วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

บ่ม&เพาะ&ปลูก นิสัยรักการอ่าน

“หากจะปรับให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา
จำเป็นต้องเร่งสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เป็นวัฒนธรรมของชาติ
และทำให้เกิดทั่วแผ่นดิน”

คำพูดนี้ของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส
คงช่วยตอกย้ำให้เราเห็นถึงความสำคัญของการอ่าน
ซึ่งเป็นประตูที่เปิดไปสู่การเรียนรู้ จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
และการจะสร้างนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นกับลูกได้นั้น
ต้องเริ่มกันตั้งแต่เล็ก เพื่อให้รากแก้วรักในการอ่านเติบโตอย่างแข็งแรง
อยู่ในตัวเด็กๆ ค่ะ ไม่ต้องรีรอ
คุณสามารถลงมือสร้างหนอนน้อยนักอ่านได้ตั้งแต่วันนี้เลย


Chapter 1

อ่าน...ให้อะไร

การอ่านเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ค่ะ
ขณะที่เกิดกระบวนการอ่านทั้งภาพหรือสัญลักษณ์ในหนังสือ
สมองได้พัฒนาและเกิดกระบวนการคิด
ซึ่งกระบวนการคิดนี้จะสามารถพัฒนาและเชื่อมโยงเป็นการพูด
การเขียน การวาดภาพ โดยผลที่แสดงออกมาจากการอ่าน
จะเห็นชัดตามแต่ละช่วงวัย
ทั้งนี้การอ่านมีส่วนช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ต้องมีข้อมูลที่หลากหลาย
เพื่อสามารถนำมาประมวลและวิเคราะห์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้นั่นเอง


มากประโยชน์จากการอ่าน


1. สำหรับลูกเล็กจะช่วย พัฒนาระบบประสาทสัมผัส
เริ่มต้นจากการมองเห็นภาพ ได้ยินเสียงพ่อแม่พูดหรือเล่า
ส่วนการได้สัมผัสกับวัสดุของหนังสือนิทาน
ช่วยให้เด็กรู้จักผิวสัมผัสของวัตถุแต่ละชนิดว่าเป็นอย่างไร
แข็ง อ่อน นุ่ม แล้วยังได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงไปในตัวด้วยค่ะ
การปูพื้นฐานให้เด็กได้ใกล้ชิดกับหนังสือ จะทำให้เขารู้สึกดี
คุ้นเคยและกลายเป็นความชอบหนังสือในที่สุด


2. ช่วยกระตุ้นพัฒนาสมองใน ส่วนของทักษะภาษา
ทั้งการฟังและการพูดอย่างน้อยขั้นแรก
ที่ลูกฟังเสียงอ่านของคุณพ่อคุณแม่
เป็นการเริ่มต้นรู้จักคำศัพท์ต่างๆ และเมื่อพูดได้
จึงลองหัดอ่านออกเสียงเป็นคำๆ ไปพร้อมกับภาพและตัวอักษรในหนังสือ
ถึงจะยังไม่รู้ความหมาย แต่ก็ถือเป็นการฝึกออกเสียงพูดเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ
เรียกว่าเป็นการปูพื้นฐานพัฒนาการด้านภาษาของลูกก็ได้ค่ะ


3. กระตุ้นความคิดและจินตนาการ
ใช้หนังสือนิทานเป็นเครื่องมือต่อยอดความคิดและจินตนาการให้กว้างไกล
ภาพที่เห็นหรือเนื้อเรื่องที่ลูกฟังจากนิทานที่พ่อแม่อ่านจะช่วยกระตุ้นความคิด
ยิ่งฟังบ่อยๆ จะช่วยให้ลูกเรียนรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่เห็นในชีวิตประจำวัน
สำหรับวัยช่างเรียนรู้สำคัญเชียวที่ควรเรียนรู้อย่างหลากหลาย


4. เป็นของเล่นให้ลูก
สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่ยังไม่ทราบวิธีเล่นกับลูก
ลองใช้นิทานเชื่อมโยงไปกับการเล่นกับลูก
อาจจะให้ลูกนั่งตักเปิดนิทานเล่าไปพร้อมๆ กัน
ชวนลูกเล่นไประหว่างเล่า เพื่อเชื่อมโยงกับนิทานเล่มนั้น
อาจใช้ตุ๊กตาเป็นตัวละครเล่นไปกับลูก
ช่วยสร้างสายสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในครอบครัวได้


5. การอ่านช่วยสร้างสมาธิ
กับเด็กเล็กแล้ว ฟังเสียงแม่เล่าก็ทำให้เด็กมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่เขาฟัง
แล้วการมีสมาธินี่ล่ะ
ที่จะช่วยต่อยอดให้ทำกิจกรรมอื่นได้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี


6. พาคนอ่านและคนฟังไปสถานที่ที่ไม่เคยไป
เรียกว่าช่วยเปิดโลกและเพิ่มพูนประสบการณ์ให้หลากหลาย
ทำให้เด็กเป็นคนรอบรู้ รวมถึงมีวิธีคิดและมองโลกที่กว้าง
ตลอดจนรู้จักแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์


หน้าที่สำคัญของพ่อแม่คือต้องช่วยส่งเสริมและกระตุ้น
ให้ลูกค้นเคยกับการอ่านซึ่งต้องเริ่มต้นจากการให้ลูกรู้สึกดีก่อน
ซึ่งควรเข้าใจและกระตุ้นให้เหมาะกับวัยด้วยค่ะ
ไม่เช่นนั้นอาจจะกลายเป็นยัด เยียด และส่งผลร้ายมากกว่าดีนะคะ



หนังสือดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

* หนังสือสำหรับเด็กเล็กควรมีรูปร่างโค้งมน ไม่มีมุมแหลมคม
ไม่ว่าจะเล่มเล็กหรือเล่มใหญ่ ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของหนังสือแต่ละเล่ม


* ทำจากวัสดุที่คงทน แข็งแรงและควรเป็นวัสดุ Non-Toxic
เพื่อจะไม่เป็นอันตราย หากเด็กนำเข้าปาก


* เลือก หนังสือให้เหมาะกับช่วงวัยของลูก ช่วง 6 ปีแรก
ควรเลือกเล่มที่ดึงดูดความสนใจด้วยสีสันสดใสมีเนื้อหาไม่ยาวจนเกินไป
เพราะ ความสนใจของเด็กยังอยู่ในช่วงสั้นๆ หากเรื่องยาว
แถมคนเล่าไม่ได้สอดแทรกความสนุกไปด้วยจะทำให้เด็กเบื่อการอ่านได้ง่ายๆ


* เนื้อหาในหนังสือต้องปลอดภัย
หมายถึง ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเซ็กซ์และความรุนแรง


* หนังสือดี ไม่จำเป็นต้องราคาแพงแต่สำคัญที่เนื้อหาและภาพ
ที่พ่อแม่จะเลือกให้ลูกอ่านมากกว่า


Chapter 2

เลือกอ่าน...ให้เหมาะกับวัย

จะปลูกฝังนิสัยรักการอ่านไม่มีคำ ว่าเร็วเกินไปค่ะ
สามารถเริ่มได้ตั้งแต่วัยแบเบาะ แต่ต้องเป็นไปตามขั้นของพัฒนาการลูกน้อย


0-1 ปี สวัสดีเล่มแรกของหนู

ด้วยพัฒนาการของเด็กช่วง 6 เดือนแรก ถึงจะทำได้เพียงส่งเสียงอ้อแอ้
พูดยังไม่เป็นคำและยังไม่รู้จักภาษา คำ หรือสิ่งของต่างๆ ได้ดี
ให้ลูกเล่นและทำความรู้จักกับหนังสือด้วยการเป็นของเล่นก่อนก็ได้ค่ะ
ลูกอาจจะนำมาแทะ ขยำ หรือคิดว่าเป็นของเล่น
ก็ไม่เป็นไรเพราะวัยนี้หวังผลว่าให้ลูกคุ้นเคยกับหนังสือก่อนเป็นขั้นแรก
ส่วนหนังสือที่จะให้ลูกในช่วงวัยนี้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ต้องอาศัยสื่อภาพ
ที่เข้าใจง่ายและชัดเจนนะคะ ขณะเปิดให้ลูกอ่านและดูภาพก็ให้เล่านิทาน
ท่องบทกลอน หรือพูดทำเสียงตัวละครจะช่วยกระตุ้นให้เด็กพูดได้เร็วขึ้นด้วย


Books for Baby

ประเภทหนังสือนิทาน


: หนังสือนิทานภาพ หนังสือนิทานกึ่งของเล่น
เช่น หนังสือผ้า หนังสือลอยน้ำ และหนังสือ Board Books
(หนังสือที่มีกระดาษหนาเท่ากับปก ทนทานต่อการฉีก
กัดของเด็กวัยที่เรียนรู้ด้วยปากได้ มีภาพชัดเจน
มีตัวหนังสือน้อยหรือไม่มีตัวหนังสือเลย)


ลักษณะหนังสือ


* ภาพ : เลือกเล่มที่มีขนาดใหญ่เพื่อที่เด็กจะได้ เห็นอย่างชัดเจน
เลือกภาพที่สีสันสดใสมีลายเส้นชัดเจน ขณะเล่าก็เพิ่มความตื่นเต้นเร้าใจ
ด้วยเสียงที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นความสนใจ
เป็นการกระตุ้นทักษะด้านการฟัง และช่วยให้ลูกมีแรงจูงใจที่จะพูดได้เร็วขึ้น


* เนื้อเรื่อง : ตัวหนังสือน้อยหรือไม่มีเลยหากจะมีเนื้อเรื่องก็ไม่ควรเป็น
ประโยคยาวใช้วิธีการเล่าเรื่องด้วยภาพที่สื่อความหมายชัดเจน
พ่อและแม่สามารถเล่าเรื่องไปตามภาพได้


* ภาษา : ใช้ ภาษาไทยถูกต้อง สั้น กระชับ เข้าใจง่าย
หากเป็นนิทานที่มีเป็นคำคล้องจอง แต่ละคำควรออกเสียงด้วยเสียงสั้นง่าย
ขณะเล่าให้เพิ่มเสียงสูง-ต่ำ เป็นจังหวะจะโคน เป็นคำที่ใกล้ตัว
ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์
และกระตุ้นการพูดการสื่อสารได้รวดเร็วด้วยค่ะ


* รูปเล่ม : ทนทานต่อการใช้งาน ไม่มีมุมแหลมคม
ขนาดเล่มไม่หนาเกินไป หากเป็นนิทานที่เป็นของเล่นได้ด้วย
ควรทำจากวัสดุปลอดสารพิษ เมื่อนำเข้าปากแล้วจะได้ไม่เป็นอันตราย


Parent Guide

* เล่านิทานด้วยจังหวะที่พอดีไม่ช้าไม่เร็วเกินไป ออกเสียงพูดให้ชัด
เพื่อให้ลูกจดจำและเลียนเสียงตามได้ง่ายและถูกต้อง


* ให้ลูกนั่งบนตัก เปิดหนังสือไปพร้อมๆ กันลูกจะมองไปตามนิ้วพ่อแม่
ที่ไล่ไปตามตัวอักษรและภาพ ได้เห็นทั้งตัวอักษรและได้ยินเสียงแบบนี้
หวังผลเรื่องของการอ่านหนังสือได้เมื่อโตขึ้นด้วยค่ะ

*การเปิดโอกาสให้ลูกได้สัมผัสจับต้องนิทานด้วยตัวเอง
อย่ากลัวนิทานจะพังค่ะเพราะเป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสไปในตัว


1-3 ปี ปลูกเมล็ดพันธุ์รักการอ่าน


ช่วงขวบปีแรกไปจนถึง 3 ขวบ เป็นวัยเริ่มต้นของการเรียนรู้
และยังเป็นวัยที่สนุกสนานกับการเรียนรู้ ถือเป็นโอกาสดี
ที่พ่อแม่จะปูพื้นฐานเรื่องต่างๆ ให้ลูก เรียกว่าปลูกเมล็ดพันธุ์ชนิดใดให้ลูกช่วงนี้
ผลที่ได้งอกเงยออกมาเช่นนั้น อาจเริ่มต้นจากให้ลูกทำความรู้จัก
กับหนังสือนิทานก่อนว่ามีหน้าที่เช่นใด
จากนั้นก็เริ่มพาลูกทำความรู้จักกับหนังสือต่างๆ มากขึ้น
ครั้งแรกอาจจะเลือกนิทานที่มีตัวการ์ตูนสีสันสดใส เนื้อเรื่องน่าตื่นเต้น
เรียกว่าเป็นการสร้าง First Impression เ
พื่อสร้างแรงดึงดูดให้เกิดขึ้นนั่นเองค่ะ
เมื่อเล่มแรกจบลง เล่มต่อไปก็ยังคงความสนุกและน่าสนใจอยู่
แล้วเมื่อลูกรู้สึกสนุกไปกับการอ่าน
ก็ให้ทำต่อเนื่องจนกลายเป็นหนึ่งกิจกรรมของลูก
และจะกลายเป็นนิสัยรักการอ่านต่อไป
ซึ่งบุคคลที่จะทำหน้าที่นี้คือ คุณพ่อคุณแม่นั่นเอง

Books for Toddler

ประเภท หนังสือนิทาน

: หนังสือนิทานภาพ หนังสือนิทานกึ่งของเล่น
เช่น หนังสือผ้า หนังสือลอยน้ำ และหนังสือ Board Books หนังสือนิทานป๊อปอัพ


ลักษณะ หนังสือ


* ภาพ : ภาพควรมีขนาดใหญ่ มองเห็นชัดเจน สีสันสดใสและหลากหลาย
ลายเส้นไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป อาจจะเพิ่มเติมลักษณะลายเส้น
ให้มากกว่าตอนลูกเล็กได้แต่อย่าเพิ่งเลือกเล่ม
ที่ลายเส้นยุ่งเหยิงวุ่นวายจนดูไม่ออกว่าเป็นรูปอะไรนะคะ
และที่สำคัญหากเป็นภาพที่ลูกสามารถพบเห็นในชีวิตประจำวัน
ควรเป็นภาพที่มีลักษณะคล้ายของจริงมากที่สุด
เช่น สุนัขควรจะมี 4 ขา มี 2 หูในเล่ม การใช้สีสันที่ไม่เหมือนจริงนั้น
เป็นเรื่องของจินตนาการที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มเติมการเรียนรู้ให้กับลูก
ได้หากพบเห็นในชีวิตประจำวันค่ะ


* เนื้อเรื่อง : สั้น และเหตุการณ์ไม่ควรสลับซับซ้อนเกินไป สีสันสดใสและหลากหลาย


* ภาษา : ใช้ภาษาไทยถูกต้อง สั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสุภาพ


* รูป เล่ม : ทนทานต่อการใช้งาน ไม่มีมุมแหลมคม ขนาดเล่มไม่หนาเกินไป
กระดาษที่ใช้ก็ไม่ควรบาง และคมเกินไปเพราะวัยนี้เริ่มใช้มือเปิดหน้าหนังสือเองได้แล้ว


Parent Guide

* เปิดโอกาสให้ลูกได้พูดคุย ซักถามเรื่องราวในนิทานบ้าง
วัยช่างจ้อแบบนี้กำลังสนุกและมีความสุขที่จะได้พูดคุย
เป็นการฝึกทักษาด้านการพูดและการฟังให้ลูกด้วย


* ชี้ชวน ให้ลูกถามตอบสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในนิทาน ช่วยให้ลูกได้เรียนรู้
เพิ่มการสร้างบรรยากาศการอ่านให้สนุกสนานและน่าสนใจ
ก็ทำให้เด็กรู้สึกดีมีความสุข และสร้างการจดจำที่ดีให้กับการอ่านหนังสือด้วย


Tips

หากจะเลือกหนังสือที่มีบทกลอน ควรเลือกเล่มที่มีลักษณะคำคล้องจอง
สั้นๆ ง่ายๆ และเป็นคำที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน
เพื่อช่วยให้เด็กเป็นคนที่มีจังหวะในการพูด
และยังเป็นการเพิ่มคลังคำศัพท์ได้โดยไม่รู้ตัว


Chapter 3

อ่านเพลิน...เพลินกับหลากวิธี

1. เป็นตัวอย่างที่ดีในการ อ่านหนังสือ


2. สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมการอ่านให้เป็นกิจกรรมประจำบ้าน
เช่น กำหนดให้ทุกเย็นก่อนนอนเป็นช่วงเวลาของการเล่านิทาน
เช่น กำหนดให้ทุกเย็นก่อนนอนเป็นช่วงเวลาของการเล่านิทาน
หรือให้มี 1 วันช่วงกลางวัน ที่จะนั่งอ่านหนังสือร่วมกัน
ทำให้เป็นหนึ่งกิจกรรมแทนการเดินช็อปปิ้งทุกวันหยุด


3. ทำให้การอ่านหนังสือเป็นเรื่องสนุกสนาน
พ่อแม่เป็นคนสำคัญที่จะทำให้เกิดความรู้สึกนี้ขึ้น
เริ่มต้นที่ลีลาท่าทางการเล่านิทาน
น้ำเสียงที่เล่าต้องหลากหลายตามเรื่องราว
ซึ่งจะช่วยให้นิทานเรื่องธรรมดาสนุกขึ้นมาได้
เมื่อเกิดความสุขและความสนุกสนานขึ้นมา
ได้รับประกันว่าลูกจะรักนิทานได้ไม่ยากเลยค่ะ


4. จัดมุมใดมุมหนึ่งของ บ้านให้เป็นห้องสมุดขนาดเล็ก
ไว้เป็นพื้นที่ให้ลูกได้อ่านหนังสือเล่าที่ชอบ


5. พาลูกไปเลือกซื้อ หนังสือนิทานด้วยกัน


6. ตั้งกฎเหล็กก่อนนอนต้องอ่านนิทาน 1 เล่มเสมอ
พ่อหรือแม่ควรทำหน้าที่นี้ได้ทั้งคู่นะคะ


3-6 ปี อ่าน...บ่มเพาะ งอกงาม

วัยนี้พูดได้คล่องและรู้จักคำศัพท์มากขึ้น ยิ่งเมื่อรู้จักหน้าที่ของหนังสือ
จากการวางพื้นฐานตั้งแต่ช่วง 3 ปีแรกแล้ว
จะช่วยให้ลูกเข้าหาหนังสือเองได้ง่าย
เห็นลูกเป็นแบบนี้แล้วอย่าเพิ่งปล่อยให้บินเดี่ยวนะคะ
เพราะลูกอาจจะผ่อนแรงลงไปได้ หมั่นเล่านิทานอ่านหนังสือให้ลูกฟังอยู่เสมอ
เคยทำอย่างไรก็ให้ทำอย่างนั้นไปก่อน
จะให้ดีที่โรงเรียนและที่บ้านควรทำไปพร้อมๆ กัน
ทั้งพ่อแม่และครูอย่าลืมว่าคุณ คือคนสำคัญ
ในการเป็นแบบอย่างที่ดีของการอ่านหนังสือ
วัยชอบเลียนแบบที่ดีก็จะช่วยให้เด็กมีบุคลิกภาพและพฤติกรรมที่ดีต่อไปใน อนาคตค่ะ


Books for Pre-school

ประเภท หนังสือนิทาน : หนังสือนิทานที่มีเนื้อเรื่อง
หนังสือนิทานภาพ หนังสือนิทานป๊อปอัพ


ลักษณะหนังสือ

* ภาพ : ภาพ มีขนาดใหญ่ มองเห็นชัดเจนสีสันสดใส
ลายเส้นอาจจะสลับซับซ้อนได้เพื่อกระตุ้นจินตนาการของเด็ก
ภาพที่ใช้อาจจะใช้ภาพในเชิงสัญลักษณ์
ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปิดโอกาส
และกระตุ้นให้เด็กตีความได้เพิ่มจากภาพทั่วไป


* เนื้อเรื่อง : ไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไปเนื้อ เรื่องไม่ควรซับซ้อน
ตัวละครไม่มากเพราะจะทำให้สับสนค่ะ
และควรเลือกเล่มที่ตัวหนังสือขนาดใหญ่
เพราะวัยนี้เด็กเริ่มอ่านเองได้บ้างแล้ว หากชี้นิ้วไล่ไปตามเรื่องที่เล่า
จะช่วยให้ลูกเชื่อมโยงไปกับนิทานได้

* ภาษา : ใช้ภาษา ไทยถูกต้อง สั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสุภาพ

* รูปเล่ม : ใช้ วัสดุที่ทนทานต่อการใช้งานไม่มีมุมแหลมคม
กระดาษที่ใช้ไม่ควรบางและคมเกินไป
เพราะวัยนี้เริ่มใช้มือเปิดหน้าหนังสือเองได้แล้ว รูปเล่มและหน้าปก น่าสนใจ
เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กให้หยิบขึ้นมาอ่าน
เพราะวัยนี้พ่อแม่ควรพาลูกไปซื้อหนังสือนิทานได้แล้วค่ะ



Parent Guide

* นิทานเล่มเดิมเมื่อครั้ง 2 ขวบยังใช้ได้อยู่แต่อาจจะต่อเรื่องราวเพิ่มเติม
ให้มีความสนุกสนานตามแต่ จินตนาการของเด็กเอง
วัยนี้ชอบที่ได้แสดงออกทางจินตนาการ
ยิ่งมีพื้นที่แบบนี้ เด็กจะรู้สึกสนุกกับการอ่าน
เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เขาได้แสดงออกซึ่งจินตนาการ


* วัยนี้สามารถเข้าใจเนื้อเรื่องที่มีความซับซ้อน มากขึ้นแล้ว
คุณแม่อาจจะเพิ่มเติมนิทานที่สอดแทรกเนื้อหาในการส่งเสริมคุณธรรม
ความดี มีน้ำใจ เป็นการปลูกฝังให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่ดี
ซึ่งจำเป็นต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่วันนี้เลยค่ะ


* เปิดช่อง ให้ลูกเล่านิทานสลับกับพ่อแม่


* สร้างความสนุกและความรู้สึก ดีให้กับนิทานเล่มเดิม
ด้วยการชวนกันเปลี่ยนตอนจบ
ช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการด้วยค่ะ


* หลังอ่าน นิทานจบ อาจจะพาลูกไปเที่ยวเพื่อต่อยอดความรู้เพิ่มเติม
จากในนิทานอย่างน้อยก็ทำให้ ลูกรู้สึกดีและสนุกกับนิทาน
หรืออาจจะเป็นการทำกิจกรรมที่ต่อเนื่อง
เช่น วาดภาพ แสดงละคร ถือเป็นวิธีการเรียนรู้เด็กด้วยค่ะ


ความประทับใจครั้งแรกถือเป็นสิ่ง สำคัญสำหรับเด็กค่ะ
ทำให้ลูกรู้สึกดีกับการอ่านหนังสือเข้าไว้นะคะ
จะเป็นการวางพื้นฐานการอ่านที่มั่นคงแข็งแรงให้กับลูก
ทำอย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นนิสัย
แล้วเมื่อวันหนึ่งลูกหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านเอง
นั่นถือว่าคุณได้ให้เครื่องมือการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดกับลูกแล้วค่ะ



Tip


* วัยนี้จะชอบนิทานเรื่องเดิมเป็นพิเศษ
ก็เพราะลูกรู้สึกสนุกที่สามารถเดาเรื่องเรื่องราวที่ชอบในหนังสือได้
เรียกว่าอยากจะจดจำความรู้สึกที่ดีๆ ในเรื่องไว้ ยิ่งให้ลูกเล่า
ลูกจะมีสีหน้าภูมิใจเชียวค่ะ
เห็นผลดีแบบนี้คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งเบื่อนิทานเล่มเก่านะคะ


* การชวนลูกอ่านป้ายต่างๆ ตามท้องถนน
จะช่วยให้ลูกอ่านได้เร็วขึ้น และยังสนุกสนานด้วยนะคะ


* อุบายพาลูกไปซื้อหนังสือนิทาน อย่างน้อยก็ทำให้ลูกสนใจ
และอยากอ่านนิทานเล่มที่ตัวเองซื้อนะคะ


อุปสรรคของหนอนหนังสือ


* ทีวี เกม และคอมพิวเตอร์ ล้วนเป็นตัวบล็อกให้การอ่านหนังสือไม่น่าสนใจ
เพราะด้วยภาพ แสง สีและเสียงที่ตื่นตาเร้าใจ
เรียกว่ากระตุ้นเร้าความสนใจของเด็กจนเกินพอดี
แต่สื่อกลุ่มนี้ทำหน้าที่สื่อสารทางเดียว
และไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสื่อได้แสดง
หากเด็กได้รับการกระตุ้นและถูกเร้าจนเกินพอดี
เมื่อเด็กโตขึ้นเขาจะรู้สึกกล้ากับการรับข้อมูลได้ค่ะ


* บรรยากาศ การอ่านเต็มไปด้วยความเครียด
และความกดดันที่พ่อแม่คาดหวังให้ลูกอ่านและหวังผลให้อ่านได้หลายเล่ม
แบบนี้จะทำให้ลูกไม่อยากอ่านหนังสือ

* ในบ้านไม่มีหนังสือให้ลูกอ่านเลยมีแต่ของเล่นหรือคอมพิวเตอร์
ลูกก็จะหันไปหากิจกรรมอื่นแทนการอ่าน


ที่มา...บ่ม&เพาะ&ปลูก นิสัยรักการอ่าน
โดย สุชาดา เทพหินลัพ
นิตยสาร MODERNMOM Vol.13 No.147 January 2008

http://www.planpublishing.com
http://www.clinicrak.com/article/disarticle.php?no=249

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2019, 13:24 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss tongue


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร