วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2008, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

โพธิญาณพฤกษา
พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ประทับตรัสรู้


ต้นสน (ต้นสลฬะ)


ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ปทุมุตรพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 13 พระนามว่า พระปทุมุตรพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 7 วัน จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้สน

ด้วยเหตุที่ไม้สนเป็นชื่อไม้ต้นหลายชนิดในหลายวงศ์ จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นไม้สนชนิดใดกันแน่ ดังนั้น ในที่นี้จึงขอนำเรื่องของ ‘สนอินเดีย’ มาเสนอ

ต้นสนอินเดีย ในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นสลฬะ” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Grevillea robusta A. Cunn ex R.Br.” อยู่ในวงศ์ Proteaceae ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในสกุล Grevillea วงศ์ Proteaceae ซึ่งไม้ในวงศ์ Proteaceae นี้ก็มีแตกย่อยออกไปกว่า 75 สกุล 1,700 ชนิด

ต้นสนอินเดียนี้ขึ้นได้ดีในซีกโลกใต้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 18-30 เมตร เป็นไม้พุ่ม ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดแผ่เป็นพุ่มปานกลาง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาดำ หนา แตกเป็นร่องลึกตามความยาวของลำต้น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีร่องลึกกลางใบ ใบยาวประมาณ 15-30 ซม. เนื้อใบแข็ง ปลายใบแหลม และมีขนสีน้ำอ่อนใต้ใบ มีลักษณะคล้ายใบเฟิร์น ช่วงใบอ่อนขอบใบจะงอโค้ง

รูปภาพ

ดอกมีสีส้มอมเหลือง ลักษณะเป็นช่อกระจุกแน่น ก้านดอกยาวประมาณ 2-3 ซม. ส่วนช่อดอกยาวประมาณ 8-15 ซม. เป็นดอกสมบูรณ์ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน จะเริ่มออกดอกราวเดือนมีนาคม และบานเต็มต้นในเดือนมิถุนายน มีรูปร่างคล้ายแปรงล้างขวด ส่วนผล เป็นรูปกลมรี มีสีน้ำตาลอมดำ เมื่อผลแก่จัดเปลือกจะอ้าออก ทำให้เมล็ดหลุดออกมาได้ แต่ละผลจะมีเมล็ดที่มีปีก 2 เมล็ด ซึ่งสามารถปลิวไปตกยังที่ไกลๆ ได้

ประโยชน์ของสนอินเดียมีหลายอย่าง เช่น ลำต้นใช้ในการก่อสร้างที่พักอาศัย ปูพื้นผนัง ต่อแพ เนื้อไม้เหนียว มันวาวคล้ายไหม น้ำหนักเบา จึงมักนำมาทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนต่างๆ งานแกะสลัก รวมทั้งดินสอ และเยื่อกระดาษ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี เพราะมีน้ำยางที่มีคุณสมบัติติดไฟง่าย และน้ำยางของสนนำมาทำเป็นน้ำมันสนใช้ผสมสำหรับทำน้ำมันชักเงา ทำเทียน ทำสบู่ ทำชันสน และใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ อีกหลายประเภท

สำหรับสรรพคุณในทางพืชสมุนไพรนั้น ได้นำน้ำยางนำมาใช้ผสมทำยาทาและสูดดมแก้หวัด แก้ปวดเมื่อย โรคผิวหนัง แผลพุพอง และตาอักเสบ และใบยังมีส่วนในการช่วยยับยั้งการก่อตัวของจุลินทรีย์บางชนิดด้วย

รูปภาพ


......................................................

:b8: โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 กรกฎาคม 2548 15:19 น.

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2015, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 09:20
โพสต์: 349


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2019, 10:39 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร