วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 02:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ย. 2005, 15:24
โพสต์: 179


 ข้อมูลส่วนตัว


มนุษย์สัมพันธ์
HUMAN RELATION

ความหมาย
มนุษย์สัมพันธ์ หมายถึง ศิลปะในการดำรงชีวิตร่วมกับคนอื่นด้วยดี มีความผาสุก
มนุษย์สัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ เพื่อมุ่งให้เกิดความร่วมมือ
มนุษย์สัมพันธ์ หมายถึง การติดต่อเกี่ยวข้องระหว่างมนุษย์ เป็นการเข้ากับคนเอาชนะใจคน
มนุษย์สัมพันธ์ เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะในการเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีกับบุคคลเพื่อให้ได้มาซึ่งความรัก นับถือ ความจงรักภักดี และร่วมมือในการทำงาน
มนุษย์สัมพันธ์ เป็นกระบวนการจูงใจให้คนร่วมใจกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยมีความพอใจเป็นพื้นฐาน
มนุษย์สัมพันธ์ เป็นเรื่องราวที่ว่าด้วยพฤติกรรมของคนที่เกี่ยวข้องกัน ทำงานร่วมกันในองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายนั่นเอง
กิจกรรมหลักของ มนุษย์สัมพันธ์ คือการจูงใจเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น การจูงใจมุ่งไปสู่การทำงานเป็นทีม (Team work) ซึ่งต้องิาศัยทั้งการประสานงาน และความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของบุคคล
ก่อนอื่นผู้บริหารต้องเข้าใจพื้นฐานของมนุษย์ดังนี้
1. มนุษย์แตกต่างกันและเหมือนกัน (Man is different and alike)
2. มนุษย์ต้องการความรัก (Man needs loved and to be loved)
3. มนุษย์ต้องการความยอมรับนับถือ (Man needs recognition)
4. มนุษย์ต้องการความปลอดภัย (Man needs security)

ผู้ร่วมงานมีความเป็นมนุษย์ และมีความต้องการเช่นเดียวกับผู้บริหาร เช่น
การส่วนร่วม (Participation) มีศักดิ์ศรี (Diginity) ฯลฯ ผู้ร่วมงานมีสามัญสำนึก ความ
รับผิดชอบ มีมโนธรรม ผู้บริหารที่จะได้รับความสำเร็จในการทำงานนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำงานร่วมกับคน เข้าใจคน มีความสามารถในการจูงใจคน บำรุงขวัญให้กำลังใจ สนองตอบความปรารถนาและกระตุ้นผู้ใต้บังคับบัญชา โดยวิธีการ
ต่าง ๆ ความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหาร
1. ก่อให้เกิดความราบรื่นในการคบหาสมาคม และมีความเข้าใจอันดีต่อกัน
2. ก่อให้เกิดความพึงพอใจ เพื่อความสมัครสมานสามัคคีในการปฏิบัติงาน
3. ก่อให้เกิดความรัก มิตรภาพ ปรองดองซึ่งกันและกัน
4. ก่อให้เกิดความสำเร็จในกิจการที่มีจุดประสงค์ร่วมกัน
5. ก่อให้เกิดผลผลิตสูงสุด
6. เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้ง
สรุป ความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์ “ผลประโยชน์ส่วนรวม ร่วมแรงร่วมใจอยู่กันได้โดยไม่ต้องใช้อำนาจ”

หลักการปรับปรุงตัวให้เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี (ยิ้มแย้ม ยกย่อง ยืดหยุ่น
ยืนหยัด)
1. ต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี
2. มองผู้อื่นในแง่ดีด้วยความจริงใจ
3. ไม่ทำตัวเด่น หรือด้อยเกินไป
4. มีความตั้งใจที่จะไม่ขัดผลประโยชน์ของผู้อื่น
5. มีอารมณ์ขัน ร่าเริง แจ่มใส
6. มีอารมณ์หนักแน่น เก็บความรู้สึกได้
7. ช่วยเหลือ ให้เกียรติ ให้อภัย
8. รู้จักหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้บริหารในการสร้างและรักษามนุษย์สัมพันธ์ในหน่วยงาน
1. ให้ผู้ใต้คับบัญชาพบง่าย
2. เป็นนักฟังที่ดี กระตุ้นและเร้าใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็นมาก ๆ
3. ส่งเสริมให้ความรู้ ให้เกียรติ ยกย่อง ผู้ใต้บังคับบัญชา
4. รู้จักผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นรายบุคคล
5. ปกครองบังคับบัญชาด้วยความยุติธรรม และเป็นประชาธิปไตย
6. ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตัดสินในเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ไม่บงการตลอดเวลา
7. รู้จักประนีประนอม รู้จักโง่ และเสียสละเมื่อมีโอกาส
8. พรหมวิหาร 4 , สังคหวัตถุ 4
“ปิดหูซ้ายขวา ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้าง นอนนั่งสบาย”

สาระของมนุษย์สัมพันธ์
1. ความเข้าใจพื้นฐานของมนุษย์
2. การเข้าใจธรรมชาติ ทางจิตใจของมนุษย์ และอิทธิพลที่มีกระทบ
3. การปรับตนโดยอาศัยเทคนิคต่าง ๆ
Kieth davis กล่าวว่ามนุษย์สัมพันธ์เป็นการนำเอาบุคคลที่มีความแตกต่าง
กันมาทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ สามัคคี และร่วมมือกัน โดยได้รับความพึงพอใจ ทั้งด้านเศรษฐกิจ จิตใจ และสังคมโดยทั่วถึงกัน
ดร.ชุบ กาญจนประการ กล่าวว่า การปฏิบัติราชการเป็นการรวมพลังเพื่อก่อให้เกิดความสามัคคีธรรมในการทำงาน สามัคคีธรรมจะดีหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับคน
Hebert A Simon กล่าวว่า การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการบริหาร (Administration)
อย่าลืมว่า “เงินไม่ใช่สิ่งเดียวที่มนุษย์ต้องการ หากแต่มีความต้องการทางด้านจิตใจ หรือความสัมพันธ์ทางจิตใจกับบุคคลอื่นด้วย
แม้ว่าท่านจะเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถสูงเท่าไรก็ตาม ถ้าหากปราศจากความร่วมมือ ร่วมใจ จากเพื่อนร่วมงาน / ผู้บังคับบัญชาเสียแล้ว การทำงานก็จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้นเพื่อนร่วมงานจึงเป็นกำลังสำคัญที่จะต้องให้ความสนใจ การจะเอาใจเพื่อร่วมงานสนับสนุนช่วยเหลือถ้าเขารักเราศรัทธาเราเขาจะเต็มใจทุ่มเทเพื่อหน่วยงาน มนุษย์สัมพันธ์เป็นเครื่องมือสร้างน้ำใจคนให้เกิดผลงานสำเร็จลุล่วงไป
สรุป มนุษย์สัมพันธ์เป็นเครื่องมืออันสำคัญอย่างหนึ่งของหัวหน้างานในการที่จะนำผสมผสานภายใต้ความเชื่อที่ถูก ทุกคนจะมีความพอใจสูงในการร่วมมือกันทำงาน ถ้าทุกคนมีบรรยากาศของความเป็นมิตรรักใคร่กันและกัน มนุษย์สำคัญที่หัวใจถ้าหากผู้ใดชนะใจเขาได้แล้วก็เท่ากับชนะทุกส่วนของมนุษย์นั่นเอง การทำงานอย่างนั้นได้ต้องใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ ผลงานการวิจัยชี้ให้เห็นว่า สาเหตุที่บุคคลทำงาน
ล้มเหลวมิใช่เพราะขาดความรู้ความสามารถ แต่เพราะขาดความสามารถในการเข้ากับคน
ให้ท่านท่านจักให้ ตอบสนอง
นบท่านท่านจักปอง นอบไหว้
รักท่านท่านจักครอง ความรัก เรานา
สามสิ่งนี้เว้นไว้ แต่ผู้ทรชน

หลักธรรมสำหรับผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
สังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมที่เป็นแนวทางมในการปฏิบัติตนเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีประกอบด้วย
1. ทาน ให้ปัน เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่
2. ปิยวาจา พูดจาไพเราะอ่อนหวาน
3. อัตถจิรยา ทำตนให้เป็นประโยชน์ ช่วยเหลือเกื้อกูล
4. สมานัตตา ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย
ขงจื้อ กล่าวว่า การที่จะเข้ากับคนอื่นได้ และทำให้คนอื่นพึงพอใจนั้นต้องมีคุณลักษณะดังนี้
1. ท่าทีที่ถูกต้อง
2. วิธีการที่ถูกต้อง
3. วิทยาการที่ถูกต้อง
4. ความกล้าหาญที่ถูกต้อง
5. การกระทำที่ถูกต้อง

.....................................................
คำพูดเพียงน้อยนิดอาจเปลี่ยนชีวิตของคนได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron