วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 09:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 108 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

โมกดอกซ้อน
มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ขนาดเล็ก สูงราว ๒-๖ เมตร ไม่ผลัดใบ

ลักษณะเป็นพุ่ม เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกลำต้นสีน้ำตาล แตกกิ่งต่ำชิดผิวดิน
ทำให้มีลำต้นจำนวนมาก (ของผมเลี้ยงเป็นลำต้นเดี่ยว แตกพุ่มยอดด้านบน)

สามารถขึ้นในที่กึ่งร่มได้ดี หากถูกแดดจัดใบจะมีเขียวอมเหลือง แผ่นใบหนาทึบ

ลักษณะใบเป็นแบบใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี หรือรูปใบหอก ปลายแหลม โคนใบแหลมหรือมน

ดอก ออกดอกเป็นช่อห้อย บริเวณซอกใบที่ปลายกิ่ง ๒-๘ ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีขาว
มีทั้งชนิดกลีบดอกชั้นเดียว (โมกลา) และกลีบดอกซ้อน (โมกซ้อน) ให้ดอกทั้งปี

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง

ยังมีโมกใบด่าง ขาวหรือเหลือง (Wrightia religiosa ‘Variegata’) นิยมมาเสียบยอดกับโมกมัน (Wrightia tomentosa Roem.& Schult.) สวยงามอีกแบบหนึ่ง

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 23:05, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




DSCF0037.JPG
DSCF0037.JPG [ 63.38 KiB | เปิดดู 14347 ครั้ง ]
DSCF0039.JPG
DSCF0039.JPG [ 66.37 KiB | เปิดดู 14344 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

สาธุครับ

ดอกเข็มก็สวยดีครับ

ทนฝน ทนแดดดีจริง ๆ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 22:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ชื่อพื้นเมืองอื่น: ปัดน้ำ, หยาดน้ำค้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Drosera peltata J.E.Smith ex Willd.

ชื่อวงศ์: DROSERACEAR

ลักษณะ: มีหัวใต้ดิน ลำต้นสูง ๑๐-๓๕ ซม. ใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยมออกเรียงสลับ กว้าง ๓-๖ มม. ยาว ๕-๑๐ มม. ดอกสีขาว กว้าง ๕-๖ มม. ออกเป็นช่อบริเวณปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็ก ๒-๓ ดอก ก้านดอกยาว ๑-๒ ซม. กลีบดอกรูปไข่กลับ เกสรตัวผู้ ๕ อัน

แหล่งที่พบ: บริเวณดินทรายชุ่มน้ำในป่าสนและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับความสูง ๗๐๐-๒,๐๐๐ เมตร

ภาพจาก : ดอยลังกาหลวง จังหวัดเชียงราย

ป่าออ้...บุ้งหาดอกหญ้า...มาแจมก็แล้วกันนะ...ขี้เกรียจตั้งกระทู้ใหม่
(แล้วอย่าลืมทำรายงานนะ.. :b29: )

.....................................................
รูปภาพ"..ทุกๆ วันเป็นการเริ่มต้นใหม่..และเป็นโอกาสที่จะแก้ไขสิ่งผิดพลาดในวันวาน..เสมอ.."
"Every day is a new start and a chance to make right what went wrong yesterday."


แก้ไขล่าสุดโดย ผักบุ้ง เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 22:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 22:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 22:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ชื่อพื้นเมืองอื่น: เปราะภู

ชื่อวิทยาศาสตร์: Caulokaempferia alba K.Larsen & R.M.Smith

ชื่อวงศ์: ZINGIBERACEAE

ฤดูดอก: เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม

ลักษณะ: ลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยวรูปแถบเรียวแหลม โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกันขึ้นมาเหมือนลำต้นเทียม สูง ๓๐-๕๐ ซม. ดอกสีขาวและมีแต้มสีเหลืองตรงกลางดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ๒-๔ ดอก โดยดอกด้านล่างเริ่มบานก่อน

แหล่งที่พบ: โดยส่วนใหญ่สามารถพบตามทุ่งหญ้าป่าสนบนภูเขาทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพจาก: ภูกระดึง จังหวัดเลย

รูปภาพ

ส่วนภาพนี้เป็นเปราะภูสีเหลือง ตอนไปเดินที่ดอยลังกาหลวงมีเยอะแยะมากมายเป็นทุ่งเลยค่ะ ...
เจ้าหน้าที่บอกว่าเปราะภูสีเหลืองมีเฉพาะที่ดอยลังกาหลวงเท่านั้น

.....................................................
รูปภาพ"..ทุกๆ วันเป็นการเริ่มต้นใหม่..และเป็นโอกาสที่จะแก้ไขสิ่งผิดพลาดในวันวาน..เสมอ.."
"Every day is a new start and a chance to make right what went wrong yesterday."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 22:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ชื่อพื้นเมือง: เปราะหิน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Caulokaempferia saxicola K.Larsen

ชื่อวงศ์: ZINGIBERACEAE

ฤดูดอก: เดือนกรกฎาคม - กันยายน

ลักษณะ: ลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยวรูปหอก โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกันขึ้นมาเหมือนลำต้นเทียม สูง ๓๐-๕๐ ซม. ดอกสีเหลืองสด ออกเป็นดอกเดี่ยวตามปลายยอด กลีบดอก 3 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบยาว กลีบปากแผ่แบนรูปไข่ กลีบดอกคู่ข้างขนาดเล็กรูปขอบขนาน แผ่ออกด้านข้าง

แหล่งที่พบ: ตามซอกหินใกล้ลำธารและน้ำตกในป่าดงดิบทางภาคตะวันออกและภาคใต้

ภาพจาก : น้ำตกแม่ปล้อง เขาใหญ่

.....................................................
รูปภาพ"..ทุกๆ วันเป็นการเริ่มต้นใหม่..และเป็นโอกาสที่จะแก้ไขสิ่งผิดพลาดในวันวาน..เสมอ.."
"Every day is a new start and a chance to make right what went wrong yesterday."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 22:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ชื่อพื้นเมือง: คำหยาด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Chirita micromusa Burtt

ชื่อวงศ์: GESNERIACEAE หรือวงศ์ชาฤาษี

ฤดูดอก: เดือนกันยายน - ธันวาคม

ลักษณะ: สูง ๓๐-๕๐ ซม. ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่กว้างแกมขอบขนาน กว้า ๕-๑๒ ซม. ยาว ๑๐-๑๘ ซม. โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ปลายใบแหลม ดอกสีส้มแกมเหลือง ออกเป็นช่อสั้นๆ บริเวณปลายยอด ๑-๓ ดอก กลีบดอก ๕ กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูประฆัง ปลายแยกออกเป็น ๕ แฉก ปลายแฉกกลมมน ตอนกลางหลอดกลีบด้านล่างมีแต้มสีส้มแดง

แหล่งที่พบ: ที่ชุ่มชื้นในป่าดงดิบทั่วประเทศ

ภาพจาก : ภูวัว หนองคาย

.....................................................
รูปภาพ"..ทุกๆ วันเป็นการเริ่มต้นใหม่..และเป็นโอกาสที่จะแก้ไขสิ่งผิดพลาดในวันวาน..เสมอ.."
"Every day is a new start and a chance to make right what went wrong yesterday."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 22:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ชื่อพื้นเมืองอื่น: หญ้าข้าวก่ำ (เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Buchnera cruciata Buch. –Ham ex D.Don

ฤดูดอก: เดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
ลักษณะ: สูง ๒๐-๘๐ ซม. ใบเดี่ยวออกตรงข้ามหรือเรียงสลับตอนบน รูปไข่กลับ รูปรี หรือขอบขนาน
กว้าง ๐.๗-๑.๓ ซม. ยาว ๑-๕ ซม. โคนใบสอบเรียว ปลายใบมน ดอกสีม่วง กว้าง ๐.๗-๑.๓ ซม.
ออกเป็นช่อแน่น แยกแขนง ใบประดับรูปไข่ปลายแหลม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด
ปลายกลีบแยกออกเป็น ๔-๕ แฉก ปลายแฉกกลมมน

รูปภาพ

แหล่งที่พบ: ทุ่งหญ้าและพื้นที่โล่งในป่าผลัดใบและป่าดิบเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จากที่ราบไปจนถึงระดับความสูง ๑,๖๐๐ เมตร

ภาพจาก : ดอยหลวงพะเยา จังหวัดพะเยา

รูปภาพ

ชื่อพื้นเมืองอื่น: หญ้าข้าวก่ำ (อีสาน)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Burmannia disticha L.
ชื่อวงศ์: BURMANNIACEAE

ฤดูดอก: เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน
ลักษณะ: ลำต้นเดี่ยวตั้งตรงสูง ๒๐-๕๐ ซม. ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปแถบคล้ายใบหญ้า ดอกสีม่วงเข้ม ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อเล็กๆ ๔-๘ ดอก ช่อดอกยาว ๑๐-๒๐ ซม. กลีบดอก ๓ กลีบ รูปขอบขนานเชื่อมติดกันเป็น ๓ พู ปลายกลีบแหลม ตอนปลายดอกมีอับเรณูสีเขียวอ่อนโผล่พ้นหลอดกลีบออกมา ลักษณะคล้ายโดม (ดอกย่อยคล้ายกับดอกสรัสจันทร – Burmannia coelestris)

แหล่งที่พบ: ลานหินทรายที่ชื้นแฉะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพจาก : อุทยานแห่งชาติภูวัว จังหวัดหนองคาย

.....................................................
รูปภาพ"..ทุกๆ วันเป็นการเริ่มต้นใหม่..และเป็นโอกาสที่จะแก้ไขสิ่งผิดพลาดในวันวาน..เสมอ.."
"Every day is a new start and a chance to make right what went wrong yesterday."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พลับพลึง

“ทังหลายว่าแม้เถ้า มานยาว
พระว่านางยังสาว ไป่เถ้า
ทัดดอก พลับพลึงขาว แซมเกศุ
สระกว่าสาวสิบเข้า แข่งหน้าบูรณจันทร์”
(โคลงสมัยอยุธยา เข้าใจว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์)

พลับพลึงขาว(ไทยแท้)
ใบใหญ่ เป็นไม้ประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว ใบหนายาว นำมาย่างไฟรักษากล้ามเนื้อ ฯลฯ
ลำต้นอวบใหญ่ยาวประมาณ 1 เมตร ปอกเปลือกออกไปใช้ทำงานประดิษฐ์ในราชสำนักเป็นดอกไม้ต่าง ๆ
ออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกยาว เกสรก็ยาว มีทั้งดอกสีแดงและสีขาว
ดอกบานกลีบดอกจะงอโน้มลง พร้อมทั้งก้านช่อ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย
การขยายพันธุ์ใช้หน่อ ชอบขึ้นในที่ลุ่ม (ข้อมูลของหลวงบุเรศวรบำรุงการ)
รูปภาพ

ราชินีของพลับพลึงคือ Spider Lily สุดสวยนี้มีถิ่นเดิมที่หมู่เกาะอินดีส
เป็นดอกไม้ที่โปรดปรานของพระราชินีเอมม่าแห่งประเทศกรีก
จึงได้ชื่อภาษากรีกว่า “Krion” ชาวสเปนเรียก “Liriod cinata”
ราชินีของพลับพลึงต้องดอกนี้ เรียกว่า พลับพลึงแมงมุม
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hymenocallis Caribaea ชื่อสามัญ คือ Spider Lily
ก้านดอกจะมีประมาณ 4-8 ดอก จะทยอยกันบานทีละ 2-3 ดอก แต่ละดอกจะมี 6 กลีบสีขาวนมสด
กลีบดอกจะเรียวยาวประมาณ 13 ซม. เมื่อดอกบานเต็มที่ปลายกลีบจะงอโค้งเข้าหาก้านดอก เกสรมี 6 เส้นตอนปลายจะเป็นสีเหลือง หรือสีน้ำตาล มองดูคล้ายแมงมุม ออกดอกเป็นระยะตลอดปี
รูปภาพ

พลับพลึงเตือน หรือพลับพลึงเตือนตา
ชื่อวิทยาศาสตร์เขาคือ Crinum rubra หรือชื่อสามัญแสนไพเราะว่า Cinderella Lily
ลักษณะ ที่แตกต่างจากพลับพลึงแดงคือ ต้นเล็กกว่า กอเล็กกว่า ก้านดอกมีดอกเดียว ดอกมีสีขาวเป็นรูปดาว
ที่มีหลายแฉก มีกลีบยาวยื่นออกมาจากตัวดอกอีก 6 กลีบ บานเต็มที่กลีบยาวนี้จะม้วนงอโค้งเข้าหาก้านดอก
กลางดอกมีเกสร 6 เส้น มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอกกลางฤดูฝน เป็นของอเมริกาใต้ :b41:
รูปภาพ

พลับพลึงตีนเป็ด ชื่อสามัญ : Spider lily
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hymenocallis littoralis Salisb. ชื่อวงศ์ : AMARYLLIDACEAE
ลักษณะทั่วไป : มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน ชูใบขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบยาวรูปหอกแผ่นใบหนา อ่อนนุ่ม
ออกดอกเป็นช่อมีก้านชูดอกใหญ่แข็งแรง ดอกสีขาวมีกลีบดอกเรียวยาว 6 กลีบ
โคนกลีบดอกเชื่อมติดต่อกันเป็นหลอดยาว เกสรตัวผู้มี 6 อัน ดอกมีกลิ่นหอมออกดอกตลอดปี
ประโยชน์ : ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
รูปภาพ

พลับพลึงสีแดงม่วงนี้เรียกว่า พลับพลึงแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum augustum ชื่อสามัญ คือ Crinum Lily
มีขนาดใหญ่ ลักษณะต้นเป็นกอกลุ่มใหญ่ ใบเป็นรูปหอกปลายแหลม ขอบใบเรียบสีเขียว
ผิวเนื้อใบอ่อนนุ่ม หนาเหนียว ดอกออกปีละครั้งประมาณเดือน กันยายน-ตุลาคม ดอกเป็นช่อใหญ่
ก้านดอกชูมาจากกลางกอ ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 15-25 ดอก กลีบดอกแคบเรียบยาว มี 6 กลีบต่อหนึ่งดอก
เมื่อบานเป็นที่กลีบดอกจะงองุ้มเข้าหาก้านดอก เกสรยาวยื่นออกมากลางดอก ด้านบนเป็นสีม่วงอ่อน
หรือชมพู กลีบด้านล่างสีแดงเข้ม มีกลิ่นหอม เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา
รูปภาพ

สีแดงสดนี้คือ พลับพลึงใหญ่ หรือพลับพลึงดอกแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum amabille ชื่อสามัญ Milk-And-Wine Lily หรือ Higanbana Lily
มีถิ่นกำเนิดที่ลุ่มทั่วไป หรือตามชายฝั่งน้ำจืดของทวีปเอเชีย ส่วนตัวผมไม่เคยเห็นพลับพลึงสีนี้ครับ
สำหรับท่านที่ชอบสีแดงนั้น พลับพลึงดอกนี้คงอยู่ในใจท่านแน่ๆ สวยจริงๆ

รูปภาพ

ปลูกในร่มรำไร และกลางแจ้งแสงแดดจัด ชอบดินปนทรายมีความชุ่มชื้นตลอดเวลา
คุณสมบัติทางสมุนไพรของพลับพลึง
พบว่า มีการนำมาต้มดื่มทำให้อาเจียน(ไม่ใช่แก้อาเจียน) แก้เคล็ดขัดยอก แก้น้ำดีพิการ
ใบเอามาย่างไฟพันแก้ฟกช้ำ บวม เคล็ดขัดยอก ใช้อยู่ไฟหลังคลอด หัวมีรสขมในอินเดียใช้เป็นยาระบาย
ขับเสมหะ ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับน้ำดี
:b48: ดูแลรักษาหน้าใสด้วยพลับพลึง :b48:
สูตรน้ำผึ้งผสมไข่ไก่และพลับพลึง
สูตรผสม »
ดอกพลับพลึง 2 ดอก
น้ำผึ้งแท้ 2 ช้อนโต๊ะ
ไข่ไก่ 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีผสม »
นำดอกพลับพลึงมาล้างน้ำให้สะอาดปั่นรวมกับน้ำผึ้งแท้และไข่ไก่ จนละเอียดรวมเป็นเนื้อเดียวกัน
จะได้เนื้อครีมข้นและเหนียว ใช้สำหรับนำมาพอกกับหน้า ที่สะอาดแล้วก่อนเข้านอน
โดยพอกทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด และมีกลิ่นหอมธรรมชาติจากดอกไม้
จะรู้สึกผิวหน้าสดชื่นและเต่งตึงขึ้นด้วย ทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 3-4 ครั้งภายในเวลาไม่ถึงเดือน
จะสังเกตเห็นว่าผิวหน้าดูดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ทราบว่าธุรกิจสปานำดอกพลับพลึงสกัดเอากลิ่นมาใช้ และเป็นที่นิยมกันมากด้วย…. :b41:
ผักบุ้ง เขียน:
ป่าออ้...บุ้งหาดอกหญ้า...มาแจมก็แล้วกันนะ...ขี้เกรียจตั้งกระทู้ใหม่
(แล้วอย่าลืมทำรายงานนะ.. :b29: )

บุ้งเริ่มทำแล้วเหรอ...อ้อยังไม่ได้เริ่มเลย..พรุ่งนี้มาหลายวันแล้ว.... :b9: :b9:

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


แก้ไขล่าสุดโดย ป่าอ้อ เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 22:47, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ขอบคุณ ป่าอ้อและคุณผักบุ้งครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 15:36
โพสต์: 435

ที่อยู่: malaysia

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณค่ะ คุณป่าอ้อ คุณผักบุ้ง คุณวรานนท์
สำหรับข้อมูลดอกไม้ และรูปดอกไม้สวยๆ ชอบมากค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

จันทร์กะพ้อ(Vatica diospyroides Syming.)

จันทน์ กะพ้อเป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์ Dipterocarpaceae
พวกเดียวกับยางนาและพะยอม ทางภาคใต้เรียก จันทน์พ้อ และที่จังหวัดพังงาเรียก เขี้ยวงูเขา
จันทน์กะพ้อเป็นไม้ต้นขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง โตช้า ชอบขึ้นในที่ดินร่วนชื้น
และร่มปะปนกันไม้ต้นชนิดอื่นในป่าดิบชื้น
จันทร์ กะพ้อ เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 6 - 15 เมตรไม่ผลัดใบ เรือนยอดกลม
ต้นแตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด กิ่งเปราะ มีน้ำยางใสซึมออกมาตามรอยแตกต้นค่อนข้างตรง เปลือกเกลี้ยง
เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือกว้างใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีค่อนข้างยาว ขนาดยาว ๗-๙ซม. กว้าง ๒-๓ ซม.
สีเขียวเข้ม เรียงตัวแบบเวียนไปตามกิ่งห่างๆ กันโตเร็ว ใบเดี่ยว ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียวเข้มเป็นมัน
รูปรีแกม ขอบขนานหรือรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว และจะหลุดร่วงไปตามอายุ
ใช้เวลาประมาณ 5 - 7 ปีจึงจะออกดอก เป็นไม้โบราณของไทยที่หาดูค่อนข้างยากในยุคปัจจุบัน

ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีขาวหรือเหลืองอ่อน ทีกลิ่นหอมอ่อนๆ
กลีบดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาล ดอกทยอยบานในเวลาใกล้เคียงกัน ประมาณเดือน พฤศจิกายน - มีนาคม
ใช้เวลาประมาณ 5 - 7 ปีจึงจะออกดอก เป็นไม้โบราณของไทยที่หาดูค่อนข้างยากในยุคปัจจุบัน
ดอกออกตามกิ่งเป็นช่อเล็กๆ ทยอยบานครั้งละ ๑-๒ ดอก แต่มักจะมีช่อหลายช่อเป็นกระจุก
และเรียงเป็นระยะๆ ตามกิ่งดอกขนาด ๑.๒-๑.๕ ซม.
กลีบเลี้ยงมีขนสีน้ำตาลกลีบดอกเรียงเวียนซ้อนเกยกันเล็กน้อย ด้านในสีขาวนวลหรืออมชมพู
ด้านนอกมีแถบแคบๆ มีขนละเอียดสีน้ำตาลอมแดงกลิ่น หอมแรง
ออกดอกในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปัจจุบันพบเห็นได้ค่อนข้างน้อย

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดปลูกเลี้ยงค่อนข้างยาก
ถ้าแดดจัดหรือลมแรงใบจะไหม้ ปัจจุบันพบน้อยลงมาก

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:57
โพสต์: 188

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ดอกฟรีเซีย (Freesia)

ดอกฟรีเซียหมายถึง การให้อภัย ลบความบาดหมาง อาจจะทำให้ใครบางคนยิ้มออกขึ้นมาบ้างนะคะ
ความงามอย่างอ่อนช้อย คือคุณสมบัติเด่นของ ฟรีเซีย บวกกับความหอมหวนยิ่งทำให้ดอกไม้ชนิดนี้
เหมาะอย่างยิ่ง สำหรับเป็นช่อดอกไม้ วันเกิดช่วงวาเลนไทน์

ลักษณะดอกฟรีเซีย เป็นดอกรูปแตรเรียงโค้งอยู่บนปลายกิ่ง ทำให้มันกลาย เป็นไม้ตัดดอกที่สวยที่สุด
การเลือกฟรีเซียคือ ต้องเลือกกิ่งที่มีดอกบานเพียงดอกเดียว เพราะดอกที่เหลือจะบานที่หลังในเวลาอันรวดเร็ว
แล้วจึงจัดช่อโดยใช้ใบเฟิร์นแซมก่อนจะผูกด้วย ริบบิ้น เส้นเล็กๆสีเข้ากับดอก
แต่ควรเลือกของขวัญเป็นฟรีเซียกระถางมากกว่า เพราะฟรีเซียก็เหมือนดอกไม้
ส่วนใหญ่ที่จะหยุดส่งกลิ่นหอมทันทีที่ถูกตัดออกจากต้น ฟรีเซียยังถูกใช้เป็นดอกไม้ประดับผมอีกด้วย
(ได้ประดับกับเทียร่า หรือประดับผมเจ้าสาวด้วยนะ)

.....................................................
รูปภาพรูปภาพ
"สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ฝิ่น .
ชื่อสามัญ: Opium poppy
ชื่อวิทยาศาสตร์: Papaver somniferum L.
ชื่อวงศ์: PAPAVERACEAE
ลักษณะ: ฝิ่น เป็นพืชไม้ล้มลุก มีการลักลอบปลูกบนพื้นที่สูง มีลำต้นสูงประมาณ ๒-๔ ฟุต
ดอกฝิ่นจะมีสีขาว สีแดง สีม่วง และสีม่วงแดง ดอกมี ๔ กลีบ
แหล่งที่พบ: เหนือกว่าระดับน้ำทะเล ๘๐๐ ฟุต และมีอากาศหนาวเย็น
สถานที่ถ่ายทำ: สวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง (ดอยช้างมูบ) จังหวัดเชียงราย

ฝิ่น ที่นำมาเสพได้จากน้ำยางของผลฝิ่น ที่กรีดออกมาจากเปลือกผลฝิ่นดิบ น้ำยางที่ถูกกรีดมานั้นจะมีสีขาว เมื่อถูกอากาศจะมีสีคล้ำลงกลายเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้หรือดำ มีกลิ่นเหม็นเขียวและรสขมเรียกว่า “ฝิ่นดิบ” เมื่อนำฝิ่นดิบมาต้มเคี่ยวกับน้ำเรียกว่า “ฝิ่นสุก” นิยมเสพโดยการสูบด้วยกล้องยาสูบ

ฝิ่นเป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมาย
ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ
ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษที่ร้ายแรง แอลคะลอยด์ในฝิ่นแบ่งแยกได้เป็น ๒ ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมา และเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรง
แอลคะลอยด์ประเภทนี้ทางเภสัชวิทยาถือว่า เป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic)
แอลคะลอยด์ที่เป็นสารเสพติดซึ่งออกฤทธิ์ตัวสำคัญที่สุดในฝิ่น คือ มอร์ฟีน (Morphine)

ประเภทที่ ๒ ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหย่อนคลายตัว
ซึ่งในทางเภสัชวิทยาถือว่า แอลคะลอยด์ในฝิ่นประเภทนี้ไม่เป็นสารเสพติด
แต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายหย่อนคลายตัว ซึ่งมีปาปาเวอร์รีน (Papaverine) เป็นตัวสำคัญ

รูปภาพ

ฝิ่น เป็นพืชล้มลุกขึ้นในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ ๘๐๐ ฟุตขึ้นไป
ต้นตอของยาเสพติดร้ายแรง เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคอีน
มีการลักลอบปลูกฝิ่นมากทางภาคเหนือของไทยบริเวณแนวพรมแดน ที่เรียกว่าสามเหลี่ยมทองคำ

รูปภาพ

เนื้อฝิ่นได้มาจากยางของผลฝิ่นที่ ถูกกรีดจะมีสีขาว เมื่อถูกอากาศจะมีสีคล้ำลง
กลายเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเหม็นเขียวและรสขม เรียกว่า ฝิ่นดิบ
ส่วนฝิ่นที่มีการนำมาใช้เสพ เรียกว่า ฝิ่นสุก ได้มาจากการนำฝิ่นดิบไปต้มหรือเคี่ยวจนสุก
ฤทธิ์ในทางเสพ :
ฝิ่นออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกาย
อาการผู้เสพ :
จิตใจเลื่อนลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิว ชีพจรเต้นช้า
โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒

... อย่างงี้เค้าเรียกว่า "สวยอนันต์ แต่โทษมหันต์" ค่ะ ...

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 11 ต.ค. 2009, 15:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ดอกฝิ่นสวยมากครับ

แต่ในความสวยมีโทษแฝงไว้มากมาย


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 01:47
โพสต์: 178

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ดอกไม้สีขาวเป็นดอกไม้ที่มีคุณสมบัติความงามของดอกไม้อย่างแท้จริง
เพราะถึงแม้ไม่มีสีปรุงแต่ง แต่มีเสน่ห์ที่ความความสวยบริสุทธิ์น่าทะนุถนอม
เป็นความสวยที่เรียบง่าย และดูสบายตา
ที่สำคัญสังเกตว่าดอกไม้สีขาวส่วนใหญ่มีกลิ่นหอม เหมือนกับจะเป็นสิ่งที่ชดเชยแทนสีสันที่ขาดหาย
ทำให้นึกไปถึงความสมดุลในธรรมชาติที่ว่าหากขาดสิ่งหนึ่ง มักมีอีกสิ่งหนึ่งชดเชยอยู่เสมอ "

รูปภาพ

เข็มอินเดีย สีขาว Egyptian Star - Cluster ดอกไม้ยอดนิยมอีกชนิดหนึ่ง ออกดอกตลอดปี

รูปภาพ

ดอกแย้มของ.....เศรษฐีเรือนใน

รูปภาพ

ลัดดาวัลย์.........ดอกจิ๋วๆ หอมๆ ไม้เถาเล็ก ยามลมพัด กิ่งก้านอ่อนไหว ดูอ่อนโยน

รูปภาพ

บุหงาสาหรี..ดอกจะสีขาวขนาดเล็กมาก ...มักจะออกมาเป็นพวงย้อย ...
ออกดอกเมื่อไร ก็หอมอบอวลไปทั้งบ้านเชียวล่ะ...

รูปภาพ

เข็มพม่า..(เข็มขาว)...มีกลิ่นหอมเย็น...ตลอดวัน

หวัดดีป่าอ้อ...ผักบุ้ง....ท่านวรานนท์

.....................................................
"เกิดมาก็เพราะกรรม...ดับไปก็หมดกรรม"รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงมะตูม เมื่อ 15 ต.ค. 2009, 22:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 108 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร