วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ต.ค. 2008, 19:36
โพสต์: 6

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับผู้ฝึกสมาธิภาวนาใหม่ๆ
บางท่านก็ไม่รู้ว่าอาการของปิติเป็นเช่นไร
ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกัน เลยอยากจะขอให้ท่านผู้มีประสพการณ์
ทั้งหลายช่วยบอกเล่าอาการของปิติที่ท่านทั้งหลายเคยประสพมา
เพื่อเป็นวิทยาทานต่อผู้ไม่รู้ เพื่อที่ผู้ฝึกหัดใหม่จะได้ไม่หลงผิด
คิดว่าอาการที่ตนประสพนั้น เป็นเรื่องพิเศษที่เกิดแก่ตน จนหลงทิศทางที่ถูกต้อง
หากท่านใดมีประสพการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ จะถ่ายทอดให้ เพื่อผู้ที่ไม่รู้จะได้รับทราบ
และเข้าใจไม่หลงผิด จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง :b20: :b20: :b20:

ขอให้เจริญในธรรมครับ





โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 14:17 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปีติ ความซาบซ่าน, ความอิ่มเอิบ, ความดื่มด่ำในใจ อันยังผลให้รู้สึกสุขสบายทั้งต่อกายและจิต จัดแบ่งออกตามอาการที่ปรากฎมี ๕ คือ

๓.๑ ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนลุก ขนชัน น้ำตาไหล นํ้าตาคลอ หรือนํ้าตาซึม ด้วยความอิ่มเอิบ ด้วยความยินดี

๓.๒ ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลบๆ ดุจฟ้าแลบ หรือดั่งยุงกัด มดไต่ ไรตอม หรือคล้ายมีประจุอ่อนๆ ยุบยิบหรือแปลบๆตามบางส่วนของกายหรือใบหน้า

๓.๓ โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก รู้สึกไหลซู่เป็นระยะๆ ดุจดั่งคลื่นที่ซัดฝั่งเป็นระลอกๆ เช่น ดั่งรู้สึกขนหัวลุกชันเป็นระลอกๆซู่ หรือความรู้สึกซู่ซ่ากายเช่นขนลุกขนชันเป็นระลอกๆ (คล้ายดั่งอาการเวลาปวดท้องถ่าย)

๓.๔ อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ใจฟู รู้สึกตัวเบา หรือ(รู้สึกราวกับว่า)ตัวลอย เปล่งอุทานเป็นคำพูดต่างๆนาๆออกมาด้วยความอิ่มเอิบ ร้องไห้โฮ สะอึกสะอื้น หรือตัวโยก ตัวคลอน กายสั่นเทิ้ม แหงนคอหงาย คู้กายควํ่า หรือรู้สึกว่าตามร่างกายหรือศีรษะมีอาการยืด หด ขยาย...พอง ยุบ ฯลฯ. เรียกปีติแบบนี้ว่า ปีติแบบโลดโผน

๓.๕ ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน อิ่มเอิบ ซาบซ่านอาบไปทั่วร่าง เย็นซาบซ่าน หรือคล้ายมีมวลประจุอ่อนๆ ลูบไล้ซาบซ่านไปทั่วร่าง เป็นองค์ประกอบของสมาธิโดยทั่วๆไป

บางคนมีปีติที่รุนแรงโลดโผนแบบอุพเพคาปีติ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เกิดความตกใจหรือกลัว จนเกิดวิจิกิจฉาหรือต้องหยุดปฏิบัติไปก็มี หรือด้วยอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งไปต่างๆนาๆทั้งจากเจ้าตัวเอง และผู้พบเห็น หรือผู้สั่งสอน ดังเช่น ปีติจนกายสั่นเทิ้ม หรืออุทานคำพูดออกมาแบบต่างๆนาๆ ก็มักเกิดการเข้าใจผิด, สอนกันผิดๆ, อ้างกันไปผิดๆว่า เป็นเจตภูตหรือกายทิพย์กำลังออกจากร่างไปเสียก็มี เป็นผีเข้า เป็นเจ้าทรง เป็นองค์ประทับ ยิ่งถ้าผู้ปฏิบัติและผู้พบเห็นหรือผู้สอนไปประกอบน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์ ในที่สุดก็จะรู้สึกและเข้าใจว่าเป็นไปดังนั้นจริงๆอย่างเหนียวแน่นด้วยมายาของจิต ด้วยไม่รู้หรืออวิชชา ว่าเป็นเพียงอาการของปีติ อันเป็นฌานวิสัย อันเป็นอจินไตย จึงเกิดได้นานารูปแบบตามจริต, การสั่งสม, วิสัยการปฏิบัติของนักปฏิบัติเอง ฯลฯ. เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติอย่างหนึ่งของปีติเองเป็นธรรมดาๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ต.ค. 2008, 19:36
โพสต์: 6

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากได้ฟังประสพการณ์จริงๆน่ะครับ
ตัวอย่างของผม คือนั่งแล้วเห็นแสงสว่างปรากฏอยู่เหนือศรีษระ
เหมือนมีดวงไฟส่องอยู่ เป็นแสงสีขาวๆ เห็นมาหลายครั้งแล้ว
แต่ก็ไม่เคยทราบว่ามันเป็นอาการของปิติอย่างหนึ่งตามข้อเขียนของ
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใคร
นำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
ก็หายไป


อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ
อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจก็เป็นสมาธิ
แนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้
ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้

เมื่อผมอ่านพบเข้าก็เลยคืดว่าใช่ เป็นอาการปิติของอุปจารสมาธิ เพราะเมื่อก่อนเคยคิดแต่ว่า
อาการของปิติต้องน้ำตาใหล ร่างกายโยก หรือขนลุกซู่ ประมาณนั้นน่ะครับ
แต่มันก็เป็นแค่ผมคิดไปเองว่าใช่ ซึ่งก็เลยอยากทราบประสพการณ์ของแต่ละท่าน
ที่ได้ผ่านขั้นตอนนี้มาแล้วเท่านั้นเองครับ อยากได้ฟังประสพการณ์จริงๆที่ท่านผู้รู้ทั้งหลาย
ได้ประสพมาเพื่อเป็นความรู้
ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 09:08 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาการปิติที่พบมาในระหว่างปฏิบัติที่ผ่านมาเท่าที่จำได้ก็คือขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลบๆ ดุจฟ้าแลบ หรือดั่งยุงกัด มดไต่ ไรตอม หรือคล้ายมีประจุอ่อนๆ ยุบยิบหรือแปลบๆตามบางส่วนของกายหรือใบหน้าตอนแรกก็เข้าใจว่าเป็นมดแต่ก็ไม่สนใจก็กำหนดดรู้ไปเรื่อยๆแต่ก็สงสัยว่าทำไมนั่งทุกทีมดไต่ทุกครั้งเดี๋ยวที่หูเดี๋ยวที่หน้าอาจารย์ก็บอกว่ามีอาการอย่างนี้ไม่ต้องสนใจมันและอีกอาการที่เกิดคือ
อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอยตัวโยก ตัวคลอน กายสั่นเทิ้ม แหงนคอหงาย คู้กายควํ่า คะแต่เมื่อมีอาการเหล่านี้คำแนะนำของอาจารย์ที่สอนปฏิบัติก็บอกว่า

สิ่งที่ควรทำต่อไปก็คือ ตามดูตามรู้อาการที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า โดยไม่ควรจะยินดี ยินร้าย หรือกังวลใจในสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อปิติเกิดขึ้นก็รู้ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ก็รู้ว่าตั้งอยู่ ดับไปก็รู้ว่าดับไป รู้เหตุแห่งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของสิ่งเหล่านั้นตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือรับรู้แล้วปล่อยวาง อย่าปรุงแต่งให้มากนัก แล้วจิตก็จะสงบ ประณีตขึ้นตามเหตุปัจจัย
ปิตินั้นเป็นอาการปกติของสมาธิ ไม่ต้องกังวลใจ คือเมื่อจิตประณีตถึงช่วงหนึ่งปิติก็จะเกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ ถ้าจิตประณีตมากหรือน้อยกว่านี้ปิติก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ถ้านั่งต่อไปแล้วปิติไม่เกิดขึ้นก็แสดงว่าจิตประณีตมากขึ้นหรือน้อยลง จนไม่อยู่ในช่วงของปิติแล้ว จิตในขั้นที่ประณีตขึ้นไปก็จะเป็นขั้นของสุข สูงขึ้นไปอีกก็เป็นขั้นของอุเบกขา
ปัจจุบันนี้อาการของปิติที่เคยเป็นนั้นไม่มีแล้วคะแต่พอนั่งรู้สึกว่าจิตสงบเร็วขึ้นมาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ต.ค. 2008, 19:36
โพสต์: 6

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ สำหรับประสพการณ์ที่เล่ามาให้ฟัง
เพราะผมเองไม่ทราบว่าอาการที่เกิดขึ้นคืออะไร จนกระทั่งมาอ่านเจอ
ผมเองก็ไม่ได้สนใจอะไรมากกับการเห็นแสงสว่างที่มากระทบอยู่แล้ว

แล้วท่านอื่นๆพอมีประสพการณ์อื่นๆพอจะเล่าให้ฟังเป็นวิทยาทานได้หรือไม่ครับ?
:b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมภเวสี เขียน:


๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิมมีความสว่างปรากฏคล้ายใคร
นำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
ก็หายไป





อันนี้คัดจากไหนหรือคะ

เคยมีประสบการณ์ครั้งหนึ่งค่ะ
นั่งหลับตาไม่เห็นใครหรืออะไร แต่ก็รู้สึกได้ว่ารอบๆ ตัวสว่างใส ชุ่มเย็น ผ่องใส เหมือนเป็นแสงสีขาวทั่วไปหมด
ตัวเองก็ยังอยู่ตรงนั้น แต่ไม่รู้สึกว่ามีร่างกายอยู่นะคะ คือไม่รู้สึกถึงกายหยาบของตัวเองค่ะ

รอบๆ ก็มีคนอยู่ เค้าทำงาน และคุยกันปกติ แต่เรานั่งสมาธิ ได้ยินเสียงทุกอย่างแต่เบากว่าปกติและไม่รู้สึกว่ารำคาญ นั่งไปสักครู่ใหญ่ๆ (ประมาณ 1 ชั่วโมง) ก็ค่อยๆ ถอนออกมาค่ะ

ความรู้สึกหลังจากนั้นคืออิ่มเอิบใจ แต่ไม่มีน้ำตา ตัวสั่น ขนลุกอะไรนะคะ มีเท่านั้นเองค่ะ
ก็อยากเรียนถามผู้รู้ค่ะว่า แบบนี้เรียกว่าอะไรคะ ถ้าปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆ จะมีโอกาสก้าวหน้าหรือไม่

ตั้งแต่ปฏิบัติมาดิฉันไม่เคยมีปัญหาแบบใครๆ เช่น ตัวสั่น ร้อนตามร่างกายอะไรทำนองนั้นเลย
คือจะไม่มุ่งมั่นตั้งอกตั้งใจจนเกินเหตุ ไม่คาดหวังอะไรมากมายขนาดต้องนิพพานในชาตินี้หรือชาติไหน
หากวันไหนจิตไม่สงบไม่มีสมาธิเมื่อนั่งไปแล้วรู้ตัวก็จะเลิกหรือนั่งพักสักครู่แล้วจึงปฏิบัติต่อ
อย่างนี้ถูกต้องมั้ยคะ เรียนถามค่ะ :b8:

:b14: :b21: เหตุการณ์น่าตื่นเต้นสำหรับดิฉันน่าจะเป็นเมื่อขณะกำลังนั่งสวดมนต์ (เฉพาะบางคาถา) :b21: :b13:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพุทธทาส ท่านเคยแสดง เรื่อง องค์แห่งฌานเอาไว้ดังนี้


องค์แห่งฌาน ใน อานาปานสติ

โอวาท ท่านพุทธทาสภิกขุ


สำหรับการฝึกที่ใช้ลมหายใจเป็นหลัก หรือ อารมณ์ ในที่นี้มีแนวย่อๆ คือ

ขั้นแรกที่สุด การที่สติกำหนดลงตรงลมหายใจ ดุจว่าบุคคลจดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าที่สิ่งอื่นอีกสิ่งหนึ่ง เราเรียกว่า”วิตก” ภาวะที่เรียกว่า วิตก ในที่นี้ มิได้หมายถึงความตริตรึก หรือ คิดแส่อย่างหนึ่งอย่างใด แต่ หมายถึง อาการที่สติกำหนดแน่วแน่เฉยๆ อยู่ในอารมณ์ที่ไม่มีความหมาย (หรือ ไม่ทำความหมายในการพิจารณาหาเหตุผล) อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเท่านั้น

ส่วน การที่ จิตต้องเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์กล่าวคือ ลมหายใจ ด้วยอำนาจสัมปชัญญะอยู่ไปมานั้น เรียกว่า “วิจาร” ภาวะที่เรียกว่า วิจารณ์ ในที่นี้ มิได้หมายถึงการพิจารณาหาเหตุผล หรือ หมายถึงการใช้ปัญญาพิจารณาแต่อย่างใด หมายเพียง ลักษณะที่จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์อย่างทั่วถึงไม่ออกห่าง . เมื่อเปรียบกับการผูกลิงแล้ว วิตกได้แก่การที่มันถูกผูกติดอยู่กับหลักโดยเฉพาะ .ส่วน วิจาร หมายถึง การที่มันเต้นอยู่รอบๆหลัก จะ ไปๆ มาๆ ขึ้นๆ ลงๆ อย่างไร ก็เคล้ากันอยู่กับหลักนั่นเอง. ในขณะที่ยังเป็นเพียงวิตก วิจาร ล้วนๆนี้ เราเรียกว่าขณะแห่งบริกรรม หรือ การบริกรรม. .

เมื่อการบริกรรมเป็นไปด้วยดี และ ถ้ากฎธรรมชาติแห่งจิตได้ทำให้เกิดผลตามที่ควรอย่างไรสืบไปแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกว่า จิตยอมอยู่ในอำนาจ และ เกิด ความซาบซ่านหรืออิ่มใจชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ปิติ” เป็นความอิ่มใจที่เกิดซาบซ่าน .ในขณะที่เริ่มรู้สึกว่า ร่างกายได้เบาสบายไปทั่วตัว ไม่รู้สึกติดขัด หรือ อึดอัด ความร้อนในร่างกายได้สงบลง จนรู้สึกราวกับว่า มันไม่มีอยู่เลย ลมหายใจค่อยๆละเอียดยิ่งขึ้น จนคล้ายกับไม่มีการหายใจ ความตื่นเต้นของประสาทไม่มีแม้แต่น้อย คงอยู่แต่ความเบาสบาย อันเรียกว่า ปิติ ซึ่งในภาษาแห่งธรรมย่อมหมายถึง ความเย็นใจ อันซาบซ่านอยู่ภายในเท่านั้น ไม่หมายถึงความฟุ้งซ่าน หรือเต้นแร้งเต้นกา.

และ พร้อมๆกันกับปิตินี้ ก็มีความรู้สึกที่เป็นสุข หรือ ความปลอดโปร่งใจ รวมอยู่อย่างแนบแน่นด้วย โดยไม่ต้องมีเจตนา และ เรียกความรู้สึกอันนี้ว่า “สุข”.

ต่อจากนี้ ก็มีหน้าที่ ที่จะควบคุมความรู้สึกอันนี้ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอด้วยดี เพราะเหตุว่า ลิงได้หยุดเต้นแล้ว เชือกหรือสติไม่ถูกกระชากอีกต่อไปแล้ว.เพียงแต่รักษาภาวะอันนี้ให้คงที่อยู่ในลักษณะเดียวกันนี้ ซึ่งแท้ที่จริงก็ได้เริ่มมีความกลมเกลียวกันมาตั้งแต่แรกแล้ว ให้เป็นลักษณะที่เด่นชัดยิ่งขึ้น จนปรากฏว่าจิตได้อยู่ในอารมณ์เดียว เสมอต้นเสมอปลายแล้วจริงๆ ยิ่งขึ้นกว่าตอนต้นๆ .ก็เป็นอันว่า สมาธินั้นได้ลุถึงผลสำเร็จของมันแล้วอย่างเต็มเปี่ยมชั้นหนึ่ง และ เรียกความมั่นคงเป็นอันเดียวนี้ว่า “เอกัคคตา” และ พึงทราบว่า ในขณะนี้ วิตก วิจาร ปิติ สุข และ เอกัคคตา ได้กลมกลืนเป็นอันเดียวกัน พร้อมกันอยู่ตลอดเวลาที่มั่นในสมาธิ ไม่มีสิ่งอื่นแทรกแซง จนกระทั่งถึงเวลาที่ผู้นั้นออกจากสมาธิ .

การฝึกขั้นต่อไป ก็มีการฝึกให้เข้าสมาธิได้เร็ว อยู่ได้นานตลอดเวลาที่ต้องการ ตื่นหรืออกจากสมาธิได้ตรงตามเวลาที่ต้องการ คือ มีความชำนาญคล่องแคล่ว จนกลายเป็นของชินหรือเคยตัว จนกระทั่งเวลาธรรมดาทั่วไป ก็รู้สึกว่าจิตยังได้อาบรดอยู่ ด้วยปิติและสุขในภายในอยู่เสมอ ทุกๆอิริยาบถ ไม่ว่าจะไป หรือ อยู่ในสถานที่ไหน เหมือนกับคนที่มีลาภใหญ่หลวง มีความดีอกดีใจซาบซ่านอยู่ในที่ทุกแห่ง ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ฉันใดก็ฉันนั้น. เมื่อลุถึงขั้นนี้ สิ่งที่เรียกว่า การฝึกจิต ก็กล่าวได้ว่า ลุถึงผลอันสมบูรณ์ขั้นหนึ่งแล้ว และเรียกว่า ขั้นปฐมฌาน ความเพ่งจิตอันเป็นบทเรียนขั้นต้นได้ลุถึงแล้ว .


ผลของการเจริญอานาปานสติ

โอวาท ท่านพุทธทาสภิกขุ


นี่เป็นผลอย่างแรกของสมาธิ ซึ่ง เรียกตามโวหารศาสนาว่า “การเสวยสุขในทิฏฐธรรม”ชนิดหนึ่ง. ซึ่งแม้ว่าความพากเพียรของตน จะมาหมดกำลังสิ้นสุดลงเสียเพียงขั้นนี้ ก็ยังนับได้ว่า การกระทำของตนไม่เสียหลายอยู่มากแล้ว

ผลประการที่สองก็คือว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิด้วยดีแล้ว วิปัสสนาญาณจักเป็นไปด้วยดี และ มองเห็นความจริงในสรรพสังขารได้แจ่มแจ้ง เพราะว่า สมาธินั้นเป็นเหมือนการลับมีดให้คม หรือ การเช็ดแว่นกระจกให้ใส. มีดที่คมแล้วใช้ตัดฟันได้ แว่นที่ใสแล้วใช้ส่องดูได้ และ ได้ผลตามที่ต้องการ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาสาธุที่กรุณามาตอบให้ค่ะ

ได้สัมผัสเพียงเท่านี้ ดิฉันก็รู้สึกได้ว่านี่คือความสุขที่สุดในโลก (สำหรับดิฉัน)
ทราบค่ะว่า สุขที่สุดคือ จิตที่หลุดพ้น

อยากมีความสุขแบบนี้อีกค่ะ (กิเลสแน่แล้ว) :b20:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


Bwitch เขียน:
:b8: อนุโมทนาสาธุที่กรุณามาตอบให้ค่ะ

ได้สัมผัสเพียงเท่านี้ ดิฉันก็รู้สึกได้ว่านี่คือความสุขที่สุดในโลก (สำหรับดิฉัน)
ทราบค่ะว่า สุขที่สุดคือ จิตที่หลุดพ้น

อยากมีความสุขแบบนี้อีกค่ะ (กิเลสแน่แล้ว) :b20:


555

ผมก็เป็นเหมือนกันครับ
:b32:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 16:45
โพสต์: 1


 ข้อมูลส่วนตัว


ปิติ ในส่วนตัวของผม จะเกิดครั้งแรก ที่ได้สัมผัสกับกระแส ธรรม ดุจเหมือนได้เห็นพระพุธท องค์
จิตร ที่ ละ วางแล้วโดย ไม่ฝืน ความอยาก ให้เกินความเขาใจ ในการ ละวาง โดยไม่ขัดขืนของกิเลศ และเข้าใจหน้าที่ของกันและกัน จน จิตรเริ่มคลาย และ ค่อยๆวาง วางลง จนเป็นหนึงเดียว จะรู้สึกซาบซ้านและเบา เยือกเย็น ลมหายใจ เริ่ม เบาๆ เหมือนว่าจะขาดหาย แต่ไม่หาย เหมือนลมหายใจ เข้า แทรก ตามรูขุมขน ทุกอณู แทนการหายใจเข้าทางจมูก หู เริ่ม ดับเงียมลง จน เหมือน ร่างกายไม่มีอะไรให้ น่ายึดติดเหมือน โลกดับไปชั่วขณะ จะ เริ่ม เห็น ดวงจิต กับ กาย ทำงาน แยก กัน เราจะรู้สึกสบาย เบาและปราณีต มาก แบบที่ไม่เคยเจอ จนอาจ ตกใจ ขนลุก ขน พอง ขึ้นมาทำให้เรา รู้ ว่ากายเราขนลุกชัน ขึ้นมา จิต เขาก็ ดึงกับมาที่กาย เราความยึด ติดกับ กาย ก็กลับ มายึดมั่นเหมือนเดิม เป็นเพราะ เราเกิดความกลั่ว กับสิ่งที่เราไม่เคยสัมผัส
ความ อยาก ก็จะเกิดอีก ในภายหน้า จนกว่าจะ เลิกยึดติด กับความอยากอีกนาน ขอให้อย่าระความเพียร ครับแต่กระแส โลกทำให้เรา เดินทางสายนี้ได้ ลำบาก มากๆ ในแต่ละก้าว ( ก้าวต่อไป)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร