วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 17:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




map11.jpg
map11.jpg [ 67.32 KiB | เปิดดู 11343 ครั้ง ]
ทำความเข้าใจความหมายของศัพท์ก่อน


อัสสาทะ แปลว่า ส่วนดี ส่วนอร่อย ส่วนหวานชื่น คุณค่า ข้อที่พึงพอใจ

อาทีนวะ หรืออาทีนพ แปลว่า ส่วนเสีย ช่องเสีย โทษ ข้อบกพร่อง

นิสสรณะ แปลว่า ทางออก ทางรอด ภาวะหลุดรอดปลอดพ้น หรือสลัดออกได้

ภาวะที่ปลอดหรือปราศจากปัญหา มีความสมบูรณ์ในตัว ดีงามจริงโดยไม่ต้องขึ้นต่อข้อดีข้อเสีย

ไม่ขึ้นต่ออัสสสาทะ และอาทีนวะของสิ่งที่เป็นปัญหา หรือภาวะที่สลัดออกมานั้น




ความหมายสั้นๆ

อัสสาทะ ส่วนดี

อาทีนวะ ส่วนเสีย

นิสสรณะ ทางออก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 31 พ.ค. 2010, 17:56, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๖.วิธีคิดแบบคุณ โทษ และ ทางออก


วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก หรือ พิจารณาให้ครบทั้ง อัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ

เป็นการมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเน้นการยอมรับความจริงตามที่สิ่งนั้นๆ

เป็นอยู่ทุกแง่ทุกด้าน ทั้งด้านดีด้านเสีย และเป็นวิธีคิดที่ต่อเนื่องกับการปฏิบัติมาก เช่นบอกว่า

ก่อนจะแก้ปัญหาจะต้องเข้าใจปัญหาให้ชัดเจน และรู้ที่ไปให้ดีก่อน หรือก่อนจะละจากสิ่งหนึ่งไปหา

อีกสิ่งหนึ่ง ต้องรู้จักทั้งสองฝ่ายดีพอ ที่จะให้เห็นได้ว่าการละและไปหานั้น หรือการทิ้งอย่างหนึ่งไปเอา

อีกอย่างหนึ่งนั้น เป็นการกระทำที่รอบคอบสมควรและดีจริง


การคิดแบบนี้มีลักษณะที่พึงย้ำ ๒ ประการ


๑) การที่จะชื่อว่ามองเห็นตามเป็นจริงนั้น จะต้องมองเห็นทั้งด้านดี ด้านเสีย หรือทั้งคุณและโทษของสิ่ง

นั้นๆ ไม่ใช่มองแต่ด้านดี หรือ คุณอย่างเดียว

และไม่ใช่เห็นแต่โทษ หรือด้านเสียอย่างเดียว

เช่น ที่ชื่อว่า มองเห็นกามตามเป็นจริง คือรู้ทั้งคุณและโทษของกาม *


๒)เมื่อจะแก้ปัญหา ปฏิบัติ หรือดำเนินมรรควิธีออกไปจากภาวะที่ไม่พึงประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น

เพียงรู้คุณโทษ ข้อดีข้อเสีย ของสิ่งที่เป็นปัญหาหรือภาวะที่ไม่ต้องการเท่านั้น ยังไม่เพียงพอ

จะต้องมองเห็นทางออก มองเห็นจุดหมาย และรู้จุดหมายหรือที่จะไปนั้น คืออะไร คืออย่างไร ดีกว่า

และพ้นจากข้อบกพร่อง จุดอ่อน โทษ ส่วนเสียของสิ่ง หรือภาวะที่เป็นปัญหาอยู่นี้อย่างไร ไม่ต้องขึ้นต่อ

คุณโทษ ข้อดีข้อเสียแบบเก่าอีกต่อไปจริงหรือไม่ จุดหมายหรือที่ไป หรือภาวะปลอดปัญหาเช่นนั้นมีอยู่จริง

หรือเป็นไปได้อย่างไร

ไม่พึงผลีผลามและทิ้งสิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหาหรือผลีผลามปฏิบัติ เช่น พระพุทธเจ้าทั้งที่ทราบแจ่มแจ้งว่า

กามมีข้อเสีย มีโทษมากมาย แต่ถ้ายังไม่เห็นนิสสรณะ ** แห่งกามก็ไม่ยืนยันว่าจะไม่เวียนกลับ

มาหากามอีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 พ.ค. 2010, 14:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับท่านกรัชกาย

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห.บนที่มี *


* ไม่พึงเข้าใจความหมายของกามแคบๆ อย่างสามัญในภาษาไทย ขอทำความเข้าใจด้วยตัวอย่าง

เช่น ภิกษุรูปหนึ่งพบชาวบ้าน ก็ทักทายถามสุขทุกข์ของเขาและครอบครัวของเขา ถ้าไม่ถามด้วย

เมตตา แต่มุ่งให้เขาชอบใจแล้วนิมนต์อยู่รับการอุปถัมภ์บำรุง เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า ปราศรัยเพราะอยาก

ได้กาม (ดู ธ.อ.4/42)


** นิสสรณะในที่นี้ คือ ปีติสุขที่ไม่ต้องอาศัยกาม (ดูพุทธพจน์ที่จะอ้างต่อไป)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค่อยๆพิจารณาพุทธพจน์ประกอบ


“ภิกษุทั้งหลาย ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ เราได้มีความคิดว่า

อะไรหนอ คือ ส่วนดี (อัสสาทะ) ในโลก

อะไรคือส่วนเสีย (อาทีนวะ)

อะไรคือทางออก (นิสสรณะ) เรานั้น ได้มีความคิดว่า ความสุขความฉ่ำชื่นใจที่เกิดขึ้นด้วยอาศัยสิ่งใดๆ

ในโลก นี้คือส่วนดีในโลก

ข้อที่โลกไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้คือส่วนเสียในโลก

ภาวะที่บำราศฉันทะราคะ เป็นที่ละฉันทราคะในโลกได้ (นิพพาน) นี้คือทางออกในโลก...



“ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาอัสสาทะของโลก อันใดเป็นอัสสาทะในโลก

อันนั้นเราได้ประสบแล้ว อัสสาทะในโลกมีเท่าใด อัสสาทะนั้น เราได้เห็นเป็นอย่างดีแล้วด้วยปัญญา

เราได้เที่ยวแสวงหาอาทีนวะของโลก อันใดเป็นอาทีนวะในโลก อันนั้นเราได้ประสบแล้ว

อาทีนวะในโลกมีเท่าใด อาทีนวะนั้น เราได้เห็นเป็นอย่างดีแล้วด้วยปัญญา

เราได้เที่ยวแสวงหานิสสรณะของโลก อันใดเป็นนิสสรณะในโลก อันนั้น เราได้ประสบแล้ว

นิสสรณะในโลกมีเท่าใด นิสสรณะนั้น เราได้เห็นเป็นอย่างดีแล้วด้วยปัญญา



“ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ประจักษ์ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะของโลกโดยความเป็นอัสสาทะ

ซึ่งอาทีนวะโดยความเป็นอาทีนวะ และซึ่งนิสสรณะโดยความเป็นนิสสรณะ ตราบใด

ตราบนั้น เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ....


“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัสสาทะจักมิได้มีในโลกแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในโลก

แต่เพราะอัสสาทะในโลกมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลาย จึงติดใจในโลก

ถ้าอาทีนวะจักมิได้มีในโลกแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในโลก แต่เพราะ

อาทีนวะในโลกมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายในโลก

ถ้านิสสรณะจักมิได้มีในโลกแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากโลก แต่เพราะ

นิสสรณะในโลกมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากโลกได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ต.ค. 2010, 19:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ประจักษ์ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะของโลก โดยความเป็น

อัสสาทะ ซึ่งอาทีนวะโดยความเป็นอาทีนวะ และซึ่งนิสสรณะโดยความเป็นนิสสรณะ ตราบใด

ตราบนั้น สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่สลัดออก ไม่เกาะเกี่ยว หลุดพ้นจากโลก...เป็นอยู่ด้วยใจไร้เขตแดน ไม่ได้

แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายรู้ประจักษ์ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะของโลกโดยความเป็นอัสสาทะ

ซึ่งอาทีนวะโดยความเป็นอาทีนวะ และซึ่งนิสสรณะโดยความเป็นนิสสรณะ

เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงจะสลัดออก ไม่เกาะเกี่ยว หลุดพ้นจากโลก...เป็นอยู่ได้ด้วยจิตใจไร้เขตแดน



“ภิกษุทั้งหลาย สมณะทั้งหลายก็ดี พราหมณ์ทั้งหลายก็ดี เหล่าหนึ่งเหล่าใด ยังไม่รู้ชัด

ซึ่งอัสสาทะของโลกโดยความเป็นอัสสาทะ ซึ่งอาทีนวะโดยความเป็นอาทีนวะ และซึ่งนิสสรณะ

โดยความเป็นนิสสรณะ

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ก็ยังยอมรับไมได้ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะทั้งหลาย ก็ยังยอมรับไมได้ว่า

เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ทั้งหลาย

และท่านเหล่านั้น ก็ยังไม่ชื่อว่าประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันนี้

ซึ่งอรรถแห่งความเป็นสมณะ หรือซึ่งอรรถแห่งความเป็นพราหมณ์”


(องฺ.ติก.20/543-6/332-5)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ เราได้มีความคิดว่า อะไรหนอ คือส่วนดี

ของรูป อะไรคือส่วนเสีย อะไรคือทางออก

อะไรคือส่วนดีของเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อะไรคือส่วนเสีย อะไรคือทางออก

เรายังไม่รู้ประจักษ์ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะของอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้น โดยความเป็นอัสสาทะ

ซึ่งอาทีนวะโดยความเป็นอาทีนวะ และซึ่งนิสสรณะโดยความเป็นนิสสรณะตราบใด

ตราบนั้น เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ตรัสรู้แล้วซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ...”


(สํ.ข.17/59-60/34-6)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย สมณะทั้งหลายก็ดี พราหมณ์ทั้งหลายก็ดี เหล่าหนึ่งเหล่าใด ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง

ซึ่งส่วนดีของกามทั้งหลายโดยความเป็นส่วนดี ซึ่งส่วนเสียโดยความเป็นส่วนเสีย และซึ่งนิสสรณะ

โดยความเป็นนิสสรณะ

ข้อที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักชื่อว่ารู้จัก (ปริญญา)กามทั้งหลายเอง หรือจักชักจูงผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม

แล้วรู้จักกามทั้งหลายได้นั้น ย่อมมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้

ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งส่วนดีของกามทั้งหลาย

โดยความเป็นส่วนดี ซึ่งส่วนเสียโดยความเป็นส่วนเสีย และซึ่งนิสสรณะโดยความเป็นนิสสรณะ

ข้อที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักกำหนดรู้ (ปริญญา) กามทั้งหลายเอง หรือจักชักจูงผู้อื่น

ให้ปฏิบัติตามแล้วรู้จักกามทั้งหลายได้นั้น ย่อมเป็นฐานะที่เป็นไปได้”



(ม.มู.12/200/172)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 พ.ค. 2010, 15:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย อะไรคือส่วนดีของกามทั้งหลาย ? ...ความสุข ความฉ่ำชื่นใจที่เกิดขึ้น

อาศัยกามคุณ ๕ นี้ คือ ส่วนดีของกามทั้งหลาย


“อะไรคือส่วนเสียของกามทั้งหลาย ?...กองทุกข์ที่เห็นประจักษ์เอง...กองทุกข์มีในเบื้องหน้า...


“อะไรคือนิสสรณะของกามทั้งหลาย ?... ภาวะบำราศฉันทราคะ เป็นที่ละฉันทราคะในกามทั้งหลายได้

(นิพพาน) นี้คือนิสสรณะแห่งกามทั้งหลาย”


(ดู ม.มู. 12/197-9/168-172-8/181-4)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ธ.ค. 2009, 10:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการอยู่ซึ่งกามทั้งหลาย จิตไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่แนบสนิท

ไม่น้อมดิ่งไปในกามทั้งหลาย

แต่เมื่อเธอมนสิการเนกขัมมะ จิตย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมแนบสนิท ย่อมน้อมดิ่งไปในเนกขัมมะ

จิตของเธอนั้น เป็นอันดำเนินไปดี อบรมดีแล้ว ออกไปได้ดี หลุดพ้นดีแล้ว ไม่เกาะเกี่ยวแล้วกับ

กามทั้งหลาย

อาสวะความคับแค้นเดือนร้อน เหล่าใด ที่จะเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะ

ความคับแค้น ความเดือดร้อนเหล่านั้น เธอจะไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรียกว่า นิสสรณะแห่งกามทั้งหลาย”



(ที.ปา.11/301/252; 417/297 ฯลฯ )

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“เรานี้เอง ครั้งก่อน เมื่อยังเป็นผู้ครองเรือนอยู เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า บำรุงบำเรอตน...

ต่อมา เรานั้น ทราบตามเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิดขึ้น ซึ่งความดำรงอยู่ไม่ได้ ซึ่งส่วนดี ซึ่งส่วนเสีย

และซึ่งทางออก ของกามทั้งหลาย จึงละกามตัณหา บรรเทาความเร่าร้อนกาม ปราศจากความกระหาย

มีจิตสงบภายใน เป็นอยู่

เรานั้น มองเห็นสัตว์เหล่าอื่น ผู้ยังไม่หมดราคะในกามทั้งหลาย ถูกกามตัณหาชอนไช

ถูกความเร่าร้อนกามเร้ารุม เสพกามอยู่ เราก็ใฝ่ทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น หาพลอยอภิรมย์ในกามเหล่านั้นไม่

ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร ? ก็เพราะเรารื่นรมย์อยู่ด้วยความชื่นชมยินดี ทีไม่ต้องมีกาม

ไม่ต้องมีอกุศลธรรม จึงไม่ใฝ่ทะยานต่อความสุขที่ทรามกว่า ไม่นึกอภิรมย์ในความสุขที่ทรามกว่านั้น”


(ม.ม.13/281/274)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ดูกรมหานามะ ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ เราได้เห็นเป็นอย่างดีด้วยสัมมาปัญญา

ตามเป็นจริงว่า กามทั้งหลาย มีอัสสาทะน้อย มีทุกข์มาก มีความคับข้องมาก

อาทีนวะในกามนี้ยิ่งนัก

แต่เรานั้น ยังมิได้ประสบปีติสุขอันปราศกามปราศอกุศลธรรมทั้งหลาย หรือปีติสุขอื่นที่ประณีต

ยิ่งกว่านั้น

เราจึงยังปฏิญาณ (ยืนยัน) มิได้ก่อนว่า จะเป็นผู้ไม่วกเวียนมาหากามทั้งหลาย

แต่เมื่อใด เราได้มองเห็นอย่างดีด้วยสัมมาปัญญาตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามทั้งหลาย มีอัสสาทะน้อย...

และเรานั้นได้ประสบปีติสุขอันปลอดจากกาม ปลอดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย พร้อมทั้งปีติสุขอื่น

ที่ประณีตยิ่งกว่านั้น


เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่วกเวียนมาหากามทั้งหลาย”



(ม.มู.12/211/180)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 พ.ย. 2009, 20:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั้นเป็นตัวอย่างความจากบาลี พอเป็นเครื่องแสดงให้เห็นแนวความคิดแบบนี้

วิธีคิดแบบนี้ใช้ได้กับเรื่องทั่วๆไป แม้แต่ข้อธรรม เช่น ในปฏิสัมภิทามัคค์ กล่าวถึงอัสสาทะ

และอาทีนวะของอินทรีย์ ๕ เช่นว่า ความไม่ปรากฏแห่งอุทธัจจะ

ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ

ความแกล้วกล้าเนื่องจากการดำเนินชีวิตโดยไม่ฟุ้งซ่าน และการประสบสุขวิหารธรรม

อันประณีต เป็นอัสสาทะของสมาธิ

การที่อุทธัจจะยังปรากฏขึ้นได้ การที่ความเร่าร้อนเนื่องจากอุทธัจจะยังปรากฏได้

ภาวะที่ยังเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอาทีนวะของสมาธิ ดังนี้เป็นต้น

(ขุ.ปฏิ.31/433/311-4)


ในทางปฏิบัติระดับชีวิตประจำวัน โดยมากเป็นเพียงการเลือกระหว่างสิ่งที่มีโทษมากคุณน้อย

กับสิ่งที่มีคุณมากโทษน้อย หรือแม้ได้นิสสรณะ ก็มักเป็นนิสสรณะแบบสัมพันธ์ คือทางออกที่ดีที่สุด

ในกรณีนั้นๆ

ในภาวะเช่นนี้ ก็ไม่ควรลืมใช้วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก คือ ควรยอมรับส่วนดีของสิ่งหรือข้อปฏิบัติ

ที่ตนละเว้น และไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาดซึ่งโทษ ข้อบกพร่อง จุดอ่อน ส่วนเสีย หรือช่องทางที่จะเสีย

ของสิ่ง หรือ ข้อปฏิบัติที่ตนเลือกรับเอา

การคิดมองตามความเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้ปฏิบัติได้ถูกต้องที่สุด มีความไม่ประมาท

อาจนำเอาส่วนดีของสิ่งที่ตนละเว้นมาใช้ประโยชน์ได้ และสามารถหลีกเลี่ยงหรือมีโอกาสแก้ไขส่วนเสีย

ส่วนบกพร่องที่ติดมากับสิ่ง หรือข้อปฏิบัติที่ตนเลือกรับเอานั้นได้ด้วย


ในการสั่งสอน ตัวอย่างแสดงแนวคิดแบบคุณโทษและทางออกนี้ ก็คือพระธรรมเทศนา

ของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า อนุบุพพิกถา ซึ่งเป็นแนวการสอนธรรมแบบหลักที่ทรงใช้ทั่วไป

หรือใช้เป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนทรงแสดงอริยสัจ ๔ กล่าวถึงการครองชีวิตดีงามโอบอ้อมอารี

ช่วยเหลือกัน ดำรงตนในสุจริตที่เรียกว่า ทานและศีล

และแสดงชีวิตที่มีความสุข ความเอิบอิ่มพรั่งพร้อม ที่เป็นผลของการครองชีวิตดีงามเช่นนั้น เรียกว่า สัคคะ

จากนั้น แสดงแง่เสีย ข้อบกพร่อง โทษ ความไม่สมบูรณ์เพียงพอของความสุข

ความพรั่งพร้อมเช่นนั้น เรียกว่า กามาทีนวะ

และในที่สุดแสดงทางออกพร้อมทั้งผลดีต่างๆของทางออกนั้น เรียกว่า เนกขัมมานิสังสะ

เมื่อผู้ฟังมองเห็นผลดีของทางออกนั้นแล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจ ๔ ต่อท้ายเป็นตอนจบ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 พ.ย. 2009, 21:02, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้เข้าถึงพุทธธรรมรู้ว่าขันธ์ ๕ มิใช่เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยส่วนเดียว

รู้ว่า ความอยากย้อมใจที่เกิดจากความนึกคิดของคนต่างหาก เป็นกาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลาย

ในโลกหาชื่อว่ากามไม่...

อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของมันอย่างนั้นเอง ดังนั้น ธีรชนทั้งหลาย

จึงกำจัดแต่เพียงตัวความชอบใจ ในอารมณ์เหล่านั้น ผู้ที่จะตรัสรู้ได้ ต้องเข้าใจทั้งส่วนดี หรือส่วนที่น่า

ชื่นชม -(อัสสาทะ) ส่วนเสีย หรือส่วนที่เป็นโทษ - (อาทีนพ) และทางปลอดพ้น -(นิสสรณะ)

ของกาม ของโลก ของขันธ์ ๕ มองเห็นส่วนดีว่าเป็นส่วนดี มองเห็นส่วนเสียว่าเป็นส่วนเสีย

มองเห็นทางปลอดพ้นว่าเป็นทางปลอดพ้น แต่ที่ละกาม หายติดใจในโลก เลิกยึดขันธ์ ๕ เสีย

ก็เพราะมองเห็นทางปลอดพ้นเป็นอิสระ (นิสสรณะ) ซึ่งจะทำให้อยู่ดีมีสุขได้โดยไม่ต้องขึ้นต่อส่วนดี

และส่วนเสียเหล่านั้น อีกทั้งเป็นการอยู่ดีมีสุขที่ประเสริฐกว่าประณีตกว่าอีกด้วย

(ดู ม.มู.12/196-208/168-178 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร