วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 08:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 134 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




__fw06.jpg
__fw06.jpg [ 27.35 KiB | เปิดดู 3777 ครั้ง ]
จิตประภัสสร

จิตประภัสสร คือ ธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิต

ชีวิตของเราเหมือนน้ำตกที่ไหลมาแล้วก็ถูกชะง่อนหิน, ถูกลมพัดปลิวกระจายแตกเป็นหยดเล็กหยดน้อย, ถูกแบ่งแยกออกจากกัน เหมือนกับชีวิตของเราที่แบ่งแยกออกจากความเป็นหนึ่งเดียว หรือความเป็นองค์รวมกับธรรมชาติ

ก็ทำให้เราพบกับความทุกข์ยากในชีวิตต่างๆมากมาย เมื่อเราไม่ตระหนักรู้ถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาลหรือความเป็นหนึ่ง เดียวกับสรรพสิ่ง หรือน้ำไม่ตระหนักรู้ในความเป็นหนึ่งเดียวกับแม่น้ำได้ ก็จะมีความกลัวเป็นพื้นฐานของชีวิตจิตใจ แต่น้ำก็ยังเป็นน้ำอยู่เสมอ

ไม่ว่ามันจะถูกแบ่งแยกออกเป็นหยดเป็นฟอง ฉันใดชีวิตของเราและความตายก็เป็นสิ่งเดียวกัน ชีวิตของเราแม้ถูกแบ่งแยกออกมา ก็ยังเป็นสิ่งเดียวกับสัจจะ

ถ้าเราได้ตระหนักรู้ความจริงอันนี้ เราก็จะไม่มีความกลัวอีกต่อไป แต่เพราะเราติดยึดอยู่กับความรู้สึกของเราเอง ในการดำรงชีวิตอยู่อย่างแบ่งแยกหรืออย่างปัจเจก,เราจึงกลัวตาย,กลัวความสิ้น สุด.เมื่อเราได้กลับคืนสู่ความเป็นธรรมชาติเดิมแท้ของเราหรือเป็นหนึ่งเดียว กับสรรพสิ่ง,

เราก็จะพบกับสภาวะที่เรียกว่า นิพพานหรือสุญญตาหรือความว่างนั่นเอง นั่นแหละเราจึงพูดว่าเราได้พบพระนิพพาน เมื่อเราตายก็คือความตายของความรู้สึกที่มีตัวเราแบ่งแยกจากสิ่งต่างๆ เราไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเรา,

ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน นี่แหละคือความตาย ตายจากความรู้สึกว่ามีตัวเรา เมื่อนั้นเราก็จะสัมผัสกับความว่าง ว่างจากการที่เรารับรู้สิ่งทั้งปวงอย่าง ไม่อาจให้ค่าว่ามันมีอยู่หรือมันไม่มีอยู่ นี่คือพุทธปรัชญาหรือแนวความเห็นของพระพุทธองค์

เราจะต้องมีความเพียรที่ถูกต้อง ประเด็นที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติคือเราจะต้องมีความเพียร ที่ไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเรา หรือความเพียรที่อยู่บนฐานของปรีชาญาณ, บนฐานของมิติที่อยู่เหนือโลกหรือบนฐานของมิติของความจริงหรือในสัจจะ ในทิศทางที่ถูกต้องนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น

แต่ถ้าเรามีความเพียรเพื่อหวังในผลสำเร็จ มีตัวเราทำความเพียรในผลสำเร็จบางอย่างที่เราหวังไว้ ซึ่งโดยปกติเราจะทำอะไร ที่ต้องการผลสำเร็จในชีวิตประจำวันของเราในกิจการต่างๆ ที่เราทำ ที่มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง

เราต้องการความสำเร็จในกิจการนั้น เมื่อเราได้, เรามี, เราก็ยึดถือหรือสำคัญมั่นหมายในผลของกิจกรรมนั้น. จากการมุ่งผลสำเร็จไปสู่การไม่ยึดติดใน

ผลสำเร็จด้วยความเพียรที่อยู่บนฐานของสัจจะ หรือบนฐานของความว่าง มันก็จะเป็นความเพียรที่ถูกต้อง เป็นความเพียรที่เรียกว่า วิริยะบารมีหรือเป็นสัมมาวายามะ เป็นความเพียรที่สมบูรณ์คือความเพียรที่อยู่บนฐานของสัมมาทิฐิ ผลที่ได้ก็จะไม่ทำให้เราเกิดความยึดถือในผลงานหรือในความสำเร็จนั้น

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




__fw01.jpg
__fw01.jpg [ 31.87 KiB | เปิดดู 3723 ครั้ง ]
การปฏิบัติ คือ การกระทำของตัวเราต่อสิ่งนั้นๆ

การปฏิบัติในชีวิตประจำวันในกิจการต่างๆ เขาเปรียบไว้เหมือนกับกบ

กบมันนั่งสมาธิเหมือนกัน มันนั่งเฉยลืมตาแป๋ว มันไม่ได้คิดว่ามันกำลังนั่งสมาธิหรือกำลังทำอะไร
แต่นั่นคือการดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันของมันด้วยความสงบ เมื่อมีแมลงผ่านมา มันก็แลบลิ้นแปล๊บ
ไปเอาแมลงมากิน และมันก็นั่งนิ่งเฉย ถ้าเราสามารถทำได้อย่างกบ

ใน ชีวิตประจำวันที่เราจะต้องทำกิจการงาน. แต่เราไม่ได้ทำอย่างนั้นในการปฏิบัติ เราคิดว่าเราทำอะไรที่เป็นสิ่งที่พิเศษหรือเพื่อจะได้อะไร,

เพื่อจะ ได้ความสงบ เมื่อเรานั่งสมาธิหรือเราเดินจงกรม เราคิดว่าเรากำลังทำสิ่งสำคัญ,สิ่งที่พิเศษและก็หวังผลที่จะได้รับความ สำเร็จหรือเกิดสติ,เกิดปัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง นี่คือเราทำด้วยความหวัง ทำด้วยความรู้สึกว่ามีตัวเราทำ.

ไม่เหมือนกับกบที่มันนั่งนิ่งลืมตา แป๋ว มันนั่งด้วยความตื่นตัว เมื่อมีแมลงที่เป็นอาหารของมันผ่านมา มันก็สามารถจะไปจับแมลงนั้นมากินได้

แต่เราทำด้วยความรู้สึกว่า มีตัวเราเป็นผู้ทำ ทำด้วยความต้องการ, ทำแล้วหวังผล ความเพียรที่เราทำอย่างนั้นมันจึงไม่ใช่ความเพียรที่ถูกต้อง มันจึงไม่สามารถทำให้จิตของ เราตั้งมั่นหรือเป็นสมาธิได้ ในชีวิตประจำวัน ในการงานหรือกิจกรรมที่เราจะต้องทำถ้าเราเป็นหนึ่งเดียวกับการงาน นั่นแหละคือการปฏิบัติ สมาธิก็จะเกิดในชีวิตประจำวันที่เราจะต้องทำกิจการงาน

ไม่ว่าเราจะทำ อะไรอยู่ นั่นแหละคือการฝึกสมาธิ เมื่อเราเป็นเรา ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็เป็นสมาธิ นั่นก็คือทำโดยไม่มีตัวเรา ทำโดยไม่มีผู้ทำ

ถ้า เราทำโดยไม่มีตัวเราทำ หรือมีความเพียรโดยไม่มีผู้เพียร การงานกับเราก็เป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นคือการปฏิบัติ นั่นคือการทำให้เกิดจิตเป็น สมาธิ เพราะทุกคนที่ดำเนินชีวิตแล้วมีปัญหาเพราะว่ามีตัวเราแยกจากสรรพสิ่ง,แยกจาก ธรรมชาติที่เรารับรู้ทางตา, ทางหู,ทางจมูก,ทางลิ้น,ทางกาย มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง ตัวเรานั่นแหละคือปัญหา เจ้าปัญหาก็คือตัวเรานั่นเอง.

ถ้ามันไม่แบ่งแยก.ปัญหาก็ไม่มี ไม่ว่างานจะลำบากยากเข็ญสักเพียงใดก็ตาม.ถ้าไม่มีตัวเรา ก็จะไม่มีปัญหาอีกต่อไป หรืออย่างเช่นเรามีความปวดมีเวทนาเช่นปวดฟัน, ปวดขา,อะไรก็แล้วแต่ ถ้ามันมีตัวเราแยกจากความปวด,มีตัวเราเป็นผู้ปวด, มีตัวเราเจ็บ,เราก็จะต้องมีความอดทน,

มีตัวเราเป็นผู้อดทน นั่นปัญหาก็เกิดขึ้น ถ้าเวทนานั้นมันคือตัวเราหรือเป็นหนึ่งเดียวกับเรา.

ปัญหา ก็จะหมดไป ตัวตนที่จะต้องอดทนก็หมดไป เมื่อเธอเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง หรือเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งแวดล้อมปัญหาต่างๆก็จะไม่มีอีกต่อไป การมีชีวิตอยู่จริงๆแล้วนี่ก็คือการอยู่กับปัญหาหรือเป็นหนึ่งเดียวกับปัญหา ในการแก้ปัญหาก็คือการเป็นหนึ่งเดียวกับปัญหา แล้วปัญหาก็จะหมดไป.

ที่มันเป็นปัญหาเพราะว่ามีตัวเรา
ที่ เราดำเนินชีวิตอยู่ทุกวันนี้ หรือปัญหาต่างๆของมนุษย์ของสังคมทั่วโลกเวลานี้ เพราะทุกคนดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกว่าตัวเราเป็นศูนย์กลาง,ดำเนินชีวิต อย่างปัจเจก,

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 15 ส.ค. 2009, 17:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




__fw10.jpg
__fw10.jpg [ 28.97 KiB | เปิดดู 3736 ครั้ง ]
พรหมวิหารธรรม

แต่ พรหมวิหารที่แผ่กระแสไปในสัตว์ทั้งปวง ไม่เจาะจงบุคคล ไม่เจาะจงสัตว์ ไม่เจาะจงสถานที่ ไม่มีขอบเขต แผ่ไปทุกทิศทั่วจักรวาล.... ท่านเรียกว่า "อัปปมัญญา"

พรหมวิหารธรรมดา จะแผ่กระแสเจาะจงสัตว์ หรือกลุ่มสัตว์ หรือเจาะจงสถานที่ แต่อัปปมัญญานั้น ไม่เจาะจงใดๆ เลย จึงกว้างขวางกว่าพรหมวิหารธรรมดา

ถ้าเราแผ่กระแสเฉพาะข้อที่ 4 คือ อุเบกขา แบบอัปปมัญญา.... ก็คือ
ให้เราแผ่กระแสแห่งอุเบกขาธรรมนี้ ไปในสรรพสัตว์ ไปทั่วทุกทิศ จักรวาล กว้างขวาง ครอบคลุม นี่แหละ คือ "อุเบกขาอัปปมัญญา"

วิธีทำ...

นั่ง ในท่าที่สบาย.... ทำจิตให้สงบ แล้วตั้งใจให้นิ่ง แล้วเริ่มสร้างคุณธรรมอุเบกขา คือ ความวางเฉย ต่อสรรพสัตว์ขึ้นมาให้เกิดในใจเราก่อน โดยพิจารณาว่า สัตว์ทั้งปวง ล้วนมีกรรมเป็นของๆ ตน สัตว์ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ดีของเขาเอง สัตว์ที่ทำไม่ดี ก็ได้ไม่ดีของเขาเอง สัตว์เป็นผู้สร้างเอง ไม่มีใครทำให้ เพราะฉะนั้น เราจึงวางเฉยต่อกรรมของสัตว์ที่เขาจะได้รับ เพราะเขาเป็นผู้ทำเอง ไม่มีใครไปบังคับเขา...

พิจารณาแบบนี้ หรือทำนองนี้ แล้วเริ่มปลูกสร้างอุเบกขาธรรม ให้เกิดในใจของเรา จนสงบ และแน่วแน่ดีแล้ว จากนั้นจึงแผ่กระแสอุเบกขานี้ ไปในทิศทั้งปวง .... เริ่มจากทิศเบื้องหน้าเราก่อนก็ได้... ไม่มีคำพูด ไม่มีคำบริกรรมใดๆ เพราะเป็นกระแสจิตล้วนๆ แผ่กระแสไปให้กว้างสุดจักรวาล จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นทิศอื่นๆ คือ ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง.....

ไม่ต้องรีบ... ใช้เวลาในแต่ละทิศ ประมาณ 5 - 10 นาที หรือเท่าใดก็ได้ แล้วแต่เราจะถึงจุดอิ่มตัว เมื่อครบทั้ง 6 ทิศแล้ว ก็ให้แผ่กระแสรวม ทุกทิศทั่วไป คล้ายแสงจากคบไฟ ที่ถูกชูขึ้น แสงจะกระจายไปทุกทิศฉันนั้น.....

ให้ทำอย่างนี้ นานที่สุด เท่าที่เราจะทำได้.... เมื่อถึงจุดอิ่มตัว มันจะคลายออกมาเองค่ะ..... เราจึงค่อยหยุดพัก ไปไหว้พระสวดมนต์ หรือนอนก็แล้วแต่....

ถ้าเราทำ ได้ สมาธิ เราจะสังเกตดูได้ทันที คือ กระแสความกำหนัดจากเพศตรงข้าม จะหายไป จิตจะเฉยๆ จะเยือกเย็นแปลกๆ ไม่ยินดียินร้ายต่อการกระทำของสัตว์ทั้งปวง จะวางเฉย...ไม่มีความโศก ไม่มีความเศร้า ไม่มีความน้อยใจ ไม่มีความกังวลอะไรในการงาน หรือวันข้างหน้าอีก...

เมื่อเราเจริญอยู่ประจำ แม้ในชีวิตประจำวัน ขณะทำงาน หรือทำอะไร เราก็หมั่นทำ เท่าที่จะนึกได้ ทำได้ ก็จะมีความรู้สึกอิ่มๆ ยังไงไม่ทราบ และจิตจะสงบดี และที่สำคัญคือแก้ความกำหนัดในเรื่องเพศได้ดีมากๆ ...... ลองทำกันดูนะค่ะ.....

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




__fw02.jpg
__fw02.jpg [ 35.53 KiB | เปิดดู 3734 ครั้ง ]
ปรมัตถธรรมหรือสัจจะ

ขณะที่เรานั่งสมาธิ เรารู้ไหมว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุด อะไรคือสิ่งที่เป็นความจริงที่สุดสำหรับเราในขณะที่เรานั่งสมาธิ

ปัญหาคือตัวเรา หรือการนั่งสมาธิ ถ้าเราสามารถจะเป็นเราได้ เราก็ย่อมจะพบกับความจริงสูงสุด
ที่เรียกว่า.."ปรมัตถธรรมหรือสัจจะ"..นั่นเอง

นี่คือสิ่งที่เราจะซาบซึ้งในการนั่งสมาธิหรือในการปฏิบัติ การศึกษาพระพุทธศาสนา ก็คือการศึกษาขบวนการของความคิดของตัวเรานี่แหละ ซึ่งทุกสิ่งที่มันออกมาจากการพูดหรือการทำทางกายกรรม มันจะต้องออกมาจากความคิดก่อน เมื่อเราได้เริ่มศึกษาเรียนรู้ตนเอง เราก็จะเริ่มศึกษาเรียนรู้ จากต้นกำเนิดของพฤติกรรมทางวาจาหรือทางกายของเรา

นั่นคือเรียนรู้ขบวนการของความคิด หรือเรียนรู้ขบวนการของจิตใจของเราเพื่อที่จะเข้าใจ
เมื่อเราเข้าใจแล้ว ขบวนการความคิดมันก็หายไป

ใจของเราก็จะเป็นอิสระจากอารมณ์ต่างๆที่ทำให้เกิดความคิดเหล่านั้น อิสระจากอวิชชา, อิสระจากความต้องการ หรือตัณหา, อิสระจากความยึดถือ หรืออุปาทาน ที่ทำให้เกิดของคู่ต่างๆ การปฏิบัติก็เพื่อให้เกิดปรีชาญาณหรือญาณทัศนะ เห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงหรือตามที่มันเป็น หรือมันเป็นของมันเช่นนั้น เอง

เมื่อเราเกิดความเข้าใจ โดยเฉพาะจิตใจของเรา การปล่อยวางอุปาทานหรือเครื่องผูกพันต่างๆ มันก็จะปล่อยวางความยึดถือ จนในที่สุดจิตใจของเราก็เป็นอิสระจากอารมณ์ทั้งปวง อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย อารมณ์ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่มันมากระทบทางตาก็คือรูปต่างๆ,สิ่งที่มากระทบ ทางหูก็คือเสียง, ทางจมูกก็คือกลิ่น, ทางลิ้นก็คือรส,

สิ่งต่างๆที่มากระทบทางกาย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หรือความรู้สึกนึกคิด ความจำต่างๆที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง นี่จิตของเรายังไม่เป็นอิสระ

ถ้าจิตของ เราเป็นอิสระ พอรับรู้อารมณ์ต่างๆทางทวารต่างๆ ใจเราจะนิ่งเฉยมั่นคง นี่คือสมาธิแล้วเราก็จะเห็นสิ่งต่างๆ มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง นี่เรียกว่า จิตใจของเราเป็นอิสระแล้ว

เมื่อหลุดพ้นแล้วเสียจากการเป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ,ปัญหาต่างๆที่มันเกิดขึ้น เพราะมันมีตัวเรา เมื่อตัวเราไม่มี, ปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องหรือดำเนินชีวิตพรหมจรรย์ก็คือ การดำเนินชีวิตอย่างเป็นอิสระจากอารมณ์ต่างๆ ในขณะเดียวกันเราก็มีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะทำอะไรก็ได้โดยที่เราไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์ ธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ ความเป็นอิสระหมายถึงจิตใจที่ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ

ที่ตกเป็นทาสก็คือเมื่อเรารับรู้แล้วเราจะมีความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ ชอบ ไม่ชอบ เกิดความรู้สึกอยากได้คือความโลภ เกิดความรู้สึกปฏิฆะคือความโกรธ นี่เรายังตกเป็นทาสของอารมณ์ แต่ถ้าเราเป็นอิสระไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ ก็คือเมื่อเรารับรู้แล้วใจของเรา ไม่เอาสิ่งนั้นมาปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกบวก ความรู้สึกลบ, ให้เกิดความรู้สึกที่เป็นของคู่ๆขึ้นมา นี่คือเราเป็นอิสระจากอารมณ์ต่างๆที่มากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย ทางใจ, จิตที่ มีอิสรภาพก็จะมีคุณภาพ ซึ่งจะแสดงออกเป็นบุคคลิกภาพของความเป็นมนุษย์ที่แท้ ที่ตื่นขึ้นแล้วจากการเห็นโลกในทัศนะใหม่ ในทัศนะที่ผิดไปจากเดิม,

แต่ก่อนนี้เราเห็นสิ่งต่างๆเป็นของคู่ๆ จากขบวนการของการลงความเห็น แต่ในทัศนะใหม่ที่เราเข้าถึงสัจจะแล้ว หรือมีอิสรภาพแล้วนี่ เราจะเห็น สิ่งต่างๆ มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง มันเป็นตามที่มันเป็น เราก็จะรู้ถึงสิ่งต่างๆตามที่มันเป็นหรือตามความเป็นจริง สิ่งต่างๆหรือความจริงเขาแสดงตัวอยู่ตลอดเวลา สัจจะหรือ ความจริงแสดงตัวอยู่ตลอดเวลา

แต่จิตใจของเราไม่สงบจากขบวนการของความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เราจึงไม่สามารถจะสัมผัสกับสัจจะที่มันแสดงตัวของมันเองอยู่ตลอดเวลาได้

แม้เราจะไม่รู้,สัจจะก็ทำงานของเขาอยู่ ถ้าเราไม่รู้เราก็เป็นปุถุชน ถ้าเรารู้เราเข้าถึงสัจจะเราก็เป็นอริยชน ในการปฏิบัติที่แย่ ที่เลว,ก็คือการปล่อยปละละเลย หรือตรงกันข้าม การปฏิบัติที่เราบังคับควบคุมกำหนดจดจ้องไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความต้อง การ นี่คือการปฏิบัติที่แย่ ผลก็จะไม่เกิด สมาธิก็จะไม่เกิด

ปัญญาก็จะไม่เกิด เราต้องปฏิบัติอย่างใส่ใจ,ไม่ใช่ปฏิบัติอย่างตั้งใจ เราจะต้องมีพลังของความใส่ใจ ใส่ใจรู้ทั่วพร้อมในตัวเราให้มันต่อเนื่อง เราจะพบกับความสงบที่แท้จริง, ความสงบที่สมบูรณ์เหมือนกับปล่อยโคไปกินหญ้าตามทุ่ง นานๆเราก็ขึ้นต้นไม้ดูโคสักที,หรือเหมือนโคแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้ามีลูกน้อยตัว หนึ่งวิ่งเล่นไปมา แม่โคเล็มหญ้าไปด้วยก็ชำเลืองดูลูกไปด้วย นี่คือการปฏิบัติในแนวทางสายกลาง

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




__fw04.jpg
__fw04.jpg [ 28.51 KiB | เปิดดู 3733 ครั้ง ]
การปฏิบัติทางสายกลาง....

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์หลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เดินทางไปพบกับปัญจวัคคีย์แสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ใจความก็คือชี้ให้เห็นทางสายกลาง สมณะทางสุดโต่งทั้งสองไม่ควรเดิน ให้เดินทางสายกลาง,และท่านอัญญาโกณฑัญญะก็ได้บรรลุธรรมคือได้เห็นทาง สายกลาง,

ได้เข้าถึงสัจจะ,ได้เห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น,ได้เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพ สิ่ง นี่คือทางสายกลาง หรือเหมือนกับที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติและตอบเทวดาที่มาถามว่าพระองค์ ปฏิบัติอย่างไรจึงข้ามโอฆะสงสารได้ในโอฆะสูตร พระองค์ก็ตอบว่าเราปฏิบัติในขณะที่เรายืน เราเดิน เรานั่ง เรานอน ในอิริยาบททั้ง 4 นี่เราปฏิบัติอย่างไม่พักไม่เพียร

ถ้าจิตของเรายังอยู่ในระดับจิตสามัญ สำนึก เราก็จะไม่เข้าใจ เอ๊ะไม่พัก ก็ปฏิบัติทั้งวันทั้งคืน อ้าวบอกว่าไม่เพียร,ไม่เพียรคือไม่ต้องทำอะไร,เราเลยไม่เข้าใจพระสูตรนี้ พักเพียรเป็นของคู่ ถ้าเราพักเราก็จมอยู่ ถ้าเราเพียรเราก็ลอย ปฏิบัติอย่างไม่พักไม่เพียรไม่จมไม่ลอย ปฏิบัติอย่างไร

พักเพียรเป็นของคู่ จมลอยเป็นของคู่ ไม่มีจมไม่มีลอยไม่มีพักไม่มีเพียร คือในขณะที่พระองค์ยืน เดิน นั่น นอน ไม่มีของคู่คืออยู่เหนือของคู่ จิตของพระองค์อยู่เหนือของคู่ก็คือจิตว่าง จิตที่เข้าถึงสัจจะสูงสุด จิตที่เข้าถึงจิตที่ประภัสสร.

จิตที่เข้าถึงทางสายกลาง จิตที่ออกไปพ้นแล้วจากสังสารวัฏฏ์ จิตที่ พ้นไปแล้วจากความรู้สึกว่ามีตัวเราเป็นศูนย์กลาง นั่นแหละคือการปฏิบัติของพระพุทธองค์ 2,500 ปีผ่านไปแล้ว “สิ่ง”หรือ “สัจจะ”ก็ยังดำรงอยู่ ที่พระองค์ตรัสว่า โยธัมมังปัสสติ โสมังปัสสติ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต นั่นแหละถ้าเราเข้าถึงทางสายกลางหรือสัมผัสได้กับทางสายกลาง นี่เราได้เห็นธรรมแล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว เราได้พบพระพุทธองค์แล้ว เป็นหนึ่งเดียวกับพระพุทธองค์แล้ว

แม้ชั่วช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น เรียกว่าเราได้ดวงตาเห็นธรรม เราได้เห็นทางที่จะดำเนินไปแล้ว,เห็นทางของการปฏิบัติแล้ว

ถ้าเมื่อใดก็ตาม ถ้าเราหล่นมาจากทางสายกลาง, ทางที่ไปพ้นจากของคู่, เราก็ตกไปอยู่บนทางสายคู่ที่เราเคยชินมันมาตั้งแต่เราเริ่มจำความได้ เดี๋ยวนี้เราอายุเท่าไรแล้ว เราอยู่กับทางสายคู่ เราอยู่กับการให้ค่าตัดสินลงความเห็นที่เป็นของคู่ๆนั่นคือเราดำเนินชีวิต อยู่บนฐานของจิตที่ เป็นเหตุผลหรือเป็นทวิภาวะ ด้วยการสังเกต ด้วยการเรียนรู้ศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ นี่แหละจะทำให้เราตื่นขึ้นแล้วอยู่เหนือพ้นโลกมายา,พ้นไปจากโลกของของคู่ จิตของเราก็จะพัฒนาไปสู่มิติที่เรียกว่าจิตเหนือสำนึกหรือจิตเหนือโลก

หรือโลกุตตรจิต นั่นก็คือสภาวะจิตที่ไม่มีของคู่นั่นเอง ไม่มีกาลเวลา ไม่มีอดีต ไม่มีปัจจุบัน ไม่มีอนาคต นี่คือจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ

ถ้าเรายังหาทางสายกลางหรือสภาวะที่พ้นไปจากความรู้สึกว่ามีตัวเรา,พ้นไปจาก การรับรู้อย่างแบ่งแยก มีสิ่งที่ถูกรู้,มีผู้รู้ไม่ได้แล้วละก้อ เราก็ยังตกไปอยู่ในมิติของจิตสามัญสำนึก ที่เปรียบไว้เหมือนเขาวงกต เรายังไม่ออกจากเขาวงกต เรายังหลุดพ้นไปจากสังสารวัฏฏ์,เรายังหลุดไปจากโลกของคู่ไม่ได้ เราก็ไม่สามารถจะสัมผัสกับความจริงแท้ที่เรียกว่าอมตธรรมได้เลย อมตธรรมเท่านั้นที่จะทำลายอุปาทานเครื่องพันธนาการที่ร้อยรัดจิตใจมนุษย์ให้ หลุดพ้นออกไปได้

สัจจะที่เป็นฐานของปรีชาญาณจะทำลายความรู้สึกว่ามีตัวเรา จะทำลายความเห็นต่างๆที่ผิดไปจากความเป็นจริงหรือความเห็นที่วิปลาส ทิฐิวิปลาสต่างๆ เข้าไปสัมผัสกับความจริงแท้ ความจริงที่เราสามารถจะรับรู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ด้วยธรรมชาติรู้ของปรีชาญาณที่เห็นในความเป็นเช่นนั้นเองของสรรพสิ่ง ในแต่ละขณะของการดำรงชีวิตอยู่ของเรา นี่คือเป้าหมายของการปฏิบัติ หากเรายังไม่สามารถจะเข้าใจประเด็นของแนวการปฏิบัติทางสายกลาง

การปฏิบัติของเราก็จะไม่กว้าหน้า การปฏิบัติของเราก็ไม่สามารถจะเข้าถึงความเป็นอิสรภาพ, เข้าถึงความเป็นเอกภาพ,เข้าถึงสมบูรณภาพได้เลย.

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 01:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 10:12
โพสต์: 905

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2rrmdd2.gif
2rrmdd2.gif [ 99.42 KiB | เปิดดู 3699 ครั้ง ]
พ่อแม่เรายึดมั่นพรหมวิหาร 4
เป็นแนวทางวิถีชีวิตแห่งธรรมตามธรรมชาติ
ท่านสามารถชื่นชมกับชีวิตที่แท้จริงได้อย่างรื่นรมย์
ในขณะเดียวกัน
หากเราไม่ลุ่มหลงอักษรมากนัก
เราก็จะพบกับความรื่นรมย์ ความปีติ
ความอิ่มเอิบของชีวิตเช่นพ่อแม่

พ่อแม่ท่านกล่าว่า
ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน
หรือการถือศีลก็ตาม
เป็นบารมีที่จะนำไปสู่การพ้นทุกข์
ทุกสิ่งต้องตั้งอยู่บนฐานของปัญญา
ที่ไม่มีขอบเขตจำกัดของจิตที่บริสุทธิ์

"ความจริงใจ ความรู้สึกดีๆ กับธรรมชาติแห่งการเป็นมนุษย์
จิตจะนำพาท่านเห็นพระโพธิสัตว์(พ่อ-แม่)ในบ้านท่าน ณ.กาลปัจจุบัน"

.....................................................
"ก้มกราบบ่อยๆ ช่วยขจัดความหยิ่ง-ทะนงออกได้"


แก้ไขล่าสุดโดย ปลายฟ้า...ค่ะ เมื่อ 26 ส.ค. 2009, 20:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




__fw08.jpg
__fw08.jpg [ 31.28 KiB | เปิดดู 3693 ครั้ง ]
การพัฒนาศักยภาพจิตของเราให้อยู่เหนือจิตสามัญสำนึกให้ได้
เป็นจุดเริ่มต้น เป็นสภาวะที่เราได้พัฒนา
หรือยกจิตของเราสู่จิตเหนือสำนึกแล้ว มันจึงไม่มีของคู่

เมื่อเรายกจิต เหนือสำนึกขึ้นไปสู่กับความเป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะสูงสุด
หรือเรียกว่าโลกุตตรจิต
ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำเราไปสู่การปล่อย การวาง การละจากเครื่องพันธนาการต่างๆ
ที่เราเคยดำเนินชีวิตมาจนเกิดความเคยชิน
หรือเกิดอนุสัยในการที่จะมองโลกในทัศนะที่ผิดไปจากความเป็นจริง
หรือในทัศนะที่เป็นเหตุเป็นผล,ในทัศนะนี้เป็นของคู่กัน
จึงกล่าวได้ว่ามนุษย์ปุถุชนเรานี่ตกเป็นทาสของคู่เสมอ
ตกเป็นทาสของเวลา, ตกเป็นทาสของเงื่อนไขต่างๆ
นั่นก็คือความยึดถือนั่นเอง

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 20 ส.ค. 2009, 19:58, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




__fw05.jpg
__fw05.jpg [ 26.46 KiB | เปิดดู 3692 ครั้ง ]
การมองหาทางซึ่งเป็นตามธรรมชาติ
หาทางที่จะพัฒนาจิตของเราให้พ้นไปจากของคู่,
พ้นไปจากการรับรู้อย่างแบ่งแยก.
นี่แหละอุบายต่างๆ รูปแบบใดๆก็ตาม.
เป้าหมายของอุบายนั้นก็เพื่อที่จะไปรับรู้
หรือพัฒนาจิตขึ้นไปอยู่ในระดับจิตเหนือสำนึก
แล้วการรับรู้ก็จะไม่แบ่งแยกอีกต่อไป,

จะไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ จะไม่มีผู้รู้
ตราบใดที่เรายังรับรู้อย่างแบ่งแยก,
มีรูปมีนาม, มีสิ่งที่ถูกรู้,

มีผู้รู้ มิติของจิตนั้นก็ยังเป็นมิติของจิตสามัญสำนึกนั่นเอง
ซึ่งในมิติของจิตสามัญสำนึกนี่
ภูมิปัญญาของมันมีขอบเขตจำกัด
ปัญญาไม่สามารถจะสัมผัสกับสัจจะสูงสุดได้

ปัญญาที่เกิดจากสัจจะสูงสุดหรือเกิดจากจิตที่บริสุทธิ์นี่
มันเป็นปัญญาที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
แต่ปัญญาในระดับจิตสามัญสำนึก
ที่มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง มันมีขอบเขตจำกัด
มันรู้เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทางทวารใดทวารหนึ่ง

เพราะฉะนั้นเราจะต้องเข้าใจตรงนี้ด้วย
และแยกให้ออกว่าปัญญาชนิดไหนที่เราจะต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดขึ้น
หลักการสังเกตง่ายๆเมื่อเกิดปัญญาที่ไม่มีขอบเขตจำกัดนี่
ความรู้สึกว่ามีตัวเรามันจะหายไป,
มันจะไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเรา การรับรู้ก็จะไม่แบ่งแยก

เราจะรับรู้เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งรอบๆตัวเรา
นี่คือการปฏิบัติที่เราสามารถจะค้นพบจุดเริ่มต้นหรือทางสายกลาง
ก่อนที่จะมีอะไรปรากฏขึ้นในความสงบหรือในจิตที่ว่างของเรานี่
เราจะไม่รู้ถึงความสงบ เมื่อจิตของเราว่าง,

เราไม่ค่อยรู้หรอกว่ามันมีความสงบหรือไม่สงบ,
ต่อเมื่อมีสิ่งใดปรากฏขึ้นมา เราก็จะรู้จักความสงบ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 20 ส.ค. 2009, 19:53, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




__fw07.jpg
__fw07.jpg [ 22.34 KiB | เปิดดู 3705 ครั้ง ]
เมื่อมีอารมณ์ใดกระทบ
แต่ก่อนเราเคยหวั่นไหว เดี๋ยวนี้เราเฉยได้ เราเป็นปกติได้,นี่แหละเราจะรู้จักความสงบ

ต่อเมื่อมีอารมณ์ต่างๆมากระทบหรือปรากฏการณ์ต่างๆมากระทบ.
เราก็จะเห็นสัจจะสูงสุด เห็นความสงบหรือความไม่เปลี่ยนแปลงของสัจจะสูงสุดได้ชัดเจน
เพราะฉะนั้นเมื่อมีบางอย่างเกิดขึ้นท่ามกลางความเป็นปกติหรือท่ามกลางความสงบ

เราก็จะพบความสงบอย่างชัดเจน เขาจึงกล่าวว่า
เมฆมีไว้เพื่อดวงจันทร์ ลมมีไว้เพื่อดอกไม้ นี่เป็นสุภาษิตญี่ปุ่น
เรามองเมฆที่มันบังดวงจันทร์ มันบังบางส่วนไว้ เราจึงสามารถเห็นความกลมของดวงจันทร์
จะเห็นความงามของสัจจะสูงสุดแสดงตัวของมันเองและกลายเป็นปรากฏการณ์,

ทั้ง 2 ทำงานร่วมกันเป็นความจริงหรือเป็นสัจจะหนึ่งเดียว
ดังนั้นเราก็จะพบคุณค่าของสัจจะสูงสุดในชีวิตประจำวันของเรา มากกว่า
เราจะพบในขณะที่เรานั่งสมาธิ
หากเราไม่เข้าใจประเด็นการปฏิบัติ หรือการภาวนาแล้วละก้อ
การปฏิบัติของเราก็จะไม่ก้าวหน้า

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 21 ส.ค. 2009, 12:53, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




__fw09.jpg
__fw09.jpg [ 29.38 KiB | เปิดดู 3756 ครั้ง ]
ในชีวิตประจำวันของเรามันจึงมีแต่วัชชพืช มีแต่เมฆ มีแต่แมกไม้
เราไม่เห็นดวงจันทร์ เราก็ไม่เห็นคุณค่าของวัชชพืช
แต่ถ้าเราเห็นเมฆเห็นดวงจันทร์ เห็นความกลมของดวงจันทร์ เห็นแมกไม้ที่มันบังสิ่งต่างๆไว้
นั่นแหละที่จะทำให้เรามีปัญหาคือ เราเน้นหรือตระหนักไปเพียงด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ

ทำให้เกิดมีปัญหาที่เราดำเนินชีวิตผ่านมา สำหรับชาวพุทธที่แท้จริงแล้วนี่
วัชชพืชที่คนทั่วไปเห็นว่ามันไร้ค่า
แต่ถ้าเราเข้าใจประเด็น เห็นสัจจะสูงสุด,เห็นความสงบ
เราก็จะรู้จักว่าวัชชพืชนี่มันคือขุมทรัพย์ ถ้าเรามีทัศนคติเช่นนี้ เราถือคติเช่นนี้อยู่ในใจ

ไม่ว่าเราจะทำอะไรในการดำเนินชีวิตของเราก็คือศิลปะที่แท้จริง
นั่นก็คือเมื่อมีอุปสรรคใดๆผ่านเข้ามาในชีวิต
หรือที่เราเปรียบเหมือนวัชชพืช เราก็ศึกษาเรียนรู้มัน
เรียนรู้มันด้วยสติปัญญาที่ไม่มีขอบเขตจำกัด

อุปสรรคต่างๆก็จะเป็นวัชชพืชที่เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้เจริญงอกงาม
อุปสรรคต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
ถ้าเราสามารถจะเรียนรู้มันได้
นี่แหละคือการดำเนินชีวิตที่เป็นศิลปะที่แท้จริง

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




__fw11.jpg
__fw11.jpg [ 28.69 KiB | เปิดดู 3758 ครั้ง ]
ถ้าเราใช้อุปสรรคนั้นในการเรียนรู้ ก็จะทำให้เรารู้ว่า
เราจะผ่านอุปสรรคไปด้วยจิตใจที่เป็นปกติ
หรือจิตที่ก้าวหน้าที่เกิดจากการปฏิบัติจริงไหม
หรือมันยังผ่านไม่ได้ทำให้เราเกิดปัญหาหรือมีปัญหาตกอยู่ในความทุกข์อยู่

นั่นก็จะเป็นเครื่องวัดที่เราปฏิบัติมาแล้ว ยังมีสิ่งที่บกพร่อง
เราก็จะต้องมีความเพียร มีความพยายามให้มากขึ้นไปกว่าเดิมอีก
อุปสรรคก็จะเป็นประโยชน์,ไม่ใช่อุปสรรคเป็นโทษต่อชีวิตของเราที่ทำให้เราทุกข์

ถ้าเรามองอุปสรรคให้เหมือนวัชชพืชที่จะสามารถบำรุงต้นไม้ได้
อุปสรรคก็จะเป็นเครื่องบำรุง ทำให้การปฏิบัติของเราก้าวหน้าขึ้น
ฉะนั้นเมื่อปฏิบัติหรือนั่งสมาธิ เราก็ควรนั่งเฉย ๆ นั่งเพื่อนั่ง นั่งด้วยความสงบของจิตใจ
นั่งหรือเดินจงกรมนี่ก็เพื่อให้ธรรมชาติที่แท้

ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ แสดงตัวของมันออกมา
โดยที่เราไม่ต้องไปกำหนดอะไรทั้งสิ้นตั้งตัวให้ตรง รักษาสภาวจิตที่ยังไม่ถูกปรุงแต่ง

หรือจิตที่ประภัสสรนั่นแหละให้มันแสดงตัวของมันออกมา
โดยไม่ได้คาดหวังหรือโดยไม่มีความต้องการ
แต่ให้เป็นไปตามธรรมชาติ ให้มันเป็นเองในความเป็นธรรมชาติของมัน

กายและใจก็เกิดความสมดุล,
เกิดความพอดี, เกิดความสมบูรณ์
นั่นก็คือการแสดงธรรมชาติที่แท้ของเราออกมานั่นเอง,

เราจึงต้องมีความพยายามที่ถูกต้อง
ที่เรียกว่าสัมมาวายามะ ความพยายามที่ถูกต้อง
หรือความเพียรที่ถูกต้อง ก็คือความเพียรที่อยู่บนฐานของจิตที่ประภัสสร
ความเพียรที่อยู่บนฐานสัมมาทิฐิ คือปัญญาที่ไม่มีขอบเขตจำกัดนี่แหละ
แล้วเราก็ต้องทำให้มันต่อเนื่องที่อยู่บนฐานของจิตที่บริสุทธิ์

เมื่อใดก็ตามที่เราพบปัญหาหรือพบอุปสรรคของชีวิต
ที่ทำให้เราเกิดความทุกข์ความวิตกกังวล
ก็จะทำให้เราเกิดปัญญา
ถ้าเราสามารถจะนำอุปสรรค

หรือปัญหาเหล่านั้นมาเป็นสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้มัน
เมื่อเราเข้าใจมันก็จะทำให้เรารู้แจ้งแทงตลอด
ถึงอุปสรรคที่มันไม่ได้เป็นสิ่งถาวรอะไร

มันเปลี่ยนแปลงอยู่ มันเคลื่อนไหวอยู่
และเราก็เห็นสภาวะที่อยู่เบื้องหลังของปรากฏการณ์
นั่นก็คือความสงบของจิตใจ ความตั้งมั่นของจิตใจที่บริสุทธิ์

แต่ว่าทั่วไปนี่มันเป็นเรื่องยากที่เราจะเห็นอย่างนั้น
แต่ถ้าเรามีความเพียร มีความตั้งใจ เข้าใจประเด็น
การปฏิบัติของเราก็จะก้าวหน้า แต่เราก็จะต้องมีประสบการณ์

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




forum.sanook.com.jpeg
forum.sanook.com.jpeg [ 31.49 KiB | เปิดดู 3694 ครั้ง ]
อริยทรัพย์

อุปสรรคต่างๆ เป็นเพียงเบื้องบนเขาส่งมาทดสอบความก้าวหน้าของเรา
ว่าเราจะผ่านอุปสรรคนั้นด้วยจิตใจที่ก้าวหน้า หรือจิตใจที่ไม่ก้าวหน้า.

แม้จิตใจของเราจะไม่ก้าวหน้า เรายังมีปัญหาที่ทำให้เราทุกข์
แต่ก็ยังมีประโยชน์ที่เราได้รู้ว่า การปฏิบัติของเราจะต้องมีความเพียรเพิ่มขึ้นอีก
เราจะต้องมีมานะพยายามและทำให้ต่อเนื่องมากกว่าเดิม
นั่นคือเราใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสเราจะต้องมีประสบการณ์นี้
ไม่งั้นมันจะผ่านอุปสรรคต่างๆไปไม่ได้

เมื่อเราสามารถจะมีประสบการณ์นี่บ่อยขึ้น
เราก็จะชนะมัน เราก็จะพบกับความปีติ,
ความสุขของชีวิตที่เป็นอมตะ ที่เป็นนิรันดร

เราจะสามารถปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นได้
ก็ด้วยการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเข้าใจแบบนี้
ถ้าเราพยายามเข้าถึงบางอย่างโดยไม่มีความเข้าใจในแบบนี้ การปฏิบัติก็จะไม่ก้าวหน้า

แต่ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องในแนวทางของการปฏิบัติ ไม่ว่าเราจะทำอะไร กิจกรรมนั้น
การงานนั้น ก็จะตั้งอยู่บนฐานของธรรมชาติที่แท้จริง
ที่เป็นธรรมชาติของสรรพสิ่ง โดยเฉพาะธรรมชาติที่แท้จริงของเรา

แล้วความสำเร็จก็จะเกิดขึ้นทีละน้อยๆ เราก็จะมีความปีติ
ความรื่นรมย์กับชีวิตในแต่ละขณะๆ ที่เราได้พบขุมทรัพย์ที่แท้จริงของชีวิต นั่นคืออริยทรัพย์
ซึ่งไม่สามารถจะถูกขโมยหรือถูกทำลายได้ด้วยไฟ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




1175590613.jpg
1175590613.jpg [ 140.35 KiB | เปิดดู 3625 ครั้ง ]
การครองเรือน

ด้วยยุคและสมัยของป้านั้น...การครองเรือนเป็นเรื่องของครอบครัว..
การที่เราจะรักใครชอบใคร..และจะครองคู่อยู่กับใคร...คนในครอบครัวจะช่วยกันพิจารณา..
คนเราเห็นตัวตนของคนอื่น..ในมุมมอง..การกระทำ..ที่ต่างกันไป...ต่อหน้าเรา..เป็นอย่างไร..
ต่อผู้อื่น..เป็นอย่างไร...

เรื่องฐานะไม่สำคัญ..ทุกอย่างแพ้ความพยายาม..แม้คุณรวยล้นฟ้า..แต่ขาดความขยัน ซื่อสัตย์
และความพยายามที่จะดำรงความดีแล้ว...สักวันก็จะรู้จักคำว่าไม่มีได้เช่นกัน
เพราะฉะนั้นเรื่องฐานะ..จึงไม่เป็นประเด็นสำหรับครอบครัวป้า

เมื่อได้คู่ที่เหมาะที่ควร..ผู้ใหญ่เห็นด้วยแล้ว...ก็ใช่ว่าจะจบนะค่ะ
การครองเรือนที่เราต้องเผชิญ..ทั้งคู่ยังต้องเจอปัญหา..ไม่ว่าจะสร้างขึ้นมา..ด้วยตั้งใจหรือไม่ตาม..
ใจเราเนี้ยแหละ...สำคัญที่สุด.........
ระลึกให้ได้เสมอว่าเรามีภาระ...เรามีพันธนาการ...ไม่ใช่โซ่...ไม่ใช่หน้าที่....
แต่พันธนาการที่ใจ ที่จะทำให้คนที่อยู่กับเรา..มีความสุขมากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้

เรื่องปากเสียงมีกันทุกครอบครัว...อยู่ที่ว่าเราพูดก่อนคิดหรือเปล่า...
คิดให้ดีทบทวนก่อนโต้ตอบ...
หากบอกว่าอารมณ์มันขึ้นลืมตัว...หากเราลืมตัวตนที่น่ารักของเราได้..
แล้วทำไมคนรอบข้างเค้าจะลืมเราบ้างไม่ได้
แต่สำหรับป้ากับลุง...ใครดังเราก็ให้เค้าดังไป...อีกฝ่ายก็นั่งมอง...
สังเกตุมั้ยเวลาฝ่ายนึ่งไม่โต้ตอบ...เมื่อเค้าโวยจนสุดๆ แล้ว..เค้าจะหันมาสนใจเรา..
เช่น..จะว่าไง...หรือมองอะำไร..ฯลฯ
นั้นแหละคือจังหวะที่เราจะหยิบยืนความช่ำเย็นให้..เช่น...
อมยิ้มบ้าง..หัวเราะบ้าง..หรือถามว่า..เหนื่อยแล้วเหรอ...ด้วยน้ำเสียงที่ไม่แข็งกร้าว
อย่าโต้ตอบเรื่องที่เป็นปัญหาในขณะนั้น...เว้นระยะ และเวลาที่เหมาะค่อยๆพูด ค่อยๆปลอบ
หรือตอบปัญหา...คราวนี้นี้เค้าจะรับฟังเรา แต่โดยดีค่ะ...

รักกันก็เพราะอารมณ์.....โกรธกัน...เกลียดกัน...ฆ่ากัน...ก็เพราะอารมณ์...เช่นกัน
ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่เรา...ว่าพูดว่า...เค้าอย่างนั้น..เค้าอย่างนี้....เราสุดๆ แล้วนะค่ะ
สุดๆ ของทุกสิ่งคือความเงียบ สงบ ทุกครั้ง

ลองดูก็ได้..
ไม่มีใคร...ร้องไห้ไม่หยุด...ไม่มีใครบ่นไม่หยุด...ไม่มีใครโกรธไม่หยุด...ไม่มีใครเหนื่อยไม่หยุด...
ทุกคนต้องหยุด...แม้จะเป็นแค่กริยาก็ตาม...
แต่อยากไปคิดแทนเค้า..หรือเข้าไปในใจเค้า...ว่าใจเข้าใจเค้ายังไม่ยอมหยุดคิด....
จงอย่าคิดแทนผู้อื่น..เพราะเค้าอาจไม่ได้คิดอย่างที่เราคิดหรอก..
หากทุกคนคิดเหมือนกัน..คงไม่เหตุการต่างๆ ที่เราเรียกว่าวงเวียนแห่งกรรมหรอกนะค่ะ....

เช่นเรื่องกับข้าว...ป้าถามคุณลุงว่าเบื่อมั้ย..อยากทานอะไรก็บอกนะ...ไม่รู้จะทำไรดี
ลุงจะตอบว่า...อะไรก็ได้...
พอนั่งทานข้าว...คุณลุงจะถามว่า..แกงจืดไม่มีเหรอ...หรือแบบเดิมอีแล้วเหรอ...?
เรื่องแค่นี้..ป้าตอบแบบอมยิ้ม..ไม่พอเหรอ...พรุ่งนี้นะ...หรืองั้นรอเดี๋ยว...จะทำให้ทาน...ก็จบ
ด้วยคำตอบที่ง่ายๆ..ของคุณลุงคือ...รอก็ได้..หรือจ๊ะๆๆ...

ไม่รู้ว่าพอจะได้สาระหรือเปล่านะค่ะ..
การครองเรื่องเป็นเรื่องอารมณ์...ไว้ตอบเป็นเรื่องจะชัดกว่านะค่ะ

ป้าว่านะ...ยุคสมัยเปลี่ยน...ค่านิยมเปลี่ยน...
แต่ป้าว่าจิตใต้สำนึกของคนไม่น่าเปลี่ยน...ที่สำคัญต้องยอมรับคำว่าพอ...ในทุกๆ เรื่อง...
เมื่อเราคิดจะทำตามเค้าอื่น ทุกๆ เรื่อง...แล้วทำไม่ไม่ลองทำในเรื่องที่ถูก..ที่ควรดูบ้างล่ะ

เรื่องการใช้ชีวิตคู่มันสอนกันไม่ได้...บอกกันไม่รู้เรื่องหรอกนะค่ะ...
เพราะทุกคนมีความคิดเป็นของตนเอง...
เพียงแต่จะย้ำเตือนว่า...หันกลับมามองข้างหลังบ้าง...ก่อนที่จะตัดสินใจก้าวต่อไป...

ข้างหลัง..คืออดีต..ที่มีรอยยิ้ม..น้ำตา..เสียงหัวเราะ..และความอบอุ่น..
เค้าเลือกที่จะจำแล้วทำ...หรือถีบตัวเองไปให้พ้น..ด้วยการวิ่งหนี...
เพราะคำว่า"ต้องการ" คำเดียว

เราสอนใครให้เชื่อไม่ได้หรอก..แต่ต้องรอให้เค้ามาถามเท่านั้น...เพื่อให้คำแนะนำเค้าได้....
แล้วเราก็แค่หวังว่า..เค้าจะดีขึ้นเมื่อทำตามเราแนะได้...เพราะเราไม่รู้ว่าเค้าจะทำตามเราหรือเปล่า
รออีกเหมือนเดิม..รอดูว่าเค้าจะยิ้มหรือร้องไห้...นั้นแหละคือคำตอบล่ะ

อนุโมทนา..ข้อความนี้จะเป็นธรรมทาน..ค่ะ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




22a0f23.jpg
22a0f23.jpg [ 78.34 KiB | เปิดดู 3627 ครั้ง ]
ปัญญาญาณ
ปัญญาญาณ คือความมหัศจรรย์ยิ่งอีกด้านหนึ่งของชีวิตเรา ซึ่งน้อยคนที่จะสัมผัสได้
ปัญญาญาณที่เกิดขึ้นจากจิตเหนือสำนึกเท่านั้น ถึงจะทำลายกิเลส ตัณหา อุปาทานที่เรายึดถือมาได้

เมื่อเราได้ทุ่มเททั้งกำลังกายกำลังใจ ใส่ใจมันให้ได้ในทุกอริยบถโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากๆ, มันมีเวลาอีกไม่มากนัก สำหรับการที่เราจะได้สัมผัสกับความจริงแท้ หรือความจริงของโลก ของจักรวาล ของชีวิตก็ตาม เราจะต้องใส่ใจหรือทุ่มเทอย่างจริงๆจังๆ ไม่มีงานใดอีกแล้วที่สำคัญ ไปกว่างานหรือกิจกรรมนี้,เราเคยผ่านชีวิตมามากมาย เคยผ่านการได้, การเสีย, การมี, การเป็น, การสูญเสียอะไรต่างๆ มามากมาย, สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมันไม่ใช่สิ่งจีรังยั่งยืนเลย,ไม่ว่าความสุขต่างๆ ที่เราเคยได้รับมา,หรือความทุกข์ก็ตาม, มันไม่ใช่สิ่งที่มีสาระเป็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์เลย มีสิ่งนี้แหละที่เป็นสาระยิ่งของชีวิต

สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คืออย่าพึ่งไปเบื่อ อย่าพึ่งไปท้อแท้ การเบื่อ การท้อแท้ทำให้ขาดแรงจูงใจ ทำให้ขาดความเพียร ทำให้ขาดฉันทะ มันแสดงถึงการปฏิบัติของเราที่ปฏิบัติผิด มันท้อแท้ มันเบื่อเพราะมันไม่สมหวัง เพราะมันไม่ได้อย่างที่เราตั้งใจ นี่เราทำด้วยความหวัง ปฏิบัติอย่างมีความหวัง หรือคาดหวังไว้ว่าเราจะได้, จะเป็น, จะมี, ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญมากของการปฏิบัติ เราจะต้องปฏิบัติที่อยู่บนฐานของความรู้สึกที่ไม่มีตัวเรา เมื่อไม่มีตัวเรา แล้วมันจะมีความคาดหวังได้ยังไง เราก็ต้องหาวิถีของการรับรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวเรา ในความรู้สึกที่ไม่มีของคู่ ในความรู้สึกที่ไปพ้นกาลเวลา จากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่ง,นี่ก็ต้องใช้เวลา

หากเราสนใจอยากรู้ชีวิตคืออะไร เป้าหมายของชีวิตคืออะไร เราต้องใส่ใจใคร่รู้อย่างต่อเนื่องอย่างแท้จริง,แล้วในที่สุดเราก็เห็นโทษ ของความแปรปรวนของสรรพสิ่ง ความไม่เที่ยงจีรัง ยั่งยืนของสรรพสิ่ง,แล้วการแสวงหาก็จะเริ่มต้นขึ้น อีกสิ่งหนึ่งก็คือแรงจูงใจ,ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการศึกษาหากขาดการตระหนักรู้ ในคุณค่าของการเป็นมนุษย์ที่แท้,หรือเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แล้ว,แรงจูงใจก็ไม่อาจจะเกิดขึ้น ความศรัทธาในการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ก็ไม่มี, เนื่องจากเราจะต้องมีความใส่ใจต่อการปฏบัติเมื่อเราจับประเด็น ได้อย่างตรงจุด, ตรงเป้าหมายของชีวิต, จุดหมาย หรือเป้าหมายก็อยู่เพียงแค่เอื้อมเท่านั้นเอง

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




16072z.jpg
16072z.jpg [ 32.46 KiB | เปิดดู 3620 ครั้ง ]
เมื่อเราได้กลายเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งต่างๆ
เราก็ย่อมจะค้นพบความหมายที่แท้จริงของ การมีอยู่เป็นอยู่ของตัวเรา
นั่นแหละคือสาระของการที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ นั่นแหละคือทาง นั่นแหละคือครูของเรา.
เมื่อสรรพสิ่งรวมลงในจิตของพุทธะหรือจิตที่บริสุทธิ์
ความสัมพันธ์หรือการให้ค่าตัดสิน เชิงทวิ, เชิงของคู่ก็ย่อมจะหายไป
ความแตกต่างของสรรพสิ่งจ่างๆ ก็จะหายไปด้วย

เราเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงตามที่มันจะเป็น ทุกการกระทำก็จะเข้าไปสู่จิตใต้สำนึก
หรือ ตกเป็นทาสของทวิภาวะ การกระทำด้วยจิตวิญญาณที่เปี่ยมไปด้วยความเป็นปกติเช่นนี้
เราก็จะพยายามดำรงทุกสิ่งไว้ในจิตของพุทธะ ในจิตที่บริสุทธิ์ของเรา.
การกระทำทุกอย่างควรเป็นการแสดงออกของความตั้งมั่นของจิตใจเรา.
ความสงบของจิตก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องหยุดการทำงานทุกสิ่ง เข้าป่า หาที่สงบ
เพื่อที่จะได้ปฏิบัติ ความสงบที่แท้จริงนี้ เราควรหาพบในกิจการงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา
แต่เราก็จะต้องใช้เวลา เหมือนกับเดินเข้าไปในหมอก กว่าจะเปียก
กว่าเราจะรู้สึกว่าเราเปียกมันก็จะต้องใช้ เวลา ไม่ เหมือนกับเราออกไปยืนตากฝน
เราไปยืนตากฝนนี่มันจะเปียกทันทีเลย.เราก็จะต้องมีความจริงใจ และพยายามในแต่ละขณะจิต.
ความสงบของจิตหรือสภาวะที่ไปพ้นปัญหาต่างๆ มันอยู่แค่เอื้อมเท่านั้นเอง

ฉะนั้นการปฏิบัติก็คือการแสดงธรรมชาติที่แท้จริงของตัวเราออกมา.
เพื่อให้เกิดความเข้าใจด้วยการปฏิบัติที่เรียบง่าย การปฏิบัติที่ไม่ได้มุ่งหวัง
ปล่อยให้มันเป็นไปเอง ให้มันพัฒนาของมันเป็นไปเองและก็ทำอย่างต่อเนื่อง.
เราก็จะพบกับพลังบางอย่างที่มันมีความมหัศจรรย์ จนกระทั่งไม่ว่าเราจะทำกิจกรรมอะไรก็ตาม.
มันล้วนแต่เป็นการแสดงธรรมชาติที่แท้จริงของเราออกมาทั้งสิ้น

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 21 ส.ค. 2009, 19:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 134 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร