วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 13:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนตอบคำถามคุณ natdanai ดังกล่าว
พึงศึกษาทำความเข้าใจทุกขลักษณะ และสิ่งที่ปิดบังมันไว้ก่อน น่าจะเข้าใจสิ่งที่ถามได้บ้าง ดังนี้



อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ


-ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้น กดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูก อิริยาบถ คือ ความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ

ภาวะที่ทนอยู่ มิได้ หรือ ภาวะที่คงสภาพเดิม อยู่มิได้ หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้
ด้วยมีแรงบีบคั้น กดดันขัดแย้ง เร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น (= สภาวะทุกข์)
จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา หรือ ความรู้สึกของมนุษย์ มักจะต้อง ใช้เวลาระยะหนึ่ง แต่ในระหว่างนั้น ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย หรือ ทำให้แปรรูปเป็นอย่างอื่นไปเสียก่อน ก็ดี
สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้าย พ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน (= สภาวะเปลี่ยนตามเหตุปัจจัยของมัน
แต่โยคีไม่สังเกตรู้)
หรือ ผู้สังเกตแยกพราก จากสิ่งที่ถูกสังเกต ไปเสียก่อน ก็ดี
ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น (= โยคีเคลื่อนไหว)
ปรากฏการณ์ ส่วนใหญ่ มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ

ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละ ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง ความบีบคั้น
กดดัน ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลา ทั่วองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉย ในท่าเดียวได้
ถ้าเราอยู่ หรือ ต้องอยู่ ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น
ยืนอย่างเดียว
นั่งอย่างเดียว
เดินอย่างเดียว
นอนอย่างเดียว
ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะ จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น ๆ จนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้น กดดัน
ที่คนทั่วไปเรียกว่า “ทุกข์” เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย

จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว และต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น ที่เรียกว่า อิริยาบถอื่น (เปลี่ยนอิริยาบถ)
เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง ความบีบคั้น กดดัน ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย (ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบาย ที่เรียกว่า “ความสุข”
เกิดขึ้นมาแทนด้วย

แต่อันนี้ เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความ ทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์) ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึก ปวด เมื่อย เป็นทุกข์ เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรืออิริยาบถอื่นเสีย หรือ เรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ ไปได้

เมื่อไม่รู้สึกทุกข์ ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็นความทุกข์ ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย
ท่านจึงว่า อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

………

ต้องการศึกษาลักษณะไตรลักษณ์ก็ลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15357

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางคนอาจฝึกซ้อมไม่มาก ก็ประสบความสำเร็จโดยง่าย

บางคนอาจฝึกหัดใช้เวลานาน แต่ฝึกไปสบายๆก็สำเร็จ

บางคนทั้งฝึกยากลำบาก ทั้งต้องใช้เวลายาวนาน จึงสำเร็จ

บางคนจะฝึกหัดอย่างไรก็ไม่อาจประสบความสำเร็จเลย

นอกเหนือจากความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ความสำเร็จและความช้าเร็วเป็นต้น ยังขึ้นต่อปัจจัยอื่นอีก

โดยเฉพาะการฝึกที่ถูกวิธี การมีผู้แนะนำหรือครูที่ดีที่เรียกว่ากัลยาณมิตร ตลอดจนสภาพในกายและสภาพ

แวดล้อมทางกายภาพ เป็นต้น


โดยนัยนี้ ท่านจำแนกการปฏิบัติธรรมที่ประสบความสำเร็จออกเป็น 4 ประเภทเรียกว่า ปฏิปทา คือ

1. ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติยากลำบาก ทั้งรู้ ช้า

2. ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติยากลำบาก แต่รู้ เร็ว

3.สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกสบาย แต่รู้ ช้า

4.สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกสบาย ทั้งรู้ เร็ว

ในบรรดาองค์ประกอบต่างๆหลายๆอย่างที่ทำให้ปฏิบัติยากหรือง่าย รู้ได้ช้าหรือเร็วนั้น

สมาธิก็เป็นปัจจัยแห่งความแตกต่างอย่างหนึ่งด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติยากลำบาก ทั้งรู้ ช้า
ผมเป็นแบบนี้ครับ :b20:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6:
พอเข้าใจแล้วครับ แล้วกระผมจะลองดูใหม่ :b12: :b12:
ขอบคุณครับท่านกรัชกาย สำหรับคำแนะนำและลิงค์ที่เอามาฝากให้ :b8:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมด้วยครับจะพยายามเป็น2เท่าท่าน นัทเลย :b30:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบคุณnatdanai

คุณพูดตรงตามสภาวะ เมื่อปฏิบัติอย่างนั้นแล้วรู้สึกเหมือนว่าทุกข์หนักขึ้นปวดเพิ่มขึ้นๆ
ประหนึ่งจะตายให้ได้ ปวดเจ็บจนเหงื่อไหลไคลย้อย เพราะถูกทุกขลักษณะบีบคั้น

ต้องมีอุบายในการปฏิบัติครับ

แต่ขอนอกเรื่องแต่ไม่นอกประเด็นสักหน่อยก่อน จุดนี้แหละครับที่ทำให้เกิดความเห็นต่าง

บางกลุ่มเห็นว่า จะทนปวดทนทรมานอยู่ทำไม เดี๋ยวแข้งขาก็เดี้ยงไปหรอก ฯลฯ นี่พวกหนึ่ง
บ้างก็เห็นว่า ปฏิบัติธรรมแล้วเป็นทุกข์แสดงว่าปฏิบัติผิด ไม่เป็นสัมมาทิฐิ ไม่เป็นสัมมานั่นสัมมานี่ ปฏิบัติถูกต้องสบายๆซี่ถึงจะเป็นสัมมาสติ จึงคิดปฏิเสธทุกขลักษณะ หันไปแสวงเสวยเวทนาที่ตนพอใจ แต่ยังอยากรู้อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) แต่ก็ไม่กำหนดรู้ในทุกขอริยสัจ วิชชาจึงไม่เกิด เมื่อวิชชาไม่เกิด จึงไม่รู้เหตุแห่งทุกข์นั่นว่าเนื่องมาจากสมุทัย หรือจากตัณหาพาไป

มีบางรายนานๆพบที คือปฏิบัติแล้วไม่กระทบกับทุกข์เวทนาเลยนิ่มๆสบายๆ ก็งุนงงสงสัยว่าเออตนปฏิบัติถูกหรือผิดนี่ คงผิดหากถูกแล้วทำไมไม่ทุกข์ล่ะคิดเตลิดทิ้งกรรมฐานอีก
ทั้งผู้แนะนำบางแห่งก็บอกให้สร้างทุกข์ขึ้นมา โดยใช้ไฟลนเพื่อให้เกิดเวทนาเพื่อพิจารณาทุกข์ดังนี้ ก็มี
อ้างคำพูด:
เมื่อวานลองกำหนดย้ำลงไปดูครับ แต่เวทนามันกลับมากขึ้นอีก (รู้สึกว่ามันหนักกว่าตอนที่ไม่ได้จ่อไว้) เช่นว่า นั่งไปสักพักนึงเริ่มรู้สึกว่าขาชาๆปวดๆ ก็จ่อลงไปตรงที่ปวดเลยครับ เออมันปวดนะๆๆๆ แล้วมันก็ปวดมากขึ้นๆๆ จนทนไม่ไหวก็เลยขยับซะ เออทีนี้ก็สบายขึ้นแฮะ
แต่วันก่อนนี้ที่ไม่ได้จ่อลงไปตรงนั้นมันปวดก็ไม่สนใจมันช่างมัน ก็ไม่ยักจะปวดหนักแบบนี้


อุปมาเหมือนช่างเจาะผู้ฉลาดรู้กำลังดอกสว่านของตนกับสิ่งที่ตนกำลังเจาะว่าสมดุลกันหรือไม่ ดอกสว่านเล็กไม้ที่เจาะเป็นไม้เนื้อแข็ง นายช่างก็พึงค่อยๆกดผ่อนหนักผ่อนเบา คือกดบ้างดึงบ้าง ฯลฯ ครั้นเห็นดอกสว่านร้อนก็ใช้น้ำหยอดช่วย ฯลฯ เพียรพยายามอย่างนั้นเรื่อยไปไม่ย่อท้อ เมื่อมีสัญญาณว่าใกล้ทะลุแล้วก็กดพรวดเดียวทะลุเลย สว่านก็ไม่หักงานก็สำเร็จ ฉันใด

ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็ฉันนั้น เมื่อประสบทุกข์เวทนากล้าแข็ง แต่อินทรีย์พละตนยังอ่อนกำลัง ก็พึงรู้จัก (ปรับอินทรีย์) ผ่อนหนักผ่อนเบา

วิธีปฏิบัติเริ่มต้นนั่ง + จงกรมสัก 30 นาทีเท่ากัน แล้วค่อยไต่ปรับขยับขึ้นอีกเมื่อเห็นว่าองค์ธรรมมีสติสมาธิเป็นต้นเติบขึ้นแล้ว และเมื่อประสบกับทุกข์เวทนาให้กำหนดตามเป็นจริงดังกล่าว กำหนดแล้ว แต่รู้สึกว่าทุกข์ทำท่าจะเพิ่ม (อันที่จริงเพียงรู้สึกว่าเพิ่ม) กำหนดทุกข์นะๆๆ (ทุกข์หนอๆๆๆ) แล้วปล่อย น้อมจิตไปกำหนดกรรมฐานคือลมหายใจหรือพอง-ยุบเป็นต้นเสีย (เหมือนช่างเจาะถึงไม้เนื้อแข็งก็ไม่ฝืนสว่านขยับออกมาก่อน) เมื่อประจวบทุกข์อีกก็กำหนดอีก (ปฏิบัติทำนองดังกล่าว) ฝึกปฏิบัติทำนองนั้นต่อไป ไม่ย่อท้อหมั่นกำหนดสภาวะที่เกิด
เมื่อองค์ธรรมที่เกิดจากการกำหนดปัจจุบันอารมณ์สมดุลแล้ว จะรู้ว่าใกล้ทะลุแล้วตายเป็นตาย (มันไม่ตายหรอก แต่มันหลอกเราว่าจะตาย) ถึงตอนนั้นบอกให้ถอยมันก็ไม่ถอย :b1: :b41:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



สภาวธรรมหรือสังขารธรรมเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ชั่วขณะ แล้วดับลง เกิดสลายๆ ไม่คงที่คงทน
เราชาวพุทธเรียนรู้และพูดถึงบ่อยๆ ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ฯลฯ
แต่ครั้นประสบกับไตรลักษณ์เฉพาะหน้า คือ ประสบสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์บีบคั้น เป็นอนัตตาเข้าจริงๆ ถึงกับ... :b24:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุญชัย เขียน:
เวลา เกิดเหตุการณ์เช่น ถูก รถเฉี่ยว ปาด หน้า ฝนตกเปียก เมื่อวาน
ตอนกลับบ้าน ทำไมผมตามอารมณ์ ตอนนั้นไม่ทัน เกิดฉุนขึ้นมา กว่าจะ ระลึกได้ ว่าโกรธๆๆแล้ก็ ปาไป หลาย
นาที กว่าจะ จับได้ว่าโกรธแล้ว ท่าน กรัชกาย พอแนะได้ มะ ผม ทำสมาธิ มาก็3....4ปีแล้วคุมไม่อยู่ งะ :b33: :b24: :b10: :b30:


ในบางรายกว่าจะรู้ตัวก็ปาเข้าไปเป็นวันหรือหลายๆวันกว่าจะรู้ตัว คุณบุญชัยเป็นนาทีก็ดีแล้วครับ
ฝึกสติสัมปชัญญะ หรือ สติปัญญาต่อไปเดี๋ยวก็ลดลงมาเป็นวินาทีเองแหละ
หนทางนอกจากนี้ไม่มี นอกจากฝึกๆๆ คุณก็เริ่มมาตั้ง 3 – 4 ปีแล้ว จิตคงเชื่องพอควรแล้วล่ะครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 16 ต.ค. 2008, 21:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณอ่านต่อไปนี้แล้วสรุปเอาวิธีการไปฝึกดูครับ


องค์ธรรมสำคัญที่ใช้ระมัดระวังตั้งแต่ต้น ก็คือ สติ ซึ่งเป็นตัวควบคุมจิตไว้ให้อยู่กับหลัก หรือพูดอีกนัยหนึ่ง เหมือนเชือกสำหรับดึงจิต

สติที่ในขั้นระมัดระวังป้องกันเกี่ยวกับการรับอารมณ์ของอายตนะแต่เบื้องต้นนี้ ใช้ในหลักที่เรียกว่า อินทรีย์สังวร- การสำรวมอินทรีย์

เรียกอีกนัยหนึ่งว่า การคุ้มครองทวาร หมายถึงการมีสติพร้อมอยู่ เมื่อรับอารมณ์มีรูปเป็นต้น ด้วยอินทรีย์มีตาเป็นอาทิ ก็ไม่ปล่อยให้นิมิตหมายต่างๆ อันจะเป็นเหตุให้เกิดความติดพันขุ่นเคืองชอบใจไม่ชอบใจ แล้วถูกอกุศลธรรมเข้าครอบงำจิตใจ

การปฏิบัติตามหลักนี้ ช่วยได้ทั้งด้านป้องกันความชั่วเสียหาย ป้องกันความทุกข์ และป้องกันการสร้างความรู้ความคิดที่บิดเบือนเอนเอียง

อย่างไรก็ตาม การที่จะปฏิบัติให้ได้ผล มิใช่ว่าจะนำหลักมาใช้เมื่อไรก็ได้ตามปรารถนา เพราะสติจะตั้งมั่น
เตรียมพร้อมอยู่เสมอ จำต้องมีการฝึกฝนอบรม อินทรีย์สังวรจึงต้องมีการซ้อมหรือใช้อยู่เสมอ


การฝึกอบรมอินทรีย์ มีชื่อเรียกว่า อินทรีย์ภาวนา
ผู้ที่ฝึกอบรมหรือเจริญอินทรีย์แล้ว ย่อมปลอดภัยจากบาปอกุศลธรรม ความทุกข์ และความรู้ที่เอนเอียงบิดเบือนทั้งหลาย เพราะป้องกันไว้ได้ก่อนที่สิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้น หรือแม้หากความชอบใจไม่ชอบใจจะหลุดรอดเกิดขึ้นมา ก็สามารถระงับ หรือสลัดทิ้งไปได้เร็วพลัน

อินทรีย์สังวรนี้ จัดว่าเป็นหลักธรรมในขั้นศีล แต่องค์ธรรมสำคัญเป็นแกนคือสตินั้นอยู่ในจำพวกสมาธิ ทำให้มีการใช้กำลังจิตและการควบคุมจิตอยู่เสมอ จึงเป็นการฝึกอบรมสมาธิไปด้วยในตัว

ค่อยศึกษาทำความเข้าใจภาพรวมที่ลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... 10&start=0


แล้วก็ฝึกอบรมสติตามหลักสติปัฏฐานนั้นเอง
อ่านทำความเข้าใจลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... c&start=20

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์สังวร - ความสำรวมอินทรีย์ ไม่ได้หมายถึงการปิดหู ปิดตาไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยิน เป็นต้น

ในขั้นต้น หมายถึงการควบคุมจิตใจ ควบคุมความรู้สึกได้ในเมื่อเกิดความรับรู้ทางตา หู เป็นต้น ไม่ให้ถูกชักจูงไปในทางที่ถูกกิเลสครอบงำ

ในขั้นสูง เมื่อกลายเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว มีความหมายถึงขั้นเป็นนายเหนือความรู้สึกต่างๆ ที่จะเกิดจากการรับรู้เหล่านั้น สามารถบังคับให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ได้ตามต้องการ

(อินทรีย์ภาวนาสูตร ม.อุ. 14/853/541)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2008, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณท่านกรัชกายครับ :b8:
สำหรับคำตอบและอุบายที่แนะมา....ขอเวลาทดลองดูซักหน่อยครับแล้วถ้าติดขัดอะไรจะขอคำแนะนำใหม่นะครับ คงไม่เป็นการรบกวนท่านจนเกินไปนะครับ.... :b9:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



มีข้อคิดสั้นๆ ดังนี้


โยนิโสมนสิการแบบต่างๆ ซึ่งสรุปได้เป็น 2 คือ โยนิโสมนสิการเพื่อความรู้ตามสภาวะ และโยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างกุศลธรรม มีจุดแยกอยู่ขณะตั้งต้นความคิดและสติอาจมีบทบาทสำคัญในการเลือกทางแยกที่จุดตั้งต้นระหว่างโยนิโสมนสิการแบบต่างๆนี้ เช่นเดียวกับสติสามารถเลือกระหว่างโย นิโสมนสิการ กับ อโยนิโสมนสิการ เช่น เมื่อรับรับอารมณ์แล้ว มีสติกำหนดมุ่งเพื่อจะรู้ตามความเป็นจริง ก็เข้าแนวโยนิโสมนสิการเพื่อความรู้ตามสภาวะ
แต่ถ้าสติกำหนดกุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่หมายหรือระลึกถึงภาพความคิดที่ดีงามบางอย่างไว้ในใจ ก็เดินเข้าสู่โยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างกุศลธรรม

โยนิโสมนสิการเพื่อรู้ตามสภาวะนั้น ขึ้นต่อความจริงที่เป็นไปอยู่ตามธรรมดา จึงมีลักษณะแน่นอนเป็นอย่างเดียว


ส่วนโยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างกุศลธรรม ยังเป็นเรื่องของการปรุงแต่งในใจตามวิสัย
ของสังขาร จึงมีลักษณะแผกผันไปได้หลากหลาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการเพื่อรู้ตามสภาวะ เป็นการมองตามความเป็นจริง หรือมองตามเหตุ ไม่ใช่มองตามอวิชชาตัณหา
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า มองตามที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมัน ไม่ใช่มองตามที่เราอยากให้มันเป็น หรือไม่อยากให้มันเป็น

ดังนั้นการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงมองตามสภาวะ หรือมองตามความเป็นจริง คือว่า
สภาวธรรมปรากกฎอย่างไรก็รู้อย่างนั้นกำหนดในใจอย่างนั้น ซึ่งตรงข้ามกับการมองเพื่อสร้างเสริมกุศลธรรม แบบที่สอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2008, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีกำลังฝึกอยู่ขณะนี้นั้นมีอยู่ทั้ง 2 อย่างเลยครับ
โยนิโสมนสิการเพื่อรู้ตามสภาวะนั้น จะใช้ขณะปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานครับ
ส่วนโยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างกุศลธรรมนั้น กระผมใช้ขณะที่ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติครับ

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ก้ต้องกำหนดอาการหลักๆของกายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันให้ได้กอ่นครับ
ถึงจะกำหนดอาการณ์ที่เกิดขึ้นกะทันหันได้ น่ะ :b12: เพราะอาการเหล่านี้มันกิดขึ้น
เร็วมากยากที่จะกำหนดได้ทัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร