วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 17:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ


รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ


ที่มา...waithong.com
contact us : q&a@waithong.com


:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


มวลกระดูกสูงสุดคืออะไร?

กระดูกคนเราจะประกอบด้วยเซลที่ทำหน้าที่สร้างกระดูกและสลายกระดูก
ซึ่งขบวนการนี้จะเกิดขึ้นตลอดเวลา ในวัยเด็ก
การสร้างกระดูกจะมีมากกว่าการสลายกระดูก
ทำให้เด็กมีมวลกระดูกมากขึ้นเรื่อยๆ
จนกระทั่งอายุประมาณ 22-25 ปี มวลกระดูกจะสูงสุด (Peak Bone Mass)


ช่วงอายุ 25-30 ปี มวลกระดูกจะคงที่
เนื่องจากการสร้างกระดูกเท่ากับการสลายกระดูก


อายุ 30 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก
ทำให้มวลกระดูกเริ่มลดลงตามอายุที่มากขึ้น


รูปภาพ


ในเพศหญิง เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (ในคนไทยอายุประมาณ 48 ปี)
การสลายกระดูกจะสูงขึ้นถึง 3-5% ใน 5 ปีแรกของการหมดประจำเดือน
เนื่องจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในการยับยั้งการสลายกระดูก
ทำให้เนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว


เมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป การสลายกระดูกจะกลับลดลงแต่ยังคงมากกว่าการสร้าง
ทำให้มวลกระดูกยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง


รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


มวลกระดูกกับโรคกระดูกพรุน กระดูกหักสัมพันธกันอย่างไร


คนเราจะเกิดโรคกระดูกพรุน / กระดูกหักหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่างคือ

1. มวลกระดูกสูงสุดในผู้ใหญ่ เมื่อตอนอายุ 22-25 ปี
คนที่มีมวลกระดูกสูงสุดมากกว่าจะมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุน / กระดูกหักน้อยกว่า

2. อัตราการสลายกระดูก
โดยเฉพาะช่วง 5 ปีแรกหลังจากหมดประจำเดือน
คนที่มีอัตราการสลายกระดูกมากกว่า จะมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุน / กระดูกหักมากกว่า

ดังนั้นจะเห็นว่า หากมีมวลกระดูกสูงสุด น้อย ร่วมกับมีอัตราการสลายกระดูก สูง
ก็จะยิ่งทำให้มีโอกาส เกิดโรคกระดูกพรุน / กระดูกหัก มากขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ปัจจัยที่มีผลกับมวลกระดูกสูงสุดมีอะไรบ้าง

1. กรรมพันธุ์
มีผลถึง 80-90%

2. รูปร่าง

ผู้ที่มีรูปร่างเล็ก จะมีมวลกระดูกสูงสุดน้อยกว่าผู้ที่มีรูปร่างใหญ่

3. การออกกำลังกายที่พอเหมาะ
ควรออกกำลังชนิดที่มีน้ำหนักกดลงบนกระดูก
เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ ครั้งละ 30 นาที อาทิตย์ละ 3 ครั้ง
จะช่วยให้มีมวลกระดูกสูงสุดมากกว่าผู้ที่ไม่ค่อยออกำลังกาย

4. เพศ
เพศชายจะมีมวลกระดูกสูงสุดมากกว่าเพศหญิง

5. ปริมาณแคลเซียม
ผู้ที่ได้รับแคลเซียมเพียงพอตามความต้องการในแต่ละวัย แต่ละวัน
จะมีมวลกระดูกสูงสุดมากกว่าผู้ที่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ
เช่น วัยรุ่น ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,200 มิลลิกรัม
ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม เป็นต้น

6. ปริมาณวิตามินดี
เช่น ควรได้รับแสงแดดเพียงพอ
เนื่องจากวิตามินดีจะช่วยในการดูดซึมแคลเซียมให้ดีขึ้น


ดังนั้น หากต้องการมีมวลกระดูกสูงสุดมากๆ
ควรรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่

และควรได้รับวิตามินดีร่วมด้วย
พร้อมกับการออกกำลังกายให้พอเหมาะกับแต่ละวัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


โรคกระดูกพรุน / กระดูกหักคืออะไร

โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่มวลกระดูกลดลงอย่างมาก
จนอาจเกิดการแตกหักของกระดูกได้โดยง่าย
ตำแหน่งที่มักเกิดการหักคือกระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง
(เกิดการหักภายใน ทำให้เกิดกระดูกสันหลังทรุด ยุบตัวลง)

รูปภาพ

รูปภาพ

องค์การอนามัยโลกใช้มวลกระดูกเป็นตัวบอกว่า เป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่
โดยใช้มวลกระดูกของผู้ป่วยเทียบกับมวลกระดูกสูงสุดเฉลี่ยในผู้ใหญ่
ซึ่งค่าที่ได้นี้จะเรียกว่า ที-สกอร์ (T-Score)

รูปภาพ

การแปลผล

รูปภาพ

Ref. Melton : How many women have osteoporosis now.
J Bone Miner Res 10(2) : 176, 1995.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


แคลเซียม มีบทบาทอย่างไรกับมวลกระดูก และโรคกระดูกพรุน

1. แคลเซียมช่วยสร้างมวลกระดูกสูงสุดในผู้ใหญ่

โดยตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ 22-25 ปี ควรได้รับแคลเซียมให้เพียงพอ
จะทำให้มีมวลกระดูกสูงสุดตอนวัยผู้ใหญ่ มากกว่าผู้ที่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ
และผู้ที่มีมวลกระดูกสูงสุดมากๆ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนน้อยกว่า

คนเรามีโอกาสสะสมมวลกระดูกสูงสุดจนถึงอายุ 25 ปีเท่านั้น
ดังนั้น ช่วงวัยรุ่นจนถึงอายุ 19 ปี ควรได้รับแคลเซียมให้เพียงพอ วันละ 1,200 มิลลิกรัม
อายุ 20-25 ปี ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม


2. แคลเซียมช่วยรักษามวลกระดูกสูงสุดให้คงที่ หรือลดลงอย่างช้าๆ

เมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว ร่างกายยังคงต้องการแคลเซียมทุกวัน วันละ 800 มิลลิกรัม


3. แคลเซียมช่วยชะลอการสลายกระดูกในวัยหมดประจำเดือน หรือในผู้สูงอายุ
โดยวัยหมดประจำเดือน ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1000-1,500 มิลลิกรัม
และเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ความต้องการแคลเซียมต่อวันคือ 800 มิลลิกรัม


ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน แคลเซียมยังถือเป็นการรักษาพื้นฐาน
ที่ควรให้ร่วมกับยาลดการสลายกระดูกอื่นๆ ด้วย


จะเห็นว่า แคลเซียมมีความสำคัญมากต่อมวลกระดูก
และเราควรได้รับแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการต่อวัน
ตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


การวัดหาค่ามวลกระดูกดดยใช้คลื่นเสียงความถึ่สูง

รูปภาพ

ข้อควรปฏิบัติ

1. ถ้ามวลกระดูกของท่านอยู่ในค่าปกติ หรือมากกว่าค่าเฉลี่ย
ควรรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการใน 1 วัน คือ 800 มิลลิกรัม
ออกกำลังกายให้พอเหมาะ และควรได้รับวิตามินดีร่วมด้วย
เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียมให้ดีขึ้น

2. ถ้ามวลกระดูกของท่านเริ่มลดลง ควรปฏิบัติตนเช่นเดียวกับค่าปกติ

เพื่อชะลอการลดลงของมวลกระดูก ดังนั้น ควรรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ
คือวันละ 800 มิลลิกรัม ออกกำลังกายให้พอเหมาะ และได้รับวิตามินดีให้เพียงพอ

3. ถ้าท่านเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา

เพื่อลดการสลายกระดูก ควรรับประทานแคลเซียมและวิตามินดีให้เพียงพอ
ควรปรึกษาเรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสม ในผู้ป่วยภาวะโรคกระดูกพรุน
ควรระมัดระวังเรื่องการล้ม เนื่องจากอาจทำให้เกิดกระดูกแตกหักได้ง่ายกว่าคนปกติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 11:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: tongue :b1: ขออนุโมทนาสาธุการด้วยจ้า คุณลูกโป่ง :b20: smiley :b16:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณยายลูกโป่ง อ่านแล้วทำให้สังเวชที่ต้องเกิดมาอะคับ งือๆ ไม่อยากเกิดแล้วครับ...มีแต่โรค... :b2:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: อืม..ต้องดูแลขันต์ห้าคือหน้าที่ อนูโมทนาจร้า :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2010, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b20: น่าสนใจมากๆ ค่ะ :b20:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร