ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

!!! เรื่องจริงของการโกหก !!!
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=19&t=57150
หน้า 1 จากทั้งหมด 4

เจ้าของ:  มัทนา ณ หิมะวัน [ 16 ธ.ค. 2009, 23:43 ]
หัวข้อกระทู้:  !!! เรื่องจริงของการโกหก !!!

รูปภาพ

:b43: เ รื่ อ ง จ ริ ง ข อ ง ก า ร โ ก ห ก !!! :b43:

เพื่อนๆ ผู้ใฝ่ในธรรม และเป็นนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
คงตระหนักกันดีนะเจ้าคะว่า...ศีลข้อ ๔ การห้ามพูดปดเนี่ยะ...!!!

หากปฏิบัติตามแล้วจะเกิดผลดีต่อตนเอง และสังคมอย่างไร
และหากขาดหรือละเลยไม่ปฏิบัติตาม
จะเกิดผลเสียต่อสังคมให้ปั่นป่วนอย่างมากมานักต่อนักแล้ว !!!


การโกหกจะมีผลอย่างไรกับตัวเรา และคนรอบข้างนะ
ข้าพเจ้าว่า....เรามารู้จักเรื่องจริงของการโกหกกันสักหน่อยมั้ยจ้ะ !!!

:b43: ๑. คุณรู้มั้ยว่าการโกหก
คือเหตุผลอันดับแรกๆ ที่ทำให้สูญเสียความไว้วางใจ


:b43: ๒. เหตุผลที่คนส่วนใหญ่มักจะนำมาอ้างกับตัวเองหรือผู้อื่น
คือ "ไม่ต้องการการเผชิญหน้า"


จริงอยู่ว่าการเผชิญหน้ากับใคร หรือกับปัญหาใดๆ ย่อมไม่ใช่เรื่องสนุก
แต่การหลีกเลี่ยงโดยวิธีการโกหกก็ไม่ใช่การแก้ไขปัญหา
เป็นเพียงแค่การปกปิด และเมื่อความจริงเปิดเผยออกมา
การโกหกยิ่งเป็นการทำให้ปัญหามากขึ้นไปอีก

:b43: ๓. เหตุผลอื่นที่คนส่วนใหญ่โกหก
คือเพื่อทำให้ตนเองดูดีขึ้น หรือน่าสนใจขึ้น


สาเหตุของการโกหก อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า
คนๆ นั้นมีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ กำลังมีปัญหาที่บ้าน หรือกำลังมีความซึมเศร้า

:b43: ๔. การโกหกก็เหมือนกับการเล่นโดมิโน

การโกหกเพียง ๑ เรื่อง ก็สามารถที่จะทำลายสัมพันธภาพทั้งมวล
และทำลายชีวิตทุกด้าน หรือเป็นข้อจำกัดในอนาคตที่คุณไม่สามารถคาดเดาได้


:b43: ๕. การโกหกก็เหมือนกับการเล่นพนัน

ทุกครั้งที่คนเราโกหก เรากำลังพนันกับการถูกจับโกหก

:b43: ๖. การโกหกก็เหมือนกับการที่คนเราส่งมันออกไปเพื่อที่จะกลับมาล่าตัวเราเอง

:b43: ๗. เมื่อคนเราโกหกคนอื่นๆ เหมือนเรากำลังโกหกตัวเองด้วย

:b43: ๘. การโกหกที่เป็นลักษณะโกหกเรื้อรัง

เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคนๆ นั้นมีปัญหาทางจิตเวช
หรือมีปัญหาในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

ถ้าเมื่อใดที่คุณค้นพบตัวเองว่าโกหกโดยไม่มีเหตุผล หรือเพื่อปกปิดพฤติกรรม
คุณควรจะรู้ว่านี่คือสิ่งที่อันตราย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยเหลือ

:b43: ๙. การโกหกสามารถทำลายภาพลักษณ์ของคนเรา
และเป็นสาเหตุของความขัดแย้งภายในตน


รูปภาพ

:b43: :b43: :b43:

(ที่มา : นันท์นภัส ประสานทอง/กรมสุขภาพจิต)

เจ้าของ:  อมิตาพุทธ [ 16 ธ.ค. 2009, 23:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

อนุโมทนา สาธุครับ :b8:

สำหรับบทความดีๆ :b1: :b8:

เจ้าของ:  ทักทาย [ 17 ธ.ค. 2009, 00:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

ศิลข้อที่สี่นี่
ดูเหมือนจะรักษาง่าย แต่จริงๆแล้วยากนะค่ะ
เผลอปุ๊ปหลุดปั๊ปเลย :b21:

อนุโมทนา สาธุค่ะ :b8:

เจ้าของ:  chulapinan [ 17 ธ.ค. 2009, 14:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

เหตุทั้งหมดเกิดเพราะทิฏฐิค่ะ มีเหตุ ๖๒ อย่างแหนะค่ะ ในพระไตรปิฎกว่าไว้ ลองอ่านฉบับประชาชนก็ได้ค่ะ แล้วจะรู้ว่าทิฏฐินี่แหละค่ะ ตัวแสบ

เจ้าของ:  ศิรัสพล [ 17 ธ.ค. 2009, 15:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

อนุโมทนา กับบทความธรรมะดีๆ ครับ :b8:

เจ้าของ:  ศิรัสพล [ 17 ธ.ค. 2009, 21:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเสริมเจ้ากระทู้ครับ :b8:

มีอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องระวังเหมือนกัน คือ การเผลอไปตำหนิทางวาจา หรือทางใจ กับบุคคลที่เขาไม่ได้โกหกจริงๆ แต่เราไปว่าเขาโกหก ซึ่งจะทำให้เป็นกรรมไม่ดีอย่างหนึ่งได้เหมือนกันครับ เช่น เผลอไปตำหนิคนที่เขาพูดเรื่องปัจจุบัน หรือเรื่องในอดีตที่ผ่านไปแล้วว่าโกหก ขี้โม้อะไรทำนองนี้ เป็นต้น เพราะจริงๆ บางทีเราไม่รู้เลยว่าเขาพูดจริงหรือไม่ ดังนั้นต้องระวังครับ

เพราะว่าหากเขาไม่ได้โกหกขึ้นมาจริงๆ จะกลายเป็นการโจทย์ผู้อื่นแบบไม่มีมูล หรือกล่าวตู่ได้ ยิ่งถ้าหากบุคคลนั้น เกิดท่านสำเร็จธรรมชั้นสูง หรือเป็นอริยบุคคลนี่จะเรียกว่า "กล่าวตู่พระอริยะ" ได้ครับ มีกรรมหนักถึงปิดบังมรรคผลได้เลย

แสดงความคิดเห็นเสริมแค่นี้ครับ คิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของกระทู้นี้บ้างครับ :b8:

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 18 ธ.ค. 2009, 04:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ



เจริญในธรรมครับ

เจ้าของ:  nimitta [ 18 ธ.ค. 2009, 09:32 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

ขออนุโมทนาค่ะ :b8:

แต่เคยได้ยินมาว่า หากการโกหกเล็กๆน้อยๆนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องคน หรือลดการขัดแย้งรุนแรงที่ตามมา โดยผู้นั้นมิได้มีจิตคิดร้าย คือตั้งจิตในทางที่ถูกแล้วล่ะก็ ก็นับว่ายังบาปน้อยกว่าผู้ที่มีจิตคิดร้าย ริษยาอาฆาต และรอจังหวะที่มิตรผู้นั้นของตนก้าวพลาด เพื่อซ้ำเติมโดยที่มิตรผู้นั้นไม่เคยคิดร้ายตอบเลย มิใช่หรือ

"บัณฑิต ย่อมฝึกฝนตนเอง ดูตัวเอง เพื่อขัดเกลากิเลสที่นอนเนื่องแอบแฝงอยู่ในจิตของตน ให้หมดสิ้นโดยเร็ว เพราะมิฉะนั้นหากช้าไป จิตจะกลับยินดีในความชั่ว"

tongue

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 18 ธ.ค. 2009, 11:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

ดีครับ กระทู้นี้
สมัยนี้ก็เห็น เยอะนะครับ โกหก จนไม่มีแผ่นดินอยู่

เจ้าของ:  กุหลาบสีชา [ 19 ธ.ค. 2009, 00:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

เหตุใดจึงมีคำกล่าวที่ว่า

"ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เย็นเป็นสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า"

เพราะไม่เคยมีเหตุบังเอิญในพระพุทธศาสนา

ดังนั้น ควรหรือ...ที่เราจะประมาทในอกุศลกรรม
ควรหรือ...ที่เราจะยึดถือความเห็นผิด
ว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือเป็นเรื่องสนุก
แล้วอ้างเป็นเหตุหรืออ้างเป็นความจำเป็น
ที่จะสร้างความเบียดเบียนและความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น

ผู้ประพฤติธรรมที่แท้จริง.....

ย่อมเชื่อมั่นในผลของกรรม
เพราะกรรมนั้นย่อมให้ผลเสมอ ทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว
ดังนั้นทุกกายกรรม และวจีกรรม ที่กระทำ หรือกล่าวออกมา
จึงควรใช้ สัมมาสติ นำและกำกับด้วย หิริโอตัปปะ ก่อนเสมอ

ผู้ประพฤติธรรมที่แท้จริง....

แม้มีเหตุจำเป็น ก็จะไม่กล้าก่อกรรมชั่ว
เพราะเกรงกลัวต่ออกุศลวิบากของมัน


เฉกเช่นเดียวกับที่...

ผู้ประพฤติธรรมที่แท้จริง....

ก็จะไม่ท้อถอยในการพากเพียรและสั่งสมความดี
เพราะเชื่อมั่นเสมอว่าผลแห่งกุศลกรรมย่อมนำสุขมาให้เช่นกัน


:b43: :b43: :b43:

"สนิมเกิดแต่เหล็ก
กัดกินเหล็กฉันใด
กรรมที่ตนทำไว้
ย่อมนำเขาไปสู่ทุคติฉันนั้น"


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : พุทธวจนะในธรรมบท, หน้า ๒๗๘)

เจ้าของ:  nimitta [ 19 ธ.ค. 2009, 00:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

หากเข้าใจผิดก็ขออภัยด้วยนะคะ :b8:

แต่เคยได้ยินหลวงพ่อท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เคยมีกรณีที่ผู้ที่ถูกข้าศึกจับตัวไปแล้วบังคับให้เปิดเผยความลับของประเทศชาติ ในกรณีนี้เค้าก็จำเป็นต้องโกหก

และมีคุณหมอท่านหนึ่งพูดโกหกกับคนไข้เพื่อไม่ให้เค้าช็อคหรืออาการทรุดหนักลง คือเค้ามีเจตนาอยากช่วยชีวิตคนไข้

พระรูปนึงท่านเจตนาปกปิดความจริง แต่เพื่อช่วยเหลือไม่ให้เกิดการฆ่ากันตาย แบบนี้น่ะคะ


ไม่ทราบเข้าใจถูกรึเปล่า แต่หากการพูดความจริง แล้วเป็นการก่อให้เกิดโทษทั้งหลายฝ่าย ก็ไม่ควรพูดใช่รึเปล่าคะ s006

ผู้ที่ไม่เถียงกับใครๆ

ปัญหา : คนเราที่ไม่รู้ความจริงแท้ ย่อมมีความเห็นแตกต่างกันและทะเลาะวิวาททุ่มเถียงกัน มีคนประเภทใดบ้างที่ไม่ทุ่มเถียงกับใครๆ ?

พุทธดำรัสตอบ
[๒๗๓] อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขม
สุขเวทนา ๑. อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่
ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ใน
สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น. ใน
สมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้
เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้ทุกขเวทนาก็
ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป
เป็นธรรมดา. แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้น
แล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี. อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ
โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ.

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 21 ธ.ค. 2009, 12:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

nimitta เขียน:
หากเข้าใจผิดก็ขออภัยด้วยนะคะ :b8:

แต่เคยได้ยินหลวงพ่อท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เคยมีกรณีที่ผู้ที่ถูกข้าศึกจับตัวไปแล้วบังคับให้เปิดเผยความลับของประเทศชาติ ในกรณีนี้เค้าก็จำเป็นต้องโกหก

และมีคุณหมอท่านหนึ่งพูดโกหกกับคนไข้เพื่อไม่ให้เค้าช็อคหรืออาการทรุดหนักลง คือเค้ามีเจตนาอยากช่วยชีวิตคนไข้

พระรูปนึงท่านเจตนาปกปิดความจริง แต่เพื่อช่วยเหลือไม่ให้เกิดการฆ่ากันตาย แบบนี้น่ะคะ


ไม่ทราบเข้าใจถูกรึเปล่า แต่หากการพูดความจริง แล้วเป็นการก่อให้เกิดโทษทั้งหลายฝ่าย ก็ไม่ควรพูดใช่รึเปล่าคะ s006



วิธีตอบของพระพุทธเจ้ามี 4 วิธี
หนึ่งในสี่นั้นคือการ "ประทับดุษนีย์" แปลว่า "ทรงนิ่ง" ไม่ตอบ
เราไม่ต้องโกหกก็ได้ เราไม่ต้องตอบก้ได้
ไม่พูดเสียอย่างจะเอาความลับจากไหน

ถ้าเราไปหาคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า "โกหกได้ถ้าเป็นประโยชน์ หรือโกหกได้ถ้าช่วยรักษาชีวิตคน"
อันนี้หายังไงก็จะไม่เจอ ผมท้าไปหาเลยนะครับ จะไม่เจอจริงๆ
ศาสนาพุทธเราไม่มีอย่างนั้น

แต่ถ้าไปหาคำว่า "ยอมสละชีวิต เพื่อรักษาธรรม" อันนี้จะพบเลยว่าท่านสอนไว้ให้เรารักษาธรรมยิ่งกว่าชีวิต
คือจะเป็นจะตาย"ก็ไม่โกหก"
แล้วบรรดาครูบาอาจารย์ท่านก็ทำยิ่งกว่านี้อีก
เพราะฉะนั้นถ้าใครบอกว่าโกหกเป็นบุญ หรือโกหกไม่บาป อันนี้ไม่จริงหรอกครับ

กรณที่คุณว่ามา คนส่วนมากในโลก
เวลาจะโกหกหรือไม่โกหกน่ะ ตอนก่อนจะพูดน่ะครับ ไม่มีมาคิดถึงศีล ถึงธรรม ถึงศาสนาหรอกว่าควรจะโกหกดีไหม
ส่วนมากผมเห้นแต่ทำผิดแล้วเกิดรู้สึกผิดบาปขึ้นมา
ก็เที่ยวมาหาคำสอนศาสนาเพื่อลดความรู้สึกผิดบาปของตนอะไรแบบนั้น

หลอกตัวเอง ปลอบใจตัวเองไปชั่วระยะเวลาพอได้ลืมเท่านั้นเอง
ก็พอกล้อมแกล้มไปได้

บุญกับบาปจริงๆนั้น เราว่ากันเป็นขณะจิตเลยนะคุณ
จะมาเอาทั้งเหตุการณ์แล้วหาเหตุผลทิฐิค่านิยมอะไรมาคำนวนหักล้างบสกลบอะไรนั้น
มันเป็นศาสนาพุทธแบบปฏิรูป ไม่ได้ผลหรอก

แต่ผมเข้าใจคุณนะ
ในโลกของความเป้นจริงในชีวิตของเรา เราก้ต้องมีโกหก
ผมก้ยังต้องโกหกบ่อยเพื่ออยู่ในโลกกะเขาได้
แต่ทำบุญมากๆก็แล้วกันครับ เรามันชาวโลก แม้บาปก้ต้องทำ แต่ก็อย่าทิ้งบุญ
อยากบุญมากเลือกเกิดเป้นผู้พรั่งพร้อมด้วยสมบัติทั้งหลายเหมือนกัน
จะได้ไม่เดือดร้อนที่จะต้องมาทำอะไรเสี่ยงบาปเสี่ยงกรรมอยู่ตลอดเวลา
แต่เรามันเลือกไม่ได้นะครับ

ถ้าอยากเข้าถึงธรรม เข้า้ใจธรรม
อันดับแรกตั้งมองโลกตามจริงก่อน
อย่าไปพยามหาความคิดทฤษฏีอะไรมาหักลบกลบล้างความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
ให้รู้ไปตามตรงเสียก่อน
ถ้าไม่ยอมรับความจริงไปตามตรง เราจะไม่มีวันเข้าใจธรรม

ส่วนพุทธพจน์ที่คุณยกว่านั้นน่ะ
ตอนด้านท้าย ท่านพูดชัดว่า
อ้างคำพูด:
ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ
โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ.

ท่านหมายถึงพระอรหันต์เท่านั้น ที่จะทำอะไรแล้วไม่เป้นบุญหรือบาป
ไม่ได้หมายถึงคนที่เป้นสายลับ อดีตพระ หรือหมอรักษาคนไข้อะไรทั้งนั้นนะครับ

ท่านพูดถึงพระอรหันต์เท่านั้น

เจ้าของ:  TAKSA [ 23 ธ.ค. 2009, 05:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

nimitta เขียน:
ขออนุโมทนาค่ะ :b8:

แต่เคยได้ยินมาว่า หากการโกหกเล็กๆน้อยๆนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องคน หรือลดการขัดแย้งรุนแรงที่ตามมา โดยผู้นั้นมิได้มีจิตคิดร้าย คือตั้งจิตในทางที่ถูกแล้วล่ะก็ ก็นับว่ายังบาปน้อยกว่าผู้ที่มีจิตคิดร้าย ริษยาอาฆาต และรอจังหวะที่มิตรผู้นั้นของตนก้าวพลาด เพื่อซ้ำเติมโดยที่มิตรผู้นั้นไม่เคยคิดร้ายตอบเลย มิใช่หรือ

"บัณฑิต ย่อมฝึกฝนตนเอง ดูตัวเอง เพื่อขัดเกลากิเลสที่นอนเนื่องแอบแฝงอยู่ในจิตของตน ให้หมดสิ้นโดยเร็ว เพราะมิฉะนั้นหากช้าไป จิตจะกลับยินดีในความชั่ว"
tongue

ถ้าเรามาพิจารณา เรื่องศีลห้าดูท่านกล่าวห้ามไว้ เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน
จุดมุ่งหมายจริงแท้ก็คือ ผลจากการกระทำนั้นจะไปทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือไม่ และความหนักเบาจะไล่เรียงกัน ที่นี้เรามาดูว่าเหตุและผลของศีลห้า
......ห้ามฆ่าสัตว์ ผู้เดือดร้อนคือผู้ถูกฆ่า
......ห้ามลักทรัพย์ ผู้เดือดร้อนคือผู้ถูกลักทรัพย์
......ห้ามผิดในกาม ผู้เดือดร้อนคือ พ่อแม่ สามีภรรยา
......ห้ามพูดปด ผู้เดือดร้อนคือผู้ที่หลงเชื่อในถ่อยคำนั้น จนเกิดความเสียหายเดือดร้อนต่อกายและใจตัวเอง
.....ห้ามดื่มสุรา ศีลข้อนี้ท่านห้ามไว้เป็นการตัดไฟแต่ต้นลม เพราะสุราทำให้ขาดสติ เมื่อไม่มีสติ
ก็ขาดความยับยั้งชั่งใจ สามารถนำพาให้ผิดศีลได้ทุกข้อ ในทางกลับกันถ้าเราดื่มสุราที่เป็นยา
มันก็ไม่ได้ส่งผลต่อผู้อื่น หรือแม้กระทั้งกินเพื่อเจริญอาหาร ผมว่ามันไม่น่าจะผิดศีลนะครับ

.......สรุปนะครับว่าศีลห้าที่ท่านห้าม เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อน
จากการผิดศีลของเราครับ แต่ถ้าผู้อื่นไม่ได้เดือดร้อนด้วย มันก็ไม่น่าผิดศีลนะครับ
ส่วนเดือดร้อนอย่างไร ก็ใช่ไปพิจารณากันเองครับ

เจ้าของ:  กุหลาบสีชา [ 23 ธ.ค. 2009, 20:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

เรียน คุณ nimitta และทุกท่าน :b8:

ขออนุญาตเสริมคำตอบเพิ่มเติมของ คุณชาติสยาม
เพื่อประโยชน์ของทุกท่านดังนี้นะคะ

พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าคำพูดที่ควรพูด ประกอบด้วยองค์ คือ

๑. กล่าวโดยการอันสมควรหรือไม่สมควร
๒. กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง
๓. กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย
๔. กล่าวด้วยคำมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์
๕. กล่าวด้วยจิตเมตตาหรือจิตมีโทสะ


(ที่มา : พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ กกจูปมสูตร หน้า ๒๐๖, ข้อ ๒๖๗)

คำอธิบาย

คำที่ควรพูดนั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ ประการ คือ

๑. เหมาะสมกับกาลเวลา
๒. เป็นเรื่องจริง
๓. ถ้อยคำสุภาพ
๔. มีประโยชน์
๕. พูดด้วยจิตเมตตา


ถ้อยคำที่ไม่ควรพูด คือ

๑. ถ้อยคำไม่เหมาะสมกับกาลเวลา
๒. เป็นเรื่องไม่จริง
๓. เป็นคำหยาบคาย
๔. ไม่มีประโยชน์
๕. ผู้พูดพูดด้วยความโกรธ


ดังนั้น....ในกรณีที่ คุณ nimitta ยกมา

เราจะวินิจฉัยว่าหมอไม่บอกความจริงแก่คนไข้นั้น
ผิดศีลข้อ ๔ หรือมุสาวาทหรือไม่
ต้องดูเจตนาของหมอเป็นสำคัญ


รวมทั้งพิจารณาว่า ในกรณีดังกล่าว

การที่จะพูดความจริง หรือการที่จะไม่พูดความจริงนั้น (ไม่พูดแต่ไม่โกหก)
อยู่ที่ว่าการที่จะพูดหรือไม่พูด อย่างไหนจะมีประโยชน์มากกว่ากัน


สมมติว่าหมอรู้ดีว่า คนไข้เป็นมะเร็งตับ ไม่มีทางรักษาให้หายได้
คนไข้อาจจะมีอายุต่อไปไม่กี่เดือน
หมออาจเลือกที่จะ "ไม่บอก" ให้คนไข้รู้
เพราะคิดว่าไม่จำเป็นต้องบอกให้คนไข้รู้
เนื่องจากบอกไปก็ไม่ประโยชน์

เพราะถ้าคนไข้ได้ฟังจากปากคำของหมอ
คนไข้อาจช้อคตาย หรือไม่ยอมรักษา
ไม่ยอมกินยา ไม่กินอาหาร
ก็อาจจะตายในระยะเวลาอันสั้นกว่าอาการ....เพราะจิตตก

หากหมอเลือกที่จะไม่ยอมบอกความจริงแก่คนไข้ คือ "ไม่พูด"
ก็ไม่ได้หมายความว่าหมอโกหกคนไข้
เพราะไม่ได้บิดเบือนความจริง
และไม่มีเจตนาหลอกลวงคนไข้
การไม่บอกความจริงในกรณีนี้จึงไม่ใช่มุสาวาท


อย่างไรก็ตาม หมออาจบอกความจริงให้ญาติของคนไข้ได้ทราบแทนก็ได้
เพื่อประโยชน์ของคนไข้เอง


เช่น ญาติจะได้แนะนำให้คนไข้ทำพินัยกรรมแบ่งสมบัติให้แก่ทายาท
หรือถ้าหากคนยังรับราชการอยู่
ญาติอาจแนะนำให้คนไข้ทำเรื่องขอลาออกจากราชการ
และขอรับบำเหน็จเป็นเงินก้อนใหญ่
ดีกว่าจะรอรับบำนาญ
ซึ่งไม่แน่ว่าจะมีอายุจนถึงอายุเกษียณราชการหรือไม่

:b43: :b43: :b43:

เอวังด้วยประการฉะนี้....ค่ะ
และขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความเห็นมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ
:b8:

เจ้าของ:  TAKSA [ 24 ธ.ค. 2009, 05:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องจริงของการโกหก!!!

กุหลาบสีชา เขียน:
ดังนั้น....ในกรณีที่ คุณ nimitta ยกมา

เราจะวินิจฉัยว่าหมอไม่บอกความจริงแก่คนไข้นั้น
ผิดศีลข้อ ๔ หรือมุสาวาทหรือไม่
ต้องดูเจตนาของหมอเป็นสำคัญ


รวมทั้งพิจารณาว่า ในกรณีดังกล่าว

การที่จะพูดความจริง หรือการที่จะไม่พูดความจริงนั้น (ไม่พูดแต่ไม่โกหก)
อยู่ที่ว่าการที่จะพูดหรือไม่พูด อย่างไหนจะมีประโยชน์มากกว่ากัน

:

การศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีอยู่มากมาย เราต้องรู้จักนำธรรมเหล่านั้นมาใช้
ให้ถูกกาละเทศะ สิ่งสำคัญต้องรู้จักการวินิจฉัยหรือพิจารณาธรรมให้ถ้วนทั่ว ไม่ควร
ดูแต่เพราะหัวข้อธรรมแต่อย่างเดียว จะต้องนำสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์และสถานณะ
เข้ามาพิจารณาร่วมกับธรรมนั้นด้วย จึงจะเรียกว่าพิจารณาธรรมด้วยปัญญา
.........การพูดหรือการสนทนา ในความเป็นจริงย่อมต้องมีคู่สนทนา คือมีสองฝ่าย
บางครั้งถึงแม้เราจะไม่พูดอากับกิริยาต่างๆ มันก็สื่อแทนคำพูดได้ อย่างเช่นในกรณีย์
ของหมอ ถ้าหมอเลือกที่จะไม่บอกคนไข้ คิดหรือว่าคนไข้จะไม่รู้
อาการของหมอนั้นแหละบอกคนไข้ว่าเป็นโรคร้ายแรง
แทนที่หมอจะบอกคนไข้ไป
เลยว่าเป็นอะไรควรทำตัวอย่างไร และเสริมไปด้วยกับการให้กำลังใจ สำคัญตรงคำพูดที่ให้
กำลังใจนี้แหละ บางทีมันอาจมีคำที่เป็นมุสาบ้าง ถ้าเรายึดหลักศีลห้าตรงๆเลยหมอก็ต้องผิดอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ในพระธรรมยังมีธรรมที่เหนือไปกว่าให้เลือกปฏิบัติครับ
คือพรหมวิหารสี่

หน้า 1 จากทั้งหมด 4 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/