิยังเป็นการผ่อนคลายความเครียดทำให้เกิดความสุขสงบเป็นบุญที่เห็นได้ปัจจุบันทันตาประการหนึ่ง ใครยังไม่เคยเห็นความสุขน่าลองทำดู

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
เอ...
ทำสมถะด้วย วิปัสสนาด้วย ทำไมไม่เอาสมถะ(กสิณ)มาเป็นพื้นปูทาง
ในการทำวิปัสสนา ในช่วงเดียวกันทำสมถะ แล้วไปวิปัสสนา พอทำวิปัสสนากลับมาทำสมถะ
มันจะเป็นไงเนี่ย
ทำวิปัสสนาอยู่ ออกปุ๊บ ต่อสมถะเลย สติยังไวอยู่ สมถะรวมยากหน่อย เพราะสติจะคอย
กำหนดรู้เสมอๆ สติไม่ต้องการสมาธิแนบแน่นมาก คงต้องการสมาธิที่มีกำลังมากกว่า
ออกสมถะปุ๊บ ทำวิปัสสนาเลย ถ้าสติไม่พอๆกับสมาธิ
กำหนดยากอีก มักนิ่งลงภวังค์ไปง่ายๆ สมาธิยังแนบแน่นดี

ลองแบบบ้างซิครับ
ในระยะเวลา 1.5 ชม. ทำสมถะให้แน่นก่อนซัก 1.0 ชม.
ระยะถอยลงเพื่อปรับทำวิปัสสนาต่อ 0.5 ชม.
เริ่มทำวิปัสสนาโดยจงกรม(เพื่อปรับสติให้พอกับสมาธิที่ยังมีอยู่แนบแน่น)
ซัก 1.0 ชม. จากนั้นนั่งเจริญวิปัสสนา .5 ชม.พอ(สมาธิดีอยู่แล้ว ไม่ควรนั่งมาก
ควรเจริญสติด้วยจงกรมมากๆหน่อย เลือกระยะ จังหวะการเดินที่ไม่กระทุ้งวิริยะ
มากไป(เดี๋ยวต้องปรับกันวุ่นอีก)
ทำกสิณ ถึงปฏิภาคแล้ว ลองถอยลงมาถึงบริกรรม
ยกขึ้นวิปัสสนา จบ
ครั้งต่อๆไปทำแบบนี้ประจำ น่าจะดีกว่าครับ

ผมทำแบบนี้ประจำ พอเจริญวิปัสสนามีปัญหาเหมือนกัน แต่ไม่หนักหน่วงเท่าไร
ปัญหาคือระยะเวลาไม่มากเท่าคุณเท่านั้นเอง
แต่ถ้าทางไหนสัปปายะคุณ ก็ทางนั้นเลยครับ เพราะคนละบุคคล คนละปัญหา



ใช่กระทู้นี่หรือเปล่าคะ ที่คุณเล่าให้ฟัง ... :b1:

ถ้าใช่ล่ะก็ .. เอาเป็นว่า ไว้สนทนากันค่ะ :b12:

ตัวหนังสืออ่านมากๆเวียนหัวค่ะ โดยเฉพาะของคุณบุญชัยนี่ เวียนหัวสุดๆ :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 09:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่ครับท่านวลัยพร ตกภวังค์แล้ว น้ำลายไหล ขาแขน ขยับเองได้ ละครับ :b20:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญชัย เขียน:
ใช่ครับท่านวลัยพร ตกภวังค์แล้ว น้ำลายไหล ขาแขน ขยับเองได้ ละครับ :b20:


ข้อความที่ถามทิ้งไว้ คือ ถามคุณกามน่ะค่ะ :b12:

ส่วนสิ่งที่คุณบุญชัยพูดมานั้น อ่านแล้ว ขออนุญาตินะคะ :b32:

ไปนำมาจากไหนคะ จิตตกภวังค์ แล้วมีอาการอย่างที่คุณกล่าวมา ยิ่งเรื่องน้ำลายไหล นี่ยิ่งแล้วใหญ่เลย :b1:

เพียงจะบอกน่ะค่ะ ว่า ... แล้วแต่กุศลค่ะ ใครเชื่อใคร ไม่ใช่เรื่องที่จะมาว่าใคร เพียงแต่ อ่านของบุญชัยแล้ว ตาลายจริงๆ มันมีแต่ตัวหนังสือ เข้าใจไม๊คะ ประมาณว่า ผู้ปฏิบัติไม่สามารถนำไปใช้ในสิ่งที่เขากำลังประสบกับสภาวะนั้นๆอยู่ .. :b20:

เรื่องสภาวะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนนะคะ ยังไงๆ การเจริญสติปัฏฐาน 4 ช่วยแก้ได้ทุกสภาวะค่ะ แล้วก็ไม่ได้เข้าข้างใครนะคะ คือเป็นกลาง ต่างคนต่างไม่เคยรู้จักกันมาก่อน .. :b8:

จะยินดีสนทนาหลังไมค์กันไม๊คะ แล้วจะชี้ให้เห็นบางสิ่งบางอย่างที่คุณบุญชัยมองข้ามไป แล้วไปยึดติดอยู่กับตัวหนังสือ หรือจะสนทนาตรงนี้ก็ได้ค่ะ :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2009, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้ครับหลังไมล ก็หลังไมลผมโดน พรรค สวนโมกว่าหลงทางมาแล้ว
ก็อยากรู้หนทางท่าน วลัยพรว่ายังไงผมก็เรียนมาไม่ใช่ ดมเองทึก ทักเอง ถ้าผมแพ้ก็ยอมรับด้วยลูกผู้ชายนะยะ ไม่ติดใจไร ครับท่าน
เมื่อครั้งที่มีการทำปฐมสังคายนากันครั้งแรกมีพระมหากัสสปเป็นประธาน แล้วก็มีพระอานนท์เป็นผู้ว่าการฝ่ายพระสูตรและพระอภิธรรม พระอานนท์ท่านได้กล่าวไว้ว่า
ข้าพเจ้าผู้ชื่อว่าอานนท์ ได้สดับมาเฉพาะพระพักตร์ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ กล่าวคือ ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมของชาวกุรุ ซึ่งมีชื่อว่ากัมมาสกัมมะนิคม ในแคว้นกุรุ ในที่นั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตักเตือนภิกษุทั้งหลายให้ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แล้วภิกษุทั้งหลายนั้นทูลรับคำว่า พระเจ้าข้า่ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้โปรดประทานพระธรรมเทศนาแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก เป็นทางให้เกิดความบริสุทธิ์แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นทางระงับเสียซึ่งความเศร้าโศกและเสียใจ และความพิไรรำพัน เป็นทางให้เข้าถึงซึ่งความสิ้นทุกข์และโทมนัส เป็นทางให้ได้ซึ่งอรรถธรรมและความรู้ เป็นทางให้สำเร็จซึ่งพระนิิพพาน ทางเอกนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ คืออะไรบ้าง คือภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย พิจารณาเห็นจิตในจิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภิกษุในธรรมวินัยนี้ต้องเป็นผู้มีความเพียร เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ จึงจะกำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้”
สติปัฏฐาน ๔ นี้มีอะไรบ้าง

ให้พิจารณากายในกาย
พิจารณาเวทนาในเวทนา
พิจารณาจิตในจิต
พิจารณาธรรมในธรรม
"พิจารณาเห็นกายในกายนั้น คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไปอยู่ในป่าหรือว่า อยู่ที่โคนต้นไม้ หรือไปอยู่ที่ว่างบ้านเรือน แล้วก็นั่งตั้งกายให้ตรง ดำรงสติอันเป็นเครื่องกำหนดไว้ ภิกษุนั้นหายใจออกก็มีสติ หายใจเข้าก็มีสติ เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่าหายใจยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ว่าหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น จะกำหนดกองลมทั้งปวง แล้วจึงหายใจออก เราจะกำหนดกองลมทั้งปวงแล้วจึงจะหายใจเข้า เราจะระงับกองลมแล้วจึงจะหายใจออก เราจะระงับกองลมแล้วจึงจะหายใจเข้า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ช่างกลึงผู้ฉลาดหรือว่าลูกมือช่างกลึง เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ว่าชักเชือกกลึงยาว เมื่อชักเชือกกลึงสัน ก็รู้ว่าเราชักเชือกกลึงสั้น ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่าเราหายใจออกยาว หายใจเข้ายาวก็รู้ว่าเราหายใจเข้ายาว หายใจออกสั้นก็รู้ว่าหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าเราหายใจเข้าสั้น ภิกษุนั้นย่อมศึกษาว่า เราจะกำนหดรู้กองลมทั้งปวงแล้วจึงจะหายใจออก เราจะกำหนดรู้กองลมทั้งปวงแล้วจึงจะหายใจเข้า เราจะระงับกองลมแล้วจึงจะหายใจออก จะระงับกองลมแล้วจึงหายใจเข้า"
การพิจารณากายในกาย ในขั้นแรก ท่านถือเอากองลมเป็นสำคัญ อันนี้เขาเรียกว่า อานาปานบรรพ หรือว่า อานาปานสติกรรมฐาน ซึ่งมีความสำคัญมาก สามารถทรงฌาน ๔ ได้แล้ว ถ้าเจริญตามแบบนี้ ท่านจะมีความสุขแบบสุขวิปัสสโก และมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ จะดัดแปลงขึ้นไปสู่วิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณก็ทำได้
อานาปานาสติกรรมฐานตอนต้น ว่าเมื่อเราหายใจเข้าก็มีสติ หายใจออกก็มีสติ สตินีี่่แปลว่านึกได้รู้อยู่ คำว่ามีสตินี่ ตัวนึกเข้าไว้ ตัวไม่ลืม หมายถึง จงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเอาไว้ เวลาจะหายใจเข้าก็ตาม เวลาจะหายใจออกก็ตาม ต้องรู้เข้าไว้ รู้ลมเข้าไว้ เวลาลมเข้าให้รู็ว่าลมเข้า ลมออกก็ให้รู้ว่าลมออก เดินไปก็ในรู้ว่าลมเข้าลมออก นั่งอยู่รู้ลมเข้าลมออก นอนอยู่รู้ลมเข้าลมออก ยืนอยู่รู้ลมเข้าลมออก ทำได้ตลอดทุกอิริยาบท ทำอย่างนี้ให้ชินจนกระทั่งจิตไม่ต้องระวังเรื่องลมเข้าลมออก รู้ได้เป็นปกติ อย่าไปดัดแปลงลมหายใจ ร่างกายมันต้องการหายใจสั้นหรือยาวปล่อยมัน หายใจแรงหรือหายใจเบาเปล่อยมัน ไม่ต้องฝืน
จำไว้ว่าท่านจะเจริญมหาสติปฏิฐานสูตรในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในบทว่าอานาปานาบรรพเราจะรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกอยู่เสมอ จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน จะอาบน้ำ จะดูหนังสือ จะเดินไปไหน ทำงานอย่างใดก็ตาม รู้ลมเข้ารู้ลมออก

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2009, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายเธอจงเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า จงรู้ว่าเป็นผู้หายใจเข้า เมื่อหายใจออกก็จงรู้ว่าเป็นผู้หายใจออก" หมายความว่า การรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกนี่เราไม่ต้องระวังกัน ไม่ต้องตั้งท่า ไม่ต้องหาเวลา เป็นเวลาใดก็ตาม เวลาที่กินข้าวอยู่ก็ดี หรือว่าทำการงานก็ดี เวลาพูดคุยกับเพื่อนฝูงก็ดี เดินไปก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ทุกอิริยาบทเราสามารถรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกได้อย่างสบาย อย่างนี้เรียกว่าเข้าถึงอานาปานาสติ มหาสติปัฏฐานสูตรข้อนี้แล้ว
เรื่องของพระกรรมฐานกับนิมิตเป็นของธรรมดา นิมิตของอานาปานาสติกรรมฐานก็มี เช่น สีเขียว สีแดง สีสว่างคล้าย ๆ แสงไฟฉาย หรือเหมือนแสงฟ้าแลบ การที่จะได้บุญ อยู่ตรงที่จิตเป็นสมาธิ ตัวบุญอยู่ที่จิตเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ตั้งมั่น ไม่ใช่อยู่ที่องค์ภาวนาอย่างเดียว การภาวนาด้วย ก็เพื่อจะใช้อารมณ์ยึด คือ สติ ให้รู้อยู่ว่าเรากำหนดลมหายใจเข้าออก หรือว่าเราภาวนาว่ายังไง แล้วก็ควบคุมอารมณ์อยู่เฉพาะอย่างนั้นอย่างเดียวให้เป็นเอกัคคตารมณ์ คำว่า เอกัคคตารมณ์ แปลว่า เป็นหนึ่ง ตัวบุญใหญ่คือ การทรงสมาธิจิต ถ้าสมาธิทรงได้สูงมากเพียงใด นิวรณ์ที่จะมากั้นความดีคืออารมณ์ของความชั่ว คำว่านิวรณ์ได้แก่ อารมณ์ของความชั่ว ถ้าขณะใดจิตทรงสมาธิที่เรียกกันว่าเป็นฌาน คำว่าฌานนี้ แปลว่า การเพ่ง การทรงอยู่ของจิต จิตเพ่งอยู่เฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง อันนี้เราเรียกกันว่า ฌาน
เมื่อเรามีสติสามารถจะรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ที่กระทบเข้าและกระทบออกที่จมูกได้ เข้าก็รู้ออกก็รู้ จิตก็จะเริ่มเป็นสมาธิ สมาธิขั้นต้นเรียกว่า ขณิกสมาธิ แปลว่า สมาธิเล็กน้อย เมื่อขณิกสมาธิละเอียดขึ้น จิตก็จะเข้าสู่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์ของที่เป็นทิพย์จะปรากฎ จิตเป็นทิพย์ คือ จิตย่อมว่าจากกิเลส จิตว่างจากนิวรณ์ทั้ง ๕ เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์ ๕ ประการแล้ว จิตก็สามารถจะเป็นทิพย์ แต่จะเป็นมากหรือเป็นน้อยขึ้นอยู่กับสมาธิจิต จะเห็นแสง เห็นภาพ แต่ภาพที่ปรากฎก็ดี แสงสีที่ปรากฎก็ดี จงอย่าเอาจิตเข้าไปเกาะ เพียงกำหนดว่า ถ้าหากว่าเราเห็นนานหรือเร็ว จงรู้ตัวว่า นี่จิตของเราเป็นทิพย์ เข้าสู่อุปจารสมาธิ

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2009, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ นี่ดวนกันหลังไมล์ ท่าน..วลัยพร
BOONCHAI_K@SYNNEX.CO.TH
089737451.

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2009, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้ครับหลังไมล ก็หลังไมลผมโดน พรรค สวนโมกว่าหลงทางมาแล้ว
ก็อยากรู้หนทางท่าน วลัยพรว่ายังไงผมก็เรียนมาไม่ใช่ ดมเองทึก ทักเอง ถ้าผมแพ้ก็ยอมรับด้วยลูกผู้ชายนะยะ ไม่ติดใจไร ครับท่าน


ทำไมถึงเรียกว่าดวนหลังไมค์คะ :b6:

แล้วทำไมเขาถึงกล่าวว่าคุณหลงทางล่ะคะ :b10:


ยังไงผมก็เรียนมาไม่ใช่ ดมเองทึก ทักเอง

ข้อความที่คุณกล่าวมานี้ คุณกำลังคิดอะไรอยู่คะ :b16:

แล้วการสนทนากัน ทำไมต้องมีคำว่าแพ้ชนะด้วยคะ :b1:

จะสนทนาตรงนี้ก็ได้ค่ะ ด้วยความยินดีค่ะ :b12:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2009, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อตอนเย็นมาโพสไว้ ต้องขออภัยด้วยค่ะ :b8:

เราคงไม่มีกุศลที่จะได้สนทนาด้วยกันกระมังคะ เพราะตอนนี้มีบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญมากๆ ทำให้ต้องงดสนทนากันไปชั่วคราว .. :b1:

แค่กิเลสในตัวเองก็ฟาดฟันกับมันจะแย่อยู่แล้ว ตอนนี้เหนื่อยมากๆ เอาเป็นว่า จิตใครจิตมัน รักษาเอาเองดีกว่านะคะ :b12:

ขออภัยอีกครั้งค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2009, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 พ.ย. 2008, 14:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนคุณกรัชกาย และผู้ปฏิบัติที่หวังดีทุกท่านที่ให้คำแนะนำการปฏิบัติธรรมทุกท่านครับ

ผลของการปฏิบัติธรรมของผมไม่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ท่านอาจารย์ของผมท่านแนะนำว่าผมต้องไปเกิดในภพใหม่ ผมจึงจะแก้กรรมในอดีตที่เป็นอกุศลกรรมที่ติดตัวมาได้ ผลการปฏิบัติปัจจุบันไม่ค่อยคืบหน้าเท่าที่ควร สาเหตุเพราะวิบากกรรมเก่าที่ยังตกค้างอยู่ ท่านกล่าวว่า ในชาตินี้จะเป็นชาติสุดท้ายที่มีโอกาสล้างกรรมหนักที่เหลือเป็นเศษกรรมให้หมดสิ้นไปได้ในชาตินี้ ผมกำหนดการไปเกิดในภพใหม่ (โดยการบรรพชาอุปสมบทเข้าในพระศาสนาประมาณปลายเดือน พ.ค.นี้) ณ.วัดเขาแห่งหนึ่ง ในภาคกลางนี้เอง เพื่อเป็นการสร้างบารมี ให้ยิ่งๆขึ้นไปอีก
ท่านอาจ อยากทราบว่ากรรมหนักที่ผมว่านั้นคืออะไร และแค่เศษกรรมเท่านั้นทำไมมีผลต่อการประพฤคิปฏิบัติถึงเพียงนี้ ท่านอาจารย์ได้กรุณาเล่าให้ผมฟังว่า เนื่องจากผลการปฏิบัติธรรมในอดีตกาลที่ได้โลกียธรรมสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ ได้ไปปรามาสพระอรหันต์ที่ท่านสำเร็จทางปัญญาวิมุติโดยเข้าใจเอาเองว่า พระอรหันต์จะต้องมีฤทธิ์ทุกองค์ จึงกล่าวตำหนิและดูถูกเหยียดหยามท่าน ผลคือ นรกครับ ไม่ต้องห่วงผมหลอกครับท่านอาจารย์ท่านว่าหลังจากเปลี่ยนภพ ไปเกิดในภพใหม่แล้ว ผลกรรมในอดีตจะได้รับการแก้ไข ผมก็สามารถจะปฏิบัติให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างแน่นอนครับ เพราะผมมีพระสงฆ์ที่แท้จริงเป็นที่พึ่งที่ระลึกเป็นครูบาอาจารย์อยู่ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
โปรดระวังนะครับ ผู้ปฏิบัติบางท่านที่รู้ตัวว่าเดินทางไปถึงขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว เป็นอริยบุคคล โปรดกรุณาอย่าสร้างกรรมไว้แด่ผู้ที่ยังโง่เขลาอยู่เลยครับ
ที่ผมเขียนมาเล่าให้ฟังนี้เพื่อให้บางท่านที่อาจพบเจอปัญหาที่คล้ายๆกับผมได้เข้าใจ และหาโอกาสได้สำรวจตนเองว่า เป็นเพราะเหตุใดการปฏิบัติธรรมจึงติดขัดอยู่เสมอ ทั้งๆที่ มี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา และอาศรัย อิทธิบาท 4 เป็นธรรมในการปฏิบัติแล้ว ขอให้ท่านทั้งหลายเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ ขอบคุณ

ยินดีน้อมรับคำแนะนำการปฏิบัติจากทุกๆท่านครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2009, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โมทนาสาธุค่ะ :b8:

ขอให้ได้ดวงตาเห็นธรรมค่ะ สาธุ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron