วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 132 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรค (กวีนิพนธ์)

รูปภาพ


เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่ สัตว์นั้นสัตว์นั้นได้ กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน

ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้

เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้น ย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว

ผู้ใด ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้

เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น เหล่าอันตราย ย่อมย่ำยี นรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้ว ฉะนั้น

โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัดบุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ ฉะนั้น

ราคะ และโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัตภาพนี้ ไม่ยินดีกุศล ยินดีแต่กามคุณ ทำให้ขนลุก บาปวิตกในใจ ตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้แล้ว ผูกจิตไว้ เหมือนพวกเด็กผูกกาที่ข้อเท้าไว้ ฉะนั้น

เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคล วิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น

นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ(กาย) เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็ หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะกามทั้งหลายใน โลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย

สัตว์เหล่านั้นปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกามทั้งหลาย เป็นผู้ ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพันอยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้วจักเป็นอะไรหนอ

ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา เหมือนฝูงปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง ในภพทั้งหลาย พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ

ธีรชนพึงจำกัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้นอยู่ ย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์

ทิฏฐิ ที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก เพราะบุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะ ได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า

หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น หรือว่านรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณ(ปัญญา)ไซร้ นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วยมรรคอื่น เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐิธรรม

รูปภาพ



ทิฏฐิธรรมทั้งหลาย ของเจ้าทิฏฐิใด เป็นธรรมที่บุคคลนั้น กำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่งกระทำไว้ในเบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่และบุคคลนั้นเป็นผู้อาศัยอานิสงส์ที่เห็นอยู่ในตนและอาศัยสันติที่ กำเริบที่อาศัยกันเกิดขึ้น เขาพึงยกตนหรือข่มผู้อื่น.

ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเลย การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น ก็ไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสละธรรมบ้าง ยึดถือธรรมบ้าง.

ทิฏฐิ ที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก เพราะบุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า.

บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลายใครๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงด้วยกิเลสอะไรอย่างไร เล่า เพราะทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ.

เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่าความเห็นนี้เป็นเยี่ยม ดังนี้ ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณบุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด.

หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น หรือว่านรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณ(ปัญญา)ไซร้ นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วย มรรคอื่น เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น.

พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น ในอารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป ละเสียซึ่งตน เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้.

บุคคลใดลอยบาปทั้งปวงเสียแล้ว ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่น(วิปัสสนา)ด้วยดี มีตนตั้งอยู่แล้ว บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้สำเร็จกิจเพราะล่วงสงสารได้แล้ว อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ เรียกว่าเป็นพราหมณ์.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไปตามความแสวงหาย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือย่อมละ เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น.

ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง เป็นผู้ข้องในสัญญา ย่อมดำเนินผิดๆถูกๆ ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิดๆ ถูกๆ.

บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใครๆ ในโลกนี้พึงกำหนดซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นผู้ประพฤติเปิดเผยด้วยกิเลสอะไรเล่า.

สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า สัตบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดส่วนเดียวสัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็นเครื่องถือมั่น ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว ไม่ทำความหวังในที่ไหนๆ ในโลก.

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


มาเป็นชุดเลยนะ...ท่านพี่ธรรมบุตร :b27:

วันนี้ พอมีเวลาว่างเหรอจ๊ะ :b1:
พรุ่งนี้วันโกนแล้ว เมื่อรืนก็วันพระ
น้องใส่บาตรให้คุณพ่อ คุณแม่บ่อยๆ ค่ะ
อย่าลืมอนุโมทนาบุญนะคะ :b36:

:b48: ธรรมรักษาค่ะ :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาในธรรมทานของท่านธรรมบุตรอย่างยิ่งขอรับ :b8: :b8:

อนุโมทนาในทานของคุณยายลูกโป่งด้วยอย่างยิ่งขอรับ :b8: :b8:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



ผัสสเจตสิก เป็น นเหตุ (ไม่ใช่เหตุ)

แต่ ผัสสเจตสิก เกิดกับจิตทุกขณะ.



ถ้า จิตขณะใด

เกิดร่วมกับ เจตสิกที่เป็นเหตุหนึ่งเหตุใด ในเหตุ ๖

ผัสสเจตสิก

ที่เกิดร่วมกับจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วยขณะนั้น

ก็เป็น สเหตุกะ(เจตสิก)



ถ้าจิตขณะใด เป็น อเหตุกะ(จิต)

คือ ไม่มีเหตุใดเหตุหนึ่งในเหตุ ๖ เกิดร่วมด้วย

ผัสสเจตสิก

ที่เกิดร่วมกับ อเหตุกจิต นั้น

ก็เป็น อเหตุกะ(เจตสิก) ด้วย.



ฉะนั้น

ผัสสเจตสิก จึงเป็น นเหตุ.

และ บางขณะ ผัสสเจตสิก ก็เป็น สเหตุกะ หรือ อเหตุกะ ก็ได้

โดยนัยดังกล่าว ข้างต้น.


.


ชีวิตของทุกท่าน ในวันหนึ่ง ๆ นั้น

มีทั้ง สเหตุกจิต และ อเหตุกจิต.!

แต่

เมื่อไม่ได้ฟังพระธรรม

ก็ย่อมไม่ทราบว่า ขณะไหน เป็น สเหตุกจิต

และ ขณะไหน เป็น อเหตุกจิต.


.


พระผู้มีพระภาคฯ

ทรงแสดง สภาพของจิตแต่ละขณะไว้ โดยละเอียด ว่า

จิตขณะใด เป็น อเหตุกจิต

จิตขณะใด เป็น สเหตุกจิต

และ

จิต ที่เป็นสเหตุกะ นั้น

เกิดร่วมกับเหตุ กี่เหตุ

และ

มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย กี่ประเภท.!


.


โมหมูลจิต

มี โมหเหตุ เกิดร่วมด้วยเพียงเหตุเดียว

โมหมูลจิต จึงเป็น "เอกเหตุกะ"



โลภมูลจิต

มี เหตุเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ

คือ โมหเหตุ และ โลภเหตุ

จึงเป็น "ทวิเหตุกะ"



โทสมูลจิต

มีเหตุเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ

คือ โมหเหตุ และ โทสเหตุ

จึงเป็น "ทวิเหตุกะ"


.


สำหรับ กุศลจิต นั้น

ก็ต้องมี "โสภณเหตุ" เกิดร่วมด้วย.

มิฉะนั้น ก็เป็น กุศลจิต ไม่ได้.!



กุศลจิต

มี ๒ ประเภท

คือ


๑. กุศลจิต ที่ไม่เกิดร่วมกับ ปัญญาเจตสิก.

๒. กุศลจิต ที่เกิดร่วมกับ ปัญญาเจตสิก.



ฉะนั้น

กุศลจิต ที่ไม่เกิดร่วมกับ ปัญญาเจตสิก

มีเจตสิกที่เป็นเหตุ เกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ

คือ

อโลภเหตุ และ อโทสเหตุ.

กุศลจิต ที่ไม่เกิดร่วมกับปัญญาเจตสิก

จึงเป็น "ทวิเหตุกะ"



และ

กุศลจิต ที่เกิดร่วมกับ ปัญญเจตสิก

มีเจตสิกที่เป็นเหตุ เกิดร่วมด้วย ๓ เหตุ

คือ

อโลภเหตุ อโมหเหตุ อโทสเหตุ

กุศลจิต ที่เกิดร่วมกับ ปัญญาเจตสิก

จึงเป็น "ติเหตุกะ"


.


กุศลจิต ที่เป็น "เอกเหตุกะ" ไม่มี.!

เพราะว่า กุศลจิต

ต้องมี อโลภเจตสิก และ อโทสเจตสิก เกิดร่วมด้วย ทุกครั้ง

จึงจะเป็น กุศลจิต ได้.


(บางครั้ง ก็เป็นกุศลจิตที่มี ทั้ง ๓ เหตุ เกิดร่วมด้วยเป็น ติเหตุกะ)
คำว่า "เหตุ" กับ คำว่า "ปัจจัย"

ต่างกันอย่างไร.?


.


"ปัจจัย"


เป็นสภาพธรรมที่อุปการะ เกื้อกูลให้สภาพธรรมอื่น เกิดขึ้น

หรือ ดำรงอยู่ตามควร แก่ประเภทของปัจจัย นั้น ๆ


(ตัวอย่าง เช่น)


ผัสสเจตสิก ไม่ใช่ โลภเจตสิก.!


แต่

ทั้ง ผัสสเจตสิก และ โลภเจตสิก

ต่างก็เป็นปัจจัย เกื้อกูลให้สภาพธรรมอื่น ๆ

คือ จิต เจตสิกอื่น ๆ และ รูป

สามารถเกิดขึ้นได้.!


แต่

เมื่อ สภาพลักษณะ และ กิจ

ของ ผัสสเจตสิก และ ของ โลภเจตสิก นั้น

ต่างกัน.!


ผัสสเจตสิก จึงเป็น "ปัจจัย" ที่ต่างกับ โลภเจตสิก.


(เป็นต้น)


.


"ผัสสเจตสิก" เป็น ปัจจัย โดยเป็น "อาหารปัจจัย"


.


คำว่า "อาหาร"

หมายถึง สภาพธรรมที่นำมาซึ่ง "ผล"


แต่

(โดยอุปมา)

ผัสสเจตสิก ซึ่งเป็น อาหารปัจจัย

ไม่มั่นคง ถึงกับทำให้ "ผล" ที่เกิดขึ้น

งอกงาม ไพบูลย์ได้ เหมือนรากแก้วของต้นไม้.


ส่วน สภาพธรรม ที่เป็น เหตุ.

(เช่น โลภเจตสิก)

เป็นปัจจัย โดยความเป็น "เหตุ"

ซึ่ง อุปมาเหมือนกับรากแก้วของต้นไม้.


.


แต่

ต้นไม้ จะเจริญเติบโต

โดยมีแต่รากแก้วอย่างเดียว ไม่ได้.!

ต้องมีดิน มีน้ำ เป็น "อาหาร"

แต่

ถ้าขาด รากแก้ว.!

แม้จะมีดิน มีน้ำ เป็นต้น

ต้นไม้นั้น ก็ไม่สามารถที่จะมั่นคง งอกงาม ไพบูลย์ได้.



ต้นไม้ที่มีรากแก้ว กับต้นไม้ที่ไม่มีรากแก้ว นั้น

ย่อมมีความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ต่างกัน ฉันใด.!


เจตสิกอื่น ๆ และ สภาพธรรมอื่น ๆ

นอกจาก

"เจตสิกที่เป็นเหตุ ๖ ประเภท"


ก็เป็นปัจจัย โดยเป็น ปัจจัยอื่น ๆ

ซึ่ง ไม่ได้เป็นปัจจัย

โดยเป็น "เหตุปัจจัย"


.


ในคัมภีร์ "ปัฏฐาน"

ซึ่งเป็น คัมภีร์ที่ ๗

และเป็น คัมภีร์สุดท้าย ของพระอภิธรรมปิฎก นั้น.


แสดง สภาพธรรมทั้งหลาย

โดยความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน

โดยประเภทของปัจจัยต่าง ๆ


ปัจจัยแรก คือ "เหตุปัจจัย"

ซึ่ง แสดงให้เห็นความสำคัญ ของสภาพธรรม ซึ่งเป็น "เหตุ"


.


ในงานศพ

เมื่อพระภิกษุท่านสวดพระอภิธรรม

จะเริ่มต้นด้วย "เหตุปจฺจโย"

หมายถึง

โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ

อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ (ปัญญาเจตสิก)


เพื่อ "เตือน" ให้รู้ว่า

สภาพธรรม ซึ่งเป็น "ตัวเหตุ"

ที่จะทำให้เกิด "ผล" คือ เกิดภพเกิดชาติ นั้น

ได้แก่

"เจตสิก ๖ ประเภท"

คือ

โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก

อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก (อโมหเจตสิก)

ชาวพุทธส่วนมากไม่สนใจศึกษาพระธรรมขั้นละเอียด เพราะเห็นว่า

เป็นเรื่องที่ยากเกินจะเข้าใจได้ ในขณะที่ชาวพุทธบางกลุ่มโดยเฉพาะผู้ที่มี

การศึกษาสูงๆ เข้าใจผิดคิดว่าพระธรรมง่าย สามารถจะคาดคะเนหรือคิดเอา

เองได้ตามความคิดนึกของแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดรอบ-

คอบก็สามารถจะเข้าใจได้ โดยคิดว่าเป็นหลักคำสอนที่สอนให้ทำความดี

ละความชั่วเหมือนกับหลักคำสอนของศาสนาอื่นๆ ทั่วไป จึงไม่สนใจศึกษา

พระธรรมเพราะคิดว่าตนเองดีแล้ว พอใจกับสภาพที่เป็นอยู่แล้ว ไม่คิดร้าย

กับใคร ไม่อิจฉาริษยาใคร ไม่มีทุกข์ เป็นคนดีของสังคมแล้ว จะต้องศึกษา

พระธรรมไปทำไม

เมื่อไม่สนใจศึกษาพระธรรม ซึ่งก็คือความจริงของชีวิตที่พระสัมมา

สัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดงพระธรรมเพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลกผู้มืด

บอดทั้งหลายให้รู้ตาม ผู้นั้นก็ไม่สามารถจะเข้าใจความเป็นจริงที่มีอยู่ ไม่สา-

มารถหาคำตอบให้กับชีวิตของตนเอง ในทางตรงกันข้าม เมื่อผู้ใดมีโอกาส

ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาโดยละเอียดแล้ว ผู้นั้นจะรู้ได้ด้วยตนเองทันทีว่า

นี่คือของจริง และนี่คือ คำตอบของชีวิต

กรรม คืออะไร? กรรม คือการกระทำ ได้แก่ เจตนา (ความจงใจ

ความตั้งใจ) ที่เป็นกุศล (บุญ) หรือ อกุศล (กิเลส) เป็นเหตุให้กระทำกุศล-

กรรมหรืออกุศลกรรมทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อได้กระทำกุศล-

กรรมหรืออกุศลกรรมสำเร็จไปแล้ว กุศล หรือ อกุศลกรรมนั้นจะเป็นปัจจัยให้

เกิดผลตามสมควรแก่กรรมนั้นๆ การให้ผลของกรรมนั้น จะให้ผลได้ในชาติ

ที่กระทำก็ได้ หรือจะให้ผลในชาติหน้าหรือชาติต่อๆ ไปก็ได้ ไม่ใช่กรรมทุก

กรรมจะให้ผลได้ทั้งหมดในชาติที่กระทำกรรม เพราะกรรมสามารถติดตาม

ไปให้ผลได้ ตราบใดที่ยังไม่ได้ให้ผลหรือยังให้ผลไม่หมด เนื่องจากกรรมจะ

สะสมสืบต่ออยู่ในจิตทุกๆ ขณะที่จิตเกิดดับสืบต่อกันไป

พุทธศาสนาเป็นเรื่องของเหตุและผล ทุกสิ่งไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ

หรือเป็นเรื่องบังเอิญ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น

ดังที่ท่านพระอัสสชิแสดงธรรมแก่ท่านพระสารีบุตรว่า “ธรรมะทั้งหลายย่อม

เกิดจากเหตุ” นั่นก็คือ การที่ทุกคนเกิดมาแตกต่างกัน เป็นเพราะได้กระทำ

เหตุ คือทำ กรรม มาต่างกัน กรรมที่ได้กระทำไว้แล้วนั่นเอง เป็นเหตุให้มีรูป-

ร่าง หน้าตา ผิวพรรณ ต่างกัน มีอุปนิสัยดีเลวต่างกัน กรรมที่กระทำไว้แล้ว

นั่นเองเป็นเหตุให้ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ ได้รับความสุข ทุกข์

สรรเสริญ นินทา ท่านจะเข้าใจสิ่งที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็ต่อเมื่อได้ศึกษาพระ-

อภิธรรมโดยละเอียด พระอภิธรมเป็นคำสอนเกี่ยวกับสภาวธรรมที่มีอยู่จริง

หรืออีกนัยหนึ่งคือสัจจธรรมนั่นเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงบำเพ็ญ

ความเพียรอบรมพระบารมีถึง ๔ อสงไขยแสนกัป เพื่อตรัสรู้ สัจจธรรม หรือ

ความจริงของสิ่งทั้งปวง นี้

ฉะนั้น ความจริงที่ทรงตรัสรู้นั้นไม่ง่าย ผู้ใดที่คิดว่าพระธรรมเป็น

ของง่ายไม่จำเป็นต้องศึกษาก็สามารถเข้าใจได้ ผู้นั้นกำลังเข้าใจผิดและ

กำลังประมาทพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า แม้พระพุทธองค์เองเมื่อทรง

ตรัสรู้ใหม่ๆ ก็ไม่ทรงน้อมพระทัยที่จะแสดงพระธรรมแก่สัตว์โลก ด้วยทรง

เห็นว่าพระธรรมที่ทรงตรัสรู้นั้นละเอียด ลึกซึ้ง และรู้ตาม เห็นตามได้ยาก

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคยสะสมปัญญามาก็จะสามารถพิจารณาหรือ

พิสูจน์ธรรมะที่ทรงแสดงได้ตามกำลังของปัญญาของตน ดังข้อความ

ปรากฏในคำนำของหนังสือพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยว่า พระ-

ธรรมที่ทรงตรัสรู้นั้น เป็นธรรมที่ลึกซึ้งรู้ตามเห็นตามได้ยาก สงบ ประณีต

ไม่อาจรู้ได้ด้วยการตรึกละเอียด เป็นธรรมอันบัณฑิตจะรู้ได้


-------------------------------- ธรรมะไทย

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกโป่ง เขียน:
มาเป็นชุดเลยนะ...ท่านพี่ธรรมบุตร :b27:

วันนี้ พอมีเวลาว่างเหรอจ๊ะ :b1:
พรุ่งนี้วันโกนแล้ว เมื่อรืนก็วันพระ
น้องใส่บาตรให้คุณพ่อ คุณแม่บ่อยๆ ค่ะ
อย่าลืมอนุโมทนาบุญนะคะ :b36:

:b48: ธรรมรักษาค่ะ :b48:



:b4: จร้าน้องสาวที่น่ารัก พอมีเวลาก็ไม่อยากปล่อยให้เสียไปเลยได้โพสธรรมจ๊ะ :b31:

อืม..วันเป็งปุ๊ดที่แล้วก็ตักบาตรดัวยตอนเที่ยงคืน

อนุโมทนาบุญนะจ๊ะที่ตักบาตรให้คุณพ่อคุณแม่ได้บ่อยๆ

พี่ตื่นสายเพราะกว่าจะนอนบางทีตีห้า รักษาสุขภาพนะ เดินได้คล่องหรือยัง

ฝากความคิดถึงพี่น้องทุกคน และตากลมด้วย สบายดีกันหรือเปล่า

ไม่แน่เร็วนี้ถ้ามีเวลาจาลง กทม. นะจ๊ะ บาย น้องลูกโป่งของพี่ smiley

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุณหัสสวิชัยสูตร

รูปภาพ

ผู้ใดมาถึงพระพุทธเจ้า...พระธรรม...พระสงฆ์..
เป็นสรณะที่พึ่งแล้ว ผู้นั้นย่อมชนะได้ซึ่งความร้อน...

'อุณหัสส'คือความร้อนอันเกิดแก่ตน มีทั้งภายในและภายนอก
ภายนอกมีเสือสางค่างแดง ภูตผีปีศาจ เป็นต้น...
ภายในคือ กิเลส...วิชัยคือ ความชนะ...
ผู้ที่มาน้อมเอาสรณะทั้งสามนี้เป็นที่พึ่งแล้ว...
ย่อมจะชนะความร้อนเหล่านั้นไปได้หมดทุกอย่าง
ที่เรียกว่า.....'อุณหัสสวิชัย'....

พระธรรมเป็นของยิ่งในโลกทั้งสาม...
สามารถชนะซึ่งความร้อนนอกร้อนใจอันเกิดแต่ภัยต่างๆ
จะเว้นห่างจากอันตรายทั้งหลาย คืออาชญาของพระราชา
เสือ สาง นาค ยาพิษ ภูตผีปีศาจ...

หากว่ายังไม่ถึงคราวถึงกาลที่จักตายแล้ว ก็จักพ้น
ความตายด้วยอำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์...
ที่ตนน้อมเอาเป็นสรณะที่พึ่งที่นับถือนั้น...

ความข้อนี้มีพระบาลีสาธกดังจะยกมาอ้างอิง
ในสมัยเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันต์
หนุ่ม 500 รูป ประทับอยู่ในราวป่ามหาวันใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
เทวดาทั้งหลายพากันมาดูแล้วกล่าวว่า....

'บุคคลบางพวกหรือบุคคลไรๆ มาถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ที่พึ่งแล้ว บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่อบายทั้งสี่ มีนรกเป็นต้น
เมื่อละร่างกายอันเป็นของมนุษย์นี้แล้ว...
จักไปเป็นหมู่แห่งเทพยดาทั้งหลายดังนี้..

สรณะทั้งสามคือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฎอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึง
อยู่เสมอ ผู้ใดมายึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว...
ผู้นั้นจะอยู่กลางป่าหรือเรือนว่างก็ตาม
สรณะทั้งสามก็ปรากฎอยู่แก่เราทุกเมื่อ...

จึงว่า...เป็นที่พึ่งแก่บุคคลจริง เมื่อปฏิบัติตามสรณะทั้ง3จริงๆ
จะคลาดแคล้วแก่ภัยทั้งหลาย อันก่อให้เกิด...
ความร้อนนอกร้อนใจได้แน่นอนทีเดียว....ฯ'

~ธรรมเทศนา...หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต~
ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความ หมายของคำว่าโลกุตตร

รูปภาพ

โลกุตตรกุศลจิต.

เป็นปัจจัยให้ โลกุตตรวิบากจิต เกิด สืบต่อ ทันที.!


ไม่มีจิตอื่นเกิดคั่นได้เลย.


และ กุศลอื่นทั้งหมด ไม่สามารถที่จะให้ผล ทันที.


กุศลจิตอื่น ทั้งหมด

ไม่เป็นปัจจัยให้ กุศลวิบากจิตอื่น ทั้งหมด

เกิดสืบต่อจากกุศลจิตนั้น ๆ


หมายความว่า


โลกุตตรกุศลจิต.

เป็นปัจจัยให้ โลกุตตรวิบาก เกิดสืบต่อทันที.


โดยไม่มี จิตอื่น เกิดคั่นได้เลย.!


ระหว่าง โลกุตตรกุศลจิต ซึ่งเป็น เหตุ

และ โลกุตตรวิบากจิต ซึ่งเป็น ผล.


เช่น


ทันที ที่ โสตาปัตติมัคคจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรกุศลจิต ดับไป

ก็เป็นปัจจัยให้ โสตาปัตติผลจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรวิบากจิต

เกิดสืบต่อ ทันที.


และ


ทันที ที่ สกทาคามิมัคคจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรกุศลจิต ดับไป

ก็เป็นปัจจัยให้ สกทาคามิผลจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรวิบากจิต

เกิดสืบต่อ ทันที.


และ


ทันที่ ที่ อนาคามิมัคคจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรกุศลจิต ดับไป

ก็เป็นปัจจยให้ อนาคามิผลจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรวิบากจิต

เกิดสืบต่อ ทันที.


และ


ทันที ที่ อรหัตตมัคคจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรกุศลจิต ดับไป

ก็เป็นปัจจัยให้ อรหัตตผลจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรวิบากจิต

เกิดสืบต่อ ทันที.


.


ฉะนั้น

โลกุตตรวิบากจิต ทั้ง ๔ ประเภท.


คือ

โสตาปัตติผลจิต ๑.

สกทาคาผลจิต ๑.

อนาคามิผลจิต ๑.

อรหัตตผลจิต ๑.


ไม่ได้ทำ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และ จุติกิจ.


.


ดังนั้น


โลกุตตรวิบากจิต ทั้ง ๔ ประเภท ดังกล่าว

จึงไม่เหมือน โลกิยกุศลวิบากจิต และ อกุศลวิบากจิต.


.


ขณะที่ โลกุตตรกุศลจิต ดับไป

เป็นปัจจัยให้ โลกุตตรวิบากจิต เกิดขึ้น สืบต่อ ทันที

โดยมี นิพพาน เป็นอารมณ์.


.


ฉะนั้น

ผลจิต ซึ่งเป็น โลกุตตรวิบากจิต นั้น

จึงเป็น ชวนวิถีจิต เช่นเดียวกับ โลกุตตรกุศลจิต.


ผลจิต

เป็น "วิบากจิตประเภทเดียวเท่านั้น"

ที่เป็น "ชวนวิถีจิต"

ซึ่งทำชวนกิจ โดยมี นิพพาน เป็นอารมณ์.


.


โลกุตตรกุศลจิต.

เกิดขึ้นเพียงขณะเดียว เท่านั้น ในสังสารวัฏฏ์.


เป็นการดับกิเลส เป็นสมุจเฉท

ตามระดับขั้น ของ โลกุตตรกุศลจิต ทั้ง ๔ ประเภท.


คือ


โสตาปัตติมัคคจิต.


( เกิดขึ้นทำชวนกิจ โดยมี นิพพาน เป็นอารมณ์

ซึ่ง ดับกิเลส และบรรลุเป็นพระโสดาบัน.

โสตาปัตติมัคจิต

เกิดขึ้นและดับไป เพียง ๑ ขณะเท่านั้น ในสังสารวัฏฏ์)



สกทาคามิมัคคจิต.


( เกิดขึ้นทำชวนกิจ โดยมี นิพพาน เป็นอารมณ์

ซึ่ง ดับกิเลส และ บรรลุเป็นพระสกทาคามี.

สกทาคามิมัคคจิต

เกิดขึ้นและดับไป เพียง ๑ ขณะเท่านั้น ในสังสารวัฏฏ์)



อนาคามิมัคคจิต.


( เกิดขึ้นทำชวนกิจ โดยมี นิพพาน เป็นอารมณ์

ซึ่ง ดับกิเลส และ บรรลุเป็นพระอนาคามี.

อนาคามิมัคคจิต

เกิดขึ้นและดับไป เพียง ๑ ขณะเท่านั้น ในสังสารวัฏฏ์)



อรหัตตมัคคจิต.


( เกิดขึ้นทำชวนกิจ โดยมี นิพพาน เป็นอารมณ์

ซึ่ง ดับกิเลส และ บรรลุเป็นพระอรหันต์.

อรหัตตมัคคจิต

เกิดขึ้นและดับไป เพียง ๑ ขณะเท่านั้น ในสังสารวัฏฏ์)


.
.
.


(การดับกิเลส ต้องเป็นไปตามลำดับขั้น ดังนี้ คือ

ระดับพระโสดาบัน

ระดับพระสกทาคามี

ระดับพระอนาคามี

และ ระดับพระอรหันต์

ตามลำดับ.)


.


แต่

โลกุตตรวิบากจิต ที่เกิดสืบต่อจาก โลกุตตรกุศลจิต นั้น

มี นิพพาน เป็นอารมณ์ อีก ๒ หรือ ๓ ขณะ ได้

ตามประเภทของบุคคล.


.


พระโสดาบัน

ยังเกิดอีก อย่างมาก ไม่เกิน ๗ ชาติ.


แต่

ปฏิสนธิจิต ของพระโสดาบัน

ไม่ใช่ โสตาปัตติผลจิต ซึ่งทำกิจปฏิสนธิ.

ดังนั้น

ก็แล้วแต่ ว่า พระโสดาบันบุคคลนั้น ๆ จะเกิดในภูมิใด

ซึ่งเป็น กิจของวิบากจิต ในระดับของภูมินั้น ๆ

ซึ่ง ทำกิจ ปฏิสนธิ คือ เกิดในภูมินั้น ๆ



เช่น


ถ้าหาก พระโสดาบันบุคคลนั้น เกิดในสวรรค์ชั้นใด ๆ

ก็หมายความว่า

กามาวจรกุศลวิบากจิต

เป็นปัจจัยให้ ปฏิสนธิในสวรรค์ชั้นนั้น ๆ


หรือ

ถ้าหาก พระโสดาบันบุคคลนั้น เกิดในพรหมภูมิใด ๆ

ก็หมายความว่า

รูปาวจรวิบากจิต หรือ อรูปวจรวิบากจิต

เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิ ในพรหมภูมิ นั้น ๆ


.


ฉะนั้น

คำว่า "ภูมิ" มี ๒ ความหมาย.


คือ

หมายถึง ภูมิ ซึ่งเป็นระดับขั้นของจิต.


และ

หมายถึง ภูมิ ซึ่งเป็นที่เกิดของสัตว์โลก.


.


ภูมิ ซึ่งเป็น ระดับขั้นของจิต มี ๔ ภูมิ.


คือ


กามาวจรจิต ๑.

รูปาวจรจิต ๑.

อรูปาวจรจิต ๑.

โลกุตตรจิต ๑.


.


ภูมิ ซึ่งเป็นที่เกิดของสัตว์โลก

หมายถึง โอกาสโลก ซึ่งเป็นสถานที่เกิดของสัตว์โลก

ซึ่งมี ๓๑ ภูมิ

ตามระดับขั้นของจิต.


คือ


กามภูมิ ๑๑ ภูมิ

รูปพรหมภูมิ ๑๖ ภูมิ

อรูปพรหมภูมิ ๔ ภูมิ


กรรมที่เกิดทางทวารทั้ง ๓ คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เมื่อครบองค์

ย่อมเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิเกิดขึ้นได้ ทางมโนกรรมตัวอย่าง ฝ่ายอกุศล เช่น

ผู้มีความเห็นผิด(นิยตมิจฉาทิฏฐิ) ฝ่ายกุศลกรรมเพียงเกิดกุศลจิตเลื่อมใสใน

พระพุทธเจ้า เป็นต้นก็ทำให้เกิดในสวรรค์ ซึ่งก็มีตัวอย่างมาก เช่นมัฏฐกุณฑลี

เป็นต้น


-----------------ธรรมะไทย

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะหลับมีเวทนาหรือ

รูปภาพ

ขณะที่กำลังหลับ....มีเวทนาเจตสิกไหม.?


.


ธรรมะ

เป็นเรื่องที่น่าคิด น่าพิจารณา.!


เพราะยิ่งคิด ยิ่งพิจารณา

ก็ยิ่งทำให้ "เข้าใจ" ธรรมะ ได้แจ่มแจ้ง ยิ่งขึ้น.


ฉะนั้น

จึงน่าคิด น่าพิจารณา ว่า


ขณะที่กำลังหลับสนิท....มีความรู้สึกไหม.?


.


ขณะที่กำลังนอนหลับสนิท.


ขณะนั้น..........

ไม่มีการรู้อารมณ์ใด ๆ ในโลกนี้เลย.!


ไม่ว่าจะเป็น การรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก

ทางลิ้น ทางกาย

และ ทางใจ...ซึ่ง ไม่ได้คิดนึก ไม่ได้ฝัน.


.


แต่เมื่อยังเป็นผู้ที่ไม่ได้สิ้นชีวิต

ก็ย่อมมี "จิต" ซึ่งเกิด-ดับ รู้อารมณ์(ของภวังคจิต)

ก็คือ "ภวังคจิต"


.


"ภวังคจิต"

กระทำกิจ ดำรงภพชาติของความเป็นบุคคล ในภพชาตินี้.


จนกว่าจะ ตื่นขึ้นมา และ รู้อารมณ์ในโลกนี้

ทั้ง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ

จนกว่าจะถึงเวลาที่หลับไปอีก.


.


ดังนั้น

ขณะที่กำลังหลับสนิท

จะไม่รู้อารมณ์ใด ๆ ในโลกนี้เลย สักอย่างเดียว.!

ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก

ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.


.


แต่ขณะที่กำลังหลับสนิท

จิต ก็เกิด-ดับ-สืบต่อกันอยู่เรื่อย ๆ


ซึ่ง นามขันธ์ ทั้ง ๔.

คือ จิต และ เจตสิก

ต้องเกิด-ดับ ร่วมกัน

แยกกันไม่ได้เลย....!


(นามขันธ์ ๔

คือ จิต ๑.

หมายถึง วิญญาณขันธ์

เจตสิก ๓.

หมายถึง เวทนาขันธ์ ๑. สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑.)


.


ฉะนั้น

ขณะที่กำลังหลับสนิท

เป็น วิบากจิต (ภวังคจิต)

เป็น ผลของอดีตกรรม.


เพราะเหตุ คือ วิบากจิต (ภวังคจิต) เกิด-ดับ-สืบต่อ

กระทำกิจดำรงภพชาติอยู่

ทำให้บุคคลที่กำลังหลับสนิทนั้น ยังไม่สิ้นชีวิต.


และ ขณะใด ที่จิตเกิดขึ้น (ภวังคจิต)

ขณะนั้น...ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย.!


ฉะนั้น

"เวทนาเจตสิก"

ที่เกิดกับ ภวังคจิต

(ในขณะที่กำลังหลับสนิท)

เป็น วิบากเจตสิก.


เวทนาจตสิก ชาติวิบาก

ซึ่งเกิดขึ้น พร้อมกับ ภวังคจิต แต่ละขณะ.

รู้อารมณ์เดียวกัน

และ ดับพร้อมกัน กับภวังคจิตแต่ละขณะนั้น ๆ


.


อารมณ์ของภวังคจิต แต่ละขณะ

ไม่ใช่อารมณ์ ที่ปรากฏในโลก (ทางหกทวาร) นี้.


ฉะนั้น

ขณะที่กำลังหลับสนิท

จึงไม่รู้สึกตัว อย่างเช่นขณะที่เห็นทางตา

หรือ ได้ยินทางหู เป็นต้น.


.


ไม่มีใครสามารถ รู้ "ลักษณะของเวทนาเจตสิก"

ซึ่งเกิดขึ้นขณะที่กำลังหลับสนิท ได้.!


แต่ ขณะที่ตื่นขึ้นมา..............

ก็น่าคิดอีก ว่า...."อะไร" ตื่น.?


ขณะที่กำลังหลับสนิท............

ก็น่าคิด ว่า..... "อะไร" หลับ.?


.
.
.




รูป ไม่ใช่ สภาพรู้

รูป

จึง ไม่ตื่น ไม่หลับ.!


แต่

นามธรรม เป็น สภาพรู้


ฉะนั้น

เมื่อ สภาพรู้...ไม่รู้ อารมณ์ ในโลกนี้

จึงชื่อว่า "หลับ"


เพียง "หลับ" แต่ ยังไม่สิ้นชีวิต...............

เพราะว่ายังมี "ภวังคจิต" เกิด-ดับ-สืบต่อ

กระทำกิจ.....ดำรงภพชาติอยู่ นั่นเอง.

ขณะที่ตื่น นั้น....อะไร ตื่น.?


.


จิต และ เจตสิก นั่นเอง...ที่ ตื่น.!


ตื่น โดยการที่ จิต และ เจตสิก เกิดขึ้น รู้อารมณ์

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย และ ทางใจ.


ฉะนั้น

ขณะใดที่ รู้อารมณ์ ของโลกนี้

ขณะนั้น...ชื่อว่า "ตื่น"


.


แต่ก็ น่าพิจารณา ให้ละเอียดลงไปอีก.......

เพื่อ "ประโยชน์" ต่อการเจริญสติปัฏฐาน.!


เพราะการแสดงธรรม นั้น

จุดประสงค์ เพื่อเกื้อกูลให้ "สติ" เกิดขึ้น

ระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

และ เป็น วิริยารัมภกถา

หมายถึง

คำพูด ที่อุปการะ เกื้อกูลให้เกิด วิริยะ

ที่จะระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

ตามปกติ ตามความเป็นจริง นั่นเอง.


.


ฉะนั้น

ก็ควรพิจารณา ว่า

ขณะที่ "ตื่น" นั้น

จิต และ เจตสิก เกิดขึ้น

รู้อารมณ์ของโลกนี้ ตามที่เข้าใจกัน.


แต่ก็น่าคิดพิจารณาให้ "ลึกซึ้ง" ขึ้นอีก ว่า

อะไร ที่ ตื่น.?


.


จิต และ เจตสิก เกิดขึ้น...ตื่น พร้อมกัน.

หมายถึง

จิต และ เจตสิก

ซึ่งเป็น ชาติวิบาก

ได้แก่

จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส

จิตที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย.

(ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐.)


การเกิดขึ้นของ วิบากจิต ดังกล่าว

ยับยั้งไม่ได้เลย.!


วิบากจิต ที่เกิดขึ้นนั้น.......

เกิดแล้ว ต้องดับไปทันที.!


.


จะหลับอยู่ตลอดไป ได้ไหม.?

ไม่มีทาง...ที่จะเป็นไปได้เลย.!


เพราะว่า

กรรม ไม่ได้เป็นปัจจัยให้เพียงเกิดขึ้น (ปฏิสนธิ)

เป็นบุคคลในชาตินี้ แล้วหลับไป จนกระทั่งตาย.


แต่

กรรม เป็นปัจจัยให้ มีตา หู จมูก ลิ้น กาย

เพื่อเป็นปัจจัยให้ "จิต" (และเจตสิก) เกิดขึ้น รู้อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง

ตามเหตุ ตามปัจจัย.


เช่น

ขณะที่จิต (และเจตสิก) เกิดขึ้น เห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา

ถ้าเป็นสิ่งที่น่าพอใจ....ก็เป็นผลของกุศลกรรม ในอดีต.


และ ถ้าเห็น สิ่งที่ไม่น่าพอใจ..........

ก็เป็น ผลของอกุศลกรรม ในอดีต.


จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส

และ จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย

ก็โดยนัยเดียวกัน.


.


ฉะนั้น

เมื่อเข้าใจแล้ว ว่า

เป็น วิบากจิต และ วิบากเจตสิก

ที่ "ตื่น" และ รู้อารมณ์ที่ปรากฏ

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย และ ทางใจ

ตามปกติ ตามความเป็นจริง

ในชีวิตประจำวัน.



นอกจากนั้นแล้ว....ยังมี "อะไร" อีก.?


.


นอกจาก การตื่น

ซึ่ง หมายถึง

ขณะที่ วิบากจิต และ วิบากเจตสิก เกิดขึ้น

รู้อารมณ์ที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

และ ทางกาย แล้ว.....


"อกุศลธรรม"

หรือ

"กิเลสทั้งหลาย"

ก็ เริ่มตื่นขึ้นมาด้วย.!


เพราะว่า

ขณะที่กำลังหลับสนิทอยู่นั้น

ยังมี "อนุสัยกิเลส" คือ กิเลสที่ยังไม่ได้ดับ

ซึ่งสั่งสมอยู่ในภวังคจิตทุกขณะ ที่เกิด-ดับ-สืบต่อ

ขณะที่กำลังหลับสนิท.


.


ฉะนั้น

ขณะที่กำลังหลับสนิท

กิเลสที่สั่งสมอยู่.........

(อนุสัยกิเลส)

ไม่ได้เกิดขึ้น....กระทำกิจ คือ ยินดี ยินร้าย ฯ

เพราะยังไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส

และ ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกายใด ๆ........

คือ

ไม่รู้อารมณ์ในโลกนี้เลย.!


.


ฉะนั้น

ขณะที่กำลังหลับสนิท

กิเลสทั้งหลาย ก็ยังหลับอยู่ด้วย.!


และขณะที่ตื่นขึ้นมา

กิเลสทั้งหลาย ก็ตื่นขึ้นมาด้วย.!


.


หมายความว่า

หลังจากที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส

และ รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย

(ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ประเภท.)

ดับไปแล้ว..........

กิเลสทั้งหลาย ก็เกิดขึ้น ร่วมกับจิตขณะต่อไป

เป็น อกุศลจิต ประเภทต่าง ๆ

(อกุศลจิต ๑๒)

ตามเหตุ ตามปัจจัย

ที่ทำให้เกิดอกุศลธรรม ประเภทนั้น ๆ



ในภาษาไทยคำว่า "พระ" มาจากภาษาบาลีว่า วร หรือ วรํ

มีความหมายว่า ประเสริฐ หรือ ผู้ประเสริฐ



จิตเกิดดับสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา สัญญาความทรงจำกระทำกิจจำ หมายรู้ลักษณะ

ของอารมณ์ทุก ๆ ขณะที่เกิด ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่เพียงแต่ภพชาตินี้ ไม่ว่าภพชาติ

ไหนก็ตาม สัญญาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ทุกๆขณะจำได้หมดทุกๆขณะที่มีการเห็น

การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การถูกต้องกระทบสัมผัส และการคิดนึก สัญญาเจตสิก

กระทำกิจจำ หมายรู้ลักษณะของอารมณ์สืบต่อสะสมอยู่ในจิตต่อไปเรื่อยๆ

การอบรมเจริญสติปัฎฐานต้องเริ่มจากการอบรมความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรม

ที่กำลังปรากฎในชีวิตประจำวัน การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การถูกต้อง-

กระทบสัมผัส และการคิดนึก ขณะฟังพระธรรมควรพิจารณาถึงสิ่งที่กำลังปรากฎไม่ว่า

จิตเห็นเกิดขึ้น เป็นสภาพเห็น ก็เป็นเพียงจิตที่เกิดขึ้นทำกิจเห็นเท่านั้น สิ่งที่ปรากฎ


ทางตาก็เป็นเพียงรูปธรรมชนิดหนึ่ง เป็นเพียง สี สัน วรรณะต่างๆ ซึ่งปรากฎกับจิตเห็น

เท่านั้น จิตได้ยินไม่สามารถเห็นสิ่งที่ปรากฎทางตาได้ การฟังแล้วฟังอีกในลักษณะ

สภาพธรรมที่กำลังปรากฎไม่ว่าทางตา ทางหู... สัญญาจำในลักษณะสภาพธรรมที่กำ-

ลังปรากฎแต่ละประเภท จนเป็นสัญญาที่มั่นคง คือ จำในลักษณะสภาพธรรมตรงตาม

ความเป็นจริง ไม่ใช่จำแต่ชื่อว่า จิตเห็น สิ่งที่ปรากฎทางตา จิตได้ยิน เสียง... เป็นต้น

เพราะการจำชื่อ ไม่ได้จำในลักษณะสภาพธรรมก็ไม่เป็นเหตุใกล้ให้สติปัฏฐานเกิดได้

ปัญญาที่ค่อย ๆ อบรม ค่อย ๆ เห็นถูกในลักษณะสภาพธรรมแต่ละอย่าง แต่ละทวารที่

ปรากฎในชีวิตประจำวัน สัญญาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง เกิดขึ้นจำในลักษณะสภาพ

ธรรม จนเป็นสัญญาที่มั่นคงในลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ เป็นเหตุใกล้ให้สติ

ปัฏฐานเกิด เมื่อใดที่สติเกิดขณะนั้นหมายความว่า เพราะมีความจำได้มั่นคงว่าขณะนี้

เป็นสภาพธรรม สติจึงเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ

ปฎิสนธิ ภวังค์ จุติ ไม่ใช่วิถีจิต เพราะไม่รู้อารมณ์คือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใน

ปัจจุบันชาติที่กระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และทางกายได้ ปฎิสนธิจิต

ภวังคจิต และจุติจิตในภพชาตินี้นั้น มีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จะจุติในชาติก่อนเป็น

อารมณ์ เพราะฉะนั้น ในภพชาติหนึ่ง ๆ นั้น ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตนั้นจึงมี

อารมณ์เดียวกันคือ อารมณ์เดียวกันกับชวนะสุดท้ายก่อนจุติจิตในชาติก่อนเป็นอารมณ์

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

" ภิกษุทั้งหลาย สำหรับบุคคลสองท่าน

เราไม่กล่าวว่าจะกระทำการตอบแทนคุณได้ง่ายเลย

สองท่านคือใคร คือ มารดาและบิดา

หากบุตรจะพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง

พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอด ๑๐๐ ปี

และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำและการดัด

และท่านทั้งสองนั้นจะพึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ

การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา เลย

บุตรพึงสถาปนาบิดามารดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธปัตย์ในแผ่นดินใหญ่

อันมีรัตนะ ๗ ประการมากหลายนี้

การทำกิจอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา เลย



ข้อนั้นเพราะเหตุไร



เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย

ส่วนว่าบุตรคนใด ยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธาให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา

ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา

ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา

ยังมารดาบิดาผู้ทรามปัญญาให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา

ด้วยเหตุมีประการเท่านี้แลการกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่า

อันบุตรนั้นทำแล้วและทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา "

จาก...พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้า ๓๕๗-๓๕๘

สภาพธรรมที่มีในขณะนี้เป็นสิ่งที่ควรศึกษา

เพราะเป็นสิ่งที่ควรรูยิ่ง

อันเป็นไปเพื่อดับกิเลส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 210
ข้อความบางตอนจาก

ภัทเทกรัตตสูตร

ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๕๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่าง:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำตรัส

แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุเทศ

และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงอุเทศและ

วิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าวต่อไป.ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๕๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง

ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และ

สิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล

ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่

คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคลนั้น

พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่งเถิด

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใคร

เล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่งเพราะว่าความ

ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้นย่อม

ไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อม

เรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความ

เพียรไม่เกียจคร้าน ทั้งกลางวันและกลาง

คืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.



-----------------ธรรมะไทย

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมของพระพุทธเจ้า

รูปภาพ

เนื่องจากพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดง

ตลอด ๔๕ พรรษา และมีการนำสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ภาษาดั่งเดิม

เป็นภาษาบาลี การศึกษาในยุคปัจจุบันควรจะเป็นไปตามลำดับ จึงจะช่วย

ทำให้เข้าใจขึ้น คือ ทุกสิ่งที่ได้ฟังควรเริ่มต้นตั้งแต่คำว่า คืออะไร เช่น คำว่า

ธัมมะ นาม จิต เจตสิก รูป สติ สมาธิ เป็นต้น เมื่อเข้าใจเป็นไปตามลำดับ

แล้ว เวลาฟังพระธรรมที่ละเอียดขึ้นจะได้ไม่งงกับคำหรือศัพท์บางศัพท์ที่ฟังอยู่

สำหรับคนที่มีปัญญามากในสมัยครั้งพุทธกาล ท่านไม่ต้องมีระบบหรือขั้นตอน

อะไรเลย แต่ในยุคนี้ต่างกัน ต้องใช้เวลาค่อยๆเป็นไปตามลำดับ

มีวิธีการที่จะศึกษาพระธรรม

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อศึกษามาสักระยะแล้วก็พบว่า การศึกษาพระธรรมนั้น

เป็นเรื่องของความเข้าใจโดยตลอด ไม่ว่าจะกำลังอ่านหรือฟังธรรมในเรื่องใด ขอให้

เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังศึกษานั้นจริงๆ โดยไม่ต้องห่วงหรือกังวลกับเรื่อง

ที่เคยศึกษามาแล้ว หรือจะศึกษาต่อๆไป เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมอย่าง

ละเอียดและมากมาย ยากที่จะมีผู้ใดศึกษาตามและจดจำไว้ได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ดี พระธรรมที่ทรงแสดงไว้มากมายนั้น ก็เพื่อให้ผู้ศึกษารู้จริงในสิ่งที่กำลัง

ปรากฎในขณะนี้ (ไม่ใช่ขณะอื่น) ซึ่งความรู้จริงนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย หากไม่เริ่ม

ด้วยความเข้าใจจริงๆในสิ่งที่กำลังอ่านหรือกำลังฟังอยู่ในขณะนี้

การศึกษาธรรมต้องเป็นไปตามลำดับ ไม่ว่าใครบุคคลใด สมัยไหนเริ่มจากปัญญาขั้น

การฟัง ขั้นพิจารณา ขั้นภาวนา(สติปัฏฐาน) ต้องเป็นไปตามลำดับเสมอ

การศึกษาธรรมชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ศึกษาธรรม ดังนั้นต้องเริ่มจากคำว่าธรรม ธรรมคือ

อะไร ฟังให้เข้าใจกับคำนี้จริงๆว่าธรรมคืออะไร แต่ไม่ใช่มาจากการท่องแต่มาจากความ

เข้าใจจริงๆ จึงจะเป็นปัจจัยให้ปัญญาขั้นอื่นๆเจริญขึ้น เมื่อเข้าใจขั้นการฟัง ปัญญา

เจริญขึ้น ธรรมนั่นเองทำหน้าที่ รู้ตามความเป็นจริง คือระลึกลักษณะของสภาพธรรม

ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา นี่เป็นการศึกษาธรรม คือศึกษรู้ตัวธรรมจริงๆ โดยอาศัยการฟังให้

เข้าใจในเรื่องของสภาพธรรม เป็นปัจจัยให้สติและปัญญาเกิดศึกษาตัวธรรมที่มีจริงใน

ขณะนี้ ขอย้ำว่า การศึกษาธรรมไม่ใช่พยายามให้รู้ชื่อมากๆ อะไรไม่รู้จะต้องรู้ ไม่ควร

ลืมจุดประสงค์ของการศึกษาธรรม ที่ถูกต้องคือเพื่อรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เมื่อรู้แล้ว

ปัญญาทำหน้าที่ละกิเลสเอง หากมีความเข้าใจที่ถูฏต้องแล้วไม่ว่าศึกษาในส่วนใด

ของพระไตรปิฎก ก็เพื่อเข้าใจความจริงที่มีในขณะนี้และขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน

ทุกอย่างต้องเป็นไปตามลำดับ จากเบื้องต้นถึงสูงสุด



คำว่า วิญญาณ ตามนัยของปฏิจจสมุปบาท หมายถึง โลกียวิบาก ๓๒

ไม่รวมวิญญาณอื่น (กุศลจิต อกุศลจิต กิริยาจิต โลกกุตรวิบาก)

คำว่า นามรูป ที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นาม หมายถึง เจตสิกที่เกิดร่วมกับ

โลกียวิบาก รูป หมายถึง กัมมชรูป คือรูปที่เกิดจากกรรมเท่านั้น

สรุปคือ วิญญาณในปฏิจจสมุปบาทต่างจากวิญญาณขันธ์ เพราะวิญญาณขันธ์ท่าน

หมายรวมจิตทุกประเภท และรูปก็เช่นกัน รูปขันธ์คือรูปทั้งหมด แต่ในปฏิจจสมุปบาท

หมายเอา กัมมชรูปเท่านั้น

-------------------------------------ธรรมะไทย

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิต ตุปาทกัณฑ์

รูปภาพ

ใน อัฏฐสาลินี จิตตุปาทกัณฑ์.

มีข้อความ ว่า



จริงอยู่..........

เมื่อ รูปธรรม และ อรูปธรรม เกิดร่วมกัน

รูป ย่อม เกิดร่วมกับ อรูป

แต่

ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตต์กัน.



อรูป ก็เหมือนกัน

คือ

เกิดร่วมกับรูป

แต่ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สัมปยุตต์กัน.



และ

รูป ก็เกิดร่วมกับ รูป

แต่ ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตต์กัน.



ส่วน อรูป โดยนิยมทีเดียว....เกิดร่วมกับ อรูป

เกี่ยวข้อง และ สัมปยุตต์กัน ทีเดียว.!


.


ที่ทรงแสดง "ลักษณะของสัมปยุตตธรรม" ไว้ โดยละเอียด.

ก็เพื่อให้ประจักษ์ชัดจริง ๆ ว่า

นามธรรม ไม่ใช่ รูปธรรม นั่นเอง.!


.


ขณะที่ศึกษา และ ฟัง พระธรรม นั้น

เป็น "สังขารขันธ์" ที่ค่อย ๆ ปรุงแต่ง "สติ-ปัญญา"


จนกว่า "สติปัฏฐาน" จะเกิด

ระลึก ตรง ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ

ตามปกติ ตามความเป็นจริง.


และ "ปัญญา"

พิจารณา รู้ ลักษณะของนามธรรม และ รูปธรรม

แต่ละ "ลักษณะ"


จนกว่า

"ลักษณะ" ของนามธรรม และ รูปธรรม

จะปรากฏ

โดยเป็น "สภาพที่แยกขาดจากกัน"

ไม่สัมปยุตต์กัน

แม้ว่าจะเกิดร่วมกัน.!


.


ฉะนั้น

"สัมปยุตตธรรม"

จึงเป็น "ลักษณะของนามธรรม"

คือ

จิต และ เจตสิก

ซึ่ง เกิด-ดับ ร่วมกัน และ รู้อารมณ์เดียวกัน.


.


นี่คือ ความต่างกัน ของนามธรรม และ รูปธรรม.


เพราะว่า

รูปธรรม เกิดพร้อมกัน และ ดับพร้อมกัน ก็จริง.

แต่

รูปธรรม ไม่ใช่สภาพรู้

รูปธรรม ไม่รู้อารมณ์ใด ๆ เลย.


ดังนั้น

รูป ทุกรูป ที่เกิดร่วมกัน...จึงไม่เป็น "สัมปยุตตธรรม"


.


เพราะว่า

สภาพธรรม ที่เป็น "สัมปยุตตธรรม" นั้น

ต้องเป็น สภาพธรรม ที่เกิดร่วมกันสนิท

โดยเป็น "นามธรรม"

ซึ่งเป็น ธาตุรู้ ที่เกิดพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน

และ เกิด-ดับ ที่เดียวกัน.

ลักษณะของจิต ประการที่ ๔

คือ

จิต แม้ทุกประเภท ชื่อว่า "จิต"

เพราะ เป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร

โดยอำนาจแห่ง สัมปยุตตธรรม.


.


เจตสิก ทั้งหมด มี ๕๒ ประเภท.


จึงทำให้ จิต ต่าง ๆ กันไป ตาม เจตสิก ที่เกิดร่วมด้วย.

ซึ่ง มาก-น้อย-ต่างกัน

ตามจำนวน และ ประเภทของจิตเหล่านั้น.


.


จิต ๘๙ ประเภท.


ซึ่ง ต่าง ๆ กัน นั้น

จำแนกออกเป็นประเภท โดย "ชาติ" คือ สภาพของจิตที่เกิดขึ้น.


จิต ๘๙ ประเภท.

ต่างกัน เป็น ๔ ชาติ.

คือ

เป็น กุศลจิต ๑.

เป็น อกุศลจิต ๑.

เป็น วิบากจิต ๑.

เป็น กิริยาจิต ๑.


.


ในวันหนึ่ง ๆ นั้น

มีขณะที่เป็น กุศลจิตบ้าง อกุศลจิตบ้าง

วิบากจิตบ้าง และ กิริยาจิตบ้าง.

(ตามเหตุ ตามปัจจัย)




.


จิต

ซึ่ง จำแนกเป็นชาติต่าง ๆ นั้น

เป็นไป ตามสภาพของจิต.


ซึ่ง ไม่ได้หมายความว่า

เป็นชาติต่าง ๆ เช่น ชาติไทย ชาติจีน ฯลฯ

และ ไม่ใช่ ชนชั้น วรรณะ.

แต่

เป็นสภาพของจิต.


เช่น

กุศลจิต.

ไม่ว่าเกิดกับใคร ที่ไหน หรือ ขณะใด.!

จิต ขณะนั้น ต้องเป็น กุศลจิต.

(จิตชาติกุศล)


และ

อกุศลจิต.

ก็ต้องเป็น อกุศลจิต.

(จิตชาติอกุศล)

ไม่ว่าจะเกิดกับใคร ที่ไหน ขณะไหน ชนชาติใด ฯลฯ


.


กุศล ต้องเป็น กุศล

อกุศล ต้องเป็น อกุศล

เปลี่ยนสภาพ ไม่ได้.!


.


นี่ คือ สภาพของ "ปรมัตถธรรม"


.


ฉะนั้น

เมื่อจิต ประกอบด้วย สัมปยุตตธรรม

ซึ่งเป็น เจตสิกที่เป็นอกุศล

จิต จึงเป็น อกุศลจิต.

แต่

จิตที่ประกอบด้วย สัมปยุตตธรรม

ซึ่งเป็น เจตสิกที่เป็นกุศล ได้แก่ "โสภณเจตสิก"

จิต จึงเป็น กุศลจิต.


.


จิต เป็นอกุศลจิต หรือ เป็นอกุศลวิบากจิต

ตามชาติของจิต.


จิต เป็นกุศลจิต หรือ เป็นกุศลวิบากจิต

หรือเป็น โสภณกิริยาจิต

ตามชาติของจิต.
ชีวิตเป็นของน้อย การฟังธรรมเป็นกำไรชีวิต ที่หากำไรอย่างอื่นมาทดแทนไม่ได้ และ

ถึงจะฟังเท่าไรเพื่อเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้เกิดสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้จิตเกิดการคิดที่ถูก

ต้องนั้น เป็นเรื่องยากมาก การปรุงแต่งของจิตดูเหมือนว่าจะเป็นไปตามโลภะ โทสะ

และโมหะเกือบตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ฟัง ๆ ๆ ยากจริง ๆ


พระธรรมเป็นของยาก ละเอียด และลึกซึ้งมาก มิเช่นนั้นพระพุทธองค์คงไม่ต้องใช้

เวลาอันยาวนานในการบำเพ็ญพระบารมีถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์ เพราะฉะนั้นไม่ควรรีบ

ร้อนที่จะบรรลุเร็ว ๆ หรือจะให้สติปัฎฐานเกิดเร็ว ๆ บางท่านยังไม่เข้าใจถึงลักษณสภาพ

ธรรมที่กำลังปรากฎที่มีอยู่จริง ๆ ไม่ว่าทางตา ทางหู...และทางใจ ว่ารูปธรรม นามธรรม

มีลักษณะอย่างไร ก็บอกว่าได้ประจักษ์การเกิดดับแล้ว..ไม่ควรประมาทว่าพระธรรมง่าย
สามารถบรรลุเร็ว ควรศึกษาอย่างละเอียดและรอบคอบ ไม่เช่นนั้นก็จะเดินทางผิดต้อง

วนเวียนอยู่ในวัฎฎะต่อไป การฟังพระธรรมควรตั้งใจฟังและพิจารณาให้ตรงให้ถูกใน

สิ่งที่กำลังฟัง ไม่ควรจดหรือเขียนขณะฟังพระธรรม เพราะว่าขณะที่จดนั้นก็ไม่ได้ฟัง

หรือไตร่ตรองพระธรรม

-------------ธรรมะไทย

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมบุตร เขียน:
ลูกโป่ง เขียน:
มาเป็นชุดเลยนะ...ท่านพี่ธรรมบุตร :b27:

วันนี้ พอมีเวลาว่างเหรอจ๊ะ :b1:
พรุ่งนี้วันโกนแล้ว เมื่อรืนก็วันพระ
น้องใส่บาตรให้คุณพ่อ คุณแม่บ่อยๆ ค่ะ
อย่าลืมอนุโมทนาบุญนะคะ :b36:

:b48: ธรรมรักษาค่ะ :b48:



:b4: จร้าน้องสาวที่น่ารัก พอมีเวลาก็ไม่อยากปล่อยให้เสียไปเลยได้โพสธรรมจ๊ะ :b31:

อืม..วันเป็งปุ๊ดที่แล้วก็ตักบาตรดัวยตอนเที่ยงคืน

อนุโมทนาบุญนะจ๊ะที่ตักบาตรให้คุณพ่อคุณแม่ได้บ่อยๆ

พี่ตื่นสายเพราะกว่าจะนอนบางทีตีห้า รักษาสุขภาพนะ เดินได้คล่องหรือยัง

ฝากความคิดถึงพี่น้องทุกคน และตากลมด้วย สบายดีกันหรือเปล่า

ไม่แน่เร็วนี้ถ้ามีเวลาจาลง กทม. นะจ๊ะ บาย น้องลูกโป่งของพี่ smiley



อนุโมทนาสาธุเข่นกันค่ะ...พี่ธรรมบุตร พี่ชายแสนรัก :b8:

ทุกคนสบายดีทั้งกายและใจจ้ะ :b1:
หวังว่าพี่คงสุขกายสุขใจเช่นกันนะจ๊ะ :b39:
น้องตอนนี้เดินคล่องแล้วจ้ะ
ดูเกือบปกติแล้ว
เหลือแต่ยังวิ่งไม่ได้เท่านั้นเองจ้า
แต่เดินเร็วได้อยู่นะ :b16:
วันนั้นไปวัด ก็กลัวนั่งลงที่พื้นไม่ได้
น้องก็พยายามหัดนั่งบนเตียงทุกวัน
ในที่สุดก็นั่งได้จ้า แม้จะไม่ถนัดนัก
ส่วนสะบักด้านขวาก็มีตึงๆอยุ่บ้าง...ช่างหัวมันเถอะ
ก็ขยันบริหารเอาจ้า
แค่นี้...ก็เหมือนเกิดใหม่แล้ว
ต้องเป็นคนดีให้ได้มากกว่าเดิม :b4:
อะไรอะไรมันก็ไม่แน่...อย่าพากันประมาท :b14: :b5:

:b48: รักและคิดถึงเสมอค่ะ :b48:


รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของ บัญญัติธรรม

รูปภาพ

บัญญัติธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น เพื่อสื่อสารให้เข้าใจความหมายซึ่งกันและกัน เช่น ชื่อ นายมี นางมา สีเขียว สีแดง ทิศเหนือ ทิศใต้ วันจันทร์ วันอังคาร เดือน ๘ เดือน ๑๐ ปีชวด ปีฉลู เวลาเช้า เวลาเย็น เวลา ๒๔.๐๐ น. พลเอก อธิบดี รัฐมนตรี เหรียญ ๕๐ สตางค์ ธนบัตร ๑๐๐ บาท ระยะทาง ๑ กิโลเมตร น้าหนัก ๑ กิโลกรัม เนื้อที่ ๑ ไร่ ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ท่านเรียกว่า บัญญัติธรรม
แม้แต่ ต้นไม้ ภูเขา แม่น้า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หนังสือ ปากกา นาฬิกา บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ แก้วน้า ช้อน ชาม พัดลม วิทยุ เกวียน เรือ รถยนต์ คน และสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ ก็จัดเป็นบัญญัติธรรม เช่นกัน
ปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่อยู่เหนือสมมุติบัญญัติ
หากไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นในโลกนี้ ความหมายของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นว่าเป็นนั่นเป็นนี่ มีชื่อเรียกอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ย่อมไม่เกิดขึ้นเช่นกัน แม้แต่ ต้นไม้ ภูเขา แม่น้า พื้นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ฯลฯ ก็เป็นเพียงธรรมชาติ ที่ปราศจากความหมาย ปราศจากชื่อ คือเป็นแต่เพียงสภาวะที่เกิดจากการประชุมกันของมหาภูตรูปทั้ง ๔๔ อันเป็นรูปธรรม(รูป) ที่ปราศจากนามธรรม(จิต+เจตสิก) ซึ่งเป็นสภาวะปรมัตถ์(ปรมัตถธรรม) ที่พ้นจากสมมุติบัญญัติโดยสิ้นเชิง

ส่วนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั้น หากกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมแล้ว ถือว่าไม่มีตัวตน ไม่มี นายมี ไม่มี นางมา มีแต่รูปธรรม (รูป) และนามธรรม (จิต+เจตสิก) มาประชุมกันเท่านั้น
ดังนั้น ไม่ว่าตัวเราหรือผู้อื่นซึ่งรวมถึงสัตว์ทั้งหลายด้วยนั้น เมื่อกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมหรือธาตุแท้ตามธรรมชาติแล้ว จะมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วนเท่านั้นคือ
๑. จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
๒. เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบปรุงแต่งจิตมี ๕๒ ลักษณะ
๓. รูป คือ องค์ประกอบ ๒๘ ชนิดที่รวมกันขึ้นเป็นกาย
จะเห็นได้ว่า คนเราทุกคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น มีส่วนประกอบเหมือนกันคือ
เราก็มี จิต เจตสิก รูป
เขาก็มี จิต เจตสิก รูป
สัตว์ทั้งหลายก็มี จิต เจตสิก รูป
จะมีความแตกต่างกันก็ตรงที่รูปร่างหน้าตาผิวพรรณ ซึ่งถูกจาแนกให้ แตกต่างกันด้วยอานาจของกรรมที่กระทาไว้ในอดีต
จิต+เจตสิก และรูป มีลักษณะสามัญตามธรรมชาติ (สามัญลักษณะ) อยู่ ๓ ประการคือ
๑. อนิจจลักษณะ คือมีลักษณะที่ไม่เที่ยงไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา
๒. ทุกขลักษณะ คือมีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วต้องดับไปอยู่ตลอดเวลา
๓. อนัตตลักษณะ คือมีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน ไม่สามารถบังคับบัญชาได้
สามัญลักษณะทั้ง ๓ นี้ เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน เป็นกฎธรรมชาติ เรียกว่า ไตรลักษณ์
โดยสรุปแล้ว จิต+เจตสิก และรูป ที่ประกอบขึ้นเป็นบุคคลหรือเป็น สัตว์ใดๆ ก็ตามนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีแก่นสารอะไรเลย เป็นเพียงการ ประชุมกันของส่วนประกอบที่มีความไม่เที่ยง เกิดดับ เกิดดับสืบต่อกันอย่าง รวดเร็ว (ชั่วลัดนิ้วมือ จิตมีการเกิดดับแสนโกฏิขณะ หรือหนึ่งล้านล้านครั้ง) เป็นสภาพที่หาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของผู้ใด ว่างเปล่าจากความเป็นคนนั้นคนนี้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ว่างเปล่าจากความเป็นนั่นเป็นนี่ตามที่สมมุติกันขึ้นมา แต่เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ขึ้นกับเหตุ ขึ้นกับปัจจัย พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็
ตาม ปรมัตถธรรมเหล่านี้ก็คงมีอยู่ตามธรรมชาติ พระพุทธองค์เป็นแต่เพียงผู้ทรงค้นพบ และนามาเปิดเผยให้เราทั้งหลายได้ทราบเท่านั้น
(หากต้องการทราบเนื้อหาอันลึกซึ้งของปรมัตถธรรมทั้ง ๔ ก็ต้องศึกษา พระอภิธรรมโดยละเอียดต่อไป)
ประวัติพระอภิธรรม
ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรง พิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับพระอภิธรรมซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรม (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) อันเป็นแก่นของธรรมะในพระพุทธศาสนาอยู่ตลอด ๗ วัน ในขณะที่ทรงพิจารณาเรื่องของเหตุ เรื่องของปัจจัยในปรมัตถธรรมอันเป็นที่มาของคัมภีร์ปัฏฐานอยู่นั้น ก็ปรากฏฉัพพรรณรังสี (รัศมี ๖ ประการ) มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีม่วง และสีเลื่อมพราย เหมือนแก้วผลึก แผ่ออกจากพระวรกายอย่างน่าอัศจรรย์
ในช่วง ๖ พรรษาแรกของการประกาศศาสนา พระพุทธองค์ยังมิได้ ทรงตรัสสอนพระอภิธรรมแก่ผู้ใด เพราะพระอภิธรรมเป็นธรรมะที่เกี่ยวข้อง กับปรมัตถธรรมล้วนๆ ยากแก่การที่จะอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย บุคคลที่ จะรับอรรถรสของพระอภิธรรมได้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วยศรัทธา อันมั่นคงและได้เคยสั่งสมบารมีอันเกี่ยวกับปัญญาในเรื่องนี้มาบ้างแล้วแต่ กาลก่อน แต่ในช่วงต้นของการประกาศศาสนานั้นคนส่วนใหญ่ยังมีศรัทธา และมีความเชื่อใน
พระพุทธศาสนาน้อย ยังไม่พร้อมที่จะรับคาสอนเกี่ยวกับปรมัตถธรรมซึ่งเป็นธรรมะอันลึกซึ้งได้ พระองค์จึงยังไม่ทรงแสดงให้ ทราบเพราะถ้าทรงแสดงไปแล้วความสงสัยไม่เข้าใจหรือความไม่เชื่อย่อมจะ เกิดแก่ชนเหล่านั้น เมื่อมีความสงสัยไม่เข้าใจหรือไม่เชื่อแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการดูหมิ่นดูแคลนต่อพระอภิธรรมได้ ซึ่งจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี
ล่วงมาถึงพรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรมเป็น ครั้งแรก โดยเสด็จขึ้นไปจาพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทดแทนคุณ ของพระมารดาด้วยการแสดงพระอภิธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ประสูติพระองค์ได้ ๗ วัน และได้อุบัติเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตมีพระนามว่า สันดุสิตเทพบุตร ในการแสดงธรรมครั้งนี้ได้มีเทวดาและพรหมจากหมื่นจักรวาลจานวนหลายแสนโกฏิ มาร่วมฟังธรรมด้วย โดยมีสันดุสิตเทพบุตรเป็นประธาน ณ ที่นั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรม แก่เหล่าเทวดาและพรหมด้วย วิตถารนัย คือ แสดงโดยละเอียดพิสดาร ตลอดพรรษากาล คือ ๓ เดือนเต็ม
สาหรับในโลกมนุษย์นั้น พระองค์ได้ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเป็นองค์ แรก คือในระหว่างที่ทรงแสดงธรรมอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นพอได้เวลาบิณฑบาต พระองค์ก็ทรงเนรมิตพุทธนิมิตขึ้นแสดงธรรมแทนพระองค์ แล้วพระองค์ก็เสด็จไปบิณฑบาตในหมู่ชนชาวอุตตรกุรุ เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้วก็เสด็จไปยังป่าไม้จันทน์ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าหิมวันต์ ใกล้กับสระ อโนดาตเพื่อเสวยพระกระยาหาร โดยมีพระสารีบุตรเถระมาเฝ้าทุกวัน หลังจากที่ทรงเสวยแล้วก็ทรง
สรุปเนื้อหาของพระอภิธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงแก่เหล่าเทวดาและพรหมให้พระสา รีบุตรฟังวันต่อวัน (พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรด้วย สังเขปนัย คือ แสดงอย่างย่นย่อ) เสร็จแล้วพระองค์จึงเสด็จกลับขึ้นสู่ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อแสดงธรรมต่อไป ทรงกระทาเช่นนี้ทุกวันตลอด ๓ เดือน เมื่อการแสดงพระอภิธรรมบนเทวโลก จบสมบูรณ์แล้วการแสดงพระอภิธรรมแก่พระสารีบุตรก็จบสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนาเทวดาและพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฏิได้บรรลุธรรม และสันดุสิตเทพบุตร(พุทธมารดา)ได้สาเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคล
เมื่อพระสารีบุตรได้ฟังพระอภิธรรมจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็นามาสอนให้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านโดยสอนตามพระพุทธองค์วันต่อวันและจบบริบูรณ์ในเวลา ๓ เดือนเช่นกัน การสอนพระ อภิธรรมของพระสารีบุตรที่สอนแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้เป็นการสอนชนิดไม่ ย่อเกินไป ไม่พิสดารเกินไป เรียกว่า นาติวิตถารนาติสังเขปนัย
ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้ เคยมีอุปนิสัยมาแล้วในชาติก่อน คือในสมัย ศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้เป็นค้างคาว อาศัยอยู่ในถ้าแห่งหนึ่ง ขณะนั้นมีภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม ๒ รูปที่อาศัย อยู่ในถ้านั้นเช่นกัน กาลังสวดสาธยายพระอภิธรรมอยู่ เมื่อค้างคาวทั้ง ๕๐๐ ตัวได้ยินเสียงพระสวดสาธยายพระอภิธรรมก็รู้เพียงว่าเป็นพระธรรม เท่านั้นหาได้รู้ความหมายใดๆ ไม่ แต่ก็พากันตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อสิ้น จากชาติที่เป็นค้างคาวแล้วก็ได้ไปเกิดอยู่ในเทวโลกเหมือนกันทั้งหมด จนกระทั่งศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นจึงได้จุติจาก เทวโลกมาเกิดเป็นมนุษย์และได้บวชเป็น
ภิกษุในศาสนานี้ตลอดจนได้เรียน พระอภิธรรมจากพระสารีบุตรดังกล่าวแล้ว นับแต่นั้นมาการสาธยาย ท่องจาและการถ่ายทอดความรู้เรื่องพระอภิธรรมก็ได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้าง ขวาง
ภายหลังที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วในวันแรม ๑ ค่า เดือน ๘ หลังจากถวายพระเพลิงได้ ๕๒ วัน ท่านมหากัสสปเถระ พระอุบาลีเถระ พระอานนทเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนเป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ๖ ฉฬภิญญะ๗ และเตวิชชะ๘ ได้ช่วยกันทา สังคายนาพระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และได้กล่าวยกย่องพระ อภิธรรมว่าเป็นหมวดธรรมที่สาคัญมากของพระพุทธศาสนา การทา สังคายนาครั้งนี้ มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธัมมัตถสังคหะคืออะไร

รูปภาพ

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๑๒๐๐๙ มีพระเถระผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎกท่านหนึ่งมีนามว่า พระอนุรุทธเถระ (พระอนุรุทธาจารย์) ท่านเป็นชาวกาวิลกัญจิ แขวงเมืองมัทราช ภาคใต้ของประเทศอินเดีย ท่านได้มาศึกษา พระอภิธรรมอยู่ที่สานักวัดตุมูลโสมาราม เมืองอนุราธบุรี ประเทศลังกา จนมีความแตกฉานและได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระอภิธรรมท่านหนึ่ง ต่อมาท่านได้รับอาราธนาจากนัมพะอุบาสกผู้เป็นทายกให้ช่วยเรียบเรียงพระ อภิธรรมปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้งมากนั้นให้สั้นและง่ายเพื่อสะดวกแก่การ ศึกษาและ

จดจา ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาพระอภิธรรมทั้งหลายในอนาคต พระอนุรุทธาจารย์ได้อาศัยพระอภิธรรมปิฎกทั้ง ๗ คัมภีร์ มาเป็นหลักในการเรียบเรียงพระอภิธรรมฉบับย่อและเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ปฏิสัมภิทัปปัตตะ = ผู้ที่ได้ปฏิสัมภิทา ๔ คือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจธรรมะอย่างแตกฉาน สามารถแยกแยะและขยายความได้อย่างละเอียดลึกซึ้น มีปฏิภาณไหวพริบ มีโวหารและวาทะที่จะทาให้ผู้อื่นรู้ตาม เข้าใจตามได้โดยง่าย ๗ ฉฬภิญญะ = ผู้มีอภิญญา ๖ อันได้แก่ ๑ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ ๒ .มีหูทิพย์ ๓. ทายใจผู้อื่นได้ ๔.ระลึกชาติได้ ๕. มีตาทิพย์ ๖. สามารถทาลายอาสวะกิเลสให้สิ้นไป ๘ เตวิชชะ = ผู้ที่ได้วิชชา ๓ ได้แก่ ๑. ระลึกชาติได้ ๒. รู้การจุติและการอุบัติของสัตว์ ๓. มีปัญญาที่ทาอาสวะกิเลสให้สิ้นไป ๙ หลักฐานบางแห่งระบุว่า ประมาณปี พ.ศ. ๑๕๐๐

อภิธัมมัตถสังคหะ แยกออกเป็น อภิ+ธัมมะ+อัตถะ+สัง+คหะ อภิ = อันประเสริฐยิ่ง ธัมมะ = สภาพที่ทรงไว้ไม่มีการผิดแปลกแปรผัน อัตถะ = เนื้อความ สัง = โดยย่อ

คหะ = รวบรวม

อภิธัมมัตถสังคหะ จึงหมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของ พระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ไว้โดยย่อ อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็ว พระอภิธรรม แบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท (๙ ตอน) แต่ละปริจเฉทมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

ปริจเฉทที่ ๑ จิตตสังคหวิภาค

แสดงเรื่อง ธรรมชาติของจิต ประเภทของจิต ทั้งโดยย่อและโดย พิสดาร ทาให้เข้าใจถึงจิตประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต มหัคคตจิต และโลกุตตรจิต

ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค

แสดงเรื่องเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิตเพื่อปรุงแต่งจิต มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ แบ่งเป็น เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้ทุกประเภท เจตสิกฝ่ายกุศล และเจตสิกฝ่ายอกุศล

ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค

แสดงการนาจิตและเจตสิกมาสัมพันธ์กับธรรม ๖ หมวด ได้แก่ ความ รู้สึกของจิต (เวทนา) เหตุแห่งความดีความชั่ว (เหตุ) หน้าที่ของจิต (กิจ) ทางรับรู้ของจิต (ทวาร) สิ่งที่จิตรู้ (อารมณ์) และที่ตั้งที่อาศัยของจิต (วัตถุ)

ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค

แสดงวิถีจิต อันได้แก่กระบวนการทางานของจิตที่เกิดทางตา ทาง หู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เมื่อได้ศึกษาปริจเฉทนี้แล้วจะทาให้ รู้กระบวนการทางานของจิตทุกประเภท บุญบาปไม่ได้เกิดที่ไหน เกิดที่วิถี จิตนี้เอง ก่อนที่จะเกิดจิตบุญหรือจิตบาป มีจิตขณะหนึ่งเกิดก่อน คอยเปิด ประตูให้เกิดจิตบุญหรือจิตบาป จิตดวงนี้เกี่ยวข้องกับการวางใจอย่างแยบ คาย (โยนิโสมนสิการ) หรือการวางใจอย่างไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) หากเราได้เข้าใจก็จะมีประโยชน์ในการป้องกันมิให้จิตบาปเกิดขึ้นได้

ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

แสดงถึงการทางานของจิตขณะใกล้ตาย ขณะตาย (จุติ) และขณะ เกิดใหม่ (ปฏิสนธิ) กล่าวถึงเหตุแห่งการตาย การเกิดของสัตว์ในภพภูมิต่างๆ โดยแบ่งได้ถึง ๓๑ ภพภูมิ (มนุษยภูมิเป็นเพียง ๑ ใน ๓๑ ภูมิ) ขณะเวลาใกล้จะตายภาวะจิตเป็นอย่างไร ควรวางใจอย่างไรจึงจะไปเกิดในภพภูมิที่ดี พระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าตายแล้วต้องเกิดทันที มิใช่ ตายแล้ววิญญาณ (จิต) ต้อง

เร่ร่อนเพื่อไปหาที่เกิดใหม่ และยังได้อธิบาย เรื่องของกรรม ลาดับแห่งการให้ผลของกรรมไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งอีกด้วย

ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค และนิพพาน

เมื่อได้ศึกษาทาความเข้าใจเรื่องจิต และเจตสิก อันเป็นนามธรรม มาแล้ว ในปริจเฉทที่ ๖ นี้พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงองค์ประกอบที่สาคัญ อีกอย่างหนึ่งของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นั่นก็คือเรื่องของรูป ร่างกาย (รูปธรรม) โดยแบ่งรายละเอียดออกเป็นรูปต่างๆ ได้ ๒๘ ชนิด และอธิบายถึงสมุฏฐาน (เหตุ) ในการเกิดรูปต่างๆ ไว้อย่างละเอียดพิสดาร

ในตอนท้ายได้กล่าวถึงเรื่องพระนิพพานว่ามีสภาวะอย่างไร อันจะ ทาให้เข้าใจเรื่องของพระนิพพานได้อย่างถูกต้องชัดเจน

ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

เมื่อได้ศึกษาปรมัตถธรรม ๔ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน มาจากปริจเฉทที่ ๑ ถึง ๖ แล้ว ในปริจเฉทนี้จะแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ซึ่งให้ผลเป็นความสุข และธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลซึ่งให้ผลเป็นความทุกข์ ในสภาวะความเป็นจริงแล้วกุศลจิต (จิตบุญ) และอกุศลจิต (จิตบาป) จะเกิดสลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา ส่วนจะเกิดจิตชนิดไหนมากน้อยเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจริยธรรม ของแต่ละบุคคล คนเราทั่วไปมักไม่เข้าใจและไม่รู้จักกับกุศลและอกุศลเหล่านี้ จึงทาให้ชีวิตตกอยู่ในวัฏฏทุกข์ไม่รู้จักจบสิ้น ในปริจเฉทที่ ๗ นี้ได้แสดงธรรมที่ควรรู้ที่สาคัญๆ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ (ขันธ์ที่ถูกอุปาทานยึดมั่นอย่างเหนียว

แน่น), อายตนะ ๑๒ (สิ่งเชื่อมต่อเพื่อให้รู้อารมณ์), ธาตุ ๑๘ (ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพ ของตน), อริยสัจ ๔ (ความจริงของพระอริยะ) และโพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เกื้อกูลการตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค) มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘

ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

ในปริจเฉทนี้ ท่านได้แสดงเรื่องปฏิจจสมุปบาท (เหตุและผลที่ทาให้มีการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์) และปัจจัยสนับสนุน ๒๔ ปัจจัย ในตอนท้ายยังได้แสดงความหมายของบัญญัติธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ใช่เป็นความจริงแท้ แต่เป็นจริงตามสมมุติ (สมมุติสัจจะหรือสมมุติโวหาร) ตามกติกาของชาวโลก

ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐานหรือการทาสมาธินั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตเกิด ความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะผลของการทา สมาธิหรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถ ทาลายกิเลสได้ ถึงแม้จะเจริญสมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุข อยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการเจริญวิปัสสนากรรม ฐาน เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า จิต+เจตสิก และรูป ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตต่างก็มีการเกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป - เกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป ต่อเนื่องกันไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนอะไรของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่สามารถที่จะบังคับบัญชาได้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้ เมื่อมีกาลัง แก่กล้าก็จะสามารถประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธรรมที่ควรรู้มากๆ
--------------------------------------------------------------------------------
รูปภาพ

พระอภิธรรมปิฎก หรือเรียกสั้นๆ ว่า พระอภิธรรม เป็นหมวดที่ ประมวลพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่องของ ปรมัตถธรรม ล้วนๆ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อกล่าวถึงบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั้นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ดังนั้น ธรรมะในหมวดนี้จึงไม่มีเรื่องราว ของบุคคล เหตุการณ์ หรือสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า สัง. วิ. ธา. ปุ. กะ. ยะ. ปะ. (หัวใจพระอภิธรรม) ได้แก่

๑. คัมภีร์ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มีทั้งหมด ๔ กัณฑ์ คือ ๑) จิตตวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจาแนกจิตและเจตสิก เป็นต้น ๒) รูปวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจาแนกรูป เป็นต้น ๓) นิกเขปราสิกัณฑ์ แสดงธรรมที่เป็นแม่บท (มาติกา) ของ ปรมัตถธรรม ๔) อัตถุทธารกัณฑ์ แสดงการจาแนกเนื้อความตามแม่บทของ ปรมัตถธรรม

๒. คัมภีร์วิภังค์ ว่าด้วยการจาแนกมาติกาในคัมภีร์ธัมมสังคณี ทั้งติกมาติกา ๒๒ หมวด และทุกมาติกา ๑๐๐ หมวด โดยแบ่งเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่น ขันธวิภังค์ จาแนกขันธ์ อายตนวิภังค์ จาแนกอายตนะ, ธาตุวิภังค์ จาแนกธาตุ, สัจจวิภังค์ จาแนกสัจจะ, อินทริยวิภังค์ จาแนกอินทรีย์, ปฏิจจสมุปบาทวิภังค์ จาแนกปฏิจจสมุปบาท, สติปัฏฐานวิภังค์ จาแนก สติปัฏฐาน เป็นต้น

ขันธ์ หมายถึง ขันธ์ ๕ อันประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ รูปขันธ์ ก็คือ รูป, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รวมเรียกว่า เจตสิก ส่วนวิญญาณขันธ์ ก็คือ จิต ดังนั้น ขันธ์ ๕ ก็คือ จิต + เจตสิก + รูป นั่นเอง

๓. คัมภีร์ธาตุกถา ว่าด้วยคาอธิบายเรื่องขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ โดยนามาติกาของคัมภีร์นี้จานวน ๑๐๕ บท และมาติกาจากคัมภีร์ธัมมสังคณีจานวน

๒๖๖ บท (ติกมาติกา ๖๖ บท ใน ๒๒ หมวด และทุกมาติกา ๒๐๐ บท ใน ๑๐๐ หมวด) มาแสดงด้วยนัยต่างๆ (จานวน ๑๔ นัย) เพื่อหาคาตอบว่าสภาวธรรมบทนั้นๆ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์เท่าไร เข้าได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าได้กับธาตุเท่าไร เข้าไม่ได้กับขันธ์เท่าไร เข้าไม่ได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าไม่ได้กับธาตุเท่าไร

๔. คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยการบัญญัติ (การประกาศ แสดง หรือชี้แจง) ในเรื่อง ๖ เรื่อง คือ (๑) ขันธบัญญัติ การบัญญัติเรื่องขันธ์ (๒) อายตน บัญญัติ การบัญญัติเรื่องอายตนะ (๓) ธาตุบัญญัติ การบัญญัติเรื่องธาตุ (๔) สัจจบัญญัติ การบัญญัติเรื่องสัจจะ (๕) อินทริยบัญญัติ การบัญญัติ เรื่องอินทรีย์ (๖) ปุคคลบัญญัติ การบัญญัติเรื่องบุคคล

๕. คัมภีร์กถาวัตถุ ว่าด้วยการโต้วาทะเพื่อชี้แจงแสดงเหตุผลให้เห็นว่าวาทกถา (ความเห็น) ของฝ่ายปรวาที (พวกภิกษุในนิกายที่แตกไปจากเถรวาท ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) จานวน ๒๒๖ กถา ล้วนผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากพระพุทธพจน์ดั้งเดิมที่ภิกษุฝ่ายเถรวาทยึดถือ ปฏิบัติอยู่ วิธีการโต้วาทะใช้หลักตรรกศาสตร์ที่น่าสนใจมาก นับเป็น พุทธตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งมีในคัมภีร์นี้เท่านั้น

๖. คัมภีร์ยมก ว่าด้วยการปุจฉา-วิสัชนา สภาวธรรม ๑๐ หมวด ด้วยวิธีการยมก คือการถาม-ตอบ เป็นคู่ๆ ซึ่งเป็นวิธีการเฉพาะของคัมภีร์ยมก

สภาวธรรม ๑๐ หมวด ได้แก่ (๑) หมวดมูล (สภาวธรรมที่เป็นเหตุ) (๒) หมวดขันธ์ (๓) หมวดอายตนะ (๔) หมวดธาตุ (๕) หมวดสัจจะ (๖) หมวด

สังขาร (๗) หมวดอนุสัย (๘) หมวดจิต (๙) หมวด สภาวธรรมในกุสลติกะ เรียกสั้นๆ ว่า หมวดธรรม (๑๐) หมวดอินทรีย์ สภาวธรรม ๑๐ หมวดนี้ทาให้แบ่งเนื้อหาของคัมภีร์ยมกออกเป็น ๑๐ ยมก เรียกชื่อตามหมวดสภาวธรรมที่เป็นเนื้อหา คือ (๑) มูลยมก (๒) ขันธยมก (๓) อายตนยมก (๔) ธาตุยมก (๕) สัจจยมก (๖) สังขารยมก (๗) อนุสยยมก (๘) จิตตยมก (๙) ธัมมยมก (๑๐) อินทริยยมก

๗. คัมภีร์ปัฏฐาน ว่าด้วยการจาแนกสภาวธรรมแม่บท หรือ มาติกา ทั้ง ๒๖๖ บท (๑๒๒ หมวด) ในคัมภีร์ธัมมสังคณี โดยอานาจปัจจัย ๒๔ ประการ มี เหตุปัจจัย เป็นต้น เพื่อให้เห็นว่าสภาวธรรมทั้งหลายปรากฏเกิดขึ้น ตามเหตุ ตามปัจจัยทั้งสิ้น มิได้เกิดจากการบงการของผู้ใด แต่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ที่เรียกว่า จิตตนิยาม กรรมนิยาม และธรรมนิยาม สรุปแล้ว พระอภิธรรมก็คือธรรมะหมวดที่ ๓ ในพระไตรปิฎกที่สอนให้รู้จักธรรมชาติอันแท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ ทั้งหลายอันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และรู้จักพระนิพพานซึ่งเป็นจุดหมายอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา ธรรมชาติทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานนี้รวมเรียกว่า ปรมัตถธรรม หากแปลตามศัพท์ คาว่า อภิธัมม หรือ อภิธรรม แปลว่าธรรมอัน ประเสริฐ, ธรรมอันยิ่ง, ธรรมที่มีอยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ

เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด จะกล่าวถึงปรมัตถธรรม ล้วนๆ โดยไม่มี บัญญัติธรรม (สมมุติโวหาร) เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงควร ทาความเข้าใจไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า ปรมัตถธรรม และ บัญญัติธรรม นั้น ต่างกันอย่างไร

ความหมายของ ปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรม คือ ธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้แน่นอน ที่ดารง ลักษณะเฉพาะของตนไว้โดยไม่ผันแปรเปลี่ยนแปลง เป็นธรรมที่ปฏิเสธ ความเป็นสัตว์ ความเป็นบุคคล ความเป็นตัวตนโดยสิ้นเชิง มี ๔ ประการ คือ ๑. จิต ๒. เจตสิก ๓. รูป ๔. นิพพาน ซึ่งมีความหมายโดยย่อดังนี้

จิต คือธรรมชาติที่ทาหน้าที่เห็น, ได้ยิน, รับกลิ่น, รับรส, รู้สัมผัส ถูกต้อง ตลอดจนธรรมชาติที่ทาให้เกิดการคิด นึก สภาวะของจิตมีทั้งหมด ๘๙ หรือ ๑๒๑ อย่าง (โดยพิสดาร) แต่เมื่อกล่าวโดยลักษณะแล้วมีเพียง ๑ เท่านั้น คือ รู้อารมณ์ (อารมณ์ในที่นี้หมายถึง รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สิ่งต่าง ๆ และเรื่องราวต่างๆ ที่จิตไปรับรู้)

จิตเป็นนามธรรม และมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วิญญาณ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ และ มนายตนะ เป็นต้น

เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต ทาให้เกิดความ รู้สึก นึก คิด ที่แตกต่างกัน ทั้งทางที่ดีและไม่ดี มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ เจตสิกเป็นนามธรรม ที่เกิดร่วมกับจิต คือเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต สภาพของจิต เป็นเพียงประธานในการรู้อารมณ์ แต่การที่จิตโกรธ หรือจิตโลภ เป็นเพราะ มีเจตสิกเข้าประกอบปรุงแต่งให้เกิดความโกรธหรือความโลภนั่นเอง จิต เปรียบเสมือนเม็ดยา เจตสิกเปรียบเสมือนตัวยาที่อยู่ในเม็ดยา จิตเกิดโดย ไม่มีเจตสิกไม่ได้ และเจตสิกเกิดโดยไม่มีจิตก็ไม่ได้เช่นกัน

เนื่องจาก จิต และ เจตสิก เป็นสิ่งที่ต้องเกิดร่วมกันตลอดเวลา ดังนั้น การอธิบายบางแห่งในหนังสือเล่มนี้จึงเขียนว่า “จิต+เจตสิก” เพื่อให้ระลึก ไว้อยู่เสมอว่าจิตและเจตสิกนั้นเป็นธรรมชาติที่ต้องเกิดร่วมกัน ต้องอิง อาศัยซึ่งกันและกัน และไม่สามารถแยกออกจากกันได้

รูป คือ ธรรมชาติที่แตกดับ ย่อยยับ สลายไปด้วยความเย็นและ ความร้อน ในร่างกายของคนเราและสัตว์ทั้งหลายนั้นมีรูปประชุมกันอยู่ ทั้งหมด ๒๘ ชนิด และรูปที่ประชุมกันอยู่นี้แต่ละรูปต่างก็แตกดับย่อยยับ สลายไปตลอดเวลา หาความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้เลย

นิพพาน เป็นธรรมชาติที่พ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัด พ้นจากการ เวียนว่ายตายเกิด นิพพานโดยปริยายมี ๒ ลักษณะคือ

๑. สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังเป็นไปกับขันธ์ ๕ หมายถึง การที่ ประหาณกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว (กิเลสนิพพาน) แต่ขันธ์ ๕ ยังมีการเกิดดับสืบต่ออยู่ (ยังมีชีวิตอยู่)

๒. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ปราศจากขันธ์ ๕ ได้แก่นิพพานของพระอรหันต์ (ผู้หมดจดจากกิเลส) และสิ้นชีวิตไปแล้ว (คือ กิเลสก็ไม่เหลือ ขันธ์ ๕ ก็ไม่เหลือ) หรือที่เรียกว่า ปรินิพพาน (ปริ = ทั้งหมด) เมื่อ ปรินิพพานแล้ว จิต+เจตสิกและรูปจะหยุดการสืบต่อและดับลงโดยสิ้นเชิง (คือเมื่อปรินิพพานไปแล้วก็จะไม่มีการเกิดอีกหรือไม่มีภพชาติต่อไปอีก)

นิพพาน เป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชน ทั้งหลายจะต้องพยายามเข้าถึงให้จงได้จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวก เป็น อริยบุคคล และเป็นทายาทผู้รับมรดกธรรมในพุทธศาสนานี้

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 132 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร