วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




908650e6nbhrlj0r.gif
908650e6nbhrlj0r.gif [ 119.8 KiB | เปิดดู 3414 ครั้ง ]
ด้านที่ 2 ข้อบกพร่องของกามเอง ท่านมักแสดงด้วยอุปมาต่างๆ ซึ่งมีกล่าวถึงบ่อยๆว่า

กามทั้งหลายมีความหวานชื่นน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งนัก


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

1. เปรียบเหมือนสุนัขที่เพลียและหิวโหย เขาโยท่อนกระดูกเปื้อนเลือดให้ ก็แทะอยู่นั่นเองจนเหนื่อย

อ่อน ก็อร่อยไม่เต็มอยาก และไม่เต็มอิ่มได้จริง

2. เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อที่แร้งหรือเหยี่ยวเป็นต้นคาบบินมา เหยี่ยวแร้งตัวอื่นเห็นเข้าก็โผเข้ามารุมจิก

แย่งเอา คือเป็นของไม่สิทธิขาดแก่ตัว ผู้อื่นแย่งชิงได้ คนทั้งหลายต่างก็ต้องการหมายปองจะเอา

เป็นเหตุให้เกิดการแก่งแย่งช่วงชิงเบียดเบียนประทุษร้ายตลอดจนสังหารเข่นฆ่ากัน

ถ้าไม่รู้จักปล่อยวาง ย่อมจะเดือดร้อนแสนสาหัส

3. เปรียบเหมือนคนถือคบเพลิงหญ้าลุกโพลงเดินทวนลม ไม่ช้าก็จะต้องทิ้งเสีย มิฉะนั้นจะไหม้มือ

ไหม้แขนและอวัยวะต่างๆ อาจถึงตายหรือไม่ก็สาหัส

4. เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงอันร้อนแรง ผู้ที่รักชีวิตทั้งที่รู้ว่า หากตกลงไป ถ้าไม่ตายก็ต้องเจ็บ

สาหัส และไม่อยากตกหลุม แต่ก็มีคนแข็งแรงคอยจับแขนฉุดถึงเข้าไปหาหลุมอยู่เรื่อย

5. เปรียบเหมือนความฝัน มองเห็นทุกอย่างเฉิดฉันอำไพ แต่ไม่ทันนาน ก็ผ่านหายหมดไป

พอตื่นขึ้นมาก็มองไม่เห็นอะไร เหลือไว้แต่ความเสียดาย

6. เปรียบเหมือนทรัพย์สมบัติที่ขอยืมเขามา เอาออกแสดงดูโก้เก๋หรูหรา วางท่าอวดกัน

ผู้คนก็กล่าวขวัญชื่นชม แต่ครอบครองเอาไว้ได้เพียงชั่วคราวและอย่างไม่มั่นใจ

ไม่เป็นสิทธิของตนแท้จริงเจ้าของ (ธรรมชาติ) ตามมาพบที่ไหนเมื่อไร ก็ต้องคืนเขาไปที่นั้น

เมื่อนั้น ไม่มีทางผ่อนปรน ส่วนตนเองก็มีแต่ตัว โผล่มาแล้วก็ผลุบไป

7. เปรียบเหมือนผลไม้มีผลดกในราวป่า ผู้คนผ่านมา เมื่ออยากได้ลูกผล เขาจะได้ด้วยวิธีใด

ก็ใช้วิธีนั้น ผู้ที่ขึ้นต้นไม้เป็นก็ปีนป่ายขึ้นไปเก็บ

ส่วนคนที่ขึ้นไม่เป็นก็จะเอาให้ได้ ที่เป็นคนร้ายนิสัยพาลมีมีดขวานก็จะตัดทำลายเสียทั้งต้น คนที่อยู่

บนต้นไม้ ถ้าลงมาไม่ทัน ก็จะถูกต้นไม้ทับแขนขาหักชอกช้ำหรือถึงล้มตายไป*

8. เปรียบเหมือนเขียงสับเนื้อ เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย ก็เท่ากับเอาชีวิตเข้าไปเสียงให้ถูกบั่นถูกสับ

9. เปรียบเหมือนหอกและหลาว มักจะคอยทิ่มแทงให้ได้แผลไม่เล็กก็ใหญ่ ไม่เจ็บน้อยก็เจ็บมาก

10. เปรียบเหมือนหัวงู เขาไปเกี่ยวข้องก็ไม่วายต้องคอยระแวง ไม่อาจปลงใจสนิท

หรือวางจิตปลอดโปร่งได้แท้จริง อาจฉกเอาคือนำภัยอันตรายมาให้ได้เสมอ**



ข้อเสียหรือจุดบกพร่องของกามสุขนี้ อาจกล่าวโดยย่อว่า ความเอร็ดอร่อยสนุกสนานหวานชื่น

ที่คนปรารถนา กามอำนวยให้เพียงชั่วครู่ยามในเวลาที่เสพเสวย แต่ความเจ็บปวดชอกช้ำ

ที่คนไม่ต้องการ กามกลับประทับลงให้อย่างแน่นแฟ้นติดตามฝังใจไปนานแสนนาน

เท่านั้นยังมิหนำ แม้ส่วนที่เป็นความเอร็ดอร่อยสนุกสนานหวานชื่นนั่นแหละ เมื่อจางคลายหาย

ลับดับล่วงผ่านไปแล้วยังทิ้งความเสียดายเอาไว้ทรมานใจคนบางคนให้พิไรรำพันไปได้อีกนาน



:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

* เทียบความนัยหนึ่งว่า กามสุขเหมือนผลไม้บนต้นไม้ ซึ่งที่โคนมีผู้ตัดคือ ความไม่เที่ยงแท้ ยั่งยืน

และความแก่ความตาย เป็นต้น กำลังทำลายให้กร่อนลงไปอยู่ตลอดเวลา จนจะต้องล้มไปในที่

สุด ผู้บริโภคกามสุขย่อมต้องถูกคุกคามด้วยความหวาดหวั่นเสียใจในความไม่จิรังและไม่แน่นอนนี้อยู่

ตลอดเวลา ยิ่งผู้ใดลุ่มหลงติดเพลินมัวเมามาก ไม่รู้จักยอมเลิกละสละปล่อยเสียบ้าง ก็จะต้องถูก

ต้นไม้ล้มทับเอาให้ได้รับความทุกข์เจ็บปวดแสนสาหัส

** อุปมา 10 ข้อนี้ มีคำบรรยายเฉพาะ 7 ข้อต้น ใน ม.ม. 13/47-53/41-45 ส่วนในที่มาอื่น

กล่าวถึงเฉพาะหัวข้อครบทั้ง 10 อุปมา เช่น วินย. 2/662/432 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 11:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกรัชกายนี่เก่งๆๆพระ :ไตรปิฏกจริงๆ :b4: :b8: :b20:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ด้านที่ 3 เกี่ยวกับปฏิบัติการโดยสัมพันธ์กับโลกและสังคม ข้อเสียของกามในด้านนี้

ท่านบรรยายเริ่มตั้งแต่ความทุกข์ยากความลำบาก เดือดร้อนที่ต้องประสบในการทำมาหาเลี้ยงชีพ

และแสวงหาสั่งสมกามวัตถุไว้เสพเสวย ซึ่งเป็นสิ่งปกติธรรมดาที่แต่ละคนจะต้องอดทน

ในการดำรงชีวิตอยู่ในโลก ต้องทนแดดทนฝนทนหนาวทนร้อน ทนเหนื่อยทนยาก

บ้างขาดแคลนอดอยากถึงตายไปก็มี

บ้างขยันหมั่นเพียรสู้ทำงานด้วยความเหนื่อยยาก แต่งานกลับไม่สัมฤทธิ์ผล ไม่ได้เงินทอง

หรือขาดทุนย่อยยับไป

ต้องเศร้าโศกกลัดกลุ้มทุรนทุราย เมื่อหามาได้แล้วก็เป็นทุกข์ในการระวังรักษา

บางทีประสบภัยเช่นถูกโจรปล้น คนลัก ไฟไหม้ เดือดร้อนวุ่นวายไปอีก


ครั้นได้กามวัตถุมาไว้ครอบครอง มนุษย์ผู้เขลาต่อสัจธรรม ก็ลุ่มหลงตกเป็นทาสของมัน

ยกเอากามวัตถุที่เป็นของไม่จริงไม่แท้มาเป็นเหตุดูถูกเหยียดหยามกัน ก่อทุกข์ให้แก่กัน

มากขึ้น

บ้างก็อิจฉาริษยากัน ทะเลาะวิวาทขัดแย้งเบียดเบียนกัน เพราะเห็นแก่กามวัตถุ

แย่งชิงกันซึ่งกามวัตถุในรูปของทรัพย์สินต่างๆ

อย่างที่กล่าวในบาลีว่า

“ราชาก็วิวาทกับราชา

กษัตริย์ก็วิวาทกับกษัตริย์

พราหมณ์ก็วิวาทกับพราหมณ์

คหบดีก็วิวาทกับคหบดี

แม่ทะเลาะกับลูก ลูกก็ทะเลาะกับแม่

พ่อก็ทะเลาะกับลูก ลูกก็ทะเลาะกับพ่อ

พี่น้องชายก็ทะเลาะกับพี่น้องชาย

พี่น้องหญิงก็ทะเลาะกับพี่น้องชาย

พี่น้องชายก็ทะเลาะกับพี่น้องหญิง

เพื่อนก็ทะเลาะกับเพื่อน

บ้างก็ลงไม้ลงมือหรือถึงกับใช้ศัสตราวุธเข่นฆ่ากันถึงตายบ้าง

ทุกข์ปางตายบ้าง

ถึงพวกที่ตระเตรียมอาวุธยุทธภัณฑ์เข้าปะทะทำสงครามล้างผลาญกัน ใช้หอกดาบแหลนหลาวง้าว

ปืน ยิงแทง ตัดศีรษะ ระเบิดกัน ก็เพราะกามเป็นเหตุ

บ้างก็ประกอบการทุจริตมีจี้ปล้นแย่งชิงคบชู้ เป็นต้น

ถูกจับได้เขาก็นำไปลงโทษทัณฑ์ต่างๆ เป็นครุโทษบ้าง ลหุโทษบ้าง

ครั้นตายแล้วก็ยังต้องได้รับความทรมานในอบายทุคติวินิบาตนรกอีก

ทั้งนี้ก็เพราะสาเหตุจากกาม

(เค้าความจาก ม.มู.12/198/169)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 19:06, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2008, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ขอบคุณจริงๆ ครับท่านกรัชกาย ที่กรุณาตอบคำถามของผมอย่างละเอียดละออครับ

ได้อ่านคำตอบของท่านแล้ว ต้องขอชื่นชมจริงๆ ครับ ท่านกรัชกายสมควรแล้วกับผู้เป็น "พหูสูต"

ความสุขที่ท่านกรัชกายได้จากฝึกสมาธินั่นแหละครับ ตรงกับสุขจากสมาธิที่ผมเคยได้รับและพูดถึงไปนั่นเอง คือ ใจชุ่มชื่น หรือที่ท่านกรัชกายใช้คำว่า "จุ่มอยู่ในปีติ" ตรงนี้ต้องคนถึงแล้วจริงๆ ถึงจะรู้ได้ว่าเป็นสุขอย่างไรแล้วเหมือนไม่มีอะไรในโลกเทียบได้อย่างไร :)

ความสุขตรงนี้เองผมก็เคยได้ประสบมา แต่ในกาลต่อมาเกิดพิจารณาเห็นว่ายังไม่ใช่สุขที่แท้จริง คือ เราเข้าฌานไปแล้วก็สุขใจจริง นั่งไปนานเท่าไรก็ทำได้ นั่งตลอดคืนถึงเช้าก็ได้ แต่พอออกจากสมาธิไปแล้ว จิตใจของเราก็ยังคงจะมีอาการปรุงแต่งเป็นไปตามอารมณ์ภายนอกต่างๆ ได้อีก แล้วที่นี้พอปรุงแต่งไปมากๆ ก็จะทำให้เข้าฌานได้ลำบาก สุขที่เคยได้รับก็ไม่ได้รับเหมือนเคย ที่นี้ใจก็ได้รับทุกข์แทน (จิตตก)...

ทีนี้ต่อมาผมจึงแสวงหาทางแก้ไขด้วยการปฏิบัติเจริญสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนา หมั่นพิจารณาให้เห็นถึงสภาพไตรลักษณ์ประการต่างๆ ด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เป็นต้นว่าเห็นความไม่เที่ยงในทุกลมหายใจเข้าออกบ้าง ก็ได้รับความสุขแต่ผมเองไม่แน่ใจว่าสุขหรือเปล่า เพราะตอนแรกเคยได้รับความรู้สึกปีติปราโมทย์เกิดขึ้น (เพราะผมยิ่งรู้สึกปล่อยวางอะไรๆ ได้ก็ยิ่งรู้สึกสบายใจ เมื่อยิ่งสบายใจ ก็เกิดปีติปราโมทย์อย่างบอกไม่ถูก) อยู่แต่ไม่นานก็กลายเป็น อาการที่บอกไป คือ "ใจเฉยๆ นิ่งๆ ผ่องใสอยู่ ไม่ปรุงแต่งใดๆ แต่ใจไม่ชุ่มชื้น" ครับ

ตรงนี้ผมเองก็กำลังหาคำตอบอยู่ แต่เมื่อได้อ่านคำตอบของคุณกรัชกาย ทำให้ผมได้รับคำตอบกับตัวเองเพิ่มมากขึ้นครับ ว่าแท้จริงสภาวะที่เกิดขึ้นกับผมนั้นตรงกับพระไตรปิฏกหรือไม่อย่างไร สุขอันไม่อิงอาศัยกามเป็นอย่างไร ต้องขอขอบคุณท่านกรัชกายมากครับ ที่ทำให้ผมทราบว่ามาถูกทางแล้ว โชคดีจริงๆ ครับที่ได้กัลยาณมิตรอย่างท่านกรัชกาย...

คำตอบของคุณกรัชกายนี้เห็นจะไม่ใช่เป็นประโยชน์แก่ผมคนเดียวเสียแล้ว แต่คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอีกมากมายครับ

ขอบคุณอย่างสูงอีกครั้งสำหรับคำตอบที่มีคุณค่าครับ

:b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2008, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับคุณ ศิรัสพล เนื้อหาสาระกรัชกายลอกมาจากหนังสือพุทธธรรมครับ ไม่ได้จำได้มากมายขนาดนั้นหรอกครับ

ติดตามอ่านต่ออีกครับ

มีข้อที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ที่มองเห็นโทษหรือส่วนเสียของกามว่ามีข้อบกพร่องต่างๆ

ดังที่กล่าวมาอย่างนี้ และได้ประสบความสุขที่ประณีตดีเยี่ยมกว่ากามสุข ประจักษ์กับตนจน

ไม่นึกอยากได้กามคุณแล้วนั้น ท่านมองเห็นความจริงเกี่ยวกับกามสุขว่ามีสภาวะหรือ

ธรรมชาติเป็นอย่างไร

ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสชี้แจงไว้ในรูปของการเปรียบเทียบต่อไปอีก มีใจความว่า

เปรียบเหมือนคนโรคเรื้อน ตัวสุกเป็นแผลไปทั่ว ถูกเชื้อโรคบ่อนไช ใช้เล็บเกาปาก

แผล ย่างตัวที่หลุมถ่านไฟ

ต่อมามีหมอรักษาเขาหายโรค มีความสุขสบาย จะไปไหนหรือทำอะไรก็ได้ตามปรารถนา

เขาเห็นคนอื่น ที่เป็นโรคเรื้อนเกาแผลย่างตัวอยู่ที่หลุมถ่านไฟ เขาย่อมไม่รู้สึกกระหยิ่ม

ยินดีต่อคนโรคเรื้อนนั้นที่จะย่างตัวที่หลุมไฟ หรือที่จะกินยาเช่นนั้นอีก นี้ฉันใด

ผู้ที่เคยที่ได้รับการบำรุงบำเรอด้วยกามคุณทั้งหลาย ก็เหมือนกัน เมื่อเขาละกามตัณหา

แล้ว และได้ประสบสันติสุขภายใน ชนิดที่ไม่ต้องอาศัยกามซึ่งดีเยี่ยมยิ่งกว่าแม้แต่ทิพย

สุข เขาเห็นคนอื่นๆ ที่ปรนเปรอเสพเสวยกามอยู่ ย่อมไม่นึกกระหยิ่มทะยานต่อคนเหล่า

นั้นและไม่รู้สึกยินดีในกามนั้น

คนที่เคยเป็นโรคเรื้อน และรักษาตัวหายแล้ว ถ้ามีคนแข็งแรงกว่ามาช่วยกันจับตัวเขาฉุดเข้า

ไปหาหลุมถ่านไฟ เขาจะดิ้นรนพยายามเบี่ยงตัวหลบ เพราะไฟนั้นร้อนมาก ถูกเข้าไม่สบาย

เลย เรียกว่ามีสัมผัสเป็นทุกข์ ต่างจากครั้งก่อนเมื่อเขายังเป็นโรคเรื้อนอยู่ เขาเข้าไปเอง

ไปผิงย่างตัวที่ไฟเห็นเป็นสุขสบาย ทั้งที่ไฟนั้นก็หลุมเดียวกันแท้ๆ ร้อนมากเหมือนกัน

ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะคนเป็นโรคเรื้อน มีอินทรีย์เสียหายบกพร่องไป เกิดสัญญาวิปริตต่อ

ไฟ ซึ่งมีสัมผัสทุกข์ว่าเป็นความสุข ข้อนี้ฉันใด

กามทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ความจริงนั้น กามทั้งหลายเป็นสิ่งมีสัมผัสทุกข์ มีความเผาลน

เร่าร้อน เป็นปกติธรรมดาเหมือนกันทุกกาลเวลา แต่คนถูกกามตัณหาบ่อนไช มีอินทรีย์เสีย

หายบกพร่องไป จึงเกิดสัญญาวิปริตต่อกามซึ่งมีสัมผัสทุกข์แท้ๆ ว่าเป็นความสุข*
..........

* น่าพิจารณาความจริง เกี่ยวกับสัมผัสทั้งหลายทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย ที่ว่าสุขทุกข์นั้น โดยมองในแง่ของมิติและความถี่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 19:10, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2008, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนโรคเรื้อนที่เอาเล็บเกาปากแผล ผิงย่างตัวที่หลุมถ่านไฟนั้น เขายิ่งเกาและยิ่งย่างตัว

ปากแผลก็ยิ่งสกปรก มีกลิ่นเหม็น เน่าเฟะยิ่งขึ้น ความสุขความเอร็ดอร่อย

ความฉ่ำชื่นใจที่เขาจะได้ก็อยู่ที่การได้เกาที่ปากแผลหรืออยู่ตรงแค่ปากแผลที่ได้เกาเท่านั้น

ถ้าเขายังไม่หายจากอาการคันตราบใด การที่จะให้เขารู้จักความสุขอย่างอื่นที่ดียิ่งกว่านั้น

ย่อมไม่อาจทำได้ ก็เขายังคันนัวอยู่ จะให้เขารู้จักความสุขชนิดไม่ต้องเกาที่คันได้อย่างไร

เมื่อเขาหายโรค มีสุขภาพดีเป็นปกติแล้ว เมื่อนั้นเขาจึงจะสามารถรู้จักความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า

และเมื่อนั้น เขาจะไม่ปรารถนาความสุขอันพึงได้จากการเกา ณ ที่คันอีกต่อไป

ในเรื่องกามนี้ก็เช่นเดียวกัน คนที่ถูกกามบ่อนไช เมื่อเขาเสพเสวยกามทั้งหลาย กามตัณหาก็

ยิ่งขยายตัวแรงกล้ายิ่งขึ้น และความร่านรนกามก็ยิ่งเร้ารุนมากขึ้น และแล้วความสุขความเอร็ด

อร่อยความฉ่ำชื่นใจที่เขาจะได้ ก็มีแต่ที่จะเกิดจากกามคุณทั้ง 5 เท่านั้น ถ้าเขายังไม่พ้นหาย

ไม่ปลอดโปร่งจากความบ่อนไชของกามตัณหา ยังถูกความร่านรนกามเร่ารุนอยู่ตราบใด การ

ที่จะให้เขารู้จักความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่าประณีตกว่านั้น ย่อมไม่อาจทำได้ ก็กามตัณหายังเร้ารุน

เขาอยู่ จะให้เขารู้จักความสุขภายในชนิดไม่ต้องร่านรนหรือไม่ต้องอาศัยกามได้อย่างไร

เมื่อใด กามตัณหาไม่บ่อนไชเขา เขาปลอดโปร่งจากความเร้ารุนของกามแล้ว เมื่อนั้นเขาจึงจะ

สามารถรู้จักความสุขภายในที่ประณีตกว่าได้ และนี้คือภาวะไรโรค ไม่มีอะไรบ่อนเบียนจิตใจ

หรือความมีสุขภาพจิตสมบูรณ์ ซึ่งท่านกล่าวว่าเป็นความหมายอย่างหนึ่งของนิพพาน *
............

* ย่อและขยายความตอนหนึ่งในมาคัณฑิยสูตร ม.ม.13/283-7/277-281 ตามความในสูตรนี้

เทียบความสุข โดยก้าวจากกามสุขไปถึงภาวะนิพพานทีเดียว ไม่ได้กล่าวถึงฌานสุขไว้โดยตรง

แต่ภาวะในฌาน ท่านก็เรียกว่าเป็นนิพพานได้โดยปริยาย คือเทียบได้บางแง่...

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 19:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2008, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านจบแล้วเกิดความซาบซึ้งในธรรมเลยครับ

ความคิดของผมเห็นว่า อาจเป็นอะไรที่ผิวเผิน เข้าใจง่าย แต่แท้จริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพระสูตรแฝงในลึกซึ้งไปถึงวิถีการปฏิบัติ การดำเนินชีวิต และการวางท่าทีต่อการรับรู้สิ่งต่างๆ เลยทีเดียว จนกระทั่งที่สุดคือ เรื่อง นิพพาน...

อ่านแล้วก็ทำให้รู้ว่า หากยังเป็นแผล เป็นโรคอยู่ก็ยังคงมิได้รับความสุขเที่ยงแท้ใดๆ ได้ แต่หากไม่เป็นแผล หมดโรคแล้วความสุขอันเกิดจากการไม่เป็นแผล ไม่เป็นโรค เที่ยงแท้ เขาผู้นั้นย่อมได้รับเอง เกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะไม่ทำให้กลับไปโหยหาเพื่อเป็นแผล เป็นโรคอีกเลย

คงมีสักวันที่แช่มชื่นสุขใจเพราะไร้โรค

สาธุครับ ท่านกรัชกาย

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2008, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ ท่านกรัชกาย :b20: :b8:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ความคิดของผมเห็นว่า อาจเป็นอะไรที่ผิวเผิน เข้าใจง่าย แต่แท้จริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพระสูตรแฝงในลึกซึ้งไปถึงวิถีการปฏิบัติ การดำเนินชีวิต และการวางท่าทีต่อการรับรู้สิ่งต่างๆ เลยทีเดียว จนกระทั่งที่สุดคือ เรื่อง นิพพาน...


ขอบคุณทั้ง 2 ท่านที่ติดตามอ่านครับ
คุณ ศิรัสพล พอมองเห็นธรรมะรวมๆ แล้วครับ สาธุ

เมื่อเป็นดังนั้น จะแทรกข้อธรรมคือสติเข้าด้วย เพราะมีผู้เข้าใจผิดอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
ดูครับว่าเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันอย่างไร


สติพิจารณาโดยคุณค่าทางสังคม


พุทธพจน์แสดงคุณค่าของสติในเสทกสูตรต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีแห่งหนึ่ง ซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นความหมายและคุณค่าในทางปฏิบัติที่ใกล้ชิดกันของอัปปมาทะกับสติ ช่วยให้เข้าใจความหมายของธรรมทั้งข้อชัดเจนยิ่งขึ้น และในเวลาเดียวกันจะแสดงให้เห็นท่าทีของพุทธธรรมต่อชีวิตในทางสังคมยืนยันว่า พุทธธรรมมองเห็นชีวิตด้านในของบุคคล โดยสัมพันธ์กับคุณค่าด้านนอกคือทางสังคมด้วย และถือว่าคุณค่าทั้งสองด้านนี้เชื่อมโยงเนื่องถึงกัน ไม่แยกจากกัน และสอดคล้อง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นักกายกรรม ยกลำไม้ไผ่ขึ้นตั้งแล้ว เรียกศิษย์มาบอกว่า มานี่แน่ะเธอ เจ้าไต่ไม้ไผ่ขึ้นไปแล้วจง (เลี้ยงตัว) อยู่เหนือต้นคอเรา” ศิษย์รับคำแล้วก็ไต่ลำไม้ไผ่ขึ้นไป ยืน (เลี้ยงตัว) อยู่บนต้นคอของอาจารย์

คราวนั้น นักกายกรรม ได้พูดกับศิษย์ว่า “นี่แน่ะเธอ เธอจงรักษาฉันนะ ฉันก็จะรักษาเธอ เราทั้งสองระวังรักษากันและกันไว้อย่างนี้ จักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้เงินด้วย และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย”

ครั้นอาจารย์กล่าวอย่างนี้แล้ว ศิษย์จึงกล่าวกับอาจารย์ว่า “ท่านอาจารย์ขอรับ จะทำอย่างนั้นไม่ได้ ท่านอาจารย์ (นั่นแหละ) จงรักษาตัวเองไว้ ผมก็จักรักษาตัวผมเอง เราทั้งสองต่างระวังรักษาตัวของเราไว้อย่าง จักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้เงินด้วย และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย”


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นั้นเป็นวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องนั้น ดุจเดียวกับกับที่ศิษย์พูดกับอาจารย์ (นั่นเอง) เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาตัวเอง” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน (มีสติไว้) เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาผู้อื่น” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน (เหมือนกัน”

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่น (ด้วย) เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนด้วย”
ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคิดว่า เราจะรักษาตน ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน เมื่อคิดว่า เราจะรักษาผู้อื่น ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาคนอื่น (ด้วย) เมื่อรักษาคนอื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนเองด้วย” (สํ.ม.19/758-762/224-225)


คุณศิรัสพลอ่านจบแล้วได้ข้อคิดอะไรบ้าง ลองวิจารณ์ธรรมดูสิครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ในสักกสูตร (องฺ.ทสก.24/46/87)

พระพุทธเจ้าทรงสนทนากับอุบาสกชาวแคว้นศากยะจำนวนมาก ทรงซักถามได้ความยอมรับจากอุบาสก

เหล่านั้นว่า คนที่ประกอบการงานอันสุจริต ไม่แตะต้องอกุศลกรรมใดๆเลย

ได้ทรัพย์วันละครึ่งเหรียญทุกวัน หรือวันละหนึ่งเหรียญ สองเหรียญ ตลอดขึ้นไปจนถึงวันละ 100

เหรียญ ทุกวัน ย่อมสมควรจะเรียกได้ว่าเป็นคนขยันหมั่นเพียร


:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

แต่คนที่ขยันหมั่นเพียรนั้น แม้จะเก็บรักษาทรัพย์ที่ได้มาเอาไว้สักร้อยปี จนมีทรัพย์สินเงินทอง

มากมาย

ทรัพย์สมบัติกองใหญ่นั้น ก็ไม่สามารถทำให้เขามีความสุขอย่างเดียวล้วนๆได้ แม้แต่เพียงคืนเดียว

วันเดียว หรือแม้แต่ครึ่งวัน

ทั้งนี้เพราะกามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ขาดแก่นสาร ไม่แท้ไม่จริง เป็นสิ่งที่จะต้องเลือนหาย

ไปเป็นธรรมดา

แต่ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าสามารถบรรลุผลที่ทำให้มีความสุขอย่างเดียวล้วนได้

ตลอดเวลายึดยาว นานแสนนาน


พระพุทธเจ้าเองก็ทรงยืนยันว่า พระองค์ทรงมีความสุขอย่างยิ่ง สุขยิ่งกว่าบุคคลที่โลกถือกันว่า มี

ความสุขที่สุดคือพระราชามหากษัตริย์


ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปพบพวกนักบวชนิครนถ์ ซึ่งกำลังลำเพ็ญตบะประพฤติวัตรทรมานตน

ต่างๆ และทรงสนทนากับนิครนถ์เหล่านั้น เกี่ยวกับข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายแห่งศาสนาของเขา

พวกนิครนถ์บำเพ็ญตบะทรมานตน เพราะเขาถือหลักการอย่างหนึ่งว่า ความสุขจะบรรลุด้วยความสุข

หาได้ไม่ ความสุขจะบรรลุถึงได้ด้วยความทุกข์ และเพื่อให้มีหลักฐานเสริมคำอ้างของตน

พวกนิครนถ์ ก็ยกเอาพระเจ้าพิมพิสารมาเปรียบเทียบกับพระพุทธเจ้าว่า ถ้าคนลุถึงความสุขได้ด้วยความ

สุขละก็ พระเจ้าพิมพิสารก็จะต้องทรงบรรลุความสุข (หมายถึงความสุขสูงสุดที่เป็นจุดหมายของ

ศาสนา) เพราะพระเจ้าพิมพิสารเป็นอยู่สุขสบายกว่าพระพุทธองค์

การที่พวกนิครนถ์กล่าวอย่างนี้ ก็เพราะพูดไปตามความรู้สึกสามัญที่ว่าพระเจ้าพิมพิสาร

เป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีทรัพย์สมบัติและพระราชอำนาจพรั่งพร้อมบริบูรณ์ทุกอย่างทุประการ

ก็คงเป็นอยู่สุขสบายกว่าพระพุทธเจ้า ซึ่งทรงสละโลกียสมบัติแล้วเที่ยวจาริกเร่ร่อนไปประทับนอน

ตามภูผาป่าไม้ และปฏิบัติศีลวัตรทางศาสนา ซึ่งก็คงทุกข์ยากลำบากลำบนเหมือนกับพวกตน


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

แต่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธโดยทรงแสดงให้เห็นว่า แม้แต่หลักฐานที่พวกนิครนถ์ยกขึ้นมาอ้าง

เพื่อสนับสนุนหลักการของพวกตนนั้น ก็เป็นหลักฐานที่ผิดพลาด ใช้ไม่ได้เสียแล้วเพราะพระเจ้า

พิมพิสาร มิได้มีความสุขกว่าพระองค์เลย แต่ตรงข้าม พระองค์มีความสุขยิ่งกว่าพระเจ้าพิมพิสาร

อย่างไรก็ตาม การที่จะพิสูจน์ว่าพระองค์มีความสุขกว่าพระเจ้าพิมพิสาร ถ้ามองด้วยสายตาของคน

สามัญย่อมเห็นได้ยาก เพราะคนทั่วไปย่อมมองที่ความเป็นอยู่อันพรั่งพร้อมสมบูรณ์ในภายนอก

เหมือนอย่างที่พวกนิครนถ์มองนั่นเอง เช่นดูที่ทรัพย์สมบัติ อำนาจ ยศศักดิ์ บริวารเป็นต้น

ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสละหมดแล้ว และซึ่งว่า โดยความจริงแล้วก็ไม่อาจใช้วัดความสุขที่แท้จริง

ของคนได้ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงเสนอข้อพิสูจน์ด้วยสิ่งเหล่านั้น แต่การที่จะวัดความสุขแท้จริง

ภายในใจ ซึ่งมองไม่เห็นก็ทำได้ยาก

พระพุทธเจ้าจึงทรงเสนอข้อพิสูจน์ ซึ่งวัดความสุขภายใน ชนิดที่แสดงออกมาให้เห็นได้ ในภาย

นอกอย่างชัดเจน เป็นข้อตัดสินให้เห็นชัดได้เด็ดขาด โดยตรัสถามว่า พระเจ้าพิมพิสาร จะประทับ

นิ่งไม่ไหวติงพระวรกาย ไม่ตรัสอะไรเลย อยู่เสวยแต่ความสุขอย่างเดียวล้วนๆ ตลอดเวลา 7 วัน

หรือแม้แต่เพียงชั่วคืนเดียว วันเดียวได้ หรือ ไม่


ก็ได้รับคำตอบว่าไม่ได้

แล้วตรัสถึงพระองค์เองบ้างว่า ทรงสามารถประทับนิ่งไม่ไหวติงพระวรกาย ไม่ตรัสอะไรเลย

เสวยแต่ความสุขอย่างเดียวล้วนๆ ตลอด 2 วันก็ได้ 3 วันก็ได้ ตลอด 7 วันก็ได้


พวกนิครนถ์ จึงยอมรับว่าพระพุทธเจ้าทรงมีความสุขยิ่งกว่าพระเจ้าพิมพิสาร

(ม.มู. 12/220/187)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:11, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านเปรียบปีติความเอิ่บอิ่มใจที่ได้จากกามคุณทั้ง 5 ว่า เป็นเหมือนจุดไฟโดยใช้หญ้าและไม้

(เป็นต้น) เป็นเชื้อ ถึงจะมีแสงสว่างแต่ก็ไม่เจิดจ้าแจ่มนวลมากนัก เพราะมีสิ่งที่ทำให้

เศร้าหมองเช่นควันเป็นต้น

ส่วนปีติที่ไม่ต้องอาศัยกามไม่อาศัยอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นเหมือนจุดไฟที่ไม่ต้องใช้หญ้า

และไม้เป็นเชื้อ แสงสว่างจะบริสุทธิ์ใสนวลแจ่มจ้าไม่มีควันหรือมลทินใดรบกวน”


(ม.ม. 13/724/659 ฯลฯ )



เมื่อมีความสุขที่ประณีตกว่าเข้ามาเทียบแล้ว ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่กามสุขจะตกต่ำมีค่าน้อย

ดังคำที่ท่านใช้เรียกกามสุขโดยเปรียบเทียบกับฌานสุขว่า

กามสุข เป็นปุถุชนสุข (สุขของปุถุชน) เป็นมิฬหสุข (สุขเลอะเทอะหรือสุขหมักหมม )

เป็นอนริยสุข (สุขของผู้มิใช่อริยะ)

และบรรยายโทษว่าเป็นสิ่งที่มีทุกข์ มีความอึดอัดข้องขัดคับแค้นและเร่าร้อน เป็นมิจฉาปฏิปทา

คือทางดำเนินที่ผิด


ตรงข้ามกับ ฌานสุข หรือสุขด้านใน * (อัชฌัตตสุข)

ซึ่งเป็นเนกขัมมสุข (สุขปลอดจากกาม)

เป็นปวิเวกสุข (สุขอิงความสงัด)

เป็นอุปสมสุข (สุขที่ช่วยให้เกิดความสงบ หรือช่วยให้บรรลุนิพพาน)

เป็นสัมโพธิสุข (สุขที่ช่วยให้ตรัสรู้)

และมีลักษณะที่เป็นคุณคือ เป็นสิ่งที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีความอึดอัดขัดข้องคับแค้น

ไม่มีความเร่าร้อน และเป็นสัมมาปฏิปทา คือทางดำเนินหรือข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่

ความเป็นอิสระหลุดพ้นหรือนิพพาน-

(ม.อุ. 14/659/427 ฯลฯ )

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

* ความจริงความสุขด้านใน (อัชฌัตตสุข)

ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า อนวัชชสุข (สุขไร้โทษ)

ท่านใช้เรียกตั้งแต่ความสุขที่เกิดจากความมีศีลขึ้นไปทีเดียว-

(มีที่มาหลายแห่ง เช่น ที.สี. 9/121/93 ฯลฯ)


อย่างไรก็ตาม การที่ท่านมักพูดกดและแสดงโทษของกามสุข อย่างมากมายและบ่อยครั้งนี้

ไม่พึงมองเป็นว่า ท่านตั้งหน้าตั้งตาจะประณามหรือมุ่งเหยียดหยามกามสุข

ในแง่หนึ่ง อาจจะมองว่าท่านพยายามชี้ให้เห็นความจริงตามสภาวะที่มันเป็นอยู่นั่นเอง

แต่ใจปุถุชนมีกิเลสลุ่มหลงมันอยู่จึงเห็นเป็นว่าท่านว่ารุนแรง

อีกแง่หนึ่ง มองได้ว่าในการเปรียบเทียบกันนั้น เมื่อกามสุขมีคนนิยมกันอยู่ ท่านยังว่าต่ำด้อยค่า

ถึงเพียงนี้ ก็ย่อมเป็นการเชิดชูสุขอย่างประณีตที่ท่านนำมาวางเทียบให้เห็นสูงเด่นชัดเจนยิ่งขึ้น


แต่แง่ที่ควรจะมองกันแท้ก็คือว่า เพราะเหตุที่กามสุขเป็นบ่วงรัดหรือเป็นกับดักที่เหนียวแน่น

คนทั้งหลายลุ่มหลงกันนักยากที่จะปลีกตัวออกได้

ท่านจึงระดมตีกามสุขนั้นให้หนัก พร้อมกับพยายามยกย่องแสดงคุณของสุขที่ประณีตขึ้นไป

เพื่อเป็นการเร่งเร้าชักชวนให้คนพากันขมีขมันปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความสุขที่ประณีตนั้น

โดยไม่นิ่งนอนใจ และในทางปฏิบัติ ก็มิใช่ว่า ท่านที่บรรลุสุขประณีตแล้วจะละทิ้งเลิกรา

จากกามสุขทันทีเสมอไป

หลายท่านก็ยังดำเนินชีวิตโดยเสพเสวยสุขควบกันไปทั้งสองอย่างหรือทั้งสองระดับ


ในกรณีนี้ก็เท่ากับว่า ท่านที่บรรลุความสุขประณีตอย่างสูงแล้ว มีทางเลือกในการเสวยสุข

มากขึ้น เป็นผู้ได้กำไรหรือได้เปรียบในเรื่องความสุขเหนือกว่าคนทั่วไป

รวมความแล้ว จุดมุ่งหมายของท่านอยู่ที่ต้องการให้ไม่ประมาทและให้ตระหนักว่าถึงอย่างไรๆ

ไม่ว่าจะเลิกกามสุขหรือไม่ก็ตาม

แต่สิ่งสำคัญที่จะทำก็คือจะต้องพยายามทำความสุขที่ประณีตให้เกิดขึ้นแก่ตนให้ได้ หรือจะต้องหา

ทางรู้จักมัน ได้ประสบมันประจักษ์กับตัวบ้างให้ได้


อย่างไรก็ตาม พึงตระหนักว่า ตามปกติ กามสุขกับความสุขอย่างประณีตนั้น ไม่ด้วยกัน

ไม่ค่อยได้ เพราะกามสุขพัวพันกับอารมณ์ที่ให้ตื่นเต้น ประกอบด้วยความเร่าร้อนกระวน

กระวาย หาอารมณ์มาสนองระงับให้เกิดความสงบ

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

ส่วนความสุขอย่างประณีต เริ่มต้นจากความสงบ

ดังจะเห็นว่า ฌานสุขจะเกิดขึ้น ต่อเมื่อจิตสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายก่อน

ดังนั้น สำหรับปุถุชน การที่จะเสวยทั้งกามสุขและทั้งได้ความสุขประณีตโดยเฉพาะฌานสุข

ด้วย จึงเป็นไปได้ยาก เพราะปุถุชนพอใจอะไรแล้ว มักติด มักหมกมุ่นหลงใหลง่าย

เมื่อฟุ้งซ่านกระวนกระวายเพริดไปด้วยแรงปรารถนากามสุขแล้ว ก็ยากที่จะให้สงบเข้าสู่

แนวแห่งฌานสุข

จึงปรากฏเรื่องราวของฤษีและนักบวชที่เสื่อมจากฌาน เพราะติดใจกามกันบ่อยๆ

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนย้ำให้รู้จักวางใจอย่างถูกต้องต่อกามสุข ให้มีปัญญาที่จะสลัดตัว

ออกได้ ดังท่าทีในการปฏิบัติที่ตรัสไว้ต่อไปนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:11, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในปาสราสิสูตร (ม.มู.12/328/333)

ท่านเปรียบกามคุณเหมือนบ่วงดักของนายพราน แล้วกล่าวถึงสมณพราหมณ์ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ไว้

3 พวก


พวกที่หนึ่ง คือ สมณพราหมณ์ที่บริโภคกามคุณทั้ง 5 * โดยมีความติดใจ หลงใหล หมกมุ่น

ไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาพาตัวรอด

เป็นเหมือนเนื้อป่าที่ติดบ่วงและนอนทับบ่วงอยู่ ย่อมจะประสบความเสื่อมความพินาศ

ถูกพรานทำเอาได้ตามปรารถนา


(* ความหมายของกามคุณ 5 มิใช่มีขอบเขตแคบๆ อย่างที่มักเข้าใจกัน รูปสวยงามที่บำเรอตา

เสียงไพเราะที่บำเรอหู รสอาหารอร่อยที่ถูกลิ้น สัมผัสที่นั่งที่นอนอ่อนนุ่มเป็นต้นที่ปรนเปรอ

กาย ล้วนเป็นกามคุณทั้งสิ้น

พูดง่ายๆว่า กามมิใช่เฉพาะเรื่องทางเพศเท่านั้น แต่ครอบคลุมสิ่งที่เสพเสวยเพื่ออามิสสุขทั้งหมด

ดังนั้น แม้แต่นักบวชก็ยังเกี่ยวข้องกับกามคุณได้)


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

พวกที่สอง คือ สมณพราหมณ์ที่บริโภคกามคุณทั้ง 5 โดยไม่ติด ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่น

รู้เท่าทันเห็นโทษ มีปัญญาพาตัวรอดได้ * (= นิสสรณปัญญา)

เป็นเหมือนเนื้อป่าที่นอนทับบ่วง แต่ตัวไม่ติดบ่วง ย่อมจะไม่ประสบความเสื่อมความพินาศ

ไม่ถูกพรานคือมารร้ายทำอะไรเอาตามปรารถนา


พวกที่สาม คือภิกษุที่สงัดจากกามปลอดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้บรรลุรูปฌาน

และอรูปฌาน ขั้นใดขั้นหนึ่ง ตลอดจนบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และเป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว

ได้ชื่อว่าทำให้มารตาบอด มองไม่เห็นร่องรอย ถึงภาวะที่มารมองไม่เห็น

เป็นเหมือนเนื้อป่าเที่ยวไปในป่าใหญ่ จะเดินจะยืนจะนั่งจะนอนก็ปลอดโปร่งเบาใจ

เพราะไม่อยู่ในสายตาของนายพราน




-ข้อที่ต้องการเน้นในที่นี้ ก็คือ ตามความในพระสูตรนี้ จะเห็นว่า

พระพุทธเจ้ามิได้ทรงเพ่งแต่จะสอนให้ละเลิกความเกี่ยวข้องกับกามคุณไปถ่ายเดียว แต่ทรงสอนให้รู้จัก

ปฏิบัติต่อกามคุณอย่างถูกต้อง โดยที่ยังคงความเป็นอิสระอยู่ได้

ไม่ตกไปเป็นทาสของกามคุณและมิให้กามคุณกลายเป็นสิ่งก่อโทษทุกข์ภัย



การเกี่ยวข้องกับกามคุณตามแบบของสมณพราหมณ์พวกที่สอง นับว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่พึงเน้นมากที่สุด

สำหรับคนทั่วไป ตามวิธีปฏิบัติแบบนี้


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

* นิสสรณปัญญา แปลว่า ปัญญาพาตัวรอด, ปัญญารู้ทางรอด

หมายถึง ปัญญาที่รู้จักทำตนให้เป็นอิสระได้

อาจเรียกกันแบบง่ายๆว่า ปัญญาที่ทำให้ตัณหาล่อเอาไว้ไม่อยู่ หรือปัญญาที่ทำให้ตัณหา

ดักไม่ติด

นิสสรณปัญญานี้ ตามปกติอรรถกถาทั้งหลายอธิบายว่า หมายถึงการรู้จักพิจารณาเมื่อบริโภค

ใช้สอยปัจจัย 4

โดยมองถึงความมุ่งหมายที่แท้จริงของการบริโภคสิ่งเหล่านั้น คือมองที่ตัวประโยชน์ หรือคุณค่า

ที่แท้ของสิ่งเหล่านั้นต่อชีวิต เช่น ใช้เครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องการหนาวร้อนแดดลมเหลือบยุง

และปกปิดที่อาย

มิใช่มุ่งเพื่อยั่วยวนอวดโก้หรูหราเป็นต้น

บริโภคอาหารเพื่อยังชีวิตให้ร่างกายมีกำลังอยู่สบายทำกิจได้ด้วยดี มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา

หรืออวดโก้ฟุ้งเฟ้อเป็นต้น

การรู้จักปฏิบัติโดยใช้ปัญญาพิจารณาอย่างนี้ นอกจากจะทำให้จิตใจเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาส

ของวัตถุ

ไม่ก่อให้เกิดโทษและความทุกข์ที่เกิดจากการวกเวียนวุ่นอยู่ ในวงจรอันคับแคบแห่งความหงุดหงิดดีใจ

เสียใจสมใจผิดหวังแล้ว ยังทำให้เกิดความพอดีในการบริโภคหรือใช้สอย ซึ่งเป็นคุณแก่ชีวิต

อีกด้วย ท่านจึงเรียก การปฏิบัติด้วยนิสสรณปัญญาว่า เป็นความรู้จักประมาณ

(ขุ.ม.29/964/611 )

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:12, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
สาธุครับท่านกรัชกาย ผมยินดีติดตามอ่านครับ

เป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์มากครับ หากสามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติตามได้ด้วยยิ่งประเสริฐครับ

พุทธพจน์ที่ตรัสว่า

อ้างคำพูด:
"นั้นเป็นวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องนั้น ดุจเดียวกับกับที่ศิษย์พูดกับอาจารย์ (นั่นเอง) เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาตัวเอง” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน (มีสติไว้) เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาผู้อื่น” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน (เหมือนกัน)”

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่น (ด้วย) เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนด้วย”
ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคิดว่า เราจะรักษาตน ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน เมื่อคิดว่า เราจะรักษาผู้อื่น ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาคนอื่น (ด้วย) เมื่อรักษาคนอื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนเองด้วย” (สํ.ม.19/758-762/224-225)


จากพุทธพจน์ข้างต้น เท่าที่ผมวิจารณ์ธรรมตามได้นั้น จะหมายถึงต่อไปนี้ครับ (ผิดถูกอย่างไร ขออภัยล่วงหน้าครับ)

หากคิดว่าจะทำประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง และทั้งแก่ผู้อื่น ขอให้เราเจริญสติปัฏฐานนี้แหละให้มาก เมื่อเราเจริญให้มาก ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นอันเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง และทั้งแก่ผู้อื่นไปด้วยในคราวเดียวกัน..

ยกตัวอย่าง เช่นว่า หากมีนายโจรผู้หนึ่ง ที่คอยปล้น เข่นฆ่าผู้คนต่างๆ อยู่เสมอ ในกาลต่อมาเขาได้พบพระพุทธเจ้า หรือได้ฟังธรรมจากสัตบุรุษ ได้นำธรรม คือ สติปัฏฐานมาเจริญแล้ว นายโจรเองก็ได้รับประโยชน์ คือ ละบาป บำเพ็ญบุญ ไม่ลุ่มหลง ยึดติดถือมั่นในกามคุณต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้าในทางธรรม จนอาจถึงขั้นสิ้นกรรมได้ในที่สุด และเมื่อนายโจรมีสติปัฏฐานอย่างนี้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเป็นดังนี้ ผู้อื่นก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วยเช่นกัน คือ ไม่เกิดความเดือดร้อน ถูกเบียดเบียน ปล้นฆ่าจากนายโจรอีก

ดังนั้นหากผู้คนหันมาเจริญสติปัฏฐานกันมากๆ จะเป็นอันที่ว่าไม่เบียดเบียนกันได้มาก ครอบครัว ชุมชน สังคมก็จะมีแต่ประโยชน์สุข ร่มเย็น...

ขอบคุณสำหรับธรรมะดีๆ ครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คราวนั้น นักกายกรรม ได้พูดกับศิษย์ว่า “นี่แน่ะเธอ เธอจงรักษาฉันนะ ฉันก็จะรักษาเธอ เราทั้งสองระวังรักษากันและกันไว้อย่างนี้ จักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้เงินด้วย และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย”

ครั้นอาจารย์กล่าวอย่างนี้แล้ว ศิษย์จึงกล่าวกับอาจารย์ว่า “ท่านอาจารย์ขอรับ จะทำอย่างนั้นไม่ได้ ท่านอาจารย์ (นั่นแหละ) จงรักษาตัวเองไว้ ผมก็จักรักษาตัวผมเอง เราทั้งสองต่างระวังรักษาตัวของเราไว้อย่างนี้ จักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้เงินด้วย และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย



นั่นก็ส่วนหนึ่งครับ

ส่วนกรัชกายได้ข้อคิด คือ ระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์มีอาชีพแสดงกายกรรมเลี้ยงชีวิต และต่างคนต่างก็ฝึกสติสัมปชัญญะมาอย่างชำนิชำนาญ มีสติกำกับตน จนกระทั่งต่างคนต่างก็ดูแลรักษาตนให้ทำหน้าที่ในขณะนั้นๆ ผ่านไปได้โดยสวัสดี งานก็สำเร็จ ได้เงินไปเลี้ยงชีวิต

แสดงว่า เมื่อบุคคลฝึกฝนอบรมสัมมาสติหรือสติปัฏฐานแล้ว ได้รับประโยชน์ทั้งสองทาง คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์- ประโยชน์ในปัจจุบัน หรือ ประโยชน์เฉพาะหน้า และ
สัมปรายิกัตถะประโยชน์ - ประโยชน์ในเบื้องหน้า หรือ ประโยชน์ชั้นสูงขึ้นไป


สรุปว่า การฝึกสติโดยวิธีถูกต้องแล้ว มีประโยชน์ทั้งโลกียะธรรมและโลกุตรธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 22:33 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร