วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 11:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 20:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำนำ โดย พระมหาบัว
หนังสือประวัติท่านพระอาจารย์มั่น
ภูริทัตตเถระ ปรากฏว่ามีท่านผู้สนใจมากเป็นที่น่าภูมิใจ
สมกับประเทศไทย
เป็นเมืองพระพุทธศาสนาที่ชาวไทยนับถือ
เป็นชีวิตจิตใจตลอดมา ทั้งที่ทราบจากคราวที่
“ศรีสัปดาห์” พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในพระราชพิธีรัชดาภิเษก
เพื่อแจกเป็นธรรมทาน จำนวนหลายพันเล่ม ซึ่งถ้าคิด
เป็นมูลค่าก็คงไม่ต่ำกว่า ๒ แสนบาท เมื่อแถลง
ให้ทราบทาง “ศรีสัปดาห์” เพื่อแจกทาน
ก็มีท่านที่สนใจมารับเป็นจำนวนมาก จนหนังสือไม่พอแจก
และหมดไปในเวลาอันรวดเร็ว ทราบว่าทาง “ศรีสัปดาห์”
ต้องพิมพ์เพิ่มอีกจำนวน ๒ พันเล่ม เพื่อเป็นน้ำใจแด่ท่านที่
เป็นสมาชิกแห่ง “ศรีสัปดาห์” แม้เช่นนั้นก็ยังไม่พอกับ
ความต้องการ จำเป็นต้องขอความเห็นใจที่ “ศรีสัปดาห์”
ไม่สามารถปฏิบัติกับทุกท่านได้โดยทั่วถึง ดังนี้ จึงทำ
ให้รู้สึกว่าหนังสือประวัติท่านเล่มนี้
เป็นที่น่าสนใจแก่ชาวพุทธเราอยู่มาก
ด้วยเหตุนี้ ในวาระต่อมาจึง
ได้คิดรวมศรัทธากันจัดพิมพ์ขึ้นใหม่อีก โดยขอให้
ผู้เขียนประวัติท่านเป็นผู้นำในการจัดพิมพ์
หนังสือประวัติท่านพระอาจารย์องค์สำคัญนี้ จึงได้สำเร็จ
เป็นเล่มขึ้นมาด้วยกำลังศรัทธาของท่านที่ใจบุญทั้งหลาย
แต่ไม่สามารถออกนามให้ทั่วถึงไว้ ณ ที่นี่ได้
เพราะมากท่านด้วยกันที่ร่วมบริจาค จึงขออภัยทุกท่าน
ด้วยความเสียใจอย่างยิ่ง กรุณายึดมั่นตามหลักธรรมว่า
“บุญย่อมเกิดที่น้ำใจของท่านผู้
เป็นต้นเหตุแห่งศรัทธาบริจาค ไม่เกิดในที่อื่นใด และใจ
จะเป็นผู้รับผลแห่งบุญทั้งหลายที่ตนบำเพ็ญไว้แล้ว” ท่าน
จะเป็นสุขใจตลอดกาล ไม่มีอะไรมากวนใจ
หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนมีความมุ่งหมาย
ประสงค์ให้ทุกท่านที่มีศรัทธาเป็นเจ้าของด้วยกัน พิมพ์
เป็นธรรมทานได้ทุกโอกาส ไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่าง
ใด ส่วนจะพิมพ์เพื่อจำหน่ายจึงขอสงวนลิขสิทธิ์
ดังที่เคยปฏิบัติมาทุกเล่มที่ผู้เขียนเป็นต้นฉบับ
เพื่อเทิดทูนพระศาสนาและครูอาจารย์ตามกำลังด้วย
ความบริสุทธิ์ใจ
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย
และคุณท่านพระอาจารย์มั่นผู้เป็นเจ้าของประวัติ
จงกำจัดภัยพิบัติสารพัดอันตราย อย่าได้มีแก่ท่าน
ทั้งหลาย ขอให้มีแต่คุณธรรมที่พึงปรารถนาและ
ความสุขกายสบายใจ เพราะอำนาจแห่งบุญ
เป็นที่พึ่งพิงอิงแอบแนบเนื้อท่านไปตลอดสาย อย่า
ได้มีวันเสื่อมคลายหายสูญ จงสมบูรณ์พูนผลไป
ด้วยสมบัติอันอุดมมงคลนานาประการ ตลอดวันย่าง
เข้าสู่พระนิพพานอันเป็นบรมสุขทุกทั่วหน้ากันเทอญ
บัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 20:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประวัติ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
ชีวประวัติ
และปฏิปทาคือจริยธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น
ภูริทัตตเถระ ที่ท่านกำลังอ่านอยู่ขณะนี้ ผู้เขียน (
ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน)
ได้พยายามเสาะแสวงหามารวบรวมตามกำลังความ
สามารถจากพระอาจารย์หลายท่านที่เคยเป็นศิษย์
อยู่ศึกษาอบรมกับท่านมาเป็นยุค ๆ จนถึงวาระสุดท้าย
แต่คงไม่ถูกต้องแม่นยำตามประสงค์เท่าไรนัก
เพราะท่านที่จดจำมาและผู้รวบรวมคงไม่อาจรู้และจำ
ได้ทุกประโยค
และทุกกาลสถานที่ที่ท่านเที่ยวจาริกบำเพ็ญและแสดง
ให้ฟังในที่ต่าง ๆ กัน ถ้าจะรอให้จำ
ได้หมดทุกแง่ทุกกระทงถึงจะนำมาลงก็นับวันจะลบเลือน
และหลงลืมไปหมด คงไม่มีหวังได้นำมาลงให้ท่าน
ผู้สนใจได้อ่าน พอเป็นคติแก่อนุชนรุ่นหลังอย่างแน่นอน
ดังนั้น แม้จะเป็นประวัติที่
ไม่สมบูรณ์ทำนองล้มลุกคลุกคลาน ก็ยังหวังว่า
จะเกิดประโยชน์อยู่บ้าง
การเขียนประวัติและจริยธรรมของท่าน
ทั้งภายนอกที่แสดงออกทางกาย วาจา และภาย
ในที่ท่านรู้เห็นเฉพาะใจแล้วแสดงให้ฟังนั้น จะเขียน
เป็นทำนองเกจิอาจารย์ที่เขียนประวัติของพระสาวก
ทั้งหลาย ดังที่ได้เห็นในตำรา ซึ่งแสดงไว้ต่าง ๆ กัน
เพื่ออนุชนรุ่นหลังจะ
ได้เห็นร่องรอยที่ธรรมแสดงผลแก่ท่าน
ผู้สนใจปฏิบัติตามมาเป็นยุค ๆ จนถึงสมัยปัจจุบัน หาก
ไม่สมควรประการใด แม้จะเป็นความจริงดังที่ได้ยิน
ได้ฟังมาจากท่าน แต่ก็หวังว่าคงได้รับอภัยจากท่านผู้อ่าน
ทั้งหลาย เนื่องจากเจตนาที่มีต่อท่านผู้สนใจในธรรม อาจ
ได้คติข้อคิดบ้าง จึงได้ตัดสินใจเขียนทั้งที่
ไม่สะดวกใจนัก
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
เป็นอาจารย์ทางวิปัสสนา ซึ่งควร
ได้รับยกย่องสรรเสริญอย่างยิ่งจากบรรดาศิษย์ผู้อยู่
ใกล้ชิดท่าน ว่าเป็นอาจารย์วิปัสสนาชั้นเยี่ยม
ในสมัยปัจจุบัน จากเนื้อธรรมที่ท่านแสดงออกซึ่ง
เป็นธรรมชั้นสูง ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้มีโอกาสฟังอย่าง
ถึงใจตลอดมา ทำให้ปราศจากความสงสัยในองค์ท่านว่า
สมควรตั้งอยู่ในภูมิธรรมขั้นใด
ท่านมีคนเคารพนับถือมาก ทั้งบรรพชิต
และคฤหัสถ์ในภาคต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศไทย นอก
จากนั้น ท่านยังมีสานุศิษย์ทั้งนักบวชและฆราวาส
ในประเทศลาวอีกมากมายที่เคารพเลื่อมใสในท่านอย่าง
ถึงใจตลอดมา ท่านมีประวัติงดงามมาก ทั้งเวลา
เป็นคฤหัสถ์และเวลาทรงเพศเป็นนักบวช
ตลอดอวสานสุดท้าย ไม่มีความด่างพร้อยเลย ซึ่ง
เป็นประวัติที่หาได้ยากในสมัยปัจจุบัน ความเป็น
ผู้มีประวัติอันงดงามตลอดสายนี้ รู้สึก
จะหายากยิ่งกว่าหาเพชรหาพลอยเป็นไหน ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 20:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว
โดยนายคำด้วงเป็นบิดา นางจันทร์เป็นมารดา
นับถือพระพุทธศาสนาประจำสกุลตลอดมา
เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ
. ๒๔๑๓ ที่บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม
จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องกัน ๙ คน
แต่เวลาท่านมรณภาพปรากฏว่า ยังเหลือเพียง ๒ คน
ท่านเป็นคนหัวปี มีร่างเล็ก ผิวขาวแดง มี
ความเข้มแข็งว่องไวประจำนิสัย
มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมาแต่เล็ก พออายุได้ ๑๕ ปี
ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในสำนักวัดบ้านคำบง มี
ความสนใจและรักชอบในการศึกษาธรรมะ เรียนสูตรต่าง
ๆ ในสำนักอาจารย์ได้อย่างรวดเร็ว มีความประพฤติ
และอัธยาศัยเรียบร้อย ไม่เป็นที่หนักใจหมู่คณะ
และครูอาจารย์ที่ให้ความอนุเคราะห์
เมื่อบวชได้ ๒ ปี ท่านจำ
ต้องสึกออกไปตามคำขอร้องของบิดาที่มีความจำ
เป็นต่อท่าน แม้สึกออกไปแล้ว ท่านก็ยังมีความมั่นใจที่
จะบวชอีก เพราะมีความรักในเพศนักบวชมาประจำนิสัย
เวลาสึกออกไปเป็นฆราวาสแล้ว ใจท่านยังประหวัด
ถึงเพศนักบวชมิได้หลงลืมและจืดจาง ทั้งยังปักใจว่า
จะกลับมาบวชอีกในไม่ช้า ทั้งนี้อาจจะเป็น
เพราะอำนาจศรัทธาที่มีกำลังแรงกล้าประจำนิสัยมาดั้งเดิมก็
เป็นได้
พออายุได้ ๒๒ ปี ท่านมีศรัทธาอยากบวช
เป็นกำลังจึงได้ลาบิดามารดา ท่าน
ทั้งสองก็อนุญาตตามใจไม่ขัดศรัทธา เพราะมี
ความประสงค์จะให้ลูกของตนบวชอยู่แล้ว พร้อม
ทั้งมีศรัทธาจัดแจงบริขารในการบวชให้ลูกอย่างสมบูรณ์
ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดศรีทอง
ในตัวเมืองอุบล มีท่าน
พระอริยกวี เป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านพระครูสีทา เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ท่านพระครูประจักษ์อุบลคุณ
เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖
พระอุปัชฌายะให้นามฉายาว่า ภูริทัตโต เมื่ออุปสมบท
แล้วได้มาอยู่ในสำนักวิปัสสนากับท่านพระอาจารย์เสาร์
กันตสีโล วัดเลียบ เมืองอุบล
เกิดสุบินนิมิต
เมื่อท่านเริ่มปฏิบัติวิปัสสนาใหม่ ๆ
ในสำนักพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ
อุบลราชธานี ท่านบริกรรมภาวนาด้วยบท พุทโธ
ประจำนิสัยที่ชอบกว่าบรรดาบทธรรมอื่น ๆ
ในขั้นเริ่มแรกยังไม่ปรากฏเป็น
ความสงบสุขมากเท่าที่ควร ทำให้มีความสงสัย
ในปฏิปทาว่าจะถูกหรือผิดประการใด แต่มิได้ลดละ
ความเพียรพยายาม ในระยะต่อมาผลปรากฏเป็น
ความสงบพอให้ใจเย็นบ้าง
ในคืนวันหนึ่งเกิดสุบินนิมิตว่า
ท่านออกเดินทางจากหมู่บ้านเข้าสู่ป่า
ใหญ่อันรกชัฏที่เต็มไปด้วยขวากหนามจน
จะหาที่ด้นดั้นผ่านไปแทบไม่ได้
ท่านพยายามซอกซอนไปตามป่านั้นจนพ้นไปได้
โดยปลอดภัย พอพ้นจากป่าไปก็ถึงทุ่งกว้างจนสุดสายตา
เดินตามทุ่งไปโดยลำดับไม่ลดละความพยายาม
ขณะที่เดินตามทุ่งไป
ได้พบไม้ต้นหนึ่งชื่อต้นชาติ ซึ่งเขาตัดล้มเอง ขอนจมดิน
อยู่เป็นเวลานานปี เปลือกและกระพี้ผุพังไปบ้างแล้ว
ไม้ต้นนั้นรู้สึกใหญ่โตมาก ท่านเองก็ปีนขึ้น
และไต่ไปตามขอนชาติที่ล้มนอนอยู่นั้น พร้อม
ทั้งพิจารณาอยู่ภายใน และรู้ขึ้นมาว่า ไม้นี้จะ
ไม่มีการงอกขึ้นได้อีก ซึ่งเทียบกับชาติของท่านว่าจะ
ไม่กำเริบให้เป็นภพ-ชาติสืบต่อไปอีกแน่นอน
คำว่า ขอนชาติ ท่านพิจารณาเทียบกับ
ชาติ ความเกิดของท่านที่เคยเป็นมา
ที่ขอนชาติผุพังไปไม่กลับงอกขึ้นได้อีก
เทียบกับชาติของท่านว่าจะมีทางสิ้นสุดในอัตภาพนี้แน่
ถ้าไม่ลดละความพยายามเสีย
ทุ่งนี้เวิ้งว้างกว้างขวางเทียบกับความ
ไม่มีสิ้นสุดแห่งวัฏวนของมวลสัตว์
ขณะที่กำลังยืนพิจารณาอยู่
ปรากฏว่ามีม้าสีขาวตัวหนึ่งรูปร่างใหญ่และสูงเดิน
เข้ามาเทียบที่ขอนชาตินั้น ท่านนึกอยากจะขี่ม้าขึ้นมา
ในขณะนั้น เลยปีนขึ้นบนหลังม้าตัวแปลกประหลาดนั้น
ขณะนั้นปรากฏว่าม้า
ได้พาท่านวิ่งไปอย่างเต็มกำลังฝีเท้า ท่านเองก็มิได้นึกว่า
จะไปเพื่อประโยชน์อะไร ณ ที่ใด
แต่ม้าก็พาท่านวิ่งไปอย่างไม่ลดละฝีเท้า โดย
ไม่กำหนดทิศทางและสิ่งที่ตนพึงประสงค์ใด ๆ ในขณะ
นั้น ระยะทางที่ม้าพาวิ่งไปตามทุ่งอันกว้างขวางนั้น
รู้สึกว่าไกลแสนไกลโดยไม่อาจจะคาดได้
ขณะที่ม้ากำลังวิ่งไปนั้น ได้แลเห็นตู้ใบหนึ่ง
ในความรู้สึกว่าเป็นตู้พระไตรปิฎกซึ่งวิจิตร
ด้วยเงินสีขาวงดงามมาก ม้าได้พาท่านตรงเข้าไปสู่ตู้นั้น
โดยมิได้บังคับ พอถึงตู้พระไตรปิฎกม้าก็หยุด
ท่านก็รีบลงจากหลังม้าทันทีด้วยความหวัง
จะเปิดดูตู้พระไตรปิฎกที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้า ส่วนม้าก็
ได้หายตัวไปในขณะนั้น โดยมิได้กำหนดว่าได้หายไป
ในทิศทางใด
ท่านได้เดินตรง
เข้าไปหาตู้พระไตรปิฎกที่ตั้งอยู่ที่สุดของทุ่งอันกว้างนั้น
ซึ่งมองจากนั้นไปเห็นมีแต่ป่ารกชัฏที่เต็มไป
ด้วยขวากหนามต่าง ๆ ไม่มีช่องทางพอจะเดินต่อไปอีก
ได้ แต่มิทันจะเปิดดูตู้พระไตรปิฎกว่ามีอะไรอยู่ข้าง
ในบ้าง เลยรู้สึกตัวตื่นขึ้น
สุบินนิมิตนั้นเป็นเครื่องแสดงความมั่นใจว่า
จะมีทางสำเร็จตามใจหวังอย่างแน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น
ถ้าไม่ลดละความเพียรพยายามเสียเท่านั้น
จากนั้นท่านได้ตั้งหน้าประกอบ
ความเพียรอย่างเข้มแข็ง มีบท พุทโธ
เป็นคำบริกรรมประจำใจในอิริยาบถต่าง ๆ อย่างมั่นใจ
ส่วนธรรมคือธุดงควัตรที่ท่านศึกษา
เป็นประจำด้วยความรักสงวนอย่างยิ่งตลอดมา
นับแต่เริ่มอุปสมบทจนถึงวันสุดท้ายปลายแดนแห่งชีวิต
ได้แก่
ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ไม่รับคหปติจีวรที่
เขาถวายด้วยมือ ๑
บิณฑบาตเป็นวัตร ประจำวันไม่ลดละ
เว้นเฉพาะวันที่ไม่ฉันเลยก็ไม่ไป ๑
ไม่รับอาหารที่ตามส่งทีหลัง คือรับเฉพาะที่
ได้มาในบาตร ๑
ฉันมื้อเดียว คือฉันวันละหน ไม่มีอาหารว่าง
ใด ๆ ที่เป็นอามิสเข้ามาปะปนในวันนั้น ๆ ๑
ฉันในบาตร คือมีภาชนะใบเดียวเป็นวัตร ๑
อยู่ในป่าเป็นวัตร คือเที่ยว
อยู่ตามร่มไม้บ้าง ในป่าธรรมดา ในภูเขาบ้าง หุบเขาบ้าง
ในถ้ำ ในเงื้อมผาบ้าง ๑
ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร คือมีผ้า ๓ ผืน
ได้แก่ สังฆาฏิ จีวร สบง (เว้นผ้าอาบน้ำฝนซึ่งจำเป็น
ต้องมีในสมัยนี้) ๑
ธุดงค์นอกจากนี้ท่านก็สมาทานและปฏิบัติ
เป็นบางสมัย ส่วน ๗ ข้อนี้ท่านปฏิบัติเป็นประจำ
จนกลายเป็นนิสัยซึ่งจะหาผู้เสมอได้ยากในสมัยปัจจุบัน
ท่านมีนิสัยทำจริงในงานทุกชิ้น
ทั้งกิจนอกการในไม่เหลาะแหละ มี
ความมุ่งหวังต่อแดนหลุดพ้นอย่างเต็มใจ ในอิริยาบถต่าง
ๆ เต็มไปด้วยความพากเพียรเพื่อถอดถอนกิเลสทางภาย
ใน ไม่มีความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมเข้ามาแอบแฝงได้ ทั้ง ๆ
ที่มีกิเลสเหมือนสามัญชนทั่ว ๆ ไป เพราะท่าน
ไม่ยอมปล่อยใจให้กิเลสย่ำยีได้ มีการต้านทานห้ำหั่น
ด้วยความเพียรอย่างไม่ลดละ ซึ่งผิดกับคนธรรมดา
อยู่มาก (ตามท่านเล่าให้ฟังในเวลาบำเพ็ญ)
ในระยะต่อมาที่แน่ใจว่าจิตมีหลักฐานมั่นคงพอ
จะพิจารณาได้แล้ว ท่านจึงย้อนมาพิจารณาสุบินนิมิตจน
ได้ความโดยลำดับว่า
การออกบวชปฏิบัติตนสมควรแก่ธรรมก็
เท่ากับการยกระดับจิตให้พ้นจากความผิดมีประเภทต่าง
ๆ ซึ่งเปรียบเหมือนบ้านเรือน อันเป็นที่รวมแห่งสรรพทุกข์
และป่าอันรกชัฏทั้งหลายอันเป็นที่ซุ่มซ่อนแห่งภัยทั้งปวง
ให้ถึงที่เวิ้งว้างไม่มีจุดหมาย ซึ่งเมื่อเข้าถึงแล้ว
เป็นคุณธรรมที่แสนสบายหายกังวลโดยประการทั้งปวง
ด้วยปฏิปทาข้อปฏิบัติที่เปรียบเหมือนม้าตัวองอาจ
เป็นพาหนะขับขี่ไปถึงที่อันเกษม
และพาไปพบตู้พระไตรปิฎกอันวิจิตรสวยงาม แต่วาสนา
ไม่อำนวยสมบูรณ์ จึงเป็นเพียงได้เห็น แต่มิ
ได้เปิดตู้พระไตรปิฎกออกชมอย่างสมใจเต็มภูมิแห่งจตุปฏิสัมภิทาญาณ
ทั้งสี่ อันเป็นคุณธรรมยังผู้เข้าถึงให้เป็น
ผู้ฉลาดปราดเปรื่องเลื่องลือระบือทั่วไตรโลกธาตุ มี
ความฉลาดกว้างขวาง
ในอุบายวิธีประหนึ่งท้องฟ้ามหาสมุทร ไม่มีความคับแ
ค้นจนมุมในการอบรมสั่งสอนหมู่ชนทั้งเทวดา
และมนุษย์ทุกชั้น
แต่เพราะกรรมอันดีเยี่ยมไม่เพียงพอ
บารมีไม่ให้ โอกาสวาสนาไม่อำนวย จึงเป็นเพียง
ได้ชมตู้พระไตรปิฎก และตกออกมาเป็นผลให้ท่าน
ได้รับเพียงชั้นปฏิสัมภิทานุศาสน์ มีเชิงฉลาด
ในเทศนาวิธีอันเป็นบาทวิถีแก่หมู่ชนพอเป็นปากเป็นทาง
เท่านั้น ไม่ลึกซึ้งกว้างขวางเท่าที่ควร
ทั้งนี้แม้ท่านจะพูดว่า
การสั่งสอนของท่านพอเป็นปากเป็นทางอัน
เป็นเชิงถ่อมตนก็ตาม แต่บรรดาผู้ที่
ได้เห็นปฏิปทาคือข้อปฏิบัติที่ท่านพาดำเนิน
และธรรมะที่ท่านนำมาอบรมสั่งสอน แต่ละบทละบาท
แต่ละครั้งละคราว ล้วนเป็นความซาบซึ้งใจไพเราะเหลือ
จะพรรณนาและยากที่จะได้เห็นได้ยินจากที่อื่นใด
ในสมัยปัจจุบัน ซึ่งเป็นสมัยที่ต้องการคนดีอยู่มาก
เกิดสมาธินิมิต
เมื่อท่านพักอบรมภาวนาด้วยบทพุทโธ
อยู่ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลฯ ขณะที่จิตสงบลง ปรากฏ
เป็นอุคหนิมิตขึ้นมาในลักษณะคนตายอยู่ต่อหน้า
แสดงอาการพุพองมีน้ำเน่าน้ำหนองไหลออกมา มีแร้งกา
และสุนัขมากัดกินและยื้อแย่งกันอยู่ต่อหน้าท่าน จนซาก
นั้นกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ เป็นที่น่าเบื่อหน่าย
และสลดสังเวชเหลือประมาณในขณะนั้น
เมื่อจิตถอนขึ้นมา ในวาระต่อไปไม่ว่า
จะนั่งภาวนา เดินจงกรม หรืออยู่ในท่าอิริยาบถใด
ท่านก็ถือเอานิมิตนั้นเป็นเครื่องพิจารณาโดยสม่ำเสมอ
ไม่ลดละ จนนิมิตแห่งคนตายนั้นได้กลับกลายมา
เป็นวงแก้วอยู่ต่อหน้าท่าน
เมื่อเพ่งพิจารณาวงแก้วนั้นหนัก ๆ
เข้าก็ยิ่งแปรสภาพไปต่าง ๆ ไม่มีทางสิ้นสุด
ท่านพยายามติดตามก็ยิ่งปรากฏเป็นรูปร่างต่าง ๆ จน
ไม่มีประมาณว่าความสิ้นสุดแห่งภาพนิมิตจะยุติลง ณ ที่
ใด ยิ่งเพ่งพิจารณาก็ยิ่งแสดงอาการต่าง ๆ ไม่มีสิ้นสุด
โดยเป็นภูเขาสูงขึ้นเป็นพัก ๆ บ้าง
ปรากฏว่าองค์ท่านสะพายดาบอันคมกล้าและเท้า
ทั้งสองมีรองเท้าสวมอยู่บ้าง แล้วเดินไป-มาบนภูเขา
นั้นบ้าง ปรากฏเห็นกำแพงขวางหน้ามีประตูบ้าง
ท่านเปิดประตูเข้าไปดูเห็นมีที่นั่งและที่อยู่ของพระ ๒-๓
รูป กำลังนั่งสมาธิอยู่บ้าง บริเวณกำแพงนั้นมีถ้ำ
และเงื้อมผาบ้าง มีดาบสอยู่ในถ้ำนั้นบ้าง มียนต์คล้ายอู่
มีสายหย่อนลงมาจากหน้าผาบ้าง
ปรากฏว่าท่านขึ้นสู่อู่ขึ้นไปบนภูเขาบ้าง มีสำเภาใหญ่
อยู่บนภูเขาบ้าง เห็นโต๊ะสี่เหลี่ยมอยู่ในสำเภาบ้าง
มีประทีปความสว่างอยู่บริเวณรอบ ๆ หลังเขานั้นบ้าง
ปรากฏว่าท่านฉันจังหันอยู่บนภูเขานั้นบ้าง จนไม่อาจ
จะตามรู้ตามเห็นให้สิ้นสุดลงได้
สิ่งที่ท่านได้เห็นเกี่ยวกับนิมิตเป็นเหตุ
ให้รู้สึกว่ามีมากมาย จนไม่อาจจะนำมากล่าวจบสิ้นได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 20:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพิจารณาในทำนองนี้ถึง ๓ เดือน
โดยการเข้า ๆ ออก ๆ ทางสมาธิภาวนา พิจารณาไป
เท่าไร ก็ยิ่งรู้ยิ่งเห็นสิ่งที่จะมาปรากฏจนไม่มีทางสิ้นสุด
แต่ผลดีปรากฏจากการพิจารณา ไม่ค่อยมีพอ
เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องและแน่ใจ
เมื่อออกจากสมาธิประเภทนี้แล้ว
ขณะกระทบกับอารมณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปก็เกิด
ความหวั่นไหว คือทำให้ดีใจ เสียใจ รักชอบ
และเกลียดชังไปตามเรื่องของอารมณ์นั้น ๆ หา
ความเที่ยงตรงคงตัวอยู่มิได้
จึงเป็นเหตุให้ท่านสำนึกในความเพียร
และสมาธิที่เคยบำเพ็ญมาว่า คงไม่ใช่ทางแน่ ถ้าใช่
ทำไมถึงไม่มีความสงบเย็นใจและดำรงตนอยู่ด้วย
ความสม่ำเสมอ แต่ทำไมกลับกลาย
เป็นใจที่วอกแวกคลอนแคลนไปตามอารมณ์ต่าง ๆ
ไม่มีประมาณ ซึ่งไม่ผิดอะไรกับคนที่เขามิ
ได้ฝึกหัดภาวนาเลย ชะรอยจะเป็นความรู้
ความเห็นที่ส่งออกนอก
ซึ่งผิดหลักของการภาวนาไปกระมัง? จึงไม่เกิดผลแก่ใจ
ให้ได้รับความสงบสุขเท่าที่ควร
ท่านจึงทำความเข้าใจเสียใหม่
โดยย้อนจิตเข้ามาอยู่ในวงแห่งกาย ไม่ส่งใจไปนอก
พิจารณาอยู่เฉพาะกาย ตามเบื้องบน เบื้องล่าง
ด้านขวาง สถานกลาง โดยรอบ ด้วย
ความมีสติตามรักษา โดยการเดินจงกรมไป-มา
มากกว่าอิริยาบถอื่น ๆ
แม้เวลานั่งทำสมาธิภาวนาเพื่อพักผ่อนให้หายเมื่อยบ้าง
เป็นบางกาล ก็ไม่ยอมให้จิตรวมสงบลงดังที่เคยเป็นมา
แต่ให้จิตพิจารณาและท่องเที่ยวอยู่ตามร่างกายส่วนต่าง
ๆ เท่านั้น ถึงเวลาพักผ่อนนอนหลับก็ให้หลับ
ด้วยพิจารณากายเป็นอารมณ์
พยายามพิจารณาตามวิธีนี้อยู่หลายวัน
จึงตั้งท่านั่งขัดสมาธิ พิจารณาร่างกายเพื่อให้ใจสงบ
ด้วยอุบายนี้ อันเป็นเชิงทดลองดูว่าจิตจะสงบแบบไหน
กันอีกแน่
ความที่จิตไม่ได้พักสงบตัวเลย
เป็นเวลาหลายวัน พร้อมกับได้รับอุบายวิธีที่ถูกต้อง
เข้ากล่อมเกลา จิตจึงรวมสงบลงได้อย่างรวดเร็ว
และง่ายดายผิดปกติ
ขณะที่จิตรวมสงบตัวลงไป
ปรากฏว่าร่างกายได้แตกออกเป็นสองภาค และรู้ขึ้นมา
ในขณะนั้นว่า “นี้เป็นวิธีที่ถูกต้องแน่นอนแล้วไม่สงสัย”
เพราะขณะที่จิตรวมลงไปมีสติประจำตัวอยู่กับที่
ไม่เหลวไหลและเที่ยวเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ ดังที่เคย
เป็นมา
และนี้คืออุบายที่แน่ใจว่าเป็นความถูกต้อง
ในขั้นแรกของการปฏิบัติ
ในวาระต่อไป ก็ถืออุบายนี้
เป็นเครื่องดำเนินไม่ลดละ จนสามารถทำความสงบใจ
ได้ตามต้องการ และมี
ความชำนิชำนาญขึ้นไปตามกำลังแห่งความเพียร
ไม่ลดหย่อนอ่อนกำลัง
นับว่าได้หลักฐานทางจิตใจที่มั่นคง
ด้วยสมาธิ ไม่หวั่นไหวคลอนแคลนอย่างง่ายดาย
ไม่เหมือนคราวบำเพ็ญตามนิมิตในขั้นเริ่มแรก ซึ่งทำ
ให้เสียเวลาไปเปล่าตั้ง ๓ เดือน
โทษแห่งความไม่มีครูอาจารย์ผู้ฉลาดคอย
ให้อุบายสั่งสอน ย่อมมีทางเป็นไปต่าง ๆ
ดังที่เคยพบเห็นมาแล้วนั้นแล อย่างน้อยก็ทำให้ล่าช้า
มากกว่านั้นก็ทำให้ผิดทาง และมีทางเสียไปได้อย่าง
ไม่มีปัญหา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 21:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านเล่าว่า
สมัยที่ท่านออกบำเพ็ญกรรมฐานภาวนาครั้งโน้น
ไม่มีใครสนใจทำกันเลย ในความรู้สึกของประชาชนสมัย
นั้น คล้ายกับว่า การบำเพ็ญกรรมฐาน
เป็นของแปลกปลอม ไม่เคยมีในวงของพระ
และพระศาสนาเลย
แม้แต่ชาวบ้านเองพอมองเห็นพระกรรมฐานเดินธุดงค์ไป
ซึ่งอยู่ห่างกันคนละฟากทุ่งนา เขายังพากันแตกตื่น
และกลัวกันมาก
ถ้าอยู่ใกล้หมู่บ้านก็จะพากันวิ่งเข้าบ้าน
กันหมด ถ้าอยู่ใกล้ป่าก็พากันวิ่งเข้าหลบซ่อนในป่า
กันหมด ไม่กล้ามายืนซึ่ง ๆ หน้า พอให้เรา
ได้ถามหนทางที่จะไปสู่หมู่บ้าน ตำบลต่าง ๆ บ้างเลย
บางครั้งเราเดินทางไปเจอกับพวก
ผู้หญิงที่กำลังเที่ยวหาอยู่หากิน
เที่ยวเก็บผักหาปลาตามป่าตามภูเขา ซึ่งมีเด็ก ๆ ติดไป
ด้วย พอมองเห็นพระธรรมกรรมฐานเดินมา
เสียงร้องลั่นบอกกันด้วยความตกใจกลัวว่า
“พระธรรมมาแล้ว” พร้อมกับทิ้งหาบหรือสิ่งของ
อยู่บนบ่าลงพื้นดินเสียงดังตูมตาม โดย
ไม่อาลัยเสียดายว่าอะไรจะแตก อะไรจะเสียหาย
ส่วนตัวก็ต่างคนต่างวิ่งหาที่หลบซ่อน ถ้าอยู่ใกล้ป่าหรือ
อยู่ในป่าก็พากันวิ่งเข้าป่า ถ้าอยู่ใกล้หมู่บ้านก็พากันวิ่ง
เข้าบ้าน
ส่วนเด็ก ๆ ที่ไม่รู้เดียงสาเห็นผู้
ใหญ่ร้องโวยวายและต่างคนต่างวิ่งหนี
เจ้าตัวก็ร้องไห้วิ่งไปวิ่งมาอยู่บริเวณนั้น โดย
ไม่มีใครกล้าออกมารับเอาเด็กไปด้วยเลย เด็กจะวิ่งตาม
ผู้ใหญ่ก็ไม่ทัน เลยต้องวิ่งหันรีหันขวางอยู่แถว ๆ นั้นเอง
ซึ่งน่าขบขันและน่าสงสารเด็กที่ไม่เดียงสา
ซึ่งร้องไห้วิ่งตามหาผู้ใหญ่ด้วยความตกใจและความกลัว
เป็นไหน ๆ
ส่วนพระธรรมท่านเห็นท่าไม่ดี กลัวเด็ก
จะกลัวมากและร้องไห้ใหญ่ ก็ต้องรีบก้าวเดินเพื่อผ่านไป
ให้พ้น ถ้าขืนไปถามเด็กเข้าคงได้เรื่องแน่ ๆ คือเด็กยิ่ง
จะกลัวและร้องไห้วิ่งไปวิ่งมา และยิ่งจะร้องไห้ใหญ่ไปทั่ว
ทั้งป่า ส่วนผู้ใหญ่ที่เป็นแม่ของเด็กก็ยืนตัวสั่นอยู่
ในป่าอย่างกระวนกระวาย ทั้งกลัวพระธรรมกรรมฐาน
ทั้งกลัวเด็กจะวิ่งเตลิดเปิดเปิงหนีไปที่อื่นอีก ใจเลยไม่
เป็นใจเพราะความกระวนกระวายคิดถึงลูก
เวลาพระธรรมผ่านไปแล้ว แม่วิ่งหาลูก
ลูกวิ่งหาแม่วุ่นวายไปตาม ๆ กัน กว่าจะออกมาพบหน้า
กันทุกคนบรรดาที่ไปด้วยกัน
ประหนึ่งบ้านแตกสาแหรกขาดไปพักหนึ่ง
พอออกมาครบถ้วนหน้าแล้ว ต่างก็พูดและหัวเราะกัน
ถึงเรื่องชุลมุนวุ่นวาย เพราะ
ความกลัวพระธรรมกรรมฐานไปยกใหญ่ ก่อนที่
จะเที่ยวหากินตามปกติ
เรื่องเป็นเช่นนี้โดยมาก
คนสมัยที่ท่านออกธุดงคกรรมฐาน เขาไม่เคยพบเคยเห็น
กันเลย จึงแสดงอาการตื่นเต้นตกใจและกลัวกันสำหรับ
ผู้หญิงและเด็ก ๆ ฉะนั้น เมื่อคบกันในขั้นเริ่มแรกจึง
ไม่ค่อยมีใครสนใจธรรมะกับพระธุดงค์นัก นอกจาก
จะกลัวกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้อาจจะเป็น
เพราะเหตุหลายประการ เช่น มารยาทท่านก็อยู่
ในอาการสำรวม เคร่งขรึม ไม่ค่อยแสดงความคุ้น
กับใครนัก ถ้าไม่คบกันนาน ๆ จนรู้นิสัยกันดีก่อนแล้ว
และผ้าสังฆาฏิ จีวร สงบ อังสะ และบริขารอื่น ๆ
โดยมากย้อมด้วยสีกรัก คือสีแก่นขนุน ซึ่ง
เป็นสีฉูดฉาดน่ากลัวมากกว่าจะน่าเลื่อมใส
เวลาออกเดินทางเพื่อเจริญสมณธรรม
ในที่ต่าง ๆ ท่านครองจีวรสีแก่นขนุน
บ่าข้างหนึ่งแบกกลด ซึ่งมีขนาด
ใหญ่กว่าร่มธรรมดาที่โลก ๆ ใช้กันทั่ว ๆ ไป
บ่าข้างหนึ่งสะพายบาตร ถ้ามีด้วยกันหลายองค์
เวลาออกเดินทางท่านเดินตามหลังกันเป็นแถว
ครองจีวรสีกรักคล้ายสีน้ำตาล เห็นแล้วน่าคิดน่าทึ่งอยู่
ไม่น้อยสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยพบเห็นมาก่อน
และน่าเลื่อมใสสำหรับผู้ที่เคยรู้อัธยาศัย
และจริยธรรมท่านมาแล้ว
ประชาชนที่ยังไม่สนิทกับท่านจะเกิด
ความเลื่อมใสก็ต่อเมื่อท่านไปพักอยู่นาน ๆ เขา
ได้รับคำชี้แจงจากท่านด้วยอุบายต่าง ๆ
หลายครั้งหลายคราว
นานไปใจก็ค่อยโอนอ่อนต่อเหตุผลอรรถธรรมไปเอง
จนเกิดความเชื่อเลื่อมใส กลายเป็นผู้มีธรรมในใจ มี
ความเคารพเลื่อมใสในครูอาจารย์ผู้
ให้โอวาทสั่งสอนอย่างถึงใจ ก็มีจำนวนมาก
พระธุดงค์
ผู้มุ่งปฏิบัติเพื่ออรรถเพื่อธรรมจริง ๆ เข้าถึงใจประชาชน
ได้ดีและทำประโยชน์ได้มาก โดยไม่อาศัยคำโฆษณา
แต่การประพฤติปฏิบัติตัวโดยสามีจิกรรมย่อม
เป็นเครื่องดึงดูดจิตใจผู้อื่นให้เกิดความสนใจไปเอง
การเที่ยวแสวงหาที่วิเวกเพื่อ
ความสงัดทางกายทางใจ ไม่พลุกพล่านวุ่นวาย
ด้วยเรื่องต่าง ๆ
เป็นกิจวัตรประจำนิสัยของพระธุดงคกรรมฐาน
ผู้มุ่งอรรถธรรมทางใจ ดังนั้น พอออกพรรษาแล้ว
ท่านพระอาจารย์มั่นจึงชอบออกเที่ยวธุดงค์ทุก ๆ ปี
โดยเที่ยวไปตามป่าตามภูเขา ที่มีหมู่บ้านพอ
ได้อาศัยโคจรบิณฑบาต
ทางภาคอีสานท่านชอบเที่ยวมากกว่าทุก ๆ
ภาค เพราะมีป่ามีภูเขามาก เช่น จังหวัดนครพนม
สกลนคร อุดรธานี หนองคาย เลย หล่มสัก
และทางฝั่งแม่น้ำโขงของประเทศลาว เช่น ท่าแขก
เวียงจันทน์ หลวงพระบาง ที่มีป่าเขาชุกชุมมาก
เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม
การบำเพ็ญเพียรในท่าอิริยาบถต่าง ๆ นั้น
ไม่ว่าท่านจะพักอยู่ในสถานที่ใด ไม่มีการลดละ
ทั้งกลางวันกลางคืน ถือเป็นงานสำคัญยิ่งกว่างานอื่นใด
เพราะนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่น
ไม่ชอบทางการก่อสร้างมาแต่เริ่มแรก
ท่านชอบการบำเพ็ญเพียรทางใจโดยเฉพาะ และ
ไม่ชอบเกาะเกี่ยวกับเพื่อนฝูงและหมู่ชน ชอบ
อยู่ลำพังคนเดียว มีความเพียรเป็นอารมณ์ทางใจ
มีศรัทธามุ่งมั่นต่อแดนพ้นทุกข์อย่างแรงกล้า ดังนั้น
เวลาท่านทำอะไรจึงชอบทำจริงเสมอ
ไม่มีนิสัยโกหกหลอกลวงตนเองและผู้อื่น
การบำเพ็ญเพียรของท่าน
เป็นเรื่องอัศจรรย์ไปตลอดสาย ทั้งมีความขยัน ทั้งมี
ความทรหดอดทนและมีนิสัยชอบใคร่ครวญ
จิตท่านปรากฏมีความก้าวหน้าทางสมาธิ
และทางปัญญาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ล่าถอย
และเสื่อมโทรม
การพิจารณากายนับแต่วันที่ท่านได้อุบาย
จากวิธีที่ถูกต้องในขั้นเริ่มแรกมาแล้ว ไม่ยอม
ให้เสื่อมถอยลงได้เลย ท่านยึดมั่นในอุบายวิธี
นั้นอย่างมั่นคง และพิจารณากายซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนเกิด
ความชำนิชำนาญ แยกส่วนแบ่งส่วนแห่งกายให้เป็นชิ้น
เล็กชิ้นใหญ่และทำลายลงด้วยปัญญาได้ตามต้องการ
จิตยิ่งนับวันหยั่งลงสู่ความสงบเย็นใจไปเป็นระยะ
ไม่ขาดวรรคขาดตอน เพราะความเพียรหนุนหลัง
อยู่ตลอดเวลา
ท่านเล่าว่า ท่านไปที่ใด อยู่ที่ใด ใจท่านมิ
ได้เหินห่างจากความเพียร แม้ไปบิณฑบาต กวาดลานวัด
ขัดกระโถน ทำความสะอาด เย็บผ้า ย้อมผ้า เดินไปมา
ในวัด นอกวัด ตลอดการขบฉัน ท่านทำความรู้สึกตัวอยู่
กับความเพียรทุกขณะที่เคลื่อนไหว ไม่ยอม
ให้เปล่าประโยชน์จากการเคลื่อนไหวใด ๆ ทั้งสิ้น นอก
จากเวลาหลับนอนเท่านั้น แม้เช่นนั้น ท่านยังตั้งใจ
ไว้เมื่อรู้สึกตัวจะรีบลุกขึ้นไม่ยอมนอนซ้ำอีก จะเป็น
ความเคยตัวต่อไปและจะแก้ไขได้ยาก
ตามปกตินิสัย
พอรู้สึกตัวท่านรีบลุกขึ้นล้างหน้าแล้วเริ่มประกอบ
ความเพียรต่อไป ขณะที่ตื่นนอนขึ้นมาและล้างหน้าเสร็จ
แล้ว ถ้ายังมีอาการง่วงเหงาอยู่ ท่านไม่ยอมนั่งสมาธิ
ในขณะนั้น กลัวจะหลับใน ท่านต้องเดินจงกรมเพื่อแก้
ความโงกง่วงที่คอยแต่จะหลับในเวลาเผลอตัว
การเดินจงกรม ถ้าก้าวขาไปช้า ๆ ยังไม่อาจระงับ
ความง่วงเหงาได้ ท่านต้องเร่งฝีก้าวให้เร็วขึ้นจน
ความง่วงหายไป เมื่อรู้สึกเมื่อยเพลียและไม่มี
ความง่วงเหลืออยู่ในเวลานั้น ท่านถึงจะออก
จากทางจงกรมเข้ามาที่พักหรือกุฏิ
แล้วนั่งสมาธิภาวนาต่อไปจนสมควรแก่กาล
เมื่อถึงเวลาบิณฑบาตก็เตรียมนุ่งสบง
ทรงจีวร ซ้อนสังฆาฏิ สะพายบาตรขึ้นบนบ่า
ออกบิณฑบาตในหมู่บ้านโดยอาการสำรวม ทำ
ความรู้สึกตัวกับความเพียรไปตลอดสาย บิณฑบาต
ทั้งไปและกลับถือเป็นการเดินจงกรมไปในตัว
มีสติประคองใจ ไม่ปล่อย
ให้เพ่นพ่านโลเลไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไป
เมื่อกลับถึงที่พักหรือวัดแล้ว
เตรียมจัดอาหารที่ได้มาจากบิณฑบาตลงในบาตร
ตามปกติท่านไม่ยอมรับอาหารที่ศรัทธาตามมาส่ง
ท่านรับและฉันเฉพาะที่บิณฑบาตได้มาเท่านั้น
ตอนชรามากแล้วท่านถึงอนุโลมผ่อนผัน
คือรับอาหารที่ศรัทธานำมาถวาย ฉะนั้น
อาหารนอกบาตรจึงไม่มีในระยะนั้น
เมื่อเตรียมอาหารใส่ลงในบาตรเสร็จแล้ว
เริ่มพิจารณาปัจจเวกขณะเพื่อระงับดับไฟนรก
คือตัณหาอันอาจแทรกขึ้นมาตามความหิวโหยได้ในขณะ
นั้น คือจิตอาจบริโภคด้วยอำนาจตัณหาความสอดส่าย
ในอาหารประณีตบรรจง และมีรสเอร็ดอร่อย โดยมิ
ได้คำนึงถึงความเป็นธาตุและปฏิกูลที่แฝงอยู่ในอาหาร
นั้น ๆ ด้วย ปฏิสังขา โยนิโส ฯลฯ เสร็จแล้วเริ่มฉัน
โดยธรรม มิให้เป็นไปด้วยตัณหาในทุก ๆ
ประโยคแห่งการฉัน จนเสร็จไปด้วยดี ซึ่งจัดว่ามีวัตร
ในการขบฉัน
หลังจากนั้นก็ล้างบาตร เช็ดบาตรให้แห้ง
แล้วผึ่งแดดชั่วคราวถ้ามีแดด และนำเข้าถลกยกไปไว้
ในสถานที่ควร แล้วเริ่มทำหน้าที่เผาผลาญกิเลส
ให้วอดวายหายซากไปเป็นลำดับ จนกว่าจะดับสนิท
ไม่มีพิษภัยเครื่องก่อกวนและรังควานจิตใจต่อไป
แต่การเตรียมเผากิเลสนี้รู้สึก
เป็นงานที่ยากเย็นเข็ญใจเหลือจะกล่าว เพราะแทนที่เรา
จะเผามันให้ฉิบหาย แต่มันกลับเผาเราให้ได้รับ
ความทุกข์ร้อนและตายจากคุณงาม
ความดีที่ควรบำเพ็ญไปอย่างสด ๆ ร้อน ๆ
และบ่อนทำลายเรา ทั้ง ๆ ที่เห็น ๆ มันอยู่ต่อหน้าต่อตา
แต่ไม่กล้าทำอะไรมันได้ เพราะกลัวจะลำบาก
ผลสุดท้ายมันก็ปีนขึ้นนั่งนอน
อยู่บนหัวใจเราจนได้ และเป็นเจ้าใหญ่นายโตตลอดไป
แทบจะไม่มีเพศมีวัยใด และความรู้ความฉลาดใดจะต่อสู้
และเอาชนะมันได้ โลกจึงยอมมันทั่วไตรภพ นอก
จากพระศาสดาเพียงองค์เดียวเท่า
นั้นที่ทำการกวาดล้างมันให้สิ้นซากไปจากใจได้
ไม่กลับแพ้อีกตลอดอนันตกาล
เมื่อพระองค์ทรงชนะแล้วก็ทรงแผ่เมตตา
แหวกหาหนทางเพื่อสาวกและหมู่ชน
ด้วยการประทานพระธรรมสั่งสอน
จนเกิดศรัทธาเลื่อมใสและปฏิบัติตามพระโอวาทด้วย
ความไม่ประมาทนอนใจ บำเพ็ญไป
ไม่ลดละตามรอยพระบาท คือแนวทางที่เสด็จผ่านไป ก็
สามารถตามเสด็จจนเสร็จสิ้นทางเดิน คือบรรลุ
ถึงพระนิพพาน ด้วยการดับกิเลสขาดจากสันดานกลาย
เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาเป็นลำดับลำดา ให้โลก
ได้กราบไหว้บูชาเป็นขวัญตาขวัญใจตลอดมา นี้คือท่าน
ผู้สังหารกิเลสตัวมหาอำนาจให้ขาดกระเด็นออกจากใจ
หายซากไปโดยแท้ ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น
ท่านพระอาจารย์มั่น
ท่านเจริญตามรอยพระบาทพระศาสดา มี
ความเพียรอย่างแรงกล้า มีศรัทธาเหนียวแน่น
ไม่พูดพล่ามทำเพลง
พอเสร็จภัตกิจแล้ว ท่านก้าว
เข้าสู่ป่าเดินจงกรมเพื่อสงบอารมณ์ในรมณียสถานอัน
เป็นที่ให้ความสุขสำราญทางภายใน ทั้งเดินจงกรม
ทั้งนั่งสมาธิภาวนา จนกว่าจะถึงเวลาอันควร
จึงพักผ่อนกายเพื่อคลายทุกข์ พอมีกำลังบ้าง
แล้วเริ่มทำงานเพื่อเผาผลาญกิเลสตัวก่อภพก่อชาติภาย
ในใจต่อไป ไม่ลดหย่อนอ่อนข้อให้กิเลสหัวเราะเย้ยหยัน
การทำสมาธิก็เข้มข้นเอาการ
การทำวิปัสสนาปัญญาก็หมุนตัวอย่างไม่หยุดยั้ง
ทั้งสมาธิและวิปัสสนาท่านดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่
ให้บกพร่องในส่วนใดส่วนหนึ่ง
จิตท่านได้รับความสงบสุขโดยสม่ำเสมอ
ที่มีช้าอยู่บ้างในบางกาล ตามที่ท่านเล่าว่า เพราะขาด
ผู้แนะนำในเวลาติดขัด ลำพังตนเองเพียงไปเจอ
เข้าแต่ละเรื่อง กว่าจะหาทางผ่านพ้นไปได้ก็
ต้องเสียเวลาไปหลายวัน ทั้งจำต้องใช้
ความพิจารณาอย่างมากและละเอียดถี่ถ้วน เพราะนอก
จากติดขัดจนไปไม่ได้แล้ว ยังกลับมาเป็นภัยแก่ตัวเองอีก
ด้วย หากมีผู้คอยเตือนและให้คำแนะนำในเวลาเช่น
นั้นบ้าง รู้สึกว่าไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลา และ
เป็นที่แน่ใจด้วย ฉะนั้น กัลยาณมิตรจึง
เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้กำลังอยู่
ในระหว่างแห่งการบำเพ็ญทางใจ ท่านเคยเห็นโทษของ
ความขาดกัลยาณมิตรมาแล้วว่าเป็นสิ่งไม่ดีเลย และเป็น
ความบกพร่องอย่างบอกไม่ถูก
ในบางครั้ง แม้มี
ความอบอุ่นว่าตนมีครูอาจารย์คอยให้ความร่มเย็น
อยู่ก็ตาม เวลาไปเที่ยวธุดงค์ในที่ต่าง ๆ
กับท่านพระอาจารย์เสาร์ผู้เป็นบุพพาจารย์
แต่เวลาเกิดข้อข้องใจขึ้นมา ไปกราบเรียนถามท่าน
ท่านก็ตอบว่า
ผมไม่เคยเป็นอย่างท่าน เพราะจิตท่าน
เป็นจิตที่ผาดโผนมาก เวลาเกิดอะไรขึ้นมาแต่ละครั้งมัน
ไม่พอดี เดี๋ยวจะเหาะขึ้นบนฟ้าบ้าง เดี๋ยวจะดำดินลงไป
ใต้พื้นพิภพบ้าง เดี๋ยวจะดำน้ำลงไปใต้ก้นมหาสมุทรบ้าง
เดี๋ยวจะโดดขึ้นไปเดินจงกรมอยู่บนอากาศบ้าง ใคร
จะไปตามแก้ทัน ขอให้ท่านใช้ความพิจารณา
และค่อยดำเนินไปอย่างนั้นแหละ
แล้วท่านก็ไม่ให้อุบายอะไรพอ
เป็นหลักยึดเลย ตัวเองต้องมาแก้ตัวเอง กว่าจะผ่านไป
ได้แต่ละครั้ง แทบเอาตัวไม่รอดก็มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 21:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอาจารย์เสาร์เข้าสมาธิแล้วตัวลอย
ท่านเล่าว่า นิสัยของท่านพระอาจารย์เสาร์
เป็นไปอย่างเรียบ ๆ และเยือกเย็นน่าเลื่อมใสมาก
ที่มีแปลกอยู่บ้างก็เวลาท่านเข้าที่นั่งสมาธิ
ตัวของท่านชอบลอยขึ้นเสมอ
บางครั้งตัวท่านลอยขึ้นไปจนผิดสังเกต
เวลาท่านนั่งสมาธิอยู่ ท่านเองเกิดความแปลกใจในขณะ
นั้นว่า “ตัวเราถ้าจะลอยขึ้นจากพื้นแน่ ๆ”
เลยลืมตาขึ้นดูตัวเอง ขณะนั้นจิตท่านถอนออก
จากสมาธิพอดี เพราะพะวักพะวงกับเรื่องตัวลอย
ท่านเลยตกลงมาก้นกระแทกกับพื้นอย่างแรง
ต้องเจ็บเอวอยู่หลายวัน
ความจริงตัวท่านลอยขึ้นจากพื้นจริง ๆ
สูงประมาณ ๑ เมตร ขณะที่ท่านลืมตาดูตัวเองนั้น จิต
ได้ถอนออกจากสมาธิ จึงไม่มีสติพอยับยั้งไว้บ้าง จึงทำ
ให้ท่านตกลงสู่พื้นอย่างแรง เช่นเดียวกับสิ่งต่าง ๆ ตกลง
จากที่สูง
ในคราวต่อไป เวลาท่านนั่งสมาธิ
พอรู้สึกตัวท่านลอยขึ้นจากพื้น ท่านพยายามทำสติให้อยู่
ในองค์ของสมาธิ แล้วค่อย ๆ ลืมตาขึ้นดูตัวเอง
ก็ประจักษ์ว่า ตัวท่านลอยขึ้นจริง ๆ แต่มิ
ได้ตกลงสู่พื้นเหมือนคราวแรก เพราะท่านมิได้ปราศ
จากสติและคอยประคองใจให้อยู่ในองค์สมาธิ ท่าน
จึงรู้เรื่องของท่านได้ดี
ท่านเป็นคนละเอียดถี่ถ้วนอยู่มาก แม้
จะเห็นด้วยตาแล้ว ท่านยังไม่แน่ใจ ต้องเอาวัตถุชิ้นเล็ก ๆ
ขึ้นไปเหน็บไว้บนหญ้าหลังกุฏิ แล้วกลับมาทำสมาธิอีก
พอจิตสงบและตัวเริ่มลอยขึ้นไปอีก
ท่านพยายามประคองจิตให้มั่นอยู่ในสมาธิ เพื่อตัวจะ
ได้ลอยขึ้นไปจนถึงวัตถุเครื่องหมายที่ท่านนำขึ้นไปเหน็บ
ไว้ แล้วค่อย ๆ เอื้อมมือจับด้วยความมีสติ แล้วนำวัตถุ
นั้นลงมาโดยทางสมาธิภาวนา คือพอหยิบได้วัตถุนั้น
แล้วก็ค่อย ๆ ถอนจิตออกจากสมาธิ เพื่อกายจะได้ค่อย
ๆ ลงมาจนถึงพื้นอย่างปลอดภัย แต่ไม่ถึงกับ
ให้จิตถอนออกจากสมาธิจริง ๆ เมื่อได้ทดลองจน
เป็นที่แน่ใจแล้ว ท่านจึงเชื่อตัวเองว่าตัวท่านลอยขึ้น
ได้จริงในเวลาเข้าสมาธิในบางครั้ง แต่มิ
ได้ลอยขึ้นเสมอไป นี้
เป็นจริตนิสัยแห่งจิตของท่านพระอาจารย์เสาร์ รู้สึกผิด
กับนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นอยู่มากในปฏิปทาทางใจ
จิตของท่านพระอาจารย์เสาร์
เป็นไปอย่างเรียบ ๆ สงบเย็นโดยสม่ำเสมอ
นับแต่ขั้นเริ่มแรกจน
ถึงสุดท้ายปลายแดนแห่งปฏิปทาของท่าน
ไม่ค่อยล่อแหลมต่ออันตราย และไม่ค่อยมีอุบายต่าง ๆ
และความรู้แปลก ๆ เหมือนจิตท่านพระอาจารย์มั่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 21:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพระอาจารย์เสาร์เดิมปรารถนา
เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
ท่านเล่าว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์
เดิมท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
เวลาออกบำเพ็ญพอเร่งความเพียรเข้ามาก ๆ
ใจรู้สึกประหวัด ๆ ถึงความปรารถนาเดิม เพื่อความ
เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แสดงออกเป็นเชิงอาลัยเสียดาย
ยังไม่อยากไปนิพพาน ท่านเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อ
ความเพียรเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้
ท่านเลยอธิษฐานของดจากความปรารถนานั้น
และขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้
ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานในภพชาติต่าง ๆ
อีกต่อไป
พอท่านปล่อยวางความปรารถนาเดิมแล้ว
การบำเพ็ญเพียรรู้สึกสะดวกแลเห็นผลไปโดยลำดับ
ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวเหมือนแต่ก่อน
สุดท้ายท่านก็บรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดังใจหมาย
แต่การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ท่านไม่ค่อยมี
ความรู้แตกฉานกว้างขวางนัก ทั้งนี้อาจจะ
เป็นไปตามภูมินิสัยเดิมของท่านที่มุ่ง
เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้เองชอบ แต่
ไม่สนใจสั่งสอนใครก็ได้ อีกประการหนึ่ง ที่ท่านกลับ
ความปรารถนาได้สำเร็จตามใจนั้น คงอยู่ในขั้นพอแก้ไข
ได้ ซึ่งยังไม่สมบูรณ์เต็มภูมิแท้
แม้ท่านพระอาจารย์มั่นเอง ตามท่านเล่า
ว่าท่านก็เคยปรารถนาพุทธภูมิมาแล้วเช่นเดียวกัน
ท่านเพิ่งมากลับ
ความปรารถนาเมื่อออกบำเพ็ญธุดงคกรรมฐานนี่เอง
โดยเห็นว่าเนิ่นนานเกินไปกว่าจะได้สำเร็จ
เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมาตามความปรารถนา จำ
ต้องท่องเที่ยวเกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่
ในวัฏสงสารหลายกัปหลายกัลป์ ไม่ชนะ จะแบกขนทน
ความทุกข์ทรมานไม่มีวันจบสิ้นนี้ได้
เวลาเร่งความเพียรมาก ๆ
จิตท่านมีประหวัด ประหวัดในความหลัง แสดงเป็น
ความอาลัยเสียดายความเป็นพระพุทธเจ้า ยัง
ไม่อยากนิพพานในชาตินี้เหมือนท่านพระอาจารย์เสาร์
พออธิษฐานของดจากความปรารถนาเดิมเท่านั้น
รู้สึกเบาใจหายห่วง และบำเพ็ญธรรมได้รับ
ความสะดวกไปโดยลำดับ ไม่ขัดข้องเหมือนแต่ก่อน
และปรากฏว่า ท่านผ่านความปรารถนาเดิมไป
ได้อย่างราบรื่นชื่นใจ เข้าใจว่าภูมิแห่ง
ความปรารถนาเดิมคงยังไม่แก่กล้าพอ
จึงมีทางแยกตัวผ่านไปได้
เวลาท่านออกเที่ยวธุดงคกรรมฐานทางภาคอีสานตามจังหวัดต่าง
ๆ ในระยะต้นวัย ท่านมักจะไป
กับท่านพระอาจารย์เสาร์เสมอ แม้ความรู้ทางภายใน
จะมีแตกต่างกันบ้างตามนิสัย แต่ก็ชอบไปด้วยกัน
สำหรับท่านพระอาจารย์เสาร์ท่านเป็นคนไม่ชอบพูด
ไม่ชอบเทศน์ ไม่ชอบมีความรู้แปลก ๆ ต่าง ๆ
กวนใจเหมือนท่านพระอาจารย์มั่น เวลาจำเป็น
ต้องเทศน์ท่านก็เทศน์เพียงประโยคหนึ่งหรือสองเท่านั้น
แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปเสีย ประโยคธรรมที่ท่านเทศน์
ซึ่งพอจับใจความได้ว่า
“ ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่า
ให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่าที่ได้มีวาสนามาเกิด
เป็นมนุษย์ ”
และ
“ เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก
แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์ของเรา
จะต่ำลงกว่าสัตว์ และจะเลวกว่าสัตว์อีกมาก เวลาตกนรก
จะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ ”
แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปกุฏิ โดยไม่สนใจ
กับใครต่อไปอีก
ปกตินิสัยของท่านเป็นคนไม่ชอบพูด
พูดน้อยที่สุด ทั้งวันไม่พูดอะไรกับใครเกิน ๒-๓ ประโยค
เวลานั่งก็ทนทาน นั่งอยู่ได้เป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมง
เดินก็ทำนองเดียวกัน แต่ลักษณะท่าทางของท่านมี
ความสง่าผ่าเผย น่าเคารพเลื่อมใสมาก มองเห็นท่าน
แล้วเย็นตาเย็นใจไปหลายวัน ประชาชน
และพระเณรเคารพเลื่อมใสท่านมาก
ท่านมีลูกศิษย์มากมายเหมือนท่านพระอาจารย์มั่น
ทราบว่า ท่านพระอาจารย์ทั้งสององค์นี้รัก
และเคารพกันมาก ในระยะวัยต้นไปที่ไหนท่านชอบไป
ด้วยกัน อยู่ด้วยกัน ทั้งในและนอกพรรษา พอมา
ถึงวัยกลางผ่านไป เวลาพักจำพรรษามักแยกกันอยู่ แต่
ไม่ห่างไกลกันนัก พอไปมาหาสู่กันได้สะดวก
มีน้อยครั้งที่จำพรรษาร่วมกัน ทั้งนี้อาจเกี่ยว
กับบรรดาศิษย์ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีมากด้วยกัน
และต่างก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที ถ้าจำพรรษาร่วมกันจะ
เป็นความลำบากในการจัดที่พักอาศัย จำต้องแยกกัน
อยู่เพื่อเบาภาระในการจัดที่พักอาศัยไปบ้าง
ทั้งสองพระอาจารย์ขณะที่แยกกัน
อยู่จำพรรษาหรือนอกพรรษา รู้สึกคิดถึงกันมากและ
เป็นห่วงกันมาก เวลามีพระที่
เป็นลูกศิษย์ของแต่ละฝ่ายมากราบนมัสการ
จะมากราบนมัสการท่านพระอาจารย์เสาร์
หรือมากราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ต่างจะ
ต้องถามถึงความสุขทุกข์ของกันและกันก่อนเรื่องอื่น ๆ
จากนั้นก็บอกกับพระที่มากราบว่า “ คิด
ถึงท่านพระอาจารย์……… ” และฝากความเคารพคิด
ถึงไปกับพระลูกศิษย์ที่มากราบเยี่ยมตามสมควรแก่
“ อาวุโส ภันเต ” ทุก ๆ ครั้งที่พระมากราบพระอาจารย์
ทั้งสองแต่ละองค์
ท่านมีความเคารพในคุณธรรมของกันและ
กันมาก ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรืออยู่ไกล เวลาพระอาจารย์
ทั้งสององค์ใดองค์หนึ่งพูดปรารภถึงกันและกัน
ให้บรรดาลูกศิษย์ฟัง จะมีแต่คำที่เต็มไปด้วยความเคารพ
และความยกยอสรรเสริญโดยถ่ายเดียว
ไม่เคยมีแม้คำเชิงตำหนิแฝงขึ้นมาบ้างเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 21:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตท่านเป็นจิตที่โลดโผนมาก
ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าให้ฟังว่า
ที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ว่าให้ท่านว่า
จิตท่านเป็นจิตที่โลดโผนมาก รู้อะไรขึ้นมาแต่ละครั้งมัน
ไม่พอดีเลย เดี๋ยวจะเหาะเหินเดินฟ้า เดี๋ยวจะดำดิน เดี๋ยว
จะดำน้ำข้ามทะเลนั้น ท่านว่าเป็น
ความจริงดังที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ตำหนิ เพราะจิตท่าน
เป็นเช่นนั้นจริง ๆ เวลารวมสงบลงแต่ละครั้ง
แม้แต่ขั้นเริ่มแรกบำเพ็ญยังออกเที่ยวรู้เห็นอะไรต่าง ๆ
ทั้งที่ท่านไม่เคยคาดฝันว่าจะเป็นได้เช่นนั้น เช่น
ออกรู้เห็นคนตายต่อหน้าและเพ่งพิจารณาจนคนตาย
นั้นกลายเป็นวงแก้ว และเกิดความรู้
ความเห็นแตกแขนงออกไปไม่มีสิ้นสุด ดังที่เขียนไว้
ในเบื้องต้น
เวลาปฏิบัติที่เข้าใจว่าถูกทางแล้ว
ขณะที่จิตรวมสงบตัวลงก็ยังอดจะออกรู้สิ่งต่าง ๆ มิได้
บางทีตัวเหาะลอยขึ้นไปบนอากาศ
และเที่ยวชมสวรรค์วิมาน กว่า
จะลงมาก็กินเวลาหลายชั่วโมง และมุดลงไปใต้ดิน
ค้นดูนรกหลุมต่าง ๆ และปลงธรรมสังเวช
กับพวกสัตว์นรกที่มีกรรมต่าง ๆ
กันเสวยวิบากทุกข์ของตน ๆ อยู่ จนลืมเวล่ำเวลาไปก็มี
เพราะเวลานั้นยังไม่แน่ว่าจะเป็นความจริงเพียงไร
เรื่องทำนองนี้ท่านว่า
จะพิจารณาต่อเมื่อจิตมีความชำนาญแล้ว จึง
จะรู้เหตุผลผิด-ถูก ดี-ชั่วได้อย่างชัดเจน
และอย่างแม่นยำ พอเผลอนิดขณะที่จิตรวมลงและพัก
อยู่ ก็มีทางออกไปรู้กับสิ่งภายนอกอีกจนได้ แม้เวลามี
ความชำนาญและรู้วิธีปฏิบัติได้ดีพอสมควรแล้ว
ถ้าปล่อยให้ออกรู้สิ่งต่าง ๆ จิตย่อมจะออกรู้อย่างรวดเร็ว
ระยะเริ่มแรกที่ท่านยังไม่เข้าใจ
และชำนาญต่อการเข้าออกของจิต
ซึ่งมีนิสัยชอบออกรู้สิ่งต่าง ๆ นั้น ท่านเล่าว่า
เวลาบังคับจิตให้พิจารณาลงในร่างกายส่วนล่าง
แทนที่จิตจะรู้ลงไปตามร่างกายส่วนต่าง ๆ จนถึงพื้นเท้า
แต่จิตกลับพุ่งตัวเลยร่างกายส่วนต่ำลงไปใต้ดิน
และทะลุดินลงไปใต้พื้นพิภพ ดังท่านพระอาจารย์เสาร์ว่า
ให้จริง ๆ
พอรีบฉุดย้อนคืนมาสู่กายก็กลับพุ่งขึ้นไปบนอากาศ
แล้วเดินจงกรมไป-มาอยู่บนอากาศอย่างสบาย
ไม่สนใจว่าจะลงมาสู่ร่างกายเลย ต้อง
ใช้สติบังคับอย่างเข้มแข็งถึงจะยอมลงมาเข้าสู่ร่างกาย
และทำงานตามคำสั่ง
การรวมสงบตัวลงในระยะ
นั้นก็รวมลงอย่างรวด
เร็วเหมือนคนตกเหวตกบ่อจนสติตามไม่ทัน และอยู่
ได้เพียงขณะเดียวก็ถอนออกมาขั้นอุปจาระ
แล้วออกรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่มีประมาณ รู้สึกรำคาญต่อความรู้
ความเห็นของจิตประเภทนี้อย่างมากมาย
ถ้าจะบังคับไม่ให้ออกและไม่ให้รู้ก็
ไม่มีอุบายปัญญาจะบังคับได้ เพราะจิตมีความรวด
เร็วเกินกว่าสติปัญญาจะตามรู้ทัน จึงทำให้หนักใจ
และกระวนกระวายในบางครั้ง แบบคิดไม่ออกบอกใคร
ไม่ได้เพราะเป็นเรื่องภายใน ต้องใช้การทดสอบ
ด้วยสติปัญญาอย่างเข้มงวดกวดขัน กว่า
จะรู้วิธีปฏิบัติต่อจิตดวงผาดโผนในการออกรู้สิ่งต่าง ๆ
ไม่มีประมาณนี้ ก็นับว่าเป็นทุกข์เอาการอยู่
แต่เวลารู้วิธีปฏิบัติรักษาแล้ว รู้สึกว่าคล่องแคล่วว่องไว
และได้ผลกว้างขวางทั้งรวดเร็วทันใจต่อภายในภายนอก
เวลามีสติปัญญารู้เท่าทันจนกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียว
กันแล้ว จิตดวงนี้จึงกลายเป็นแก้วสารพัดนึกขึ้นมา
เพราะทันกับเหตุการณ์ที่เกิดกับตนไม่มีขอบเขต
พระอาจารย์มั่นท่านมีนิสัยองอาจกล้าหาญ
และฉลาดแหลมคม อุบายวิธีฝึกทรมานตนก็ผิดกับผู้อื่น
อยู่มาก ยากที่จะยึดได้ตามแบบฉบับของท่านจริง ๆ
ผู้เขียนอยากจะพูดให้สมใจที่เฝ้าดูท่านตลอดมาว่า ท่าน
เป็นนิสัยอาชาไนย ใจว่องไวและผาดโผน
การฝึกทรมานก็เด็ดเดี่ยว เฉียบขาดเท่าเทียมกัน
อุบายฝึกทรมานมีชนิดแปลก ๆ แยบคาย ทั้งวิธีขู่เข็ญ
และปลอบโยนตามเหตุการณ์ที่ควรแก่จิตดวงมีเชาวน์
เร็วแกมพยศ ซึ่งคอยแต่จะนำเรื่อง
เข้ามาทับถมโจมตีเจ้าของอยู่ทุกขณะที่เผลอตัว
ท่านเล่าว่า เรื่องที่ทำให้ท่านได้รับ
ความลำบากหนักใจเหล่านี้ เพราะไม่มีผู้คอย
ให้อุบายแนะนำนั่นเอง
พยายามตะเกียกตะกายปลุกปล้ำใจดวงพยศ
โดยลำพังคนเดียว แบบเอาหัวชนภูเขาทั้งลูกเอาเลย
ไม่มีอุบายต่าง ๆ ที่แน่ใจมาจากครูอาจารย์บ้างเลย พอ
เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนเหมือนผู้อื่นท่านทำกัน
ทั้งนี้ท่านพูดเพื่อตักเตือนบรรดาลูกศิษย์ที่มารับการศึกษา
กับท่านไม่ให้ประมาทนอนใจ เวลาเกิดอะไรขึ้นมา
จากสมาธิภาวนาท่านจะได้ช่วยชี้แจง ไม่
ต้องเสียเวลาไปนานดังที่ท่านเคยเป็นมาแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 22:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ออกธุดงค์ปฏิบัติเบื้องต้น
เวลาท่านออกปฏิบัติเบื้องต้น
ท่านว่าท่านไปทางจังหวัดนครพนม
และข้ามไปเที่ยวทางฝั่งแม่น้ำโขง บำเพ็ญสมณธรรม
อยู่แถบท่าแขก ตามป่าและภูเขา ท่านได้รับ
ความสงบสุขทางใจมากพอควรในป่าและภูเขาแถบนั้น
ท่านเล่าว่า มีสัตว์เสือชุกชุมมาก
เฉพาะเสือทางฝั่งโน้นรู้สึกดุร้ายกว่าเสือทางเมืองไทยเรา
อยู่มากเป็นพิเศษ เนื่อง
จากเสือทางฝั่งโน้นเคยดักซุ่มกัดกินคนญวนอยู่เสมอมิ
ได้ขาด มีข่าวอยู่บ่อย ๆ แต่คนญวน
ไม่ค่อยกลัวเสือมากเหมือนคนลาวและคนไทยเรานัก
และไม่ค่อยเข็ดหลาบและกลัวเสืออยู่นานทั้ง ๆ
ที่เคยเห็นเสือกัดและกินคนอยู่เสมอ
และเห็นมันโดดมากัดเอาเพื่อนที่ไปป่าด้วย
กันไปกินต่อหน้าต่อตาอย่างวันนี้ แต่พอวันหลังคนญวน
ยังกล้าพากันเข้าไปป่าที่มีเสือชุมเพื่อหาอยู่หากิน
ได้อีกอย่างธรรมดา ไม่ตื่นเต้นตกใจกลัวและเล่าลือ
กันเหมือนคนลาวและคนไทยเรา ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะ
ความเคยชินของเขาก็เป็นได้
ท่านเล่าว่า คนญวนนี้แปลกอยู่อย่างหนึ่ง
เวลาเห็นเสือโดดมากัดเพื่อนที่ไปด้วยกันหลายคนไปกินก็
ไม่มีใครที่จะช่วยเหลือกันด้วยวิธีต่าง ๆ บ้างเลย
ต่างคนต่างวิ่งหนีเอาตัวรอด ไม่สนใจในการช่วยเหลือ
เวลาไปนอนค้างคืนในป่าหลายคนด้วยกัน
ตกกลางคืนถูกเสือโดดมากัดและคาบเอาเพื่อนคน
ใดคนหนึ่งไปกิน พวกที่นอนอยู่ด้วยกัน
ได้ยินเสียงตกใจตื่นขึ้น เห็นเหตุการณ์แล้ว
ต่างก็วิ่งหนีไปหาที่นอนใหม่ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณนั้นเอง
ความรู้สึกเขาเหมือนเด็ก ๆ ในเรื่องเช่นนี้ ไม่มี
ความคิดอ่านใด ๆ ที่แยบคายไปกว่านี้เลย
ทำเหมือนเสือโคร่งใหญ่ทั้งตัวที่เคยกินคนมา
แล้วอย่างชำนาญไม่มีหูไม่มีตาและไม่มีหัวใจเอาเลย
เรื่องคนพรรค์นี้ ผู้เขียนเองก็พอรู้เรื่องที่
เขาไม่ค่อยกลัวเสือมาบ้างพอควร คือเวลา
เขามาพักอาศัยในบ้านเมืองเราที่เป็นป่ารกชัฏ
และมีสัตว์เสือชุกชุม เวลาเขาพา
กันไปนอนค้างคืนเลื่อยไม้อยู่ในป่าลึก ซึ่งอยู่ห่างไกล
จากหมู่บ้านมากและมีเสือชุม เขา
ไม่เห็นแสดงอาการหวาดกลัวบ้างเลย แม้เขาจะนอนอยู่
ด้วยกันหลายคนหรือคนเดียว เขาก็นอนได้อย่างสบาย
ไม่กลัวอะไร ถ้าเขาต้องการจะเข้ามา
ในหมู่บ้านเวลาค่ำคืนเขาก็มาได้ ไม่ต้องหาเพื่อนฝูงมา
ด้วย อยากกลับไปที่พักเวลาใดก็กลับไปได้
เวลาถูกถามว่าไม่กลัวเสือบ้างหรือ? เขาก็ตอบว่า ไม่กลัว
เพราะเสือเมืองไทยไม่กินคนและยิ่งกลัวคนด้วยซ้ำ
ไม่เหมือนเสือเมืองเขาซึ่งมีแต่ตัวใหญ่ ๆ
และชอบกินคนแทบทั้งนั้น
เมืองเขาบางแห่งเวลาเข้าป่า
ต้องทำคอกนอนเหมือนคอกหมู ไม่เช่น
นั้นเสือมาเอาไปกิน ไม่ได้กลับบ้าน
แม้บางหมู่บ้านที่เสือดุมาก เวลากลางคืน
ผู้คนออกมานอกบ้านเรือนไม่ได้ เสือโดดมาเอาไปกินเลย
ไม่มีเหลือ เขายังกลับว่าให้เราอีกด้วยว่า
คนไทยขี้กลัวมาก จะไปป่าก็แห่แหนกันไป
ไม่กล้าไปคนเดียว ที่ท่านพระอาจารย์มั่นว่าคนญวน
ไม่ค่อยกลัวเสือนั้นคงจะเป็นในทำนองนี้ก็ได้
เวลาท่านไปพักอยู่ที่นั้นก็ไม่ค่อยเห็นเสือมารบกวน
เห็นแต่รอยมันเดินผ่านไปมา
และส่งเสียงร้องครางไปตามภาษาของสัตว์ที่มีปาก
และร้องครวญครางได้เท่านั้นในบางคืน แต่เขาร้อง มิ
ได้คำรามให้เรากลัวหรือแสดงท่าทางจะกัดกินเป็นอาหาร
เฉพาะองค์ท่านเองรู้สึกจะไม่ค่อยสนใจกับ
ความกลัวสัตว์เสืออะไร มากไปกว่าความกลัวจะ
ไม่หลุดพ้นจากกองทุกข์ ถึงบรมสุขคือพระนิพพาน
ในชาตินี้ ทั้งนี้ทราบจากท่านเล่า
ถึงการข้ามไปฝั่งแม่น้ำโขงฟากโน้นและข้ามมาฝั่งฟากนี้
เพื่อการบำเพ็ญเพียรอย่างเอาจริงเอาจัง ทำ
ให้เห็นว่าท่านถือเป็นธรรมดาในการไป-มา เพราะ
ไม่เห็นท่านนำเรื่องความกลัวของท่านมาเล่าให้ฟัง
ถ้าเป็นผู้เขียนไปเจอเอาที่เช่นนั้นเข้าบ้าง
น่ากลัวชาวบ้านแถบนั้นจะพากันกลาย
เป็นตำรวจรักษาพระธุดงค์ขี้ขลาดไม่เป็นท่ากันทั้งบ้าน
โดยไม่ต้องสงสัย เพียงได้ยินเสียงเสือกระหึ่มในบางครั้ง
ยังชักใจไม่ดี เดินจงกรมก็ยังถอยหน้าถอยหลังก้าวขา
ไม่ค่อยออก และเดินไม่ถึงที่สุดทางจงกรมอยู่แล้ว
เผื่อไปเจอเอาเรื่องดังที่ว่านั้น
จึงน่ากลัวธรรมแตกมากกว่าสิ่งอื่น ๆ จะแตก
เพราะนับแต่วันรู้ความมา พ่อแม่และชาวบ้านก็เคยพูดกัน
ทั่วแผ่นดินว่าเสือเป็นสัตว์ดุร้าย ซึ่งเป็นเรื่องฝังใจจนถอน
ไม่ขึ้นตลอดมา จะไม่ให้กลัวนั้นสำหรับผู้เขียนจึงเป็นไป
ไม่ได้เอาเลย และยอมสารภาพตลอดไป ไม่มีทางต่อสู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 22:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจิตมีกำลังพอบ้างแล้ว
ก็เที่ยวจาริกลงไปทางภาคกลาง
พระอาจารย์มั่นท่าน
ได้เที่ยวจาริกไปตามจังหวัดต่าง ๆ มีนครพนม เป็นต้น
ทางภาคอีสานนานพอสมควรสมัยออกปฏิบัติเบื้องต้น
จนจิตมีกำลังพอต้านทานอารมณ์ภาย
ในที่เคยผาดโผนมาประจำใจและอารมณ์ภายนอกได้บ้าง
แล้ว ก็เที่ยวจาริกลงไปทางภาคกลาง
จำพรรษาที่วัดปทุมวัน พระนครฯ ระยะที่จำพรรษา
อยู่วัดปทุมวันก็
ได้พยายามมาศึกษาอบรมอุบายปัญญาเพิ่มเติม
กับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท)
ที่วัดบรมนิวาสมิได้ขาด
พอออกพรรษาแล้ว
ท่านก็ออกเที่ยวจาริกไปทางจังหวัดลพบุรี พัก
อยู่ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงามบ้าง ถ้ำสิงโตบ้าง ขณะที่พัก
อยู่ได้มีโอกาสเร่งความเพียรเต็มกำลัง
ไม่ขาดวรรคขาดตอน ใจรู้สึกมีความอาจหาญต่อตนเอง
และมีสิ่งเกี่ยวข้องต่าง ๆ ไม่พรั่นพรึงอย่างง่ายดาย
สมาธิก็มั่นคง อุบายปัญญาก็เกิดขึ้นเรื่อย ๆ
มองเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นอรรถเป็นธรรมไปโดยลำดับ
เวลามีโอกาสก็เข้าไปกราบนมัสการและเล่าธรรมะถวาย
และเรียนถามปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับอุบายปัญญา
กับท่านเจ้าคุณอุบาลี วัดบรมนิวาส ท่านก็
ได้รับอธิบายวิธีพิจารณาปัญญาเพิ่มเติมให้จนเป็นที่พอใจ
แล้วกราบลาท่านไปเที่ยววิเวกทางถ้ำสาริกา เขาใหญ่
จังหวัดนครนายก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 22:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พักอยู่ถ้ำสาลิกา ๑ ปี
ท่านเล่าว่า เวลาพักอยู่ถ้ำสาริกา ๑ ปี
ได้ประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ หลายประการทั้งภายใน
และภายนอก แทบตลอดเวลาที่พักอยู่ จนเป็นที่สะดุด
และฝังใจตลอดมา คือ
ขณะที่ท่านไปถึงหมู่บ้าน ถ้าจำไม่ผิดชื่อว่า
“บ้านกล้วย” ที่อยู่ใกล้กับถ้ำมากกว่าหมู่บ้านอื่น ๆ
พอโคจรบิณฑบาตถึงสะดวก ท่านขอวานให้ชาวบ้าน
นั้นไปส่งที่ถ้ำดังกล่าว เพราะไม่เคยไปไม่รู้หนทาง
ชาวบ้านก็เล่าเรื่องฤทธิ์เดชต่าง ๆ ของถ้ำ
นั้นให้ท่านฟังว่า เป็นถ้ำที่สำคัญอยู่มาก พระไม่ดีจริง ๆ
ไปอยู่ไม่ได้ ต้องเกิดเจ็บป่วยต่าง ๆ และตายกันแทบ
ไม่มีเหลือหลอลงมา เพราะถ้ำนี้มีผีหลวงรูปร่างใหญ่
และมีฤทธิ์มากรักษาอยู่ ผีตัวนี้ดุร้ายมาก
ไม่เลือกพระเลือกใคร ถ้าไปอยู่ถ้ำนั้นต้องมีอัน
เป็นไปอย่างคาดไม่ถึงและตายกันจริง ๆ ยิ่งพระองค์
ใดที่อวดตัวว่ามีวิชาอาคมขลัง ๆ เก่ง ๆ ไม่กลัวผีแล้ว
ผียิ่งชอบทดลอง พระองค์นั้น
ต้องเกิดเจ็บขึ้นมาอย่างกะทันหัน และตาย
เร็วกว่าปกติธรรมดาที่ควรจะเป็น
ชาวบ้านพร้อมกันนิมนต์วิงวอนไม่อยาก
ให้ท่านขึ้นไปอยู่ เพราะกลัวท่านจะตายเหมือนพระ
ทั้งหลายที่เคยเป็นมาแล้ว
ท่านสงสัยจึงถามเขาว่า
ที่ว่าถ้ำมีฤทธิ์เดชต่าง ๆ และมีผีใหญ่ดุนั้นมันเป็นอย่างไร
อาตมาอยากทราบบ้าง
เขาบอกกับท่านว่า เวลาพระ
หรือฆราวาสขึ้นไปพักถ้ำนั้น
โดยมากเพียงคืนแรกก็เริ่มเห็นฤทธิ์บ้างแล้ว
คือเวลานอนหลับไปจะต้องมีการละเมอเพ้อฝันไปต่าง ๆ
โดยมีผีรูปร่างดำใหญ่โตและสูงมากมาหา และ
จะเอาตัวไปบ้าง จะมาฆ่าบ้าง โดยบอกว่าเขาเป็น
ผู้รักษาถ้ำนี้มานานแล้วและเป็นผู้มีอำนาจแต่ผู้เดียว
ในเขตแขวงนั้น ไม่ยอมให้ใครมารุกล้ำกล้ำกรายได้ เขา
ต้องปราบปรามหรือกำจัดให้เห็นฤทธิ์ทันที ไม่ยอม
ให้ใครมีอำนาจเก่งกาจยิ่งกว่าเขาไปได้ นอกจาก
ผู้มีศีลธรรมอันดีงาม
และมีเมตตาจิตคิดเผื่อแผ่กุศลแก่บรรดาสัตว์ ไม่เป็น
ผู้คับแคบใจดำและต่ำทรามทางความประพฤติเท่านั้น
เขาถึงจะยินยอมให้อยู่ได้ และเขาจะให้ความอารักขา
ด้วยดี พร้อมทั้งความเคารพรักและนับถือดังนี้
ส่วนพระโดยมากที่ไปอยู่กันไม่ค่อยมี
ความผาสุกและอยู่ไม่ได้นาน ต้องรีบลงมา หรือต้องตาย
เท่าที่เห็นมาก็เป็นทำนองนี้จริง ๆ ใครไปอยู่ไม่ค่อยจะได้
เพียงคืนเดียวหรือสองคืนก็เห็นรีบลงมา
ด้วยท่าทางที่น่ากลัวหรือตัวสั่นแทบไม่มีสติอยู่กับตัว
และพูดเรื่องผีดุออกมาโดยที่ยังไม่มีใครถามเลย
แล้วก็รีบหนีไปด้วยความกลัวและเข็ดหลาบ ไม่คิดว่า
จะกลับคืนมาถ้ำนี้อีกได้เลย ยิ่งกว่านั้น ขึ้นไปแล้วก็อยู่ที่
นั้นเลย
ไม่มีวันกลับลงมาเห็นหน้ามนุษย์มนาอีกต่อไปเลยท่าน ฉะ
นั้น จึงไม่อยากให้ท่านขึ้นไป กลัวว่าจะอยู่ที่นั้นเลย
ท่านพระอาจารย์จึงถามว่า ที่ว่าขึ้นไป
อยู่เลยไม่ลงมาเห็นหน้ามนุษย์นั้น ขึ้นไปอย่างไรกัน ถึง
ไม่ยอมลงมา
เขาบอกว่า ตายเลยท่าน จึงไม่มีทางที่
จะลงมาได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีพระมาตายอยู่ในถ้ำนี้ตั้ง ๔
องค์ ล้วนมีแต่พระองค์เก่ง ๆ ทั้งนั้น
เท่าที่พวกกระผมทราบจากพระท่านพูดให้ฟังว่า
เรื่องผีท่านบอกว่าไม่กลัว เพราะท่านมีคาถากันผี
และปราบผี ตลอดคาถาอื่น ๆ อีกเยอะแยะ ผีเข้าไม่
ถึงท่าน เมื่อชาวบ้านบอกเรื่องราวของถ้ำและผีดุ
ให้ท่านฟัง เพราะไม่อยากให้ท่านขึ้นไป
แต่ท่านกลับบอกว่าไม่กลัว และ
ให้ญาติโยมพาท่านส่งขึ้นไปที่ถ้ำ ชาวบ้านจำ
ต้องไปส่งท่านไปอยู่ที่นั้น เมื่อไปอยู่แล้วทำให้เป็นต่าง ๆ
มีเจ็บไข้บ้าง ปวดศีรษะบ้าง เจ็บท้องขึ้นมาอย่างสด ๆ
ร้อน ๆ บ้าง เวลานอนหลับเกิดละเมอเพ้อฝันไปว่ามีคน
จะมาเอาตัวไปบ้าง จะมาฆ่าบ้าง
แม้พระที่ขึ้นไปอยู่ในถ้ำนั้นมิได้ไปพร้อมกัน
ต่างองค์ต่างไปคนละวันก็ตาม แต่อาการที่
เป็นขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน บางองค์ก็ตายอยู่ในถ้ำ
นั้น บางองค์ก็รีบลงจากถ้ำหนีไป พระที่มาตายอยู่ในถ้ำนี้
๔ องค์ ในระยะเวลาไม่ห่างกันเลย แต่ท่านจะตาย
ด้วยผีดุหรือตายด้วยอะไร ทางชาวบ้านก็ไม่ทราบได้ แต่
เท่าที่เคยสังเกตมาถ้ำนี้รู้สึกแรงมากอยู่ และเคย
เป็นมาอย่างนี้เสมอมา ชาวบ้านแถบนี้กลัวกัน
ไม่กล้าไปทะลึ่งอวดดีแต่ไหนแต่ไรมา กลัวจะถูกหาม
กันลงมาโดยอาการร่อแร่บ้าง โดยเป็นศพที่ตายแล้วบ้าง
ท่านถามชาวบ้านว่า เหตุการณ์ดังที่ว่า
นี้เคยมีมาบ้างแล้วหรือ
เขาเรียนท่านว่า
เคยมีจนชาวบ้านทราบอย่างฝังใจและกลัวกันทั้งบ้าน
ทั้งรีบบอกกับพระหรือใคร ๆ ที่มาถ้ำนี้เพื่อต้องการของดี
เช่น เหล็กไหลหรือพระศักดิ์สิทธิ์อะไรต่าง ๆ ซึ่งอาจมี
หรือไม่มีก็ตาม แต่บางคนก็ชอบประกาศโฆษณาว่ามี ดัง
นั้น จึงมักมีพระและคนที่ชอบทางนี้มากันเสมอ แต่ก็
ไม่เห็นได้อะไรติดตัวไป นอกจากตายหรือรอดตายไป
เท่านั้น เฉพาะชาวบ้านนี้
ไม่ปรากฏว่ามีใครเคยไปเห็นเหล็กไหลหรือของดีอย่าง
อื่น ๆ ในถ้ำนี้เลย เรื่องก็เป็นดังที่เล่ามานี้ จึงไม่อยาก
ให้ท่านขึ้นไป กลัวจะไม่ปลอดภัยดังที่เห็น ๆ มา
พอชาวบ้านเล่าเรื่องจบลง
ท่านพระอาจารย์ยังไม่หายสงสัยในความอยากไปชมถ้ำ
นั้น ท่านอยากขึ้นไปทดลองดู จะเป็นจะตายอย่างไรก็ขอ
ให้ทราบด้วยตนเองจะเป็นที่แน่ใจกว่าคำบอกเล่า แม้เขา
จะเล่าเรื่องผีซึ่งเป็นที่น่ากลัวให้ฟังก็ตาม แต่ใจท่านมิได้มี
ความสะดุ้งหวาดเสียวไปตามแม้นิดหนึ่งเลย ยิ่งเห็น
เป็นเครื่องเตือนสติให้ได้ข้อคิดมากมายยิ่งขึ้น และมี
ความอาจหาญที่จะเผชิญต่อเหตุการณ์อยู่ทุกขณะจิต
สมกับเป็นผู้มุ่งแสวงหาความจริงอย่างแท้จริง
ท่านจึงพูดกับชาวบ้านเป็นเชิงถ่อมตนว่า
เรื่องนี้เป็นที่น่ากลัวจริง ๆ
แต่อาตมาคิดอยากไปชมถ้ำสักชั่วระยะหนึ่ง หากเห็นท่า
ไม่ดีจะรีบลงมา จึงขอความกรุณาโยมไปส่งอาตมาขึ้นไป
อยู่ถ้ำนี้สักพักหนึ่งเถิด เพราะยัง
ไม่หายสงสัยที่อยากชมถ้ำนี้มานานแล้ว
ฝ่ายชาวบ้านก็พากันตามส่งท่านขึ้นถ้ำตาม
ความประสงค์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 22:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวลาท่านพักอยู่ในถ้ำนี้ มีรู้อะไรแปลก ๆ หลายอย่าง
ขณะที่พักอยู่ในถ้ำนั้น ในระยะแรก ๆ
รู้สึกว่าธาตุขันธ์ทุกส่วนปกติดี จิตใจก็สงบเยือกเย็น
เพราะเงียบสงัดมาก ไม่มีอะไรมาพลุกพล่านก่อกวน นอก
จากเสียงสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ที่พากันเที่ยวหากินตามภาษา
เขาเท่านั้น ท่านรู้สึกเย็นกายเย็นใจใน ๒-๓ คืนแรก
พอคืนต่อไป โรคเจ็บท้องที่เคยเป็นมาประจำขันธ์ก็ชัก
จะกำเริบ และมีอาการรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ จน
ถึงขั้นหนักมาก บางครั้งเวลาไปส้วมถึงกับถ่าย
เป็นเลือดออกมาอย่างสด ๆ ร้อน ๆ ก็มี ฉันอะไรเข้าแล้ว
ไม่ยอมย่อยเอาเลย เข้าไปอย่างไรก็ส้วมออกมาอย่างนั้น
ทำให้ท่านคิดวิตก
ถึงคำพูดของชาวบ้านที่ว่ามีพระมาตายที่นี่ ๔ องค์
เราอาจเป็นองค์ที่ ๕ ก็ได้ ถ้าไม่หาย
เวลามีโยมขึ้นไปถ้ำตอนเช้า
ท่านก็พาโยมไปเที่ยวหายาที่เคยได้ผลมาแล้ว
มาต้มฉันบ้าง ฝนใส่น้ำฉันบ้าง เท่าที่ทราบ
เป็นยาประเภทรากไม้แก่นไม้ แต่ฉันยาประเภทใดลงไปก็
ไม่ปรากฏว่าได้ผล โรคนับวันรุนแรงขึ้นทุกวัน
กำลังกายก็อ่อนเพลียมาก
กำลังใจก็ปรากฏว่าลดลงผิดปกติ แม้ไม่มากก็พอ
ให้ทราบได้อย่างชัดเจน
ขณะที่นั่งฉันยาได้นึกวิตกขึ้นมา
เป็นเชิงเตือนตนให้ได้สติ และปลุกใจ
ให้กลับมีกำลังเข้มแข็งขึ้นมาว่า ยาที่เราฉันอยู่ขณะนี้ ถ้า
เป็นยาช่วยระงับโรคได้จริง ก็ควรจะเห็นผลบ้างแม้
ไม่มาก เพราะฉันยามาหลายเวลาแล้ว
แต่โรคก็นับวันกำเริบ หากยามีทางระงับได้บ้างทำไมโรค
จึงไม่สงบ เห็นท่ายานี้จะมิ
ใช่ยาเพื่อระงับบำบัดโรคเหมือนแต่ก่อนเสียกระมัง
แต่อาจเป็นยาประเภทช่วยส่งเสริมโรค
ให้กำเริบแน่นอนสำหรับคราวนี้ โรคจึงนับวันกำเริบขึ้น
เป็นลำดับ เมื่อเป็นเช่นนี้ เรา
จะพยายามฉันไปเพื่อประโยชน์อะไร
พอได้สติจากความวิตกวิจารณ์ที่ผุดขึ้นมา
ในขณะนั้นแล้ว ท่านก็ตัดสินใจและบอกกับตัวเองทันทีว่า
นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะระงับโรคพรรค์นี้
ด้วยยาคือธรรมโอสถเท่านั้น จะหายก็หาย จะตายก็ตาย
เมื่อสุดกำลังความสามารถในการเยียวยาทุกวิถีทางแล้ว
ยาที่เคยนำมารักษานั้นจะงดไว้จนกว่าโรคนี้จะหาย
ด้วยธรรมโอสถ หรือจนกว่าจะตายในถ้ำนี้ จะยัง
ไม่ฉันยาชนิดใด ๆ ในระยะนี้
แล้วก็เตือนตนว่า เราจะเป็นพระทั้งองค์ที่
ได้ปฏิบัติบำเพ็ญทางใจมาพอสมควรจนเห็นผล
และแน่ใจต่อทางดำเนินเพื่อมรรคผลนิพพานมาเป็นลำดับ
ซึ่งควรถือเป็นหลักยึดของใจได้พอประมาณอยู่แล้ว
ทำไมจะขี้ขลาดอ่อนแอในเวลาเกิดทุกขเวทนาเพียงเท่านี้
ก็เพียงทุกข์เกิดขึ้นเพราะโรคเป็นสาเหตุเพียงเล็กน้อย
เท่านี้ เรายังสู้ไม่ไหว กลายเป็นผู้อ่อนแอ กลายเป็น
ผู้พ่ายแพ้อย่างยับเยินเสียแต่บัดนี้แล้ว เมื่อ
ถึงคราวจวนตัวจะชิงชัยเพื่อเอาแพ้เอาชนะกันจริง ๆ คือ
เวลาขันธ์จะแตก ธาตุจะสลาย ทุกข์ยิ่งจะโหม
กันมาทับธาตุขันธ์และจิตใจจนไม่มีที่ปลงวาง เรา
จะเอากำลังจากที่ไหนมาต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดไปได้
โดยสุคโต ไม่เสียท่าเสียทีในสงครามล้างขันธ์เล่า?
พอท่านทำความเข้าใจ
กับตนเองอย่างแน่ใจและมั่นใจแล้ว ก็หยุดจากฉันยา
ในเวลานั้นทันที และเริ่มทำสมาธิภาวนา เพื่อ
เป็นโอสถบำบัดบรรเทาจิตใจ
และธาตุขันธ์ต่อไปอย่างหนักแน่น ทอด
ความอาลัยเสียดายในชีวิตธาตุขันธ์ ปล่อยให้
เป็นไปตามคติธรรมดา ทำหน้าที่ห้ำหั่นจิตดวงไม่เคยตาย
แต่มี
ความตายประจำนิสัยลงไปอย่างเต็มกำลังสติปัญญาศรัทธา
ความเพียรที่เคยอบรมมา โดยมิ
ได้สนใจคำนึงต่อโรคที่กำลังกำเริบอยู่ภายใน ว่าจะหาย
หรือจะตายไปขณะใดในเวลานั้น หยั่งสติปัญญาลง
ในทุกขเวทนา แยกแยะส่วนต่าง ๆ
ของธาตุขันธ์ออกพิจารณาด้วยปัญญาไม่ลดละ คือ ยก
ทั้งส่วนรูปกาย ทั้งส่วนเวทนา คือ ทุกข์ภายใน ทั้ง
ส่วนสัญญา ที่หมายกายส่วนต่าง ๆ ว่าเป็นทุกข์ ทั้ง
ส่วนสังขารตัวปรุงแต่งว่าส่วนนี้เป็นทุกข์ ส่วนนั้นเป็นทุกข์
ขึ้นสู่เป้าหมายแห่งการพิจารณาของสติปัญญา
ผู้ดำเนินงาน ทำการขุดค้นคลี่คลายอย่างไม่หยุดยั้ง
แต่เวลาพลบค่ำถึงเที่ยงคืน คือ ๒๔.๐๐ นาฬิกา
จึงลงเอยกันได้ จิตมีกำลังขึ้นมาอย่างประจักษ์
สามารถคลี่คลายธาตุขันธ์จนรู้แจ้งตลอดทั่ว
ถึงทุกขเวทนาที่กำลังกำเริบขึ้นอย่างเต็มที่จากโรค
ในท้อง โรคก็ระงับดับลงอย่างสนิท จิตรวมลงถึงที่
ในขณะนั้น
ขณะนั้นโรคก็ดับ ทุกข์ก็ดับ
ความฟุ้งซ่านของใจก็ดับ พอจิตรวมสงบลงถึงที่แล้ว
ถอนออกมาขั้นอุปจารสมาธิแล้ว
จิตสว่างออกไปนอกกาย ปรากฏเห็นบุรุษผู้หนึ่งมีร่าง
ใหญ่ดำและสูงมากราว ๑๐ เมตร ถือตะบองเหล็กใหญ่
เท่าขา ยาวราว ๒ วา เดินเข้ามาหา และบอกกับท่านว่า
“จะทุบตีท่านให้จมลงไปในดิน ถ้าไม่หนี
จะฆ่าให้ตายในบัดเดี๋ยวใจ”
ตามที่ผีบอกกับท่านว่า “ตะบองเหล็กที่
เขาแบกอยู่บนบ่านั้น ตีช้างสารใหญ่ตัวหนึ่งเพียงหนเดียว
เท่านั้น ช้างสารต้องจมลงไปในดินแบบจมมิดเลย โดย
ไม่ต้องตีซ้ำอีก”
ท่านกำหนดจิตถามผีร่างยักษ์นั้นว่า
“จะมาตีและฆ่าอาตมาทำไม อาตมามีความผิดอะไรบ้าง
ถึงจะต้องถูกตีถูกฆ่าเล่า? การมาอยู่ที่นี้มิ
ได้มากดขี่ข่มเหงหรือเบียดเบียนใครให้เดือดร้อน พอ
จะถูกใส่กรรมทำโทษถึงขนาดตีและฆ่าให้ถึงตายเช่นนี้”
เขาบอกว่า เขาเป็นผู้มีอำนาจรักษาภู
เขาลูกนี้อยู่นานแล้ว ไม่ยอมให้ใครมา
อยู่ครองอำนาจเหนือตนไปได้ ต้องปราบปราม
และกำจัดทันที
ท่านตอบว่า “ก็อาตมามิ
ได้มาครองอำนาจบนหัวใจใคร นอกไป
จากมาปฏิบัติบำเพ็ญศีลธรรมอันดีงามเพื่อครองอำนาจเหนือกิเลสบาปธรรมบนหัวใจตน
เท่านั้น จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่ท่านจะมาเบียดเบียน
และทำลายคนเช่นอาตมา ซึ่งเป็นนักบวชทรงศีล และ
เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้าผู้มีใจบริสุทธิ์ และมีอำนาจ
ในทางเมตตาครอบไตรโลกธาตุ ไม่มีใครเสมอเหมือน”
ท่านซักถามและเทศน์ให้ผีร่างยักษ์ฟังเสีย
ใหญ่ในขณะนั้น ว่า “ถ้าท่านเป็น
ผู้มีอำนาจเก่งจริงดังที่อวดอ้างแล้ว
ท่านมีอำนาจเหนือกรรมและเหนือธรรม อันเป็นกฎ
ใหญ่ปกครองมวลสัตว์ในไตรภพด้วยหรือเปล่า?”
เขาตอบว่า ”เปล่า”
ท่านพูดว่า พระพุทธเจ้าท่านเก่งกล้า
สามารถปราบกิเลสตัวที่คอยอวดอำนาจว่า ตัวดี ตัวเก่ง
อยู่ภายใน คิดอยากตีอยากฆ่าคนอื่น สัตว์อื่น
ให้หมดสิ้นไปจากใจได้ ส่วนท่านที่ว่าเก่ง
ได้คิดปราบกิเลสตัวดังกล่าวให้หมดสิ้นไปบ้างหรือยัง
เขาตอบว่า “ยังเลยท่าน”
ท่านว่า ถ้ายัง ท่านก็มีอำนาจไป
ในทางที่ทำตนให้เป็นคนมืดหนาป่าเถื่อนต่างหาก
ซึ่งนับว่าเป็นบาปและเสวยกรรมหนัก แต่
ไม่มีอำนาจปราบความชั่วของตัวที่กำลังแผลงฤทธิ์แก่ผู้
อื่นอยู่โดยไม่รู้สึกตัวว่าเป็นผู้มีอำนาจแบบก่อไฟเผาตัว
และต้องจัดว่ากำลังสร้างกรรมอันหนักมาก
มิหนำยังจะมาตีมาฆ่าคนที่ทรงศีลธรรมอัน
เป็นหัวใจของโลก ถ้าไม่จัดว่าท่านทำกรรมอัน
เป็นบาปหยาบช้ายิ่งกว่าคนทั้งหลายแล้ว จะจัดว่าท่านทำ
ความดีที่น่าชมเชยที่ตรงไหน อาตมาเป็นผู้ทรงศีล
ทรงธรรมมุ่งมาทำประโยชน์แก่ตนและแก่โลก
โดยการประพฤติธรรมด้วยความบริสุทธิ์ใจ ท่านยัง
จะมาทุบตีและสังหาร โดยมิได้คำนึงถึงบาปกรรมที่
จะฉุดลากท่านลงนรก เสวยกรรมอันเป็นมหันตทุกข์เลย
อาตมารู้สึกสงสารท่านยิ่งกว่าจะอาลัย
ในชีวิตของตัว เพราะท่านหลงอำนาจของตัวจนถึงกับ
จะเผาตัวเองทั้งเป็นอยู่ขณะนี้แล้ว อำนาจอัน
ใดบ้างที่ท่านว่ามีอยู่ในตัวท่าน อำนาจอันนั้นจะ
สามารถต้านทานบาปกรรมอันหนัก ที่ท่านกำลัง
จะก่อขึ้นเผาผลาญตัวอยู่เวลานี้ได้หรือไม่?
ท่านว่าเป็นผู้มีอำนาจอัน
ใหญ่หลวงปกครองอยู่ในเขตเขาเหล่านี้ แต่อำนาจ
นั้นมีฤทธิ์เดชเหนือกรรมและเหนือธรรมไปได้ไหม
ถ้าท่านมีอำนาจและมีฤทธิ์เหนือธรรมแล้ว ท่านก็ทุบตี
หรือฆ่าอาตมาได้ สำหรับอาตมาเองไม่กลัวความตาย
แม้ท่านไม่ฆ่าอาตมาก็ยังจักต้องตายอยู่
โดยดีเมื่อกาลของมันมาถึงแล้ว เพราะโลกนี้เป็น
อยู่ของมวลสัตว์ผู้เกิดแล้วต้องตายทั่วหน้ากัน
แม้ตัวท่านเองที่กำลังอวดตัวว่าเก่งใน
ความมีอำนาจจนกลายเป็นผู้มืดบอดอยู่ขณะนี้
แต่ท่านก็มิได้เก่งกว่าความตาย
และกฎแห่งกรรมที่ครอบงำสัตว์โลกไปได้
ขณะที่ท่านพระอาจารย์มั่นซักถาม
และเทศน์สั่งสอนบุรุษลึกลับโดยทางสมาธิอยู่นั้น
ท่านเล่าว่า เขายืนตัวแข็ง
บ่าแบกตะบองเหล็กเครื่องมือสังหารอยู่เหมือนตุ๊กตา
ไม่กระดุกกระดิก ไม่ขยับเขยื้อนไปไหนมาไหนเลย ถ้า
เป็นคนธรรมดาเรา ก็ทั้งอาย
ทั้งกลัวจนตัวแข็งแทบลืมหายใจ แต่นี่เขา
เป็นอมนุษย์พิเศษผู้หนึ่ง จึงไม่ทราบว่าเขามีลมหายใจ
หรือไม่ แต่อาการทั้งหมดนั้นแสดงให้เห็นชัดว่า เขา
ทั้งอายทั้งกลัวท่านพระอาจารย์มั่นจนสุดที่จะอดกลั้นได้
แต่เขาก็อดกลั้นได้อย่างน่าชม
ตอนท่านแสดงธรรมจบลง เขา
ได้ทิ้งตะบองเหล็กจากบ่าอย่างเห็นโทษ
และนฤมิตเปลี่ยนภาพ
จากร่างของบุรุษลึกลับที่มีกายดำสูงใหญ่ มา
เป็นสุภาพบุรุษพุทธมามกะผู้อ่อนโยนนิ่มนวล
ด้วยมรรยาทอัธยาศัย แสดงความเคารพคารวะ
และกล่าวคำขอโทษท่านอาจารย์ แบบบุคคล
ผู้เห็นโทษสำนึกในบาปอย่างถึงใจ ซึ่งต่อไปนี้เป็นใจ
ความของเขาที่กล่าวตาม
ความสัตย์จริงต่อท่านพระอาจารย์มั่นว่า
“กระผมรู้สึกแปลกใจ
และสะดุ้งกลัวท่านแต่เริ่มแรก มองเห็นแสงสว่างที่แปลก
และอัศจรรย์มากซึ่งไม่เคยพบเห็นมาก่อน พุ่ง
จากองค์ท่านมากระทบตัวกระผม ทำให้อ่อนไปหมด แทบ
ไม่อาจแสดงอาการอย่างใดออกมาได้ อวัยวะทุก
ส่วนตลอดจิตใจอ่อนเพลียไปตาม ๆ กัน ไม่อาจ
จะทำอะไรได้ด้วยพลการ เพราะมันอ่อนและนิ่มไปด้วย
ความซาบซึ้งจับใจในความสว่างนั้น ทั้ง ๆ ที่ไม่ทราบว่า
นั้นคืออะไร เพราะไม่เคยเห็น
เท่าที่แสดงกิริยาคำรามว่าจะทุบตีและฆ่า
นั้น มิได้ออกมาจากใจจริงแม้แต่น้อยเลย
แต่แสดงออกตามความรู้สึกที่เคยฝังใจมานานว่า ตัวเป็น
ผู้มีอำนาจในหมู่อมนุษย์ด้วยกันและมีอำนาจ
ในหมู่มนุษย์ที่ไม่มีศีลธรรม ชอบรักบาปหาบ
ความชั่วประจำนิสัยต่างหาก อำนาจนี้จะทำอะไร
ให้ใครเมื่อไรก็ได้ตามต้องการ โดยปราศ
จากการต้านทานขัดขวาง มานะอันนี้แลพาให้ทำเป็น
ผู้มีอำนาจ แสดงออกพอไม่ให้เสียลวดลาย ทั้ง ๆ ที่กลัว
และใจอ่อน ทำไม่ลง และมิได้ปลงใจว่าจะทำ หาก
เป็นเพียงแสดงออกพอเป็นกิริยาของผู้เคยมีอำนาจเท่า
นั้น
กรรมอันไม่งามใด ๆ ที่แสดงออกให้
เป็นของน่าเกลียดในวงนักปราชญ์ที่แสดงต่อท่านวันนี้
ขอได้เมตตาอโหสิกรรมแก่กรรมนั้น ๆ ให้กระผมด้วย
อย่าต้องให้รับบาปหาบทุกข์ต่อไปเลย เท่าที่เป็น
อยู่เวลานี้ก็มีทุกข์อย่างพอตัวอยู่แล้ว ยิ่งจะเพิ่มทุกข์
ให้มากกว่านี้ ก็คงเหลือกำลังที่จะทนต่อไปไหว”
ท่านถามเขาว่า “ท่านเป็นผู้
ใหญ่มีอำนาจวาสนามาก กายก็เป็นกายทิพย์ไม่
ต้องพาหอบหิ้วเดินเหินไปมาให้ลำบากเหมือนมนุษย์ การ
เป็นอยู่หลับนอนก็ไม่เป็นภาระเหมือนมนุษย์ทั่วโลกที่เป็น
กัน แล้วทำไมจึงยังบ่นว่าทุกข์อยู่อีก ถ้าโลกทิพย์ไม่
เป็นสุขแล้ว โลกไหนจะเป็นสุขเล่า? ”
เขาตอบว่า “ถ้าพูดอย่างผิวเผินและเทียบ
กับกายมนุษย์ที่หยาบ ๆ พวกกายทิพย์อาจมี
ความสุขมากกว่าพวกมนุษย์จริง เพราะ
เป็นภูมิที่ละเอียดกว่ากัน แต่ถ้ากล่าวตามชั้นภูมิแล้ว
กายทิพย์ก็ย่อมมีทุกข์ไปตามวิสัยของภูมินั้น ๆ เหมือน
กัน ”
ระหว่างที่ผีกับพระสนทนากันในตอนนี้
รู้สึกว่าละเอียดและลึกลับ ยากที่ผู้เขียนจะนำมาลง
ได้ทุกประโยค จึงขออภัยท่านผู้อ่านไว้ด้วยความจนใจ
สุดท้ายแห่งการสนทนาธรรม
ท่านว่าบุรุษลึกลับมีความเคารพเลื่อมใสในธรรม
เป็นอย่างยิ่งและปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์
กล่าวอ้างท่านพระอาจารย์เป็นสรณะและเป็นองค์พยาน
ด้วย พร้อมทั้งให้ความอารักขาแก่ท่านเป็นอย่างดี
และขอนิมนต์ท่านพักอยู่ที่นี่ให้นาน ๆ ถ้าตามใจเขาแล้ว
ไม่อยากให้ท่านจากไปสู่ที่อื่นตลอดอายุของท่าน เขาจะ
เป็นผู้คอยดูแลรักษาท่านทุกอิริยาบถ ไม่
ให้มีอะไรมาเบียดเบียนหรือรังแกท่านได้เลย
ความจริงแล้วเขามิใช่บุรุษลึกลับ
และมีร่างกายดำสูงใหญ่ดังที่แสดงภาพต่อท่าน แต่เขา
เป็นหัวหน้าแห่งรุกขเทวดา
ซึ่งมีบริษัทบริวารมากมายที่อาศัยอยู่ในภูเขา
และสถานที่ต่าง ๆ มีเขตอาณาบริเวณกว้างขวางมาก
ติดต่อกันหลายจังหวัด มีนครนายก เป็นต้น
นับแต่ขณะจิตท่านสงบลง
และระงับโรคจนหายสนิท
ไม่ปรากฏเลยประมาณเที่ยงคืน
กับที่รุกขเทพมาเกี่ยวข้องและสนทนาธรรมกันจนถึงเวลา
จากไป และจิตถอนขึ้นมาก็ประมาณ ๔.๐๐ นาฬิกา คือ
๑๐ ทุ่ม โรคที่กำลังกำเริบในขณะที่นั่งทำสมาธิภาวนา
พอจิตถอนขึ้นมาปรากฏว่าหายไปโดยสิ้นเชิง ไม่
ต้องอาศัยยาอื่นใดรักษาอีกต่อไป โรคหายได้เด็ดขาด
ด้วยธรรมโอสถทางภาวนาล้วน ๆ จึง
เป็นสิ่งที่อัศจรรย์มากสำหรับท่านในคืนวันนั้น
พอจิตถอนขึ้นมาแล้ว ท่านทำความเพียรต่อไปมิ
ได้หลับนอนตลอดรุ่ง เมื่อออกจากที่ภาวนาแล้วร่างกายก็
ไม่มีการอ่อนเพลีย แต่กลับกระปรี้กระเปร่าขึ้นกว่าเดิมอีก
ด้วย
คืนวันนั้นท่านได้เห็น
ความอัศจรรย์หลายอย่าง คือเห็นอานุภาพแห่งธรรมที่
สามารถยังเทวดาให้หายพยศและเกิดความเลื่อมใสหนึ่ง
จิตรวมสงบลงเป็นเวลาหลายชั่วโมง และเห็น
ความอัศจรรย์ในขณะที่จิตสงบอยู่ตัวอย่างมี
ความสุขหนึ่ง โรคที่เคยกำเริบอยู่เสมอจนควรเรียก
ได้ว่าโรคประเภทเรื้อรังได้หายไปโดยสิ้นเชิงหนึ่ง จิต
ได้หลักยึดเป็นที่พอใจ หายสงสัยในสิ่งที่เคย
เป็นมาหลายชนิดหนึ่ง อาหารที่ฉันลงไปในตอนเช้า
แต่วันหลังกลับทำการย่อยตามปกติหนึ่ง ความรู้แปลก ๆ
ที่ไม่เคยรู้มาก่อนได้ปรากฏขึ้นมากมาย
ทั้งประเภทถอดถอนและประเภทประดับ
ความรู้พิเศษตามวิสัยวาสนาหนึ่ง
ในคืนต่อไป ท่านบำเพ็ญเพียรด้วย
ความสะดวก และมีความสงบสุขทางใจอย่างบอกไม่ถูก
ร่างกายก็เป็นปกติสุข ไม่มีอาการใดก่อกวน
บางคืนยามดึกสงัดก็ต้อนรับพวกรุกขเทพที่มาจากที่ต่าง
ๆ จำนวนมากมาย โดยมีเทพลึกลับที่เคยทำสงครามวาทะ
กับท่านอาจารย์ เป็นผู้ประกาศโฆษณาให้ทราบและ
เป็นหัวหน้าพามา คืนที่
ไม่มีเรื่องมาเกี่ยวข้องท่านก็สนุกบำเพ็ญสมาธิภาวนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 22:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฟังฝูงลิงส่งภาษากัน
บ่ายวันหนึ่งท่านออกจากที่สมาธิ
แล้วก็ออกไปนั่งตากอากาศ ห่างจากหน้าถ้ำพอประมาณ
ขณะ
นั้นกำลังรำพึงธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงพระเมตตาประทาน
ไว้แก่หมู่ชน รู้สึกว่าเป็นธรรมที่สุขุมลุ่มลึกมาก ยากที่จะมี
ผู้สามารถปฏิบัติและไตร่ตรองให้เห็นจริงตามได้
ท่านเกิดความภูมิใจและอัศจรรย์ในตัวท่านเองขึ้นมา
ที่มีวาสนาได้ปฏิบัติและรู้เห็นความอัศจรรย์หลายอย่าง
จากธรรม แม้จะยัง
ไม่สมบูรณ์เต็มภูมิที่ใฝ่ฝันมานานก็ตาม แต่ก็ยังจัดว่าอยู่
ในขั้นพอกินพอใช้ ไม่ขัดสนจนมุมในความสุขที่เป็นอยู่
และจะเป็นไป ซึ่งตัวเองก็แน่ใจว่าจะถึงแดนแห่ง
ความสมหวังในวันหนึ่งแน่นอน ถ้าไม่ตายเสีย
ในระยะกาลที่ควรจะเป็นนี้
ขณะนั้นกำลังเสวยสุขเพลินอยู่
ด้วยการพิจารณาธรรม ทั้งฝ่ายมรรคคือทางดำเนิน
และฝ่ายผลคือความสมหวังเป็นลำดับ จนถึง
ความดับสนิทแห่งกองทุกข์ภายในใจไม่มีเหลือ
พอดีมีลิงฝูงใหญ่พากันมาเที่ยวหากินบริเวณหน้าถ้ำนั้น
โดยมีหัวหน้ามาก่อนเพื่อน ปล่อยระยะห่าง
จากฝูงประมาณ ๑ เส้น
พอหัวหน้าลิงมาถึงที่
นั้นก็มองเห็นท่านนั่งนิ่ง ๆ อยู่พอดี แต่มิได้หลับตา
ท่านเองก็ได้ชำเลืองไปดูลิงตัวนั้นเช่นกัน ประกอบ
กับลิงตัวนายฝูงนั้นกำลังเกิดความสงสัยในท่านอยู่ว่า
นั่นคืออะไรกันแน่ มันค่อยด้อม ๆ มอง ๆ ท่าน
และวิ่งถอยไปถอยมาอยู่บนกิ่งไม้ด้วยความสงสัย และ
เป็นห่วงเพื่อนฝูงของมันมาก กลัวจะเป็นอันตราย
ขณะที่มันสงสัยท่าน ท่านก็ทราบเรื่องของมันพร้อม
กับเกิดความสงสารขึ้นมาในขณะนั้น และแผ่เมตตาจิตไป
ยังลิงตัวนั้นว่า เรามาบำเพ็ญธรรม มิได้มาหาเบียดเบียน
และทำร้ายใคร ไม่ต้องกลัวเรา จงพากันหา
อยู่หากินตามสบาย แม้จะพากันมาหากิน
อยู่แถวบริเวณนี้ทุกวันเราก็ไม่ว่าอะไร สักประเดี๋ยวใจ
มันวิ่งไปหาพวกของมันซึ่งพอมองเห็นตัวที่กำลังตามหลัง
กันมา
ท่านเล่าตอนนี้น่าหัวเราะและน่าสงสารมาก
พอมันวิ่งไปถึงพรรคพวกของมันแล้ว มันรีบบอกกันว่า
“โก้ก เฮ้ยอย่าด่วนไป มีอะไรอยู่ที่นั้น”
“โก้ก ระวังอันตราย”
พวกของมันที่ยังไม่เห็น พอ
ได้ยินเสียงก็ร้องถามมาว่า
“โก้ก อยู่ที่ไหน”
“โก้ก อยู่ที่นั้น”
พร้อมทั้งหันหน้ามองมาที่ท่านพักอยู่เหมือน
จะบอกกันว่านั่น นั่งอยู่นั่นเห็นไหม ทำนองนี้ แต่
เป็นภาษาของสัตว์ จึง
เป็นเรื่องลึกลับสำหรับมนุษย์ธรรมดาจะตามรู้
แต่ท่านอาจารย์มั่นท่านรู้ทุกคำที่มันพูดกัน
เมื่อมันให้สัญญาณกันว่าอยู่ที่นั้นแล้ว
มันบอกกันว่า อย่าพากันไปเร็วนัก จงพากันค่อย ๆ ไป
และดูซิว่าเป็นอะไรกันแน่ แล้วก็พากันค่อย ๆ ไป
ส่วนหัวหน้าฝูงพอบอกพรรคพวกเสร็จแล้วก็รีบไป
แต่ค่อยด้อม ๆ มอง ๆ ไปจนถึงหน้าถ้ำที่ท่านนั่งอยู่
มีอาการทั้งกลัวทั้งอยากดูและอยากรู้ว่าเป็นอะไรกันแน่
ทั้งเป็นห่วงเพื่อนฝูงที่พากันค่อยมารออยู่เบื้องหลัง
หัวหน้ามันโดดขึ้นลงอยู่บนกิ่งไม้ ตามนิสัยลิงซึ่ง
เป็นนิสัยหลุกหลิกดังที่เคยเห็นมาแล้วนั่นแล มันมาด้อม ๆ
มองอยู่ระยะห่างจากท่านประมาณ ๑๐ วา ท่านเองก็ได้
ใช้ความสังเกตอยู่ภายในทุกระยะ ว่ามันจะมี
ความรู้สึกต่อท่านอย่างไรบ้าง
นับแต่เริ่มแรกที่มันมาหาท่าน
และวิ่งกลับไปจนมันวิ่งกลับมาอีก และดูท่านซ้ำ ๆ ซาก ๆ
พอมันแน่ใจแล้วว่า ไม่ใช่อันตราย
มันก็วิ่งกลับไปบอกเพื่อนฝูงของมันว่า
“โก้ก ไปได้ โก้ก ไม่มีอันตราย”
ท่านเล่าว่า
ตอนมันวิ่งไปบอกเพื่อนฝูงของมันนั้น น่าขบขัน
และน่าหัวเราะ ทั้งน่าสงสารมันมาก
เมื่อเรารู้ภาษาของมันแล้ว แต่ถ้าไม่รู้คำที่มันพูดกัน
จะเห็นว่าเสียงที่มันเปล่งออกมาแต่ละคำและแต่ละตัวนั้น
เป็นเสียงมันร้องธรรมดาไปเสียหมด เช่นเดียวกับเรา
ได้ยินเสียงนกเสียงการ้องฉะนั้น ความจริง
เท่าที่ท่านตั้งใจสังเกตกำหนดดูเสียงของลิงที่วิ่งกลับไปบอกเพื่อนฝูงของมันจริง
ๆ แล้ว มันเปล่งเสียงออกชัดถ้อยชัดคำ
เหมือนเสียงคนเราพูดกันดี ๆ นี่เอง
คือพอมันวิ่งกลับไปถึงพวกของมันแล้ว
มันก็รีบพูดเป็นคำเตือนพวกของมันให้สนใจในคำของมัน
เพื่อระวังตัว โดยเป็นเสียงของลิงพูดกันว่า โก้ก ๆ ดังนี้
แต่ความหมายที่มันเข้าใจกันจากคำว่า “โก้ก ๆ” นั้น
เป็นใจความว่า
“เฮ้ยหยุดก่อน อย่าด่วนพากันไป โก้ก มัน
ยังมีอะไรอยู่ข้างหน้านั้น”
พวกของมันได้ยินเสียงมันเตือนเช่นนั้น
ต่างตัวต่างเกิดความสงสัยจึงร้องถามมาว่า
“โก้ก มีอะไรหรือ”
ตัวนั้นถามมาว่า “โก้ก อะไรกัน”
ตัวนี้ ร้องถามว่า “โก้กอะไรกัน”
ตัวหัวหน้าฝูงก็ตอบว่า “โก้กเก้ก มันมีอะไร
อยู่ที่นั้น น่ากลัวเป็นอันตราย”
พวกของมันถามมาว่า “โก้ก อยู่ที่ไหน”
หัวหน้าตอบว่า “โก้ก นั้นอย่างไรล่ะ”
เสียงมันถามและตอบรับกันสนั่นป่าไปหมด
เพราะมีลิงจำนวนมากด้วยกัน
ตัวนั้น “ โก้ก” ถามมา ตัวนี้ “โก้ก”
ถามมาด้วยความตื่นตกใจ ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่วิ่งวุ่น
กันไปมา ขณะที่มันเกิดความสงสัยไม่แน่ใจ กลัว
จะเกิดอันตรายแก่ตัวและพวกของตัว
จึงต่างตัวต่างเรียกร้องถามกันอย่างชุลมุนวุ่นวาย
เช่นเดียวกับมนุษย์เราร้องถามกันถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ
นี่เอง
หัวหน้าต้องชี้แจงเรื่องราวให้ทราบ
และเตือนพวกของมันว่า
“โก้กเก้ก ให้พากันรออยู่ที่นี่ก่อน เรา
จะกลับไปดูให้แน่นอนอีกครั้ง”
พอมันสั่งเสียแล้วก็รับกลับไปดู
ขณะที่มันวิ่งไปดูท่านอาจารย์ก็นั่งอยู่ พอจวนถึงตัวท่าน
มันค่อยด้อมค่อยมอง วิ่งขึ้นวิ่งลงอยู่บนกิ่งไม้
ตาจับจ้องมองดูอย่างพินิจพิเคราะห์ จนเป็นที่แน่ใจว่า ไม่
ใช่ข้าศึกผู้จะคอยทำลายแล้ว
มันก็รีบวิ่งกลับมาบอกเพื่อนฝูงของมันว่า
“โก้กเก้ก ไปได้แล้ว ไม่เป็นอันตราย โก้ก
ไม่ต้องกลัว”
พอทราบแล้วต่างตัวมาสู่ที่ท่านนั่งพักอยู่
และต่างตัวต่างดูท่านในลักษณะท่าทางไม่ค่อยไว้ใจนัก
ต่างวิ่งขึ้นวิ่งลงแบบลิงนั่นเอง เพราะ
ความหิวกระหายอยากดูอยากรู้ และร้องถามกันโก้กเก้ก
ลั่นป่าไปเวลานั้นว่า นี่คืออะไรและมาอยู่ทำไมกัน
เสียงตอบรับกันแบบต่าง ๆ ตามภาษาสัตว์
ซึ่งต่างตัวต่างสงสัยอยากรู้เรื่องด้วยความกระวนกระวาย
ที่พูดซ้ำนี้เขียนตามคำที่ท่านเน้นซ้ำ เพื่อ
ผู้นั่งฟังด้วยความสนใจจากท่านได้เข้าใจชัดเจน
ท่านเล่าว่า ขณะที่เขาเกิดความสงสัย
ไม่แน่ใจในชีวิตของตัวและพรรคพวกนั้น รู้สึกว่า
เป็นเสียงที่แสดงออกด้วยความชุลมุนวุ่นวายมากพอดู
เพราะสัตว์ประเภทนี้เคยถูกมนุษย์ทำลายด้วยวิธีต่าง ๆ
มามากต่อมากตลอดชีวิตของมัน จึงเป็นสัตว์ที่มี
ความระแวงต่อมวลมนุษย์อยู่มากประจำนิสัย
ขณะนั้นต่างตัวต่างมารุมดู ทั้งตัวเล็กตัว
ใหญ่ ด้วยท่าทางระมัดระวังอย่างยิ่ง กระแสจิตที่แสดง
ความหมายออกมาตามเสียงที่มันร้องถามและตอบรับกัน
นั้น เหมือน
กับกระแสใจของมนุษย์ที่ส่งออกมาตามกระแสเสียงที่พูด
กันนั่นเอง ฉะนั้น เขาจึงรู้เรื่องของกันได้ดีทุกประโยค
เช่นเดียวกับมนุษย์เราพูดกันฉันนั้น ในคำที่
เขาแสดงออกแต่ละคำซึ่งแสดงออกมาจากกระแสจิตที่มี
ความมุ่งหมายไปต่าง ๆ กันนั้น เป็นคำที่ให้
ความหมายแก่ตัวรับฟังอย่างชัดเจน ไม่มี
ความบกพร่องพอจะให้เกิดความสงสัยแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่าย
ใด
ดังนั้น คำแสดงของลิงแต่ประโยค เช่น
โก้ก เป็นต้น ที่มนุษย์ธรรมดาเราฟังไม่รู้เรื่อง แต่ระหว่าง
เขาเองรู้เรื่องกันดีทุกประโยคที่แสดงออก เพราะ
เป็นภาษาของสัตว์พูดต่อกัน เช่นเดียว
กับมนุษย์เราชาติต่าง ๆ
ต่างก็มีภาษาประจำชาติของตนฉะนั้น
สรุปความก็คือ ภาษาสัตว์ต่าง ๆ ก็มี
ไว้สำหรับชาติของตน ภาษามนุษย์ชาติต่าง ๆ ก็มี
ไว้สำหรับชาติของตน การจะฟังรู้เรื่องหรือ
ไม่รู้ระหว่างสัตว์ชนิดต่าง ๆ พูดกัน
ระหว่างมนุษย์ชาติต่างๆ พูดกัน ก็ยุติลงเองไม่
เป็นอารมณ์ข้องใจต่อไป ปล่อยให้
เป็นสิทธิของแต่ละชาติจะวินิจฉัย รับรู้ของเขาเอง
พอต่างตัวต่างหายสงสัยแล้ว
ต่างก็มาเที่ยวหากินในบริเวณนั้นตามสบาย หาย
ความหวาดระแวง ไม่ระเวียงระวังว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น
นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา เขาพา
กันมาเที่ยวหากินตามบริเวณหน้าถ้ำอย่างสบาย ไม่สนใจ
กับท่าน ท่านเองก็มิได้สนใจกับเขา
ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตน
ท่านว่า สัตว์ที่มาเที่ยวหากินอยู่บริเวณ
ใกล้เคียงท่านโดยไม่ต้องระแวงและกลัวภัยนี้ เขาก็
เป็นสุขดีเหมือนกัน โดยมากพระไปอยู่ที่ไหน
พวกสัตว์ชนิดต่าง ๆ ชอบไปอาศัยอยู่ด้วย ไม่ว่าสัตว์
เล็กสัตว์ใหญ่ เพราะความรู้สึกมันคล้ายคลึงกันกับมนุษย์
เป็นแต่เขาไม่มีอำนาจและไม่มี
ความเฉลียวฉลาดรอบด้านเหมือนมนุษย์เท่านั้น มี
ความฉลาดเฉพาะการหาอยู่หากิน
และหาที่ซ่อนตัวเพื่อชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 23:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คืนวันหนึ่ง ท่านเกิด
ความสลดสังเวชใจอย่างมากจนน้ำตาร่วงออกมาจริง ๆ
คือเวลานั่งสมาธิจิตรวมลงอย่างเต็มที่
เพราะการพิจารณากายเป็นเหตุ ปรากฏว่าจิตว่าง
และปล่อยวางอะไร ๆ หมด โลกธาตุเป็นเหมือน
ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลยในความรู้สึกขณะนั้น
หลังจากสมาธิ
แล้วพิจารณาพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
เพื่อลบล้างหรือถอดถอนความผิดที่มีอยู่
ในใจของสัตว์โลก ซึ่งเป็นธรรมที่ออกจาก
ความฉลาดแหลมคมแห่งพระปัญญาของพระพุทธเจ้า
พิจารณาไปเท่าไร ก็ยิ่งเห็นความฉลาด
และอัศจรรย์ของพระองค์ และเห็น
ความโง่เขลาเต่าปลาของตนยิ่งขึ้น
เพราะการขบฉันขับถ่ายก็ต้อง
ได้รับการอบรมสั่งสอนมาก่อน การยืน เดิน นั่ง นอนก็
ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนมาก่อน การนุ่งห่มซักฟอกก็
ต้องได้รับการสั่งสอนมาก่อน ไม่เช่นนั้นก็ทำไม่ถูก นอก
จากทำไม่ถูกแล้วยังทำผิดอีกด้วย ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่อง
หาบบาปหาบกรรม ใส่ตัว การปฏิบัติต่อร่างกาย
ด้วยวิธีต่าง ๆ ก็ต้องได้รับการอบรมสั่งสอน
การปฏิบัติต่อจิตใจก็ต้องได้รับการอบรมสั่งสอน ถ้าไม่
ได้รับการอบรมสั่งสอนมาเท่าที่ควร ก็ต้องทำผิดจริง ๆ
ด้วย โดยไม่เลือกเพศวัยและชาติชั้นวรรณะใด ๆ เลย
เพราะสามัญมนุษย์เราเป็นเหมือนเด็ก ซึ่งต้อง
ได้รับการดูแลและอบรมสั่งสอนจากผู้ใหญ่อยู่ทุกขณะ
จึงจะปลอดภัยและเจริญเติบโตได้
คนเราใหญ่แต่กาย ใหญ่แต่ชาติ
ใหญ่แต่ชื่อ ใหญ่แต่ยศ ใหญ่แต่ความสำคัญตน แต่
ความรู้ความฉลาดที่จะทำตนให้ร่มเย็นเป็นสุขทั้งทางกาย
และทางใจโดยถูกทาง ตลอดผู้อื่นได้รับความร่มเย็น
เป็นสุขด้วย นั่นไม่ค่อยเจริญเติบโตด้วยและ
ไม่สนใจบำรุงให้ใหญ่โตอีกด้วย จึงเกิดความเดือดร้อน
กันอยู่ทุกหนทุกแห่ง โดยไม่เลือกเพศวัย
และชาติชั้นวรรณะอะไรเลย
เหล่านี้แลที่ทำให้เกิด
ความสลดสังเวชตนอย่างยิ่งในคืนวันนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 23:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่งจิตไปตามดูความคิดของหลวงตาที่เชิงเขา
ที่ชาย
เขาทางขึ้นไปถ้ำที่ท่านพระอาจารย์พักอยู่
ก็มีสำนักบำเพ็ญวิปัสสนาอยู่แห่งหนึ่ง เวลาท่านพักอยู่ถ้ำ
นั้น มีขรัวตาองค์หนึ่งพักอยู่สำนักบำเพ็ญนั้น
คืนวันหนึ่งท่านพระอาจารย์คิด
ถึงขรัวตาองค์นั้น ว่าท่านจะทำอะไรอยู่เวลานี้
ก็กำหนดจิตส่งกระแสลงมาดูขรัวตา พอดี
เป็นเวลาที่ขรัวตาองค์นั้นกำลังคิดวุ่นวายไป
กับกิจการบ้านเรือนครอบครัวยุ่งไปหมด
เรื่องที่ขรัวตาคิดเกี่ยวกับอตีตารมณ์
พอตกดึกท่านส่งกระแสจิตลงมาหาขรัวตาองค์
นั้นอีก ก็มาเจอเอาเรื่องทำนองนั้นเข้าอีก
ท่านก็ย้อนจิตกลับ
จวนสว่างส่งกระแสจิตลงมาอีก
ก็มาโดนเอาแต่เรื่องคิดจะสั่งเสียลูกคนนั้นหลานคนนี้
อยู่ร่ำไป ทั้งสามวาระที่ท่านส่งกระแสจิตลงมา
แต่ก็มาเจอเอาแต่เรื่องขรัวตาคิดจะสร้างบ้านสร้างเรือน
สร้างภพสร้างชาติ สร้างวัฏสงสาร ไม่มีสิ้นสุดวิถีแห่ง
ความคิดความปรุงเอาเสียเลย
ตอนเช้าท่านลงมาบิณฑบาต ขากลับมา
จึงแวะไปเยี่ยมขรัวตาถึงที่พัก แล้วพูดเป็นเชิงปัญหาว่า
เป็นอย่างไรหลวงพ่อ ปลูกบ้านใหม่
แต่งงานกับคู่ครองใหม่แต่
เป็นแม่อีหนูคนเก่าเมื่อคืนนี้ตลอดคืนไม่ยอมนอน
เสร็จเรียบร้อยไปด้วยดีแล้วมิใช่หรือ คืนต่อไปคง
จะสบายไม่ต้องวุ่นวายจัดแจงสั่งลูกคนนั้นให้ทำสิ่งนั้น
สั่งหลานคนนี้ให้ทำงานสิ่งนี้อีกกระมัง
คืนนี้รู้สึกหลวงพ่อมีงานมากและวุ่นวายพอดู แทบมิ
ได้พักผ่อนนอนหลับมิใช่หรือ
ขรัวตาถามท่านด้วยอาการเอียงอาย
และยิ้มแห้ง ๆ ว่า ท่านพระอาจารย์เป็นพระอัศจรรย์มาก
ท่านรู้ด้วยหรือเมื่อคืนนี้
ท่านพระอาจารย์แสดงอาการยิ้มรับ
แล้วตอบว่า ผมเข้าใจว่าท่านจะรู้เรื่องของตัวดียิ่งกว่าผม
ผู้ถามเป็นไหน ๆ แต่ทำไมท่าน
จึงกลับมาถามผมอย่างนี้อีก ผมเข้าใจว่า
ความคิดปรุงของท่านเป็นไปด้วยเจตนาและพอใจใน
ความคิดนั้น ๆ จนลืมหลับนอนไปทั้งคืน แม้แต่รุ่ง
เช้าตลอดมาถึงปัจจุบันนี้ ผมก็
เข้าใจว่าท่านจงใจคิดเรื่องเช่นนั้นอยู่อย่างเพลินใจจน
ไม่มีสติจะยับยั้ง และยังพยายามทำตัวให้เป็นไปตาม
ความคิดนั้น ๆ อย่างมั่นใจมิใช่หรือ
พอจบลง ท่านมองดูหน้าขรัวตาเหมือนคน
จะเป็นลม ทั้งอายทั้งกลัว พูดออกมา
ด้วยเสียงสั่นเครือแทบไม่เป็นเสียงคน และ
ไม่ชัดถ้อยชัดคำ ขาด ๆ วิ่น ๆ เหมือนจะเป็นอะไรไป
ในเวลานั้นจนได้ พอเห็นท่าไม่ได้การ ขืนพูดเรื่อง
นั้นต่อไป เดี๋ยวขรัวตาจะเป็นอะไรไปก็จะแย่
ท่านเลยหาอุบายพูดไปเรื่องอื่นพอให้เรื่องจางไป
แล้วก็ลาขึ้นถ้ำ
ต่อมาได้ ๓ วันโยมผู้ปฏิบัติขรัวตาองค์
นั้นก็ขึ้นไปที่ถ้ำ ท่านพระอาจารย์จึงถามถึงขรัวตา
นั้นว่าสบายดีหรือ
โยมท่านบอกว่า
ขรัวตาองค์นั้นจากไปที่อื่นเสียแล้วตั้งแต่
เช้าวานนี้ ผมถามท่านว่าหลวงพ่อจะไปทำไม อยู่ที่นี่
ไม่สบายหรือ
ท่านบอกว่า จะอยู่ไปได้อย่างไร ก็
เช้าวานนี้ท่านพระอาจารย์มั่นมาหาอาตมาที่นี่
แล้วเทศน์อาตมาเสียยกหนึ่งหนัก ๆ อาตมาแทบ
เป็นลมสลบไปต่อหน้าท่านอยู่แล้ว
ถ้าท่านขืนเทศน์ไปอีกสักประโยคสองประโยค อาตมา
ต้องล้มตายต่อหน้าท่านแน่ ๆ แต่พอดีท่านหยุด
และเลยพูดเรื่องอื่นไปเสีย อาตมาจึงพอมีชีวิต
และลมหายใจกลับคืนมาได้ ไม่ตายไปเสียในขณะนั้น
แล้วจะให้อาตมาอยู่ต่อไปได้อย่างไร อาตมาขอไปวันนี้
ผมถามท่านว่า
ท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์ดุด่าท่านหรือ ถึงจะอยู่ต่อไปไม่
ได้และจะตายต่อหน้าท่าน
ท่านมิได้ดุด่าอาตมา
แต่ปัญหาธรรมของท่าน
นั้นมันหนักยิ่งกว่าท่านดุด่าเฆี่ยนตีเป็นไหน ๆ ขรัวตาตอบ
ท่านถามปัญหาหลวงพ่ออย่างนั้นหรือ
ปัญหานั้นมีว่าอย่างไร ผมอยากทราบด้วยพอเป็นคติบ้าง
ผมถามท่าน
ท่านพูดว่า ขออย่าให้อาตมาเล่า
ให้โยมฟังเลย อาตมาอายจะตายอยู่แล้ว
จะมุดดินลงไปเดี๋ยวนี้แลถ้าขืนบอกใครให้ทราบด้วย
อาตมาจะพูดให้โยมฟังเพียงเปรย ๆ นะ ก็เราคิดอะไร ๆ
ท่านรู้เสียจนหมดสิ้น จะไม่หนักกว่าท่านดุด่าอย่างไรล่ะ
ธรรมดาปุถุชนก็ย่อมมีคิดดีบ้างชั่วบ้างเป็นธรรมดา
จะห้ามไม่ให้คิดได้อย่างไร ทีนี้พอเราคิดอะไรขึ้นมา
ท่านก็รู้เสียหมด อย่างนี้จะอยู่ได้อย่างไร หนีไปตายที่
อื่นดีกว่า อย่าอยู่ให้ท่านพลอยหนักใจด้วยเลย
คนอย่างเราไม่ควรอยู่ที่นี่ต่อไป อายโลกเขาเปล่า ๆ
คืนนี้อาตมานอนไม่ได้เลย คิดแต่เรื่องนี้อย่างเดียว
ผมแย้งท่านว่า ก็ท่านจะมาหนักใจ
ด้วยเราทำไม เพราะท่านมิใช่ผู้ผิด เราผู้ผิดต่างหาก
จะควรหนักใจ และควรแก้ความผิดของตนให้สิ้นเรื่องไป
ท่านอาจารย์ยังจะอนุโมทนาอีกด้วย นิมนต์ท่าน
อยู่ที่นี่ไปก่อน เผื่อคิดอะไรผิด ๆ ถูก ๆ ขึ้นมา
ท่านอาจารย์จะได้ช่วยเตือน เราก็จะได้สติแก้ไข ยัง
จะดีกว่าหนีไปอยู่ที่อื่นเป็นไหน ๆ
ความเห็นของผมว่าอย่างนี้หลวงพ่อจะว่าอย่างไร
ไม่ได้ ความคิดว่าจะได้สติและจะแก้ไขตัว
กับความกลัวท่านนั้น มันมีน้ำหนักกว่าคนละโลก
เหมือนช้างกับแมวเอาทีเดียว แล้วเรา
จะพอมีสติสตังมาแก้อยู่อย่างไรได้ พอคิดว่าท่าน
จะรู้เรื่องเราเท่านั้นตัวมันสั่นขึ้นมาแล้ว อาตมาขอไปวันนี้
ถ้าขืนอยู่ที่นี่ต่อไปอาตมาต้องตายแน่ ๆ
โยมเชื่ออาตมาเถอะ อย่าให้อยู่เลย
ท่านว่าอย่างนี้ ไม่ทราบว่าผมจะห้ามท่าน
ได้อย่างไร คิดแล้วก็น่าสงสาร เวลาท่านพูดให้ผมฟัง ก็
ทั้งพูดทั้งกลัว หน้าซีดเซียวไปหมด เลยต้องปล่อย
ให้ท่านไป ก่อนจะไปผมถามท่านว่า
หลวงพ่อจะไปอยู่ที่ไหน
ท่านตอบว่า เอาแน่นอนไม่ได้ ถ้า
ไม่ตายเราคงเห็นหน้ากันอีก
แล้วก็ไปเลย ผมให้เด็กตามไปส่งท่าน
เวลาเด็กกลับมาแล้วถามเด็ก เด็กบอกว่าไม่ทราบ
เพราะท่านไม่บอกที่ที่ท่านจะพักอยู่ สุดท้ายก็เลยไม่
ได้เรื่องราวจนป่านนี้ น่าสงสาร ทั้งท่านก็แก่แล้ว ไม่น่าจะ
เป็นเอาขนาดนั้น
ฝ่ายท่านอาจารย์เกิดความสลดใจ
ที่ทำคุณได้โทษ โปรดสัตว์ได้บาป เราคิด
แล้วแต่แรกที่เห็นอาการไม่ดีเวลาถามปัญหา จากวัน
นั้นมาแล้วก็มิได้สนใจคิดและส่งกระแสจิตไป
ถึงขรัวตาอีก เพราะกลัวจะไปเจอเอาเรื่องที่เคยเจอ
แล้วก็มาเป็นดังที่คิดจนได้ ท่านคิด
ในใจขณะที่ทราบเรื่องจากโยมเล่าให้ฟัง และได้พูด
กับโยมบ้างเล็กน้อยเกี่ยวกับปัญหาที่เขาเล่าให้ท่านฟังว่า
อาตมาก็พูดไปธรรมดาในฐานะคุ้นเคยกัน
ทีเล่นทีจริงบ้างอย่างนั้นเอง ไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องใหญ่โต
ถึงกับพาให้ขรัวตาต้องร้างวัดร้างวาหนีไปเช่นนั้น
เรื่องของขรัวตา
เป็นเรื่องสำคัญต่อท่านอาจารย์ไม่น้อยตลอดมา ในการที่
จะปฏิบัติต่อบรรดาผู้ที่มาเกี่ยวข้องทั้งใกล้และไกล
เกรงว่าเรื่องจะซ้ำรอยเข้าอีกหากไม่สนใจคิดไว้ก่อน
จากนั้นมาแล้ว ท่านว่าท่าน
ไม่เคยทักใครเกี่ยวกับความคิดนึกดีชั่ว เพียงพูด
เป็นอุบายไปเท่านั้น เพื่อผู้นั้นระลึกรู้ตัวเอาเองโดยมิ
ให้กระเทือนใจ เพราะใจคนเราย่อม
เป็นเหมือนเด็กอ่อนที่เพิ่งฝึกหัดเดินกะเปะกะปะไปตามเรื่อง
ผู้ใหญ่เป็นเพียงคอยดูแลสอดส่องเพื่อมิให้เด็ก
เป็นอันตรายเท่านั้น ไม่จำต้องไปกระวนกระวายกับเด็ก
ให้มากไป ใจของสามัญชนก็เช่นกันปล่อย
ให้คิดไปตามเรื่อง ถูกบ้างผิดบ้าง ดีบ้างชั่วบ้าง
เป็นธรรมดา จะให้ถูกต้องดีงามอยู่ตลอดเวลาย่อม
เป็นไปไม่ได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร