วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 14:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 22:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านเล่าว่า ท่านพักอยู่ที่เชียง
ใหม่มีประสบเหตุการณ์ทั้งภายในโดยเฉพาะ
และเกี่ยวกับสิ่งภายนอกมากมายกว่าที่
ทั้งหลายที่เคยผ่านมาในชีวิตแห่งนักบวช สิ่งที่
ไม่เคยรู้เคยเห็นก็รู้เห็นขึ้นมาเป็นขึ้นมา
ทั้งน่าตื่นเต้นอัศจรรย์ตลอดมา ยิ่งเวลาพัก
อยู่คนเดียวด้วยแล้ว ก็ยิ่งพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่
เป็นของลึกลับมากมาย แม้ตัวเองก็ไม่อาจ
จะประมาณได้ เพราะจิตที่
เป็นธรรมชาติรู้เห็นตามวิสัยของตน หากรู้เห็น
อยู่ทำนองนั้น รู้เห็นในเวลาเข้าที่ก็มี
เวลาธรรมดาก็มี จึงน่าแปลกประหลาดและอัศจรรย์
จิตดวงที่เคยโง่และมืดมิดปิดทวารมาแต่ก่อน ซึ่ง
ไม่คาดฝันว่าจะสามารถรู้เห็นได้ดังที่รู้ ๆ เห็น ๆ อยู่
กับเหตุการณ์ที่มาเกี่ยวข้องในปัจจุบัน
ประหนึ่งสิ่งที่มาเกี่ยวข้องนั้น ๆ เพิ่งจะมีขึ้นในปัจจุบัน
ทั้งที่เคยมีอยู่ดั้งเดิมแต่กาลไหนกาลไรมา
นอกจากเวลาจิตเข้าพักสงบเต็มที่
ล่วงเลยเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องถึง
เท่านั้น จึงไม่มีอะไรปรากฏในเวลานั้น จิตพักอยู่
ด้วยธรรม ธรรมอยู่ด้วยจิต จิตเป็นธรรม ธรรมเป็นจิต
เป็นเอกภาพ คือธรรมกับจิตเป็นอันเดียวกัน ไม่มีสอง
กับอะไร ไม่มีสมมุติใด ๆ เข้าไปเกี่ยวข้อง กาลไม่มี
สถานที่ไม่ปรากฏ ขันธ์ไม่มีในความรู้สึก สุขทุกข์ที่
เป็นสมมุติไม่ปรากฏ ถ้าจิตไม่ถอนขึ้นมาจะ
อยู่ไปกี่วัน กี่เดือน กี่ปี หรือกี่กัป กี่กัลป์ ก็
ไม่ปรากฏสมมุติ มี อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เป็นต้น
เข้าไปรบกวน เพราะเป็นความดับสมมุติอย่างสนิท
แม้สมมุติทั้งหลายมีขันธ์ที่กำลังครองตัวอยู่เป็นต้น
เกิดขโมยแตกสลายไป ในขณะที่จิตกำลังพักอยู่
ในนิโรธธรรม คือความดับสมมุติทั้งหลายก็คง
ไม่มีทางทราบได้ จิตคงเป็นสภาพนั้นไปเลย
นี่เป็นเพียงพูดตามความเป็นของจิต
ในเวลาเข้าพักระงับดับสมมุติชั่วคราว คง
ไม่พักตลอดไปเป็นปี ๆ ดังที่ว่านั้น เช่นเดียว
กับคนนอนหลับสนิทย่อมหมดการรับทราบในขันธ์ แม้
จะหลับไปกี่วันก็คงเป็นทำนองคนนอนหลับอยู่นั่นเอง
นอกจากเวลาตื่นนอนขึ้นมาแล้วถึงจะรับทราบ
ความสุขทุกข์ไปตามหน้าที่ที่เคยรับ
แต่การเข้าพักสงบจิต จะ
เป็นพักสงบธรรมดาหรือพักในนิโรธสมาบัติ ก็
เป็นสมมุติอยู่โดยดี เป็นแต่ผู้เข้าพักเป็นผู้พ้น
จากสมมุติแล้วเท่านั้น กิริยาแห่งสมมุติทั้งปวงจึงไม่
สามารถทำวิสุทธิจิตนั้นให้กำเริบเป็นอื่นได้ คง
เป็นวิมุตติจิตอยู่ตามเดิมในฐานะเป็น อกาลิกจิต
คือจิตที่พ้นจากกาลสถานที่เป็นต้นไปแล้ว
เป็นจิตที่หมดความคาดหมายด้นเดาใด ๆ ทั้งสิ้น จึง
ไม่ควรคาดหมายด้นเดาให้เสียเวลา
และลำบากเปล่า ขณะจิตที่พักตัวอยู่ใน
ความสงบลบสมมุติทั้งมวลแล้ว ไม่รับธุระหน้าที่ใด ๆ
ฉะนั้นสิ่งที่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องให้รู้เห็น
จึงระงับดับสูญไปหมดเวลานั้น ต่อเมื่อถอนออก
จากสมาธิสมาบัติออกมาอยู่ขั้นอุปจารสมาธิ หรือ
เป็นวิสุทธิจิตธรรมดาแล้ว ถ้ามีเหตุควรรู้ จิตควรรู้
และรับทำธุระไปตามหน้าที่
และกำลังของตนต่อไปตามกาลอันควร
ท่านว่าจิตท่านเปิดเผยต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ ทั้งอยู่
ในอุปจารสมาธิและอยู่ปกติธรรมดา ต่าง
กันเพียงลึกตื้นหยาบละเอียดหรือกว้างแคบเท่านั้น
ถ้าต้องการความละเอียดและกว้างขวางต้อง
เข้าอุปจารสมาธิพิจารณา
เรื่องเกี่ยวกับตาพิเศษ หูพิเศษก็เช่นกัน
ต้องเข้าอุปจารสมาธิสงบอารมณ์น้อย ๆ
แล้วคอยรับทราบ จะทราบทางรูปคนเสียงคน
หรือรูปสัตว์เสียงสัตว์ หรือมากไปกว่านั้น ตามแต่
ความประสงค์จะทราบก็ทราบได้ เหมือนเห็น
ด้วยตาเนื้อ ฟังด้วยหูหนัง เรื่องทั้งนี้ท่านเคยเล่า
ให้ฟังเวลาท่านไปพักอยู่กับพวกชาวเขา ซึ่ง
ไม่เคยเห็นพระสงฆ์เป็นส่วนมาก นอกจากผู้มีโอกาส
ได้ลงมาเมืองหรือหมู่บ้านที่มีพระสงฆ์ถึงจะมีโอกาส
ได้เห็นบ้าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 23:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวเขาเข้าใจท่านผิด คิดว่า
เป็นเสือเย็นแปลงกายมา
ขณะท่านไปถึงทีแรกสององค์ด้วยกัน
ก็พากันพักอยู่ชายภูเขา ห่างจากหมู่บ้านชาว
เขาราวสองกิโลเมตร พักอยู่ร่มไม้ธรรมดา ตอน
เช้าพากันเข้าไปบิณฑบาต คนชาวเขาเห็นท่าน
เข้าไปบิณฑบาตก็ถามท่านว่า
ตุ๊เจ้ามาธุระอะไร
ท่านก็บอกว่ามาบิณฑบาต
เขาถามว่า มาบิณฑบาตอย่างไร?
เพราะพวกเขาไม่เข้าใจ
ท่านบอกว่า บิณฑบาตข้าว
เขาถามว่า ข้าวสุกหรือข้าวสาร
ท่านบอกว่า ข้าวสุก
เขาก็บอกกันให้หาข้าวสุกมา
ใส่บาตรท่าน ได้แล้วก็กลับมาที่พัก
และฉันแต่ข้าวเปล่า ๆ อยู่นาน
ขณะไปพักอยู่ที่นั้น ทีแรกชาวบ้านเขา
ไม่มีความเลื่อมใสและไว้วางใจท่านเลย
ตกกลางคืนหัวหน้าบ้านตีเกราะนัด
ให้ชาวบ้านมาประชุมรวมกันและประกาศว่า
ขณะนี้มีเสือเย็นสองตัว (หมาย
ถึงท่านอาจารย์กับพระที่อยู่ด้วยกันสององค์) มาพัก
อยู่ในป่าแห่งนั้น จะเป็นเสือเย็นประเภทใดก็ยังทราบ
ไม่ได้ พวกเราไม่ไว้ใจเสือเย็นสองตัวนั้น จึงห้ามไม่
ให้เด็กและผู้หญิงเข้าไปในป่านั้น แม้ผู้ชาย
จะไปก็ควรมีพวกมีเพื่อนและมีเครื่องมือติดตัวไปด้วย
ไม่ควรไปคนเดียวและไปแต่ตัวเปล่า ๆ
เดี๋ยวเสือเย็นสองตัวนั้นเอาไปกินจะว่าไม่บอก
ขณะที่
เขากำลังประชุมประกาศเรื่องเสือเย็น
ให้ชาวบ้านทราบ ก็
เป็นเวลาที่ท่านอาจารย์กำลังเข้าที่ภาวนา
อยู่พอดี เรื่องที่เขาประกาศให้ชาวบ้านทราบ
ทั้งหมด จึงเป็นเหมือนประกาศให้ท่านซึ่งกำลังตกอยู่
ในคำกล่าวหาว่าเป็นเสือเย็นทราบด้วยโดยตลอด
ท่านเกิดความสลดสังเวชใจอย่างยิ่งที่
ไม่เคยคาดฝันมาก่อนว่า ตนจะ
เป็นพระประเภทเสือเย็นดังคำกล่าวหา ขณะ
นั้นแทนที่ท่านจะโกรธและเสียใจในคำกล่าวหาของ
เขา แต่กลับเกิดความเมตตาสงสารเขาอย่างบอก
ไม่ถูก กลัวเขาผู้ไม่รู้เรื่องอะไรเลยก็มีจำนวนมาก
จะพลอยเชื่อตามคำเหลวไหลนั้น และพลอย
เป็นบาปหาบกรรมไปตาม ๆ กัน เมื่อตาย
จากชาตินี้ไปแล้ว เขาจะไปเกิดเป็นเสือกันทั้งบ้าน
พอตื่นเช้าท่านก็รีบบอกกับพระที่อยู่
ด้วยว่า
คืนนี้พวกชาวบ้านเขาประชุมประกาศ
กันว่า เราทั้งสององค์เป็นเสือเย็นที่ปลอมแปลงตัว
เป็นพระมาหลอกลวงอย่างแยบยลลึกลับ เพื่อให้
เขาตายใจเชื่อถือ แล้วกลับทำลายชีวิต
และทรัพย์สินเขาด้วยวิธีต่าง ๆ ฉะนั้นเขาจึง
ไม่เลื่อมใสและไว้ใจพวกเราทั้งสองเลยเวลานี้
หากว่าเราทั้งสองหนีไปจากที่นี่เสียในเวลาที่
เขากำลังคิดไม่ดีอยู่ขณะนี้ เวลาเขาตายไปจะพา
กันไปเกิดเป็นสัตว์เป็นเสือกันทั้งบ้าน ซึ่งนับว่า
เป็นกรรมเก่าเขาไม่เบาเลย เพื่อความอนุเคราะห์
เขาซึ่งควรแก่สมณกิจที่พอทำได้ จึงควรอดทน
อยู่ที่นี่ไปก่อน แม้
จะทุกข์ลำบากก็พยายามอดทนไปจนกว่าเขา
จะพากันกลับใจได้ แล้วจะไปที่ไหนค่อยไปกันดังนี้
นอกจากเขาไม่ไว้ใจและเลื่อมใสแล้ว
พวกผู้ชายยังพา
กันมาคอยสังเกตการณ์ตามสถานที่ที่ท่านพัก
อยู่บ่อย ๆ ครั้งละ ๓-๔ คนโดยมีเครื่องมือติดตัวมาด้วย
มายืนลอบ ๆ มอง ๆ อยู่แถวบริเวณใกล้ ๆ บ้าง
มายืนอยู่ข้างทางจงกรมบ้าง มายืน
อยู่ที่หัวจงกรมบ้าง มายืนอยู่กลางทางจงกรมบ้าง
ในเวลาท่านกำลังเดินจงกรมทำความเพียรอยู่
ต่างคนต่างจ้องและสอดส่ายสายตามองมา
ยังท่านและเหลือบมองไปรอบ ๆ บริเวณ
เขาใช้เวลาสังเกตการณ์ด้วยความไม่
ไว้ใจอยู่ทำนองนั้นนานประมาณครั้งละ ๑๐
นาทีบ้าง ๑๕ นาทีบ้างแทบทุกวัน และ
ไม่พูดจาไต่ถามอะไรกับท่านในระยะเริ่มแรก
แล้วก็พากันกลับไป วันหลังได้โอกาสก็พากันมาใหม่
เขาใช้เวลาสังเกตท่านอยู่นานวันพอสมควร
ส่วนอาหารปัจจัยเครื่องอาศัยเป็น
อยู่หลับนอนของพระเสือเย็นทั้งสองตัว
จะขาดตกบกพร่องหรือจะเป็นจะตายอย่างไรบ้าง
นั้น เขามิได้พากันสนใจคิดและขวนขวายกันเลย ฉะ
นั้นการเป็นอยู่ของท่านทั้งสองที่เขา
ให้นามว่าเสือเย็นจึงลำบากอัตคัดมาก
อาหารบิณฑบาตอย่างมากก็
ได้ข้าวเปล่า ๆ มาฉัน บางวันรวมทั้งฉันน้ำ
ด้วยก็อิ่มพอเบาะ ๆ บางวันรวมทั้งฉันน้ำก็ไม่พอ ที่
อยู่หลับนอนก็อาศัยโคนไม้เป็นประจำ ทั้งแดด
ทั้งฝนก็ทนเอา เพราะที่นั้นไม่มีถ้ำหรือเงื้อมผาพอ
ได้อาศัย ถ้าฝนตกชุกมาก ในบางวันตกทั้งวัน
พอฝนเบาลงบ้างก็พยายามเที่ยวเก็บใบไม้แห้งหญ้าแห้งมาทำ
เป็นจากมุงพอบังแดดบังฝนไปพลาง
พอประทังชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ ด้วย
ความทุกข์ลำบากมากมาย
ขณะฝนตกก็เข้าหลบซ่อนอยู่ในกลด
ในมุ้งพอบรรเทาความหนาว เวลาลมพัดจากภู
เขามาอย่างแรงฝนก็สาด กลดก็จะปลิวหลุดมือ
องค์ท่านและบริขารก็เปียกตัวสั่นเหมือนลูกนกลูกกา
ถ้าเป็นตอนกลางวันก็พอทำเนา มองเห็นที่ไป
ที่หลบซ่อนและที่เก็บบริขารต่าง ๆ บ้าง
แต่ฝนตกเอาตอนกลางคืนรู้สึกลำบากมาก
ตาก็มองไม่เห็นอะไรทั้งฝนกระหน่ำลง
ลมกระหน่ำมาประดังกัน
กิ่งไม้ที่ถูกลมพัดอย่างแรงต่างก็ขาดตกลงข้างหน้าข้างหลังตูมตาม
ๆ ไม่แน่ใจว่าชีวิตจะต้านทานฝน ต้านทานลม
ต้านทานความเหน็บหนาวหรือ
จะต้านทานกิ่งไม้น้อยใหญ่ที่หักตกลงและโหมกันมา
จากทิศต่าง ๆ ในขณะนั้น
เมื่อชีวิตยังอยู่ก็ทนกันไป ร้อนก็ทนไป
หนาวก็ทนไป หิวก็ทนไป กระหายก็ทนไป
อดบ้างอิ่มบ้างก็ทนไป จนกว่าจะหมดกลิ่นแห่ง
ความระแวงสงสัยของชาวบ้านที่หวาดระแวงต่อท่าน
ว่าเป็นเสือเย็นคอยหลอกลวงกินเนื้อกินหนังเขา
การขบฉันแม้เพียงข้าวเปล่า ๆ
ก็อดมื้ออิ่มมื้อ สิ่งอื่นนั้นไม่จำต้องพูดถึงว่าเขาจะมี
ความสนใจไยดีให้ท่าน ที่พักที่
อยู่ก็แบบคนอนาถาหาที่เกาะที่พึ่งไม่ได้เราดี ๆ
นี่เอง น้ำก็หิ้วกาน้ำลงไปในคลองซึ่งอยู่ตีนเขา
กรองให้เต็มกาแล้วก็หิ้วขึ้นมาฉันมาใช้ หลัง
จากสรงเสร็จแล้ว แต่ทำความเพียรสะดวกดีมาก
หมดกังวลทุกด้านไม่มีอะไรเกาะเกี่ยว
ตอนกลางคืนยามดึกสงัดทำภาวนาฟังเสียงเสือกระหึ่มไปมาทีละหลาย
ๆ ตัว ใกล้ ๆ บริเวณที่ท่านพักใต้ร่มไม้ แต่แปลก
อยู่อย่างหนึ่งที่เสือไม่เข้ามาหาท่านเลย ล้วน
เป็นเสือโคร่งใหญ่ลายพาดกลอนทั้งนั้น
ท่านว่า ท่านเพลิดเพลินไป
กับเสียงสัตว์ชนิดต่าง ๆ แต่บางทีเสือก็
เข้ามาหาท่านและลูกศิษย์ท่านเหมือนกัน
เขาคงสงสัยว่าเป็นสัตว์ซึ่งควรจะเป็นอาหารได้บ้าง
แล้วแอบเข้ามาดู พอคนกระดุกกระดิกลุกขึ้น
เขาร้องโก้ก พร้อมกับกระโดดเข้าป่าไป วันหลัง
ไม่เห็นเขามาหาอีกเลย
พอตกบ่าย ๆ ก็มีชาวบ้านราว ๓-๔
คนออกมาสังเกตการณ์แทบทุกวัน แต่เขา
ไม่พูดจาอะไรกับท่าน ท่านก็มิได้สนใจกับเขา
เฉพาะพวกเขาเองบางครั้งมีการพูดกระซิบกระซาบ
กัน ขณะที่พวกเขามาที่นั่นท่านกำหนดจิตดูจิตใจ
เขาที่คิดปรุงอยู่ทุกขณะและทุกเวลาที่เขามา
ส่วนพวกเขาเองก็คงไม่สนใจคิดว่า ท่านจะรู้เรื่อง
ความคิดปรุงทางใจตลอดคำพูดเขาที่ระบายออก
จากใจผู้บงการอะไรเลย คงเข้าใจว่าตนมี
ความลับที่ไม่มีใครสามารถสอดรู้อยู่ภายใน
จึงสนุกคิดเรื่องต่าง ๆ อย่างเพลินใจ ซึ่งโดยมากก็
เป็นความคิดคอยจับผิดท่านอยู่ภายใน
ท่านกำหนดดูใจของใครที่มาด้วยกันกี่คน ก็มี
ความรู้สึกนึกคิดที่คอยจับผิดอยู่ภายในเช่นเดียว
กันหมด สมกับเขาประกาศสั่งพวกเขา
ให้มาสังเกตการณ์จริง ๆ
ท่านเองแทนที่จะคิดระวังตัวกลัวเขา
จะจับผิด แต่กลับคิดสงสารเขาเป็นกำลัง ว่าคน
ในบ้านนั้นมีไม่กี่คนที่เป็นผู้ชักนำชาวบ้าน
ซึ่งมีหลายคนให้เห็นผิดไปด้วย
ท่านพักอยู่ที่นั้นเป็นเดือน ๆ ยังไม่เห็น
เขาลดละความพยายามคอยจับพิรุธ
ความผิดพลาดท่าน พวกใดมาหาล้วนมี
ความจ้องมองหาแต่ความผิดกับท่านเช่นเดียวกัน
ท่านว่า
เขาช่างพยายามเอาเสียจริง ๆ แต่ยังดี
อยู่อย่างหนึ่งที่เขาไม่พร้อมใจกันมาขับไล่ท่าน
ให้หนีจากที่นั้น เป็นเพียงจัดวาระกันมาควบคุม
โดยทางลับเท่านั้น เมื่อท่านอยู่นานไป ทั้งพวก
เขาก็มาสังเกตดูอยู่หลายครั้ง เฉพาะพวกหนึ่ง ๆ ยัง
ไม่อาจจับความเคลื่อนไหวที่ผิดพลาดท่านได้
เขาคงแปลกใจอยู่มาก
ในเวลาต่อมาคืนวันหนึ่งท่านกำลังนั่งภาวนา
อยู่ ได้ยินหรือทราบขึ้นภายในใจว่า
หัวหน้าบ้านประชุมสอบถามผลของการสังเกตการณ์ว่า
ได้ผลคืบหน้าไปเพียงใดบ้าง
ชาวบ้านบรรดาที่มาสังเกต
ให้คำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีผลอะไรตาม
ความคิดเห็นของพวกเราที่คิดกัน ไปทำอย่างนั้นดี
ไม่ดี น่ากลัวจะเป็นโทษมากกว่าผลที่คาดกัน
ผู้สงสัยซักขึ้น ทำไมว่าอย่างนั้น
เขาตอบกันว่า ก็เท่าที่สังเกตดูแล้ว
ตุ๊เจ้าสองตนนั้น (ตุ๊เจ้าหมายถึงพระ)
ไม่เห็นมีกิริยาท่าทางใด ๆ ที่
เป็นไปดังที่พวกเราคาดกัน
ไปสังเกตดูทีไรก็เห็นแต่ท่านนั่งหลับตานิ่งอยู่บ้าง
ท่านเดินกลับไปกลับมาในท่าสำรวม
ไม่มองโน้นมองนี้อย่างคนทั่ว ๆ ไปบ้าง
คนที่จะ
เป็นเสือเย็นตั้งท่าคอยฉีกสัตว์กัดคนคงไม่ทำอย่าง
นั้น ต้องมีอาการแสดงออกให้พอจับได้บ้าง
แต่ตุ๊เจ้าสองตนนี้ไม่มีกิริยาเช่นนั้นแฝงอยู่บ้างเลย
ถ้าขืนไปทำอย่างที่พากันทำอยู่ทุกวันนี้ จึงน่ากลัว
เป็นบาป ทางที่ถูกควรไปศึกษาไต่ถามท่านดู
ให้รู้เหตุผลต้นปลายก่อน อยู่ ๆ ก็ไปเหมาว่าท่าน
ไม่ดีเอาเลยตามความคิดเห็นเฉย ๆ อย่างนี้น่ากลัว
เป็นบาป
บรรดาพวกที่ไปสังเกตท่านมาแล้ว พูด
เป็นเสียงเดียวกันว่า
ท่านเป็นตุ๊เจ้าดี ยากจะหาได้
พวกเราก็เคยเห็นตุ๊เจ้ามาบ้าง พอจะรู้ของดีของไม่ดี
บางรายก็ว่า เคารพเลื่อมใสท่านมากกว่า
จะคิดแส่หาโทษท่าน
ถ้าอยากทราบรายละเอียดก็ควรไปศึกษาไต่ถามท่านดูบ้างว่า
การนั่งหลับตานิ่ง ๆ ก็ดี การเดินกลับไปกลับมาก็ดี
ท่านนั่งเพื่ออะไร และท่านเดินหาอะไร
ท่านว่า
สุดท้ายแห่งการประชุมของชาวป่าได้ความว่า
ให้คนไปไต่ถามท่านดูตามที่ตกลงกัน
ตื่นเช้ามาท่านก็พูดกับพระที่อยู่
ด้วยว่า
เขาเริ่มกลับใจมาทางดีแล้ว คืนนี้
เขาประชุมกันเกี่ยวกับการมาสังเกตดูพวกเรา ตกลง
กันว่าจะจัดให้คนมาไต่ถามข้อข้องใจกับพวกเรา
พอวันหลังตอนบ่าย ๆ เขาพา
กันมาจริง ๆ ดังที่รู้ไว้
ในจำนวนที่มามีคนหนึ่งถามขึ้นว่า
ตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่ง ๆ
และเดินกลับไปกลับมานั้น ตุ๊เจ้านั่งและเดินหาอะไร
ท่านตอบเขาว่า พุทโธ เราหาย
เรานั่งและเดินหา พุทโธ
เขาถามท่านว่า พุทโธ
เป็นตัวอย่างไร พวกเราจะช่วยตุ๊เจ้าหาได้ไหม?
ท่านตอบว่า
พุทโธ เป็นดวงแก้วอันประเสริฐเลิศโลก
ในไตรภพ เป็นดวงฉลาดรอบรู้ทั่วไตรโลกธาตุ ถ้าสู
จะช่วยเราหาก็ยิ่งดีมาก จะได้เห็น พุทโธ เร็ว ๆ ง่าย
ๆ ด้วย (สูเป็นคำที่ชาวเขานับถือกันว่าดีมากสนิท
กันมาก)
เขาถามว่า พุทโธ
ตุ๊เจ้าหายมานานแล้วหรือ
ท่านตอบว่า ไม่นาน ถ้าสูช่วยหา
ให้ยิ่งจะพบเร็วกว่าเราหาเพียงคนเดียว
เขาถามว่า พุทโธ เป็นดวงแก้ว
ใหญ่ไหม?
ท่านตอบว่า ไม่ใหญ่ไม่เล็ก พอดีกับเรา
และกับพวกสูดี ๆ นี่เอง ใครหา พุทโธ พบคน
นั้นประเสริฐ มองเห็นอะไรได้ตามใจหวัง
เขาถาม มองเห็นนรกสวรรค์
ได้ไหมตุ๊เจ้า?
ท่านตอบว่า มองเห็นซิ ไม่เห็น
จะว่าประเสริฐได้อย่างไร
ลูกเมียผัวตายมองเห็นได้ไหมตุ๊เจ้า?
ท่านตอบว่า
เห็นหมด ถ้าต้องการอยากเห็น เมื่อได้
พุทโธ แล้ว
เขาถาม สว่างมากไหม?
ท่าน
สว่างมากยิ่งกว่าพระอาทิตย์ตั้งร้อยดวงพันดวง
เพราะพระอาทิตย์ไม่สามารถส่องเห็นนรกสวรรค์ได้
แต่ดวง พุทโธ สามารถส่องเห็นหมด
เขาถาม ผู้หญิงช่วยหาได้ไหม? เด็ก ๆ
ช่วยหาได้ไหม?
ท่าน ได้ทั้งนั้น ไม่นิยมว่าหญิงว่าชาย
ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ใครหาก็ได้ทั้งนั้น
เขาถามท่านว่า พุทโธ นั้นประเสริฐ
ในทางใดบ้าง กันผีได้ไหม?
ท่านตอบว่า พุทโธ ประเสริฐ และใช้
ได้หลายทางจนนับไม่ถ้วน ในโลกทั้งสาม
คือกามโลก รูปโลก อรูปโลก โลกทั้งสาม
ต้องยอมกราบ พุทโธ ทั้งนั้น ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่า
พุทโธ ผีก็กลัว พุทโธ มาก ต้องกราบ พุทโธ ใครหา
พุทโธ แม้ยังไม่พบ ผีเริ่มกลัวผู้นั้นแล้ว
เขาถามท่าน พุทโธ
เป็นแก้วสีอะไรตุ๊เจ้า
ท่านตอบ พุทโธ เป็นแก้วดวงสว่างไสว
และมีหลายสีจนนับไม่ได้ พุทโธ นี้
เป็นสมบัติอันวิเศษของพระพุทธเจ้า พุทโธ นั้น
เป็นองค์แห่งความรู้ความสว่างไสวไม่เป็นวัตถุ
พระพุทธเจ้าท่านมอบให้พวกเราไว้หลายปีแล้ว
แต่เราเองยังหา พุทโธ ที่ท่านมอบให้ยังไม่เจอ
ไม่ทราบว่าอยู่ที่ตรงไหน แต่จะอยู่ที่ไหนไม่สำคัญนัก
ที่สำคัญก็คือถ้าสูจะพากันช่วยเราหา พุทโธ จริง ๆ
ให้พากันนั่งหรือเดินนึกในใจว่า พุทโธ ๆ อยู่ภายใน
โดยเฉพาะ ไม่ให้จิตส่งออกไปนอกกาย ให้รู้อยู่
กับคำว่า พุทโธ ๆ เท่านั้น
ถ้าทำอย่างนี้พวกสูอาจเจอ พุทโธ ก่อนเราก็ได้
เขาถามท่านว่า การนั่งหรือเดินหา
พุทโธ จะให้นั่งหรือเดินนานเท่าไรถึงจะพบ พุทโธ
แล้วหยุดได้
ท่านตอบ ให้นั่งหรือเดินเพียง ๑๕ หรือ
๒๐ นาทีก่อนสำหรับผู้ตามหา พุทโธ ทีแรก พุทโธ
ท่านยังไม่อยากให้พวกเราตามหาท่านนานนัก
กลัวจะเหนื่อยแล้วตาม พุทโธ ไม่ทัน เดี๋ยว
จะขี้เกียจเสียก่อน ทีหลังจะไม่อยากตามหาท่าน
แล้วเลยจะไม่พบท่าน เอาเพียงเท่านี้ก่อน
ถ้าอธิบายมากกว่านี้จะจำวิธีไม่ได้แล้วตามหา
พุทโธ ไม่พบ
เสร็จแล้วเขาพากันกลับบ้าน
การลาท่านสำหรับเขาแล้วไม่ต้องพูดถึงเพราะ
เขาไม่เคยลาใคร ว่าจะไปเขาลุกขึ้น
แล้วก็ไปทันทีทันใด ไม่สนใจคำลาใครทั้งนั้น
พอไปถึงบ้านแล้ว
ชาวบ้านต่างมารุมถามเป็นการใหญ่ เขาอธิบาย
ให้ฟังตามที่ท่านสั่งสอนเขาแต่โดยย่อไว้ก่อนนั้น
นอกจากนั้น เขายังอธิบายเรื่องท่านพระอาจารย์
ให้ชาวบ้านฟังว่า ที่สงสัยการนั่งหลับตานิ่ง ๆ
และการเดินกลับไปกลับมานั้น ท่านนั่งและเดินหา
พุทโธ ดวงเลิศต่างหาก มิได้นั่ง
และเดินแบบเสือเย็นดังที่พวกเราเข้าใจกัน
พอชาวบ้านทราบวิธีตามที่พวกมาถามท่านนำไปเล่า
ให้ฟังแล้ว ต่างคนต่างสนใจฝึกหัดนึก พุทโธ ภาย
ในใจโดยทั่วกัน นับแต่หัวหน้าบ้านลงมาถึงผู้หญิง
และเด็ก ๆ ที่พอรู้วิธีนึก พุทโธ ได้
เป็นที่อัศจรรย์ไม่คาดฝันว่า จะมี
ผู้รู้เห็นธรรมของพระพุทธเจ้าภายในใจอย่างประจักษ์
โดยไม่เนิ่นนานนัก คือผู้ชายคนหนึ่ง
ซึ่งตามหา พุทโธ แล้วประสบธรรม คือ
ความสงบสุขทางใจจากการนึกบริกรรม พุทโธ
ตามวิธีที่ท่านบอกเขา
ท่านเล่าว่า ก่อนหน้า ๓-๔ วันที่เขา
จะประสบผลจาก พุทโธ เขานอนหลับฝัน
ถึงท่านพระอาจารย์มั่นว่า ท่านเอาเทียน
ใหญ่ที่จุดไฟอย่างสว่างไสวแล้วไปติดไว้บนศีรษะเขา
พอท่านติดเทียนเสร็จแล้วนับแต่ศีรษะลงมาถึงตัว
เขาปรากฏว่าสว่างไสวไปโดยตลอด
เขาดีใจมากว่าตนได้ของดีมี
ความสว่างไสวแผ่ออกไปนอกกายตั้งหลาย ๆ วา
พอจิตเขาเป็นขึ้นมาก็รีบมาหาท่านพระอาจารย์
และเล่าเรื่องความเป็นและความฝัน
ให้ท่านฟังอย่างน่าอัศจรรย์ จากนั้นท่านก็
ได้อธิบายเพิ่มเติมให้เขาไปทำต่อ ปรากฏว่า
ได้ผลอย่างรวดเร็วและยังสามารถรู้ใจของผู้อื่นได้อีก
ด้วย ว่าใจของใครยังมีเศร้าหมองและผ่องใสเพียงใด
เขาพูดกับท่านอย่างไม่มีการสะทกสะท้านเลย
ซึ่งตรงกับจริตคนป่าที่มีนิสัยพูดตรงไปตรงมาอยู่แล้ว
ในเวลาต่อมาเขาออกมาเล่าธรรม
ให้ท่านฟังว่า เขา
ได้พิจารณารู้เห็นจิตท่านอาจารย์และพระที่อยู่
กับท่านได้อย่างชัดเจน
ท่านเองก็ถามเขาบ้างเป็นเชิงเล่น ๆ
ว่า จิตของท่านเป็นอย่างไร มีบาปมากไหม?
เขาตอบท่านทันทีเลยว่า
จิตของตุ๊เจ้าไม่มีจุดมีดวงเหลืออยู่แล้ว
มีแต่ความสว่างไสวอันเป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง
อยู่ภายในเท่านั้น ตุ๊เจ้าเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก
ไม่มีใครเสมอเหมือน เฮาไม่เคยเห็น (
คำว่าเฮาเทียบกับคำว่าผม) ตุ๊เจ้ามาพัก
อยู่ที่นี่ตั้งนานร่วมปีแล้ว ทำไม
ไม่สอนเฮาบ้างก๊าแต่แรกมาอยู่ (ก๊า เท่ากับ
“เล่า” หรือ “ไหม” ก็ได้ แปลได้หลายนัยมากพอดู
มีติดท้ายประโยคได้ทั้งคำถาม คำตอบ)
ท่านตอบ จะให้เราสอนอย่างไร ก็
ไม่เคยเห็นพวกสูมาศึกษาไต่ถามเรานี่นา
เขาตอบท่านว่า
ก็เฮาบ่ฮู้ก๊า (บ่ เท่ากับ ไม่) ว่าตุ๊เจ้า
เป็นผู้วิเศษ ถ้าฮู้จะทนอยู่ได้อย่างไร ต้องมาแน่ ๆ
ทีนี้พวกเฮาฮู้แล้วก๊าว่าตุ๊เจ้าเป็นผู้ฉลาดมาก
เวลาพวกเฮามาถามว่า ตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่ง ๆ
และเดินกลับไปกลับมานั้น ทำทำไม หรือหาอะไร
ตุ๊เจ้าก็บอกพวกเฮาว่า พุทโธ หาย ให้พวกเฮา
ช่วยหา เมื่อถามถึง พุทโธ เป็นลักษณะอย่างไร
ก็บอกไปว่าเป็นแก้วดวงสว่างไสว ความจริงจิตตุ๊เจ้า
เป็น พุทโธ อยู่แล้ว มิได้สูญหายไปไหน แต่
เป็นอุบายฉลาดของตุ๊เจ้าที่เมตตาสงสารพวกเฮา
ให้ภาวนา พุทโธ เพื่อ
ให้จิตพวกเฮาสว่างไสวเหมือนจิตตุ๊เจ้าต่างหาก
เฮาฮู้แล้วว่าตุ๊เจ้าเป็นผู้ประเสริฐและเฉลียวฉลาด
ปรารถนาให้พวกเฮาได้บุญ มีความสุข และพบ
พุทโธ ดวงประเสริฐที่ใจตัวเอง มิใช่หา พุทโธ ให้ตุ๊เจ้า
นับแต่เขาคนนั้นได้เห็นธรรมภาย
ในใจเพียงคนเดียวเท่านั้น เรื่องก็กระจายไปทั่วบ้าน
ในไม่ช้า คนในบ้านต่างก็เกิดความสนใจและพา
กันภาวนา พุทโธ ไปตาม ๆ กัน ตลอดเด็กเล็ก ๆ
และเกิดความเชื่อถือ
และเลื่อมใสท่านพระอาจารย์มั่นมาก
เรื่องเสือเย็นเลยหายซากไป ไม่มีใครกล่าวถึงเลย
นับแต่นั้นมา เวลาท่านกลับ
จากบิณฑบาต คนที่ภาวนาเป็นนั้น
ต้องตามส่งบาตรและศึกษาธรรมกับท่านทุกวัน
ถ้าวันไหนเขามีธุระไม่ได้ตามส่งบาตรท่าน ก็สั่ง
กับคนไว้
ในหมู่บ้านนั้นทราบว่ามีคนภาวนา
เป็นอยู่หลายคน มีทั้งชายและหญิง ที่เก่งกว่าเพื่อน
นั้นก็คือเขาคนเป็นก่อนนั่นเอง
คนเราเมื่อความพอใจมีแล้ว สิ่งอื่น ๆ
ก็ค่อยเป็นไปเอง เช่นคนพวกนี้แต่ก่อนเขาไม่เคยสนใจ
กับท่านเลยว่า ท่านได้อยู่ได้นอน
ได้ขบฉันอย่างไรบ้าง แม้จะเป็นหรือจะตายเขา
ไม่สนใจทั้งนั้น พอเขาเกิดความเชื่อถือและเลื่อมใส
แล้ว ทุกสิ่งที่เคยขาดแคลนก็กลับกลายเป็น
ความสมบูรณ์ขึ้นมาเป็นลำดับ ทางจงกรม กุฏิที่พัก
ที่ฉัน เขาพร้อม
กันมาทำถวายท่านเองจนเรียบไปหมด โดยมิ
ได้บอกกล่าวเลย
มิหนำเขายังมาตำหนิท่าน
เป็นเชิงชมเชยอยู่อย่างลึกลับด้วยว่า
ทางจงกรมอย่างนั้นตุ๊เจ้าก็เดินได้ ดู
แล้วมีแต่ต้นไม้เครือเขาเถาวัลย์เต็มไปหมด ตุ๊เจ้ามิ
ใช่หมูพอจะเดินบุกป่าฝ่าดงไปอย่างนั้น แต่ทำไม
ยังอุตส่าห์เดินบุกไปได้ เมื่อเฮาถามว่า นี่ทางอะไร
ก็บอกว่าทางเดินหา พุทโธ พุทโธ เราหาย
เมื่อเฮาถามว่า นั่งหลับตาอยู่นิ่ง ๆ นั้น นั่งทำไม
ก็บอกว่านั่งหาธรรมบ้าง นั่งหา พุทโธ บ้าง
พูดอย่างนั้นก็ได้
ตุ๊เจ้านี้แปลกกว่าคนทั้งหลาย
ตุ๊เจ้าวิเศษเลิศโลกเท่าไรก็มิได้บอกว่าวิเศษ
ตุ๊เจ้าคนนี้แปลกมาก เฮาชอบนิสัยตุ๊เจ้าตนนี้มาก
ที่หลับที่นอนก็มีแต่ใบไม้ปูเต็มพื้นดินจนจะเหม็นเน่าอยู่
แล้ว ท่านทนนอนมาตั้งหลายเดือนทำไมทนได้
เฮาดูที่นอนตุ๊เจ้าแล้วเหมือนที่นอนหมู เห็น
แล้วเฮาสงสารตุ๊เจ้ามากจนเกือบร้องไห้
พวกเฮาเองก็โง่จริง ๆ โง่กันทั้งบ้าน ไม่รู้จักของดี
มิหนำบางคนยังหาว่าตุ๊เจ้ามา
อยู่เพื่อหลอกลวงชาวบ้านแล้วเขาก็พา
กันรังเกียจระแวง แต่เวลานี้พวกเขาพากันเชื่อถือ
และเลื่อมใสตุ๊เจ้ากันทั้งบ้านแล้ว เพราะ
เขาทราบเรื่องของตุ๊เจ้าจากเฮาก๊า ดังนี้
ท่านว่า คนพวกนี้ถ้าลงเขาได้เชื่อ
และเคารพนับถือแล้ว ต้องนับถือแบบถึงใจจริง ๆ และ
ถึงไหนถึงกัน เป็นก็เป็นด้วยกันตายก็ตายด้วยกัน
แม้ชีวิตก็ยอมสละได้ เราพูดอะไรเขาเชื่อฟัง
และเคารพนับถือมาก
การบริกรรมภาวนาหา พุทโธ ของ
เขา ท่านก็สอนให้เขยิบเวลาขึ้นไปตาม
ความเคยชินและผู้ชำนาญเป็นลำดับ
ปีนั้นท่านต้องจำพรรษากับพวก
เขารวมแล้วเป็นเวลาปีกว่า ท่านไปอยู่กับพวกเขา
ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนเมษายนปีหลังจึง
ได้จากเขาไป ก่อนจะจากเขาไป
ได้ก็นับว่าทุลักทุเลด้วยความสงสารเขาเอาการ
อยู่ เนื่องจากเขาไม่ยอมให้ท่านหนีไปไหนเอาเลย
เขาบอกท่านว่าแม้ท่านตายลงไปในที่นั้น เขา
ทั้งบ้านจะรับรองเผาศพท่าน แม้เขาเองก็มอบชีวิต
ไว้กับท่านด้วย เพราะความรัก
และเคารพเลื่อมใสท่านมาก
ผลดีก็เห็นประจักษ์ตาประจักษ์ใจ
น่าชมเชยเขาที่มีความฉลาดระลึกใน
ความผิดได้ พอเห็นพระที่ปฏิบัติดีน่าเลื่อมใสจริง ๆ
แล้วก็กลับมาเห็นโทษความผิดของตนที่คิด
ไม่ดีแต่ก่อน แล้วพร้อมกันมาขอขมาโทษท่าน
ให้อโหสิกรรมให้
ก่อนจากพวกเขา ท่านได้พูดกับพระที่
อยู่ด้วยว่า ที่นี่เขาหมดโทษแล้ว เราจะไปที่ไหนก็ได้
ไม่ขัดข้องแล้ว แต่สำคัญตอนลาเขาออกจากที่นั้น
ท่านว่าน่าสงสารสังเวชกับความรักความนับถือ
ความเคารพเลื่อมใสและคำวิงวอนเขาจนบอกไม่ถูก
พอพวกเขาทราบว่าท่านจะจาก
เขาไปเท่านั้น เขาพากันออกมา
ทั้งบ้านมาร้องไห้วิงวอนกันอย่างชุลมุนวุ่นวายไป
ทั้งป่า เหมือนคนร้องไห้คิดถึงคนตายนั่นเอง
ท่านก็พยายามแสดงเหตุผลที่จำต้องจากเขาไป
และปลอบโยนพวกเขาไม่
ให้เสียใจจนเลยขอบเขตแห่งธรรม คือความพอดี จน
เขาเป็นที่ลงใจแล้วก็ออกจากที่พักอันแสนสำราญ
นั้น
สิ่งที่ไม่คาดฝันกลับเกิดขึ้นอีก คือทั้งเด็ก
และผู้ใหญ่ต่างคนต่างวิ่งออกไปรุมล้อมท่านและ
เข้าแย่งเอาบริขาร กลด บาตร กาน้ำ กับ
ผู้ตามส่งท่าน
และฉุดชายสบงจีวรกอดแข้งกอดขาท่านดึงกลับมาที่พักอีกเหมือนเด็ก
ๆ โดยไม่ยอมให้ท่านไป
ท่านต้องกลับมาแสดงเหตุผล
และปลอบโยนใจให้สงบเย็นอีกพักหนึ่งแล้วค่อยพา
กันปล่อยให้ท่านไป พอท่านก้าวออก
จากที่พักเดินไปได้ประมาณ ๔-๕ วาเท่านั้น
ต่างก็ร้องไห้แล้วพากันตามฉุดเอาท่านกลับมาอีก
ทำเอาท่านเสียเวลาไปหลายชั่วโมง
ฟังเสียงร้องไห้ระเบ็งเซ็งแซ่ฉุกละหุกวุ่นวายไปทั่ว
ทั้งป่า ซึ่งเป็นที่น่าสมเพชเวทนาเอานักหนา
คำว่า “เสือเย็น” ที่เกิดขึ้นในตอนแรก ๆ
จึงหมดความหมายไปทั้งสองฝ่าย ที่ยังเหลืออยู่
จึงมีแต่ความเคารพเลื่อมใสความอาลัยอาวรณ์
ในท่านผู้ทรงคุณธรรมอันสูงส่งที่สุดจะอดกลั้นไว้ได้
ขณะที่ท่านจากไป
จึงมีแต่เสียงร้องไห้ระทมทุกข์ของพวกชาว
เขาที่พิไรรำพัน ทั้งเสียงร้องไห้และสั่งเสียว่า
“เมื่อตุ๊เจ้าไปแล้ว
ให้รีบกลับคืนมาหาพวกเฮาอีก อย่าอยู่นาน
พวกเฮาคิดถึงตุ๊เจ้าแทบอกจะแตกตายอยู่เดี๋ยวนี้
แล้วก๊า”
จนไม่ทราบว่าเป็นเสียงเด็กหรือเสียงผู้
ใหญ่ ที่ต่างคนต่างร้องไห้ไว้ทุกข์ในคราวท่าน
จากไปเวลานั้น
นับว่าท่านไปอยู่ในท่ามกลางแห่ง
ความระแวงสงสัยไม่พอใจของเขาในครั้งแรก แต่
จากไปในท่ามกลางแห่งความอาลัยเสียดายของ
เขาในภายหลัง
จึงนับว่าท่านเที่ยวชะล้างสิ่งสกปรกรกรุงรัง
ให้กลายเป็นของสะอาดปราศจากมลทินควรแก่
ความเป็นของมีคุณค่าขึ้นได้ สมกับท่านบวชมา
เป็นลูกศิษย์ของพระตถาคต ผู้ไม่ถือโกรธถือโทษกับผู้
ใดจริง ๆ
ใครรังเกียจ
ท่านก็พยายามอนุเคราะห์ด้วย
ความเมตตาสงสาร ไม่ยึดเอาความผิดพลาดของ
เขามาเป็นอารมณ์เครื่องขุ่นข้องหมองใจ ให้
เป็นภัยแก่ตนและผู้อื่น มีใจที่เต็มเปี่ยมด้วยเมตตา อัน
เป็นที่เจริญศรัทธาของโลกผู้ร้อนด้วยกิเลสตัณหาวิ่ง
เข้ามาอาศัย ให้ได้รับความไว้วางใจและเย็นฉ่ำ
ทั่วหน้ากัน นับว่าเป็นผู้อัศจรรย์
ด้วยคุณธรรมอันหาที่เปรียบได้ยาก
ขณะนั่งฟังท่านเล่า ผู้ฟังเกิด
ความสังเวชสลดใจอดวาดภาพไปตามไม่ได้
ปรากฏในมโนภาพขณะนั้น
เหมือนดูภาพยนตร์ที่แสดงเรื่องชุลมุนวุ่นวายของชาวบ้านป่าที่มีศรัทธาแรงกล้า
สละเลือดเนื้อชีวิตดวงใจต่อท่านผู้วิเศษด้วยคุณธรรม
ขอให้ท่านประพรมโสรจสรงด้วยพรหมวิหาร
ประทานเมตตาแก่พวกเขา
ให้มีชีวิตชีวาเจริญวาสนาสืบต่อไป ด้วยการวิงวอน
และร้องไห้วิ่งกอดแข้งกอดขา
ฉุดผ้าสังฆาฏิสบงจีวรบาตรบริขารท่านกลับมาสู่บรรณศาลาหลัง
เล็ก ๆ ของฤๅษีที่มุง
ด้วยเปลือกไม้ใบหญ้าอันแสนสำราญ ซึ่ง
เป็นที่น่าสงสารอย่างประทับใจ แต่
เป็นสิ่งที่สุดวิสัยของโลก อนิจฺจํ จำมาต้องจำจาก
เพราะการพลัดพรากแปรผัน
เป็นสายทางเดินแห่งคติธรรมดา ไม่มีท่านผู้ใด
สามารถปิดกั้นหรือทำลายได้ ดัง
นั้นท่านพระอาจารย์มั่น แม้
จะทราบอัธยาศัยของชาวศรัทธาที่เกี่ยวพันหนักแน่น
กับท่านอยู่อย่างเต็มใจก็จำต้องจากไป
ในเมื่อกาลมาถึงแล้ว
เป็นที่ทราบกันว่า
ท่านพระอาจารย์มั่นที่ชาวบ้านในเขาเคย
ให้นามท่านว่า “เป็นเสือเย็น” แต่ท่าน
เป็นวิสุทธิบุคคลอยู่ในข่ายแห่ง ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส
ของโลก ท่านได้จากชาว
เขาไปเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่โลกต่อไปตามอัธยาศัย
ไม่มีประมาณ
เรื่องทั้งนี้นับว่าเป็นคติแก่อนุชนรุ่นหลังได้
เป็นอย่างดี ซึ่งเวลานี้พุทธศาสนิกชนผู้รักความสงบ
กำลังวิตกห่วงใยทั้งตนและพุทธศาสนาอัน
เป็นสมบัติล้นค่า และ
เป็นคู่เคียงแห่งชีวิตจิตใจตลอดมา
ที่อาจถูกเพ่งเล็งกล่าวหาอย่างลึกลับว่าเป็น
“เสือเย็น” ทำนองที่ท่านพระอาจารย์มั่นถูกมา
แล้วกำจัดทำลายอย่างเปิดเผยก็ได้ จากฝ่าย
ใดก็ตามที่มีความรู้ความเห็น
เป็นปรปักษ์ต่อหลักพระศาสนา
และคตินิสัยของพุทธศาสนิกชน
ซึ่งเวลานี้ก็เริ่มไหวตัวบ้างพอให้รู้สึกว่าไม่ควรนอนใจ
ถ้านอนหลับทับสิทธิ์จนเกินไปอาจเสียใจในภายหลัง
ท่านพระอาจารย์มั่นท่านดำเนินตามแบบสุคโต
ไปอยู่ในป่าในเขาก็เป็นประโยชน์แก่ชาวป่าชาว
เขา เทวบุตร เทวธิดา อินทร์ พรหม ภูตผี นาค ครุฑ
ไม่ว่างงาน ท่านมีเมตตาสงสารอนุเคราะห์โลก
อยู่ตลอดเวลา
ออกมาเมืองมนุษย์มนาก็โปรดมนุษย์มนา พระ เณร
ชี คหบดีทวยข้าประชาชนคนทุกชั้นไม่เว้นแต่ละเวลา
มีมนุษย์มนาไปมาหาสู่ศึกษาอบรมอรรถธรรม
กับท่านเป็นประจำ
นับว่าท่านทำประโยชน์มหาศาลแก่ส่วนรวม
ซึ่งยากจะมีผู้ทำ
ได้ละเอียดลออกว้างขวางเหมือนอย่างท่าน
เวลาพักอยู่ในภูเขา ตอนบ่าย ๆ เย็น ๆ
พวกชาวป่าก็พลอยได้รับความแช่มชื่นเบิกบาน
จากธรรมที่ท่านแสดงโสรจสรง
ตกตอนดึกก็แก้ปัญหาและแสดงธรรมแก่เทวดาที่มา
จากชั้นและที่ต่าง ๆ ฟัง เรื่องเช่นนี้นับว่า
เป็นภาระอันหนักที่ท่านต้องทำซึ่งหาตัวแทนยาก
ไม่เหมือนการสั่งสอนมนุษย์ มนาที่ใคร ๆ
สั่งสอนก็พอรู้เรื่องกัน นอกจากจะฟังและปฏิบัติตาม
หรือไม่เท่านั้น
การเกี่ยวข้องกับเทพเจ้า
ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างนับว่า
เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับท่านพระอาจารย์มั่น
ฉะนั้นประวัติของท่านจึงมักมีเรื่องเกี่ยวกับเทพสับปน
กันไปเสมอตามประสบการณ์ในสถานที่
และเวลาต่าง ๆ กัน จนกว่าจะจบประวัติท่าน
เรื่องทำนองนี้ถึงจะสิ้นสุดลง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 23:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอาจารย์มั่นกับพระเถระที่เป็นศิษย์รูปหนึ่ง
เมื่อไม่นานมานี้ ผู้เขียน
ได้ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์
ผู้ทรงคุณธรรมอันสูง ซึ่ง
เป็นอาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐาน มีประชาชน
และพระเณรเคารพนับถือท่านมากแทบ
ทั่วประเทศไทย พอไปถึง ก็
เป็นเวลาที่ท่านกำลังสนทนาธรรมอยู่กับพระ ๓-๔
องค์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านภายในวัด เราพลอย
ได้โอกาสเข้าผสมด้วย ท่านแสดงอัธยาศัยด้วย
ความเมตตาอย่างยิ่ง
เราเริ่มสนทนาธรรมภาคปฏิบัติแขนงต่าง
ๆ จนเตลิดไปถึงเรื่องของท่านพระอาจารย์มั่นซึ่ง
เป็นอาจารย์ท่าน
ระยะนั้นท่านไปศึกษาอบรมอยู่
กับท่านพระอาจารย์มั่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในภู
เขาลึกห่างจากตัวอำเภอมาก เดินด้วยเท้าเปล่า
เป็นวัน ๆ จึงจะถึงอำเภอ
ท่านเล่าให้ฟังหลายเรื่องซึ่งล้วน
เป็นเรื่องที่ฟังแล้วสะดุดใจ และเกิด
ความอัศจรรย์ชนิดบอกไม่ถูก แต่จะนำมาเล่า
ให้ท่านฟังเท่าที่เห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ควร นอกนั้น
จึงขอผ่านไป ตามที่เคยเรียนให้ทราบมาแล้ว
ท่านเล่าว่า
ท่านพระอาจารย์มั่น นอกจากจะ
เป็นที่แน่ใจอย่างยิ่ง ว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์หมดจด
ในสมัยปัจจุบันแล้ว ท่าน
ยังมีคุณธรรมพิเศษหลายประการอีกด้วย ทั้งน่ากลัว
ทั้งน่าเคารพ ทั้งน่าเลื่อมใส ทั้งทำให้เราระวังตัว
อยู่ตลอดเวลา ความรู้แปลก ๆ ที่ท่านเล่าให้ฟังนั้น
ผมเองก็จำไม่ได้หมด
ผู้เขียนเรียนถามท่านว่า ส่วนที่จำไม่
ได้ก็สุดวิสัย แต่ที่พอจำได้ก็ขออาราธนาเล่า
ให้กระผมฟังบ้าง พอได้ยึดไว้เป็นขวัญใจและ
เป็นที่ระลึกบูชาไปนาน ๆ
ท่านพูดว่า ก็เราคิดอะไรขึ้นมาภาย
ในใจท่านรู้เอาเสียหมด จะว่าอย่างไรล่ะ
ผมเองเหมือนถูกมัดไว้ทั้งวันทั้งคืนเลย
ด้วยการระวังรักษาจิต ถึงขนาดนั้นท่านยังเอาเรื่อง
ความคิดของเราไปเทศน์ให้เราและหมู่เพื่อนฟังจนได้
แต่จิตผมก็รู้สึกว่าดีอยู่ไม่น้อยในระยะที่อยู่กับท่านนั้น
เป็นแต่รักษาใจไม่ให้คิดไปทุกแง่ทุกมุมไม่ได้เท่า
นั้นเอง
ใคร ๆ ก็ทราบว่าใจเป็นของเล่นเมื่อไร
มันคิดได้ทั้งวันทั้งคืน ใคร
จะไปทนตามทนห้ามมันหวาดไหว ฉะนั้น
จึงโดนท่านเทศน์เสียเรื่อย บางทีเราคิด
และหลงลืมไปแล้ว พอมาหาท่าน ท่านเทศน์เรื่อง
นั้นขึ้น เราถึงระลึกได้ว่า เรา
ได้หลวมตัวคิดอย่างท่านว่าจริง ๆ อย่างนี้
ท่านดุให้ท่านอาจารย์ด้วยหรือ?
ผู้เขียนถาม
บางทีท่านดุเอาบ้าง
แต่บางทีแนะนำไปทีเดียว
โดยยกเอาเรื่องที่เราคิดนึกฝันไปนั่นเองมา
เป็นธรรมแสดงแก่เราเอง บางครั้งก็มีพระไปนั่งฟังอยู่
ด้วย เรานึกอายพระที่ไปได้ยินด้วย แต่ดี
อยู่อย่างหนึ่ง เวลามีพระไปนั่งฟังอยู่
ด้วยนับแต่หนึ่งองค์ขึ้นไป ท่านไม่ระบุชื่อผู้
เป็นต้นเหตุคิด เป็นแต่อธิบายเรื่องความคิดนึกดีชั่วนั้น
ๆ ไปเรื่อย ๆ เท่านั้น
ท่านอาจารย์คิดอย่างไรบ้าง ท่าน
ถึงได้ดุบ้าง สั่งสอนบ้าง ผู้เขียนเรียนถาม
ฟังแต่คำว่าปุถุชนเป็นไร
มันหนายิ่งกว่าภูเขาหินและชนดะไปหมด
ไม่เลือกว่าดีว่าชั่ว ว่าผิดว่าถูก มันคิดไปได้ทั้งนั้น
พอดีกับเรื่องที่ควรดุท่านถึงได้ดุ
ท่านอาจารย์กลัวท่านมาก
หรือเปล่าเวลาท่านดุ ผู้เขียนเรียนถาม
ทำไมจะไม่กลัว ตัวไม่สั่น แต่หัวใจมันสั่น
อยู่ภายใน บางทีแทบลืมหายใจก็ยังมี
การรู้วาระจิตของผู้อื่นนั้นท่านรู้จริง ๆ ผม
ไม่สงสัยเลย เพราะเรื่องมันบอกอยู่กับตัวเรา
ทุกอย่างที่คิดออกไป
ท่านตามเก็บเอามาเทศน์สอนเราเสียสิ้น
บางครั้งผมคิดว่าจะไปเที่ยวตามภาษา
ความโง่ของตน ถ้าคิดตอนกลางคืน พอตื่น
เช้ามาไปทำข้อวัตรอุปัฏฐากท่าน
ท่านก็เก็บเอาเทศน์ทันทีที่ไปถึง
ท่านว่าท่านจะไปเที่ยวที่ไหนอีก ที่นั้น
ไม่ดี สู้ที่นี่ไม่ได้ อยู่ที่นี่ดีกว่า ทำนองนี้ ทุก ๆ
ครั้งที่เราคิด ปรากฏว่าไม่ยอมให้ผ่านพ้นไปได้
ท่านว่าอยู่ที่นี่สนุกฟังเทศน์ ดีกว่าอยู่ที่นั้น แล้วก็
ไม่อนุญาตให้เราไปที่นั้นจริง ๆ ด้วย
เท่าที่สังเกตดูท่านคงเป็นห่วงเรามาก กลัวจิตเรา
จะเสื่อมเสีย และท่านก็พยายามอบรม
อยู่ตลอดเวลา
ที่ผมกลัวท่านมากก็คือ ไม่ว่ากลางคืน
หรือกลางวัน พอเรากำหนดพิจารณาดูท่านเมื่อไร
ก็ปรากฏเห็นท่านจ้องมองเราอยู่แล้ว ประหนึ่งท่าน
ไม่ยอมพักผ่อนเอาเลย บางคืนผมไม่กล้านอน
เพราะมองดูท่านแล้วเหมือนท่านนั่งอยู่ตรงหน้าเรา
และเพ่งตาจับจ้องอยู่ที่เราทุกขณะ
เรากำหนดจิตออกไปข้างนอกทีไรก็เห็นแต่ท่านมองดูเรา
อยู่แล้ว ฉะนั้นการเคลื่อนไหวทุกอาการ จึงเป็นไป
ด้วยความสำรวมระวังอยู่เสมอ
เวลาไปบิณฑบาตตามหลังท่าน
ต่างองค์ต่างระวังสำรวมใจไม่
ให้พลั้งเผลอออกนอกกายได้ ไม่เช่น
นั้นขากลับออกมาถึงวัดหรือยังไม่ถึงด้วยซ้ำ
ในบางครั้งโดนเทศน์จนได้
ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดทั้งกลางวัน
และกลางคืน ต้องมีสติระวังตัวตลอดเวลา แม้เช่นนั้น
ยังมีเรื่องให้ท่านนำมาเทศน์จนได้
และก็จริงดังที่ท่านเทศน์เสียด้วย คือต้องมีองค์
ใดองค์หนึ่งที่อุปโลกน์ไปคิดเรื่องขึ้นมาให้ท่านจำ
ต้องนำมาเทศน์
บางครั้งขณะนั่งฟังเทศน์
ได้ยินเสียงท่านเทศน์ดุเรื่องแปลก ๆ ซึ่งเราเองมิ
ได้คิดทำนองนั้น พอเลิกประชุมฟังเทศน์แล้ว
ออกมากระซิบถามกันว่า วันนี้ท่านเทศน์ถูกใครบ้าง
เสียงเทศน์รู้สึกชอบกล
ต้องมีองค์หนึ่งสารภาพตัวให้เราฟังจน
ได้ว่า วันนี้ท่านเทศน์ถูกผมเอง
เพราะผมอุตริไปคิดอย่างนั้นจริง ๆ ดังนี้ แต่อยู่
กับท่านรู้สึกดีมาก เพราะมีสติอยู่
กับตัวแทบตลอดเวลาเนื่องจากกลัวท่าน
ท่านเล่าว่า
ขณะไปถึงเชียงใหม่ทีแรกและ
เข้าไปพักวัด…….ได้ไม่ถึงชั่วโมง เห็นรถยนต์วิ่ง
เข้ามาในวัดที่ผมพักอยู่ และตรง
เข้ามาจอดที่หน้ากุฏิผมพอดี พอมองลงไป
เป็นท่านพระอาจารย์มั่น ผมก็รีบลงไปต้อนรับท่าน
และเรียนถามถึงเรื่องการมาของท่าน
ท่านก็บอกทันทีว่า
ผมก็มารับท่านนั่นเอง
เพราะทราบว่าท่านจะมาที่นี่ตั้งแต่เมื่อคืนนี้แล้ว
เราเรียนถามท่านว่า
มีใครเล่าถวายท่านอาจารย์หรือว่ากระผม
จะมาที่เชียงใหม่
ท่านตอบว่า ใครจะบอกหรือไม่ ก็ไม่
เป็นปัญหา ถ้าทราบและอยากมา ก็มาเองได้
ดังนี้ พอได้ยินคำนั้นแล้ว
จิตผมเริ่มนึกกลัวขึ้นมา และยังทำ
ให้เรานึกพิสดารไปต่าง ๆ ซึ่งจะทำ
ให้กลัวท่านมากขึ้น เวลาไปอยู่กับท่านจริง ๆ เรื่องก็
เป็นดังที่คิดไว้ทุกประการ
ขณะประชุมฟังเทศน์ถ้าใจคิด
เป็นธรรมแบบสละทิฐิมานะเสียจริงๆ
ก็รู้สึกสนุกเพลิดเพลินในธรรมท่าน เพราะท่านเทศน์
เป็นธรรมล้วน ๆ ทำ
ให้จิตใจเพลิดเพลินไปตามยิ่งกว่าอะไรที่เคยผ่านมา
ถ้าจิตไม่ค่อยเป็นธรรม
และหาบหามโลกไปทับถมท่าน จะได้ยินเสียงเทศน์
เป็นไฟไปทีเดียว และ
ผู้ฟังแบบหามโลกไปหาท่านก็รู้สึกร้อน
เป็นไฟไปเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ท่านมิได้สนใจว่าการเทศน์
จะไปโดนกิเลสของใครเข้า
ตรงไหนที่มีเรื่องมีกิเลสชุกชุมมาก ท่านจะพุ่งธรรม
เข้าไปตรงนั้น ไม่ยอมแสดงไปที่อื่นเลย บางครั้งถึง
กับระบุตัวบุคคลออกเลยว่า
คืนนี้ท่าน….ภาวนาทำไมอย่างนั้น นั้นมันไม่ถูก
ที่ถูกต้องทำอย่างนั้น และเมื่อ
เช้านี้ท่าน…..คิด…….อะไรอย่างนั้น ถ้า
ไม่อยากฉิบหายเพราะการทำลายตัวด้วย
ความคิดประเภทสังหารนั้นแล้ว อย่าหาญคิดต่อไป
สิ่งที่พระพุทธเจ้าให้คิดให้ทำ ทำไมไม่คิดไม่ทำ
แหวกไปคิดหาอะไรอย่างนั้น ที่นี่
เป็นสถานที่อบรมศีลธรรมเพื่อแก้ความเห็นผิด คิดผิด
มิใช่สถานที่สั่งสม
ความคิดเพื่อก่อไฟเผาตัวทำนองที่คิดนั้น
ผู้ที่ยอมรับความจริงทางใจ
จะรู้สึกเย็นสบาย ท่านเองก็ไม่ค่อยว่าอะไร
สำคัญที่มีอะไรไปตะขิดตะขวงใจท่านอยู่ภาย
ในอย่างลึกลับนั้น รู้สึก
จะเหมือนเอาไฟไปเผาลนท่าน และจะ
ได้ยินคำแปลก ๆ ออกมาทันที แต่ถ้าผู้นั้นรู้สึกตัว
รีบแก้ไขความคิดเห็นเสียใหม่ก็ไม่มีอะไรต่อไปอีก
เรื่องก็สงบไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 23:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวเขามาขอคาถากันผีไล่ผี
คืนหนึ่งมีพวกชาวเขาพูดกันว่า
ตุ๊เจ้าหลวง (พระอาจารย์ใหญ่) ที่มาพักอยู่
กับพวกเรา ท่านจะมีคาถากันผีขับไล่ผีหรือเปล่าก็
ไม่ทราบ พรุ่งนี้พวกเราลองพากันออกไปขอท่านดู
ท่านจะพอมีให้พวกเราบ้างไหม?
พอตื่นเช้ามา
ท่านอาจารย์มั่นก็รีบบอกกับพระทันทีว่า
คืนนี้นั่งภาวนาอยู่ได้ยินพวกชาวเขาในหมู่บ้านนี้พูด
กันว่า พวกพระเราจะมีคาถากันผีไล่ผีบ้างไหม
เขาจะมาขอคาถานั้นกับพวกเรา ถ้า
เขามาขอคาถาดังที่ว่านั้น ให้เอาคาถา พุทโธ
ธัมโม สังโฆ ให้เขาไปภาวนา คาถานี้กันผีดีนัก ผี
ในโลกนี้กลัวแต่ พุทโธ ธัมโม สังโฆ เท่านั้น ไม่มีผีตัว
ใดจะกล้าต่อสู้กับธรรมเหล่านี้ได้
พอตอนเช้าพวกชาวเขาพากันมาจริง
ๆ ดังที่ท่านบอกไว้ และพร้อมกันมาขอคาถา
กันผีไล่ผีกับท่านจริงๆ ท่านก็บอกคาถา พุทโธ
ธัมโม สังโฆ ให้แก่เขาไป โดยบอกวิธีทำให้เขา
คือนึก พุทโธ ธัมโม สังโฆ บทใดบทหนึ่งไว้ในใจ
และบอกว่าผีกลัวนักหนา พอเขาได้ พุทโธ ธัมโม
สังโฆ ไปแล้ว ต่างก็เริ่มทำพิธีกันผีตามที่ท่านสั่ง
โดยที่เขาไม่รู้ว่าท่านให้เขาภาวนา พอเขาพา
กันทำแบบที่ท่านสั่งสอน ใจเลยรวมสงบลงเป็นสมาธิ
ในขณะนั้น
รุ่งเช้าเขาก็รีบออกมาหาท่าน
และเล่าอาการที่เป็นให้ท่านฟัง
ท่านบอกว่า นั่นเป็นวิธีที่ถูกต้องแล้ว
ผีแถว ๆ นี้จะต้องกลัวและพากันวิ่งหนีหมด อยู่ที่นี่ต่อไป
ไม่ได้ เพราะธรรมของพวกแกแก่กล้าแล้ว
ต่อไปพวกแกไม่ต้องกลัวผีอีกแล้ว แม้พวกที่ภาวนา
กันผียังไม่เป็น ผีก็เริ่มกลัวอยู่แล้ว
จากนั้นท่านสอนให้เขาทำทุกวัน
ตามปกติคนชาวเขาเป็นคนซื่อสัตย์สุจริตมาดั้งเดิม
จึงสั่งสอนง่ายอยู่บ้าง เขาพา
กันทำทุกวันอย่างเอาจริงเอาจัง ต่อมาไม่ช้าคน
ในบ้านนั้นบางคนภาวนาเป็นจริง ๆ จนจิตเกิด
ความสว่างไสวสามารถรู้จิตใจของคนอื่นได้
ตลอดจิตพระที่อยู่ในวัด เช่นเดียว
กับคนบ้านเสือเย็นที่กล่าวผ่านมาแล้ว
เวลา
เขาออกมาวัดมาเล่าเรื่องภาวนา
ให้พระอาจารย์ฟัง และเรื่องที่จิต
สามารถรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างน่าจับใจนั้น พระ
ในวัดเกิดความอัศจรรย์และกลัวเขา
จะรู้เห็นจิตของตัวที่คิดไปต่าง ๆ
พระบางองค์ที่มีนิสัยขี้ขลาดแต่อยากรู้เรื่องต่าง ๆ
อดทนไม่ได้ก็ถามเขา เขาก็เล่าให้ฟังตามเป็นจริง
ยังทนต่อความอยากถามไม่ได้อีก
พยายามแคะไค้ไล่เบี้ยสอบถามเขา
เข้ามาหาเรื่องของตัวโดยจะขาดทุนก็ไม่ยอมรู้สึกตัว
ราวกับใจมีฝาปิดไว้ร้อยชั้นอย่างมิดชิด ไม่มีอะไรจะ
สามารถเอื้อมเข้าไปสัมผัสแตะต้องได้
พอถามเขา
เขาก็บอกอย่างตรงไปตรงมาตามภาษาของคนป่า
ซึ่งไม่สนใจกับสังคมว่านิยมกันอย่างไร พระที่ฟัง
แล้วชอบใจว่า ถูกกับปมด้อยของตัว และกลัว
ในเวลาคิดปรุงไปต่าง ๆ ว่า เขาจะรู้ทำนองที่
เขาเคยรู้แล้วนั้น
นอกจากเขาจะรู้สิ่งต่าง ๆ ดังที่ว่านั้น
เขายังพูด
กับท่านพระอาจารย์มั่นอย่างหน้าตาเฉยด้วยว่า
จิตตุ๊เจ้าหลวง เฮาก็ฮู้ก๊า (เรารู้ครับ)
เพราะเฮาดูและฮู้จิตตุ๊เจ้าหลวงก่อนใคร ๆ
ท่านก็ถามบ้างว่า จิตเรา
เป็นอย่างไร กลัวผีไหม?
เขายิ้มแล้วก็ตอบท่านว่า
จิตของตุ๊เจ้าหลวงหมดดวงสมมุติแล้ว เหลือแต่นิพพาน
ในร่างมนุษย์อย่างเดียว และไม่กลัวอะไรเลย
จิตตุ๊เจ้าวิเศษสุดแล้ว
เรื่องผีสางอะไรเขาเลยไม่กล่าวถึง
แม้คนในบ้านนั้นก็หันมาเลื่อมใสศาสนา
และท่านพระอาจารย์มั่นเสียหมด ไม่สนใจกับผี
กับสางอะไรอีกต่อไป เพราะคนที่ภาวนาเก่งคนนั้น
เป็นผู้ประกาศให้ชาวบ้านทราบเรื่องของศาสนา
และเรื่องของท่านพระอาจารย์อยู่ทุกวัน
เวลาใส่บาตรเขาพร้อมกันมารวมใส่
ในที่แห่งเดียว พอเสร็จจากการใส่บาตร เวลา
จะอนุโมทนา ท่านพระอาจารย์บอกให้เขาพร้อม
กันสาธุดัง ๆ เผื่อเทวดาจะได้อนุโมทนาด้วย เขา
จะมีส่วนบุญกับพวกเราอีกส่วนหนึ่ง
เขาเชื่อท่านพร้อมกันสาธุดัง ๆ ทุกวัน
ที่ท่านให้เขาสาธุดัง ๆ นี้
ทราบว่าเวลากลางคืนยามดึกสงัด
มักมีเทวดามาเยี่ยมและฟังเทศน์ท่านเสมอ
บางพวกก็บอกว่า ได้ยินเสียงสาธุดังไปถึงเขา เขา
จึงทราบว่าพระคุณเจ้าพักอยู่ที่นี่ ถึงได้พา
กันมาเยี่ยม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 00:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเตรียมจิตของท่านเพื่อรับแขกเทพ
ตามธรรมดาทุกครั้งที่พวกเทพมาเยี่ยม
จะต้องมีหัวหน้านำมาเสมอ และพวกเทวดานั้น ๆ
ก็มีภูมิที่อยู่ต่าง ๆ กัน บางพวกก็เป็นรุกขเทวดามา
จากที่ใกล้บ้างไกลบ้าง บางพวกก็
เป็นพวกเทวดาบนสวรรค์ชั้นนั้น ๆ ดังที่แสดงไว้
ในตำรา
ก่อนเวลาเขาจะมาในคืนใด คืน
นั้นท่านต้องทราบล่วงหน้าไว้ก่อนเสมอ ว่าเขา
จะมาประมาณตี ๒ หรือตี ๓ ท่านก็พักผ่อนเสียก่อน
พอจวนถึงเวลาก็ลุกขึ้นเข้าที่คอยต้อนรับ
ถ้าทราบว่าเขาจะมาราวเที่ยงคืนหรือตี ๑ ท่านก็
เข้าที่คอยต้อนรับ
แต่การเข้าที่คอยนั้นมีสองประเภท
คือภาวนาไปตามลำพังจนจิตลงสู่ความสงบแล้วพัก
อยู่หนึ่ง พอควรแก่กาลแล้วถอนขึ้นมาอยู่ระดับพอดี
กับภูมิของแขกจะรับทราบกันได้หนึ่ง ถ้าแขกยัง
ไม่มาก็ดี กำลังมาก็ดี หรือมารออยู่ก่อนแล้วก็ดี
ย่อมรับทราบกันได้กับจิตที่อยู่ในระดับนี้
มีอะไรก็สนทนากันไปจนกว่าจะยุติลง
ด้วยเหตุการณ์อันควร ถ้าจิตลงไปอยู่
ในสมาธิเสียจริง ๆ ภูมิของแขกที่มาเยี่ยมก็เข้าไม่ถึง
ถ้าถอนออกมาเป็นจิตธรรมดาเสีย หากจิตไม่มี
ความชำนาญในทางนี้จริง ๆ ก็ไม่อาจรับทราบกัน
ได้ทุกระยะกับสิ่งที่มาเกี่ยวข้อง แม้ทราบได้ก็
ไม่ถนัดเหมือนจิตที่อยู่ในขั้นเตรียมรับ ฉะนั้น จิตที่
อยู่ภูมิอุปจาระ คืออยู่ที่ปากประตู จึงเป็นภูมิที่เหมาะ
กับเหตุการณ์แทบทุกกรณี
ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเชี่ยวชาญ
ในทางนี้มานาน เริ่มแต่สมัยท่านพักอยู่ถ้ำสาริกา
นครนายกเป็นต้นมา ซึ่งระยะนั้นทราบว่าท่านได้
๒๒ พรรษา จากนั้นมาจน
ถึงวันท่านมรณภาพพรรษาก็ร่วม ๖๐ แล้ว ท่านจึงมี
ความชำนิชำนาญในทางนี้มาก
โลกมนุษย์เราต่างก็มีใจเป็นของคู่ควร
กับสิ่งเหล่านี้ เช่นเดียวกับท่านที่
สามารถปฏิบัติจนรู้เห็นได้ แต่ยังไม่ค่อยมีผู้
สามารถปฏิบัติจนรู้เห็นได้อย่างท่าน พอ
เป็นพยานแก่ตัวเอง แม้
ไม่มากเหมือนท่านที่เชี่ยวชาญ นอกจากไม่เห็นแล้ว
ยังอาจเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่ในโลกสมมุติอีก
ด้วย จึงเป็นเรื่องลำบากที่จิตไม่มีระดับความพอดี
เป็นธรรมเครื่องอยู่ ถ้าจิตมีความสามารถ
ด้วยการปฏิบัติตนตามหลักธรรม ซึ่งเป็นหลักรับรอง
ความรู้จริงเห็นจริงเท่าที่ควรแล้ว สิ่งที่ได้รู้
ด้วยใจอย่างประจักษ์แล้ว แม้คำคัดค้าน
ทั้งแผ่นดินว่าไม่จริงมาลบล้าง ก็เป็นคำคัดค้านที่
เป็นโมฆะโดยประการทั้งปวง สิ่งที่ยังคงอยู่ก็คือ
ความจริงของผู้รู้จริงเห็นจริงนั่นแล ไม่มีสิ่งใดจะ
สามารถมาลบล้างได้ เพราะความจริงย่อมไม่ขึ้น
อยู่กับคำเสกสรรและติชมใด ๆ นอกจากเป็นสิ่งที่จริง
อยู่อย่างตายตัวตามหลักธรรมชาติเท่านั้น
ตามป่าตามเขาของอำเภอต่าง ๆ
ในจังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏว่าท่านพระอาจารย์มั่น
ได้ท่องเที่ยวซอกแซกทุกซอกทุกมุมกว่าจังหวัดอื่น ๆ
เพราะท่านอยู่ที่จังหวัดนั้นมาหลายปี
และนานกว่าที่อื่น ๆ การบำเพ็ญธรรมก็สะดวก
ความรู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็มีมากกว่าที่อื่น

ท่านว่าท่านอยู่ที่เชียงใหม่นาน
เพราะเหตุหลายประการ คือ
สถานที่บำเพ็ญเหมาะสมมากหนึ่ง
ชาวป่า
ผู้มีภูมิจิตที่น่าสงสารควรอนุเคราะห์มีอยู่มาก
ความผิดปกติของคนในเขาที่มีจำนวนน้อย ซึ่งควร
ได้รับการอบรมส่งเสริมเพื่อความมั่นคงต่อไป ดีกว่า
จะปล่อยทิ้งไว้อันอาจมีการเสื่อมถอยลงได้หนึ่ง และ
เพื่อสงเคราะห์พวกเทวดาทั้งหลายหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 09:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การสงเคราะห์พวกเทพในแถบเชียงใหม่
พวกกายทิพย์นี้ชอบมาถามปัญหา
และฟังเทศน์ท่านเสมอ อย่างน้อยวันพระละสองครั้ง
นอกจากนั้น
ยังมีพวกนาคพาบริวารมาฟังธรรมท่านอยู่เสมอเช่น
กัน ท่านว่ากลางคืนท่านไม่ค่อยว่าง
จากการรับแขกจำพวกกายทิพย์เลย
บางคืนพวกเทพจากเบื้องบนชั้นนั้น ๆ มาเยี่ยม
บางคืนพวกรุกขเทพมาเยี่ยม
บางคืนพวกพญานาคมาเยี่ยม พวกเทพเบื้องบนชั้น
นั้น ๆ มาแต่ละครั้ง หัวหน้าเขาประกาศให้ท่าน
และเทวดาทั้งหลายทราบก่อนจะถามปัญหา
และฟังธรรมว่า มีจำนวนหมื่นบ้าง แสนบ้าง
พวกรุกขเทพมาแต่ละครั้งหัวหน้าประกาศว่า
มีจำนวนพันบ้าง หมื่นบ้าง
พวกพญานาคพาบริวารมาแต่ละครั้งประกาศว่า
มีจำนวนห้าร้อยบ้าง หนึ่งพันบ้าง
เวลาท่านลงเดินจงกรมตอนเย็น จิต
จะรับทราบ
ความนัดหมายแห่งการมาของพวกเทพเหล่า
นั้นแทบทุกเย็น บางครั้งก็ปรากฏเอาเวลา
เข้าที่ภาวนาว่า เทวดาชั้นนั้นจะมาเยี่ยมเวลา
เท่านั้น ชั้นนั้นจะมาเวลาเท่านั้น รุกขเทพพวกนั้น
จะมาเวลาเท่านั้น และพวกนั้นจะมาเวลาเท่านั้น
พวกนาคจะมาเวลาเท่านั้น บางคืนมี
ถึงสองสามพวก ท่านต้องนัดเวลาไม่ให้มาตรงกัน
โดยพวกหนึ่งนัดให้มาราวห้าทุ่มบ้าง พวกหนึ่งนัด
ให้มาราวหกทุ่มบ้าง อีกพวกหนึ่งนัด
ให้มาราวเจ็ดทุ่มบ้าง ตามแต่เห็นควร ไม่
ให้เวลาตรงกัน เพราะพวกเทพแต่ละชั้นละภูมิ
มีพื้นเพทางจิตใจและธรรมที่ควรแก่ตนต่างกัน
พวกหนึ่งมาต้องการฟังธรรมประเภทหนึ่ง อีกพวกหนึ่ง
ต้องการฟังธรรมอีกประเภทหนึ่ง เพื่อความเหมาะสม
กับภูมิของเทวดาที่มีประเภทต่าง ๆ กัน ท่านจำ
ต้องนัดให้มาในเวลาต่างกัน
เพื่อสะดวกแก่การแสดงและการฟังทั้งสองฝ่าย
เพราะความจำเป็นดังกล่าวนี้ ทำให้ท่านพัก
อยู่ที่เชียงใหม่นาน
เฉพาะพวกเทพทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง
ปรากฏว่ามาเกี่ยวข้องกับท่าน
เป็นประจำยิ่งกว่ามนุษย์และนาคครุฑภูตผีทั้งหลาย
ทั้งนี้เนื่องจากผู้เข้าถึงจำพวกกายทิพย์
ในทางจิตใจมีจำนวนน้อยมาก จึงเป็นความจำ
เป็นมากในการทำประโยชน์แก่พวกเทวดา
แม้เทวดาเองก็เคยพูดกับท่าน
แล้วแทบทุกจำพวกเกี่ยวกับผู้ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ
กับพวกเทวดา และไม่สนใจว่าเทวดาก็
เป็นกำเนิดชนิดหนึ่งที่มีโลก
อยู่อาศัยตามกรรมของตน และมีความหวัง
ในสิ่งที่พึงพอใจเช่นเดียวกับสัตว์โลกทั่ว ๆ ไป
ฉะนั้น เทวดาจึงไม่มี
ความหมายสำหรับมนุษย์ประเภทดังกล่าวนั้น
เมื่อมาพบท่าน
ผู้ทรงคุณธรรมอันสูงสุดที่มีญาณหยั่งทราบว่า สัตว์
เป็นสัตว์ คนเป็นคน เทวดาเป็นเทวดา และอะไร
เป็นอะไรไม่ปฏิเสธ อันเป็นการ
ให้เกียรติแก่ภพกำเนิดของสัตว์นั้น ๆ เช่นนี้ ซึ่งนาน ๆ
จะเจอสักครั้งหนึ่ง จึงอดที่จะเกิด
ความปีติยินดีอย่างซาบซึ้งมิได้ และพา
กันมากราบไหว้ถามปัญหาข้อข้องใจ
และฟังธรรมเสมอ เพื่อดื่มโอชารสพระสัทธรรม
เข้าไปหล่อเลี้ยงเชิดชูจิตใจ ความเป็น
อยู่แห่งภพชาติของตนให้มีความสุขสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดัง
นั้นเทวดาทั้งหลายจึงเคารพเลื่อมใสท่าน
ผู้มีคุณธรรมสูงมาก ทั้งรู้เรื่อง
และเห็นอกเห็นใจพวกเทวดาว่า เป็นสัตว์ที่มี
ความหวังอะไร ๆ ที่เป็นสิริมงคลแก่ตน และมี
ความหมายเช่นเดียวกับสัตว์โลกทั่วไป
ท่านเล่าว่า สัตว์จำพวกกายทิพย์
ในกำเนิดต่าง ๆ ที่พอมีทางตะเกียกตะกาย
ช่วยตัวเอง ได้มาติดต่อเกี่ยวข้องกับท่านเพื่อขอ
ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ
มีจำนวนมากกว่ามนุษย์หลายเท่า แต่
เป็นสิ่งลี้ลับสำหรับพวกเราผู้ยังไม่สามารถรู้เห็นได้
ในทางจิตใจ สิ่งเหล่านี้จึงกลาย
เป็นปัญหาต่อสังคมมนุษย์ชนิดไม่มีทางแก้ให้ตกได้
แต่ทั้งนี้มิได้เป็นอุปสรรคต่อการรู้เห็นของทุกรายไป
ผู้มีความสามารถในทางจิตใจ
สิ่งเหล่านี้ย่อมกลายเป็นเรื่องธรรมดา เช่นเดียว
กับเรื่องธรรมดาทั่ว ๆ ไปที่มนุษย์สามารถ
สำหรับท่านพระอาจารย์มั่นรู้สึกจะถือ
เป็นเรื่องธรรมดา ท่านจึงสามารถทำหน้าที่เกี่ยว
กับพวกกายทิพย์ตลอดมา ไม่ว่าจะ
อยู่ที่ไหนท่านจำเป็นต้องมีการเกี่ยวข้องเสมอ
ในเวลาที่เขาต้องการความช่วยเหลือจากท่าน
เฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ท่านว่าท่าน
ได้ทำการเกี่ยวข้องกับพวกกายทิพย์ที่มีภพภูมิต่าง ๆ
กันมากกว่าที่ทั่วไป โดยที่สัตว์จำพวกเหล่านี้
ส่วนมากชอบมาติดต่อกับท่าน ขณะที่พักอยู่
ในที่เปลี่ยว ๆ อันสงัด ปราศจากผู้คนพลุกพล่าน
หรือสัญจรไปมา ประกอบกับเชียงใหม่
เป็นทำเลที่เหมาะสมอย่างยิ่งเพราะมีป่ามี
เขามาก ท่านเองขณะพักอยู่ที่เช่นนั้น ก็มีเวลาว่าง
จากภาระภายนอกมากกว่าที่อื่น ๆ จึง
เป็นโอกาสที่พวกกายทิพย์จะเข้าถึงได้ง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 09:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เทวดาประเทศเยอรมันมาขอฟังเทศน์ท่าน
นี่ก็เป็นเรื่องที่แปลกอยู่เรื่องหนึ่ง
ในบรรดาเรื่องที่เกี่ยว
กับเทวดาที่ท่านเคยสงเคราะห์เรื่อยมา
เทวดาพวกนี้มาจากประเทศเยอรมัน
มาขอฟังเทศน์ท่านขณะที่พักอยู่หมู่บ้านอีก้อ
กับพวกมูเซอในเขาลึก โดยเขาแสดง
ความประสงค์ออกมาเลยว่า
อยากฟังเทศน์ชัยชนะคาถา
ท่านกำหนดหาบทธรรมที่ตรงกับความต้องการของ
เขา ธรรมก็ผุดขึ้นมาภายในว่า อกฺโกเธน ชิเน โกธํ
เป็นต้น บอกความหมายขึ้นมาพร้อม และแสดง
ให้พวกเทวดาฟังว่า
ธรรมนี่แลเป็นยอดแห่งธรรมที่ผู้หวัง
ความชนะจะพึงเจริญให้มาก โลกที่มีความร่มเย็น
เป็นสุขต่อกันตลอดมาก็เพราะธรรมนี้
เป็นเครื่องปราบปรามความชั่วทั้งหลาย มี
ความโกรธเป็นต้น ให้เสื่อมสิ้นอำนาจ
ในการทำลายสังคมมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ทำให้โลกมีความเจริญและสงบสุขโดยทั่วกัน
เทวดาควรมีธรรมนี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวประสานกัน
โลกถ้าขาดชัยชนะธรรมนี้แล้ว
อย่างน้อยก็เกิดความไม่สงบสุข มากกว่า
นั้นก็สังหารทำลายกันให้ฉิบหายย่อยยับ
โดยถ่ายเดียว โลกจะเอาความโกรธแ
ค้นมาปราบปรามข้าศึกทั้งภายในภายนอก ทั้ง
ใกล้และไกล ทั้งวงแคบและวงกว้าง ด้วยความโกรธแ
ค้น อันเป็นของไม่ดีและเป็นเครื่องทำลายตนและผู้อื่น
จึงไม่มีทางสำเร็จได้ตลอดกาล ถ้าขืนปราบด้วย
ความโกรธแค้นมากขึ้นเพียงไร โลกก็ยิ่งจะ
เป็นไฟประลัยกัลป์เผาผลาญกันให้ย่อยยับจน
ไม่มีอะไรเหลืออยู่เพียงนั้น เพราะความโกรธแค้น
เป็นไฟอยู่แล้วโดยธรรมชาติ
แต่นำไปทำการหุงต้มอะไรไม่สำเร็จ
ทางสำเร็จของมันก็คือทำโลกให้วอดวายไป
โดยถ่ายเดียวเท่านั้น ผู้ต้องการให้โลกยังคง
เป็นโลกที่มีความหมายและน่าอยู่
จึงควรเห็นโทษของความโกรธแค้นอัน
เป็นเครื่องทำลายนี้ว่าเป็นไฟมหาวินาศ
ไม่ควรนำมาใช้ จะเป็นการก่อไฟเผาตนและผู้อื่นให้
เป็นไฟไปตาม ๆ กัน
โลกอยู่ได้ด้วยเมตตาคือ
ความเอ็นดูสงสารกันทุกตัวสัตว์ที่มีชีวิตครองตัวอยู่
ไม่พึงเบียดเบียนทำลายกันด้วยความโกรธแค้น หรือ
ด้วยความเห็นแก่ปากแก่ท้อง ซึ่งไม่มีประมาณแห่ง
ความอิ่มพอและไม่มีทางสิ้นสุดแห่งการทำลายกัน
พระพุทธเจ้าทรงเห็นโทษของมัน
ด้วยพระปัญญาอันแหลมคมไม่มีทางสงสัย
และทรงเห็นคุณในความเมตตาว่า เป็นธรรมอ่อนโยน
และสมัครสมานรักใคร่ไมตรีต่อ
กันระหว่างสัตว์โลกทุกชั้นทุกภูมิ ซึ่งมี
ความรักสุขเกลียดทุกข์เสมอหน้ากัน จึงประทาน
ไว้เพื่อความมั่นคงแห่งสันติสุขแก่โลกตลอดกาลนาน
หากเมตตาธรรมยังมีในใจของสัตว์โลกอยู่ตราบใด
โลกยังจะมีหวังความสุขความสมหวังอยู่ตราบนั้น แต่
ถ้าเมตตาได้ห่างเหินจากใจของสัตว์โลกกาลใด
กาลนั้นแม้สัตว์โลกจะมีความอุดมสมบูรณ์
ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคนานาชนิดอย่างพึงพอใจก็ตาม
แต่จะไม่มีความสงบสุขตกค้างอยู่ในวงสัตว์โลกนั้น ๆ
เลย ส่วนที่ได้รับจะมีแต่
ความเดือดร้อนขุ่นเคืองไปทุกหย่อมหญ้า
ดังนั้นเมื่อเราทราบอยู่แก่ใจว่า ธรรม
เป็นธรรม และเป็นเครื่องนำความเจริญมาสู่ตน
และทราบอยู่ว่าโลกที่เต็มไปด้วย
ความโหดร้ายทารุณเผาอยู่ในดวงใจ
เหมือนไฟลุกโพลงอยู่ด้วยเชื้อ คอยแต่
จะสังหารทำลายสิ่งต่าง ๆ
ให้ย่อยยับดับสูญลงไปทุกเวลานาทีเช่นนี้
จึงควรเร่งบำเพ็ญตนให้พ้นภัยไปเฉพาะหน้า ซึ่ง
ยังควรแก่วิสัยพอจะทำได้ หากกาลอันควรผ่านไป
แล้วจะเสียใจภายหลัง เพราะโลกนี้คือโลก อนิจฺจํ
และตั้งอยู่บนร่างกายและจิตใจของคนและสัตว์
ไม่เลือกหน้า
นี่เป็นใจ
ความย่อแห่งชัยชนะคาถาที่ท่านแสดงแก่เทวดาที่มา
จากประเทศเยอรมันฟัง
พอจบเทศนาเทวดาสาธุการสามครั้ง
เสียงสะเทือนไปทั่วโลกธาตุ เสร็จแล้วท่านถาม
เขาว่า
ทำไมเทวดาอยู่ถึงประเทศเยอรมัน
ซึ่งชาวมนุษย์ถือว่าไกลแสนไกล จึงทราบ
ได้ว่าอาตมาพักอยู่ที่นี่
เขาตอบว่า สำหรับท่านแล้วจะ
อยู่ที่ไหนเขาก็ทราบกันทั้งนั้น อีกประการหนึ่ง
เทวดาในประเทศไทยเคยไปมาหาสู่กับเทวดา
ในประเทศเยอรมันมิได้ขาด พวกเทวดามิได้ถือว่า
ประเทศไทยกับประเทศเยอรมันหรือประเทศใด ๆ
อยู่ห่างกันเหมือนที่พวกมนุษย์เข้าใจกัน แต่ถือว่า
เป็นประเทศเขตแดนที่พวกเทวดาไปมาหาสู่กัน
ได้สะดวกสบายธรรมดา ๆ เรานี่เอง เพราะมิได้ไป
ด้วยเท้าหรือด้วยยานพาหนะดังมนุษย์ทั้งหลายไป
กัน แต่เทวดาเหาะลอยไปด้วยฤทธิ์
เหมือนกระแสจิตที่ส่งไปในที่ต่าง ๆ เพียงขณะเดียวก็
ถึงจุดที่หมาย การไปมาของเทวดา
จึงสะดวกกว่าชาวมนุษย์อยู่มาก
ท่านว่าเทวดาประเทศเยอรมันมาฟังเทศน์ท่านเสมอ
เช่นเดียวกับรุกขเทวดาซึ่งสถิตอยู่ในที่ต่าง ๆ
ของเมืองไทยมาฟังเทศน์ท่านบ่อย ๆ ฉะนั้น
ความเคารพของเทวดา
ไม่ว่าชั้นบนชั้นล่างมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือเวลา
เขามาเยี่ยมท่านในสถานที่ที่มีพระพักอยู่กับท่าน
เทวดาจะไม่เข้ามาด้านที่มีพระอยู่นั้นเลยหนึ่ง
มายามดึกสงัดเวลาพระท่านพักจำวัดหนึ่ง มาถึง
แล้วพร้อมกันทำประทักษิณสามรอบหนึ่ง มี
ความสงบเสงี่ยมโดยทั่วกันหนึ่ง เวลาจะจากไปพร้อม
กันทำประทักษิณสามรอบก่อน แล้วค่อย ๆ
เดินถอยห่างออกไป พอเห็นว่าพ้นเขตที่พักท่านอัน
เป็นที่ควรเคารพแล้ว
ต่างค่อยเหาะลอยขึ้นบนอากาศเหมือนสำลีฉะ
นั้นหนึ่ง เทวดาทั้งหลายทำความเคารพท่าน
โดยอาการอย่างนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 09:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การบำเพ็ญธรรมและการแสดงธรรมในช่วงเวลาที่
อยู่เชียงใหม่
ท่านอยู่ในเขาจังหวัดเชียงใหม่
สถานที่บำเพ็ญสะดวกทั้งกลางวันกลางคืน ท่านมีความ
รื่นเริงในทิฏฐธรรมสุขวิหาร คือธรรมเป็นเครื่องอยู่สบาย
ในเวลาขันธ์ยังครองตัวอยู่ การนั่งสมาธิภาวนา
เป็นไปตามเวลาที่ต้องการ ไม่มีสิ่งมาเป็นอุปสรรคทำ
ให้ขาดวรรคขาดตอน ท่านมีความสุขกายสบายใจมาก
การสงเคราะห์ผู้มาเกี่ยวข้องนั้นในเวลากลางคืนก็
เป็นพวกเทวดา ซึ่งมีภูมิละเอียดตามคตินิสัยอยู่แล้ว จึง
ไม่เป็นภาระกังวลมากในการต้อนรับ และการสงเคราะห์
ด้วยธรรมที่เกี่ยวกับประชาชนก็มีบ้างเป็นบางกาล เช่น
ตอนบ่าย ๆ หรือเย็น ส่วนพระของท่านเอง ถ้าวัน
จะมีการประชุมท่านก็นัดให้เองตามที่เห็นควร เช่น
หนึ่งทุ่ม เป็นต้น โดยมากก็เป็นผู้มีภูมิจิตสูง
นับแต่สมาธิขึ้นไปถึงปัญญาเป็นขั้น ๆ ทั้งเป็น
ผู้มุ่งมั่นต่อธรรม และฟัง
กันแบบบำเพ็ญเพียรเพื่อมรรคผลนิพพานในขณะฟังจริง

การแสดงธรรมแก่ผู้มีภูมิจิตภูมิธรรมต่าง
กันและสูงขึ้นไปตามลำดับลำดาเช่นนั้น
ท่านก็แสดงธรรมไปตามลำดับภูมิ
นับแต่ภูมิสมาธิขึ้นไปหาภูมิปัญญาเป็นขั้น ๆ จน
ถึงขั้นละเอียดสุด คือ วิมุตติหลุดพ้นแทบทุกครั้ง
ผู้มีภูมิจิตนั่งฟังท่านอธิบายธรรมภาคต่าง ๆ ทำ
ให้จิตเพลิดเพลินไปตามธรรมขั้นนั้น ๆ จนลืมตัว
และลืมเวลา
ปกติท่านเทศน์สอนพระล้วน ๆ
ทางภาคปฏิบัติจิตตภาวนา กว่าจะยุติก็กินเวลา
ไม่ต่ำกว่าสองชั่วโมงเป็นอย่างน้อย แต่ผู้ฟังมิได้สนใจ
กับเวล่ำเวลายิ่งไปกว่าสนใจไปตามกระแสธรรมที่ท่านกำลังแสดงไป
เป็นระยะ ๆ ในเวลานั้น ขณะฟังถ้าจิตของผู้ฟังอยู่
ในระดับใดก็ได้กำลังเพิ่มระดับเดิมของตนขึ้นเป็นลำดับ
ในทุกครั้งที่รับการสดับธรรม
ฉะนั้นการฟังธรรมทางภาคปฏิบัติด้วย
ความสำรวมระวัง และทดสอบจิตไปตามขณะที่ฟัง จึงจัด
เป็นความเพียรสำคัญภาคหนึ่ง ไม่ด้อยกว่าการทำ
ความเพียรในอิริยาบถและความเพียรภาคอื่น ๆ
ท่านผู้แสดงก็มีความมุ่งหมายอยากให้ผู้ฟัง
ได้รู้เห็น
ความจริงตามธรรมที่แสดงออกทุกระยะไปเช่นเดียวกัน
และแสดงไปตามความคิดนึกความแสดงออกของจิต
ทั้งที่เป็นฝ่ายสมุทัยและฝ่ายมรรคของผู้ฟังจริง ๆ เพื่อ
ให้รู้ทั้งโทษและคุณที่ควรละและควรเจริญให้ยิ่งขึ้นไป
ในขณะที่นั่งฟังยิ่งกว่าขณะอื่นใดในเวลานั้น
ผู้มีสติจดจ่อต่อจิตซึ่งเป็นที่รวมของธรรมไม่ให้ส่งไปที่อื่น
ย่อมได้รับความสงบตามขั้นสมาธิและได้อุบายต่าง ๆ
ตามขั้นของปัญญาที่สามารถไตร่ตรองตามธรรม
ซึ่งท่านกำลังแสดงในขณะนั้น ผู้ที่ควรผ่านไปได้
ในขณะฟังก็ผ่านไปเป็นพัก ๆ ฟังคราวนี้
ได้อุบายอย่างหนึ่งขึ้นมา ฟังคราวหน้า
ได้อุบายอีกอย่างหนึ่งขึ้นมา อันเป็นการเพิ่มสติปัญญา
ด้วยการฟังอยู่เสมอ จิตย่อมเจริญก้าวหน้า
ทั้งทางสมาธิทุกขั้น และปัญญาทุกภูมิ เป็นลำดับ จน
สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยการปฏิบัติและการฟังที่
ผู้แสดงเป็นผู้รู้จริงเห็นจริง และแสดงถูกต้องกับจุด
ความจริงที่กำลังเป็นไปในผู้ปฏิบัติที่มาอบรมศึกษา
ฉะนั้นการฟังสำหรับพระธุดงคกรรมฐาน
จึงถือเป็นกิจจำเป็นทางภาคปฏิบัติเช่นเดียว
กับการปฏิบัติภาคอื่น ๆ เสมอมา
จะห่างเหินต่อการฟังย่อมไม่ได้ เมื่อครูอาจารย์ผู้
สามารถทางจิตใจมีอยู่
ด้วยเหตุนี้พระธุดงค์
ผู้มุ่งอรรถธรรมอย่างแท้จริง จึงชอบแสวงหาครูอาจารย์
ผู้คอยแนะนำทางจิตตภาวนาเป็นนิสัย และเคารพรัก
ในอาจารย์มาก หวังพึ่งเป็นพึ่งตายด้วยจริง ๆ ท่าน
ให้อุบายแนะนำอย่างไรย่อมเข้าถึงใจจริง ๆ
และนำไปใคร่ครวญและปฏิบัติตามเต็มสติกำลังของตน
ถ้ายังมีแง่สงสัยหรือมีข้อสงสัยที่เกิดจากการภาวนาในแง่
ใดบ้าง ก็มาขอคำแนะนำจากท่านอีก แล้วนำไปปฏิบัติ
เป็นอาจิณ
ฉะนั้น ครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ
ในทางจิตตภาวนามีอยู่ ณ ที่ใด พระธุดงคกรรมฐาน
จึงมักไปรุมล้อมอยู่กับท่าน ณ ที่นั้น
ดังท่านพระอาจารย์มั่นท่านอาจารย์เสาร์เป็นตัวอย่าง
ทั้งสององค์นี้นับว่ามีลูกศิษย์ที่เป็นพระธุดงค์จำนวนมาก
เป็นพิเศษในภาคอีสาน
แต่เวลาที่พระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่เชียงใหม่
นั้น ท่านตั้งใจปลีกองค์จากหมู่คณะออกบำเพ็ญ
เป็นพิเศษ ไม่ต้องการความยุ่งเหยิงวุ่นวายจากภาระต่าง
ๆ มีการอบรมสั่งสอนเป็นต้น เพื่อเร่งความเพียรให้
ถึงจุดที่หมายและเพื่อความอยู่สบายในทิฎฐธรรม
แม้เช่นนั้นก็จำต้องได้รับภาระ
ในการอบรมสั่งสอนประชาชนและพระเณรอยู่โดยดี
ดังที่รู้ ๆ กันอยู่ทั่วไปว่า ท่านมีลูกศิษย์
ทั้งบรรพชิตและฆราวาสจำนวนมากมายในประเทศไทย
ก่อนหน้าที่ท่านจะปลีก
จากหมู่คณะไปบำเพ็ญอย่างเด็ดเดี่ยวแต่ผู้เดียวที่เชียง
ใหม่ ท่านเคยพูดเสมอว่า เวลานี้กำลังท่านยังไม่เพียงพอ
ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น ท่านจึง
ได้ปลีกออกไปตามเจตนาเดิมที่พูดไว้
และบำเพ็ญเต็มกำลังจนสิ้นความสงสัยทางจิตใจทุกด้าน
ดังที่เคยกล่าวผ่านมาบ้างแล้ว จากนั้นมาท่าน
ไม่เคยพูดอีกเลยว่า “กำลังไม่พอ”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 09:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอผ่านทางกับช้างป่า
ครั้งหนึ่งท่านเดินธุดงค์ไปในเขาด้วย
กันสามองค์ มีท่านพระอาจารย์ขาว วัดถ้ำกลองเพล
อุดรธานี และท่านพระอาจารย์มหาทองสุก วัดสุทธาวาส
สกลนคร ติดตามไปด้วย พอไปถึงช่องแคบจะขึ้น
เขาก็เผอิญไปเจอช้างใหญ่เชือกหนึ่ง ที่เจ้าของ
เขามาปล่อยทิ้งไว้แล้วหนีไปไหนก็ไม่ทราบ
เห็นแต่ช้างเที่ยวหากินอยู่ปากช่องขึ้นเขา
งาของมันยาวเกือบวา เห็นแล้วน่ากลัวพิลึก ท่านปรึกษา
กันว่าจะทำอย่างไร ทางก็จำเพาะมีเท่านี้
ไม่มีที่พอปลีกแวะไปได้บ้างเลย ท่านพระอาจารย์มั่นบอก
ให้ท่านพระอาจารย์ขาวพูดกับช้างซึ่งกำลังกินใบไผ่
อยู่ติด ๆ กับทางที่ท่านจะผ่านไป ช้างอยู่ห่าง
กับท่านประมาณสิบวา ยืนหันก้นมาทางพระ มันยัง
ไม่เห็นพระเวลานั้น
ท่านพระอาจารย์ขาวก็เริ่มพูดกับช้างว่า
“พี่ชาย เราขอพูดด้วย”
ประโยคแรกมันยังไม่ได้ยินชัด
เป็นแต่หยุดกินใบไผ่ ท่านอาจารย์ขาวพูดขึ้นอีกว่า
“พี่ชาย เราขอพูดด้วย”
พอประโยคนี้จบลง
มันรีบหันหน้ามาทางพระยืนอยู่ทันที หูกางเต็มที่
และยืนนิ่งไม่กระดุกกระดิก ท่านก็พูดซ้ำกับมันอีกว่า
“พี่ชาย เราขอพูดด้วยพี่ชายนั้นตัวก็
ใหญ่กำลังก็มาก ส่วนพวกเราเป็นพระ ทั้งกำลังมีน้อย
และกลัวพี่ชายมาก พวกเราขอเดินผ่านไปที่พี่ชายยืนอยู่
นั้น ขอให้พี่ชายหลีกทางให้พวกเราบ้างพอมีทางไปได้
ถ้าพี่ชายยืนอยู่ที่นั้นพวกเรากลัวพี่ชายมาก
ไม่กล้าเดินผ่านไปที่นั้นได้”
พอพูดจบลง ช้างตัวนั้นรีบยืนหันหน้า
เข้ากอไผ่ข้างทางทันที เอางายาว ๆ สอดเข้าไป
ในกลางกอไผ่ซึ่งแสดงว่าไม่ทำไมแล้ว ให้มากันได้
พอช้างหันหน้าเข้ากอไผ่เรียบร้อยแล้ว
ท่านพระอาจารย์มั่นก็บอกกันว่า ทีนี้เขาไม่ทำไมแล้ว
พวกเราไปได้ ท่านอาจารย์ทั้งสองขอนิมนต์
ให้ท่านพระอาจารย์มั่นเดินกลาง
ท่านอาจารย์ขาวเดินหน้า
ท่านอาจารย์มหาทองสุกเดินหลัง พา
กันเดินผ่านไปที่ก้นช้างห่างกันประมาณหนึ่งวา โดย
ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เผอิญพอเดินผ่านช้างไป
ได้ประมาณวาเศษ
ขอกลดท่านอาจารย์มหาทองสุกก็ไปเกี่ยวเอาแขนงไม้ไผ่
เข้าพอดี ปลดอย่างไรก็ไม่ยอมออก ต้องพยายามปลด
อยู่นั้นนานจนเหงื่อโชกไปทั้งตัวเพราะกลัวช้างมาก
ซึ่งกำลังยืนดูท่านอยู่ ขณะที่กำลังปลดขอกลดอยู่นั้น
ได้ชำเลืองดูตาช้างตัวกำลังยืนนิ่งเหมือนตุ๊กตาอยู่นั้น
ได้เห็นตาช้างตัวนั้นใสแจ๋ว น่ารักมากกว่าจะน่ากลัว
แต่ใจก็ยังกลัวอยู่ในขณะนั้น พอพ้นไปได้แล้ว
ใจกลับเห็นช้างตัวนั้นเป็นสัตว์ที่น่ารักมาก เมื่อผ่าน
กันไปหมดแล้ว ท่านอาจารย์ขาวหันมาพูดกับมันว่า
“พี่ชายเอ๋ย พวกเราผ่านมาแล้ว ขอ
ให้พี่ชายหากินได้ตามสบายเถิด”
พอจบลงเท่านั้น
เสียงมันฉุดลากกิ่งไม้ดังฟูดฟาดขึ้นทันที
เมื่อไปถึงที่พักแล้ว จึงได้สนทนากัน
ถึงช้างตัวแสนรู้นั้นว่า เป็นสัตว์ที่น่ารักน่าสงสารมาก
เป็นแต่มันพูดไม่เป็นเท่านั้น ขณะสนทนา
กันท่านอาจารย์มหาทองสุกกราบเรียนถามท่านอาจารย์มั่นว่า
ขณะนั้นท่านอาจารย์ได้กำหนดดูจิตมันบ้าง
หรือเปล่าว่า ช้างตัวนี้นึกอะไรบ้าง ขณะที่พวกเราเรียก
และพูดกับมันตลอดขณะที่เราเดินผ่านมันมา
กระผมอยากทราบบ้าง เพราะเป็นสัตว์ที่น่ารัก
และน่าสงสารมาก ขณะพวกเราเรียกมัน พอ
ได้ยินเสียงเรียก
เห็นมันทำท่าตึงตังหันหน้ากลับมาหาพวกเราทันทีทันใด
ราวกับจะวิ่งมาขยี้ให้แหลกละเอียดในขณะนั้นจนได้
แต่พอทราบเรื่องแล้วกลับเป็นมนุษย์ขึ้นมาในร่างสัตว์
และรีบหันหน้าเข้ากอไผ่เอางายาว ๆ สอดเข้ากลางกอไผ่
ยืนนิ่งเหมือนสัตว์ไม่มีวิญญาณ ซึ่ง
เป็นการบอกอย่างชัดเจนว่า
“พวกน้อง ๆ พากันมาเถอะ พี่ไม่ทำไมแล้ว
พี่เก็บศาสตราอาวุธซ่อนมันหมดแล้ว เชื่อและมาเถอะ”
ในทำนองนี้ แล้วก็พูดเชิงหยอกเล่น
กับท่านอาจารย์ขาวบ้างว่า
“ท่านอาจารย์ขาวก็พิสดารไม่ใช่เล่น พูด
กับช้างซึ่งเป็นสัตว์ทั้งตัว ราวกับพูดกับมนุษย์ทั้งคนว่า ‘ พี่
ๆ พวกน้องกลัว ไปไม่ได้ ขอให้พี่หลีกทางให้หน่อย
พวกน้องจะได้ไปกันได้ ไม่ต้องกลัวพี่ ’
ไอ้พี่ก็เหมือนเทวบุตรใจมหาเวสสันดร พอได้ลูกยอ
เข้าไปสักลูกเท่านั้นก็อิ่มท้อง รีบจัดแจงหลีกทาง
ให้ทันทีทันใดไม่รีรอ แต่น้องคนเล็กเซ่อเอาการ
พอผ่านพี่ไปได้ขอกลดก็เกิดไปเกี่ยวกับแขนงไม้ไผ่ ปลด
เท่าไร ๆ ก็ไม่ยอมออก จะพยายามให้อยู่กับพี่จนได้
ใจหายหมดขณะที่กำลังปลดขอกลดอยู่นั้น กลัวพี่จะเล่น
ไม่ซื่อ”
ท่านพระอาจารย์มั่นพอฟังคำท่านอาจารย์มหาทองสุกพูดหยอกเล่นท่านอาจารย์ขาว
ว่าฉลาดพูดกับช้างแล้ว เลยหัวเราะใหญ่ไปพักหนึ่ง
จึงพูดต่อไปว่า
“ทำไมจะไม่กำหนดดูมันเล่า แม้แต่เรื่อง
เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น นกและลิง เรายังกำหนดดูมัน
ในบางเวลา นี่มันเรื่องถึงตายจะไม่กำหนดได้หรือ”
“เวลาท่านอาจารย์กำหนดดูช้างตัว
นั้นมันคิดอย่างไรบ้าง” ผู้ถาม
ท่านตอบ
“ทีแรกได้ยินเสียงพวกเรามันตกใจ
จึงรีบหันหน้ามาอย่างรวดเร็ว เป็นท่าและความคิดจะต่อสู้
พอมองเห็นพวกเราซึ่งมีสีผ้ากาสาวพัสตร์ครองอยู่
มันก็รู้ทันทีว่าเป็นเพศที่เย็นและไว้ใจได้
เพราะมันเคยเห็นมาจนชินตาชินใจแล้ว
เจ้าของมันก็เคยเสี้ยมสอนมาจนพอแล้วไม่
ให้ทำอันตรายแก่เพศนี้ ฉะนั้น พอพวกเราพูดกับมันซึ่ง
เป็นคำที่มันชอบมากอยู่แล้วว่า พี่ ๆ ดังที่ท่านขาวพูด
กับมัน ก็ยิ่งทำให้มันชอบใจใหญ่และหลีกทางให้ทันที”
ผู้ถาม “มันรู้ภาษาที่เราพูดกับมันได้ทุกคำ
หรือเปล่า”
“ทำไมจะไม่รู้ ไม่เช่นนั้น
จะเอามันมาลากไม้เข็นซุงในป่าในเขาได้หรือ
เดี๋ยวมันฆ่าตายทิ้งเปล่า ๆ สัตว์พรรค์นี้เขา
ต้องฝึกสอนจนมันรู้ภาษาคนได้ดีถึง
จะนำมาทำงานชนิดต่าง ๆ ได้ ช้างตัวนี้อายุมัน
เป็นร้อยปีขึ้นไป ดูงามันซิยาวเกือบวา แล้วมันอยู่
กับคนมากี่ปี แม้เจ้าของของมันก็น่ากลัวเพิ่งเกิดมาไม่กี่ปี
ยังมาเป็นควาญมันได้ มันจะ
ไม่แสนรู้ภาษามนุษย์อย่างไรเล่า ต้องรู้อย่างไม่มีปัญหา”
“ขณะที่มันหันหน้าและสอดงา
เข้ากอไผ่มันคิดอย่างไรบ้าง” ผู้ถาม
ท่านตอบ “ก็มันรู้เรื่องแล้วนั่นเองมันจึง
ให้ทาง ไม่คิดจะทำอะไร”
ผู้ถาม “ขณะที่พวกเราเดินผ่านมันมานั้น
ท่านอาจารย์ได้กำหนดดูใจมันมาตลอดทางผ่าน
หรือเปล่า ว่ามันอาจคิดอย่างไรบ้าง
ขณะที่พระกำลังเดินผ่านมา”
ท่านตอบ “กำหนดดูก็เห็นแต่มันให้ทางอยู่
แล้วโดยไม่คิดอะไรอื่น
กระผมกลัวว่าเวลาพวกเรากำลังเดินผ่านมามันอาจคิดสนุกขึ้นมา
อยากทำลายพวกเราเล่นสนุก ๆ ไปตามประสาสัตว์
จึงเรียนถามอย่างนั้น"
ท่านว่า
“หาคิดเรื่องพิสดารที่โลกเขามิได้คิด
กันมาถาม
ถ้าชอบคิดซอกแซกดังที่คิดถามเรื่องช้างก็คงมีหวังพ้นทุกข์
ได้ในวันหนึ่งแน่นอน แต่นี้คงไม่สนใจคิด
นิสัยมนุษย์เราชอบเป็นอย่างนี้มาดั้งเดิม ถ้าสิ่งที่เป็นคุณ
เป็นประโยชน์ไม่ชอบคิด แต่ที่เสียเวลาและเป็นโทษ
แล้วชอบคิด แบบถึงไหนถึงกัน นี่ก็จะพยายามคิด
และถามเรื่องช้างไปตลอดคืน จนไม่ต้องสนใจ
กับธรรมะธัมโมอะไรละหรือ”
พอถูกขู่เท่านั้นเรื่องช้างเลยจบลงทันที
เพราะกลัวท่านจะเข่นใหญ่ (
นี่ท่านอาจารย์มหาทองสุกเล่าให้ฟัง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 09:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องของพระที่พูดคุยกับท่านแบบไร้สติจนถูกดุ
เรื่องการพูดคุยอะไรกับท่านแบบไร้สติ
ว่าควรอย่างไรไม่ควรอย่างไรบ้าง
นี่เคยโดนท่านดุมามากราย บางรายถึงกับเสียสติ
ในวาระต่อไปก็มี
มีพระรูปหนึ่งซึ่งมีนิสัย
ไม่ค่อยสุภาพนักไปพำนักอยู่กับท่านชั่วคราว
เวลาท่านพูดอะไรขึ้นมาเธอชอบพูดไปตามท่านเสมอ
ตอนไปอยู่ใหม่ ๆ ท่านเคยเตือนบ่อย
ให้สนใจในหน้าที่ของตัว โดยมีสติระวังรักษาใจที่จะคิด
จะพูดในเรื่องต่าง ๆ ไม่สนใจกับเรื่องของผู้อื่น นักปฏิบัติ
ต้องรู้จักวิธีปฏิบัติตัวโดยถูกทาง ผู้มีสติอยู่กับตัวย่อมเห็น
ความบกพร่องของใจที่แสดงออก
แต่เธอนั้นคงมิได้สนใจคิดเรื่องท่าน
ให้อุบายสั่งสอนเท่าที่ควร จึงชอบเป็นไปตามนิสัยเสมอ
วันหนึ่งเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน
ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมีนิสัยที่ใคร ๆ สังเกตได้ยาก
เวลาเดินไปไหนมาไหนท่านมองเห็นอะไร เช่นสัตว์ต่าง ๆ
หรือผู้คนตลอดเด็ก ๆ ท่านมักจะเอาเรื่องที่ได้เห็นนั้น ๆ
มาพิจารณาและพูดของท่านไปคนเดียว ดังที่เคยเขียน
ไว้บ้างแล้ว
วันนั้นขณะที่กำลังบิณฑบาต ท่าน
ได้เห็นลูกวัวมีรูปร่างน่ารักที่กำลังวิ่งเพลินอยู่
กับแม่ของมัน ขณะพระเดินไป มันยังมองไม่เห็นท่าน
พอพระเดินไปจวนถึงตัวมันจึงหันหน้ามามองอย่างตกใจ
และกระโดดวิ่งอ้าวไปหาแม่แล้วเอาหลังหนุนคอแม่ไว้
หันหน้าออกมาสู่พระ นัยน์ตาบอกว่ากลัวมาก
ส่วนแม่พอเห็นลูกวิ่งไปหาก็รีบหันหน้ามองมาทางพระ
พอรู้แล้วก็ทำเฉยตามนิสัยของสัตว์ที่เคยกับพระมาจำเจ
แล้ว แต่ลูกของมันยืนตาจับจ้องอยู่ใต้คางแม่อย่างไม่
ไว้ใจ เมื่อท่านอาจารย์เห็นอาการของทั้งแม่
ทั้งลูกที่แสดงอาการต่างกันเช่นนั้น จึงพูดขึ้นลอย ๆ ว่า
“แม่ไม่เห็นแสดงอาการกลัว
แต่ลูกทำไมกลัวจนจะแบกแม่ทั้งตัววิ่งหนีไปได้ (
ท่านเห็นมันอยู่ใต้คอแม่อันเป็นลักษณะแบกแม่ถึง
ได้พูดอย่างนั้น) พอเหลือบเห็นพระเท่านั้นก็ทั้งเผ่น
ทั้งร้องหาแม่ให้ช่วย
คนเราก็เหมือนกันต้องวิ่งหาที่พึ่ง ถ้าอยู่
ใกล้แม่ก็วิ่งพึ่งแม่ อยู่ใกล้พ่อก็วิ่งพึ่งพ่อ อยู่กับใครก็มัก
จะพึ่งคนนั้น จะคิดพึ่งตัวเองไม่ค่อยมี ตอนยัง
เล็กก็คิดหวังพึ่งผู้อื่นแบบหนึ่ง โตขึ้นมาคิดหวังพึ่งผู้
อื่นไปอีกแบบหนึ่ง แก่ตัวลงไปคิดหวังพึ่งผู้อื่นอีกแบบหนึ่ง
จะย้อนจิตเข้ามาใช้อุบายหาทางพึ่งตัวเองไม่ค่อยจะมีกัน
ฉะนั้น คนเราจึงมักทำตัวให้อ่อนแอ อยู่ในวัย
ใดก็หวังพึ่งแต่ผู้อื่น อยู่ที่ใดไปที่ใดก็หวังพึ่งแต่ผู้อื่น เลย
ไม่เป็นตัวของตัวเองได้ตลอดกาล
พระเราก็เหมือนกัน บวชมาในศาสนา
จะศึกษาก็เกียจคร้าน จะปฏิบัติก็กลัวเป็นทุกข์ลำบาก
เพราะความขี้เกียจไม่ยอมให้ทำ คิดอะไรที่จะ
เป็นประโยชน์บ้าง พอคิดจะลงมือทำ
ความขี้เกียจก็มาคอยกันท่าไว้เสีย เลยไม่มีอะไรสำเร็จ
ได้ เมื่อไม่มีทางช่วยตัวเองได้จำต้องหวังพึ่งผู้อื่น ไม่เช่น
นั้นก็ครองตัวไปไม่ได้
คำว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ เลย
ไม่มีประโยชน์สำหรับคนไม่มีจมูกหายใจ เราผู้บวช
เป็นพระและเป็นนักปฏิบัติจึงไม่ควรทำตนเป็นคน
ไม่มีจมูก คอยหายใจจากผู้อื่นอยู่เรื่อยไป
ครูอาจารย์สั่งสอนอะไรควรนำไปคิดและพยายามทำตาม
ไม่ให้หลุดมือตกสูญหายไปเปล่า ๆ พยายามคิด
และทำตามท่านจนเกิดประโยชน์ขึ้นมาแก่ตนจนได้ จะ
ต้องไม่หวังพึ่งท่านตลอดไป จมูกทางหายใจคือความรู้
ความฉลาดทางระบายทุกข์น้อยใหญ่ออก
จากใจก็พอมีทางอาศัยตนได้ ชื่อว่าเป็นพระขึ้นมา
โดยลำดับ จนกลายเป็นพระสมบูรณ์แบบและพึ่งตนเอง
ได้อย่างเต็มที่”
ท่านพูดเป็นเชิงสอนพระ
หรือสอนใครก็สุดแต่ผู้จะพิจารณานำมาสอนตน
คำพูดท่านยังไม่จบเรื่องซึ่งพอจะแทรกขึ้น
ในระหว่างท่านหยุดชั่วคราว แต่พระองค์
ไม่ค่อยพิจารณานัก ก็พูดพล่ามไปตามท่าน โดยมิ
ได้สำนึกตัวว่าควรหรือไม่ควรเพียงไร
ความบ้าของเธออาจจะเข้าไปกระทบธรรมภาย
ในท่านอย่างแรง จึงทำ
ให้ท่านหันหน้ากลับมาชำระเสียบ้าง พอ
ให้พระองค์ที่มีสังวรธรรมพลอยตกตะลึงกลัวไปตาม ๆ
กัน ใจความว่า
“ท่านนี้จะบ้าเสียแล้วกระมังนี่
พอตามองเห็นค้อนเห็นไม้ที่ใครโยนมาแต่ทิศใดแดน
ใดก็คอยแต่จะโดดกัดร่ำไปเหมือนสุนัขบ้า
ไม่มองดูใจที่กำลังจะบ้าอยู่ขณะนี้บ้างเลย ผมว่าท่าน
จะบ้าแล้วนะ ถ้ายังขืนปล่อยให้น้ำลายไหลออกแบบ
ไม่มีสติดังที่เป็นอยู่ขณะนี้”
ว่าเท่านั้นก็หันกลับและเดินเข้าที่พัก
ไม่พูดอะไรต่อไปอีก
มองดูพระองค์นั้นหน้าตาพิกลอย่างพูด
ไม่ออก ตอนมาถึงที่พักแล้ว
ขณะฉันก็เห็นเธอฉันนิดเดียว พอเห็นอาการอย่างนั้น
ต่างองค์ก็ต่างนิ่งเฉย ทำเหมือนไม่รู้และไม่เกี่ยวข้อง
กับเธอ เกรงว่าจะอาย เวลาอื่นก็ทำเหมือนไม่มีอะไร
ต่างองค์ต่างอยู่และบำเพ็ญภาวนาไปตามที่เคยปฏิบัติมา
พอตกกลางคืนเงียบ ๆ
ได้ยินเสียงร้องโวยวายขึ้นแบบคนไม่มีสติ พูดไม่ได้ศัพท์
ได้แสง พอทราบเหตุ
ต่างองค์ต่างก็รีบไปดูที่เสียงปรากฏขึ้น ก็ได้เห็นพระองค์
นั้นนอนร่ายมนต์บ่นเพ้อ ทิ้งเนื้อทิ้งตัวอยู่บริเวณที่พักนั้น
แบบคนไม่มีสติเอาเลย แต่พอจับใจความได้
เป็นบางตอนว่า
“เสียใจที่ได้ล่วงเกินท่านอาจารย์โดย
ไม่รู้กาลเทศะ”
ใครก็ตกตะลึงพรึงเพริดไปตาม ๆ กัน และ
ต้องรีบไปตามชาวบ้านมาช่วยพยาบาลรักษา
คือหายาแก้ลมเป็นต้น มาให้เธอฉัน คน
นั้นบีบคนนี้นวดตามบริเวณร่างกายอยู่พักหนึ่ง จาก
นั้นก็สงบและนอนหลับได้จนสว่าง
พอวันรุ่งขึ้นก็มีคนมารับเธอไปหาหมอฉีดหยูกยา
ให้เธอ อาการก็พอลดลงบ้าง แต่ยังมีการกำเริบเป็นคราว
ๆ พอค่อยยังชั่วบ้าง ก็ส่งเธอกลับบ้าน หลังจากนั้นก็
ไม่ทราบว่าโรคหายหรือเป็นตายอย่างไร ผู้เขียนก็ทราบ
จากพระที่อยู่ด้วยกันกับเธอในเวลานั้นเล่าให้ฟัง
ทั้งนี้พูดเรื่องโดนดุ ถ้าโดนพอเบาะ ๆ ก็พอ
ให้ผู้ถูกดุได้สติและระวังตัวต่อไป ถ้าหาเรื่อง
ให้ถูกโดนดุอย่างหนักและผู้ถูกดุ ไม่มีสติปัญญาพอ
จะถือเอาประโยชน์ได้ มักมีทางเสียได้ดังที่ปรากฏมา
ฉะนั้น ผู้อยู่กับท่านจึงอยู่ด้วย
ความระวังสำรวมอย่างยิ่ง จะตีสนิทคุ้นเคย
ในฐานะว่าเคยอยู่กับท่านมานานย่อมไม่ได้
เพราะนิสัยท่านเป็นนิสัยที่ไม่คุ้นกับใครเอาง่าย ๆ
แต่ไหนแต่ไรมา ผู้อยู่กับท่านจึงนอนใจไม่ได้ แม้ระวังตัว
อยู่เหมือนแม่เนื้อระวังนายพรานก็ยังถูกโดนยิงจนได้
เท่าที่ทราบจากครูอาจารย์ที่เคยอยู่
กับท่านมาก่อนว่า ถ้ามีเฉพาะท่านที่มีภูมิจิตใจสูงอยู่
กับท่าน การวางตัวท่านก็ปล่อยตามนิสัยที่รู้จักท่านดีแล้ว
คือแสดงกิริยามรรยาทธรรมดาสบาย ๆ เหมือนผู้ใหญ่
อยู่ด้วยกัน ไม่ค่อยเข้มงวดกวดขันนัก
แต่การเปลี่ยนแปลงมรรยาท ท่านรู้สึกเปลี่ยนแปลง
ได้อย่างรวดเร็วจนตามแทบไม่ทัน อยู่สถานที่แห่งหนึ่ง
เป็นอย่างหนึ่ง สถานที่แห่งหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ตามแต่เหตุการณ์ที่ควรเปลี่ยนแปลงไปตามสถานที่บุคคล
นั้น และเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วทั้งไม่ซ้ำรอย
กันเลย นับว่าเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดสำหรับผู้ไม่
สามารถทำอย่างท่านได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 09:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ และท่านพระอาจารย์มั่น ฯ สมัย
เป็นฆราวาส
เวลาว่างโอกาสดี ๆ ท่านเล่านิทานให้ฟัง
ซึ่งโดยมากมักขัน ๆ และน่าหัวเราะทั้งนั้น
จึงขอยกเรื่องท่านมาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังเล็กน้อย
พอทราบว่าคน ๆ
เดียวมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างน่าอัศจรรย์
คือสมัยท่านเป็นฆราวาสกำลังแตกหนุ่ม
ท่านเคยเป็นหมอลำหมอเพลง
คราวหนึ่งท่านขึ้นไปขับลำทำเพลงประชันกันกับหญิงสาว
ซึ่งเป็นนักประชันที่มีชื่อคนหนึ่งในงานใหญ่ มีคนไป
ในงานนั้นเป็นพัน ๆ
ท่านนึกสนุกขึ้นมาก็ขึ้นไปบนเวทีขอประชันเพลง
กับหญิงคนนั้น หรือท่านอาจมีรักเขาบ้างก็ทราบไม่ได้
จึงเกิดความฮึกหาญขึ้นมาอย่างคาดไม่ถึง หญิงนั้นยินดี
เป็นคู่แข่งกับท่าน พอเริ่มกลอนประชันยังไม่ถึงไหน
ท่านก็เป็นฝ่ายแพ้กลอนเขาเข้าไปสองสามกลอนแล้ว
พอดีมีเทวบุตรมาโปรดไว้ทัน คือในงาน
นั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ซึ่งเวลานั้นท่าน
เป็นฆราวาสและอยู่ในวัยหนุ่มเช่นเดียวกัน
แต่อายุแก่กว่าท่านอาจารย์มั่นบ้าง ได้ไปในงานนั้นด้วย
และเข้าฟังเพลงระหว่างท่านอาจารย์มั่นซึ่งเป็นชายหนุ่ม
กับหญิงสาวคนนั้นขับเคี่ยวกันในเชิงกลอนต่าง ๆ
ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เห็นท่าไม่ได้การ
เพราะฝ่ายเรา คือท่านอาจารย์มั่น แพ้เขาไปหลายกลอน
แล้ว ถ้าตกดึกไปกว่านี้ คงจะลงเวทีไม่ได้แน่ อาจ
จะถูกหญิงสาวคนนั้นหามลงแบบไม่มีหน้าติดตัวลงมาเลย
เพราะหญิงสาวเป็นนักต่อสู้มาหลายเวทีแล้ว
ส่วนคนของเราเพิ่งจะเริ่มขึ้นเวที
และก็ใจปํ้าฮึกหาญสำคัญ โดดขึ้นสู้กับเสือโคร่ง
ใหญ่ลายพาดกลอน แม้จะ
เป็นเสือตัวเมียมันก็มีเขี้ยวเต็มปากอย่างพอตัว
แต่เสือเราแม้จะเป็นเสือตัวผู้แต่ฟังน้ำนมมันก็เพิ่งจะออก
ไม่กี่ซี่ ขืนให้สู้ต่อไปเสือตัวเมียต้องถลกหนังมัน
เข้าตลาดแน่ ๆ อ้ายมั่นนี่มันไม่รู้จักเสือ มันนึกว่าแต่สาว ๆ
เท่านั้น แต่มันไม่รู้จักตาย เราต้องเข้าช่วยเอาหนังมัน
ไว้ก่อนครั้งนี้ ไม่เช่นนั้นหนังมันจะเข้าตลาดแน่นอน
พอคิดแล้วก็โดดขึ้นบนเวทีทำท่าว่า
“อ้ายมั่น อ้ายห่า
กูเที่ยวตามหามึงแทบตาย แม่มึงตกเรือนสูง ๆ ลงมากอง
อยู่กับพื้น จะตายหรือยังก็ไม่แน่ใจเลย พอกูโผล่เข้าไป
จะช่วย เขาก็ใช้ให้กูมาเที่ยวตามหามึงตั้งแต่วัน ๆ
จนป่านนี้ กูตามหามึงแทบตาย ข้าวก็ยังไม่ตกท้องเลย กู
จะเป็นลมตายอยู่เดี๋ยวนี้”
ทางอ้ายมั่นก็ตกตะลึง หญิงสาวก็ตกตะลึง
ในอุบายไปตาม ๆ กัน ฝ่ายอ้ายมั่นอดไม่
ได้รีบถามขึ้นมาทันทีว่า
“แม่กูเป็นยังไงวะ อ้ายจันทร์
” (ชื่อท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ว่านายจันทร์ สมัยเป็นฆราวาส
ท่านพูดกันตอนเป็นฆราวาส)
ฝ่ายอ้ายจันทร์ทำเป็นอิดโรยจะ
เป็นลมตายอยู่บนเวทีว่า
“กูคิดว่าแม่มึงตายแล้ว ส่วนกูกำลังจะตาย
ด้วยทั้งหิวข้าวทั้งเป็นลม”
พอจบคำ
อ้ายจันทร์ก็ฉุดแขนอ้ายมั่นทำท่าลากกันลงมา
จากเวทีท่ามกลางคนเป็นพัน ๆ ตกตะลึงพรึงเพริดไปตาม
ๆ กัน แล้วพากันออกวิ่งผ่านฝูงคนไปอย่างรีบด่วน
พอพ้นหมู่บ้านนั้นไปแล้ว อ้ายมั่นถามซ้ำอีกอย่างกระหาย
อยากทราบเป็นกำลังว่า
“แม่กูไปทำอะไรถึงได้ตกเรือนขนาดกอง
กับพื้นเล่า”
ฝ่ายอ้ายจันทร์ตอบว่า “กูเองก็ยัง
ไม่ทราบสาเหตุชัด พอมองเห็นและจะวิ่งเข้าไปช่วย เขา
ใช้ให้วิ่งตามหามึง กูวิ่งมานี่
จะไปรู้เรื่องละเอียดลอออย่างไรเล่า”
“เท่าที่มึงดูบ้างแล้วแม่กูพอจะตายไหม”
อ้ายมั่นถามอย่างกระวนกระวาย
อ้ายจันทร์ตอบว่า “ตายหรือยังอยู่เรา
จะไปดูเองอยู่ขณะนี้ยังไงล่ะ”
พอเลยหมู่บ้านไปไกล
กะประมาณว่าอ้ายมั่นไม่กล้ากลับมาคนเดียวได้อีกแล้ว (
สมัยก่อนหมู่บ้านอยู่ห่างกันมาก สัตว์เสือผีก็ชุม ใคร ๆ
จึงไม่กล้ามาคนเดียวในเวลาค่ำคืน)
จึงเปลี่ยนกิริยาอาการทุกอย่างเสียใหม่ แล้วบอก
กับอ้ายมั่นโดยตรงว่า
“แม่มึงไม่ได้เป็นอะไรหรอก
ที่กูทำท่าอย่างนั้นกูทนดูมึงติดกลอนอียายเมียมึงคนนั้น
ไม่ไหว กลัวมันจะถลกหนังมึงไปขายตลาด ซึ่ง
เป็นการขายหน้ากู และขายหน้าบ้านเราว่าอ้ายมั่นสู้
ผู้หญิงไม่ได้ ให้เขาเปิดผ้าลบลายเล่นเหมือนเสือตาย
แล้ว กูจึงได้คิดอุบายหลอกมึงและหลอกอียายเมียมึง
ให้มันตายใจ และให้ชาวบ้านเชื่อถือได้ว่ามึงยัง
ไม่หมดประตูสู้ แต่ต้องหนีไปเพราะเหตุสุดวิสัย
แล้วฉุดมึงหนีเพื่อไม่ให้ใครเขาจับพิรุธได้
แม้อียายเมียคู่แข่งมึงก็เห็นอดตกตะลึงไปตามอุบายอันแยบคายของกู
ไม่ได้ มันต้องสนใจฟังและมองตามพวกเราด้วย
ความตกใจแสนสงสารแม่มึงและมึงไปตามเรา
เห็นไหมอุบายกูช่วยมึงออกจากนรกผู้หญิง
คราวนี้มึงคิดว่าแยบคายดีพอใช้ไหม”
พออ้ายจันทร์พูดจบลง อ้ายมั่นอุทานว่า
“โอ้โฮ น่าเสียดาย อ้ายห่านี่ทำกู
ถึงขนาดนี้เทียวนะ กูกำลังคันฟันห้ำหั่น
กับมันอย่างสนุกสนาน มึงมาฉุดกูออกจากถ้วยลาภ แหม
มึงทำกูอย่างถนัด กูมิได้นึกเลยอ้ายจันทร์ กูอยากคืนไป
ซ้ำมันอีก เอาหนังเข้าตลาดในคืนวันนี้จนได้”
อ้ายจันทร์ตอบ “โธ่ มึงจะตายกู
ช่วยชุบชีวิตไว้ได้แล้ว มึงยังกลับทำท่าอวดเก่งอยู่อีก
เดี๋ยวกูจะผลักหลังกลับคืนไป
ให้อียายเมียมึงเอาเนื้อขึ้นเขียงเสียในคืนนี้ไม่ดีหรือ”
อ้ายมั่นออกท่าว่า “
ที่กูทำท่าติดกลอนมันบ้างพอให้มันได้ใจไปหน่อยนั้น
เพราะกูก็เห็นมันเป็นผู้หญิง พอตกดึกกูก็มัดมัน
เข้ากระสอบเอาไปขายกินอย่างหวาน ๆ ยังไงล่ะ มึงยัง
ไม่รู้อุบายกู เป็นอุบายเสือหลอกลิงเลย”
“ถ้ามึงเก่งจริงดังที่คุยโม้
เพียงกูคิดอุบายนิดหน่อยฉุดมึงขึ้นจากนรกผู้หญิงมึง
ยังตกตะลึง ทั้งจะร้องห่มร้องไห้ต่อหน้าเมียมึงอย่าง
ไม่คิดอายว่าตัวเป็นผู้ชายเลย แล้วใคร
จะชมมึงว่าฉลาดพอจะเอาอียายเมียมึงเข้ากระสอบล่ะ
กูคิดเห็นแต่มันจะมัดมึงโยนลงเวทีต่อหน้าคนจำนวนพัน ๆ
เท่านั้น มึงอย่าคุยโม้ไปมาก
รีบสาธุอุบายเมตตากูที่มีต่อมึงดีกว่า อ้ายแพ้ผู้หญิง”
สุดท้ายคืนนั้นทั้งอ้ายจันทร์ทั้งอ้ายมั่นเลย
ไม่ได้ดูงานตามความคาดหมายไว้ เพราะเรื่องนี้
เป็นสาเหตุให้ต้องพรากงาน
ฟังนักปราชญ์ทั้งสองโต้กัน แม้สมัยท่าน
ยังเป็นฆราวาสก็ยังรู้สึกน่าฟังมาก ถึงจะเป็นเรื่องโลก ๆ
แต่ก็เป็นเชิงของคนฉลาดพูดกัน จึงเป็นที่ซาบซึ้งจับใจ
ในอุบายที่แสดงออกทุก ๆ ประโยค ฟังแล้วทำ
ให้เพลินใจประหนึ่งท่านสนทนากันอยู่ต่อหน้าเราฉะนั้น
เรื่องของท่านทั้งสองโต้กันยังมีอีกแยะ
แต่เห็นว่าเท่าที่กล่าวมาพอเป็นคติแก่พวกเราพอสมควร
อุบายของท่านทั้งสองแสดงให้เห็นได้ชัดว่ามีเค้าแห่ง
ความฉลาดมาแต่เป็นฆราวาส ฉะนั้นเวลามาบวชเป็นพระ
ท่านจึงเป็นจอมปราชญ์ทั้งสององค์ในสมัยปัจจุบัน
ปรากฏชื่อลือนามกระเดื่องเลื่องลือทั่วประเทศไทยว่า
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์และท่านพระอาจารย์มั่น
ภูริทัตตเถระ เป็นจอมปราชญ์สมัยปัจจุบัน
ที่เขียนว่าอ้ายจันทร์และอ้ายมั่นนั้นเขียนตามที่ทราบ
จากท่านเล่าให้พระฟัง
เวลาท่านเปิดโอกาสสบาย ๆ
กับบรรดาศิษย์ที่เคร่งเครียดต่อการระวังในท่านมา
เป็นประจำ หากเป็นการไม่บังควรประการใด
ก็ขอประทานโทษท่านเจ้าพระคุณทั้งสองและท่านผู้อ่าน
ทั่ว ๆ ไปด้วย ถ้าจะเลี่ยงเขียนตามศัพท์นิยมก็ไม่ถนัดใจ
ที่ท่านเรียกกันเช่นนั้น เข้าใจว่าท่านนิยมนับถือกัน
ด้วยคำพูดทำนองนั้น ซึ่งเราเองก็เคยใช้ต่อ
กันระหว่างบุคคลที่สนิทสนมกันตามฐานะและวัยเสมอมา
จึงได้เขียนตามเค้ามาดั้งเดิม จะหยาบคาย
หรือละเอียดประการใด ก็ประสงค์ให้
เป็นไปตามเรื่องเดิมซึ่งเป็นธรรมชาติแท้ที่ท่านใช้กัน
ในเพศและวัยนั้น รู้สึกสะดวกใจ
และอาจมองเห็นภาพท่านทั้งคราว
เป็นฆราวาสที่กำลังคะนองรื่นเริง และภาพที่เป็นนักบวช
ซึ่งสละความเป็นโลกออกอย่างสิ้นเชิง มีแต่
ความอัศจรรย์ล้วน ๆ อยู่ในองค์แห่งพระเวลาท่านบวช
แล้ว
ขณะท่านเล่านิทานให้ฟัง น่าฟังมาก
โดยมากก็เป็นเรื่องสมัยปัจจุบันมากกว่าจะเป็นนิทาน
ท่านชอบชมเชยความฉลาดของเจ้าคุณอุบาลีฯ
ให้ฟังเสมอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 09:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ และท่านพระอาจารย์มั่น ฯ สมัย
เป็นฆราวาส
เวลาว่างโอกาสดี ๆ ท่านเล่านิทานให้ฟัง
ซึ่งโดยมากมักขัน ๆ และน่าหัวเราะทั้งนั้น
จึงขอยกเรื่องท่านมาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังเล็กน้อย
พอทราบว่าคน ๆ
เดียวมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างน่าอัศจรรย์
คือสมัยท่านเป็นฆราวาสกำลังแตกหนุ่ม
ท่านเคยเป็นหมอลำหมอเพลง
คราวหนึ่งท่านขึ้นไปขับลำทำเพลงประชันกันกับหญิงสาว
ซึ่งเป็นนักประชันที่มีชื่อคนหนึ่งในงานใหญ่ มีคนไป
ในงานนั้นเป็นพัน ๆ
ท่านนึกสนุกขึ้นมาก็ขึ้นไปบนเวทีขอประชันเพลง
กับหญิงคนนั้น หรือท่านอาจมีรักเขาบ้างก็ทราบไม่ได้
จึงเกิดความฮึกหาญขึ้นมาอย่างคาดไม่ถึง หญิงนั้นยินดี
เป็นคู่แข่งกับท่าน พอเริ่มกลอนประชันยังไม่ถึงไหน
ท่านก็เป็นฝ่ายแพ้กลอนเขาเข้าไปสองสามกลอนแล้ว
พอดีมีเทวบุตรมาโปรดไว้ทัน คือในงาน
นั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ซึ่งเวลานั้นท่าน
เป็นฆราวาสและอยู่ในวัยหนุ่มเช่นเดียวกัน
แต่อายุแก่กว่าท่านอาจารย์มั่นบ้าง ได้ไปในงานนั้นด้วย
และเข้าฟังเพลงระหว่างท่านอาจารย์มั่นซึ่งเป็นชายหนุ่ม
กับหญิงสาวคนนั้นขับเคี่ยวกันในเชิงกลอนต่าง ๆ
ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เห็นท่าไม่ได้การ
เพราะฝ่ายเรา คือท่านอาจารย์มั่น แพ้เขาไปหลายกลอน
แล้ว ถ้าตกดึกไปกว่านี้ คงจะลงเวทีไม่ได้แน่ อาจ
จะถูกหญิงสาวคนนั้นหามลงแบบไม่มีหน้าติดตัวลงมาเลย
เพราะหญิงสาวเป็นนักต่อสู้มาหลายเวทีแล้ว
ส่วนคนของเราเพิ่งจะเริ่มขึ้นเวที
และก็ใจปํ้าฮึกหาญสำคัญ โดดขึ้นสู้กับเสือโคร่ง
ใหญ่ลายพาดกลอน แม้จะ
เป็นเสือตัวเมียมันก็มีเขี้ยวเต็มปากอย่างพอตัว
แต่เสือเราแม้จะเป็นเสือตัวผู้แต่ฟังน้ำนมมันก็เพิ่งจะออก
ไม่กี่ซี่ ขืนให้สู้ต่อไปเสือตัวเมียต้องถลกหนังมัน
เข้าตลาดแน่ ๆ อ้ายมั่นนี่มันไม่รู้จักเสือ มันนึกว่าแต่สาว ๆ
เท่านั้น แต่มันไม่รู้จักตาย เราต้องเข้าช่วยเอาหนังมัน
ไว้ก่อนครั้งนี้ ไม่เช่นนั้นหนังมันจะเข้าตลาดแน่นอน
พอคิดแล้วก็โดดขึ้นบนเวทีทำท่าว่า
“อ้ายมั่น อ้ายห่า
กูเที่ยวตามหามึงแทบตาย แม่มึงตกเรือนสูง ๆ ลงมากอง
อยู่กับพื้น จะตายหรือยังก็ไม่แน่ใจเลย พอกูโผล่เข้าไป
จะช่วย เขาก็ใช้ให้กูมาเที่ยวตามหามึงตั้งแต่วัน ๆ
จนป่านนี้ กูตามหามึงแทบตาย ข้าวก็ยังไม่ตกท้องเลย กู
จะเป็นลมตายอยู่เดี๋ยวนี้”
ทางอ้ายมั่นก็ตกตะลึง หญิงสาวก็ตกตะลึง
ในอุบายไปตาม ๆ กัน ฝ่ายอ้ายมั่นอดไม่
ได้รีบถามขึ้นมาทันทีว่า
“แม่กูเป็นยังไงวะ อ้ายจันทร์
” (ชื่อท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ว่านายจันทร์ สมัยเป็นฆราวาส
ท่านพูดกันตอนเป็นฆราวาส)
ฝ่ายอ้ายจันทร์ทำเป็นอิดโรยจะ
เป็นลมตายอยู่บนเวทีว่า
“กูคิดว่าแม่มึงตายแล้ว ส่วนกูกำลังจะตาย
ด้วยทั้งหิวข้าวทั้งเป็นลม”
พอจบคำ
อ้ายจันทร์ก็ฉุดแขนอ้ายมั่นทำท่าลากกันลงมา
จากเวทีท่ามกลางคนเป็นพัน ๆ ตกตะลึงพรึงเพริดไปตาม
ๆ กัน แล้วพากันออกวิ่งผ่านฝูงคนไปอย่างรีบด่วน
พอพ้นหมู่บ้านนั้นไปแล้ว อ้ายมั่นถามซ้ำอีกอย่างกระหาย
อยากทราบเป็นกำลังว่า
“แม่กูไปทำอะไรถึงได้ตกเรือนขนาดกอง
กับพื้นเล่า”
ฝ่ายอ้ายจันทร์ตอบว่า “กูเองก็ยัง
ไม่ทราบสาเหตุชัด พอมองเห็นและจะวิ่งเข้าไปช่วย เขา
ใช้ให้วิ่งตามหามึง กูวิ่งมานี่
จะไปรู้เรื่องละเอียดลอออย่างไรเล่า”
“เท่าที่มึงดูบ้างแล้วแม่กูพอจะตายไหม”
อ้ายมั่นถามอย่างกระวนกระวาย
อ้ายจันทร์ตอบว่า “ตายหรือยังอยู่เรา
จะไปดูเองอยู่ขณะนี้ยังไงล่ะ”
พอเลยหมู่บ้านไปไกล
กะประมาณว่าอ้ายมั่นไม่กล้ากลับมาคนเดียวได้อีกแล้ว (
สมัยก่อนหมู่บ้านอยู่ห่างกันมาก สัตว์เสือผีก็ชุม ใคร ๆ
จึงไม่กล้ามาคนเดียวในเวลาค่ำคืน)
จึงเปลี่ยนกิริยาอาการทุกอย่างเสียใหม่ แล้วบอก
กับอ้ายมั่นโดยตรงว่า
“แม่มึงไม่ได้เป็นอะไรหรอก
ที่กูทำท่าอย่างนั้นกูทนดูมึงติดกลอนอียายเมียมึงคนนั้น
ไม่ไหว กลัวมันจะถลกหนังมึงไปขายตลาด ซึ่ง
เป็นการขายหน้ากู และขายหน้าบ้านเราว่าอ้ายมั่นสู้
ผู้หญิงไม่ได้ ให้เขาเปิดผ้าลบลายเล่นเหมือนเสือตาย
แล้ว กูจึงได้คิดอุบายหลอกมึงและหลอกอียายเมียมึง
ให้มันตายใจ และให้ชาวบ้านเชื่อถือได้ว่ามึงยัง
ไม่หมดประตูสู้ แต่ต้องหนีไปเพราะเหตุสุดวิสัย
แล้วฉุดมึงหนีเพื่อไม่ให้ใครเขาจับพิรุธได้
แม้อียายเมียคู่แข่งมึงก็เห็นอดตกตะลึงไปตามอุบายอันแยบคายของกู
ไม่ได้ มันต้องสนใจฟังและมองตามพวกเราด้วย
ความตกใจแสนสงสารแม่มึงและมึงไปตามเรา
เห็นไหมอุบายกูช่วยมึงออกจากนรกผู้หญิง
คราวนี้มึงคิดว่าแยบคายดีพอใช้ไหม”
พออ้ายจันทร์พูดจบลง อ้ายมั่นอุทานว่า
“โอ้โฮ น่าเสียดาย อ้ายห่านี่ทำกู
ถึงขนาดนี้เทียวนะ กูกำลังคันฟันห้ำหั่น
กับมันอย่างสนุกสนาน มึงมาฉุดกูออกจากถ้วยลาภ แหม
มึงทำกูอย่างถนัด กูมิได้นึกเลยอ้ายจันทร์ กูอยากคืนไป
ซ้ำมันอีก เอาหนังเข้าตลาดในคืนวันนี้จนได้”
อ้ายจันทร์ตอบ “โธ่ มึงจะตายกู
ช่วยชุบชีวิตไว้ได้แล้ว มึงยังกลับทำท่าอวดเก่งอยู่อีก
เดี๋ยวกูจะผลักหลังกลับคืนไป
ให้อียายเมียมึงเอาเนื้อขึ้นเขียงเสียในคืนนี้ไม่ดีหรือ”
อ้ายมั่นออกท่าว่า “
ที่กูทำท่าติดกลอนมันบ้างพอให้มันได้ใจไปหน่อยนั้น
เพราะกูก็เห็นมันเป็นผู้หญิง พอตกดึกกูก็มัดมัน
เข้ากระสอบเอาไปขายกินอย่างหวาน ๆ ยังไงล่ะ มึงยัง
ไม่รู้อุบายกู เป็นอุบายเสือหลอกลิงเลย”
“ถ้ามึงเก่งจริงดังที่คุยโม้
เพียงกูคิดอุบายนิดหน่อยฉุดมึงขึ้นจากนรกผู้หญิงมึง
ยังตกตะลึง ทั้งจะร้องห่มร้องไห้ต่อหน้าเมียมึงอย่าง
ไม่คิดอายว่าตัวเป็นผู้ชายเลย แล้วใคร
จะชมมึงว่าฉลาดพอจะเอาอียายเมียมึงเข้ากระสอบล่ะ
กูคิดเห็นแต่มันจะมัดมึงโยนลงเวทีต่อหน้าคนจำนวนพัน ๆ
เท่านั้น มึงอย่าคุยโม้ไปมาก
รีบสาธุอุบายเมตตากูที่มีต่อมึงดีกว่า อ้ายแพ้ผู้หญิง”
สุดท้ายคืนนั้นทั้งอ้ายจันทร์ทั้งอ้ายมั่นเลย
ไม่ได้ดูงานตามความคาดหมายไว้ เพราะเรื่องนี้
เป็นสาเหตุให้ต้องพรากงาน
ฟังนักปราชญ์ทั้งสองโต้กัน แม้สมัยท่าน
ยังเป็นฆราวาสก็ยังรู้สึกน่าฟังมาก ถึงจะเป็นเรื่องโลก ๆ
แต่ก็เป็นเชิงของคนฉลาดพูดกัน จึงเป็นที่ซาบซึ้งจับใจ
ในอุบายที่แสดงออกทุก ๆ ประโยค ฟังแล้วทำ
ให้เพลินใจประหนึ่งท่านสนทนากันอยู่ต่อหน้าเราฉะนั้น
เรื่องของท่านทั้งสองโต้กันยังมีอีกแยะ
แต่เห็นว่าเท่าที่กล่าวมาพอเป็นคติแก่พวกเราพอสมควร
อุบายของท่านทั้งสองแสดงให้เห็นได้ชัดว่ามีเค้าแห่ง
ความฉลาดมาแต่เป็นฆราวาส ฉะนั้นเวลามาบวชเป็นพระ
ท่านจึงเป็นจอมปราชญ์ทั้งสององค์ในสมัยปัจจุบัน
ปรากฏชื่อลือนามกระเดื่องเลื่องลือทั่วประเทศไทยว่า
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์และท่านพระอาจารย์มั่น
ภูริทัตตเถระ เป็นจอมปราชญ์สมัยปัจจุบัน
ที่เขียนว่าอ้ายจันทร์และอ้ายมั่นนั้นเขียนตามที่ทราบ
จากท่านเล่าให้พระฟัง
เวลาท่านเปิดโอกาสสบาย ๆ
กับบรรดาศิษย์ที่เคร่งเครียดต่อการระวังในท่านมา
เป็นประจำ หากเป็นการไม่บังควรประการใด
ก็ขอประทานโทษท่านเจ้าพระคุณทั้งสองและท่านผู้อ่าน
ทั่ว ๆ ไปด้วย ถ้าจะเลี่ยงเขียนตามศัพท์นิยมก็ไม่ถนัดใจ
ที่ท่านเรียกกันเช่นนั้น เข้าใจว่าท่านนิยมนับถือกัน
ด้วยคำพูดทำนองนั้น ซึ่งเราเองก็เคยใช้ต่อ
กันระหว่างบุคคลที่สนิทสนมกันตามฐานะและวัยเสมอมา
จึงได้เขียนตามเค้ามาดั้งเดิม จะหยาบคาย
หรือละเอียดประการใด ก็ประสงค์ให้
เป็นไปตามเรื่องเดิมซึ่งเป็นธรรมชาติแท้ที่ท่านใช้กัน
ในเพศและวัยนั้น รู้สึกสะดวกใจ
และอาจมองเห็นภาพท่านทั้งคราว
เป็นฆราวาสที่กำลังคะนองรื่นเริง และภาพที่เป็นนักบวช
ซึ่งสละความเป็นโลกออกอย่างสิ้นเชิง มีแต่
ความอัศจรรย์ล้วน ๆ อยู่ในองค์แห่งพระเวลาท่านบวช
แล้ว
ขณะท่านเล่านิทานให้ฟัง น่าฟังมาก
โดยมากก็เป็นเรื่องสมัยปัจจุบันมากกว่าจะเป็นนิทาน
ท่านชอบชมเชยความฉลาดของเจ้าคุณอุบาลีฯ
ให้ฟังเสมอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 10:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุบายโต้ตอบของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ
ครั้งหนึ่งท่านเล่าว่า ท่านสนทนา
กับท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ถึงพระเวสสันดร พอ
ได้โอกาสท่านเรียนถามถึงแม่ของพระนางมัทรีคือใคร
ไม่เห็นกล่าวไว้ในคัมภีร์ หรือค้นหาไม่พบต่างหาก
ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็ตอบขึ้นทันทีว่า
ท่านยังไม่เคยเห็นไม่เคย
ได้ยินแม่นางมัทรีบ้างหรือ เขาเห็นกันทั้งบ้านทั้งเมือง
ท่านมัวไปหานางมัทรีอยู่ที่ไหนถึงไม่ได้เห็นกับเขา
ท่านพระอาจารย์มั่นกราบเรียนว่ายัง
ไม่เคยเห็นเลย ไม่ทราบว่าอยู่ในคัมภีร์ไหน
ท่านตอบทันทีว่าจะอยู่ในคัมภีร์อะไรที่ไหน
กัน ก็สาวอบผู้พูดเสียงดัง ๆ บ้านแกหลังใหญ่ ๆ
อยู่สี่แยกทางออกไปวัดยังไงล่ะ
ท่านพระอาจารย์มั่นเกิดงง
ต้องเรียนถามท่านอีกว่า สี่แยกที่ไหน
และทางออกไปวัดไหน ท่านไม่เห็นกล่าวเรื่องวัดเรื่องวา
ไว้เลย
ท่านตอบว่า ก็แม่นางมัทรีบ้านแก
อยู่เกือบติดกับบ้านท่านอย่างไรล่ะ ทำไมยัง
ไม่รู้กระทั่งนางมัทรีและสาวอบแม่นางมัทรีเข้าอีก
ท่านนี้แย่จริงๆ เพียงนางมัทรีและสาวอบในหมู่บ้านเดียว
กันยังไม่รู้อีก ท่านจะไปเที่ยวหาแม่นางมัทรีในคัมภีร์ไหน
กันอีก ผมก็แย่แทนท่านถ้าเป็นอย่างนี้
ท่านอาจารย์ก็ระลึกได้ทันทีเมื่อท่านพูดว่า
นางมัทรีและสาวอบที่อยู่ในบ้านเดียวกัน
แต่ก่อนมัวไปนึกภาพในเรื่องพระเวสสันดรในคัมภีร์โน้น
จึงทำให้งงไปนาน
ท่านว่าท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ
ท่านฉลาดโต้ตอบด้วยอุบายแปลก ๆ อย่างนี้เสมอมา
ท่านมักโต้ตอบแบบศอกกลับเสมอ ทำเอาผู้ฟังงงไปตาม
ๆ กันและก็ได้สติปัญญาจากอุบายท่านตลอดมา ท่านเล่า
ทั้งหัวเราะขันตัวท่านเองที่ไม่ทันลูกไม้ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 10:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท้าวสักกเทวราชบนสวรรค์มาเยี่ยมท่านเสมอ
ท่านพักจำพรรษาอยู่บ้านน้ำเมา
อำเภอแม่ปัง เชียงใหม่
ท่านว่าท่านต้อนรับแขกจำพวกกายทิพย์บนสวรรค์
มีท้าวสักกเทวราชเป็นหัวหน้ามากเป็นพิเศษ
แม้หน้าแล้งท่านหลีกออกไปเที่ยววิเวกองค์เดียวอยู่
ในถ้ำดอกคำ
ก็มีท้าวสักกเทวราชพาพวกเทวดามาเยี่ยมท่าน
ซึ่งมาแต่ละครั้งเป็นหมื่นเป็นแสนและมาบ่อยที่สุด
ถ้าพวกที่ไม่เคยมา ท้าวสักกเทวราชต้องเตือนให้เขา
เข้าใจวิธีฟังธรรมก่อนที่ท่านจะแสดงให้ฟัง
โดยมากท่านแสดงเมตตาอัปปมัญญาพรหมวิหาร ให้
เขาฟัง เพราะพวกเทวดาชอบธรรมนี้มากเป็นพิเศษ
ท่านพักอยู่ทั้งสองแห่งนี้
ท้าวสักกเทวราชมาเยี่ยมฟังธรรมเสมอ
การต้อนรับพวกเทพทุกชั้นทุกภูมิก็ปรากฏว่ามาก
เป็นพิเศษกว่าที่อื่น ๆ เพราะที่นี่อยู่ลึก
และสงัดมากบรรยากาศก็อำนวย
พวกนี้เคารพท่านและสถานที่ที่ท่านพัก
อยู่มาก แม้ทางจงกรมที่ญาติโยมเอาทรายมาเกลี่ย
ไว้สำหรับให้ท่านเดินจงกรมก็ไม่กล้าผ่านเข้ามา
ต้องเว้นไปเข้าทางอื่น พวกพญานาคก็เช่นกัน เวลาเขา
เข้ามาเยี่ยมฟังธรรมท่านก็ไม่อาจเดินข้ามทางจงกรม
เข้ามา ถ้าหัวหน้าจำเป็นต้องเดินผ่านเข้ามาเป็นบางครั้ง
ต้องเว้นไปทางหัวจงกรมเดินอ้อมเข้ามา
บางครั้งพญานาคใช้ให้บริวารมากราบนิมนต์ท่าน
ในกิจบางอย่าง เช่นเดียวกับมนุษย์เรามานิมนต์พระไป
ในงาน ก็ไม่กล้าเดินข้ามทางจงกรมเข้ามา ถ้ามีทรายโรย
ไว้ก็เอามือกวาดทรายออกเสียก่อนแล้วค่อยคลานเข้ามา
พอพ้นจากนั้นแล้วค่อยลุกขึ้นเดินเข้ามาหาท่าน
กิริยามรรยาททุกอาการอยู่ในความสำรวมดีมาก
ท่านว่า
มนุษย์เราซึ่งเป็นเจ้าของศาสนา
ถ้าต่างสนใจในธรรม และมีความเคารพต่อตัวเอง สม
กับว่ารักตนจริง ๆ ตามความรู้สึกที่ฝังลึกอยู่ภายใน
ก็ควรมีมรรยาทเคารพศาสนาเช่นเดียวกับพวกเทวดา
และพญานาคที่เขาทำกัน แม้ไม่สามารถ
จะมองเห็นวิธีการที่เขาทำความเคารพต่อศาสนา
แต่ศาสนาก็สอนวิธีเคารพไว้อย่างสมบูรณ์แล้ว
ไม่มีอะไรบกพร่อง นอกจากพวกมนุษย์เราไม่ค่อยสนใจ
เท่าที่ควร และตั้งใจสั่งสมความประมาท
ใส่ตนจนหาที่เก็บไม่ได้เท่านั้น จึงไม่ค่อยประสบความสุข
ความสมหวังดังที่ปรารถนากัน
ความจริงศาสนา
เป็นแหล่งผลิตมรรยาทศีลธรรมอันดีงามเพื่อผล คือ
ความสุขความสมหวังจะมีทางเกิดขึ้นแก่
ผู้สนใจตามหลักศาสนาที่สอนไว้
ท่านกล่าวเน้นหนักลงไปว่า
ความสำคัญของทุกสิ่งในโลกก็คือใจ
ถ้าใจหยาบ ทุกสิ่งที่มาเกี่ยวข้องก็กลายเป็นของหยาบไป
ด้วย เช่นเดียวกับร่างกายสกปรก แม้สิ่งที่มาคละเคล้า
กับกาย จะเป็นของสะอาดสวยงามเพียงไร ก็กลาย
เป็นของสกปรกไป ตามร่างกายที่สกปรกอยู่แล้ว ฉะ
นั้นธรรมจึงอดจะหยาบไปตามใจที่สกปรกไม่ได้ ถึงจะ
เป็นธรรมที่บริสุทธิ์หมดจด แต่พอคนมีใจโสมม
เข้าไปเกี่ยวข้อง ธรรมก็กลายเป็นธรรมอับเฉาไปตาม
เหมือนผ้าที่สะอาดตกลงไปคลุกฝุ่น
หรือคนชั่วแบกคัมภีร์ธรรมอวดโลกให้เขารับนับถือ ซึ่ง
ทั้งสองนี้ไม่มีผลดีต่างกันเลย
คนที่มีใจหยาบกระด้างต่อศาสนาก็เป็นคน
ในลักษณะนี้เหมือนกัน จึงไม่มีทางได้รับประโยชน์
จากศาสนธรรม แม้เป็นของวิเศษเพียงไรเท่าที่ควร
เอาแต่ชื่อออกประกาศกันว่าตนนับถือศาสนา แต่
ไม่ทราบว่าศาสนาคืออะไร และมีส่วนเกี่ยวข้องกับ
ผู้นับถืออย่างไรบ้าง ถ้าประสงค์อยากทราบข้อเท็จจริง
จากศาสนาอย่างแท้จริงแล้ว ตนกับศาสนาก็เป็นอันเดียว
กัน ความสุขทุกข์ที่เกิดกับตนย่อมกระเทือนถึงศาสนา
ด้วย ความประพฤติดีชั่วก็กระเทือนถึงศาสนาเช่นกัน
คำว่าศาสนา คือแนวทางที่ถูก
ต้องแห่งการดำเนินชีวิตนั่นแล จะเป็นอื่นมาจากไหน
ถ้าคิดว่าศาสนาอยู่ที่อื่นนอกจากตัว ก็ชื่อว่า
เข้าใจศาสนาผิดจากความจริง
การปฏิบัติต่อศาสนาก็ปฏิบัติไม่ถูก คำว่าไม่ถูกนี้
ไม่ว่าอะไรไม่ถูก ของนั้นใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ แม้ได้ก็
ไม่ถูกตามกฎเกณฑ์ คือได้แบบขวางโลก ขวางธรรม
ขวางตน และขวางผู้อื่นไปทั้งนั้น คิดอย่างง่าย ๆ
และเห็นประจักษ์ตาคือ การบวกลบคูณหารไม่ถูก
ตัดเสื้อกางเกงไม่ถูก เย็บเสื้อผ้าไม่ถูก สามีภริยาปฏิบัติ
ไม่ถูกตามจารีตประเพณี คู่รักปฏิบัติ
ไม่ถูกตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อกัน พ่อแม่กับลูก ๆ
ปฏิบัติต่อกันไม่ถูก การแสวงหาทรัพย์ไม่ถูกทาง
การจ่ายทรัพย์ไม่ถูกทาง ขับรถไม่ถูกกฎจราจร
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อัน
เป็นเครื่องปกครองโลกให้ร่มเย็นทั่วหน้ากัน ราษฎร
กับเจ้านายปฏิบัติต่อกันไม่ถูกตามระบอบประเพณี
และกฎหมายบ้านเมือง ขาดความเคารพนับถือกัน
และกลายเป็นข้าศึกต่อกัน
เหล่านี้จะเห็นเป็น
ความเสียหายมากน้อยกว้างแคบเพียงไร ผลคือ
ความผิดหวังและความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ทำผิด
จะแสดงขึ้นที่ไหน ถ้า
ไม่แสดงขึ้นตามจุดแห่งเหตุที่ทำผิดก็ไม่มีที่แสดง
ขึ้นชื่อว่าผิดแล้วผลคือความเสียหาย
ต้องแสดงขึ้นตามเหตุนั้น ๆ แม้คนที่ทำผิดต่อผู้อื่นโดยที่
เขาจะทราบว่าตัวทำผิดต่อเขาหรือไม่ก็ตาม ผลคือ
ความเสียหายที่จะระบาดออกจากการทำผิดนั้น ปิดไม่
อยู่แน่นอน ต้องแสดงสุดขีดแห่งการทำผิด จะเป็นฝ่ายใด
ได้รับไม่เป็นปัญหา ข้อแก้ตัวว่าทำผิดแล้วผลไม่แสดงตัว
ให้ปรากฏ อย่างไรต้องแสดงมากน้อยจนถึงขั้นแดงโร่
ทั่วดินแดน
ฉะนั้นคำว่าไม่ถูก เช่น คิดไม่ถูก พูดไม่ถูก
และคำว่าไม่ถูก หรือคำว่าผิดนี้ จึง
เป็นจุดที่ควรสนใจอย่างยิ่ง ไม่ชินชาตามัว
ไม่เหลียวแลเรื่องจะแก่กล้าพร่าเอาตัวผู้เลื่อนลอยต่อ
ความผิดให้ล่มจมอย่างเห็นประจักษ์ตาในขณะนี้ชาตินี้
ไม่ต้องมองไกลอันเป็นการตะครุบเงามากกว่าถูกตัวจริง
เพราะศาสนามิใช่เงาเครื่องหลอกหลอนคนให้โง่ แต่
เป็นศาสนาที่ให้ความจริงทุกประตูที่ประกาศสอนไว้
ไม่ผิดพลาด ถ้าผู้นับถือไม่ปฏิบัติให้ผิดพลาดไปเอง
แล้วกล่าวตู่ว่าศาสนาไม่เป็นท่า ซึ่งเป็นการกว้าน
ความผิดพลาดมาทับถมโจมตีตัวเอง ให้เกิด
ความทุกข์ร้อนจนหาที่ปลงวางไม่ได้เท่านั้น จึง
ไม่มีปัญหาสำหรับศาสนาซึ่งเป็นของบริสุทธิ์มาดั้งเดิม
ท่านกล่าวย้ำอีกว่า
คนเราถ้ายอมรับ
ความจริงตามหลักศาสนาที่สอนไว้ ตัวย่อมได้รับความ
เป็นธรรม คือตัวเย็น ผู้เกี่ยวข้องมากน้อยก็เย็น
โลกร่มเย็นไม่ค่อยมีการทะเลาะเบาะแว้งแย่งชิง
เพื่อแข่งดิบแข่งดีกันให้เดือดร้อนไปทั้งสองฝ่าย
ซึ่งสุดท้ายก็เป็นไฟไปตาม ๆ กัน ไม่มีใครได้ครอง
ความสุขดังใจหวัง เพราะเอาใจดวงกำลังเป็นไฟทั้งกอง
เข้าไปเป็นหัวหน้าว่าความในกิจการในโรงในศาล
ในเรื่องต่าง ๆ ไม่มีประมาณ ด้วยเหตุนี้แลคนเรา
จึงหาประมาณความทรงตัวได้ยาก อยู่ที่ไหนก็ร้อน
เป็นฟืนเป็นไฟไม่เป็นสุข เพราะใจแบกกองไฟไว้
กับตัวตลอดเวลา ไม่คิดจะปลงวางลงบ้าง พอได้หายใจ
ไกลทุกข์ประสบสุขเสียบ้าง เพื่อทรงตัว
ท่านว่า
ผมเองนับแต่บวชมาในศาสนา ชาตินี้เกือบ
ทั้งชาติสนุกพิจารณาศาสนธรรมที่พระพุทธเจ้าประทาน
ไว้ ความกว้างลึกของศาสนธรรม
ยังกว้างลึกกว่ามหาสมุทรทะเลเป็นไหน ๆ เทียบกันไม่
ได้เอาเลย ถ้าพูดตามความจริงจริง ๆ แล้ว
ความละเอียดสุขุมเหลือประมาณที่จะพิจารณาตามได้
ความอัศจรรย์แห่งผลที่แสดงขึ้นกับการปฏิบัติเป็นระยะ
ๆ ไปก็สุดจะกล่าว ถ้าไม่คิดว่าคนจะหาว่าบ้าแล้ว
ผมกราบพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่ง
เป็นองค์แห่งธรรมอัศจรรย์แท้ได้ตลอดไป เช่นเดียว
กับคนงานอื่น ๆ ซึ่งหนักยิ่งกว่าการกราบไหว้เป็นไหน ๆ
ไม่มีการเกียจคร้าน ไม่นึกระอา ไม่นึกว่าซ้ำซาก
แต่แน่ใจอย่างถอนไม่ขึ้น แม้ชีวิตดับไปว่าพุทธะ ธรรมะ
สังฆะอยู่กับเรา เราอยู่กับท่านตลอดเวลา อกาลิโก
ไม่มีการแยกย้ายจากกันเหมือนโลก อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา
ที่คอยทำลายหัวใจสัตว์โลกให้ระทมขมขื่นอยู่เสมอ
ไม่พอให้หายใจได้แต่ละเวลาเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 10:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โปรดวิญญาณสามเณรและหญิงที่เป็นห่วงพระเจดีย์ที่
ยังสร้างไม่เสร็จ
ท่านเล่าว่า
หลายคืนที่ทำความเพียร
อยู่ตลอดกลางคืนยามดึกสงัด
ปรากฏเห็นสามเณรน้อยองค์หนึ่งกับผู้หญิงคนหนึ่ง พา
กันเดินผ่านไปผ่านมาอยู่แถวบริเวณนั้นแทบทุกคืน
ท่านนึกสงสัยว่าคนทั้งสองนี้เดินไปมาเพื่อประสงค์อะไร
วันต่อมาจึงถามถึงเหตุที่ต้องพา
กันมาเดินวกเวียนอยู่แถวนั้น ก็ได้คำตอบจากคน
ทั้งสองว่า เป็นห่วงและอาลัยในพระเจดีย์ที่สร้างยัง
ไม่เสร็จ แต่ได้ตายไปเสียก่อน เพราะความห่วงใยนั้นจึง
ต้องวกเวียนไปมาอยู่ทำนองนี้นานแล้ว ส่วนสามเณรน้อย
นั้นเป็นน้องชายของหญิงคนนั้น ทั้งสองคนได้ร่วมกำลัง
กันสร้างพระเจดีย์ ความที่ต่างคนต่างห่วง
และอาลัยพระเจดีย์และเสียดายเวลาไม่รอคอยพอ
ให้สร้างพระเจดีย์เสร็จก่อนแล้วค่อยตายไป จะไม่
เป็นภาระผูกพันดังที่เป็นอยู่เวลานี้ แม้จะเป็นอยู่ในภพที่มี
ความห่วงใย แต่ก็มิได้มีความทุกข์ทรมานซึ่งควรจะเป็น
เป็นแต่จะไปผุดไปเกิดที่ไหนก็ไม่อาจปลงใจลง
ได้เด็ดขาดเท่านั้น
ท่านจึงได้เทศน์ให้คนทั้งสองฟังว่า
“สิ่งที่ล่วงไปแล้วไม่ควรไปทำความผูกพัน
เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง แม้จะทำ
ความผูกพันและมั่นใจให้สิ่งนั้นกลับมาเป็นปัจจุบันก็
เป็นไปไม่ได้ ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่
ผู้เดียวโดยความไม่สมหวังตลอดไป อนาคตที่ยังไม่มา
ถึงก็เป็นสิ่งไม่ควรไปยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน
อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตก็ควรปล่อย
ไว้ตามกาลของมัน ปัจจุบันเท่านั้นจะสำเร็จประโยชน์ได้
เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ไม่สุดวิสัย”
การสร้างพระเจดีย์
ไม่สำเร็จแต่มาด่วนตายไปเสียก่อนนั้น ถ้าเป็นสิ่งที่
สามารถทำให้เป็นไปตามใจหวังได้แล้วเราก็ไม่ควรตาย
ควรจะสร้างให้สำเร็จไปเสียก่อน แต่ยังฝืนตายไปจนได้
มิหนำเวลาตายแล้วยังมาเป็นห่วงอยากให้เจดีย์สำเร็จ
ทั้งที่ไม่สามารถทำได้ นี่แสดงว่าคิดผิดไปถึงสองชั้น แล้ว
ยังจะเป็นห่วงเพื่อให้สมความปรารถนาอีกต่อไป
ยิ่งคิดผิดไปอีกสามชั้น ความคิดผิดมิได้ผิดเฉพาะ
ความคิดเท่านั้น การไปการมาเกิดในภพ
การเสวยสุขเสวยทุกข์ในภพนั้น ๆ ก็พลอยผิด
ความมุ่งหมายไปด้วย เพราะความคิดผิดเป็นสาเหตุ
จากใจเพียงดวงเดียว จึงเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งที่
จะฝืนคิดฝืนเป็นห่วงต่อไป
การสร้างพระเจดีย์เราสร้างหวังบุญหวังกุศลต่างหาก
มิได้สร้างเพื่อหวังเอาก้อนอิฐก้อนหินปูนทราย
ในองค์พระเจดีย์ไปด้วย สิ่งที่เป็นสมบัติของเรา
ในการสร้างพระเจดีย์ก็คือบุญ สร้าง
ได้มากน้อยบุญที่เกิดจากการสร้างนั้นเป็นของเรา จึง
ไม่ควรเป็นห่วงใยในอิฐในปูนและในพระเจดีย์ ซึ่ง
เป็นวัตถุที่หยาบยิ่ง และเป็นสิ่งสุดวิสัยที่จะให้เป็นไป
ได้ดังใจหวัง
ท่านนักสร้างบุญทั้งหลาย
ท่านเอาเฉพาะบุญติดตัวไป มิ
ได้เอาสิ่งก่อสร้างวัตถุทานต่าง ๆ ที่สละลงเพื่อทาน
แล้วติดตัวไปด้วย เช่น การสร้างวัด สร้างกุฎีวิหาร
ศาลาโรงธรรมสวนะ สร้างถนนหนทาง สร้างถังน้ำ
สร้างสาธารณสถาน ตลอดการให้ทานด้วยวัตถุต่าง ๆ
มากมายหลายวิธี สิ่งเหล่านั้น
เป็นเพียงเครื่องสนองกุศลเจตนาของผู้มุ่งทำบุญให้ทาน
เท่านั้น มิใช่ตัวบุญ ตัวกุศล ตัวสวรรค์นิพพาน และมิใช่ผู้
จะไปสู่มรรค สู่ผล สู่สวรรค์นิพพาน สร้างไว้
แล้วนานไปก็ชำรุดทรุดโทรม และร่วงโรยไปตามฐานะ
และกาลของมัน
สิ่งที่สำเร็จจากการก่อสร้างและการ
ให้ทานอันเป็นส่วนนามธรรมอยู่ภายในนั้น
คือตัวบุญกุศล เจ้าของผู้คิดเป็นกุศลเจตนาขึ้นมา
ให้สำเร็จเป็นวัตถุไทยทานต่าง ๆ นั้นคือใจ ใจนี่แลเป็น
ผู้ทรงบุญทรงกุศล ทรงมรรค ทรงผล
ทรงสวรรค์นิพพาน และใจนี่แลเป็นผู้ไปสู่สวรรค์นิพพาน
นอกจากใจไม่มีอะไรจะไป
เจดีย์ของคุณทั้งสองที่สร้างยังไม่เสร็จนั้น
ก็มิได้มีจิตใจพอจะมีเจตนา
ในบุญกุศลเพื่อไปสวรรค์นิพพานอะไรเลย ความ
เป็นห่วงก็คือใจดวงหึงหวง แม้จะเป็นฝ่ายดี แต่
ความคิดที่ติดอยู่จัดว่าเป็นความคิดที่ไม่ฉลาดต่อตัวเอง
อยู่นั่นแหละ จึงทำเจ้าของ
ให้วกไปเวียนมาชักช้าต่อทางไปผุดไปเกิด
ถ้าคุณทั้งสองยินดีเฉพาะกุศลผลบุญที่ทำ
ได้จากการสร้างพระเจดีย์ไปเท่านั้น ไม่มุ่ง
จะแบกหามพระเจดีย์ไปสวรรค์นิพพานด้วย คุณ
ทั้งสองก็ไปอย่างสุคโต หายห่วงไปนานแล้ว เพราะบุญ
เป็นเครื่องสนับสนุนคนให้ สุคโต เสมอมา ดังธรรมแสดง
ไว้ว่าอกาลิโก ฉะนั้นบุญจึงไม่เปลี่ยนแปลงตัวกลาย
เป็นบาปตลอดกาล ความห่วงในสิ่งไม่ควรห่วงและในกาล
ไม่ควรห่วง จึงเป็นความผิดของผู้ห่วงใยเอง
อนึ่งความห่วงใยอยากให้เจดีย์สำเร็จนั้น
ก็มิได้สำเร็จไปตามความห่วงความหวัง จึง
ไม่ควรตั้งจิตคิดเป็นห่วงในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
พลังแห่งบุญกุศลของคุณทั้งสองพอดีกับคุณทั้งสอง
อยู่เฉพาะปัจจุบัน อย่าคิดเรื่องอดีตอนาคตให้
เป็นการกดถ่วงกำลังใจที่ควรจะไปทางดีให้เสียเวลา
อยู่นาน ดังที่เป็นมาและเป็นอยู่ขณะนี้
ควรแก้ไขเจตสิกธรรม คือความคิดปรุงต่าง ๆ นั้นเสีย
คุณทั้งสองจะหายห่วงและไปอย่างสบายหายกังวลใน
ไม่ช้า ขอได้พากันสนใจในปัจจุบันอัน
เป็นที่บรรจุกุศลธรรมทั้งมวลเพื่อมรรคผลนิพพาน
อดีตอนาคตเป็นข้าศึกที่ควรแก้ไขอย่าให้เนิ่นนาน
คุณทั้งสองเป็นบุคคลที่น่าสงสารมาก
สร้างบุญญาภิสมภารมาเพื่อยังตนไปสู่สุคติ
แต่กลับมาติดกังวลในอิฐในปูนเพียงเท่านั้น จน
เป็นอุปสรรคต่อทางเดินของตนซึ่งทำให้เสียเวลาไปนาน
ถ้าคุณทั้งสองพยายามตัดความขัดข้องห่วงใยที่กำลัง
เป็นอยู่ออกจากใจ ชั่วเวลาไม่นานเลยจะเป็น
ผู้หมดภาระเครื่องผูกพัน คุณมีจิตมุ่งมั่นในภพใด
จะสมหวังในภพนั้น เพราะแรงกุศลที่ได้พา
กันสร้างมาพร้อมอยู่แล้ว
จากนั้นท่านแสดงศีล ๕ ซึ่งเป็นคุณธรรมที่
ไม่ขัดต่อภพกำเนิดและเพศวัยให้ฟัง พร้อมอานิสงส์
เป็นใจความย่อว่า
“หนึ่ง สิ่งที่มีชีวิตเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอยู่
ในตัวของมันเอง จึงไม่ควรเบียดเบียน
และทำลายคุณค่าแห่งความเป็นอยู่ของเขาให้ตกไป อัน
เป็นการทำลายคุณค่าของกันและกันเป็นบาปกรรมแก่
ผู้ทำ
สอง สิ่งของของใคร ๆ ก็รัก
และสงวนแม้คนอื่นจะเห็นว่าไม่ดีมีคุณค่า แต่ผู้
เป็นเจ้าของย่อมเห็นคุณค่าในสมบัติของตน ไม่ว่าสมบัติ
หรือสิ่งของใด ๆ ที่มีเจ้าของ แม้มีคุณค่าน้อยก็
ไม่ควรทำลาย คือ ฉกลัก ปล้นจี้ เป็นต้น อัน
เป็นการทำลายสมบัติและทำลายจิตใจกันอย่างหนัก ทั้ง
เป็นบาปมาก ไม่ควรทำ
สาม ลูกหลานสามีภริยาใคร ๆ
ก็รักสงวนอย่างยิ่ง ไม่ปรารถนา
ให้ใครมาอาจเอื้อมล่วงเกิน จึงควรให้สิทธิเขา
โดยสมบูรณ์ ไม่ล่วงล้ำเขตแดนของกันและกัน อัน
เป็นการทำลายจิตใจของผู้อื่นอย่างหนักและเป็นบาป
ไม่มีประมาณ
สี่ มุสา การโกหกพกลมเป็นสิ่งทำลาย
ความเชื่อถือของผู้อื่นให้ขาดสะบั้นลง ขาด
ความนับถืออย่างไม่มีชิ้นดีเลย แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานเขาก็
ไม่พอใจในคำหลอกลวง จึงไม่ควรพูดโกหกหลอกลวงให้
ผู้อื่นเสียหาย
ห้า สุรา ตามธรรมชาติเป็นของมึนเมาและ
ให้โทษอยู่ในตัวของมันอย่างเต็มที่อยู่แล้ว เมื่อดื่ม
เข้าไปย่อมสามารถทำคนดี ๆ ให้กลายเป็นคนบ้าได้
ในทันทีทันใด และลดคุณค่าลงโดยลำดับ ผู้ต้องการ
เป็นคนดีมีสติปกครองตัวอย่างมนุษย์ทั้งหลาย จึง
ไม่ควรดื่มสุราเครื่องทำลายสุขภาพทางกาย
และทางใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นการทำลายตัวเองและผู้
อื่นไปด้วยในขณะเดียวกัน
อานิสงส์ของศีล ๕ เมื่อรักษาได้
หนึ่ง ทำให้อายุยืนปราศ
จากโรคภัยมาเบียดเบียน
สอง ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความครอบครอง
มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวีเบียดเบียนทำลาย
สาม ระหว่างลูกหลาน สามีภริยาอยู่ด้วย
กันเป็นผาสุก ไม่มีผู้มาคอยล่วงล้ำกล้ำกราย ต่างครอง
กันด้วยความเป็นสุข
สี่ พูดอะไรมีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์
เป็นที่จับใจไพเราะด้วยสัตย์ด้วยศีล เทวดา
และมนุษย์เคารพรัก ผู้มีสัตย์มีศีลไม่เป็นภัยแก่ตนและผู้
อื่น
ห้า เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด
ไม่หลงหน้า หลงหลัง จับโน่นชนนี่เหมือนคนบ้าบอหาสติ
ไม่ได้
ผู้มีศีลเป็นผู้ปลูกและส่งเสริม
ความสุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลก ให้มีแต่
ความอบอุ่นใจ ไม่เป็นที่ระแวงสงสัย ผู้ไม่มีศีลเป็น
ผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์ให้ได้รับ
ความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ฉะนั้น
ผู้เห็นคุณค่าของตัวจึงควรเห็นคุณค่าของผู้อื่นว่ามี
ความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน
ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ไม่ตกต่ำ เพราะอำนาจศีลธรรมคุ้มครองรักษา
และสนับสนุน จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษา
ให้บริบูรณ์ เมื่อจากอัตภาพนี้จะมีสวรรค์เป็นที่ไปโดยไม่
ต้องสงสัย ธรรมที่สั่งสอนแล้วควรจดจำให้ดี ปฏิบัติ
ให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงสมบัติทุกอย่างในอัตภาพที่จะมา
ถึงในไม่ช้านี้แน่นอน ”
พอจบธรรมเทศนา สองพี่น้องมีใจร่าเริง
ในธรรม และขอสมาทานศีล ๕ กับท่าน ท่าน
ได้ประกาศศีล ๕ ให้แก่สองพี่น้องตามเจตนา
พอเสร็จการแสดงธรรมและประกาศศีล ๕ แล้ว คน
ทั้งสองได้นมัสการลาและหายตัวไปในที่และขณะ
นั้นนั่นเอง
ด้วยอำนาจกุศลศีลทานที่ได้สร้างมา
และกุศลที่ฟังธรรมรักษาศีล ๕ กับท่านอาจารย์
สองพี่น้องได้เปลี่ยนภพถ่ายภูมิที่เป็นอยู่ ไปเกิด
ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์พิภพในลำดับต่อมาโดยไม่ชักช้า
และได้พา
กันมานมัสการเยี่ยมฟังเทศน์ท่านอาจารย์เสมอมิได้ขาด
พร้อมด้วยความขอบพระคุณท่านที่เมตตาอนุเคราะห์
ให้อุบายสั่งสอนต่าง ๆ จนได้พ้นจากความวกเวียนไปมา
ในสถานที่นั้น แล้วไปเกิด
ในสวรรค์เสวยทิพยสมบัติที่ไปรอคอยอยู่เป็นเวลานาน
แล้วอย่างมีความสุข เวลาที่ลงมาเยี่ยมท่านได้เล่าเรื่อง
ความห่วงใยว่าเป็นภัยแก่จิตใจอย่างยิ่ง ทำ
ให้เนิ่นช้าต่อทางดำเนินและภพชาติที่ควรจะได้จะถึง พอ
ได้รับอุบายแล้วก็สามารถตัดความห่วงใยเหล่านั้นเสียได้
จิตพ้นจากความผูกพันไปเกิดในสวรรค์ได้โดยสะดวก
ลำดับนั้นท่านได้แสดง
ความห่วงใยของจิตว่า เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอุปสรรค
ได้อย่างมากมาย เวลาจะพรากจากขันธ์ นักปราชญ์ท่าน
จึงสอนให้ระวังจิตไม่ให้เป็นอารมณ์ห่วงใยกับสิ่งใด ๆ
ทั้งสิ้น กลัวจิตจะประหวัดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งเป็นที่รักบ้าง
เป็นอารมณ์ขุ่นมัวในใจบ้าง เช่น ความโกรธแค้นในผู้หนึ่ง
ผู้ใด ขณะจิตจะออกจากร่างเป็นขณะที่สำคัญมาก
อาจไปเกาะเอาอารมณ์ที่ไม่ดีเข้าแล้วกลับมา
เป็นไฟเผาตัว จากนั้นก็ไปเกิดในทุคติภพมีนรก เปรต
อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งล้วน
เป็นภพกำเนิดที่ไม่พึงปรารถนา และให้
ความทุกข์ร้อนตลอดภพนั้น ๆ
ฉะนั้นการฝึกอบรมจิตเมื่ออยู่
ในฐานะที่ควรทำได้จึงควรสนใจอย่างยิ่ง ฝึก
ให้รู้เรื่องของจิตเสียแต่ยังเป็นคนที่รู้ ๆ เห็น ๆ
เรื่องของตนอยู่ทุกขณะ นี้เป็นความชอบแท้ เมื่อทราบว่า
ยังบกพร่องส่วนใดจะได้รีบแก้ไขดัดแปลงเสีย เวลา
เข้าตาจนแล้วจะได้มีทางรักษาตัวทันกับเหตุการณ์ ไม่
ต้องวิตกวิจารณ์ว่าจะเสียทีให้ความชั่วทั้งหลาย
เข้ามาเหยียบย่ำทำลายได้ ยิ่งฝึกให้ขาดความสืบต่อ
กับอารมณ์ดีชั่วทั้งหลายอย่างประจักษ์แล้ว
ยิ่งประเสริฐเลิศโลกไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน
นักปราชญ์ท่านเห็น
ความสำคัญของใจว่าประเสริฐยิ่งกว่าสิ่งใด ๆ ในสามภพ
ท่านจึงพยายามฝึกใจให้ไปถูกทาง และสั่งสอนผู้อื่น
ให้ปฏิบัติต่อใจด้วยดี
เพราะการขาดทุนสูญทรัพย์นอกภายใน
ขึ้นอยู่กับใจเป็นสำคัญ เวลาเป็นอยู่ก็อยู่ด้วยใจ สุข
ด้วยใจ ทุกข์ด้วยใจ เวลาตายไปก็ไปด้วยใจ เกิด
เป็นกำเนิดต่าง ๆ ดีหรือชั่วก็เกิดด้วยใจ เสวยกรรม
ทั้งหนักทั้งเบา ทั้งดีทั้งชั่ว ด้วยใจเป็นเหตุทั้งมวล ไม่มีสิ่ง
ใดพาให้เป็น มีใจดวงเดียวเท่านั้นพาให้เป็นไป ใจจึงควร
ได้รับการอบรมในทางที่ถูกที่ดีเสมอ
เพื่อรู้วิธีปฏิบัติต่อตัวเองทั้งปัจจุบันและอนาคต
พอจบการแสดงธรรม เทวดาได้รับ
ความแช่มชื่นเบิกบานใจเป็นอันมาก
และกล่าวสรรเสริญธรรมที่ท่านแสดงว่า
เป็นยอดแห่งธรรม ซึ่งไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่อื่น
ใดมาก่อนเลย เสร็จแล้วพา
กันกระทำประทักษิณสามรอบ
และถอยห่างออกไปจนพ้นเขตที่ท่านพักอยู่
แล้วต่างก็เหาะลอยขึ้นบนอากาศ ราว
กับสำลีอันละเอียดถูกลมพัดปลิวขึ้นสู่อากาศฉะนั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร