วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 10:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2018, 20:20 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2017, 11:14
โพสต์: 55

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
หลวงปู่สาม อกิญฺจโน วัดป่าไตรวิเวก


ธรรมะของจริง
--------------------------------

พระธรรมเทศนาของหลวงปู่สาม อกิญฺจโน
(พ.ศ. ๒๔๔๓-๒๕๓๔ สิริรวมอายุ ๙๑ ปีเศษ)
วัดป่าไตรวิเวก จังหวัดสุรินทร์

ธรรมะของจริงมีอยู่กับบุคคลทุกคน เว้นไว้แต่ไม่ทำ ถ้าทำต้องมีทุกคน เพราะธรรมะเป็นของจริง ต้องทำจริงจึงจะเห็นธรรมของจริง

การกระทำก็ทำจิตใจให้สงบ ใจจะสงบได้ ก็ต้องอาศัยการพยายามทำจิตใจให้มันดี ทำจิตใจให้พอใจในใจ เพราะธรรมะเป็นของละเอียดลึกซึ้ง ของจริงมันมีทุกคน ธรรมะแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ก็มีอยู่ในทุกคน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็มีอยู่ทุกคน แต่เราทำไมถึง ไม่ถึงพระพุทธ ไม่ถึงพระธรรม ไม่ถึงพระสงฆ์ ต้องอาศัยการกระทำ ฝึกหัดดัดแปลงจิตให้มันดี ให้มันสงบให้เป็นสมาธิ ก็ต้องอาศัยการพยายามมีสติกำหนดจิตใจ ให้มันอยู่ ความรู้ความเห็นทุกอย่างนั้นมันอยู่ในโลก ธรรมะของจิตนั้นมันต้องพยายามทำใจให้มันอยู่ ให้มันอยู่จนพรากจากอารมณ์ภายนอก ความคิดความนึกทุกอย่างไม่ต้องคำนึง จนตั้งอยู่เป็นอันเดียว พอรู้สึกอยู่อย่างเดียว สติความลึก สัมปชัญญะความรู้ตัวก็ต้องรู้อยู่กับที่นั้น ถ้าจิตใจมันละเอียด มันละเอียดไปแล้วมันก็แน่วแน่เป็นหนึ่ง

เพราะฉะนั้นเราต้องพยายาม การภาวนาก็เป็นบุญเป็นกุศลมากหลาย ถ้าทำได้ทุกๆ วัน ทำให้เสมอไป ก็เป็นกุศลทุกๆ วัน ให้คิดดู ความแก่ ความเจ็บ ความตาย จะมาถึงวันไหนเราก็ไม่รู้ ไม่ว่าแต่คนแก่คนเฒ่า คุณหนุ่มก็ยังตาย ถ้าได้ฝึกหัดทำทุกวันๆ มันตายไปก็ยังได้ขึ้นสวรรค์

การกระทำจิตใจนี้เป็นของดี เป็นยอดของทาน ฝึกหัดอริยทรัพย์ภายใน อริยทรัพย์ภายนอกก็มีการทำบุญ การให้ทาน เรียกว่าอริยทรัพย์ภายนอก ทรัพย์ภายในนั้น เป็นอริยะ ฝึกหัดดัดแปลงจิตใจให้มันดี ให้มันบริสุทธิ์หมดมลทิน เพราะฉะนั้นต้องรีบทำทุกๆ คน ทำคุณงามความดีให้มี ให้เกิดขึ้นในดวงจิตดวงใจเพื่อเป็นอุปนิสัย ถ้ายังไม่ถึงมรรคผลนิพพานก็ยังมีอุปนิสัยติดในจิตในใจ พบแต่สิ่งที่ดีสิ่งที่ชอบ ไปในอนาคตกาลข้างหน้า อีกก็จะดีไปทุกภพทุกชาติ ต้องอาศัยการกระทำ


ถ้าเราไม่ทำก็ไม่มีอะไร ถ้าฝึกหัดไปทุกวันๆ ก็เป็นจะเป็นหรือไม่เป็น ก็ทำให้เรามีศรัทธาในการภาวนา การกระทำทุกๆ วันไป ถ้าทำแล้วก็ต้องเป็นล่ะ ทำให้มันนานๆ นั่งซักชั่วโมง สองชั่วโมง ถ้าใจมันสงบลงไปแล้ว เราจะนั่งซักสามชั่วโมง สี่ชั่วโมงก็ไม่เป็นไร ไม่เจ็บไม่ปวดไม่เหน็ดไม่เหนื่อยอะไร ต้องหัดทำอยู่อย่างนั้นจนใจนี้มันตั้งแน่วแน่ หรือทำไปสงบไป ปิติก็เกิดขึ้น เมื่อปิติเกิดขึ้นแล้ว ความสุขก็เกิดขึ้น ความเข้าใจก็เกิดขึ้น ความกล้าหาญความอาจหาญมันมีอยู่ในใจ ต้องอาศัยการกระทำ ถ้าเราไม่ทำก็ไม่มีอะไร ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นกุศล ถ้าเราทำไปต้องได้บุญได้กุศลทุกวันทุกเวลาไป

ทุกคืนเราจะนอนก็ไหว้พระ ไม่ได้ทำอะไรก็ทำสมาธิภาวนาไป ไหว้พระสามที สิบที พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง เป็นสรณะของตน แล้วก็นั่งสมาธิไป พุธโธ พุธโธ หลับตานั่งนานๆ ไม่นานมากก็ ๕ นาที ๑๐ นาทีค่อยหัดไปทุกวันๆ ดีกว่านอนเปล่าๆ ไม่มีอะไร

อยากได้คุณงามความดี สิ่งที่ดีไม่ชอบก็ต้องประกอบให้เกิดขึ้นในจิตใจ การเจริญสมาธิภาวนาเป็นยอดของทาน อันเลิศ เก็บอยู่ในจิตในใจทุกทุกภพทุกชาติไป จนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ก็ต้องอาศัยบำเพ็ญบารมีของตนนี้แหละ บารมีของตนนี้แหละเป็นเสบียงอาหารไปข้างหน้า เกิดไปชาติไหนก็เป็นคนที่มีความดีความงามอยู่ในจิตในใจ เพราะเราได้ฝึกหัดดัดแปลงจิตใจของเราให้มันบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธ์ใจ เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้เสมอไป สมดังภาษิตที่ว่า “วิริเยน ทุกขมจฺเจติ” คนผู้จะล่วงทุกข์ได้ต้องอาศัยความเพียร

เพียรนอกก็ต้องทำเหมือนกัน การทำบุญ การให้ทาน หรือพวกชาวไร่ชาวนาก็ต้องอาศัยความพากเพียรมันถึงจะมีผล ทำอะไรก็ทำด้วยความเพียรความพยายาม การทำจิตใจก็เหมือนกัน ต้องอาศัยความพยายาม ต้องอาศัยความเพียร เพื่อให้จิตมันอยู่ ให้มันสงบ ให้มันบริสุทธ์ไปจึงจะได้มรรคผลเกิดขึ้นตามภูมิตามธรรม ถ้าจิตเรามันรวมสักครั้งหนึ่ง ก็ติดอยู่ในจิตในใจเสมอไป

เพราะฉะนั้นเราควรพยายามในการทำบุญการกุศล คนทุกวันนี้ ก็มีแต่เรื่องมีแต่ความวุ่นวายมากมาย รีบทำคุณงามความดีให้มันมีขึ้นในใจ ในจิตในใจหลุดพ้นจากความไม่ดี ทำจิตใจให้มันละเอียดไป จนกว่าจะละเรื่องโลก โลกนี้มีความรู้ความเห็น ความเข้าใจทุกอย่างของทั้งโลก ธรรมะของจริงมีแต่หมดไปๆ ให้ตั้งจิตแน่วแน่เป็นหนึ่ง จิตดวงเดียว ตั้งให้มันแน่วแน่อยู่อย่างนั้น อย่างทางจะไปนิพพานก็ต้องอาศัยความพยายามจนมันตั้งแนวแน่ได้ โลกนี้มันประกอบไปด้วยความทะเยอทะยาน ถ้าทำจิตให้มันดี ให้มันสงบไป ดีกว่ารูปนี้หลายเท่า ทำใจให้สงบครั้งหนึ่งๆ อย่างนี้ โอ้ย จิตใจมันมีแต่ความปลื้ม ในจิตในใจ ความยินดีในใจหาที่สุดไม่ได้

การพยายามทำตนของตนให้มันดีขึ้นนี้ ยากเหลือเกินสมัยนี้ ทุกวันมีแต่ความเพลิดเพลินกับการดูหนังดูลิเกทั่วๆไป ประโยชน์ของตนไม่ได้คิดถึงเลย โลกนี้ประกอบไปด้วยกองทุกข์ทั้งหลาย ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ บางคนก็ทุกข์ยากจน จะหากินเช้าเย็นก็ยังไม่พอกิน ยากเท่าไหร่ ทุกข์เท่าไหร่ คนไม่มีบุญ ไม่มีวาสนา ไม่ค่อยทำบุญ

คนเขาเคยทำบุญให้ทาน เขาก็เกิดในทรัพย์ในสมบัติ ดูเถิดคนไม่เหมือนกัน ในโลกนี้ต่างๆ กัน จิตใจไม่เหมือนกันบางคนก็ใจร้ายสามารถฆ่าคนได้ มันต่างกันอย่างนี้แหละ แล้วการบุญการกุศลก็ไม่เชื่อ หัวใจมันโหดร้าย ต้องพยายามทำใจให้มันสงบ จิตใจมันก็อ่อนน้อมต่อธรรมะต่อวินัย ต่อธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าใจเรามันดีขึ้นเรื่อยๆ ละก็ใจมันก็อ่อน ถ้าฝึกหัดตนให้ชำนิชำนาญ ใจก็กล้าหาญ กำจัดโรค กำจัดภัย ได้ทุกอย่าง

การเจริญสมาธิภาวนาทำให้หายจากเหน็ดเหนื่อย ถ้าวันไหนไม่ได้ภาวนาก็อ่อนเพลียไป ถ้ามานั่งสมาธิภาวนาได้สักชั่วโมงก็หายเหนื่อย สบาย การฝึกจิตใจให้มีอุปนิสัยติดอยู่ในจิตในใจ จะทำให้จิตใจเราดีขึ้นทุกภพทุกชาติไป ถ้าภาวนาบางคนทำยาก ทางที่ดีสำหรับเขาก็การทำบุญให้ทานนั้นแหละดีแล้ว การเจริญภาวนาจนปล่อยวางภาระในโลกนี้ได้ ทำจิตใจให้มันแน่วแน่จึงจะถูกหนทางไปพระนิพพาน เอวังก็จบแต่เพียงเท่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2018, 20:20 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2017, 11:14
โพสต์: 55

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

โสรัจจธรรม
--------------------------------

(ไม่ระบุชื่อผู้เทศน์)

โสรัจจธรรมต่อไปนี้ ตั้งใจฟังการอบรมและนั่งสมาธิภาวนาต่อไป เมื่อวานนี้ได้กล่าวถึงคุณธรรมที่ให้เป็นกำลังใจอุดหนุนจิตในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสมาธิ ทำจิตใจของเราให้มั่นคงในธรรม เพื่อให้ได้รับความสงบ ธรรมนั้นเรียกว่าสมาธิหรือขันติ คือ ความอดทน เป็นคุณเครื่องให้จิตใจของเรามีกำลัง สามารถในการต้านทานทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น หรือความยากลำบาก ปัญหาเรื่องอารมณ์ภายใน อารมณ์จิตใจ เพราะจิตใจของเรามีอารมณ์ปรุงแต่งคิดนึกตลอดเวลาเว้นไว้แต่นอนหลับ ถ้ารู้สึกขึ้นมาทีไรแล้ว จำเป็นจะต้องคิดนึกอยู่ การที่เราทำจิตใจให้สงบว่างจากอารมณ์เหล่านั้น จะต้องอาศัยความพยายามและความอดทน เพื่อละถอนเพื่อป้องกันไม่ให้อารมณ์ที่เราไม่พึงประสงค์เข้ามาก่อกวนจิตใจ จำเป็นจะต้องอาศัยความอดทน สิ่งใดที่มากระทบเราก็พยายามอดทน ปล่อยวางอารมณ์เหล่านั้น ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว

ธรรมที่เป็นคู่กับความอดทน จะได้แสดงในวันนี้ต่อไปเรียกว่าโสรัจจธรรม คือ ความสงบเสงี่ยม เมื่อเวลามีอารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิตใจของเรา เราต้องพยายามรักษาระวังด้วยความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงอาการที่น่ารังเกียจและที่ไม่ดีไม่งาม ด้วยอำนาจแห่งความอยาก หรือด้วยอำนาจแห่งความไม่พอใจ

บุคคลที่มีความเรียบร้อยในการงาน ต้องเป็นผู้พยายามเป็นผู้สงบเสงี่ยมเจียมตัวของเรา เป็นคุณเครื่องที่สนับสนุนมาจากความอดทนนั่นเอง เพื่อจะได้เลือกสิ่งใดๆ ที่ควรคิดและไม่ควรคิดที่เราได้มีความอดทนศึกษาเข้าใจแล้ว สิ่งเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่งที่ไม่ควรคิดเกิดขึ้นในจิตใจ เราก็พยายามมีสติรวมระวัง ทำความสงบเสงี่ยม ไว้ในจิตใจแล้ว หรือจะพูดทางวาจา เราก็ระลึกถึงธรรมว่า เป็นสิ่งให้ก่อกวนไม่ทำให้เกิดประโยชน์ เมื่อทำแล้วจะทำให้มัวหมองทางจิตใจ เป็นเวรเป็นภัยขึ้นมา เราไม่กระทำสิ่งเหล่านั้น ไม่ลุอำนาจ หรือสถานที่ไม่เหมาะที่จะให้ทำที่จะพูด เราก็พยายามที่จะสงบเสงี่ยมไว้ ในเวลานั้นไม่แสดงอาการหงุดหงิด ฉุนฉียว หรือเป็นกริยามารยาทที่ไม่งาม จะทำอะไรก็ทำเป็นผู้มีสติสำรวมระวังพอสมควร

เพราะฉะนั้นคุณธรรมอันนี้เป็นเหตุให้เจริญสติด้วย ถ้าเราไม่มีสติแล้วเราจะเรียบร้อยไม่ได้ นี้ส่วนหนึ่งเป็นคุณธรรมสำหรับบุคคลที่ต้องการความเรียบร้อย ต้องการความงาม ต้องการมีระเบียบธรรม วินัยธรรม คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นธรรมวินัยที่งาม เป็นธรรมวินัยที่มีระเบียบ เป็นเครื่องอุดหนุนความสงบให้เกิดขึ้นได้ง่าย เพราะความเป็นระเบียบ และความเป็นผู้งาม ถ้าไม่มีระเบียบ ถ้าไม่งามแล้ว ยากที่จะทำจิตใจให้สงบได้ ยากจะทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ยากที่จะทำจิตใจให้สะอาดหมดจดได้

เพราะฉะนั้นคุณธรรมเหล่านี้เป็นองค์ประกอบของนักประพฤติปฏิบัติ ฝึกหัดในพระธรรมวินัย คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ว่าเราระลึกภาวนาแล้ว บริกรรมพุทโธๆ จะสมบูรณ์บริบูรณ์ก็ได้ ไม่อาศัยคุณธรรมอย่างอื่นๆ เข้ามาช่วยอุดหนุน องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงบัญญัติพระธรรม การประพฤติการปฏิบัติหลายข้อหลายหมวดในธรรมต่างๆ เหล่านั้นเพื่อขจัด กำลังสิ่งที่มาก่อกวน เพื่อที่จะสำรวมระวังสิ่งที่ก่อกวนไม่ให้เกิดขึ้นมาอีก แล้วอาศัยกำลังในการที่สำรวมเหล่านั้นให้มั่นคงขึ้นไป จะต้องอาศัยคุณธรรมอย่างอื่นเป็นองค์ประกอบช่วยด้วย เพราะฉะนั้น ความสงบเสงี่ยม เรียกว่าโสรัจจธรรมนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง

จำชื่อไว้ก่อนว่า โสรัจจธรรม เป็นธรรมที่จะทำให้บุคคลนั้นทำความเรียบร้อย มีกายอันสงบเสงี่ยมเจียมตัวแล้วก็มีวาจาอันเรียบร้อย ไม่แสดงอาการ เพราะฉะนั้น ขันติธรรมก็ดี โสรจจธรรมก็ดี ธรรมะสองอย่างนี้อาศัยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัส ในหัวข้อธรรมสองอย่างนี้ว่า ธรรมอันที่ทำบุคคลให้งามยิ่งกว่าเครื่องประดับใดๆ ในโลก

ในภายนอก ธรรมสองอย่างคือ ความอดทนนี้อย่างหนึ่ง ความสงบเสงี่ยม นี้อย่างสอง สองอย่างนี้ธรรมอันทำบุคคลไม่ได้เลือกผิวพรรณว่า อย่างโน้น อย่างนี้ ถ้ามีคุณธรรมเหล่านี้ประจำใจแล้ว ทำให้บุคคลน่าเคารพ น่าสมาคม น่านับถือ เป็นคนที่มีประโยชน์ เป็นบัณฑิต สามารถที่จะทำจิตใจของตนให้สงบระงับดับเสียจากสิ่งที่มัวหมอง การตั้งใจประพฤติปฏิบัติฝึกหัดให้มีความสุข ความสงบยิ่งๆ ขึ้นไป ต้องอาศัยคุณธรรมเหล่านี้ เป็นกำลังช่วยอุดหนุน

ขันตินั้น เมื่อเวลาจะเกิดก็เกิดขึ้นในจิตใจ โสรัจจ ความสงบเสงี่ยมก็เหมือนกัน เกิดขึ้นในจิต ถ้าเราต้องการความสุข เราจะได้รู้จักว่าความสุขไปอยู่ตรงไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร เราก็จะได้พยายามทำ สร้างความสุขให้เกิดขึ้นในตัวของเราเอง ความสุขเกิดขึ้นตามหลักความจริงแล้วที่จิตใจสงบ ความอิ่มใจก็เกิดขึ้นทันที เพราะฉะนั้นความสงบ เราต้องพยายามอบรมจิตใจของเราให้ปล่อยวางอารมณ์ไม่ให้ยึดอารมณ์ภายนอก แล้วมายึดอารมณ์อันเดียว คือ พุธโธ ไว้ในใจเพื่อจะได้จิตใจสงบรวมอยู่ในพุธโธ ไม่ฟุ้งซ่านไปอย่างอื่น เอาพุธโธ เป็นที่ประชุม เป็นที่รวมของความสงบ พักผ่อนอยู่ในพุธโธ เพราะฉะนั้นให้บริกรรมพุทโธๆ แล้วก็รวมเหมือนกับเรารวมใจให้นอนหลับอย่างนั้นแหละ ไม่คิดนึกอย่างอื่นๆ เวลาจิตรวมแล้ว เราจะรู้สึกสบาย แต่อย่าให้หลับไปทีเดียว ให้มีความรู้ตัวไว้ว่าเราภาวนา ไม่ใช่เราหลับ ไม่ใช่เรานอน เราต้องการรู้ตัว แต่ให้รู้เป็นหนึ่ง รู้ในพุธโธนั้น อย่าให้รู้้ออกไป

ถ้าเรารู้แล้วแม้ในความเป็นหนึ่ง จิตรวมเป็นกำลังได้แล้ว ตอนนั้นเราไม่บริกรรมก็ได้ เราอยู่ในความรู้สึกที่เกิดขึ้นหรือความเฉยๆ เพราะความสบาย เพราะไม่มีความวุ่นวายในใจ หรือมีความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ เราก็เอาความเฉยๆ ในปัจจุบันนั่นแหละเป็นที่รวมเป็นที่รู้ เราไม่ต้องคิดปรุงแต่ง เพราะการปรุงแต่งเมื่อไหร่ ทุกข์ก็จะเข้ามาเมื่อนั้น ถ้าจิตเราอยู่เฉยๆ นานเท่าไหร่ ความสบายไม่มีภาระในใจ ไม่มีความมัวหมองในจิตใจ ความผ่องใสในจิตใจก็มีอยู่ ความสะอาดบริสุทธิ์ของจิตใจก็มีอยู่ เมื่อยังตั้งตัวอยู่ได้นานเท่าไหร่ เราก็จะเห็นความบริสุทธิ์ของเราอยู่ได้นานเท่านั้น

เพราะฉะนั้น พยายามรวมอยู่ใน พุธโธ ทำใจให้สบายอย่าเอาความเจ็บปวดเล็กๆ น้อยๆ เป็นเครื่องอุปสรรค เครื่องอ้าง เพราะอันนั้นเพราะอันนี้ จิตใจไม่สงบ ไม่ให้ส่งจิตไปคิดอย่างนั้น ไม่ให้ปรุงแต่งอย่างนั้น ยิ่งคิดเท่าไร ยิ่งทุกข์ ถ้าเรายิ่งละได้เท่าไรยิ่งมีความสุขเรา ยิ่งปล่อยวางเท่าไร ยิ่งสบาย เพราะฉะนั้นเราไม่ควรคิด ไม่ใช่คิดแล้วมันจะสบายขึ้นเมื่อไร ยิ่งทุกข์เพิ่มขึ้นอีก

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2018, 20:21 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2017, 11:14
โพสต์: 55

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2018, 17:59 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2017, 11:14
โพสต์: 55

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในงานประชุมเพลิงศพ “หลวงตาผนึก สิริมฺงคโล”
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ณ เมรุชั่วคราว วัดป่าเขวาสินรินทร์
ต.เขวาสินรินทร์ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

เมรุชั่วคราว ที่ประชุมเพลิงศพ “หลวงตาผนึก สิริมฺงคโล”

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

“สิริมงฺคโล รำลึก” หนังสือที่ระลึกในงานประชุมเพลิงศพฯ

รูปภาพ

ปกหลังของหนังสือ “สิริมงฺคโล รำลึก”

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

• ประมวลภาพงานประชุมเพลิงศพ “หลวงตาผนึก สิริมงฺคโล”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=20178

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2020, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร