วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูสัมมาทิฐิลิงค์นี้ด้วย

viewtopic.php?f=2&t=26922


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


สัมมาทิฏฐิกับการศึกษา


ในแง่ของการศึกษา กล่าวได้ว่า คนเริ่มมีการศึกษา เมื่อเขามีสัมมาทิฏฐิ

บางท่านอาจมองในแง่จากภายนอกเข้าไปตามนัยแห่งไตรสิกขา โดยถือเอาศีลเป็นที่เริ่มต้น แล้วกล่าวว่า

การศึกษาเริ่มต้น เมื่อคนประพฤติสุจริต *

แต่คำกล่าวเช่นนี้ ยังนับว่าไม่เข้าถึงตัวการศึกษา หรือ แก่นแท้ของการศึกษา

เพราะการฝึกปรือในขั้นศีลให้มีสุจริตก็ด้วยมุ่งสร้างสมนิสัยหรือความเคยชินในทางที่ดีงาม

เป็นทางนำคนระดับเวไนยไปสู่การมองเห็นคุณค่าของความประพฤติสุจริตเช่นนั้น-

(นี่ คือ แง่ที่พฤติกรรมกลับเป็นฝ่ายปรุงแต่งค่านิยมได้เช่นเดียวกับปัจจัยทางสังคมอย่างอื่นๆ)

เมื่อใด มองเห็นคุณค่าเกิดความเข้าใจซาบซึ้งและใฝ่นิยมความสุจริต เป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว

เมื่อนั้น ศีลหรือความประพฤติสุจริตจึงจะแน่นแฟ้นมั่นคงได้ -(ตอนนี้ ค่านิยมจะเป็นฝ่ายกำหนด

พฤติกรรม) และเมื่อนั้นแหละ จึงจะเรียกได้ว่าเขาเป็นผู้มีการศึกษา


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การที่ฝึกปรือในไตรสิกขาเริ่มต้นแต่ศีลไป ก็เพื่อเป็นการเพาะบ่มให้องค์มรรคทั้งหลาย

เริ่มแต่สัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น

เมื่อใด องค์มรรคซึ่งมีสัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ บังเกิดขึ้นในบุคคล จึงจะนับได้ว่าเขามีการศึกษา

เพราะนับแต่บัดนี้ไป องค์ธรรมทั้งหลายในตัวบุคคลนั้น จะเริ่มเข้าประจำทำหน้าที่สอดประสานส่งทอดต่อกัน



สัมมาทิฏฐินอกจากจะทำให้ศีล หรือความประพฤติสุจริตนั้นมั่นคงจริงจังแล้ว ยังช่วยให้การประพฤติศีล

เป็นไปด้วยความจริงใจไม่เสแสร้ง และเป็นหลักประกันให้ประพฤติได้ถูกต้องตามความหมายและความมุ่งหมาย

ของศีล ไม่ผิดพลาดกลายเป็นสีลัพพตปรามาส หรือถือปฏิบัติโดยงมงายเป็นต้น อีกด้วย

เมื่อใด มีสัมมาทิฏฐิ

เมื่อนั้นจึงวางใจในการปฏิบัติศีลหรือไว้ใจในความสุจริตนั้นได้

แต่ถ้ายังไม่มีสัมมาทิฏฐิ ตราบใด ก็ยังไม่อาจวางใจในศีล ตราบนั้น


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


*คำว่า สุจริตในที่นี้หมายถึง สุจริตอย่างที่ใช้ในภาษาไทย คือ มุ่งกาย วาจา และอาชีวะสุจริต

ไม่รวมถึงมโนสุจริต (มโนสุจริตคลุมสัมมาทิฏฐิด้วย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ก.พ. 2010, 10:34, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าแสดงความหมายผ่อนลงมา โดยถือเอาปัจจัยของสัมมาทิฏฐิเป็นหลัก ก็อาจกล่าวว่า การศึกษาเริ่มต้น

เมื่อคนรู้จักคิด (โยนิโสมนสิการ) ความหมายอย่างนี้ ก็นับได้ว่าถูกต้อง

ด้วยเป็นการกล่าวแบบเล็งความถึงกัน เพราะเมื่อมีโยนิโสมนสิการแล้ว ก็หวังได้ว่าสัมมาทิฏฐิจะเกิดตามมา

ดังจะเห็นได้ว่า แม้แต่การปฏิบัติระดับศีลเมื่อได้โยนิโสมนสิการ ช่วยนำพฤติกรรม จึงจะทำให้การปฏิบัติ

ดำเนินไปอย่างถูกต้องพอดี และเป็นการกระทำอย่างมีเป้าหมายที่เกื้อกูลเป็นประโยชน์

ทั้งตนเองก็ได้ความความเข้าใจ มีความมั่นใจ จิตเป็นกุศลโปร่งผ่องใส

เช่นในการแต่งตัวให้สะอาดเรียบร้อย นอกจากคำนึงถึงคุณค่าเพื่อชีวิตคือปกปิดและปกป้องร่างกายจากหนาว

ร้อนและความละอายเป็นต้นแล้ว โยนิโสมนสิการ

ยังช่วยให้คำนึงในทางเกื้อกูลแก่ผู้อื่นและแก่สังคมอีกด้วย เช่น ทำใจว่า เราจะแต่งตัวอย่างนี้ให้สะอาด

เรียบร้อยอย่างนี้ เพื่อความเป็นระเบียบดีงามของหมู่ของชุมชนหรือของสังคม

เรานุ่งห่มไม่ให้น่าเกลียดหรือน่ารังเกียจ ให้เรียบร้อยงดงามอย่างนี้ เพื่อรักษาจิตใจของคนอื่นที่เขาพบเห็น

ให้เป็นกุศล ไม่เศร้าหมองขุ่นมัว เพื่อช่วยเสริมบรรยากาศให้คนอื่นๆมีจิตใจผ่องใส โน้มน้อมไปในทางดีงาม


:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:


แต่ถ้าคิดขึ้นมาว่า จะอวดโก้ อวดฐานะ เอาเด่น จะข่มคนโน้นคนนี้ หรือจะล่อใจคนให้หลงใหลติดพัน

หรือมีจิตคิดแง่งอน ว่าจะทำตามใจฉัน ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง ดังนี้เป็นต้น

ก็กลายเป็นอโยนิโสมนสิการ อกุศลธรรมก็เข้าครอบงำใจ จิตก็ปิดล้อมตัวเองให้คับแคบ ไม่โปร่งโล่ง

ไม่ผ่องใส และพฤติกรรมในการแต่งกายก็พร้อมที่จะวิปริตออกไปจากความถูกต้องพอดีได้ทันที

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 31 มี.ค. 2011, 17:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพูดถึงการศึกษา

คนทั่วไปมักนึกถึงการเล่าเรียนความรู้สำหรับทำมาหาเลี้ยงชีพ อันเป็นเรื่องของอาชีวะ

และเป็นเรื่องระดับศีล

การศึกษาที่มุ่งสร้างแต่อาชีวะ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นสัมมาอาชีวะหรือมิจฉาชีวะ ย่อมไม่มีสาธุชนใดเห็นชอบด้วย

แต่การศึกษาที่มุ่งสร้างสัมมาอาชีวะเพียงอย่างเดียว โดยไม่ใส่ใจสร้างสัมมาทิฏฐิ ก็ยังหาชื่อว่าเป็นการศึกษา

ที่ถูกต้องไม่ และน่าจะไม่สำเร็จผลสมความมุ่งหมาย แม้แต่ที่จะให้เกิดสัมมาอาชีวะนั้นด้วย

เพราะยังไม่เข้าถึงตัวการศึกษา อาจจะเป็นสัมมาอาชีวะแต่เพียงชื่อ ไม่ใช่สัมมาอาชีวะที่แท้

เพราะเป็นการฝึกหัดศีล โดยไม่ทำองค์มรรคให้เกิดขึ้น จึงยังผิวเผิน ฉาบฉวย ไม่หยั่งรากลง

ทางที่ถูกจะต้องปลูกฝังสัมมาทิฏฐิไว้เป็นรากฐานของสัมมาอาชีวะด้วย

พูดง่ายๆว่า จะให้ถือศีลโดยไม่มีความใฝ่นิยมศีล

หรือให้ประพฤติสุจริตโดยไม่มีค่านิยมแห่งความสุจริต ย่อมไม่เพียงพอ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ความที่กล่าวในตอนนี้ มีความสำคัญถึงขั้นหลักการ ซึ่งควรจะเน้นไว้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมรรค

กับไตรสิกขา ซึ่งมองดูได้ที่สัมมาทิฏฐิกับการฝึกอบรมศีล อันเป็นข้อแรกของหมวดธรรมแต่ละหมวด

ในตอนต้น ได้เคยกล่าวถึงความสัมพันธ์อย่างเป็นปัจจัยกันระหว่างศีลกับสัมมาทิฏฐิว่า เมื่ออยู่ร่วมกันด้วยดี

โดยสงบเรียบร้อย ใจก็ไม่ต้องคอยสะดุ้งหวาดระแวง

เมื่อประพฤติดีมีศีล ก็ไม่มีความเดือดร้อนวุ่นวายใจ ทำให้จิตสงบ เป็นสมาธิ

เมื่อใจสงบแน่วแน่ผ่องใสก็ช่วยให้คิดคล่อง มองเห็นอะไรๆชัดเจน ไม่เอนเอียง มีความเข้าใจดี

เกิดปัญญา

ถ้าปัญญานั้น รู้ตระหนักมองเห็นคุณค่าของความประพฤติดีมีศีล ก็เป็นสัมมาทิฏฐิ

เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ คือ เห็นถูกต้อง ก็คิด แล้วพูด ทำ ประพฤติปฏิบัติถูกต้องเป็นศีลอีก


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


และอีกตอนหนึ่งได้กล่วแล้วว่า การฝึกหัดศีล หรือฝึกอบรมความประพฤติจะชื่อว่าเป็นการศึกษา

ก็ต่อเมื่อสามารถทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ อย่างน้อยตั้งแต่ขั้นซาบซึ้งในคุณค่าของศีล หรือ มีค่านิยม

แห่งความสุจริตขึ้นไป


การฝึกอบรมความประพฤติที่จะให้มีผลเช่นนี้ ได้กล่าวมา ณ ที่นี้ ๒ อย่าง คือ


๑) การฝึกศีลที่อาศัยความเคยชินและศรัทธา

เป็นวิธีที่เน้นหนักในด้านระเบียบวินัย ได้แก่การจัดสรรสภาพแวดล้อมให้เป็นกรอบกำกับความประพฤติ

และจัดระเบียบความเป็นอยู่ เช่นกิจวัตรเป็นต้น ให้กระชับ

ฝึกคนปฏิบัติให้เกิดความคุ้นและเคยชินเป็นนิสัย

พร้อมนั้นก็สร้างเสริมศรัทธาโดยให้กัลยาณมิตรเช่นครูแนะนำชักจูงให้เห็นว่าการประพฤติดี

มีระเบียบวินัยเช่นนั้น มีประโยชน์ คุณค่าหรืออานิสงส์อย่างไร

และอาจให้ได้ยิน ได้เห็นบุคคลผู้มีความประพฤติดีงามน่าเลื่อมใสศรัทธาที่มีความสุข

ความสำเร็จเป็นแบบอย่าง (เช่น ครูนั่นเอง)ประกอบไปด้วย


โดยวิธีนี้ ความซาบซึ้งในคุณค่าของความประพฤติดีงาม ความรักวินัย ความใฝ่นิยมศีลก็เกิดขึ้นได้

แม้ไม่มีกัลยาณมิตรคอยชี้แจงประโยชน์ หรือได้เห็นแบบอย่างอะไรมากนัก

แต่ถ้าระเบียบวินัย หรือ กรอบความประพฤตินั้นเป็นสิ่งที่เขาปรับตัวเข้าได้

เกิดความเคยชินเป็นนิสัยขึ้นมาก็ดี

เขาได้รับผลดี มองเห็นประโยชน์แก่ตนบ้างก็ดี

เขาก็จะเกิดความใฝ่นิยมและคิดหาเหตุผลเข้ากับความประพฤติดีมีระเบียบวินัยนั้นเอง

เมื่อพ้นจากขั้นประพฤติไปตามกรอบหรือตามบังคับ มาถึงขั้นเห็นคุณค่าใฝ่นิยมที่จะทำอย่างนั้นแล้ว

ก็เข้าสู่ขั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ

นับได้ว่า เริ่มมีการศึกษา แม้ว่าจะเป็นสัมมาทิฏฐิชนิดโลกีย์อย่างอ่อนเหลือเกินและไม่สู้มั่นคงปลอดภัย

นัก เพราะอาจกลายเป็นการปฏิบัติด้วยความยึดมั่นงมงายเป็นสีลัพพตปรามาสได้ก็ตาม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒) การฝึกศีลที่ใช้โยนิโสมนสิการกำกับ

เป็นวิธีที่เน้นความเข้าใจในความหมายของการกระทำ หรือ การปฏิบัติทุกอย่าง คือปฏิบัติการ

ด้วยโยนิโสมนสิการ หรือใช้โยนิโสมนสิการนำและคุมพฤติกรรม ดังตัวอย่างเรื่องการแต่งกาย

ที่ได้กล่าวมาแล้ว

ตามวิธีนี้ กัลยาณมิตรเช่นครู จะช่วยได้โดยแนะแนวความคิดให้เห็นช่องทางพิจารณาและเข้าใจความหมาย

ของพฤติกรรมนั้นๆไว้ก่อน

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


ตัวอย่างอื่นอีกเช่น ในการไหว้กราบแสดงความเคารพ ผู้กราบไหว้พระสงฆ์หรือแสดงความเคารพ

ผู้ใหญ่กว่า

อาจทำใจให้เข้ากับความหมายที่ถูกต้องดีงามเป็นกุศลของการกระทำในกรณีนั้นๆ และเวลานั้นๆ เช่นว่า

เราขอกราบไหว้เพื่อเป็นการฝึกตนให้เป็นคนอ่อนโยนไม่แข็งกระด้าง

หรือเรากราบไหว้เพื่อเชิดชูระเบียบเพื่อความดีงามของสังคม

หรือเรากราบไหว้เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งการเทิดทูนธรรมที่ท่านผู้นั้นเป็นตัวแทนอยู่

หรือเรากราบไหว้ด้วยเมตตาหวังดีหวังประโยชน์แก่ท่านผู้นั้น เพื่อเป็นเครื่องช่วยระวังรักษาท่านให้ดำรงอยู่

ในภาวะและฐานะที่ดีงามเหมาะสม

หรืออย่างน้อยที่สุดว่า เรากราบไหว้นี้เป็นการจะประพฤติธรรมในส่วนของตัวเรา ให้ถูกต้องให้ดีงามที่สุด

ของเราก็แล้วกัน ดังนี้เป็นต้น



ทางฝ่ายพระสงฆ์ ผู้ใหญ่หรือครู ที่เป็นผู้จะได้รับความเคารพกราบไหว้

ก็อาจทำใจเมื่อเขากราบไหว้เคารพตน เช่น นึกเป็นโอกาสที่ได้สำรวจตนว่า เรายังเป็นผู้มีคุณธรรม

ความประพฤติสมควรแก่การได้รับความเคารพกราบไหว้อยู่หรือไม่

หรือนึกว่า ท่านผู้นี้อยู่ในฐานะที่เราพึงแนะนำได้ เขาไหว้กราบถูกต้องหรือไม่อย่างไร

เป็นโอกาสที่เราจะรู้ไว้และค่อยนำมาแนะนำด้วยความหวังดีต่อไป


หรือใจอนุโมทนาว่าท่านผู้นี้ คนผู้นี้ช่างเป็นผู้มีคุณธรรมสูง รู้จักรักระเบียบของสังคม

รู้จักให้เกียรติเทิดทูนธรรม

หรือทำใจว่า เอาเถิดว่ากันไปตามสมมุติของโลกแล้วแต่จะทำอย่างไรให้โลกมันดีก็เอา ดังนี้เป็นต้น


เมื่อทำใจด้วยโยนิโสมนสิการอย่างนี้ ก็จะมีความมั่นใจในการกระทำของตน และจะไม่เกิดอกุศลธรรม

เข้าครอบงำจิตด้วย เช่น ทางฝ่ายผู้กราบไหว้ก็จะไม่ต้องมาถือเทียบเขาเทียบเราด้วยกิเลสแห่งความยึดติด

ถือมั่นในตัวตนว่า เขามีดีอะไรเราจะต้องไหว้ เราดีกว่าเขาเสียอีก จะไหว้ทำไม ดังนี้เป็นต้น


ทางฝ่ายผู้จะได้รับความเคารพก็จะไม่ต้องเกิดกิเลสคอยระแวง หรือ โทมนัสน้อยใจแค้นเคือง เช่น ว่า

ทำไมคนนี้ไม่ไหว้เรา ทำไมคนนั้นไหว้ด้วยอาการไม่ถูกใจเรา

หรือลุ่มหลงลืมตัวว่า เรานี้เป็นผู้เลิศประเสริฐสูง ผู้คนทั้งหลายพากันนอบนบกราบไว้ ดังนี้เป็นต้น


ด้วยตัวอย่างที่ยกมานี้ ล้วนเป็นโยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศลธรรมและให้เกิดสัมมาทิฏฐิ

แบบโลกีย์เท่านั้น แต่ก็จะเห็นได้ว่า วิธีฝึกข้อ ๒ นี้ประณีตลึกซึ้งกว่าวิธีที่ ๑ สามารถป้องกันผลเสีย

คือการเกิดขึ้นของอกุศลธรรมที่จะเข้าแฝงซ้อนการปฏิบัติ ซึ่งวิธีที่ ๑ ป้องกันไม่ได้

เป็นการปฏิบัติอย่างมั่นใจด้วยปัญญา ทำให้เกิดความเข้าใจเป็นสัมมาทิฏฐิเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยไป

พร้อมกันกับการฝึกศีล และปิดช่องที่จะกลายเป็นการประพฤติปฏิบัติศีลด้วยความงมงายที่เรียกว่า

สีลัพพตปรามาส

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จานป้อ หง่ะ จะสอนธรรม ใส่ลูกเล่นลงไปบ้างไม่ได้หรือ

:b2: :b2: :b2:

ไบก้อง อยากติดตาม แต่ ไบก้อง แพ้ทางวิชาการ หน่ะ

:b20: :b20: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 12:55
โพสต์: 36

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระจ่างดีครับ ก็วิชาการดีด้วยครับ สาธุๆ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภยังค์ เขียน:
กระจ่างดีครับ ก็วิชาการดีด้วยครับ สาธุๆ :b8:


ช่าย กระจ่างดี วิชาการ ก็ดี
แต่ จะเอาลูกเล่นด้วย...หง่ะ... :b2: :b2:

:b20: :b20:

ไม่ลูกเล่นก็ได้ แต่เอาตัวอย่างที่เป็นของจริง
แล้ว จานป้อ วิเคราะห์ตัวอย่างให้ฟังด้วย หง่ะ...

:b24: :b24:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
จานป้อ หง่ะ จะสอนธรรม ใส่ลูกเล่นลงไปบ้างไม่ได้หรือ

ไบก้อง อยากติดตาม แต่ ไบก้อง แพ้ทางวิชาการ หน่ะ


จะเอาลูกเล่นอีก ความจริงวิชาการก็คือการฝึกจิตนั่นแหละ

แต่เราใจร้อน พอเจอวิชาการ จะเอาภาคปฏิบัติ

ภาคปฏิบัติก็ดูจิตนั่นแหละ ดูไป ดูให้ลึกลงไปเรือย ๆ รู้สึกอย่างไรก็รู้อย่างนั้น

เป็นอย่างไรก็รู้อย่างนั้น ตามที่มันเป็น โดยไม่เอาไบกอนเข้าไปวุ่นวายกับสิ่งนั้นภาวะนั้น เข้าใจไหม :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

จะเอาลูกเล่นอีก ความจริงวิชาการก็คือการฝึกจิตนั่นแหละ

แต่เราใจร้อน พอเจอวิชาการ จะเอาภาคปฏิบัติ


:b13: :b13:

อิ อิ จานป้อ ...รู้อีก...

:b13: :b13:

อ้างคำพูด:
ภาคปฏิบัติก็ดูจิตนั่นแหละ ดูไป ดูให้ลึกลงไปเรือย ๆ รู้สึกอย่างไรก็รู้อย่างนั้น

เป็นอย่างไรก็รู้อย่างนั้น ตามที่มันเป็น โดยไม่เอาไบกอนเข้าไปวุ่นวายกับสิ่งนั้นภาวะนั้น เข้าใจไหม :b1:



เหมือนจะเข้าใจ นิ๊ด ๆ ค่ะ แต่ไม่ค่อยจะแจ่ม

ไอ้การเท่าทันเจ้า ไบก้อน ที่ชอบวุ่นวาย หน่ะ ... :b12:

วิชาการก็ได้...

จานป้อ ช่วยขยายความให้ ไบก้อน ค่อย ๆ สะกดรอยตามได้มั๊ยคะ

เพราะไบก้อน เป็นแต่ดุ่ม ๆ สุ่ม ๆ ทำมาน่ะค่ะ ก็ได้แต่ใส่ใจที่จะทำ ไม่ค่อยได้อิงตำรา...

ดีค่ะ ไบก้อนจะได้ถือโอกาสทบทวน ลู่ทางตัวเองด้วยค่ะ

งานนี้ จะเอาเสื่อมาปู นั่งเรียนดี ๆ แล้วจ๊าาา :b12:

จะค่อย ๆ ฟังอาจารย์สอน จะไม่ใจร้อนด้วย... :b24:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 14 พ.ย. 2009, 20:54, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 13:36
โพสต์: 7

โฮมเพจ: http://theallover.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กำหนดใหัมาก
งานอดิเรก: อ่านหนังสือต่างๆ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ธรรมะ
ชื่อเล่น: คิว
อายุ: 24
ที่อยู่: ประเทศไทยแต่ตอนนี้อยู่อินเดีย

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue นับถือครับเก่งจริงๆ แต่อย่าใส่น้ำให้มากไปนะครับ ขอบคุณครับ smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

วิธีฝึกที่ถูกต้องตามแนวของมรรคอย่างแท้จริง คือวิธีที่ ๒ หากจะใช้วิธีที่ ๑ ควบไปด้วยก็น่า

จะได้ผลดียิ่งขึ้น

แต่จะใช้วิธีที่ ๑ อย่างเดียว นับว่ายังไม่เพียงพอสำหรับการศึกษาที่แท้ เพราะในการศึกษา

ที่ถูกต้อง ภายนอกเริ่มต้นด้วยการฝึกขั้นศีล แต่ภายในต้องใช้โยนิโสมนสิการสร้างปัญญา

ให้เกิดสัมมาทิฏฐิพร้อมกันแต่แรกเรื่อยไป และเมื่อทำอย่างนี้ ก็เป็นการใช้โยนิโสมนสิการในทางปฏิบัติ

ซึ่งใช้ได้ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่รอเอาไว้พิจารณาความคิดอย่างเดียว


และไม่ใช่แต่ในขั้นศีลนี้เท่านั้น แม้ในขั้นสมาธิและขั้นปัญญาแท้ๆ ก็จะต้องใช้โยนิโสมนสิการ

อย่างนี้เรื่อยไป สัมมาทิฏฐิและองค์มรรคทั้งหลายภายในจึงจะเจริญแก่กล้าพรั่งพร้อมยิ่งขึ้นไป

โดยนัยนี้ ก็จะมองเห็นความเจริญขององค์มรรคทีควบไปกับการฝึกไตรสิกขา กล่าวคือ

เมื่อมองจากข้างนอก หรือมองตามขั้นตอนใหญ่ ก็จะเห็นการฝึกอบรมตามลำดับขั้นของไตรสิกขา

เป็นศีล สมาธิ และปัญญา

แต่เมื่อ มองเข้าไปข้างในที่รายละเอียดของการทำงาน ก็จะเห็นองค์มรรคทั้งหลายเดินไขว่

ทำหน้าที่กันอยู่ หรือว่าบุคคลนั้น กำลังเดินตามมรรคอยู่ตลอดเวลา


พูดสรุปได้ว่า วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องคือ ภายนอกฝึกตามไตรสิกขาไป

ภายในก็เดินตามมรรคด้วย นี้คือความหมายของความที่ว่า เป็นการประสานขานรับกันทั้งระบบฝึกคน

จากข้างนอก และระบบก้าวหน้าขององค์ธรรมที่อยู่ข้างใน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 พ.ย. 2009, 20:42, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ไบกอนจะเรียนเอาไปทำอะไร แล้วที่คิดจะเรียนจะรู้นั่นมีจุดประสงค์อันใดฤา

เป้าหมายหรือจุดหมายในการเรียนรู้ของไบกอนคืออะไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 31 มี.ค. 2011, 17:47, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

มองลึกลงไปอีกถึงพัฒนาการของบุคคล เมื่อพิจารณาตามหลักเท่าที่กล่าวมาแล้ว

จะเห็นได้ว่า ถ้าปล่อยให้มนุษย์เจริญเติบโตอย่างเป็นไปเองตามธรรมชาติ ไม่อาศัยปัจจัยทางสังคม

เข้าช่วยเสียเลย ก็จะมีเพียงอัจฉริยมนุษย์ ไม่กี่คนที่จะสามารถใช้โยนิโสมนสิการโดยลำพังตัว

นำตนเข้าถึงชีวิตที่ดีงามสูงสุด

และในทางตรงข้าม การปล่อยให้มนุษย์เจริญเติบโตขึ้น ด้วยการหล่อหลอมของปัจจัยต่างๆ

ทางสังคมอย่างเดียว ก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาเข้าถึงความดีสูงสุดที่เขาเองสามารถเข้าถึงได้

โดยนัยนี้ อาจกล่าวว่า แนวทางพัฒนาบุคคลสองแบบต่อไปนี้ เป็นวิธีการสุดโต่งที่ผิดพลาดคือ

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

๑) การพัฒนาโดยปล่อยให้เป็นไปเองอย่างเสรีตามธรรมชาติ

๒) การพัฒนาตามความปรุงแต่งต้องการของสังคม

การพัฒนาตามธรรมชาติเท่านั้น ไม่เพียงพอ จะต้องพัฒนาด้วยความเข้าใจสภาวะของธรรมชาติที่จะทำ

ให้วางใจ วางท่าทีสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างถูกต้องได้ผลดีด้วย


ในทำนองเดียวกัน การพัฒนาตามความต้องการของสังคม ก็ไม่เพียงพอ จะต้องพัฒนาด้วยความรู้

เท่าทัน ที่จะทำให้สามารถหลุดพ้นจากอำนาจปรุงแต่งของสังคมได้ด้วย และการพัฒนาที่สมบูรณ์

จะต้องเกี่ยวข้องทั้งกับธรรมชาติและกับสังคม

ทั้งนี้ เพราะมนุษย์เกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยธรรมชาติและมนุษย์อื่น

เมื่อเป็นอยู่ก็ต้องเกี่ยวข้องทั้งกับธรรมชาติและมนุษย์อื่น


จึงอาจกล่าวถึงการพัฒนาบุคคลที่ถูกต้องสมบูรณ์ว่า เป็นพัฒนาการด้วยความรู้ความเข้าใจทีทำให้เจริญเติบโต

ขึ้นอย่างเกื้อกูลแก่สังคมและอย่างเป็นกันเองกับธรรมชาติ

พร้อมกับได้ทั้งสังคมและธรรมชาติเป็นที่หล่อเลี้ยงให้ชีวิตงอกงามเอิบอิ่มเบิกบาน

มีความดีงามและความเกษมศานติ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

ไบกอนจะเรียนเอาไปทำอะไร แล้วที่คิดจะเรียนจะรู้นั่นมีจุดประสงค์อันใดฤา

เป้าหมายในการเรียนรู้ของไบกอนคืออะไร


อ๊า..~ เจอคำถามนี้ นั่นสิคะ...

:b12:

อ้างคำพูด:
เพราะไบก้อน เป็นแต่ดุ่ม ๆ สุ่ม ๆ ทำมาน่ะค่ะ ก็ได้แต่ใส่ใจที่จะทำ ไม่ค่อยได้อิงตำรา...

ดีค่ะ ไบก้อนจะได้ถือโอกาสทบทวน ลู่ทางตัวเองด้วยค่ะ


คือจริง ๆ ไบก้อนแทบจะไม่ได้จับตำราเลย
ได้แต่ ทำตามคำแนะนำ ง่าย ๆ ที่พระสอน คือทุกอย่างก็ ok ไบก้อน สงบสุขดี
แต่สิ่งที่ ไบก้อน พร่องอย่างแรง ก็คือ ไบก้อน เป็นปฏิบัติมาแบบไม่เป็นภาษา
คือ ถูก หรือ ผิด เราไม่รู้ แต่เรามาของเราอย่างงี๊... :b2:
เมื่อ ไบก้อน มาเดินเล่นในลานเสวนาธรรม ไบก้อน เจอแนวทางที่หลากหลาย
เจอ ธรรม ที่ว่ามันมีผิด มีถูก มีโนน่ มีนี่ :b23: :b23: :b23:
ก็เห็น คนที่ดูท่าทีเก่ง ๆ ตั้งเยอะแยะ (เก่งกว่าเรา) ยังมีออกแนวแปร่ง ๆ หง่ะ
ส่วน เรา ทำมาแบบซื่อ ๆ ตามประสาคนบ้านนอก... :b14: แล้วจะเหลืออะไร
(คือเราอดที่จะระแวงตัวเองว่างั๊น ไม่ได้)

ก็แค่อยากทบทวนสิ่งที่ตนเข้าใจ ค่ะ... ว่าสิ่งที่ เราเข้าใจ ปฏิบัติมา
สิ่งซึ่งมันคอยประคับประคอง ให้เราชีวิตเราราบเรียบ และสงบสุข ก็จริง
แต่ จริง ๆ แล้ว เราทำมาถูกจริง ๆ แล้วหรือ...
และมันมีสิ่งที่เราควรทำยิ่งกว่านี้หรือไม่


ตรงนี้ล่ะ คือคำตามที่เราถามตัวเอง จึงพยายามที่จะเรียนรู้

:b12: :b16:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 14 พ.ย. 2009, 21:46, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร