วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ผู้มนสิการรูปนาม เมื่อภาวนาไปๆ จนจิตสงบละเอียดถึงระดับหนึ่งแล้ว สภาวธรรมจะปรากฏแก่โยคี
(ความจริงสภาวะนั้นเกิดตลอดเวลา แต่มนุษย์ไม่มนสิการก็จึงไม่เห็น) สภาวะตามหัวเรื่องกระทู้นี้
และตัวอย่างนี้ เป็นต้น เป็นธรรมดา
แต่ผู้ปฏิบัติไม่กำหนดรู้ตามที่มันเป็น แต่ละขณะๆ ที่คิด ที่มีอาการ สังขารธรรมก็จึงปรุงแต่งเป็นฟุ้งซ่านบ้าง หวาดกลัวบ้าง ตกใจบ้าง เป็นต้น เพราะเกิดการยึดติด (อุปาทาน) อาการนั้น ความคิดนั้นแล้ว

ดูตัวอย่างนี้อีก


นั่งสมาธิ แล้วหน้าหันเอง

ดิฉันสวดมนต์ นั่งสมาธิ ทุกวันคะ ทุกวันจิตสงบมากขึ้นรู้สึกได้สมาธิใว พอเริ่มนั่งก็รู้สึกจะมีสติ และรู้สึกสบายๆ

พอมาวันนี้ดิฉันมีอาการแปลกๆ เกิดขึ้นคะ นั่งอยู่ดีๆ มีสติทุกอย่างแต่อยู่ในขั้นที่ตัวเองมีสมาธิ ไม่เกิดอาการง่วงนอนอะไร สบายๆ สงบๆ
แต่อยู่ดีๆ ดิฉันเกิดหันหน้าได้เอง โดยหน้าหันไปทางซ้ายทีหนึ่ง และไม่แน่ใจว่าหันกลับมาตรงได้ไง ทำเอาดิฉันขนลุกขึ้นมาทันที แต่ไม่ได้ลืมตา แต่กลายเปงความรู้สึกกลัวขึ้นมา พยายามปล่อยวาง และระงับอารมณ์กลัว
ทั้งที่ขนแขนตั้ง แล้วใจตื่นกลัวมากขึ้น และดวงตาก็เกิดเหมือนเห็นภาพอะไร แต่ไม่ทันเห็น

ดิฉันคิดว่า คงเป็นเพราะใจดิฉันเกิดอาการกลัว ในใจก็คิดถึงพระพุทธองค์ และคิดว่าต้องปล่อยวาง ไม่ใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และพยายามระงับความกลัว และแล้วด้วยความปลื้มหรือกลัว ไม่รู้น้ำตาเริ่มไหล
ดิฉันก็รู้สึกจิตละเอียดและตามันแปลกๆ บวกกับอาการขนลุกที่ไม่หลุดเลยขอถอนสมาธิออกมา ทั้งที่มีสมาธิ
แต่กับกลัว จึงขอเรียนถามผู้รู้เกี่ยวกับอาการ ที่หัวของเราหันหน้าไปได้เอง ตอนนี้ยังมีอาการขนลุก กลัวๆ
ในขณะที่พิมพ์และสงสัยกับอาการที่หน้าหันได้เอง จึงได้พิมพ์มาสอบถามคะ

หมายเหตุ
ขณะที่หน้า คอหันเอง หันไปได้เร็วมาก ทำเอาดิฉันขนลุกขึ้นทันทีคะ และไม่รู้ว่าหันกลับมาได้ไง แต่ช่วงขณะที่หน้าหันดิฉัน กลัวมากๆ คะ สุดท้ายจนต้องออกจากสมาธิ

http://board.palungjit.com/f4/นั่งสมาธิ-แล้วหน้าหันเอง-196954.html

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: เรียนถามนะคะ มีบ้างมั้ยคะว่าปฏิบัติแล้วแต่ไม่เกิดอาการแปลกๆ แบบนี้เลย
ที่ผ่านมามีแต่สงบเย็นค่ะ แล้วต่อไปจะเห็นอะไรไหมหนอ ที่ถูกต้องควรมีผลเป็นอย่างไรคะ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมมุติมีคน ๒๐ คน ฝึกซ้อมกีฬาอะไรสักอย่างหนึ่ง
ในที่นี้สมมุติว่า ฝึกซ้อมยิงธนูหรือยิงปืน การฝึกซ้อม ใช้ระยะเวลาการฝึกยิงต่างกัน
บางคนฝึกไม่นานก็ยิงได้ยิงถูก
บางคนฝึกด้วยความยากลำบากกว่าจะจับปืนจับธนูได้นิ่ง ซ้ำใช้เวลานานมา กว่าจะยิงได้
บางคนฝึกซ้อมเท่าไหร่ก็ไม่สำเร็จ ท้อกลางคันเลิกไปก่อน
การฝึกจิตก็ฉันนั้น
บางคนฝึกไม่นานสบายๆ ก็สำเร็จ
บางคนฝึกด้วยความยากลำบาก พบอุปสรรคมากมาย
บางคนฝึกเท่าไหร่ๆ ก็ไม่สำเร็จท้อแท้เลิกไปกลางคัน
เพราะว่ากิเลสในจิตในใจของแต่ละคนๆ หนาบางต่างกัน

หลักท่านว่าอย่างนี้ครับ



บางคนฝึกซ้อมไม่ต้องมาก ก็ประสบความสำเร็จโดยง่าย
บางคนอาจฝึกหัดใช้เวลานาน แต่ฝึกไปสบายๆ ก็สำเร็จ
บางคนทั้งฝึกยากลำบาก ทั้งต้องใช้เวลายาวนานจึงสำเร็จ
บางคนจะฝึกหัดอย่างไรก็ไม่อาจประสบความสำเร็จเลย

นอกเหนือจากความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ความสำเร็จและความช้าเร็วเป็นต้น ยังขึ้นต่อปัจจัยอื่นอีก
โดยเฉพาะการฝึกที่ถูกวิธี
การมีผู้แนะนำ หรือ ครูดีที่เรียกว่ากัลยาณมิตร ตลอดจนสภาพในกาย และ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
เป็นต้น
โดยนัยนี้ท่านจึงจำแนกการปฏิบัติธรรมที่ประสบความสำเร็จออกเป็น ๔ ประเภทเรียกว่า ปฏิปทา ๔ คือ *


๑. ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติยากลำบาก ทั้งรู้ (มีอภิญญา) ช้า
๒. ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติยากลำบาก แต่รู้ (มีอภิญญา) เร็ว
๓. สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกสบาย แต่รู้ (มีอภิญญา) ช้า
๔. สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกสบาย ทั้งรู้ (มีอภิญญา) เร็ว


ในบรรดาองค์ประกอบต่างๆหลายๆ อย่างที่ทำให้ปฏิบัติยากหรือง่าย รู้ได้ช้าหรือเร็วนั้น
สมาธิก็เป็นปัจจัยแห่งความแตกต่างอย่างหนึ่งด้วย


..............

* องฺ จตุกฺก. 21/161-3/200-4; 166-8/207-9 ฯลฯ
ตัวอย่างในบาลีอังคุตตรนิกายว่า พระสารีบุตรเป็น สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
พระมหาโมคคัลลานะเป็น ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้วต่อไปจะเห็นอะไรไหมหนอ ที่ถูกต้องควรมีผลเป็นอย่างไรคะ


มันเป็นกิเลสทั้งนั้น

สิ่งที่ปรากฏนั้นจะถูกกำจัดออกไปๆๆ ด้วยการกำหนดรู้ (ปริญญากิจ) เท่าทัน เพราะขณะที่กำหนดสิ่งนั้นๆ แต่ละขณะๆ องค์ธรรม มีสติ สัมปชัญญะ สมาธิ สัญญาฝ่ายกุศล ฯลฯ จะเจริญขึ้นๆ ทำหน้าที่ของตนๆกำจัด
กวาดล้างเครื่องเศร้างหมองจิตนั้นๆ ให้หมดสิ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เปลี่ยนอารมณ์ ดูตัวอย่างทางหู บ้าง


ได้ยินเสียงพระสวด ในช่วงไปปฎิบัติธรรมมา ( หูแว่วรึเปล่าค่ะ )


คือดิฉันเพิ่งไปปฎิบัติธรรมมาที่วัดอัมพวันในระหว่างวันที่ 14-21 ก.ค 52 นี้เองคะ ในระหว่างปฎิบัติธรรมศีล 8 กลางคืน ชอบได้ยินเสียงพระเทศน์ หรือสวดมนต์นี่แหละคะ แต่ไม่รู้ว่าบทอะไร เหมือนตอนกลางวันที่
ได้ยินเสียงพระเทศน์ สวดมนต์จริงๆ นะคะ ดิฉันลองออกมายืนฟังที่ระเบียงก็ไม่ได้ยินคะ แต่พอเค้าห้อง
โดยเฉพาะห้องน้ำจะได้ยินหน่อยก้องมาแต่ไกล
ถามใครก็ไม่มีใครได้ยิน เพื่อนๆ บอกว่า 3 - 4 - 5 ทุ่มแล้วพระที่ไหนจะมาสวด
ดิฉันก็เลยกลัวๆ นะคะ ไม่รู้ว่าไปทำอะไรไม่ดีอะไรที่วัดไว้รึเปล่า แต่ก็ พูดขอขมาเรื่อยๆนะคะ เวลาทำอะไรที่วัดนะคะ เพราะกลัวว่าเราจะทำอะไรไม่ถูกแบบไม่ได้ตั้งใจนะคะ หรือว่าดิฉันหูแว่วคะ ( แบบโรคประสาทป่าว )
- ตอนนี้กลับบ้านมาแล้ว ยังไม่ได้ยินเสียงเทศน์คะ พยายามเงี่ยหูฟังอยู่ว่าจะได้ยินใหม
- ( หรือว่าจะเป็นเสียงพระเทศน์จริงๆคะ เพราะช่วงนี้เข้าพรรษา )
หรือเป็นเพราะดิฉันอยู่วัดนานเลยต้องได้ยินคะ งง คะ ว่าเสียงที่ได้ยินคือพระเทศน์ จริง หรือหูแว่ว

กลัวนะคะ เกิดมาไม่เคยหูแว่ว

http://board.palungjit.com/f4/ได้ยินเสียงพระสวด-ในช่วงไปปฎิบัติธรรมมา-หูแว่วรึเปล่าค่ะ-197798.html

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2009, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกรายหนึ่งที่หูได้ยินเสียง เมื่อจิตเริ่มเป็นสมาธิระดับต้นๆ =>


ทำไม?หูได้ยินเสียงเหมือนพระสวดมนต์

ทำไม?หูได้ยินเสียงพระสวดมนต์อยู่ตลอดเวลา

ตั้งแต่เริ่มสวดมนต์และทำภาวนา เมื่อก่อนทำไมไม่เป็น เพราะว่าอะไร??

ใครรู้และเป็นเหมือนผมบ้าง

http://larndham.net/index.php?s=b9b1c9d ... opic=36565


วิธีปฏิบัติเพื่อให้ผ่านจุดนี้ไปได้คือกำหนดรู้ตามที่ธรรมชาติคือกายใจนี้มันเป็น

กายใจนี่คือธรรมะ หรือ ธรรมชาติ พึงกำหนดรู้ตามนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 09:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:28
โพสต์: 307

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มันเป็นไปอย่างไร ก็ขอให้ดูมันไปเรื่อย ๆ ครับ
อนุโมทนาครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 20:54
โพสต์: 163

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:

ผมก็เคยเป็นมาก่อนคับ ทุกวันนี้ไม่เป็นแล้วคับเพราะเลิกนั่งสมาธิแล้วคับสมาธิไม่จำเป็นว่าจะนั่งหรือไม่นั่งก็ได้นั่งทีไรตัวผมถูกโอปปาติกะพลักหลังทุกที เลยเลิกนั่งคับมันกลัวผมบรรลุอรหันต์ มันบอกผมชาตินี้เองได้แค่ ทุติ ไปไกลกว่านี้ไม่ได้เดี๋ยวจะฉิบหายมันว่างัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 20:54
โพสต์: 163

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่ามันแปลกที่ให้ดูมีสติตามดูไม่เห็นมีใครบอกเลยว่าจะดับสังขารเข้าเป็นอริยะบุคคลดับอย่างไรมีแต่ให้ดูไปตามไปเห็นไตรลักษณ์บางละว่ามันไม่เที่ยงบางละ ของอย่างนี้ไม่ต้องหลับตามันก็เป็นของมันอย่างนั้นแล้ว แล้วเมื่อไรจะป็นอริยะบุคคลซะทีละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 23:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 20:54
โพสต์: 163

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อีกรายหนึ่งที่หูได้ยินเสียง เมื่อจิตเริ่มเป็นสมาธิระดับต้นๆ =>


ทำไม?หูได้ยินเสียงเหมือนพระสวดมนต์

ทำไม?หูได้ยินเสียงพระสวดมนต์อยู่ตลอดเวลา

ตั้งแต่เริ่มสวดมนต์และทำภาวนา เมื่อก่อนทำไมไม่เป็น เพราะว่าอะไร??

ใครรู้และเป็นเหมือนผมบ้าง

http://larndham.net/index.php?s=b9b1c9d ... opic=36565


วิธีปฏิบัติเพื่อให้ผ่านจุดนี้ไปได้คือกำหนดรู้ตามที่ธรรมชาติคือกายใจนี้มันเป็น

กายใจนี่คือธรรมะ หรือ ธรรมชาติ พึงกำหนดรู้ตามนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2010, 01:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะน้ำลายจะไหลค่ะ จุฬาภินันท์ก็เป็นค่ะ ก็ไม่เป็นไร ปากขยับก็ให้มันขยับไป แต่ใจยังอยู่ที่สมาธิ อยู่ที่ลมหายใจก็พอค่ะ ไม่มีอะไรผิดปกติ นอกจากอวัยวะมอเตอร์กับประสามทำงานสัมพันธ์กันค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตดูอาการของปีติภาคปฏิบัติแต่ละอย่างๆ ซึ่งเกิดขณะปฏิบัติกรรมฐาน

ธัมมุทธัจจ์ 10 อย่าง

1. โอภาส เห็นแสงสว่าง แสงสี ต่างๆ

2. ปีติ ๕ จะเกิดขึ้น

1. ขุททกปีติ มีลักษณะดังนี้

1.1 เยือกเย็น ขนลุกตั้งชันไปทั้งตัว

1.2 ร่างกายมึน ตึง หนัก

1.3 น้ำตาไหลพราก

1.4 ปรากฏเป็นสีข่าวต่างๆ

2. ขณิกาปีติ มีลักษณะดังนี้

2.1 เป็นประกายดังฟ้าแลบ

2.2 ร่างกายแข็ง หัวใจสั่น

2.3 แสบร้อนตามเนื้อตามตัว

2.4 คันยุบยิบ เหมือนแมลงไต่ตามตัว

3.โอกกันติกาปีติ ลักษณะดังนี้

3.1 ร่างกายไหวโยก โคลงเคลง บางครั้งสั่นระริก

3.2 สะบัดหน้า สะบัดมือ สะบัดเท้า

3.3 น้ำลายสอในปาก คลื่นไส้ อาเจียน

3.4 มีอาการคล้ายๆ ละลอกคลื่นซัด

3. 5 ปรากฏมีสีม่วงอ่อน สีเหลืองอ่อน

4. อุเพงคาปีติ มีลักษณะดังนี้

4.1 มีอาการคล้ายๆ กายสูงขึ้น ตัวเบา ตัวเบา

4.2 คันยุบยิบ เหมือนมีตัวไรตอมไต่ตามหน้าตา

4.3 ท้องเสีย ลงท้อง

4.4 สัปหงกไปข้างหลังบ้าง ข้างหน้าบ้าง

4.5 ศีรษะหมุนไปมา

4.6 กัดฟันบ้าง อ้าปากบ้าง หุบปากบ้าง

4.7 กายงุบไปข้างหลังบ้าง ข้างๆบ้าง

4.8 กายกระตุก ยกแขน ยกขา

4.9 ปรากฏสีไข่มุก สีนุ่น

5. ผรณาปีติ มีลักษณะดังนี้

5.1 ร่างกายเยือกเย็นแผ่ซ่านไปทั้งตัว

5.2 ซึมๆ ไม่อยากลืมตา ไม่อยากเคลื่อนไหว

5.3 ปรากฏเป็นสีคราม สีเขียว สีมรกต


3. ญาณ (ความรู้) ปรากฏว่าตัวมีความรู้เปรื่องปราด หมดจด อย่างไม่เคยมีมาก่อน

4.ปัสสัทธิ มีความรู้สึกสงบเยือกเย็น ทั้งกายและใจ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย สงบเงียบดังเข้าผลสมาบัติ

5.สุข ได้แก่ วิปัสสนาสุข รู้สึกว่ามีความสุขที่สุด อย่างไม่เคยพบมาก่อน ยินดี เพลิดเพลิน ไม่อยากออกจาก

การปฏิบัติ อยากจะพูด จะบอกผลที่ตนได้แก่ผู้อื่น

6. อธิโมกข์ (สัทธา)มีความเลื่อมใส ในพระรัตนไตรเป็นต้น อย่างแรงกล้า

7.ปัคคาหะ (ความเพียร) ขยันเกินควร ตั้งใจปฏิบัติจริง ยอมสู้ตายไม่ถอย จนเกินพอดี

8.อุปัฏฐานะ (สติ) สติมากเกินไป ระลึกถึงแต่เรื่องในอดีตและอนาคต จนทิ้งอารมณ์ปัจจุบันเสีย

9.อุเบกขา รู้สึกเฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย ใจลอย หลงๆลืมๆ เป็นต้น อะไรมากกระทบก็เฉยๆ ขาดการกำหนด

ปล่อยใจไปตามอารมณ์

10.นิกันติ (ติดใจ) พอใจในอารมณ์ต่างๆ มีโอภาสเป็นต้น หลงผิดคิดไปว่า ตนคงบรรลุ มรรค ผล

นิพพานแล้ว เพราะไม่เคยพบมาก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 31 มี.ค. 2010, 11:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 05:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ สมถะ-วิปัสสนา

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/085.htm

วิปัสสนูปกิเลส

วิปัสสนูปกิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา และเป็นสหชาตธรรมของวิปัสสนาด้วย เพราะผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนเกิดญาณแก่กล้าถึงตรุณอุทยัพพยญาณแล้ว เป็นที่แน่นอนที่ต้องเกิดวิปัสสนูปกิเลส อันเป็น อมัคค ไม่ใช่ทางที่ให้ถึงความบริสุทธิหมดจด วิปัสสนูปกิเลสนั้นมี ๑๐ อย่าง ดังมีคาถาที่ ๒๔ แสดงว่า

๒๔. โอภาโส ปีติ ปสฺสทฺธิ อธิโมกโข จ ปคฺคโห สุขํ ญาณนุปฏฺฐาน มุเปกฺขา จ นิกนฺติ จ ฯ

โอภาส ปีติ ปัสสัทธิ อธิโมกข ปัคคหะ สุข ญาณ อุปัฏฐาน อุเบกขา นิกันติ

มีความหมายว่า เครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา ที่ชื่อว่า วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งมีจำนวน ๑๐ ประการ ได้แก่

๑. โอภาส มีแสงสว่างรุ่งโรจน์แรงกล้า สว่างกว่าแต่กาลก่อน

๒. ปีติ อิ่มใจเป็นอย่างยิ่งกว่าที่ได้เคยพบเห็นมา

๓. ปัสสัทธิ จิตสงบเยือกเย็นมาก

๔. อธิโมกข น้อมใจเชื่อ อย่างเลื่อมใสเด็ดขาด ปัญญาก็เกิดได้ยาก

๕. ปัคคหะ พากเพียรอย่างแรงกล้า

๖. สุข มีความสุขสบายเหลือเกิน ชวนให้ติดสุขเสีย

๗. ญาณ มีปัญญามากไป จะทำให้เสียปัจจุบัน

๘. อุปัฏฐาน ตั้งมั่นในอารมณ์รูปนามจนเกินไป ทำให้ปรากฏนิมิตต่าง ๆ

๙. อุเบกขา วางเฉยมาก เป็นเหตุให้หย่อนความเพียร

๑๐. นิกันติ ชอบใจติดใจในกิเลส ๙ อย่างข้างบนนั้น

วิปัสสนูปกิเลส ๙ ประการ ตั้งแต่ โอภาส ถึง อุเบกขานั้น แม้ว่าจะเกิดปรากฏขึ้นมาแล้ว ถ้านิกันติยังไม่เข้าร่วมด้วย คือ ไม่ชอบใจ ติดใจ เพลิดเพลินไปด้วย ก็ไม่เป็นอุปกิเลสของวิปัสสนา



๒๕. อิจฺเจวํ ทสุปเกฺลสา ปริปนฺถ ปริคฺคหา อมคฺคา ว อิเมธมฺมา ธมฺมสฺส ปริปนฺติกา ฯ

อุปกิเลส ๑๐ ประการ ดังบรรยายมาฉะนี้ กำหนดถือว่า เป็นอันตราย ธรรมเหล่านี้เป็นอันตรายแห่งวิปัสสนาธรรม เป็นอมัคค มิใช่ทางเลย

มีความหมายว่า วิปัสสนูปกิเลส ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นอันตรายของวิปัสสนาโดยแท้ แต่จะบังคับบัญชามิให้เกิดขึ้นก็ไม่ได้ เมื่อเจริญถึงตรุณอุทยัพพยญาณ วิปัสสนูปกิเลสย่อมเกิดขึ้นตามธรรมชาติคู่กับวิปัสสนา จะเรียกว่าเป็นสหายของวิปัสสนาก็ได้ แต่ว่า วิปัสสนูปกิเลสจะไม่เกิดแก่บุคคล ๓ จำพวก คือ

๑. พระอริยบุคคล เพราะได้เคยดำเนินในทางที่ถูกแล้ว

๒. ผู้ปฏิบัติผิดจากทางวิปัสสนา

๓. ผู้มีความเพียรอ่อน เพราะความเพียรที่แรงกล้าเท่านั้นจึงจะเป็น วิปัสสนูปกิเลส

เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น พระโยคีผู้ที่ไม่ประกอบด้วยสปาย ๗ (โดยเฉพาะในที่นี้หมายถึง กัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้อุปถัมภ์) แล้ว ก็ยากที่จะล่วงพ้นไปได้ เพราะชอบใจ ติดใจ เพลิดเพลินในวิปัสสนูปกิเลสนี้เสีย อุปมาเหมือนการเดินทางไกลและกันดาร เมื่อเดินไปพบศาลาพักร้อนข้างทาง ก็แวะเข้าไปพักผ่อนหลับนอนเสีย ไม่เดินทางต่อไป ก็ไม่บรรลุถึงจุดหมายปลายทาง ด้วยเหตุนี้วิปัสสนูปกิเลสจึงเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นอันตราย เป็นอมัคค คือ มิใช่ทางแห่งวิปัสสนา ส่วนทางของวิปัสสนานั้นคือ การเห็นแจ้งในรูปธรรมกับนามธรรมโดยลักษณะทั้ง ๓ คือ ไตรลักษณ์ เห็นแต่เกิดขึ้นแล้วดับไปในอุทยัพพยญาณนั้น จึงจะพ้นอำนาจของวิปัสสนูปกิเลส


กระทู้ สมถะ - วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร

viewtopic.php?f=2&t=21049

viewtopic.php?f=2&t=21062


---------------------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
เพราะน้ำลายจะไหลค่ะ จุฬาภินันท์ก็เป็นค่ะ ก็ไม่เป็นไร ปากขยับก็ให้มันขยับไป แต่ใจยังอยู่ที่สมาธิ อยู่ที่ลมหายใจก็พอค่ะ ไม่มีอะไรผิดปกติ นอกจากอวัยวะมอเตอร์กับประสามทำงานสัมพันธ์กันค่ะ



อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน
สังเกตดูอาการของปีติภาคปฏิบัติแต่ละอย่างๆ ซึ่งเกิดขณะปฏิบัติกรรมฐาน

ธัมมุทธัจจ์ 10 อย่าง

3.3 น้ำลายสอในปาก คลื่นไส้ อาเจียน

3.4 มีอาการคล้ายๆ ละลอกคลื่นซัด



อาการที่ว่า ไม่ใช่ ผลจากการปฏิบัติ วิปัสสนา จนเกิด วิปัสสนูกิเลส หรอกครับ

อาการผิดปกติดังกล่าว เกิดจาก เริ่มมีสมาธิ แล้วจิตปรุงแต่งไปเอง เท่านั้นครับ

คุณจุฬาภินัน คุณกรัชกาย ครับ

อาการที่เกิด วิปัสสนึก คิดปรุงแต่งว่า ตนเอง ได้เจริญวิปัสสนาญาณ ขั้นโน้น ขั้นนี้แล้ว

ไม่มีโอกาส ได้เกิด วิปัสสนูกิเลส เลยครับ

เพราะ ยังไม่ได้ เจริญ วิปัสสนา เลยครับ ( ทำเพีงสมาธิ ขั้นต้น )

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2010, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
อาการที่ว่า ไม่ใช่ ผลจากการปฏิบัติ วิปัสสนา จนเกิด วิปัสสนูกิเลส หรอกครับ

อาการผิดปกติดังกล่าว เกิดจาก เริ่มมีสมาธิ แล้วจิตปรุงแต่งไปเอง เท่านั้นครับ คุณจุฬาภินัน คุณกรัชกาย ครับ
อาการที่เกิด วิปัสสนึก คิดปรุงแต่งว่า ตนเอง ได้เจริญวิปัสสนาญาณ ขั้นโน้น ขั้นนี้แล้ว

ไม่มีโอกาส ได้เกิด วิปัสสนูกิเลส เลยครับ

เพราะ ยังไม่ได้ เจริญ วิปัสสนา เลยครับ ( ทำเพีงสมาธิ ขั้นต้น )


วิปปัสสนูกิเลสก็เกิดจากสังขาร


อาการผิดปกติดังกล่าว เกิดจาก เริ่มมีสมาธิ แล้วจิตปรุงแต่งไปเอง เท่านั้นครับ คุณจุฬาภินัน คุณกรัชกาย ครับ

ผลของสมาธิไม่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าวนี้แน่นอน

ผู้กล่าวเช่นนั้นแสดงถึงความไม่รู้ถองแท้ถึงเรื่องสมาธิ

เหมือนกำลังกล่าวว่าสมาธิก่อให้เกิดความฟุ้งซ่าน

เป็นมิจฉทิฐิ

ไม่รู้สัจจธรรม

รู้เพียงกระพี้ที่จำมาได้เท่านั้น



สมาธิหรือฌาณนั้นเป็นสิ่งคู่กัน

ดังพุทธพจน์ว่า(ทำนองนี้)

หากไร้ฌาณ(สมาธิ)ก็ขาดปัญญา

หากไร้ปัญญาก็ไม่มีฌาณ(สมาธิ)

รายละเอียดท่านใดที่เพิ่มเติมไห้สมบูรณ์ได้

จักเป็นพระคุณ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2010, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


keiko เขียน:
ขอบคุณค่ะ คุณกรัชกาย และ K. Natdanai ที่ช่วยเสอความคิดเห็น

คือ... ถ้าตามความคิดของดิฉันเนี่ย...
เท่าที่ได้ลงมือปฏิบัติมาได้ระยะหนึ่ง ตั้งแต่ทำครั้งแรก จนถึงวันนี้
สภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เท่าที่จะสรุปได้มีพอสังเขปดังนี้ค่ะ
ตัวโยก ตัวลอย หัวใจเต้นเร็วมาก ตัวแข็ง สัปหงก หลับๆตื่นๆ แสงสีต่างๆเกิดขึ้น
ตาลาย ลิ้นไม่รับรสอาหาร ร่างกายไม่มีกลิ่นตัว ทั้งที่ไม่อาบน้ำ ได้ยินเสียงต่างๆ ก่อนที่สิ่งนั้นจะเดินทางมาหาตัวเอง (เช่นเสียงรถ เครื่องบิน) ฯลฯ

นี่เป็นสภาวะตัวอย่างค่ะ
แต่ทุกสภาวะที่เกิดแล้ว จะไม่มีการเกิดขึ้นซ้ำอีก หากเรายังคงปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆ นีใช่ไหมคะคุณกรัชกาย ที่เขาเรียกว่า เกิดแล้วดับไป ???

เพราะสภาวะที่ปากขยับเองได้นั้น มันหายไปแล้วค่ะ แต่กลายเป็นสภาวะอื่นเข้ามาแทน

:b45: Keiko


ผมขอตอบไม่เหมือนกับท่านอื่นๆนะครับ เพราะแต่ละคนมีบุญบารมีพื้นฐานต่างกัน ทำให้มีความคิดเห็นและทิฏฐิต่างกัน ผมก็ไม่อยากไปเถียงกับคนอื่น

ขันธ์ 5 ของมนุษย์ เป็นร่างกาย ส่วนจิตนั้นคือ อทิสมานกายหรือกายทิพย์หรือวิญญาณธาตุ

อาการต่างๆของคุณที่เล่ามา รวมทั้งปากขยับเอง เป็นอาการที่อทิสมานกายหรือกายทิพย์หรือจิตของคุณเริ่มจะแยกออกจากร่างกาย เพราะจิตเป็นคนละส่วนกับขันธ์ 5(ร่างกาย) เมื่อคุณหรือใครก็ตามที่สามารถถอดกายทิพย์หรือจิตออกจากร่างได้ เขาจะเข้าใจในสิ่งที่ผมพูด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร