วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 132 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทความพิเศษ : 'ทาน' ควรเลือกให้หรือไม่ควร?


ทาน ตามตัวอักษรแปลว่า การให้ จำแนกเป็น
• การให้สิ่งของเป็นเครื่องอุปโภค เรียก อามิสทาน
• การให้ธรรม - คำแนะนำสั่งสอนชักจูงใจในทางที่ดี เรียก ธรรมทาน
• การให้อภัยไม่ถือโทษล่วงเกินของผู้อื่น โดยเฉพาะ เมื่อเขารู้สึกสำนึกผิดแล้วมาขอโทษ เรียก อภัยทาน การงดเว้นไม่เบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นก็เป็นอภัยทานเหมือนกัน
อามิสทาน การให้วัตถุสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค รวมเรียกว่าปัจจัย ๔ นั้น เป็นความจำเป็นสำหรับผู้อยู่ร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เป็นการแสดงน้ำใจต่อกัน ทำ ให้มีใจผูกพันกันในด้านความสำนึกคุณ เป็นสาราณียธรรมข้อหนึ่ง ... สาราณียธรรม คือสิ่งอันก่อให้เกิดความระลึกถึงซึ่งกันและกันในด้านคุณ ด้วยเหตุนี้เราจึงนิยมให้ของที่ระลึกกันในโอกาสต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่, แต่งงาน, วันเกิด และโอกาสอื่นๆ เท่าที่โอกาสจะเปิดให้ทำความดีต่อกันได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า การให้ย่อมผูกมิตรหรือไมตรีไว้ได้ (ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ)

• การให้ด้วยวัตถุประสงค์ ๓ อย่าง
การให้วัตถุสิ่งของ ผู้ให้ย่อมมีวัตถุประสงค์ต่างกัน ให้เพื่ออนุเคราะห์บ้าง ให้เพื่อสงเคราะห์บ้าง ให้เพื่อบูชาคุณบ้าง
การให้แก่คนยากจนแร้นแค้นลำบากหนัก เข้ามาพึ่งพิงขอความช่วยเหลือ การให้แก่ผู้น้อย ช่วยเหลือเขาให้พ้นความลำบากด้วยความกรุณา เรียกว่า ให้เพื่ออนุเคราะห์
การให้แก่คนที่เสมอกันเพื่อรักษาไมตรีและน้ำใจกันไว้ เป็นการแบ่งปันเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันตามโอกาสที่มาถึง เรียกว่า ให้เพื่อสงเคราะห์
การให้สิ่งของแก่มารดาบิดา อุปัชฌาย์อาจารย์ ครูผู้สั่งสอนอบรม นักพรตผู้ประพฤติธรรม ด้วยความสำนึกคุณของท่านที่มีต่อตัวเราหรือมีต่อโลกต่อสังคม เรียกว่า ให้เพื่อบูชาคุณ แม้ท่านจะไม่ขาดแคลนก็ควรให้บ้างตามกาล ตามความเหมาะสม เพื่อให้ท่านได้ปลื้มใจและทำหน้าที่ให้ดียิ่งๆขึ้นไป
บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว ย่อมมีผู้ที่ตนต้องอนุเคราะห์และต้องบูชาอยู่ด้วยกันทุกคน มากบ้างน้อยบ้างสุดแล้วแต่ความผูกพันเกี่ยวข้องของแต่ละคน ผู้หวังความเจริญในธรรม ควรตั้งใจทำให้สมบูรณ์เท่าที่กำลังความสามารถของตนมีอยู่

• ทาน ๓ ประเภท หรือทายก ๓ จำพวก
๑. ทานทาสะ บางทีเรียกว่า “ทาสทาน” ท่านหมายถึงการให้ของเลวเป็นทาน คำว่าเลวนั้นหมายถึงเลวกว่าที่ตนบริโภคใช้สอยเอง ที่ท่านเรียกว่าทาสทาน เพราะอธิบายว่าตกเป็นทาสของความตระหนี่ ถึงอย่างไรการให้ของเลวกว่าที่ตนบริโภคใช้สอยเองแก่คนที่ควรได้รับ เพียงแค่นั้นก็ยังนับว่าดี ดีกว่าการไม่ให้อะไรเสียเลย เช่น การให้แก่คนรับใช้ ให้แก่ขอทาน ให้เสื้อผ้าซึ่งตนไม่ใช้แล้วแก่คนยากจน ให้อาหารเหลือกินแก่สุนัข เป็นต้น ผู้ให้ของดังกล่าวท่านเรียกว่า “ทานทาโส” การให้ของที่เขาต้องการจำเป็นแก่เขา ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่ควรจัดเป็นการให้ที่เลว
๒. ทานสหาย บางทีเรียกว่า “สหายทาน” หมายถึงการให้ของที่เสมอกันอย่างเดียวกับกับที่ตนใช้สอย ตนบริโภคใช้สอยอย่างไร เมื่อถึงคราวจะให้ผู้อื่นก็ให้อย่างนั้น เหมือนการให้แก่เพื่อนฝูง ผู้ให้ของเช่นนั้นท่านเรียกว่า “ทานสหาโย”
๓. ทานสามี บางทีเรียก “สามีทาน” การให้ของที่ดีกว่าตนบริโภคใช้สอย ส่วนมากเมื่อจะให้แก่ผู้ที่ควร เคารพ ทายกมักให้ของดีเท่าที่ตนจะพอหาได้ เช่นของที่นำไปให้มารดาบิดา ครูอาจารย์ พระสงฆ์ หรือนักพรตผู้ประพฤติธรรม
อนึ่ง ท่านผู้บริจาคทานด้วยความไม่ตระหนี่ บริจาคด้วยเจตนาอย่างแท้จริง ท่านเรียกผู้เช่นนั้นว่า “ทานบดี” ผู้เป็นใหญ่ในทาน

• ประเภทของอามิสทาน
กล่าวโดยย่อที่สุด ท่านจัดทานไว้ ๒ ประเภท ทานที่เจาะจงบุคคลเรียก “ปาฏิบุคลิกทาน” ทานที่ไม่เจาะจงให้เรียก “สังฆทาน” การให้แก่สงฆ์ หรือให้แก่หมู่คณะ
คนส่วนมากเข้าใจสังฆทานผิดไป คือไปเข้าใจสังฆทานตามพิธีการ ได้แก่ จัดเครื่องไทยธรรมให้ครบตามประเพณีนิยม เช่น ต้องมีข้าวของอะไรบ้างในการทำสังฆทานนั้น แต่ตามความเป็นจริงแล้ว สังฆทานมีความหมายไปในทางให้เจาะจงหรือไม่เจาะจง ถ้าให้เจาะจงบุคคล แม้จะจัดข้าวของมโหฬารอย่างไร ก็หาเป็น สังฆทานไม่
ตัวอย่าง บุคคลผู้หนึ่งต้องการทำสังฆทาน ไปนิมนต์พระเองหรือส่งคนไปนิมนต์พระ แต่เจาะจงว่า พระ ก. ข. ค. ... แม้จะนิมนต์สักร้อยรูป ทานนั้นไม่เป็นสังฆทาน คงเป็นปาฏิบุคลิกทาน ถ้าไปนิมนต์กับเจ้าหน้าที่จัดพระ (ภัตตุตเทสก์) หรือกับพระที่ตนคุ้นเคยว่า ต้องการทำบุญ ที่บ้านหรือที่วัดก็ตาม ขอนิมนต์พระ ๑ รูป หรือ ๒ รูป (สุดแล้วแต่ต้องการ) ขอให้จัดพระให้ด้วย ไม่เจาะจงว่าเป็นใคร ทานนั้นเป็นสังฆทานเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยนัยนี้การทำบุญใส่บาตรตอนเช้า จึงเป็นสังฆทานเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
อนึ่ง ในการทำสังฆทานนั้น ท่านสอนให้ทำใจให้ยินดีในบุญกุศล ไม่ยินดีในบุคคลผู้รับ ทำใจให้ตรงแน่วแน่ต่อคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ทานอย่างนี้แหละมีอานิสงส์มาก มีผลมาก เพราะเป็นการขัดเกลาจิตใจของตนไปด้วย พระพุทธเจ้าเคยตรัสกับพระอานนท์ ปาฏิบุคลิกทานจะมีผลมากกว่าสังฆทานไม่ได้เลยไม่ว่ากรณีใดๆ ตัวอย่างเช่น ถวายทานแก่พระพุทธเจ้าเป็นการเจาะจง ก็มีอานิสงส์สู้ถวายสังฆทานไม่ได้ แต่ต้องเป็นสังฆทานที่ถูกต้อง ไม่ใช่สังฆทานตามความเข้าใจของคนทั้งหลาย หรือสังฆทานตามประเพณีนิยม ที่แปลว่าหมู่หรือคณะ สังฆทานย่อมหมายถึงการให้แก่ส่วนรวม เมื่อมุ่งถึงประโยชน์แล้วการให้แก่ส่วนรวมย่อมอำนวยประโยชน์กว้างกว่าการให้ เป็นส่วนตัว ผู้ให้จึงได้รับอานิสงส์มากไปด้วย ถ้าหมู่นั้นเป็นหมู่ที่ดีมีศีลธรรม เช่น พระอริยะด้วยแล้ว อานิสงส์ ก็ย่อมจะเพิ่มพูนขึ้น

• ควรเลือกให้ หรือไม่ควรเลือกให้
บางคนเข้าใจว่าเมื่อจะทำบุญทำทานแล้วไม่ควรเลือกให้ คือเห็นว่าเมื่อเป็นพระแล้วก็เป็นพระเหมือนกันทั้งนั้น ความเห็นนี้ไม่ตรงตามหลักพระพุทธภาษิต เพราะ พุทธองค์ตรัสว่า “ควรเลือกให้” (วิเจยฺย ทานํ ทาตพฺพํ) ในที่ที่จะมีผลมาก (ยตฺถ ทินฺนํ มหา ปฺผลํ)
ความจริงแล้วเป็นพระเหมือนกันก็จริง แต่ก็ไม่เหมือนกันในด้านคุณภาพ ก็เหมือนคนเรานี่แหละ ซึ่งเป็นคนเหมือนกันแต่ก็ไม่เหมือนกันในด้านคุณภาพบางคนดีมาก บางคนดีน้อย แม้ในคนธรรมดาเราก็ควรเลือกคนที่ควรได้รับการสงเคราะห์ ไม่ใช้ให้ตะพึดตะพือ ไป อันจะเป็นการก่อโทษมากกว่าก่อคุณ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า “ให้แก่ผู้มีธรรมย่อมมีผลมากกว่าให้แก่ผู้ไม่มีธรรม”
เพราะฉะนั้นการให้ทานเจาะจงบุคคล (ปาฏิบุคลิกทาน) ถ้าหวังอานิสงส์มากก็ควรเลือกให้แก่คนดีมีศีลธรรมหรือเป็นคนที่ควรได้รับการ ช่วยเหลือ ถ้าให้แก่หมู่คณะก็ควรเป็นหมู่ที่ดีเช่นเดียวกัน

(จากหนังสือสิ่งที่ควรทำความเข้าใจกันใหม่ เพื่อความถูกต้อง)


(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 106 กันยายน 2552 โดย อ.วศิน อินทสระ)

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สูตรสำเร็จสู่ความเป็นผู้สูงวัย อย่างมีคุณภาพ

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” หรือ “Aged Society” ในปัจจุบันได้กลายเป็นประเด็นปัญหาที่ทั่วโลกต่างจับจ้องและให้ความสนใจกับ กระแสดังกล่าวเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีผลกระทบ อย่างกว้างขวางทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาค ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่มีแนวโน้มลดลงเป็นเงาตามตัวและส่งผลกระทบต่อรายได้ต่อหัวของประชากร การออมและการลงทุน งบประมาณของรัฐบาล ตลาดผลิตภัณฑ์และบริการด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพฯลฯ ด้วยเหตุนี้ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้จึงพากันตื่นตัวและเตรียม แผนรองรับสถานการณ์นี้อย่างเร่งด่วน

• ผลสำรวจพบหญิงอายุยืนกว่าชาย
นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) กล่าวว่า ความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้ประชากรมี อายุยืนยาวขึ้น ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการวางแผนครอบครัวตั้งแต่ปี 2525 จึงทำให้อัตราการเกิดลดลง สัดส่วนของผู้สูงอายุจึงมากขึ้นตามลำดับ และมีอายุคาดเฉลี่ย(Life Expectancy) เพิ่มสูงขึ้น โดยเพศชายจะมีอายุคาดเฉลี่ยประมาณ 69 ปี ขณะที่เพศหญิงจะมีอายุคาดเฉลี่ยประมาณ 75 ปี

• 2573 คนแก่ครองเมือง
นอกจากนี้ จากการสำรวจของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)พบว่า ในปี 2547 กลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเริ่มมีสัดส่วนมากกว่า 10% และเพิ่มขึ้นเป็น 11% หรือประมาณ 7 ล้านคนในปัจจุบัน ซึ่งคาดการณ์ว่า ในปี 2567 หรือในอีก 15 ปีข้างหน้า ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนมาก กว่า 20% ซึ่งจะเท่ากับสัดส่วนของกลุ่มเด็ก และในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของกลุ่ม เด็ก หรือประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งประเทศ

• สถิติผู้สูงอายุในประเทศไทย
จำนวนและร้อยละของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2553 จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ และอัตราส่วนเพศทั่วราชอาณาจักร
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยได้ก้าวย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ ปลายปี 2547 เช่นเดียวกับในหลายประเทศทั่วโลกที่มีความก้าวหน้าทางการแพทย์ ซึ่งในเรื่องนี้สหประชาชาติ ได้ให้นิยามว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกิน 10% หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป เกิน 7% ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปี เพิ่มเป็น 20% และอายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 14%
“การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของหลายประเทศ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิงหรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดู ประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น ฉะนั้น หมายถึง งบประมาณมหาศาลที่จะต้องนำมาดูแลคนทั้งสองกลุ่ม ซึ่งถือเป็นภาระหนักหน่วงที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่เช่นเดียวกับ เรา ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในแถบยุโรปหลายประเทศ หรือประเทศสหรัฐอเมริกา แม้กระทั่งญี่ปุ่นเอง ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ โดยมีการวางแผนให้ประชาชนของเขาทุกคนมีเงินออมตั้งแต่วัยทำงาน เพื่อให้ประชาชนของเขามีเงินเลี้ยงดูตนเองเมื่อถึงวัยเกษียณ โดยรัฐบาลจะจ่ายสมทบให้เดือนละ 5 หมื่นเยนทุกเดือน รวมถึงมีการเตรียมความพร้อมด้านสถานพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มเติมในทุก เมือง
เช่นเดียวกับการปรับภูมิทัศน์ทางเดิน ตลอดจนถนนหนทางให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้อง พึ่งพิงผู้อื่นมากนัก ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่เราก็ได้เตรียมนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเราบ้าง เพราะประเทศไทยเราตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ไม่น้อยไปกว่าประเทศอื่น เพียงแต่ที่ผ่านมาเรายังไม่มีข้อมูลของกลุ่มผู้สูงอายุ อย่างเพียงพอสำหรับการวางแผน เพราะกลุ่มผู้สูงอายุของเราส่วนใหญ่จะอยู่ในชนบทมากกว่าในเมือง
ดังนั้น เราจึงได้เริ่มสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง หลังจาก ที่คณะผู้แทนของรัฐบาลไทยได้ไปเข้าร่วมการประชุมผู้สูงอายุโลก หรือที่เรียกว่า การประชุม “Assembly On Aging” ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี 2525 ซึ่งเป็นการจัดประชุมร่วมกันทั่วโลก หลังจากที่เล็งเห็นว่าต่อไปในอนาคตผู้สูงอายุจะกลายเป็นปัญหาของทุกประเทศ ทั่วโลก ซึ่งยูเอ็นได้แนะนำให้จัดทำแผนผู้สูงอายุ และเสนอให้มีคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เพื่อจัดทำแผนดังกล่าว แต่แผนฉบับแรก ยังไม่ค่อยดีนักเนื่องจากข้อมูลไม่ครบถ้วน ดังนั้น จึงมีการจัดทำแผนที่ 2 ในปี 2545 ซึ่งเป็นแผนผู้สูงอายุที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยสาระสำคัญนั้นเน้นการประกันสุขภาพผู้สูงอายุของไทยให้ครบร้อยเปอร์เซ็นต์ และการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ” นพ.บรรลุ กล่าว

• ประธาน มส.ผส.ระบุ ปัญหาคนแก่ต้องรีบแก้
นอกจากนี้ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ยังกล่าวด้วยว่า การเตรียมพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความสำคัญและละเอียดอ่อน เป็นอย่างมาก ดังนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย และ จะต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่บัดนี้ เพราะมาตรการเกือบทุกอย่างล้วนต้องใช้เวลาในการดำเนินการนานกว่าจะออกผล ซึ่งจะทำให้บรรยากาศการแข่งขันด้านการค้าและผลผลิตของประเทศเกิดภาวะสูญญากา ศทางด้านการแข่งขัน เพราะมีประชากรที่อยู่ในภาวะ พึ่งพิงมากกว่าวัยทำงาน ขณะเดียวกันก็จะต้องสร้างจิตสำนึกให้คนวัยหนุ่มสาวรู้จักการออมและใช้ชีวิต อย่างมีสติ รู้จักที่จะเริ่มต้นดูแลชีวิตและสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่ เสมอ เพื่อที่เมื่อถึงวัยที่ก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจะได้เป็นผู้สูงอายุที่เป็น พลังมากกว่าเป็นภาระของครอบครัวและประเทศ
แต่อย่างไรก็ตาม เป้าหมายระยะยาวของการพัฒนาผู้สูงอายุ ไม่ใช่การหาทางช่วยเหลือผู้สูงอายุ เพราะนั่นเป็นการมองอนาคตว่าจะเต็มไปด้วยภาระที่ทุกคนต้องมาช่วยกันรับผิด ชอบดูแลผู้สูงอายุที่นับวันแต่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการสาธารณสุขที่ดีขึ้นเรื่อยๆ
“เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาผู้สูงอายุ คือการทำให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกที่เข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ซึ่งจะทำได้ นอกเหนือจากการมีสุขภาพที่ดี ยังต้องมีความรู้ความสามารถ และโอกาสในการทำงานต่างๆ รวมทั้งมีเงินสำหรับการจับจ่ายใช้สอย เพื่อสิ่งจำเป็นในชีวิต ซึ่งหากทำได้จะทำให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมได้ มากกว่าประชากรในวัยอื่นๆ ดังนั้น เราจึงต้องมาช่วยกันสร้างสังคมไทยให้มองผู้สูงอายุเป็นผู้สร้าง มากกว่าการมองผู้สูงอายุด้วยความสงสาร หรือแย่ที่สุดคือมองผู้สูงอายุว่าเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์” นพ.บรรลุ กล่าว

• “สุขภาพ-เศรษฐกิจ-สังคม” ปัญหาใหญ่ของคนวัยตกกระ
ส่วนปัญหาของผู้สูงอายุในประเทศไทย นพ.บรรลุ ระบุว่า ประกอบด้วยปัญหาหลักๆ 3 ประการ คือ
1. ปัญหาสุขภาพ เนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้นสุขภาพจะเริ่มเสื่อมโทรมและมีโรคต่างๆ เกิดขึ้นตามมา ดังนั้น ลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวควรจะใส่ใจและดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้นรวมถึง หมั่นพาไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และควรปรับสภาพภูมิทัศน์ภายในบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุ เช่น พื้นไม่ควรใช้วัสดุที่มีผิวลื่นและไม่มีระดับสูงจนเกินไปนัก ส่วนตัวล็อคประตูก็ควรเปลี่ยนเป็นคันโยกเพื่อให้ผู้สูงอายุเปิดได้ง่ายและ สามารถช่วยเหลือตนเองในการใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะทำให้สภาวะแวดล้อมในครอบครัวเป็นสังคมของคนทุกวัยได้อย่างแท้จริง
2. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงิน เนื่องจากผู้สูงอายุของไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และไม่รู้จักการออม เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุและไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเองเหมือนเก่า จึงทำให้เกิดความขัดสน ยากจน เพราะไม่ได้มีการออมเงินมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ดังนั้นจึงควรปลูกฝังนิสัยให้มีการรักการออมตั้งวัยหนุ่มสาว และรู้จักการทำประกันสุขภาพ โดยเจียดเงินมาไว้สำหรับการออม 5-10% ต่อเดือน เช่นเดียวกับในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อให้มีเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ
3. ปัญหาทางสังคม แม้ว่าผู้สูงอายุในสังคมไทยจะได้รับการ เคารพนับถือจากลูกหลาน แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สนใจและไม่สามารถพัฒนาความรู้เพิ่มเติมให้ทันยุค สมัยได้ ด้วยเหตุนี้จึงมักถูกมองว่าเป็นไดโนเสาร์เต่าล้านปีในสายตาของลูกหลาน และทำให้มีปัญหาในการเข้าสังคมกับสมาชิกของสังคม ซึ่งเป็นบุคคลในวัยอื่นๆ ดังนั้น ผู้สูงอายุจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐก็จะต้องเข้ามาส่งเสริมดูแล เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

• หมอบรรลุเผยเคล็ด 78 ยังแจ๋ว
แม้ว่าอายุของประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยจะล่วงเลยมาถึง 78 ปี แต่สุขภาพและความจำของของ นพ.บรรลุ ศิริพานิช นั้นไม่แพ้คนในวัยหนุ่มสาว จึงอดไม่ได้ที่จะถามถึงเคล็ดลับในการดูแลรักษาสุขภาพของคุณหมอท่านนี้ ซึ่งท่านเผยว่า จะต้องเริ่มจาก “การกิน” กล่าวคือ จะต้องรู้จักกิน “You Are What You Eat” โดยจะต้องรู้ว่า สรีระร่างกายของตนเองที่สมส่วนจะต้องเป็นอย่างไร ดังนั้น จึงไม่ควรกินจุบกินจิบ และเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา หลีกเลี่ยงการบริโภคสัตว์ใหญ่ และอิ่มก่อนที่กลไกในร่างกายจะบอกว่าอิ่ม โดยในช่วงเช้าจะรับประทานอาหารในปริมาณมากกว่าปกติ ขณะที่มื้อกลางวันจะลดลงมา ส่วนมื้อเย็นจะไม่รับประทานอาหารหนัก แต่จะรับประทานเพียงผลไม้เท่านั้น โดยไม่รับประทานอาหารเสริมแต่อย่างใด จากนั้น จึงออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย เช่น การเดิน และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญจะต้องทำสุขภาพจิตให้ดี โดยพยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
“ความเครียดมักเกิดจากความต้องการมาก ความสามารถน้อย จะทำให้เครียด แต่เมื่อไหร่ที่ความต้องการน้อย แต่ความสามารถมาก เราก็จะไม่เครียด เพราะความเครียดคือความต้องการในด้านต่างๆ ของมนุษย์ หารด้วยความสามารถนั่นเอง ซึ่งหากเราสามารถควบคุมตนเองให้ คิดดี ทำดี รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ สุขภาพดี รับรองว่าอายุยืนแน่นอน” นพ.บรรลุ กล่าว

• ผอ.สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุเผย หมอรักษาคนแก่ขาดแคลนหนัก
ขณะที่ นพ.นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข ได้แสดงความวิตกถึงการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทย โดยเฉพาะปัญหาโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ไขข้อ และมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งยังคงเป็นโรคที่มีแนวโน้มพบมากในผู้สูงอายุ ในขณะที่สถานพยาบาลของไทยที่จะรองรับการรักษาผู้สูงอายุแบบเฉพาะทางเช่น เดียวกับในต่างประเทศนั้นยังมีน้อยมาก เช่นเดียวกับบุคลากรทางการแพทย์ที่เรียกว่า “Geriatric Medicine” ทั่วประเทศนั้นมีเพียง 10 คนเท่านั้น ขณะที่จำนวนผู้ป่วยสูงอายุมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลาย เท่าตัว ดังนั้น โรงพยาบาลทั่วไปส่วนใหญ่จึงใช้แพทย์ทางด้านอายุรศาสตร์ในการดูแล รักษาผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุแทน
“อีกหน่อยเวลาเราไปโรงพยาบาล มองไปทางไหนเราก็จะเจอแต่ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ เพราะสังคมบ้านเราในปัจจุบันก็เป็นสังคมของผู้สูงอายุ ดังนั้น 30-40% ของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลตอนนี้ก็จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเสียส่วนใหญ่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ จะมีแนวทางในการดูแลรักษาที่แตกต่างจากผู้ป่วยในวัยอื่นๆ ด้วยสภาวะร่างกายที่เปลี่ยนแปลงและข้อจำกัดอื่นๆ ซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละบุคคล ดังนั้น จึงต้องรักษาแบบองค์รวมและมีการฟื้นฟูควบคู่กันไปด้วย
ด้วยเหตุนี้ เราจะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วในหลายประเทศ เขาจะตื่นตัวและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จึงมีการผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพื่อดูแลผู้สูงอายุเฉพาะด้านขึ้นมาเป็น จำนวนมากทั้งในญี่ปุ่นและอเมริกา แต่บ้านเราด้วยข้อจำกัดของการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ที่ยังไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับจำนวนประชากร ซึ่งเป็นปัญหาดั้งเดิมที่มีมานานแล้ว ดังนั้น การที่จะผลิตแพทย์เฉพาะทางสำหรับผู้สูงอายุจึงค่อนข้างยาก ด้วยเหตุนี้ สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุจึงมีหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางเผยแพร่องค์ความ รู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุให้แก่โรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไป” นพ.นันทศักดิ์ กล่าว

• ผลการศึกษาพบผู้สูงอายุร้อยละ 70 มีโรคมากกว่า1 โรค !!!
นอกจากนี้ นพ.นันทศักดิ์ ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุได้ ร่วมมือกับโรงพยาบาลศูนย์ของจังหวัดในประเทศไทยทั้ง 25 แห่งของกระทรวงสาธารณสุข และสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี โรงพยาบาลทรวงอก และโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ ในการอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุให้บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล
พร้อมทั้งปรับสภาพภูมิทัศน์ภายในโรงพยาบาลให้เหมาะสมสำหรับการรองรับผู้ป่วย สูงอายุ เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลต้นแบบในการนำร่องโครงการนี้ และช่วยให้ประชาชน ผู้สูงอายุมีสถานพยาบาลใกล้บ้านใกล้ชุมชน ที่เหมาะสมกับการรักษาโรคในผู้สูงอายุ มากที่สุด เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพในผู้สูงอายุจะพบได้บ่อย ทั้งนี้ เนื่องจากผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงที่ถดถอยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม
จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุ 1 ใน 4 คนจะมีปัญหาสุขภาพ ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้ และมีประชากรสูงอายุกว่าร้อยละ 70 ที่มีปัญหาภาวะโรคมากกว่า 1 โรค และจากการศึกษาของสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาต้องการรับการรักษาถึง 62 เปอร์เซ็นต์
ด้านทุกข์ทางใจและทุกข์ทางสังคมพบว่า ผู้สูงอายุไทยมีทุกข์ คือเหงาและซึมเศร้าจากการถูกทอดทิ้ง รู้สึกไร้ค่า มีความยากไร้ ภาระครอบครัว ปัญหาการทารุณกรรมที่ แฝงอยู่ และการขาดหลักประกันความมั่นคงทางสังคมด้านต่างๆในยามสูงอายุ โดยมีผู้ สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ถูกทอดทิ้ง
“เราต้องมองว่า ผู้สูงอายุไม่ใช่ภาระของสังคม แต่เป็นพลังของสังคม หรือที่เรียกกันว่า “พฤฒิพลัง (Active Aging)” ซึ่งทำประโยชน์ให้กับสังคมมามาก และเป็นปูชนียบุคคล ที่เราควรให้ความสำคัญและเข้ามาร่วมมือกันในการดูแล ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ เราคงร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการดูแล ผู้สูงอายุมากขึ้น เพื่อช่วยเยียวยาสภาพจิตใจของผู้สูงวัย และเป็นการแก้ปัญหาในระหว่างที่เรายังขาด แคลนสถานพยาบาลและบุคคลากรเฉพาะทาง” นพ.นันทศักดิ์ กล่าว

• ผู้สูงอายุดีเด่นแห่งชาติชี้ ผู้สูงอายุมีหน้าที่ช่วยกันพัฒนาคนรุ่นใหม่
ด้าน นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว วัย 98 ปี ปูชนียบุคคลด้านการแพทย์ของไทยซึ่งได้รับรางวัลผู้สูงอายุดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2551 กล่าวว่า สิ่งที่ผู้สูงอายุควรทำ คือให้ตระหนักและระลึกอยู่เสมอว่า ตนเองมีหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม และช่วยกันพัฒนาให้คนรุ่นใหม่ดีกว่าคนรุ่นเก่า ไม่ใช่คิดแต่เพียงว่าจะทำอย่างไรจึงจะมีเงินมากๆ เพราะบั้นปลายชีวิตของทุกคนนั้นหลีกหนีไม่พ้นความตาย ซึ่งถือเป็นเครื่องเตือนสติที่ดี ดังนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่จึงควรทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับส่วนรวม เพื่อทดแทนคุณแผ่นดินเกิด ดีกว่ามุ่งที่จะหาเงินแต่เพียงอย่างเดียว
“สิ่งใดๆ ในโลกนี้ล้วนเป็นอนิจจัง ความเป็นจริงคือ คนเราทุกคนจะต้องทรุดโทรม ลงไปทุกวัน เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ความจำก็ไม่ค่อยดี ร่างกายก็ไม่ค่อยดี ดังนั้น เราต้องระลึกอยู่เสมอว่า ความตายเป็นธรรมชาติ เราจึงต้องเตรียมตัวตายอย่างมีคุณค่า ด้วยการสร้างสรรค์ประโยชน์ต่างๆ ให้แผ่นดิน ให้คนรุ่นหลัง โดยการพัฒนาความรู้ของตนเองตลอดเวลา เพื่อนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง ในขณะเดียวกันเราก็ต้องทำตัวเองให้มีร่างกายที่แข็งแรงอยู่เสมอ ควบคู่ไปกับการทำจิตใจให้สะอาด งดเว้นจากอกุศลกรรมทุกประการ และมีสติในทุกอริยาบถ เพื่อให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้มากที่สุด” นพ.เสม กล่าว

• หมอเสมแนะดูแลคนแก่ตามวิถีพุทธ
นอกจากนี้ นพ.เสมยังเผยเคล็ดลับของการมีสุขภาพดีด้วยว่า ควรจะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และควรมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอรวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องไปหาสถานที่ออกกำลังกายให้เสียเงิน แต่ให้หาพื้นที่ที่เหมาะสมในบริเวณบ้านแทน และที่สำคัญ ลูกหลานควรหาเวลาพาผู้สูงอายุไปวัดเพื่อฟังเทศน์และทำบุญ เพื่อให้ศาสนาชำระล้างจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ เพราะธรรมะเป็นยาอายุวัฒนะที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุและผู้คนทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่ได้เกิดมาเป็นชาวพุทธ เพราะเป็นวิถีตามครรลองของพุทธศาสนิกชนที่ดี

• เจ้าคุณพิพิธฯ ชี้ อายุยืนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ “บุญ” และ “กรรม”
ส่วนพระราชวิจิตรปฏิภาณ (พระพิพิธธรรมสุนทร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม กล่าวว่า ผู้สูงอายุถือเป็นบุคคลที่สร้างคุณูปการให้กับประเทศชาติเป็นอย่างมาก ดังนั้น คนรุ่นหลังจึงควรให้ความเคารพและหมั่นใส่ใจดูแลผู้สูงอายุในบ้านให้ดีเหมือน กับ ที่ท่านดูแลเรา และหมั่นระลึกถึงพระคุณของท่านตลอดเวลา โดยเฉพาะพ่อแม่ ซึ่งเปรียบเสมือนพระในบ้าน ส่วนการที่จะทำให้มีอายุยืนยาวนั้นเจ้าคุณพิพิธกล่าวว่า ขึ้นอยู่กับบุญและกรรมที่แต่ละคนทำมา โดยท่านได้อนุมานจากคำสอนใน “จูฬกัมมวิภังคสูตร” อัน เป็นหลักปัจจุบันชาติของผู้มีอายุยืนดังนี้
1. มีความประพฤติดี
2. มีวิชาดี
3. มีเงินทองสำรองเลี้ยงชีวิต
4. เมื่อทำผิดต้องรู้จักขอโทษและให้อภัย
5. ได้รับอะไรต้องรู้จักชอบใจและให้พร
6. ไม่ทำตนเป็นคนเจ้าแง่แสนงอน
7. ก่อนนอนและตื่นนอนสวดมนต์ไหว้พระ
8. ไม่ละเรื่องทานศีลภาวนา
ทั้งนี้ เจ้าคุณพิพิธฯ ยังได้ให้ข้อคิดทิ้งท้ายว่า วัฏจักรชีวิตของมนุษย์ล้วนเป็นธรรมดาของโลก ดังนั้น ตราบที่ยังมีชีวิต ทุกคนควรหมั่นทำความดีก่อนที่จะลาลับจากโลกนี้ไป เพราะความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนหลีกหนีไม่พ้น โดยเฉพาะการดูแลพ่อแม่ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของลูกที่ดี เพราะความดีเหล่านี้จะช่วยส่งให้ชีวิตแต่ละคนไปสู่ภพภูมิที่ดีเมื่อถึงเวลา ที่ลาจากโลกนี้ไป และยังมีความดีหลงเหลือให้ผู้คนสรรเสริญและจดจำ
เคล็ดลับชะลอความชรา
1. กินอาหารดี มีประโยชน์ และหลากหลาย
- หลีกเลี่ยงอาหารที่กินแล้วเจ็บป่วย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมเร็ว ได้แก่ อาหารที่มีไขมันสูง อาหารหวานจัด อาหารเค็มจัด อาหาร ปนเปื้อนสารพิษ เป็นต้น อย่าตามใจปากจนเกินไป และอย่ากินให้อิ่มจนเกินไป
- กินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่และหลากหลาย เน้นปลา ผัก ผลไม้ เช่น บรอคโคลี่ มะละกอ รวมทั้งธัญพืช เช่น เมล็ดทานตะวัน และถั่วต่างๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่คอยทำลายเซลล์ของคนเรา แหล่งอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คือผักและผลไม้ที่มีสีส้ม สีเหลือง สีแดง เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ เป็นต้น
- เครื่องดื่มหลายชนิดก็มีสารต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน เช่น ชาเขียว กระเจี๊ยบ มะตูม ใบบัวบก เก๊กฮวย เป็นต้น และอย่าลืมดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว รวมทั้งหลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา และยาเสพติด ซึ่งเป็นตัวบ่อนทำลายร่างกายของเราให้เสื่อมเร็วกว่าวัยอันควร
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- การออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สมส่วน และกระชับ ไม่หย่อนยานช่วยให้ระบบโลหิตไหลเวียนดีขึ้น ทำให้ผิวหนังและอวัยวะต่างๆ ได้รับสารอาหารและออกซิเจนอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังทำให้เกิดการหลั่งสารแห่งความสุขที่เรียกว่า “เอนดอร์ฟิน” ทำให้รู้สึกสดชื่นแจ่มใส
3. พักผ่อนให้เพียงพอ
- ในช่วงที่เรานอนหลับ จะเป็นเวลาที่ร่างกายได้พักและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และยังเป็นช่วงเวลาที่เราได้หยุดขบคิดเรื่องราวปัญหาต่างๆ ผู้ที่ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจึงมีหน้าตาสดใส จิตใจเบิกบาน ดังนั้นควรให้เวลากับการนอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้น
4. ถนอมผิวและป้องกันริ้วรอยเหี่ยวย่น
- แสงแดดเป็นตัวการทำลายผิว พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดแรงๆ ในช่วงเวลา 10.00-15.00 น. หากเลี่ยงไม่ได้ควรปกป้องผิวด้วยครีมกันแดดที่มีค่า SPF15 ขึ้นไป โดยทาก่อนออกแดดประมาณ 30 นาที และเมื่อต้องอยู่กลางแดด ก็ควรสวมแว่น กันแดด หมวก หรือกางร่ม เพื่อลดอาการหยีตา ซึ่งจะเพิ่มรอยตีนกาบริเวณหางตาได้ ใบหน้า ลำคอ และมือ เป็นส่วนที่ฟ้องอายุของคนเราได้ดีที่สุด ดังนั้น อย่าลืมดูแลถนอมผิวพรรณในส่วนนี้ให้ดี นอกจากนี้ ท่านอนก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ควรเปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ เพื่อป้องกันผิวหนังย่นจากรอยทับ

คาถากันแก่
คลายเครียด
ความตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ร่วมกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ จะช่วยกันซ้ำเติมให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมเร็วขึ้น หากไม่อยากแก่เร็ว ก็จงอย่าเครียดเกินไปนัก หาเวลาพักผ่อนจากการทำงานประจำ ทำงานอดิเรกที่คุณชื่นชอบจะช่วยผ่อนคลายความเบื่อหน่ายจากงานประจำได้ วางปัญหาต่างๆ ลงชั่วขณะ ให้เวลากับครอบครัวและเพื่อนให้มากขึ้น หลีกหนีมลพิษในเมืองกรุง ไปท่อง เที่ยวชื่นชมธรรมชาติ และหาเวลาอ่านหนังสือบำรุงสมองบ้าง
ม อ ง โ ล ก ใ น แ ง่ ดี
การมองโลกในแง่ดี จะทำให้เรามีจิตใจที่เบิกบานแจ่มใส พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ รู้จักให้อภัย ไม่เก็บความขุ่นข้องหมองใจไว้ทำร้าย ตัวเอง จำไว้ว่าการยิ้มทำให้เกิดริ้วรอยน้อยกว่าหน้าบึ้งหน้างอ ที่สำคัญก็คือ อย่ายึดติดกับอดีตที่ผ่านไป และอย่ากังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ถ้ามัวหมกมุ่นอยู่กับมัน คุณจะได้แต่ผมหงอก ผมร่วง ตีนกา ขอบตาที่ดำคล้ำ และโรคที่รุมเร้า จงอยู่กับปัจจุบัน ทำวันนี้ให้ดีที่สุด และพร้อมยิ้มรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น
มี ค ว า ม รั ก
ความรักทำให้เรากินข้าวอร่อย นอนหลับสบาย อารมณ์ดี สดชื่น กระชุ่มกระชวย มีพลังสร้างสรรค์ มีกำลังใจต่อสู้ปัญหาฟันฝ่าอุปสรรค มองทุกอย่างงดงามแม้เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย เช่น ดอกหญ้าข้างทางก็ยังว่าสวย
คนที่ไม่มีความรัก ก็เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำหล่อเลี้ยง รอวันแต่จะเหี่ยวเฉาและร่วงโรยไปในที่สุด
ต้ อ ง ไ ม่ อ ย า ก แ ก่
ข้อนี้สำคัญมาก บอกกับตัวเองเสมอว่า “ฉันยังไม่แก่” เมื่อตั้งใจมั่นได้อย่างนี้แล้ว คุณก็จะมีกำลังใจปฏิบัติตามเคล็ดลับและคาถาทั้งหมดที่กล่าวมา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณจะทำทุกอย่างเต็มที่แล้ว ในที่สุดวันหนึ่งคุณก็ต้องแก่อย่างหนีไม่พ้น ควรยอมรับความจริง อยู่กับความจริง แล้วงามไปตามวัย ให้กำลังใจตัวเองว่า ยิ่งอายุมากขึ้น คุณยิ่งเรียนรู้อะไรได้มากขึ้น ฉลาดขึ้นประสบความสำเร็จในชีวิตมากขึ้น แล้วชื่นชมตัวเองว่า “ฉันแก่อย่างมีคุณค่า”

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 101 เม.ย. 52 โดยฟาริดา เหล่าพัชรกุล)

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รายงานพิเศษ : เทคนิคการคลายเครียดอย่างได้ผล

ความเครียด เป็นเรื่องของร่างกายและจิตใจ ที่เกิดการตื่นตัวเตรียมรับกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเราคิดว่าไม่น่าพอใจ เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสเกินกำลังทรัพยากรที่เรามีอยู่ หรือเกินความสามารถของเราที่จะแก้ไขได้ ทำให้รู้สึกหนักใจ เป็นทุกข์ และพลอยทำให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างกายและพฤติกรรมตามไปด้วย
ความเครียดนั้นเป็นเรื่องที่มีกันทุกคน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา การคิด และการประเมินสถานการณ์ของแต่ละคน ถ้าเราคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ร้ายแรง เราก็จะรู้สึกเครียดน้อย หรือแม้เราจะรู้สึกว่าปัญหานั้นร้ายแรง แต่เราพอจะรับมือไหว เราก็จะไม่เครียดมาก แต่ถ้าเรามองว่าปัญหานั้นใหญ่ แก้ไม่ไหว และไม่มีใครช่วยเราได้ เราก็จะเครียดมาก
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่าภายในปี 2020 ปัญหาสุขภาพจิตจะเป็นปัญหาที่น่าห่วงเป็นอันดับสอง ภาวะโรคเครียดเป็นปัญหาต่อสุขภาพได้รอบด้าน ตั้งแต่ผลข้างเคียงเล็กๆ น้อยๆ อาทิ กระเพาะอาหารอักเสบ อาการเจ็บป่วยออดๆแอดๆ กระทั่งรุนแรงถึงแก่ชีวิต เช่น การฆ่าตัวตาย ซึ่งปัญหานี้ถือเป็นปัญหารุกรานสุขภาพทั้งคนไทยและคนทั่วโลกเป็นอย่างมากใน ปัจจุบัน
ศ.เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 28,500 คน พบว่าคนไทยเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 54.3% มีสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ 28.3% อยู่ในเกณฑ์ดี และประมาณ 17.4% หรือ เกือบ 1 ใน 5 เสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิต และความเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตเริ่มสูงมากขึ้น เมื่อมีอายุมากขึ้น
ผู้หญิงเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหัวหน้า ครัวเรือนที่เป็นผู้หญิงจะยิ่งมีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาชีพไม่มั่นคงทางด้าน รายได้ คือ กลุ่มรับจ้างทั่วไป กรรมกร พนักงาน ลูกจ้างเอกชน มีความเสี่ยงที่มีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าอาชีพที่มีความมั่นคงกว่า อาทิเช่น กลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ประมาณ 3 เท่า
โดยสรุปแล้ว ขณะนี้คนไทยราว 10 ล้านคนกำลังประสบปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเครียด
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอเทคนิคในการคลายเครียดไว้ 6 วิธี (ซึ่งไม่จำเป็นต้องฝึกทั้ง 6 วิธี) ดังนี้

• การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ความเครียดมีผลทำให้กล้ามเนื้อหดตัว สังเกตได้จากอาการหน้านิ่วคิ้วขมวด กำหมัด กัดฟัน ฯลฯ การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดอาการเจ็บปวด เช่น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ เป็นต้น การฝึกการคลายกล้ามเนื้อจะช่วยให้อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลดลง ในขณะฝึก จิตใจจะจดจ่ออยู่กับการคลายกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ทำให้ลดการคิดฟุ้งซ่าน และวิตกกังวล จิตใจจะมีสมาธิมากขึ้นกว่าเดิมด้วย
วิธีการฝึก เลือกสถานที่ที่สงบ ปราศจากเสียงรบกวน นั่งในท่าที่สบาย คลายเสื้อผ้า ให้หลวม ถอดรองเท้า หลับตา ทำใจให้ว่าง ตั้งสมาธิอยู่ที่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ 10 กลุ่มดังนี้
1. มือและแขนขวา โดยกำมือ เกร็งแขนแล้วคลาย
2. มือและแขนซ้าย โดยทำเช่นเดียวกัน
3. หน้าผาก โดยเลิกคิ้วสูงแล้วคลาย ขมวดคิ้วแล้วคลาย
4. ตา แก้ม จมูก โดยหลับตาแน่น ย่นจมูกแล้วคลาย
5. ขากรรไกร ลิ้น ริมฝีปาก โดยกัดฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานปากแล้วคลาย เม้นปากแน่น แล้วคลาย
6. คอ โดยก้มหน้าให้คางจดคอแล้วคลาย เงยหน้าจนสุดแล้วคลาย
7. อก ไหล่ และหลัง โดยหายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้แล้วคลาย ยกไหล่สูงแล้วคลาย
8. หน้าท้อง และก้น โดยแขม่วท้องแล้วคลาย ขมิบก้นแล้วคลาย
9. เท้าและขาขวา โดยเหยียดขา กดนิ้วเท้าแล้วคลาย เหยียดขา กระดกปลายเท้าแล้วคลาย
10. เท้าและขาซ้าย โดยทำเช่นเดียวกัน
ข้อแนะนำ ระยะเวลาที่เกร็งกล้ามเนื้อ ให้น้อยกว่าระยะที่ผ่อนคลาย เช่น เกร็ง 3 - 5 วินาที ผ่อนคลาย 10-15 วินาที เป็นต้น เวลากำมือ ระวังอย่าให้เล็บจิกเนื้อตัวเอง ควรฝึกประมาณ 8-12 ครั้ง เพื่อให้เกิดความชำนาญ
เมื่อคุ้นเคยกับการผ่อนคลายแล้ว ให้ฝึกคลายกล้ามเนื้อได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเกร็งก่อน อาจเลือกคลายกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนที่เป็นปัญหาเท่านั้นก็ได้ เช่น บริเวณใบหน้า ต้นคอ หลัง ไหล่ เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องคลายกล้ามเนื้อทั้งตัว จะช่วยให้ใช้เวลาน้อยลง และสะดวกมากขึ้น

• การฝึกการหายใจ
ตามปกติคนทั่วไปจะหายใจตื้นๆ โดยใช้กล้ามเนื้อหน้าอกเป็นหลัก ทำให้ได้ออกซิเจน ไปเลี้ยงร่างกายน้อยกว่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาเครียด คนเราจะยิ่งหายใจถี่และตื้นมากกว่าเดิม ทำให้เกิดอาการถอนหายใจเป็นระยะๆ เพื่อให้ได้ออกซิเจนมากขึ้น การฝึกหายใจช้าๆ ลึกๆ โดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมบริเวณท้อง จะช่วยให้ร่างกายได้อากาศ เข้าสู่ปอดมากขึ้น เพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อหน้าท้องและลำไส้ด้วย การฝึกหายใจอย่างถูกวิธีจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง สมองแจ่มใส เพราะได้ออกซิเจนมากขึ้น และการหายใจออกอย่างช้าๆ จะทำให้รู้สึกว่าได้ปลดปล่อยความเครียดออกไปจากตัวจนหมดสิ้น
วิธีการฝึก นั่งในท่าที่สบาย หลับตา เอามือประสานไว้บริเวณท้อง ค่อยๆ หายใจเข้า พร้อมๆกับนับ 1 ถึง 4 เป็นจังหวะช้าๆ 1..2..3..4.. ให้มือรู้สึกว่าท้องพองออก กลั้นหายใจเอาไว้ชั่วครู นับ 1 ถึง 4 เป็นจังหวะช้าๆ เช่นเดียวกับเมื่อหายใจเข้า ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก โดยนับ 1 ถึง 8 อย่างช้าๆ 1..2..3..4..5..6..7..8.. พยายามไล่ลมหายใจออกมาให้หมด สังเกตว่าหน้าท้องแฟบลง ทำซ้ำอีก โดยหายใจเข้าช้าๆ กลั้นไว้ แล้วหายใจออก โดยช่วงที่หายใจออกให้นานกว่าช่วงหายใจเข้า
ข้อแนะนำ การฝึกการหายใจ ควรทำติดต่อกันประมาณ 4-5 ครั้ง ควรฝึกทุกครั้งที่รู้สึกเครียด รู้สึกโกรธ รู้สึกไม่สบายใจ หรือฝึกทุกครั้งที่นึกได้ ทุกครั้งที่หายใจออกให้รู้สึกได้ว่าผลักดันความเครียดออกมาด้วยจนหมด เหลือไว้แต่ความรู้สึกโล่งสบายเท่า นั้น ในแต่ละวันควรฝึกการหายใจที่ถูกวิธีให้ได้ประมาณ 40 ครั้ง แต่ไม่จำเป็นต้องทำติดต่อในคราวเดียวกัน

• การทำสมาธิ
การทำสมาธิถือเป็นการผ่อนคลายความเครียดที่ลึกซึ้งที่สุด เพราะจิตใจจะสงบ และปลอดจากความคิดที่ซ้ำซาก ฟุ้งซ่าน วิตกกังวล เศร้า โกรธ ฯลฯ หลักของการทำสมาธิ คือการเอาใจไปจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งในที่นี้จะใช้การนับลมหายใจเป็นหลัก และยุติการคิดเรื่องอื่น ๆ อย่างสิ้นเชิง หากฝึกสมาธิเป็นประจำ จะทำให้จิตใจเบิกบาน อารมณ์เย็น สมองแจ่มใส หายเครียด จนตัวเองและคนใกล้ชิดรู้สึกถึงความ เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีนี้ได้อย่างชัดเจน
วิธีการฝึก
ขั้นที่ 1 นั่งในท่าที่สบาย จะเป็นการนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ หรือนอนก็ได้ในกรณีที่เป็นผู้ป่วย หลับตา หายใจเข้า หายใจออกช้าๆ เริ่มนับลมหายใจเข้าออกดังนี้
หายใจเข้านับ 1 หายใจออกนับ 1 หายใจเข้านับ 2 หายใจออกนับ 1 นับไปเรื่อยๆ จนถึง 5 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่ นับจนถึง 6 แล้วเริ่ม 1 ใหม่ นับจนถึง 7 แล้วเริ่ม 1 ใหม่ นับจนถึง 8 แล้วเริ่ม 1 ใหม่ นับจนถึง 9 แล้วเริ่ม 1 ใหม่ นับจนถึง 10 ครบ 10 ถือเป็น 1 รอบ แล้วเริ่ม 1-5 ใหม่ ในการฝึกครั้งแรกๆ อาจยังไม่มีสมาธิพอ ทำให้นับเลขผิดพลาด หรือบางทีอาจมีความคิดอื่นแทรกเข้ามาทำให้ลืมนับเป็นบางช่วง ถือเป็นเรื่องปกติ ต่อไปให้พยายามตั้งสติใหม่ เมื่อมีความคิดอื่นแทรกเข้ามา ก็ให้รีบรู้ แล้วปล่อยให้ผ่านไป ไม่เก็บมาคิดต่อ ในที่สุด ก็จะสามารถนับเลขได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ผิดพลาด เพราะมีสมาธิดีขึ้น
ขั้นที่ 2 เมื่อจิตใจสงบมากขึ้น ให้เริ่มนับเลขแบบเร็วขึ้นไปอีกคือ หายใจเข้านับ 1 หายใจออกนับ 2 หายใจเข้านับ 3 หายใจออกนับ 4 หายใจเข้านับ 5 หายใจออกนับ 1 ใหม่ จนถึง 6, 7, 8, 9, 10 ตามลำดับ
ขั้นที่ 3 เมื่อนับลมหายใจได้เร็วและไม่ผิดพลาด แสดงว่าจิตใจสงบมากแล้ว
ขั้นที่ 4 คราวนี้ให้ใช้สติรับรู้ลมหายใจเข้าออกเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องนับเลขอีก และ ไม่คิดเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น มีแต่ความสงบเท่านั้น
ข้อแนะนำ ควรฝึกสมาธิเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะก่อนนอน จะช่วยให้นอนหลับได้ดี ไม่มีฝันร้ายด้วย

• การจินตนาการ
การใช้จินตนาการ เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่จะเบี่ยงเบนความสนใจจากสถานการณ์อันเคร่งเครียดใน ปัจจุบัน ไปสู่ประสบการณ์เดิมในอดีตที่เคยทำให้จิตใจสงบและเป็นสุขมาก่อน การย้อนระลึกถึงประสบการณ์ที่สงบสุขในอดีต จะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายละวางจากความเครียดได้ระยะหนึ่ง การใช้จินตนาการเป็นวิธีการคลายเครียดได้ชั่วคราว ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่สาเหตุ จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้บ่อยๆ ในขณะจินตนาการต้องพยายามให้เหมือนจริงที่สุด คล้ายจะสัมผัสได้ครบทั้งภาพ รส กลิ่น เสียง และสัมผัส เพื่อจะได้เกิดอารมณ์คล้อยตาม จนรู้สึกสุขสงบได้เหมือนอยู่ในสถานการณ์นั้นจริงๆ
วิธีการฝึก เลือกสถานที่ที่สงบ เป็นส่วนตัว ปลอดจากการรบกวนของผู้อื่น นั่งในท่าที่สบาย ถ้าได้เก้าอี้ที่มีพนักพิงศีรษะด้วยจะเป็นการดีมาก หลับตาลง เริ่มจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่สงบสุขในอดีต เช่น การนั่งดูพระอาทิตย์ตก การดำน้ำชมธรรมชาติ การเดินชมสวนดอกไม้ การนั่งตกปลาริมตลิ่ง เมื่อจินตนาการจนจิตใจสงบ และเพลิดเพลินแล้ว ให้บอกสิ่งดีๆ กับตัวเองว่า ฉันเป็นคนดี ฉันเป็นคนเก่ง ฉันไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรคใดๆ ฉันสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างแน่นอน นับ 1...2...3... แล้วค่อยๆ ลืมตาขึ้น คงความรู้สึกสงบเอาไว้ พร้อมที่จะต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคในชีวิตต่อไป

• การคลายเครียดจากใจสู่กาย
ตามหลักวิชาการด้านสุขภาพจิต ถือกันว่า “จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว” จิตมีอำนาจที่จะสั่งร่างกายได้
การคลายเครียดจากใจสู่กาย จึงเป็นเทคนิคที่ผู้ฝึกสามารถผ่อนคลายได้โดยการใช้ใจสั่งหรือบอกกับตัวเอง ด้วยคำพูดง่าย ๆ แต่จะได้ผลถึงการผ่อนคลายในระดับจิตใต้สำนึก คำสั่งที่ใช้จะเน้นให้อวัยวะต่างๆ รู้สึกหนักและอบอุ่น เนื่องจากในภาวะเครียด กล้ามเนื้อ จะเกร็งตัว และอุณหภูมิจะลดต่ำลง การบอกกับตัวเองให้กล้ามเนื้อคลายตัวจนรู้สึกหนัก และทำให้ร่างกายรู้สึกอุ่นขึ้น จึงเป็นการช่วยคลายเครียดได้เป็นอย่างดี
วิธีการฝึก ก่อนการฝึกเทคนิคนี้ ผู้ฝึกควรฝึกการหายใจอย่างถูกวิธี และฝึกการจินตนาการให้ชำนาญเสียก่อน จึงจะฝึกวิธีนี้อย่างได้ผล
การปฏิบัติขณะฝึก นั่งในท่าที่สบาย หลับตา หายใจเข้า หายใจออกช้าๆ ใช้กล้ามเนื้อ กระบังลมช่วยในการหายใจ เวลาหายใจเข้า จะรู้สึกว่าท้องพองออก ส่วนเวลาหายใจออกจะรู้สึกว่าท้องแฟบ หายใจไปเรื่อยๆ จนรู้สึกผ่อนคลาย จากนั้นใหัจินตนาการถึงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยบอกอวัยวะนั้น ซ้ำๆ กัน 3 ครั้ง ตามลำดับดังนี้ แขนขวาของฉันหนัก แขนซ้ายของฉันหนัก ขาขวาของฉันหนัก ขาซ้ายของฉันหนัก คอและไหล่ของฉันหนัก แขนขวาของฉันอุ่น แขนซ้ายของฉันอุ่น ขาขวาของฉันอุ่น ขาซ้ายของฉันอุ่น คอและไหล่ของฉันอุ่น หัวใจของฉันเต้นอย่างสงบและสม่ำเสมอ ฉันหายใจได้อย่างสงบและสม่ำเสมอ ท้องของฉันอุ่นและสงบ หน้าผากของฉันสบายและสงบ ... เมื่อทำครบแล้ว ให้ค่อยๆ ลืมตาขึ้น ขยับแขนขาให้สบาย และคงความรู้สึกสดชื่นไว้ พร้อมที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ต่อไป

• การนวดคลายเครียด
ความเครียดเป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ปวดต้นคอ ปวดหลัง เป็นต้น
การนวดจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง สบายตัว หายเครียด และลดอาการเจ็บปวดต่างๆ ลง การนวดที่จะนำเสนอในที่นี้เป็นการนวดไทย ซึ่งสามารถนวดได้ด้วยตนเอง และเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวด ศีรษะ ปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ บ่า และไหล่ อันมีสาเหตุมาจากความเครียด
ข้อควรระวัง ไม่ควรนวดขณะที่กำลังเป็นไข้ หรือกล้ามเนื้อบริเวณนั้นอักเสบ หรือเป็น โรคผิวหนัง ฯลฯ และควรตัดเล็บให้สั้นก่อนนวดทุกครั้ง
หลักการนวดที่ถูกวิธี
1. การกด ให้ใช้ปลายนิ้วที่ถนัด ได้แก่ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ หรือนิ้วกลาง
2. ในที่นี้การนวดจะใช้การกด และการปล่อยเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้เวลากดแต่ละครั้งประมาณ 10 วินาที และใช้เวลาปล่อยนานกว่าเวลากด
3. การกดให้ค่อยๆ เพิ่มแรงทีละน้อย และเวลาปล่อยให้ค่อยๆ ปล่อย
4. แต่ละจุด ควรนวดซ้ำประมาณ 3-5 ครั้ง
จุดที่นวดมีดังนี้
1. จุดกลางระหว่างคิ้ว ใช้ปลายนิ้วชี้ หรือนิ้วกลางกด 3-5 ครั้ง
2. จุดใต้หัวคิ้ว ใช้ปลายนิ้วชี้ หรือนิ้วกลางกด 3-5 ครั้ง
3. จุดขอบกระดูกท้ายทอย จุดกลาง ใช้นิ้วหัวแม่มือกด 3-5 ครั้ง จุดสองจุดด้านข้าง ใช้วิธีประสานมือบริเวณท้ายทอย แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดจุดสองจุดพร้อมๆ กัน 3-5 ครั้ง
4. บริเวณต้นคอ ประสานมือบริเวณท้ายทอย ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดตามแนว สองข้างของกระดูกต้นคอ โดยกดไล่จากตีนผมลงมาถึงบริเวณบ่า 3-5 ครั้ง
5. บริเวณบ่า ใช้ปลายนิ้วมือขวาบีบไหล่ซ้ายไล่จากบ่าเข้าหาต้นคอ ใช้ปลายนิ้วมือซ้าย บีบไหล่ขวาไล่จากบ่าเข้าหาต้นคอ ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
6. บริเวณบ่าด้านหน้า ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากดจุดใต้กระดูกไหปลาร้า จุดต้นแขน และจุดเหนือรักแร้ของบ่าซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มืซ้ายกดจุดเดียวกันที่บ่าขวา ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
7. บริเวณบ่าด้านหลัง ใช้นิ้วที่ถนัดของมือขวาอ้อมไปกดจุดบนและจุดกลางของกระดูกสะบัก และจุดรักแร้ด้านหลังของบ่าซ้าย ใช้นิ้วที่ถนัดของมือซ้ายกดจุดเดียวกันที่บ่าขวา ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

• ผลดีจากการฝึกคลายเครียด
ขณะฝึก - อัตราการเผาเลาญอาหารในร่างกายลดลง อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง อัตราการหายใจลดลง ความดันโลหิตลดลง ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อลดลง
หลังการฝึกใจเย็นขึ้น ความวิตกกังวลลดลง สบายใจมากขึ้น สมาธิดีขึ้น ความจำดีขึ้น ความสัมพันธ์กับผู้อื่นดีขึ้น สมองแจ่มใส คิดแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้นกว่าเดิม

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 102 พ.ค. 52 โดยมุทิตา)

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


:b13: :b13: อันสุดท้าย โผล่มาได้ไงขอรับ ท่านธรรมบุตร แปะผิดรึปะคับ.. :b13: :b13: :b15:


5555555555...เอิ๊กxxx..!! :b23: :b15: :b13: :b32:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


-dd- เขียน:
:b13: :b13: อันสุดท้าย โผล่มาได้ไงขอรับ ท่านธรรมบุตร แปะผิดรึปะคับ.. :b13: :b13: :b15:


5555555555...เอิ๊กxxx..!! :b23: :b15: :b13: :b32:


:b23: ก็ตั้งใจว่าจะแปะอีกกระทู้ ไหนๆมาอยู่นี่แล้ว ก็แล้วกันไป :b32: อิอิ เผื่อไว้เข้าพรรษาอีกรอบ เอิ๊ก... จังสี้มันต้องถอน นะครับท่าน dd :b22:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


เอ แต่ดูแบบ positive ว่ายายคงดื่มน้ำชาก้อได้นิครับ อิอิ น้ำช้าชา :b13: :b13: :b4: :b4:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


-dd- เขียน:
เอ แต่ดูแบบ positive ว่ายายคงดื่มน้ำชาก้อได้นิครับ อิอิ น้ำช้าชา :b13: :b13: :b4: :b4:


:b12: มองโลกในแง่ดีจัง ท่านดีดี อืม นับถือ นับถือ :b32:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 03:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะ ในการครองเรือน


ความปรารถนาของผู้ครองเรือน ย่อมปรารถนาที่จะให้ชีวิตในครอบครัวราบรื่นยาวนาน ไม่อยากให้ครอบครัวแตกแยก เกิดความขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้ง หรือไม่อยากให้เกิดปัญหา ใด ๆ ขึ้นใน ครอบครัว แต่ก็ยังมีครอบครัวอีกไม่น้อยที่แตกแยก หย่าร้าง มีปัญหาสารพัด เพราะความโกรธ ความหลง ความรัก ความหึงหวง ความอิษฉาริษยา การข่มขืนและล่วงเกินทางจิตใจ การไม่ซื่อสัตย์จริงใจ คิด นอกใจกัน ความจริงแล้วสิ่งไม่ปรารถนาเหล่านี้สามารถที่จะป้องกันและแก้ไขไม่ให้เกิด ขึ้นได้ ถ้าทุกคนมี คุณธรรม มีธรรมะสำหรับผู้ครองเรือนที่เรียกว่า ฆราวาสธรรม หมายถึง ธรรมะของผู้ครองเรือน เป็น ข้อปฏิบัติที่จะทำให้ผู้ครองเรือนมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ซึ่งมีด้วยการ 4 ประการคือ

1. สัจจะ คือ ความซื่อสัตย์ ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อกัน ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่ฝืนทำชั่วทั้งปวงและซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น โดยเฉพาะคู่ชีวิตของเรา ไม่คิดนอกใจ ไม่โกหกหลอกลวง มีความจริงใจ บริสุทธิ์ใจ มีความรับผิดชอบ ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามตามสัจจะแห่งธรรม
2. ทะมะ คือ ความข่มใจ ฝึกตนเองให้ข่มใจไม่ให้โกรธ ข่มใจไม่ให้หลงมัวเมาในสิ่ง ไม่ดี สิ่งที่จะเป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบสุขขึ้นในครอบครัว สิ่งใดที่เห็นว่าเป็นสิ่งไม่ดี ต้องข่มใจที่จะไม่ทำ ข่มใจที่จะไม่ให้เกิด ข่มใจในสิ่งที่เป็นอบายมุข
3. ขันติ ความอดทน ต้องมีความอดทนต่อความยากลำบากที่เกิดขึ้นจากการอยู่ร่วมกับคนอื่น อดทนต่อสิ่งที่เกิดในครอบครัว อดทนต่อความยากลำบากในการประกอบอาชีพ การเลี้ยงดูบุตรหลาน และญาติพี่น้องที่อยู่ในครอบครัว อดทนต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่สร้างความลำบาก ขัดเคืองให้เกิดขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ
4. จาคะ คือ เสียสละ เสียสละทรัพย์สินเงินทอง เสียสละความสุขส่วนตัวให้กับผู้อื่น ซึ่งเป็น ผู้มีพระคุณ ผู้ที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ผู้ที่ด้อยโอกาส ผู้ที่มีฐานะยากจน ลำบากยิ่งกว่าเรามีใจกว้างขวางเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อทุกคนที่ร่วมสุขร่วม ทุกข์ด้วยกันในครอบครัว ในท้องถิ่น หมู่บ้าน และประเทศชาติบ้านเมือง
หากทุกคนในครอบครัวมีคุณธรรมทั้ง 4 ข้อ คือ มีความสัตย์ มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ สุจริตต่อกัน รู้จักข่มจิตข่มใจไม่ให้โลภ หลง อิจฉา ริษยา ข่มใจไม่ให้ลุ่มหลงในอบายมุข ตลอดทั้งสิ่งเสพติด มีความอดทนต่อความยากลำบาก ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความขยันขันแข็งในการหาเลี้ยงชีพ และรู้จักการให้ การเสียสละ มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อบุคคลที่มีพระคุณ ลูกหลาน ญาติพี่น้องและผู้ที่ด้อยกว่า ครอบครัว ชุมชน และสังคมจะสงบสุข ร่มเย็นเป็นสุข ครอบครัวที่ล้มเหลวแตกแยก สังคมที่วุ่นวายเดือดร้อน หาความสุขไม่ได้ ก็เพราะบุคคลขาดฆราวาส

ขอขอบคุณที่มา - http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/41005/41005-04b.htm

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกิดมาทั้งทีทำดี 3 กรรม


ทุกท่านที่เกิดมาเป็นคนนั้นจะทำอะไรถึงจะดี ก็จะขอสรุปว่า การที่เราเกิดมาเป็นคนนั้นไม่ใช่ดีเฉพาะโลกเดียว ดีมันต้องดี 2 โลก โลกที่แล้วไม่ต้องไปพูดถึง แต่ว่าโลกนี้และโลกหน้า "สุขในโลกนี้ และดีในโลกหน้า" จะทำอย่างไร เรื่องนิพพานก็ยังไม่อยากพูดถึง

"สุขในโลกนี้ และดีในโลกหน้า" ขอสรุปว่า "เกิดมาทั้งทีทำดี 3 กรรม เป็นทุนหนุนนำตายแล้วไปสวรรค์" นี่คือ "สุขในโลกนี้ และดีในโลกหน้า"

"ดี 3 กรรม" คืออะไร 1. กรรมกิจ 2. กรรมบท 3 . กรรมฐาน

"กรรมกิจ" ได้แก่ หน้าที่การงานต้องดี ต้องมีความรู้ รู้แล้วเป็น คือ ไม่ใช่รู้แล้วไม่เป็น ประเภทความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด เมื่อเราทำกรรมกิจในฐานะที่เราเป็นกรรมกร คือทำหน้าที่การงาน ก็ต้องทำให้ประสบความสำเร็จ คนที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการงานนั้น ก็มีเงินมีทองใช้จ่ายใช้สอยเป็นทุน อย่างนี้ "อยู่ก็ไม่ร้อน นอนก็ไม่ทุกข์" ลูกเมียก็สบาย ลูกผัวก็สบาย ดังนั้นเรื่องกรรมกิจนี้ก็หมายถึงว่า
" ทำแล้วมีเงินทองอย่างสมบูรณ์ " ก็มีความสุข


"กรรมบท" ข้อนี้เป็นข้อที่พัฒนาตนเองไปสู่ความเคารพนับถือ ได้แก่ มีศีล กรรมบทไม่ต้องไปพูดถึงอะไรมาก คือพูดถึง "ศีล" อย่างเดียว อย่างไรก็ตามไม้มีดอกผล คนต้องมีศีล เราจึงเห็นว่าศีลนั้นสำคัญ
1. ศีลส่งทำให้สูง 3. ศีลนำทำให้รวย
2. ศีลปรุงทำให้สวย 4. ศีลช่วยทำให้รอด
นี่ก็คือการเกิดมาเป็นคนต้องมีศีล เพราะศีลเป็นบันไดทองของชีวิต ทำให้เราได้รับความเคารพนับถือ คนไม่มีศีลนั้นใครจะไหว้ การจัดลำดับของคนนั้นเขาเรียกจัดลำดับตามศีล ไม่มีศีล เขาก็เรียก "ไอ้" เรียก "อี" แต่มีศีลเขาก็เรียก "พ่อ" เรียก "แม่" เรียก "คุณ" ดังนั้น กรรมบทเรื่อง "ศีล" เป็นเรื่องสำคัญ เป็นขั้นที่ 2


และสุดท้ายอีกกรรมคือ "กรรมฐาน" กรรมฐานคือ "สมถกรรมฐาน" ใจต้องนิ่ง ใจต้องแน่ ใจจะได้ไม่เน่า และเรื่องของวิปัสสนากรรมฐาน ต้องสว่างไม่ใช่มืดบอด เมื่อเรารู้เรื่องกรรมฐาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ไตรลักษณ์" ให้เห็นว่า
"อนิจจัง….ไม่เที่ยง"
"ทุกขัง….คงสภาพอยู่ไม่ได้"
"อนัตตา….ไม่ใช่ของเรา ต้องแตกสลายหายไปทุกคน"

ถ้า " 3 กรรม" นี้แล้ว "กรรมกิจ กรรมบท กรรมฐาน" ถือว่าเป็น "กรรมที่สมบูรณ์แบบ" อยู่ก็สบาย ตายก็ไปสู่สุคติ พระพุทธเจ้าสรรเสริญสำหรับบุคคลที่ทำ 3 กรรมนี้ จึงขอฝากให้ท่านทั้งหลายเอาไว้เป็นข้อคิด ข้อปฏิบัติ


โ ด ย : พระพิพิธธรรมสุนทร วัดสุทัศนเทพวราราม

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นักบริหารมืออาชีพ



เดี๋ยวนี้ เราอยากเป็นนักบริหารกัน มาถามว่า คำว่า "นักบริหาร" คือ อะไร ? ทุกคนตอบไม่ได้ ก็จะขอจำกัดความให้เข้าใจกันเสียก่อนว่า คำว่า "บริหาร" นั้น มาจากคำว่า บริ หรือปริ นั้น แปลว่า รอบด้าน รอบข้าง รอบรู้ ส่วนคำว่า "หาร" แปลว่า นำไป
คำว่า "บริหาร" ก็คือว่า ต้องนำไปได้ทั้งหมด ทุกกระบวนการ
สำหรับ "ฆารวาส" บริหาร 6 อย่าง พระก็ 6 อย่าง ให้ท่านทั้งหลาย ได้ลำดับความดังนี้
อย่างแรกที่สุด บริเวณ
อย่างที่สอง บริวาร
อย่างที่สาม บริภัณฑ์
อย่างที่สี่ บริการ
อย่างที่ห้า บริกรรมกิจ
อย่างที่หก บริกรรมภาวนา


บริเวณ ต้องบริหารให้เป็น ต้องศึกษาศาสตร์ของบริเวณ ว่าสถานที่นั้นประดับอย่างไร ตกแต่งอย่างไร ใช้สอยอย่างไร สีเป็นอย่างไร อารมณ์เป็นอย่างไร
บริวาร ต้องให้การศึกษา ต้องให้ความรู้ ให้แม่นในกฎเกณฑ์ และมั่นในกฏกรรม
บริภัณฑ์ คือ เครื่องใช้ไม้สอย ต้องจัดหาให้ครบ และให้รู้จักใช้เครื่องไม้สอยให้ดี จัดหา จัดซื้อ จัดจำหน่าย
บริการ คือ งานบริการ เป็นเรื่องสำคัญ
บริกรรมกิจ คือ รับหน้าที่อะไรไว้ ต้องทำให้หมด ทุกอย่าง ในแต่ละวัน
บริกรรมภาวนา คือ ต้องเป็นคนมีศีลธรรม ไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิสม่ำเสมอ


"บริเวณ บริวาร บริภัณฑ์ บริการ บริกรรมกิจ" 5 อย่างนี้ ถ้าทำได้ดีทั้งหมด เรียกว่า "คนเก่ง"
แต่ "บริกรรมภาวนา" เรียกว่า "คนดี"
แต่ถ้าเก่งแล้วไม่มีดี อยู่ได้ไม่นาน "เก่ง" ต้องมี "ดี"
เพราะฉะนั้น การบริหารนั้น อย่าลืม เรื่องของจิต เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ไม่ฉะนั้นแล้ว ก็จะเป็นนักบริหารที่เก่ง แต่โกง นี่คือ "การบริหาร"
ส่วนพระสงฆ์นั้น เปลี่ยนจาก "บริภัณฑ์" มาเป็น "บริขาร" ก็ตรงกัน พระสงฆ์นั้น บริหารเป็นแล้ว 5 อย่าง ข้างต้น
"บริเวณ บริวาร บริภัณฑ์ บริการ บริกรรมกิจ" เขาเรียกว่า "พระมีศักดิ์ศรี" เดี่ยวก็ ได้ยศ ได้ศักดิ์ แต่ถ้าไม่มี "บริกรรม" ก็มีแต่ศักดิ์ศรี เดี๋ยวก็พัง พระสงฆ์ต้องมี "บริกรรมภาวนา" จึงจะศักดิ์สิทธิ์ เพราะพระสงฆ์นั้นต้อง มีศักดิ์ศรี และมีความศักดิ์สิทธิ์ จึงจะเป็นนักบริหารที่ดี



โ ด ย : พระพิพิธธรรมสุนทร วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มรณาสันนวิถี

รูปภาพ


เป็นวิถีจิตที่ใกล้จะตาย หมายถึง เมื่อมรณาสันนวิถีเกิดขึ้นแล้ว จุติจิต (จิตที่ดับสิ้นไปจากภพชาติปัจจุบัน) ย่อมเกิดขึ้นในลำดับที่ใกล้เคียงกัน จะไม่มีวิถีจิตที่มีอารมณ์เป็นอย่างอื่นเกิดขึ้น คั่นระหว่างจุติจิตอีก



ในมรณาสันนวิถีนี้ มีชวนะจิตเกิดขึ้นเพียง ๕ ขณะเท่านั้น (ปกติจะเกิดขึ้น ๗ ขณะ)



เพราะเหตุที่จิตมีกำลังอ่อน เนื่องจากอำนาจของกรรมที่ส่งมานั้น ใกล้จะหมดอำนาจอยู่แล้ว และอีกประการหนึ่ง หทัยวัตถุอันเป็นกัมมชรูป ซึ่งเป็นที่ตั้งของจิต ก็มีแต่จะเสื่อมสิ้นลงเรื่อยๆ กำลังของชวนะจิตอ่อนไป เหมือนไฟที่น้ำมันจะหมด หรือจะมอดอยู่แล้ว แสงสว่างของไฟ ก็ย่อมจะริบหรี่ เพราะหมดกำลังของปัจจัย คือน้ำมันและไส้นั่นเอง



เมื่อหมดมรณาสันนวิถีแล้ว ต่อจากนั้นจุติจิตก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ เรียกว่า สัตว์นั้นถึงแก่ความตาย



ในทันทีที่จุติจิตดับลง ปฏิสนธิจิตจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยไม่มีจิตอื่น เกิดขึ้น มาคั่นระหว่าง จุติจิตกับปฏิสนธิจิตได้เลย



แต่สำหรับจุติจิตของพระอรหันต์นั้น จะไม่มีปฏิสนธิจิตมาเกิดต่อจากจุติจิตอีก เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้สิ้นกิเลสแล้ว ภพชาติที่จะต้องเกิดอีกไม่มี เมื่อจุติจิตดับลง จึงเข้าสู่ปรินิพพาน



(ชวนะจิต หมายถึง การเสพอารมณ์ ๕ ของจิต คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ปกติของสัตว์จะเกิดขึ้น ๗ ขณะ)









อารมณ์ของมรณาสันนวิถี



ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่ยังมิได้เป็นพระอรหันต์นั้น จะเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือเดรัจฉานก็ตาม ..หรือเป็นมนุษย์ เทวดา และพรหมก็ตาม เมื่อใกล้จะตาย นิมิตทั้ง ๓ คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏเฉพาะหน้าในทวารใดทวารหนึ่ง แห่งทวารทั้ง ๖ นั้นเสมอ....



พระอนุรุทธาจารย์ จึงแสดงว่า...



"ตถา จ มรนฺตานํ ปน มรณกาเล กมฺมํวา



กมฺมนิมิตฺตํวา คตินิมิตฺตํวา ฉนฺนํ ทฺวารานํ



อญฺญตฺรสฺมํ ปตฺจุปฏฐาติ"



"อารมณ์ของมรณาสันนวิถี จึงได้แก่นิมิตอารมณ์ทั้ง๓ ประการ คือ



กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และคตินิมิตอารมณ์"



กรรมอารมณ์ ได้แก่ ธรรมารมณ์ที่เกี่ยวกับกุศลกรรม อกุศลกรรม กรรมอารมณ์ที่เป็นฝ่ายกุศล ได้แก่ การทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม หรือเจริญภาวนา โดยทำมาแล้วด้วยความปีติโสมนัสอย่างไร ก็ให้ระลึกถึงความปีติโสมนัสให้เกิดขึ้น คล้ายกับว่าตนกำลังทำบุญให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม หรือเจริญภาวนาอยู่ในขณะนั้น



ส่วนกรรมอารมณ์ที่เป็นฝ่ายอกุศล ได้แก่ การที่ตนเคยฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เคยฉกชิงวิ่งราว เคยโกรธแค้นพยาบาท ความเสียใจหรือความโกรธนั้น คล้ายๆกับว่า กำลังปรากฏขึ้นกับตน เพราะเหตุดังกล่าวเหล่านั้น



กรรมอารมณ์นี้เป็นความรู้สึกทางใจ จึงปรากฏได้เฉพาะทางมโนทวารทางเดียว เมื่อกรรมอารมณ์เป็นฝ่ายกุศลก็นำไปสู่สุคติ ถ้ากรรมอารมณ์เป็นฝ่ายอกุศลก็จะต้องนำไปสู่ทุคติ



กรรมนิมิตอารมณ์



กรรมนิมิตอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และสภาพที่รู้ได้ทางใจ ที่เกี่ยวด้วยการกระทำของแต่ละบุคคล ที่ตนได้กระทำแล้วด้วยกาย วาจา ใจ ย่อมจะมาแสดงนิมิตเครื่องหมายให้รู้ได้"เมื่อใกล้จะตาย"



ถ้าเป็นฝ่ายกุศล ก็ให้รู้ให้เห็น เป็นการทำบุญให้ทาน เช่น เห็นโบสถ์ วิหาร โรงเรียน โรงพยาบาล ที่ตนเคยสร้าง เห็นพระภิกษุที่เคยบวชตนเอง หรือบวชลูก-หลาน เห็นพระพุทธรูปที่ตนเคยสร้าง เป็นต้น



มรณาสันนวิถีก็หน่วงเอาอารมณ์นั้นๆ มาเป็นอารมณ์ให้เป็นนิมิตเครื่องหมายในสิ่งต่างๆเหล่านั้น



กรรมนิมิตที่เป็นฝ่ายอกุศล เช่น เห็นแห อวน หอก ดาบ ปืนผาหน้าไม้ เครื่องประหัตประหารเบียดเบียนสัตว์ ที่ตนเคยใช้ในการทำบาปมาแล้ว เป็นต้น มรณาสันนวิถีก็จะน้อมเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นอารมณ์



กรรมนิมิตอารมณ์ ที่เป็นฝ่ายกุศล และอกุศลดังกล่าวมาแล้วนั้น ถ้าเป็นแต่เพียงนึกคิดถึงสิ่งต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้น ก็จะปรากฏทางมโนทวาร(ทางใจ)เป็นอดีตอารมณ์ แต่ถ้าได้เห็นด้วยตาจริงๆ ได้ยินด้วยหูจริงๆ ได้กลิ่น รู้รส ถูกต้องสัมผัส เป็นความรู้สึกจริงๆ ก็เป็นนิมิตอารมณ์ ที่ปรากฏทางปัญจทวาร(ทวาร ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย) และเป็นปัจจุบันอารมณ์



กรรมนิมิตที่เป็นฝ่ายกุศล ย่อมนำไปสู่"สุคติ" แต่ถ้ากรรมนิมิตเป็นฝ่ายอกุศล ก็ย่อมนำไปสู่ "ทุคติ"



คตินิมิตอารมณ์



คตินิมิตอารมณ์ เป็นนิมิตเครื่องหมาย ที่จะนำไปสู่" สุคติ หรือทุคติ "ถ้าเป็นคตินิมิตอารมณ์ที่จะนำไปสู่"สุคติ" ก็จะปรากฏเป็นปราสาทราชวัง วิมานทิพยสมบัติ เทพบุตร เทพธิดา เห็นครรภ์มารดา เห็นวัดวา เห็นบ้านเรือน เห็นผู้คน หรือเห็นภิกษุสามเณร ล้วนแต่เห็นสิ่งที่ดีๆ



คตินิมิตอารมณ์ ที่จะนำไปสู่"ทุคติ"ก็จะปรากฏเป็นเปลวไฟ ถ้ำ เหว ป่าทึบ เห็นนายนิรยบาล เห็นสุนัข เห็นแร้งกา เป็นต้น ที่กำลังเบียดเบียนทำอันตรายตน ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่ดีทั้งสิ้น



คตินิมิตอารมณ์ ย่อมปรากฏได้ในทวารทั้ง ๖ แต่ส่วนมากจะปรากฏทางจักขุทวาร และทางมโนทวาร คือเห็นทางตากับทางใจเป็นส่วนมาก และจัดเป็นปัจจุบันอารมณ์



อารมณ์ของมรณาสันนวิถีนี้ ย่อมจะมีอารมณ์ที่เป็นกรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งมาปรากฏ แก่วิถีจิตสุดท้ายที่ใกล้ชิดกับ"จุติจิต"ที่สุด และอารมณ์ทั้งสามนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมทั้ง ๔ ประการตามลำดับ คือ...



(จุติจิต หมายถึง จิตที่ดับสิ้นไปจากภพชาติปัจจุบัน)



(คัดจากหนังสือ พระอภิธรรมมัตถสังคหะ)

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาตาปิตุคุณภารกตเวทีสูตร



ดังที่ได้สดับมา สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวัน
มหาวิหารแห่งอนาถบัณฑิตเศรษฐี กรุงสาวัตถี พร้อมด้วยพระมหา
สาวก ๒,๕๐๐ รูป และปวงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ๓๘,๐๐๐ องค์

ในกาลนั้นแล พระโลกนาถเจ้าทรงนำปวงสาวกดำเนินไปทางใต้ ได้
ทอดพระเนตรเห็นโครงกระดูกกองหนึ่ง กองอยู่ข้างทาง พระตถาคต
เจ้าจึงน้อมพระวรกายก้มลงกราบโครงกระดูกด้วยความเคารพ

พระอานนท์เถระเจ้าประนมหัตถ์ทูลถามว่า...
"ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า! พระตถาคตเป็นครูผู้สอนแห่งไตรภพ เป็น
บิดาผู้เมตตาแห่งสัตว์ในโยนิ ๔ เป็นผู้ควรแก่การเคารพของบุคคล
ทั้งปวง ด้วยเหตุอันใดจึงทรงแสดงความเคารพโครงกระดูกเช่นนี้?"

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์เถระเจ้าว่า...
"ดูกรอานนท์! พวกเธอทั้งหลายเป็นศิษย์ของตถาคต ได้ออกบวชมา
นาน แต่ความรู้ยังไม่กว้างขวาง โครงกระดูกเหล่านี้อาจเป็นบรรพบุรุษ
หรือบิดามารดาในอดีตชาติของเรา ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้แสดงความ
เคารพกราบไหว้"....พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์เถระเจ้า
สืบไปว่า..."เธอจงแบ่งกระดูกเหล่านี้ออกเป็น ๒ กอง หากเป็นกระดูก
ของบุรุษจักมีสีขาวและหนัก หากเป็นกระดูกของสตรีจักมีสีดำและเบา"

พระอานนท์เถระเจ้ากราบทูลว่า..."ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า บุรุษขณะมี
ชีวิตอยู่สวมใส่อาภรณ์รองเท้าและหมวก ท่าทางองอาจ พอเห็นก็รู้ได้
ว่าเป็นกายแห่งบุรุษ สตรีขณะยังมีชีวิตชอบประดับตกแต่งร่างกายด้วย
เครื่องสำอางและน้ำหอม การประดับตกแต่งเยี่ยงนี้ ย่อมรู้ได้ว่าเป็นกาย
แห่งสตรี เมื่อได้ทำกาลไปแล้ว เหลือแต่กระดูกไม่แตกต่างกัน ขอพระ-
องค์ผู้เจริญได้โปรดแสดงแก่สาวกทั้งหลายว่าจะพึงรู้ได้อย่างไร?"...

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระอานนท์เถระเจ้าว่า....
"หากเป็นบุรุษ ขณะมีชีวิตมักเข้าวัดฟังธรรม ถือศีล กราบไหว้พระรัตน-
ตรัย สรรเสริญพระพุทธคุณ ด้วยเหตุนี้กระดูกจึงเป็นสีขาวและหนัก...
สตรีขณะมีชีวิตมักหลงใหลในความรักผูกพัน ต้องให้กำเนิดบุตรชายหญิง
เป็นภาระหน้าที่โดยธรรมชาติ ให้กำเนิดบุตรแต่ละคนต้องให้น้ำนมเลี้ยง
ดู น้ำนมนั้นมาจากโลหิต บุตรแต่ละคนต้องดื่มน้ำนมประมาณ ๑,๒๐๐
แกลลอน ด้วยเหตุนี้ร่างกายของมารดาจึงร่วงโรย ใบหน้าซีดเซียว
กระดูกจึงเป็นสีดำและมีน้ำหนักเบา"....

พระอานนท์เถระเจ้าได้สดับแล้ว บังเกิดความเจ็บปวดใจ น้ำตาไหลริน
ด้วยความเศร้าใจ และกราบทูลถามว่า....
"ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า พระคุณแห่งมารดานั้นจะทดแทนได้เยี่ยงใด?"...
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พระอานนท์เถระเจ้าว่า...
"เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง เราจักแสดงอรรถาธิบายแก่เธอทั้งหลาย เมื่อ
มารดาเริ่มตั้งครรภ์นครบ ๑๐ เดือน มารดาต้องทุกข์ลำบาก

ในครรภ์มารดา...'เดือนแรก' ดุจหยาดน้ำค้างบนใบหญ้าอยู่ในยามเช้า
ไม่อาจอยู่จนถึงยามเย็น บังเกิดในยามย่ำรุ่ง ครั้นบ่ายก็สลายตัวไป
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่สอง' ดุจการแข็งตัวของเนย
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่สาม' เหมือนการจับตัวของก้อนเลือด
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่สี่' เริ่มเป็นรูปร่างมนุษย์
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่ห้า' ทารกในครรภ์มารดาเกิดมีรยางค์ทั้ง ๕
รยางค์ทั้ง ๕ คือสิ่งใด ?
ศีรษะ ๑....แขน ๒..... ขา ๒.....
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่หก' ทารกในครรภ์บังเกิดอินทรีย์ ๖
อินทรีย์ทั้ง ๖ นั้นคือสิ่งใด ?
...ดวงตา เป็นอินทรีย์แรก
...หู เป็นอินทรีย์ที่สอง
...จมูก เป็นอินทรีย์ที่สาม
...ปาก. เป็นอินทรีย์ที่สี่
...ลิ้น. เป็นอินทรีย์ที่ห้า
...ใจ. เป็นอินทรีย์ที่หก
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่เจ็ด' ทารกในครรภ์บังเกิดกระดูกทั่วร่างกาย
๓๖๐ ชิ้นและบังเกิดต่อมขน ๘๕,๐๐๐ ต่อม
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่แปด' บังเกิดสติปัญญาและรับรู้ทางทวารทั้ง ๙
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่เก้า' ทารกในครรภ์สามารถดูดกินอาหาร ดังเช่น
ลูกท้อ สาลี่ กระเทียม ผลไม้ต่างๆ ธัญชาติทั้ง ๕ อันโอชา ทารกในกาย
มารดาอวัยวะใหม่บังเกิดขึ้นข้างบน อวัยวะเก่าลงเบื้องล่าง ประดุจดังพื้น
พสุธา มีภูเขาตั้งสูงตระหง่านขึ้นมา ภูเขานั้นมีนาม ๓ นาม
...นามแรก. สุเมรุบรรพต
...นามสอง. กรรมบรรพต
...นามสาม. โลหิตบรรพต

ภูเขาอันสมมุติเหล่านี้ พังทลายลงกลายเป็นสายสะดือส่งเลือดของมารดา
อันเป็นอาหารของทารกในครรภ์
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่สิบ' กายทารกครบสมบูรณ์ ครั้นถึงเวลาเกิด หาก
เป็นบุตรกตัญญูจะห่อแขนประนมมือ คลอดอย่างง่ายดาย ปลอดภัย ไม่ทำ
ร้ายและสร้างความทุกข์ให้มารดา หากเป็นเด็กอกตัญญู จะทำร้ายหัวใจและ
ตับมารดา เตะถีบร่างกายมารดา ดุจดังมีดนับพันนับหมื่นกรีดลงที่หัวใจ
ความทุกข์ของมารดาในการให้กำเนิดบุตรเป็นเช่นนี้...."

~ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์~

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาตาปิตุคุณภารกตเวทีสูตร

รูปภาพ

ดังที่ได้สดับมา สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวัน
มหาวิหารแห่งอนาถบัณฑิตเศรษฐี กรุงสาวัตถี พร้อมด้วยพระมหา
สาวก ๒,๕๐๐ รูป และปวงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ๓๘,๐๐๐ องค์

ในกาลนั้นแล พระโลกนาถเจ้าทรงนำปวงสาวกดำเนินไปทางใต้ ได้
ทอดพระเนตรเห็นโครงกระดูกกองหนึ่ง กองอยู่ข้างทาง พระตถาคต
เจ้าจึงน้อมพระวรกายก้มลงกราบโครงกระดูกด้วยความเคารพ

พระอานนท์เถระเจ้าประนมหัตถ์ทูลถามว่า...
"ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า! พระตถาคตเป็นครูผู้สอนแห่งไตรภพ เป็น
บิดาผู้เมตตาแห่งสัตว์ในโยนิ ๔ เป็นผู้ควรแก่การเคารพของบุคคล
ทั้งปวง ด้วยเหตุอันใดจึงทรงแสดงความเคารพโครงกระดูกเช่นนี้?"

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์เถระเจ้าว่า...
"ดูกรอานนท์! พวกเธอทั้งหลายเป็นศิษย์ของตถาคต ได้ออกบวชมา
นาน แต่ความรู้ยังไม่กว้างขวาง โครงกระดูกเหล่านี้อาจเป็นบรรพบุรุษ
หรือบิดามารดาในอดีตชาติของเรา ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้แสดงความ
เคารพกราบไหว้"....พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์เถระเจ้า
สืบไปว่า..."เธอจงแบ่งกระดูกเหล่านี้ออกเป็น ๒ กอง หากเป็นกระดูก
ของบุรุษจักมีสีขาวและหนัก หากเป็นกระดูกของสตรีจักมีสีดำและเบา"

พระอานนท์เถระเจ้ากราบทูลว่า..."ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า บุรุษขณะมี
ชีวิตอยู่สวมใส่อาภรณ์รองเท้าและหมวก ท่าทางองอาจ พอเห็นก็รู้ได้
ว่าเป็นกายแห่งบุรุษ สตรีขณะยังมีชีวิตชอบประดับตกแต่งร่างกายด้วย
เครื่องสำอางและน้ำหอม การประดับตกแต่งเยี่ยงนี้ ย่อมรู้ได้ว่าเป็นกาย
แห่งสตรี เมื่อได้ทำกาลไปแล้ว เหลือแต่กระดูกไม่แตกต่างกัน ขอพระ-
องค์ผู้เจริญได้โปรดแสดงแก่สาวกทั้งหลายว่าจะพึงรู้ได้อย่างไร?"...

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระอานนท์เถระเจ้าว่า....
"หากเป็นบุรุษ ขณะมีชีวิตมักเข้าวัดฟังธรรม ถือศีล กราบไหว้พระรัตน-
ตรัย สรรเสริญพระพุทธคุณ ด้วยเหตุนี้กระดูกจึงเป็นสีขาวและหนัก...
สตรีขณะมีชีวิตมักหลงใหลในความรักผูกพัน ต้องให้กำเนิดบุตรชายหญิง
เป็นภาระหน้าที่โดยธรรมชาติ ให้กำเนิดบุตรแต่ละคนต้องให้น้ำนมเลี้ยง
ดู น้ำนมนั้นมาจากโลหิต บุตรแต่ละคนต้องดื่มน้ำนมประมาณ ๑,๒๐๐
แกลลอน ด้วยเหตุนี้ร่างกายของมารดาจึงร่วงโรย ใบหน้าซีดเซียว
กระดูกจึงเป็นสีดำและมีน้ำหนักเบา"....

พระอานนท์เถระเจ้าได้สดับแล้ว บังเกิดความเจ็บปวดใจ น้ำตาไหลริน
ด้วยความเศร้าใจ และกราบทูลถามว่า....
"ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า พระคุณแห่งมารดานั้นจะทดแทนได้เยี่ยงใด?"...
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พระอานนท์เถระเจ้าว่า...
"เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง เราจักแสดงอรรถาธิบายแก่เธอทั้งหลาย เมื่อ
มารดาเริ่มตั้งครรภ์นครบ ๑๐ เดือน มารดาต้องทุกข์ลำบาก

ในครรภ์มารดา...'เดือนแรก' ดุจหยาดน้ำค้างบนใบหญ้าอยู่ในยามเช้า
ไม่อาจอยู่จนถึงยามเย็น บังเกิดในยามย่ำรุ่ง ครั้นบ่ายก็สลายตัวไป
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่สอง' ดุจการแข็งตัวของเนย
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่สาม' เหมือนการจับตัวของก้อนเลือด
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่สี่' เริ่มเป็นรูปร่างมนุษย์
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่ห้า' ทารกในครรภ์มารดาเกิดมีรยางค์ทั้ง ๕
รยางค์ทั้ง ๕ คือสิ่งใด ?
ศีรษะ ๑....แขน ๒..... ขา ๒.....
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่หก' ทารกในครรภ์บังเกิดอินทรีย์ ๖
อินทรีย์ทั้ง ๖ นั้นคือสิ่งใด ?
...ดวงตา เป็นอินทรีย์แรก
...หู เป็นอินทรีย์ที่สอง
...จมูก เป็นอินทรีย์ที่สาม
...ปาก. เป็นอินทรีย์ที่สี่
...ลิ้น. เป็นอินทรีย์ที่ห้า
...ใจ. เป็นอินทรีย์ที่หก
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่เจ็ด' ทารกในครรภ์บังเกิดกระดูกทั่วร่างกาย
๓๖๐ ชิ้นและบังเกิดต่อมขน ๘๕,๐๐๐ ต่อม
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่แปด' บังเกิดสติปัญญาและรับรู้ทางทวารทั้ง ๙
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่เก้า' ทารกในครรภ์สามารถดูดกินอาหาร ดังเช่น
ลูกท้อ สาลี่ กระเทียม ผลไม้ต่างๆ ธัญชาติทั้ง ๕ อันโอชา ทารกในกาย
มารดาอวัยวะใหม่บังเกิดขึ้นข้างบน อวัยวะเก่าลงเบื้องล่าง ประดุจดังพื้น
พสุธา มีภูเขาตั้งสูงตระหง่านขึ้นมา ภูเขานั้นมีนาม ๓ นาม
...นามแรก. สุเมรุบรรพต
...นามสอง. กรรมบรรพต
...นามสาม. โลหิตบรรพต

ภูเขาอันสมมุติเหล่านี้ พังทลายลงกลายเป็นสายสะดือส่งเลือดของมารดา
อันเป็นอาหารของทารกในครรภ์
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่สิบ' กายทารกครบสมบูรณ์ ครั้นถึงเวลาเกิด หาก
เป็นบุตรกตัญญูจะห่อแขนประนมมือ คลอดอย่างง่ายดาย ปลอดภัย ไม่ทำ
ร้ายและสร้างความทุกข์ให้มารดา หากเป็นเด็กอกตัญญู จะทำร้ายหัวใจและ
ตับมารดา เตะถีบร่างกายมารดา ดุจดังมีดนับพันนับหมื่นกรีดลงที่หัวใจ
ความทุกข์ของมารดาในการให้กำเนิดบุตรเป็นเช่นนี้...."

~ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์~

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 132 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร