วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 20:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2008, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1192712853.jpg
1192712853.jpg [ 120.48 KiB | เปิดดู 3147 ครั้ง ]
ความถูกต้องและผิดพลาดของความรู้ มีหลักที่ควรทราบ 2 อย่าง คือ

ก. สัจจะ 2 ระดับ


ผู้ฟังคำสอนในพระพุทธศาสนาบางคน เกิดความสับสน เมื่อได้อ่านได้ฟังข้อความ

บางอย่าง เช่น บางแห่งว่า ไม่ควรคบคนพาล ควรคบบัณฑิต

คนพาลมีลักษณะอย่างนี้ๆ

บัณฑิต มีลักษณะอย่างนี้ๆ

ควรยินดีแต่ของของตน ไม่ควรอยากได้ของของผู้อื่น ตนเป็นที่พึ่งของตน

คนควรช่วยเหลือกัน ดังนี้เป็นต้น

แต่บางแห่งว่า พึงพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงว่า กายก็แค่กาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล

ตัวตนเราเขา

พึงรู้เท่าทันตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

สิ่งทั้งหลาย เป็นอนัตตา ดังนี้เป็นต้น

แล้วมองไปว่า คำสอนในทางพระศาสนาขัดแย้งกันเอง หรือไม่ก็งงแล้วไม่เข้าใจ

หรือบางคนเข้าใจบ้าง แต่ไม่ชัดเจนพอ

ทำให้เกิดการปฏิบัติสับสนผิดพลาด ดำเนินชีวิตไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง

ในเวลาที่ควรพูดควรปฏิบัติความรู้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน

กลับพูดหรือปฏิบัติด้วยความยึดถือในความรู้ตามสภาวะ เป็นต้น

ทำให้เกิดความวุ่นวายและเสียหาย ทั้งแก่ตนและผู้อื่น


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม หวังจะช่วยป้องกันความสับสนผิดพลาดเช่นนี้

จึงสอนให้รู้จักแยกสัจจะหรือความจริง เป็น 2 ระดับ กล่าวคือ

1. สมมุติสัจจะ ความจริงโดยสมมุติ

(เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โวหารสัจจะ ความจริงโดยโวหารหรือโดยสำนวนพูด) คือ

จริงตามมติร่วมกัน ตามที่ได้ตกลงกันไว้ หรือหมายรู้ร่วมกัน

เป็นเครื่องมือสื่อสาร พอให้สำเร็จประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น คน สัตว์ คนดี คนชั่ว

โต๊ะ เก้าอี้ หนังสือ เป็นต้น (Conventional Truth)

ตัวอย่างที่พอเทียบให้เห็นเค้า เช่น ภาษาสามัญพูดว่า น้ำ ว่าเกลือเป็นต้น


2. ปรมัตถสัจจะ ความจริงโดยปรมัตถ์ คือ

จริงตามความหมายสูงสุด ตามความหมายแท้อย่างยิ่ง หรือ ตามความหมายแท้ขั้นสุดท้าย

ที่ตรงตามสภาวะและเท่าที่พอจะกล่าวถึงได้ หรือพอจะยังพูดให้เข้าใจกันได้

เพื่อสำหรับให้เกิดความรู้ความเข้าใจเท่าทันความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย คือ รู้จักสิ่งเหล่านั้น

ตามที่มันเป็น และเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด คือ การหยั่งรู้สัจธรรม

ที่จะทำให้ความยึดถือมั่นหลงผิดทั้งหลายสลายหมดไป

ทำให้วางใจวางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์

มีจิตใจเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง ผ่องใส เบิกบาน มีความสุขที่แท้จริง สิ่งที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์

เช่น นามธรรม รูปธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ผัสสะ

เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ (Ultimate Truth)

ตัวอย่างที่พอเทียบให้เห็นเค้า เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ถือว่า คำว่าน้ำ ว่าเกลือ เป็นต้น

ยังไม่ตรงสภาวะแท้...ฯลฯ (ข้อเปรียบเทียบนี้ไม่ใช่ตรงกันแท้ แต่เทียบพอให้เห็นว่าในวิชาการอื่น

ก็มีการมองเห็นความจริงด้านอื่น ของสิ่งสามัญ)

อย่างไรก็ดี ความคิดเกี่ยวกับสมมุติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ที่ท่านระบุออกมาเป็นคำบัญญัติ

ในพระอภิธรรมนั้น ก็ยกเอาความในพระสูตรนั่นเองเป็นที่อ้าง แสดงว่า

ความคิดความเข้าใจเรื่องนี้ เป็นของมีแต่เดิม

แต่ในครั้งเดิมนั้น คงเป็นที่เข้าใจกันดี จนไม่ต้องระบุคำบัญญัติ 2 คำนี้

ข้อความในพระสูตรที่ท่านยกมาอ้างนั้น เป็นคำของพระภิกษุณีชื่อวชิรา มีเนื้อความดังนี้


“นี่แน่ะมาร ท่านจะมีความเห็นยึดถือว่าเป็นสัตว์ได้อย่างไร

ในสภาวะที่เป็นเพียงกองแห่งสังขารล้วนๆนี้ จะหาสัตว์ไม่ได้เลย

เปรียบเหมือนว่า เพราะคุมส่วนประกอบเข้าด้วยกัน ศัพท์ว่า รถ ย่อมมีฉันใด

เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สมมุติว่าสัตว์ ก็ย่อมมี ฉันนั้น” *


ความคล้ายกันนี้ เน้นในแง่ปฏิบัติ คือ ความรู้เท่าทันสมมติ และเข้าใจปรมัตถ์

แล้วรู้จักใช้ภาษาเป็นเครื่องสื่อความหมาย โดยไม่ยึดในสมมติเป็นทาสของภาษา

สามารถยกบาลีที่เป็นพุทธพจน์มาอ้างได้ อีกหลาย เช่น


“ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ...จะพึงกล่าวว่า ฉันพูด ดังนี้ก็ดี

เขาพูดกับฉัน ดังนี้ก็ดี

เธอเป็นผู้ฉลาดรู้ถ้อยคำที่เขาพูดกันในโลก ก็พึงกล่าวไปตามโวหารเท่านั้น” **


“เหล่านี้ เป็นโลกสมัญญา เป็นโลกนิรุติ เป็นโลกโวหาร เป็นโลกบัญญัติ ซึ่งตถาคตใช้พูดจา

แต่ไม่ยึดติด” ***


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์ บรรยายลักษณะของพระสูตรว่าเป็นโวหารเสทศนา เพราะเนื้อหา

ส่วนมากแสดงโดยโวหาร คือ ใช้ภาษาสมมติ

ส่วนพระอภิธรรมเป็นปรมัตถเทศนา เพราะเนื้อหาส่วนมากแสดงโดยปรมัตถ์ คือ

กล่าวตามสภาวะแท้ๆ **** นี้เป็นข้อสังเกตเพื่อประดับความรู้อย่างหนึ่ง


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41:



ที่อ้างอิงข้อความที่มีเครื่องหมาย *

*สํ.ส. 15/554/198 อ้างใน อภิ.ก.37/185/80

**สํ.ส.15/65/21

*** ที.สี.9/312/248

**** วินย. อ. 1/21 ที.อ. 1/25 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 08:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. วิปลาส 3


วิปลาส คือ ความรู้คลาดเคลื่อน

ความรู้ที่ผันแปรผิดพลาดจากความเป็นจริง หมายถึง ความรู้คลาดเคลื่อนขั้นพื้นฐาน

ที่นำไปสูความเข้าใจผิด หลงผิด การลวงตัวเอง วางใจ วางท่าที

ประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้อง ต่อโลก ต่อชีวิต ต่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวง และเป็นเครื่องกีดกั้น

ขัดขวางบังตาไม่ให้มองเห็นสัจสภาวะ


วิปลาสมี 3 คือ

1. สัญญาวิปลาส สัญญาคลาดเคลื่อน หมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง

2. จิตวิปลาส จิตคลาดเคลื่อน ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง

3. ทิฏฐิวิปลาส ทิฏฐิคลาดเคลื่อน ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง

สัญญาวิปลาส หมายรู้คลาดเคลื่อน เช่น

คนตกใจเห็นเชือกเป็นงู คนหลงทางเห็นทิศเหนือเป็นทิศใต้

เห็นทิศใต้เป็นทิศเหนือ

คนเห็นแสงไฟโฆษณากระพริบอยู่กับที่เป็นไฟวิ่ง เป็นต้น


จิตวิปลาส ความคิดคลาดเคลื่อน เช่น

คนบ้าคิดเอาหญ้าเป็นอาหารของตน

คนจิตฟั่นเฟือนมองเห็นคนเข้ามาหาคิดว่าเขาจะทำร้าย

คนเห็นเงาเคลื่อนไหวในที่มือสลัวคิดวาดภาพเป็นผีหลอกเป็นต้น


ทิฏฐิวิปลาส ความเห็นคลาดเคลื่อน

ตามปกติ สืบเนื่องมาจากสัญญาวิปลาสและจิตวิปลาสนั่นเอง

เมื่อหมายรู้ผิดอย่างไร ก็เห็นผิดไปตามนั้น

เมื่อคิดวาดภาพเคลื่อนคลาดไปอย่างไร ก็พลอยเห็นผิด เชื่อถือผิดพลาดไปตามอย่างนั้น เช่น

เมื่อหมายรู้ผิดว่าเชือกเป็นงู ก็อาจลงความเห็นถือว่าสถานที่บริเวณนั้นมีงูชุม

เมื่อหมายรู้ว่าผืนแผ่นดินเรียบราบขยายออกไปเป็นเส้นตรง ก็จึงลงความเห็นยึดถือว่าโลกแบน

เมื่อคิดไปว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น เป็นไปเคลื่อนไหวต่างๆ ก็ต้องมีผู้จัดแจงผลักดัน

ก็จึงลงความเห็นยึดถือว่า ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม

มีเทพเจ้าอยู่และคอยบันดาล ดังนี้เป็นต้น

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


ตัวอย่างที่กล่าวมานี้

เป็นขั้นหยาบที่เห็นง่ายๆ อาจเรียกอย่างภาษาพูดว่าเป็นความวิปลาสขั้นวิปริต

ส่วนในทางธรรม ท่านมองความหมายของวิปลาสอย่างละเอียดถึงขั้นพื้นฐาน หมายถึง

ความรู้คลาดเคลื่อนชนิดที่มิใช่มีเฉพาะในบางคนบางกลุ่มเท่านั้น

แต่มีในคนทั่วไปแทบทั้งหมดอย่างไม่รู้ตัว

คนทั้งหลายตกอยู่ใต้อิทธิพลครอบงำของมัน

และวิปลาส 3 ชนิดนั้นจะสอดคล้องปะสานกันเป็นชุดเดียว

วิปลาสขั้นละเอียดหรือขั้นพื้นฐานนั้น พึงเห็นตามบาลีดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส มี 4 อย่างดังนี้

สี่ อย่างอะไรบ้าง (กล่าว คือ)

1. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง

2. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข

3. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่มิใช่ตัวตน ว่าเป็นตัวตน

4. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม”


( องฺ.จตุกฺก. 21/49/66/ ฯลฯ)


วิปลาสเหล่านี้ เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมเจริญปัญญา

และก็เป็นเป้าหมายของการฝึกอบรมปัญญาที่จะกำจัดมันเสีย

การพัฒนาความรู้และเจริญปัญญา ล้วนช่วยแก้ไขบรรเทาและกำจัดวิปลาสได้ทั้งสิ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้โยนิโสมนสิการแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัยแยกแยะองค์ประกอบ

ตรวจดูสภาวะ โดยมีสติพรั่งพร้อมอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 08:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2008, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ ท่านกรัชกาย :b20:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัญญัติ คือ คำเรียกขาน ชื่อเรียก คำกำหนดที่วางไว้ เช่น

ชื่อเรียกว่า พื้นดิน ภูเขา รถ คน ทิศเหนือ ทิศใต้ หลุม บ่อ เกาะ แหลม เป็นต้น

ซึ่งตัวจริงของสิ่งที่บัญญัติเรียกนั้นเป็นของมีจริงก็มี

ไม่มีอยู่จริงก็มี

แต่จะมีหรือไม่มีก็ตาม คำบัญญัตินั้น ก็เป็นกาลวินิมุต คือไม่ขึ้นต่อกาล และไม่พินาศ เช่น

ช่องว่างที่ลึกลงไปในแผ่นดิน เราเรียกว่าหลุม

ช่องนั้นมีที่ไหน เมื่อใด ก็เรียกว่าหลุมคงที่เสมอไป

แต่หลุมต่างหากจากช่องในแผ่นดินหามีไม่

และหลุมเองทุกๆหลุมย่อมตื้นเขิน ย่อมพัง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นอื่นได้

หรือเช่น สิ่งที่เรียกว่าสัญญา ย่อมเกิดดับเสื่อมสลายไป

แต่บัญญัติว่า สัญญาหาเสื่อมสลายไม่ เพราะสิ่งที่มีภาวะเช่นนั้น เกิดขึ้นที่ไหน เมื่อใด

ก็เรียกว่า สัญญาเสมอไป (ถ้าได้ตกลงไว้อย่างนั้น)

หรือ เช่น สิ่งที่เป็นร่างกายย่อมทรุดโทรมแตกสลายได้ แต่บัญญัติว่า กายย่อมคงที่

ของอย่างนั้น เกิดที่ไหนพบที่ไหน ก็เรียกว่า อย่างนั้นตามบัญญัติ



ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องบัญญัตินี้ อาจงงหรือสับสน เมื่อได้ฟังคำว่า เวทนาไม่เที่ยง

สัญญาไม่เที่ยง เป็นต้น

โดยจับไม่ถูกว่า เนื้อตัวของเวทนา และสัญญาไม่เที่ยง

หรือบัญญัติของเวทนาและสัญญาไม่เที่ยง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 08:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




37.jpg
37.jpg [ 34.84 KiB | เปิดดู 3144 ครั้ง ]
เมื่อเข้าใจสิ่ง สมมุติหรือบัญญัติ สภาวะหรือปรมัตถ์

การสนทนาธรรมหรือการศึกษาธรรมะก็จะง่ายขึ้น เพราะแยกแยะได้แล้วว่า กำลังสนทนาในแง่สมมุติ

หรือในแง่สภาวธรรม

อันที่จริง ทั้งตัวสภาวะ และสมมุติ เป็นสิ่งจำเป็น ตัวสภาวะเป็นเรื่องของธรรมชาติ

ส่วนสมมุติเป็นเรื่องของประโยชน์สำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์

แต่ปัญหาเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ เอาสภาวะกับสมมุติมาสับสนกัน จึงเกิดการเข้าใจธรรมไขว่เขว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 08:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 13:40 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร