ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22218
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  สาวิกาน้อย [ 11 พ.ค. 2009, 08:31 ]
หัวข้อกระทู้:  พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ

รูปภาพ

ประวัติและปฏิปทา
พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ


วัดป่าอภัยคีรี
มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา



๏ นามเดิม

รีด แพรี่ (Reed perry)


๏ เกิด

เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ประเทศแคนาดา


๏ การศึกษา

ปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์


๏ การอุปสมบท

พระอาจารย์มีความสนใจในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งเป็นนักศึกษา เมื่อจบการศึกษาแล้ว ท่านได้เดินทางไปหาประสบการณ์ชีวิตในหลายประเทศ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ท่านได้เดินทางมายังประเทศไทย และเกิดความสนใจในการทำสมาธิภาวนา จึงได้ไปฝึกปฏิบัติที่วัดเมิงมาง จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเพลงวิปัสสนา แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗

รูปภาพ
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)


๏ ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อชา สุภทฺโท

ในพรรษาแรกนั่นเอง ท่านได้มีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ของ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง บ้านพงสว่าง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยการแนะนำของพระอุปัชฌาย์ของท่าน โดยได้พำนักที่วัดหนองป่าพงและวัดสาขาอื่นๆ ตามโอกาสอันสมควร

ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี และได้ปฏิบัติหน้าที่นี้เป็นเวลา ๑๕ ปี จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๙


๏ การสร้างวัดป่าอภัยคีรี

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ ได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ เพื่อมาก่อตั้งวัดป่าอภัยคีรี และเป็นเจ้าอาวาสร่วมกับ พระอาจารย์อมโร ภิกขุ

วัดป่าอภัยคีรี เป็นวัดปฏิบัติในสายพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) แห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซานฟรานซิสโก (San Francisco) มลรัฐแคลิฟอร์เนีย (California) มีเจ้าอาวาสร่วมกัน ๒ รูป คือ พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จ.อุบลราชธานี และ พระอาจารย์อมโร ภิกขุ อดีตรองเจ้าอาวาสวัดอมราวดี เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

“อภัยคีรี” เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า “ขุนเขาแห่งความปลอดภัย” ซึ่งเป็นชื่อวัดโบราณในประเทศศรีลังกา ที่ต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ต่างนิกายมาปฏิบัติธรรมร่วมกัน ด้วยความสมัครสมานสามัคคี ด้วยความเชื่อว่า “ทุกชีวิตมีสิทธิ์ในการทำทุกข์ให้สิ้นได้เท่าๆ กัน”

ปัจจุบัน “วัดป่าอภัยคีรี” ในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ไม่แตกต่างกันนักคือ ได้เปิดโอกาสให้สาธุชนผู้มีความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ รักในสติ รักในปัญญา ได้เข้าถึงความสงบ สัปปายะ เป็นธรรมชาติตามแนววัดป่าฝ่ายเถรวาท ไม่ว่าผู้นั้นจะนับถือศาสนาใด นิกายไหน มีสีผิวอย่างไร ไม่เลือกเชื้อชาติ เพศ และอายุ

รูปภาพ
พระอาจารย์อมโร ภิกขุ เจ้าอาวาสวัดป่าอภัยคีรี อีกรูปหนึ่ง

รูปภาพ
พระราชสุเมธาจารย์ (ท่านพระอาจารย์สุเมโธ)


๏ สาขาแรกของวัดหนองป่าพงในอเมริกา

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ หลวงพ่อชาได้รับนิมนต์ไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อแสดงธรรมและอบรมกรรมฐานแก่ญาติโยมชาวไทยและชาวตะวันตก ในครั้งนั้นผู้มีศรัทธาได้ปรารภกับหลวงพ่อถึงการเปิดสาขาวัดหนองป่าพงในอเมริกา หลวงพ่อชาตอบว่า “รอไปเถอะอีก ๒๐ ปีจะมีสาขาในอเมริกา”

พ.ศ. ๒๕๒๗ ท่านพระอาจารย์สุเมโธ (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชสุเมธาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดอมราวดี เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ) ศิษย์ชาวต่างชาติรูปแรกของหลวงพ่อชา ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมและอบรมกรรมฐานแก่ชาวเมืองซานฟรานซิสโก และมีผู้ศรัทธาเป็นจำนวนมาก จึงได้รวมตัวกันก่อตั้งมูลนิธิสังฆปาละขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เพื่อจัดหาสถานที่เหมาะสมแก่การสร้างวัดป่าที่ไม่ไกลจากซานฟรานซิสโก

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ คณาจารย์ Hsuan Hua เจ้าอาวาสวัดพระพุทธรูปหมื่นองค์ (The City of Ten Thousand Bhuddhas) คณะสงฆ์ฝ่ายมหายาน ได้เมตตามอบที่ดินจำนวน ๑๒๐ เอเคอร์ ใกล้วัดของท่าน ให้กับคณะศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อชา สุภทฺโท ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ คณาจารย์ Hsuan Hua ได้เคยมาปฏิบัติธรรมในประเทศไทย และประทับใจในแนวทางปฏิบัติของคณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาท มีความปรารถนาที่จะเห็นการปฏิบัติธรรมร่วมกันของพระภิกษุฝ่ายมหายานกับฝ่ายเถรวาทอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อท่านได้พบกับท่านพระอาจารย์สุเมโธ ท่านทั้งสองมีความเคารพนับถือซึ่งกันและกันเป็นอันมาก

ที่ดินดังกล่าวมีลักษณะเป็นป่าบนภูเขา มีความสงบร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม แต่ไม่มีทางเข้า-ออก ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ มูลนิธิสังฆปาละ คณะศิษย์ชาวไทยและต่างประเทศ จึงได้รวบรวมทุนจัดซื้อที่ดินที่มีทางเข้าออก พร้อมบ้านและโรงรถ พอที่จะดัดแปลงให้เป็นที่อยู่อาศัยได้ชั่วคราว ทำให้มีที่ดินรวมทั้งหมด ๒๕๐ เอเคอร์

วัดป่าอภัยคีรี จึงเป็นสาขาแรกของวัดหนองป่าพง ในสหรัฐอเมริกา และเป็นที่น่าประหลาดใจว่า นับเป็นเวลาได้ ๒๐ ปีพอดี จากวันที่หลวงพ่อชาไปเยือนอเมริกา

หลวงพ่อชาได้ให้หลักการไว้ว่า “ให้มุ่งสร้างวัดภายใน” เสียก่อน คือ สร้างกายวาจาใจที่มีวัตรปฏิบัติดี ท่านเคยกล่าวด้วยว่า “ให้พระสร้างคน แล้วคนจะสร้างวัด”

พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ และพระอาจารย์อมโร ภิกขุ ดำเนินตามแนวทางของหลวงพ่อชา ในการอบรมถ่ายทอดความรู้ และสอนการปฏิบัติธรรมให้แก่บุคคลทั่วไป และผู้ปรารถนาจะใช้ชีวิตอย่างสมณเพศ ต่อมาท่านอาจารย์ปสันโน ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ เพื่อความสะดวกในการบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณรใหม่ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้สนใจบวชเป็นภิกษุได้จะต้องถือศีล ๘ เป็นผ้าขาว ๑ ปี บรรพชาเป็นสามเณร อีก ๑ ปี จึงจะได้รับการพิจารณาให้บวชเป็นพระภิกษุ

ในปีแรกๆ ระหว่างรอการอนุญาตจากเทศบาลมลรัฐให้สร้างวัด ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดมีศรัทธามาช่วยสร้างกุฏิหลังเล็กๆ โดยซื้อเศษไม้ราคาถูกมาประกอบ และดัดแปลงรถนอนที่ได้รับบริจาคให้พออยู่ได้ หากคราวใดกุฏิไม่พอ ก็ใช้กางเต๊นท์เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุ สามเณร และอานาคาริกะ (ปะขาว) ไปชั่วคราว

ต่อมาเมื่อได้รับอนุญาตให้สร้างเป็นวัด ทางเทศบาลของมลรัฐกำหนดให้รื้อถอนกุฏิที่พระและญาติโยมสร้างกันเองออก รถนอนและเต๊นท์ก็ห้ามใช้อีกด้วย เทศบาลยังกำหนดเคร่งครัดว่า จะให้พักที่วัดได้ไม่เกินครั้งละกี่คน ทั้งนี้เพราะบางส่วนของวัดอยู่ในเขตที่มีแผ่นดินไหว จึงต้องเคร่งครัดเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้กุฏิจึงมีไม่เพียงพอ กับจำนวนพระภิกษุที่จำพรรษาอยู่ และไม่สามารถบวชภิกษุสามเณรใหม่ หรือรองรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ จึงมีการสร้างเสนาสนะต่างๆ ให้กับวัดป่าอภัยคีรี เพิ่มขึ้น

ปัจจุบันพระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ ท่านยังคงเดินทางมาประเทศไทยเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ และอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ตามโอกาสอันควร

รูปภาพ
พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ



.............................................................

คัดลอกเนื้อหามาจาก ::
(๑) หนังสือธรรมะชื่อ “ง่ายกว่าที่คิด”
http://www.dharma-gateway.com/
(๒) หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๘

เจ้าของ:  สาวิกาน้อย [ 11 พ.ค. 2009, 08:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ

รูปภาพ

พระอาจารย์ปสันโน
เจ้าอาวาสวัดป่าอภัยคีรี น้อมธรรมนำสู่ตน



พระอาจารย์บวชมาได้กี่พรรษาแล้วคะ

บวชมาได้ 28 พรรษา

ท่านอาจารย์บวชเพราะอะไรคะ

การบวชของเราเกิดจากความสนใจในพระพุทธศาสนาและความสนใจที่จะหาความสงบในชีวิต ที่จริงก็บวชด้วยความบังเอิญ คือเราไม่ได้ [ถึงกับ] ตั้งใจบวช เราเพียงแต่ตั้งจะศึกษาพระพุทธศาสนา ตั้งใจหาวิธีทำจิตให้สงบ เรามาเมืองไทย มาในฐานะนักท่องเที่ยว คือเราไม่รู้ว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา เราเป็นคนแคนาดาและเพิ่งจบมหาวิทยาลัยใหม่ๆ และยังหนุ่ม ก็อยากหาประสบการณ์ เราก็ไปเที่ยวทางยุโรป ไปหลายประเทศ กรีซ ตุรกี อิหร่าน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล ก็ไปกัน เพื่อหาประสบการณ์ แต่ว่าเมื่อยิ่งมีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งมีความรู้สึกอยากแสวงหาสิ่งที่เป็นแก่นในชีวิตบ้าง มันมีส่วนหนึ่งทีทำให้เราอยากแสวงหาอะไรที่เป็นสาระ

เราไปเช่าบ้านที่ทางเหนือของอินเดีย แถบภูเขาหิมาลัย บ้านก็สวย สถานที่ก็สวย เป็นภูเขาสูงๆ อยู่ในสวนแอปเปิ้ล ใกล้ๆ ก็มีน้ำตก 2 แห่ง มีน้ำพุร้อน คือธรรมชาติก็สวยที่สุดที่เราเคยเจอมา คนที่เราอยู่ด้วยเราก็ชอบ แต่ก็ยังรู้สึกว่า เอ๊ะ อันนี้ ทำไมเรามีอะไรทุกอย่างทีเราเคยปรารถนา แต่ยังไม่มีความสุข ก็มีความรู้สึกเช่นนี้มาตลอด แต่ก็มีความรู้สึกค่อนข้างจะชัดเจนที่อินเดีย และรู้สึกมาตลอดว่า ความพร้อมทางด้านวัตถุที่รายล้อมตัวเรานั้นไม่ได้ทำให้เรามีความสุขในใจ มีความรู้สึกว่า ยังไงเราก็ต้องไปแสวงหาความสุขทางจิตใจมากกว่า ไม่รู้จะไปหาได้ที่ไหน

เคยได้อ่านหนังสือเกียวกับพระพุทธศาสนาในสมัยเราเป็นนักศึกษา ก็มีความสนใจมากพอสมควร แต่ไม่เคยพบครูบาอาจารย์ มาถึงเมืองไทยก็คงจะเบื่อในการท่องเที่ยวแล้ว แล้วก็พระพุทธศาสนาก็พร้อม คือหันไปทิศไหน ก็เห็นวัด ชอบพุทธอยู่ตลอด ก็เลยทำให้เรา เอ๊อะ เราเมื่ออยู่ในทีนี้ เราควรจะถือโอกาสศึกษาพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะวิธีฝึกสมาธิ ทำกัมมัฏฐาน ก็ได้เริ่มทำ เริ่มทำแล้วก็ทำในวัด อยู่ในวัด ศึกษาในวัด

พระที่อยู่ก็ชวนให้บวช คือเราปฏิบัติมาแล้ว เราฝึกมาแล้ว เราก็เห็นคุณค่าในการปฏิบัติ พระจึงได้ชวนบวช เราก็คิดว่า ถูกถามที่แรกก็ปฏิเสธ ไม่สนใจที่จะบวช เพราะว่าเราคิดในหลักว่า บวช เราก็ต้องอยู่เป็นนักบวชตลอดชีวิต พระจึงบอกว่า ในประเทศไทยนั้นเรามีประเพณี เราไม่จำเป็นที่จะต้องบวชอยู่ตลอดชีวิตหรอก จะบวชสักพรรษานึง สัก 3-4 เดือน เราก็คิด เอ๊อะ 3 เดือน 4 เดือน เราก็พอไหว คิดว่าจะไม่เกินกำลังของเรา เราก็น่าจะได้สิ่งที่ดีจากประสบการณ์อันนั้น ตอนที่เราบวชใหม่ๆ เราก็คิดแค่นั้น แต่พอบวชแล้ว ก็ยิ่งจะเห็นคุณค่าของการปฏิบัติ และเริ่มที่จะรับความสงบทางจิตใจ เมื่อได้เริ่มรับความสงบเราก็อยากจะปฏิบัติต่อ

ตอนนั้น ที่เราบวชก็บวชที่กรุงเทพฯ ที่ฝั่งธนฯ ที่ วัดเพลงวิปัสสนา และก็ได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงพ่อชา ซึ่งท่านเป็นพระที่อยู่ป่า และก็อยู่ต่างจังหวัด และปฏิบัติเคร่งครัด ระเบียบเรียบร้อย เราก็ฟังแล้วก็น่าสนใจ ก็ขึ้นไปกราบหลวงพ่อชาที่อุบลฯ ที่วัดหนองป่าพง

คำพูดแรกที่ท่านพูดออกมาว่า เอ้อ คุณจะมาปฏิบัติกับเรา อยู่กับเรา ต้องอยู่อย่างน้อย 5 ปี ทีแรกได้ยินถึงกับถอยเลย รู้สึกไม่ไหว แต่ว่าตอนนั้นทำให้เราได้พิจารณานะ เอ๊ะ เราเห็นตัวอย่างของหลวงพ่อชา เราก็ศรัทธา เห็นปฏิปทาของพระ เณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา เราก็ประทับใจและศรัทธา ก็อยากจะศึกษาอยากจะอยู่ด้วย เราก็ยิ่งเห็นตัวอย่างของหลวงพ่อชา ท่านก็เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และท่านก็มีเสน่ห์ในตัวท่าน คือท่านสอนก็ดึงใจของคนได้ ก็ทำให้เราก็ยิ่งศรัทธา ก็ยิ่งอยากจะอยู่ ก็เถียงในใจนานพอสมควร ก็เลยตกลง เอ้า 5 ปีก็ 5 ปี

จากทีแรก ที่ตัดสินใจบวช ไม่คิดว่าจะนานเลย ไม่ได้คิดอะไร เพราะว่าคิดจะสึกอยู่แล้ว (หัวเราะ) คือเราไม่ได้ตั้งใจทีจะอยู่นาน เลยไม่ได้ฝืนใจ ความรู้สึกของอาตมาก็ปฏิบัติไป ยิ่งเห็นคุณค่า ก็ยิ่งพอใจที่จะอยู่ในเพศบรรพชิต เพราะเรารู้สึกว่า เอ้อ ทางนี้เป็นทางที่ถูกต้อง

จากการที่ได้ศึกษาประวัติของท่านอาจารย์นะคะ ท่านอาจารย์เรียนทางด้านจิตวิทยาใช่ไหมคะ จิตวิทยาก็ศึกษาเรื่องจิตใจของมนุษย์ ตอบคำถามไม่ได้หรือคะ

คือเราดูจากตัวอย่างของคน คืออันนี้มันเป็นส่วนหนึ่ง เช่น ถ้าจะเทียบ เราเห็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย ที่สอนเรื่องจิตวิทยา ไม่เห็นสงบเลย ยังจะมีเรื่องอิจฉากัน เรื่องทะเลาะกัน เราก็ดู เอ๊ะ รู้สึกสายจิตวิทยา จิตไม่เห็นจะได้อะไรมากเท่าไร แต่ว่า ยิ่งจะเห็นผู้ทีสอน อาจารย์ที่สอนพุทธศาสนา เราก็ประทับใจในความสงบและก็เหตุผล ยิ่งเห็นหลวงพ่อชา ก็ยิ่งจะมีความรู้สึกไม่เหมือนกัน พระพุทธศาสนานั้นเป็นเรื่องภาคปฏิบัติ ต้องเอามาใช้ในชีวิตจริงๆ ใช้แล้ว จิตใจย่อมเปลี่ยน

การสอนของหลวงพ่อชานั้น ในแต่ละวัน ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือ วิธีดำเนินชีวิต เพราะว่าเราอาศัยรูปแบบของสงฆ์ และข้อวัตรระเบียบ การรักษาความเรียบร้อย จะการเดินออกบิณฑบาตก็ดี จะกลับมาวัด เวลาจะนั่ง คือมีหลักเกณฑ์ที่ควรจะปฏิบัติตาม เวลาอยู่ด้วยกันในหมู่สงฆ์ เราจะมีหน้าที่ซึ่งกันและกัน ที่จะต้องช่วยเหลือ ต้องเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน คือจะเอาสิทธิความเห็นของตัวเองเป็นใหญ่ไม่ได้ คือต้องอยู่เป็นหมู่เป็นคณะ เรื่องนี้มันเป็นส่วนที่ช่วยสอนเรา ในการละกิเลส การสังเกตว่าสิ่งที่ทำให้เรารำคาญ หรือสิ่งที่ทำให้เราเยือกเย็นคืออะไรบ้าง เราศึกษาจากชีวิต

นอกจากนั้น หลวงพ่อก็จะทำวัตร และก็พาเราทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น มีการนั่งสมาธิ มีการเดินจงกรม อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งคือชีวิตประจำวันด้วย

รูปภาพ

แล้วท่านอาจารย์พบว่า ท่านอาจารย์ได้เข้าใจในชีวิต ได้เรียนรู้มากขึ้นเรื่อยๆ ยังไงคะ

เราก็รู้สึกว่าเราได้เรียนรู้มากขึ้น พอใจในการปฏิบัติมากขึ้น ในวัดหนองป่าพง ในสมัยนั้น คือถ้าเราอยู่ข้างนอก เราก็จะคิดว่า เอ้ ทรมาน อยู่อย่างลำบาก หรือมาอยู่บ้านนอก อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน เดินก็ต้องเดินไกล บิณฑบาตมาแล้วเราก็ได้อาหารไม่มากนัก จะต้องเดินไกล อาหารที่ได้มา บางทีก็ข้าวเหนียว ปลาแดกบ้าง ไม่น่าสนใจ แต่ว่า คือความลำบากอันนั้นก็กลายเป็นส่วนหนึ่งที่เรา เป็นประสบการณ์ และก็ได้ฝึกหัดในสิ่งที่เป็นคุณธรรมด้านจิตใจ

แล้วท่านอาจารย์เรียน ศึกษาธรรมกับท่านหลวงพ่อชานานแค่ไหนคะ

เราอยู่กับหลวงพ่อชาได้ประมาณ 8 ปี แล้วท่านได้ป่วย ก็ช่วงที่ท่านไม่สบาย เราก็ยังอยู่ทีวัดนานาชาติ ก็ช่วยดูแลท่าน จนกระทั่งท่านได้มรณภาพไป ก็อยู่นานพอสมควร ทั้งหมดเราอยู่เมืองไทย 23 พรรษา ก่อนที่จะไปอเมริกา

ทำไมโบสถ์ที่วัดท่านเป็นอย่างนั้นละคะ

วัดป่าอภัยคิรีนั้นยังเป็นวัดใหม่ ยังไม่มีโอกาสที่จะทำอย่างอื่น สิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็มีตามอัตภาพ คือสมัยพุทธกาล จะสร้างโบสถ์ใหญ่ๆ ตกแต่งอะไรมากนัก เขาไม่ค่อยทำ คือจะอาศัยที่ไหนที่มีสงฆ์พร้อมกัน คือเป็นสีมาตรงนั้น สมัยพุทธกาล การบวชก็คงจะกลางแจ้งเสียมาก แล้วเราไปอยู่ที่อเมริกา เป็นสถานที่ที่ราบพอสมควร ก็เป็นมุมสงบของวัดแห่งหนึ่ง เราก็เห็นว่าเป็นที่สมควรที่จะจัดการอุปสมบท ก็คิดว่า ในอนาคตต่อไปก็อาจจะสร้างโบสถ์ที่ถาวร แต่ในระยะนี้รู้สึกว่าอันนั้นก็พอ แล้วก็บรรยากาศก็ดี เป็นธรรมชาติ

ถ้ามีคนๆ หนึ่งอยากจะเรียนธรรมะ เริ่มต้นจากไม่รู้อะไรเลย สมมุติเป็นดิฉันเจ้าค่ะ ท่านอาจารย์จะเริ่มสอนอะไรคะ

พูดถึงปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยนี้คนก็จะหาวิธีทำให้จิตสงบ ก็มักจะเน้นในเรื่องนี้ก่อน คือทำอย่างไรถึงจะทำให้จิตสงบ ขอให้ได้ทดลองการนั่งสมาธิ การรักษาศีล เพราะว่าความทุกข์ความวุ่นวาย มันไม่ใช่ว่ามันลอยมา มันมีเหตุ คือเหตุในตัวเรา การดำเนินชีวิตส่วนหนึ่ง แล้วก็ความขาดสติ และผู้รู้อยู่ในตัว ที่สามารถจะทำให้อารมณ์และความรู้สึกได้เย็นลง คือชอบฟุ้งซ่าน ชอบคิดในเรื่องที่พาให้วุ่นวาย จะพยายามสอนให้จิตมีสติมากขึ้น ฝึกให้มีผู้รู้ ติดตามความรู้สึกในกายในใจ จะได้ไม่หลงไปตาม ตรวจความคิดของตัวเองก็ดี ความเห็นของตัวเองก็ดี หรือแม้แต่โลกภายนอกก็ดี

กำหนดทีลมหายใจเข้า ลมหายใจออก กำหนดที่ความรู้สึกภายในร่างกาย ทำให้มีสติติดตาม แทนที่จะไปติดตามอารมณ์ความคิดนั้น คิดนึกปรุงแต่งต่างๆ เราก็กลับมาที่ความรู้สึกภายในร่างกาย ความรู้สึกของลมหายใจเข้าหายใจออก ก็จะช่วยจิตใจเย็นลง ขอให้มีสติเพิ่มขึ้น เรามีลมหายใจเข้าลมหายใจออกทุกคน ถ้าไม่มีก็ตาย เรียกว่ามีเครื่องมือพร้อม อุปกรณ์พร้อมที่จะทำให้จิตสงบได้

และสิ่งสำคัญในการเรียนการสอนให้ธรรมประสบความสำเร็จ คืออะไรคะ

ส่วนหนึ่งต้องมีสัจจะคือความซื่อตรงกับตัวเอง เช่นตัวเรามีความวุ่นวาย อยากให้มีความสงบมากขึ้น แต่ถ้าเรามีสัจจะในใจว่า เรานี่จะสงบ เราไม่อยากความวุ่นวาย เราคอยเห็นว่าสาเหตุของความวุ่นวายอยู่ตรงไหน

เพราะว่าโดยปกติเราไม่ค่อยซื่อตรงต่อตัวเอง แต่มีความทุกข์ คือไม่ใช่เป็นเรื่องของเรา เขามานินทาเรา จึงทุกข์ เขามาว่าเรา จึงทุกข์ เขามาวุ่นวาย จึงทุกข์ ครอบครัววุ่นวาย จึงทุกข์ อะไรอย่างนี้ คือเราจะโทษข้างนอกทังหมด ไม่เคยดูตัวเอง

หลวงพ่อชาท่านสอน สมมติว่ามีรูในดิน แล้วเอาเราของมีค่าใส่ลงไปในรูนั้น เวลาเราพยายามเอาของนั้นกลับคืนมา ก็พยายามเอามือล้วงลงไป ถ้าหากว่าไม่ถึง คนมักจะโทษว่า ไอ้รูนี้ลึกเกินไป เอาของขึ้นไม่ได้ ไม่มีใครว่าแขนเรานั้นสั้นไป คือเป็นวิธีการคิด คือเป็นธรรมะ เราจะน้อมเข้ามาใส่ตัวเรา ที่เราสวดเกี่ยวกับคุณสมบัติของธรรม มีคำหนึ่ง "โอปนยิโก" ต้องน้อมเข้ามาใส่ตัวเรา โดยปกติเราก็ไม่น้อมเข้ามา มันก็ออกไปเรื่อยๆ เวลาใจของเราออกไปเรื่อยๆ ความหลากหลายของอารมณ์มันก็ทวีขึ้น ในการที่จะน้อมใจของเรากลับเข้ามาหาหลักให้ตัวเราเอง ให้มีสติอยู่ คือความเท่าทันอารมณ์ ให้มีปัญญาอยู่ คือความรอบรู้ในอารมณ์นั้น คือตัวสติปัญญาภายในตัวเราจะเป็นสิ่งที่แก้ความทุกข์ได้ ทำความสงบให้เกิดขึ้นได้

รูปภาพ

ท่านอาจารย์ได้สอนทั้งคนไทยและต่างประเทศด้วย เปรียบเทียบหน่อยได้ไหมคะว่าต่างกันอย่างไร

ในการสอนธรรมแก่คนไทยและฝรั่งนั้น ในแง่หนึ่งก็เหมือนกัน ในลักษณะว่า คือเป็นมนุษย์น่ะมันชอบวิ่งไปตามความโลภ ความโกรธ ความหลง เหมือนกัน แต่ว่ายังไงก็ต้องมีความแตกต่างกัน คือด้านวัฒนธรรม เช่น คนไทย พูดถึงโดยทั่วๆ ไป พื้นฐานของคนไทยจะมีศรัทธา ซึ่งเป็นส่วนที่เวลาเราสอน จะมีความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา หรืออย่างน้อยก็จะรับฟัง เพราะว่าศรัทธาเขาเป็นพื้นในสังคม เป็นพื้นในวัฒนธรรม และเป็นพื้นฐานทางจิตใจ พูดถึงทั่วๆ ไป

แต่เป็นฝรั่ง ไม่มี...ศรัทธาเขาจะน้อยมาก จะมีความสงสัย เป็นส่วนใหญ่ และจะมีความไม่เชื่อไว้ก่อน อันนี้เป็นความแตกต่าง ซึ่งเวลาสอนกับชาวต่างประเทศ ต้องให้เขาเข้าใจในเหตุผลให้ชัดเจนเสียก่อน คือหากว่าเขาไม่เข้าใจในเหตุผล เขาก็จะไม่ย่อมที่จะปฏิบัติตาม อันนี้เป็นส่วนที่แตกต่าง อันนั้นก็เป็นส่วนเสีย ส่วนดีคือ อาศัยความสงสัย ทำให้ค้นคว้าหาหลักหาแก่นสาร หาสาระให้กับคำสอน อันนั้นก็เป็นส่วนที่เป็นผลดี เพราะว่าทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษอยู่ร่วมกันเสมอ

ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านจะยกประเด็นของความทุกข์และการแก้ความทุกข์ เป็นหลักในพระพุทธศาสนา เพราะว่าทุกข์ที่เกิดจากสงสัยก็มี ทุกข์ที่เกิดจากศรัทธาก็มี ให้เราพิจารณาดู ให้เราค้นคว้าดู ทำอย่างไรถึงจะไม่ต้องมีทุกข์เลย

ท่านอาจารย์สอนลูกศิษย์มาเยอะแยะ เจออะไรแปลกๆ บ้างไหมคะ

บางคนก็มีศรัทธา อยากได้ และคิดว่าเราจะสามารถสรรหาได้ทุกอย่าง แล้วก็ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาช่วย [สิ่งศักดิ์สิทธิ์] ก็อยู่ในตัวทุกคน

ยกตัวอย่างง่ายๆ เอาหลวงพ่อชาเป็นตัวอย่าง เคยมีครั้งหนึ่ง โยมคนหนึ่งไปหาหลวงพ่อชา เล่าให้ฟังว่า เคยบวชมาแล้ว เคยเป็นมหา แล้วก็ลาสิกขาไป มีครอบครัวมีอาชีพ แต่ว่ามีความอุปสรรคในการรักษาศีล ในการดำเนินชีวิต เขาไปทำผิดศีล มีปัญหาวุ่นวายแก่ตัวเอง แก่ครอบครัว เลยเข้าไปหาหลวงพ่อชาเพื่อรดน้ำมนต์ จะได้หายทุกข์แล้วก็หายปัญหา หลวงพ่อชาว่า เออ อย่างนี้ต้องให้สามเณรเอาหม้อน้ำมาให้มันต้มหน่อย เอาน้ำเดือดๆ มารด จะได้จำเอาไว้ มันไม่ใช่ว่ารดน้ำมนต์ จะหาย ต้องเปลี่ยนชีวิตของตัวเองจึงหาย

ท่านอาจารย์คิดว่าเป้าหมายในการบวชของท่านอาจารย์คืออะไรคะ

เป้าหมายก็คือหลุดพ้นจากความทุกข์ จากตัณหา หรือสิ่งที่เป็นมลทิน เราก็มีความตั้งใจที่จะหาสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอกว่า ทุกคนสามารถที่จะเข้าหาได้ คือความบริสุทธิ์ และความหลุดพ้น ความอิสระ ความปลอดโปร่ง ความบริสุทธิ์ อันนี้พระพุทธเจ้าบอกว่า เป็นสิ่งที่มนุษย์เราสามารถที่จะเข้าถึงได้ ภาวะของการปลดเปลื้องออกจากความทุกข์

แต่ท่ามกลางสังคมที่สับสนอยู่ทุกวันนี้ ท่านอาจารย์ยังมีความเชื่อใช่ไหมคะว่ามนุษย์ที่มีทุกข์มากๆ ยังหลุดพ้นได้ด้วยตัวเอง

คิดว่าทุกสามารถจะทำให้ทุกข์ลดน้อยลงได้ ไม่มากก็น้อย สามารถที่จะทำความทุกข์ให้หมดเลยก็ได้ ถ้าหากว่าตั้งใจปฏิบัติ ตั้งใจศึกษา ตั้งใจอยู่กับสิ่งที่ถูกต้อง บางครั้งเวลาเราใช้คำสั่งสอนธรรมะ บางทีนึกว่า แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ของพระไตรปิฎก เป็นหนังสือเยอะๆ และธรรมะมากมาย แต่ที่จริง ธรรมะถ้าจะสรุปมามันเรื่องของความถูกต้อง ถ้าหากเราอยู่กับความถูกต้อง เราจะไม่ทุกข์ แต่หากว่าเราฝืนกับความถูกต้องมันก็เกิดความทุกข์ เพราะฉะนั้น จุดนี้แหละเป็นจุดที่สำคัญ ธรรมนั้นไม่ใช่อยู่ข้างนอก เป็นสิ่งที่อยู่ในตัวเรา

รูปภาพ
พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ



.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน วันที่ 18 สิงหาคม 2545
บทสัมภาษณ์ พระอาจารย์ปสันโน เจ้าอาวาสวัดป่าอภัยคิรี สหรัฐอเมริกา
ในรายการ “นี่แหละ...ชีวิต” สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 วันที่ 18 ส.ค. 2545

เจ้าของ:  สาวิกาน้อย [ 11 พ.ค. 2009, 08:42 ]
หัวข้อกระทู้: 

รูปภาพ

พระผู้นำมรดกธรรมหลวงพ่อชาไปเผยแผ่ในแคลิฟอร์เนีย


ปัจจุบันนี้ วัดสาขาของวัดหนองป่าพงทั้งในต่างประเทศ มีอยู่กว่า ๑๐ แห่ง แต่ละแห่งล้วนสร้างขึ้นมาจากความศรัทธา ของเหล่าบรรดาลูกศิษย์ชาวต่างประเทศ ซึ่งครั้งหนึ่งได้เคย มาฝึกปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อชา อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ด้วยเหตุที่ว่า รูปแบบการเผยแผ่ของธรรมะของ หลวงพ่อชา ง่ายต่อความเข้าใจ ถ้าได้ฝึกปฏิบัติแล้วเห็นผลทันตา สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในภาวะที่สังคมอเมริกันชนมีความทุกข์ทางใจจากวิกฤติเศรษฐกิจและสภาวะของสงคราม

พระอาจารย์ปสันโน เจ้าอาวาสวัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา อดีตเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ ท่านเป็นพระศิษย์สายหลวงพ่อชาอีกรูปหนึ่ง ที่พยายามนำรูปแบบการเผยแผ่ธรรมะของหลวงพ่อชา ไปเผยแผ่ให้ชาวต่างชาติ หลุดพ้นจากความทุกข์ แม้ว่าท่านจะเป็นชาวต่างชาติ แต่ถ้าใครได้สัมผัสถึงวิธีการเผยแผ่ธรรมะแล้วจะต้องประหลาดใจ เพราะขนาดเราคนไทยแท้ๆ ได้เข้าวัดฟังเทศน์มาตั้งแต่เด็ก ยังไม่ซาบซึ้งในรสพระธรรมเท่าท่าน และต่อไปนี้คือ การสนทนาธรรมกับท่านแบบ “คม ชัด ลึก”

พระอาจารย์เริ่มศึกษาพุทธศาสนาเมื่อไรครับ ?

เริ่มจากอ่านหนังสือพุทธศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือของลัทธิเซน ครั้งแรกตั้งใจจะเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศญี่ปุ่น โดยตั้งใจไว้ว่า ต้องเที่ยวให้เต็มอิ่มก่อน เริ่มจากยุโรป ตะวันออกกลาง อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล จากนั้นก็คิดว่า จะแวะเที่ยวที่ประเทศไทยและออสเตรเลีย สุดท้ายก็จะไปตั้งหลักศึกษาที่ญี่ปุ่น

เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยรู้สึกอย่างไรบ้างครับ ?

ก่อนหน้านี้ไม่รู้จักประเทศไทยเลย จนกระทั่งได้มาเที่ยวเมืองไทยไม่ว่าจะเดินทางไปไหน ก็จะเห็นพระและวัดเต็มไปหมด ขณะนั้นคิดเพียงว่า น่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ศึกษาพุทธศาสนาด้วย จากนั้นก็เริ่มค้นคว้าหนังสือที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา รวมทั้งหาสถานที่สอนเรื่องการฝึกนั่งสมาธิ ฝึกสมาธิครั้งแรกที่วัดเมืองมาง จังหวัดเชียงใหม่ ขณะนั้นยังเป็นฆราวาสอยู่

ภาษาเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาธรรมะหรือเปล่าครับ ?

การเรียนต้องผ่านล่ามแปลภาษา ซึ่งค่อนข้างยาก แต่การเรียนรู้ด้วยการฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้เข้าใจพุทธศาสนาได้เร็วมากยิ่งขึ้น หลักจากฝึกได้ ๕๖ เดือน ได้ลงมาทำเอกสารทางการทูตที่สถานทูตแคนาดา จากนั้นก็ไปฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดเพลงวิปัสสนาอีกประมาณ ๕ เดือนเมื่อได้เป็นนักเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว

ภาษาเป็นอุปสรรคหรือเปล่าครับ ?

มีบ้าง แต่มันขึ้นอยู่กับปฏิภาณไหวพริบและปัญญาของผู้เผยแผ่ว่า เราจะอธิบายอย่างไรให้เข้าใจได้ง่าย บางครั้งคำศัพท์ในภาษาอื่นไม่มี ถ้าเปรียบเทียบระหว่างการเผยแผ่ด้วยภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศ อาตมาก็ยังคิดว่าภาษาไทยฟังง่ายกว่า

มีความพยายามที่จะหาคำศัพท์ง่ายๆ มาอธิบายธรรมะหรือเปล่าครับ ?

อาตมาพยายามหาคำพูดง่ายๆ ที่กินใจ เข้าใจง่าย ซึ่งต้องค่อยเป็นค่อยไป แต่มีเรื่องหนึ่งที่น่ายินดี สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ปัจจุบันนี้ โรงพิมพ์ใหญ่ๆ ในแคลิฟอร์เนียหลายแห่งกำลังค้นหาผู้ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนา เพราะขายดีอยู่ในลำดับต้นๆ ของทุกศาสนา เช่น ที่วัดมีญาติโยมเขียนจดหมายมาขอหนังสือธรรมะทุกวัน รวมทั้งขอมาพักที่วัด เพื่อศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมถึงขนาดที่พักไม่พอ

ก่อนที่จะตัดสินใจบวชพระ ท่านคิดอยู่นานหรือเปล่าครับ ?

ครั้งแรกไม่คิดจะบวช เพราะคิดว่ามีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่งที่ยังไม่ได้เดินทางไป ขณะเดียวกันก็มีภาระอีกหลายอย่างที่จัดการยังไม่เสร็จ ท่านจึงแนะนำให้บวชเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อน อาตมาจึงตัดสินใจบวช ครั้งแรกคิดว่าจะบวช ๓๔ เดือนเท่านั้น

พระอาจารย์บวชพระเพื่ออะไรครับ ?

อาตมาบวชที่วัดเพลงวิปัสสนา ขณะนั้นมีอายุเพียง ๒๔ ปีเท่านั้น ส่วนเหตุผลที่อยากบวช คือเพราะความอยากรู้ อยากฝึก อยากมีความเข้าใจในวิถีทางที่ไปสู่ความสงบของจิตใจ ขณะจำวัดอยู่วัดเพลงวิปัสสนา ได้ยินนักท่องเที่ยวพูดถึงกิตติศัพท์ของหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี โดยเฉพาะความสามารถเรื่องการสอนวิปัสสนากรรมฐาน รวมทั้งวัตรปฏิบัติ ดังนั้นจึงขออนุญาตไปศึกษาที่วัดหนองป่าพง

รูปภาพ
รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ต.ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม



ระหว่างไปกราบหลวงพ่อชา ท่านพูดอะไรบ้างครับ ?

ครั้งแรกที่ไปกราบหลวงพ่อชา เมื่อท่านรู้ว่าเป็นพระที่บวชในระยะสั้นๆ ท่านจึงบอกว่า ถ้าอยากจะอยู่เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานที่วัดหนองป่าพง ต้องอยู่อย่างน้อยถึง ๕ ปี ครั้งแรกที่ได้ยินก็รู้สึกว่าขัดกับความตั้งใจ แต่เมื่ออยู่ได้ระยะหนึ่ง รู้สึกว่าถ้าจะให้ศึกษา ๕ ปี อยู่ไม่ได้ จึงย้ายไปอยู่ที่สำนักปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่งใน จ.สุพรรณบุรี ระหว่างนี้นึกถึงหลวงพ่อชาตลอดเวลา ดังนั้นจึงตัดสินใจกลับไปมอบตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อชาเป็นเวลา ๕ ปี ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อชา เมื่ออยู่ครบ ๕ ปี ก็รู้สึกว่าเวลาที่ผ่านมามันน้อยไป จึงขออยู่ศึกษาต่อ

หลวงพ่อชาพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วท่านมีวิธีสอนพระชาวต่างประเทศอย่างไรครับ ?

มีล่ามช่วยแปลให้ ขณะเดียวกันหลวงพ่อชาก็สอนธรรมะง่ายๆ ให้ นอกจากนี้ ท่านยังปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างที่ดีด้วย ไม่ว่าท่านจะพูด จะทำงาน ล้วนเป็นตัวอย่างที่ดี ระหว่างนี้จะไปมาระหว่างวัดป่านานาชาติ สาขาอื่นของวัดหนองป่าพงบ้าง ประมาณ ๘ ปี จนกระทั่งหลวงพ่อชาได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ ระหว่างปี ๒๕๒๕-๒๕๓๙ จากนั้นก็ย้ายไปอยู่สหรัฐอเมริกา ขณะนั้นจะมีการสร้างวัดใหม่ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย

ขณะนี้ที่วัดป่าอภัยคีรีมีพระกี่รูปครับ ?

พระ ๗ รูป สามเณร ๑ รูป แม่ชี ๒ คน และผ้าขาวอีก ๑ คน ทั้งหมดนี้เป็นชาวต่างชาติ แต่ไม่ได้เป็นชาวอเมริกันทุกคน

เหตุผลของการออกบวชพระของคนอเมริกันเหมือนคนไทยหรือเปล่าครับ ?

คนไทยส่วนใหญ่บวชพระเพราะเป็นไปตามประเพณี แต่คนอเมริกันบวชพระเพราะความศรัทธา สนใจในหลักธรรม อยากมีชีวิตที่เรียบง่าย ส่วนเหตุผลที่ชาวอเมริกันมานับถือศาสนาพุทธมากยิ่งขึ้น เพราะเขาอยากแสวงหาความสงบสุข อยากแสวงหาวิถีชีวิตที่ถูกต้อง ไม่เบียดเบียนใคร ทุกศาสนาล้วนสอนให้เป็นคนดีมีความสามัคคี

แล้วศาสนาพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นอย่างไรครับ ?

ศาสนาพุทธมีคำสอนเรื่องเหตุผลที่ชัดเจนกว่าศาสนาอื่น แม้ว่าทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดี แต่ไม่ได้อธิบายว่าทำไมต้องเป็นคนดี ส่วนศาสนาพุทธจะอธิบายทั้งเหตุและผลของการเป็นคนดี

มีคนบอกว่า หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเปรียบได้กับหลักวิทยาศาสตร์ ท่านคิดว่าอย่างไรครับ ?

อาจจะพูดเช่นนั้นก็ได้ แต่พุทธศาสนาลึกซึ้งกว่าวิทยาศาสตร์หลายเท่า เพราะวิทยาศาสตร์ศึกษาเฉพาะปรากฏการณ์ทางกายภาพเท่านั้น แต่พุทธศาสนาศึกษาถึงภายใน มองให้เกิดประโยชน์ภายใน

แล้วท่านสร้างความศรัทธาอย่างไร จึงได้รับเงินทำบุญจากญาติโยม ?

อาตมาใช้หลักปฏิบัติของหลวงพ่อชาและธรรมะของพระพุทธเจ้าในการสร้างศรัทธา การรักษาศีล การปฏิบัติดีปฏิบัติชอบให้ปรากฏ เท่านี้ก็เกิดศรัทธา เมื่อมีศรัทธา คนก็ทำบุญเอง

ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการบูชาวัตถุมงคล ?

วัตถุมงคลไม่ใช่สิ่งไม่ดี ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะส่งเสริม เพราะไม่ตรงเป้าหมายของพระพุทธศาสนา แต่ก็สามารถใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สร้างกำลังใจ ให้ความคุ้มครองได้ แต่คนมักจะหลงและนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง

ศาสนาอื่นๆ มีวัตถุมงคลให้ศาสนิกชนได้บูชาเหมือนศาสนาพุทธในประเทศไทยหรือเปล่าครับ ?

ทุกศาสนามีวัตถุมงคลให้ยึดเหนี่ยวจิตใจ สุดแล้วแต่จะมีความเชื่ออย่างไร แม้ว่ารูปลักษณ์ของวัตถุมงคลจะแตกต่างกัน แต่จุดประสงค์ก็คล้ายๆ กัน คือไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ

มีใครเคยมาขอวัตถุมงคลบ้างหรือเปล่าครับ ?

มีเพียงแค่ครั้งเดียว และก็เป็นชาวต่างชาติด้วย ซึ่งอาตมาเข้าใจว่า เขาน่าจะรู้ว่าเป็นนักบวช ทั้งนี้อาตมาได้ให้พระพุทธรูปองค์เล็กๆ ไป

แล้วที่วัดป่าอภัยคีรี มีการสร้างวัตถุมงคลหรือเปล่าครับ ?

ในหลักคำสอนของหลวงพ่อชาไม่เน้นวัตถุมงคล แต่จะมุ่งเน้นให้สร้างคนให้เป็นนักบวช สร้างคนให้เป็นมงคล ถือว่าเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม

ท่านช่วยอธิบายเรื่องปาฏิหาริย์และแคล้วคลาดว่าแท้ที่จริงแล้วเกิดจากอะไร ?

ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นได้เสมอ มันเป็นไปตามหลักธรรมชาติ มีเหตุก็ต้องมีผล ถ้าเหตุไม่มีแล้วผลจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

พระอาจารย์ต้องออกเดินบิณฑบาตเหมือนพระในเมืองไทยหรือเปล่าครับ ?

อาทิตย์ละครั้ง โดยต้องเดินทางไปหมู่บ้าน ซึ่งมีระยะทางห่างจากวัดประมาณ ๒๕ ไมล์ อาตมาต้องนั่งรถไปก่อน เมื่อถึงหมู่บ้านก็ลงเดิน

รูปภาพ

ครั้งแรกที่ท่านออกบิณฑบาตเป็นอย่างไรบ้างครับ ?

การบิณฑบาตสำหรับเมืองไทยถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่กลับกลายเป็นเรื่องแปลกประหลาดสำหรับคนแคลิฟอร์เนีย วันแรกไม่ได้อะไรเลย มิหนำซ้ำบางคนก็หัวเราะ บางคนก็ตะโกนด่า เยาะเย้ย บางคนก็ทำท่าจะทำร้าย ที่เป็นเช่นนี้เพราะคนไม่เข้าใจวัฒนธรรมของพุทธศาสนา ให้หลังจากนั้นประมาณ ๒ เดือน นักข่าวของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไปถ่ายภาพและสัมภาษณ์ว่า สิ่งที่ทำนั้นคืออะไร เพื่ออะไร การบิณฑบาตเป็นวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้คนรู้จักทำบุญทำทาน เมื่อหนังสือพิมพ์ออกเผยแพร่ ในที่สุดคนก็เข้าใจ

เคยมีคนใส่บาตรด้วยแฮมเบอร์เกอร์บ้างหรือเปล่าครับ ?

เชื่อไหมว่า ตลอดระยะเวลาที่ออกบิณฑบาต ไม่มีใครใส่บาตรด้วยแฮมเบอร์เกอร์ อาหารที่ในบาตรส่วนใหญ่จะเป็นอาหารพวกมังสวิรัติ เพราะว่าศีลข้อที่ 1 ห้ามเรื่องฆ่าสัตว์ เขาจึงพลอยไม่กินเนื้อสัตว์ไปด้วย

มีกระแสต่อต้านจากศาสนาอื่นๆ หรือเปล่าครับ ?

มีบ้าง เล็กๆ น้อยๆ แต่ในเมืองที่อยู่เขาเปิดใจกว้างเรื่องการนับถือศาสนา ถ้าไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ก็จะสนับสนุน ส่วนเมืองอื่นๆ จะมีปัญหาค่อนข้างมากเพราะจิตใจคับแคบ

การสวดมนต์ที่วัดสวดแบบไหนครับ ?

สวดเป็นภาษาบาลีเช่นเดียวกับเมืองไทย และก็แปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อสร้างความเข้าใจให้ง่ายมากยิ่งขึ้น

มีวัฒนธรรมทางศาสนา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทยอะไรบ้างที่ไปพร้อมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ?

ปัจจุบันนี้ วัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมของพุทธศาสนาแยกกันเกือบไม่ออก เช่นการเวียนเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนา การทำบุญในวันเทศกาลต่างๆ ทำบุญตักบาตร ทำบุญขึ้น บ้านใหม่ สวดในงานมงคลต่างๆ ฯลฯ

ศาสนสถานที่วัดแตกต่างจากวัดในเมืองไทยอย่างไรครับ ?

แตกต่างกันมาก เพราะต้องสร้างให้สอดคล้องกับภูมิประเทศและภูมิอากาศ ขณะเดียวกันวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งค่าแรงก็ แพงมาก ดังนั้นการที่จะสร้างอะไรขึ้นมา ต้องคิดอย่างรอบคอบ

ช่วงที่มีอากาศเย็นจัด ห่มจีวรเพียงอย่างเดียวพอหรือครับ ?

ฤดูหนาวที่นั่นหนาวมาก ถ้าห่มจีวรเพียงอย่างเดียวคงตายไปนานแล้ว ดังนั้นอาตมาและพระลูกวัดต้องใส่เสื้อกันหนาว แขนกุดสีเหลืองขมิ้นไว้ด้านใน จากนั้นก็ห่มจีวรทับอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งดูแล้วจะไม่รู้เลยว่าข้างในมีเสื้อกันหนาว แม้ว่าพระธรรมวินัยจะกำหนดให้ใช้เครื่องนุ่งห่มได้เพียง ๓ ชิ้น คือ สบง อังสะ และจีวร แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นในบางกรณีเพื่อรักษาชีวิตให้คงอยู่

วัดของท่านมีความแตกต่างจากวัดที่มีเจ้าอาวาสเป็นพระคนไทยอย่างไรครับ ?

วัดที่มีพระคนไทยเป็นเจ้าอาวาส ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์รวมคนไทยในชุมชนนั้น เพื่อที่จะสมาคมสังสรรค์ และเป็นที่รักษาวัฒนธรรม ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ลูกหลานคนไทย แต่สำหรับของอาตมานั้น จะเป็นสถานที่มุ่งในการเผยแผ่พุทธศาสนาให้กับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะการนั่งสมาธิ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวทางของหลวงพ่อชา

พุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาเจริญมากน้อยเพียงใด ?

อาตมากล้ายืนยันว่า เจริญขึ้นทุกวัน เพราะคนขาดที่พึ่งทางใจ เขามีความสนใจมาก ทั้งการนั่งสมาธิภาวนาและปรัชญาของพระพุทธศาสนา รวมทั้งคนที่อยากออกบวชเป็นพระก็มีมากเช่นกัน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าคนสนใจมาก แต่ผู้สอนที่มีความรู้จริงยังมีน้อย ปัญหานี้อาจจะทำให้พุทธศาสนาเจริญเติบโตช้าลง ปัจจุบันนี้ ชาวต่างชาติสนใจพุทธศาสนามากขึ้น ขณะเดียวกันคนไทยก็สนใจนับถือศาสนาอื่น

หากเกิดขึ้นท่านคิดว่าเกิดจากอะไรครับ ?

ในต่างประเทศคนเป็นทุกข์ทางใจมากขึ้น แต่ไม่มีวิธีที่ดีแก้ไข เมื่อได้ศึกษาพุทธศาสนาก็เห็นว่าเป็นคำสอนที่ดี ส่วนคนไทยนั้น ทุกวันก็มีความทุกข์ทางใจ ไม่มีหลักไม่มีที่พึ่งทางใจ ที่สำคัญคือ ไม่เข้าใจในหลักของพุทธศาสนาซึ่งเป็นรากฐานของชาติไทย ซึ่งอาจจะพูดได้ว่า คนไทยใกล้เกลือกินด่าง มีของดีแต่ไม่รู้ว่าของนั้นใช้และดีอย่างไร

สุดท้ายนี้ท่านมีธรรมะอะไรจะฝากถึงญาติโยมบ้างหรือเปล่าครับ ?

คนไทยต้องรู้จักใช้สมบัติตัวเองที่มีอยู่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และบรรพบุรุษ ได้ฝากสมบัติอันล้ำค่าไว้ สิ่งนั้นก็คือพุทธศาสนา ถ้าคนไทยรู้จักใช้รู้จักนำไปปฏิบัติ คนไทยก็จะได้รับผลประโยชน์อันมหาศาล หลักธรรมของพระพุทธเจ้า สามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกอย่าง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม รวมทั้งเรื่องของจิตใจ

รูปภาพ
พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ กับ พระอาจารย์ฟิลลิป ญาณธมฺโม และพระเถระรูปอื่นๆ
ในงานทอดกฐินเมื่อวันที่ ๒๑ ต.ค. ๔๙ ณ วัดป่ารัตนวัน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา




.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ 17 กรกฎาคม 2546
เรื่องโดย ไตรเทพ ไกรงู

เจ้าของ:  jintana63 [ 11 พ.ค. 2009, 12:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ

อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณสาวิกาน้อย :b8:
ท่านพระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ สัญชาติเดียวกับสามีดิฉันค่ะ
คำสอนธรรมะของท่าน อ่านแล้วศรัทธาค่ะ สมแล้วที่เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อชา
ขอให้คุณสาวิกาน้อย เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยค่ะ
ด้วยความเคารพ

เจ้าของ:  pimz [ 11 พ.ค. 2009, 22:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ

สาธุค่ะ

หากเกิดขึ้นท่านคิดว่าเกิดจากอะไรครับ ?

ในต่างประเทศคนเป็นทุกข์ทางใจมากขึ้น แต่ไม่มีวิธีที่ดีแก้ไข เมื่อได้ศึกษาพุทธศาสนาก็เห็นว่าเป็นคำสอนที่ดี ส่วนคนไทยนั้น ทุกวันก็มีความทุกข์ทางใจ ไม่มีหลักไม่มีที่พึ่งทางใจ ที่สำคัญคือ ไม่เข้าใจในหลักของพุทธศาสนาซึ่งเป็นรากฐานของชาติไทย ซึ่งอาจจะพูดได้ว่า คนไทยใกล้เกลือกินด่าง มีของดีแต่ไม่รู้ว่าของนั้นใช้และดีอย่างไร

อ่านถึงตรงนี้แล้วรู้สึกใจหายนะคะ :b24:

เจ้าของ:  Bwitch [ 23 ส.ค. 2009, 22:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ

..:b44: :b44: :b44:..
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ

นะโม ข้าจะไหว้พระพุทธเจ้าทุกพระองค์
เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน
ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์
ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโน ฯ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
นะโม ข้าจะไหว้พระธรรมเจ้า ของพระพุทธองค์
เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน
ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์
ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโน ฯ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
นะโม ข้าจะไหว้พระสังฆเจ้า ของพระพุทธองค์
เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน
ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์
ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโนติ ฯ

สาธุ สาธุ สาธุ
กราบ กราบ กราบ

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 23 ส.ค. 2009, 22:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  สาวิกาน้อย [ 21 ส.ค. 2010, 08:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ

รูปภาพ

Thirty Years as a Western Buddhist Monk

An Interview With Ajahn Pasanno
by Fearless Mountain Magazine

*** *** *** *** *** *** *** *** ***

Fearless Mountain: What was your early religious experience?

Ajahn Pasanno: I was raised in northern Manitoba, 600 miles north of the U.S. border. My religion was Anglican, which is Episcopalian in the U.S. I had a good experience growing up as a Christian. It was a small town and a small church. My family was reasonably devout. My father had grown up in the United Church, and we took religious classes together. But by the time I was 16 or 17, I found it difficult to maintain any kind of faith. I stopped going to church and taking communion. I started to look for alternatives.

FM: Did you ever think you would become a monk?

AP: I certainly didn't spend my years growing up dreaming of becoming a monk. However, I definitely had an attraction to religion, and the mystique of hermits interested me. But there were no Buddhists in northern Manitoba, or even in Winnipeg, where I attended university. However, I did take an Eastern religions class, which covered Buddhism. This reading motivated me to continue the search.

When I finished university, I had a vague idea to study Buddhism some more. I was looking for a way to learn to meditate since I knew from my reading that meditation was essential if I was to continue.

I had read mostly Zen books because that was what was available in Canada at that time. Because of this, I had a vague idea to go to Japan. I left Canada in 1972 with a one-way plane ticket to Europe.My plan was to travel overland to Asia, then go down to Australia to work and make money, and then go to Japan. I wanted to get my fill of the world before meditating in Japan.

I travelled from Europe, through Turkey, Iran, Afghanistan and Pakistan, to India and Nepal. In India, I kept my antennae out, yet nothing resonated there or in Nepal. A year after I began my travels, I arrived in Thailand. I felt totally comfortable and decided to stay for a while. I wanted to find a place to meditate. The second day I was there, I bought a dictionary and Thai grammar instruction book.

It was hot in Bangkok and coo ler in the north, so I traveled up to Chiang Mai and stumbled across a monastery which had the Tripitika in English. I stayed at a hotel and went to the monastery to read the Tripitika every day. It happened to be a meditation monastery. There was a German novice who helped arrange a meditation retreat for me. It was a month-long silent retreat, the first meditation I ever did.

FM: You really jumped into it!

AP: That really opened me up. I had some powerful experiences of calm and concentration and insight, which made me want to continue to study and practice vipassana. The monks encouraged me to be ordained. I said, "No, I have traveling to do; I'm not ready to make a long-term commitment." They explained how ordinary it is to do a three-month temporary ordination in Thailand. I thought I could handle three or four months, so I was ordained.

It was there that I first heard of Ajahn Chah. One of the other monks encouraged me to visit and pay my respects to Ajahn Chah. I had only been ordained for a month or two before I was given permission to visit Ajahn Chah. I traveled up to Wat Pah Pong to pay my respects to Ajahn Chah and was very smitten. One of the first things he said was that if I wanted to train with him, I would have to stay for five years. That was difficult. I wasn't ready to make such a commitment. I stayed for about a month and then took leave to go to another monastery, Wat Sai Ngam, where I had an opportunity to do a lot of formal practice. I continued to have many good experiences in meditation. What kept coming up was: "If I am really going to do this, then I have to go back and give myself to Ajahn Chah. Five years is five years. Don't think about it."

I wrote, and Ajahn Sumedho responded and said I was welcome to come for the Rains Retreat. However, my teacher invited me to spend the Rains Retreat with him instead, and then he took me to Ajahn Chah himself after the Rains. That delay was quite good. I had been all fired up to go back to Ajahn Chah, and then there was an obstacle. I used it to let go of preferences. I also settled in to a lot of formal practice and learned the Thai language, which came in handy up in understanding the Laotian dialect they speak up in Ubon.

FM: What happened then?

AP: When you have been ordained somewhere else, you are taken on as a guest monk. Then you observe the practices and decide if you want to make a commitment to stay. The senior monks keep an eye on you, too. After two to three months of waiting, I was accepted. If any of your monastic requisites were not properly acquired, say if you bought something with money, then it had to be relinquished.

This happens because most monks use money. Even if you had a robe offered but you had been washing or dying it with detergent or dye that you bought yourself, then Ajahn Chah would require you to change it.

There is an excitement to get these new requisites. The robes have been sewn at the monastery. The dye is monastery dye. The robes are real forest monk robes. The bowls are usually bigger because in the forest you carry requisites in them when you are traveling. If it's raining, you can at least keep some of your robes dry. Also, because forest monks eat from their bowls, the bowl tends to be bigger. These bowls are special, and one looks forward to receiving them.

FM: It sounds deeply traditional.

AP: Yes, that was the feeling of going to Wat Pah Pong: It feels as if the tradition has been passed on since the Buddha's time. There is an antiquity, integrity and simplicity that was so palpable. What struck me was the peace. Things were well taken care of.

The diligence of the monks and novices and the commitment of the laypeople were obvious. In such a poor area as Northeast Thailand, the laypeople were out every morning sharing their offerings with the Sangha. On the observance days there were lots and lots of laypeople listening to Dhamma, meditating and chanting. You felt the sense of a living tradition.

FM: I've heard that the laypeople stay up all night meditating.

AP: Yes, they stay up the whole night, once a week on observance nights. For myself, just arriving, it was difficult to sit still for even an hour. You were not sitting still on a zabuton and zafu with a few foam props. You had a one-layer sitting cloth on a concrete floor. Some of the people would sit for two to three hours and then do some walking meditation, and then sit for a few more hours till dawn. Close to dawn you would do chanting. It was awe-inspiring. It also felt so healthy, the interaction between the monastic community and the lay community. There would be people coming to make offerings, ask questions or pay respects to Ajahn Chah. Laypeople would also help out at the monastery. They had a real sense of the monastery being a focus for community.

FM: When did you become abbot of Wat Pah Nanachat?

AP: It was in my ninth year as a monk. I hadn't really planned on it. I had been at a branch monastery that had about a thousand acres of beautiful forest, surrounded on three sides by a reservoir, and I hoped to stay on for a long time. But one of the monks came with a message from Ajahn Chah asking me to return to Wat Pah Nanachat to start to learn the ropes of being an abbot. Because Ajahn Chah asked me to do it, I did it.

FM: He saw some qualities in you that you had perhaps not seen in yourself?

AP: I found I had to rely on what he saw in me rather than what I saw in myself. It was pretty miserable to have to be in that position, to be perfectly honest. There was obviously a sense of excitement and willingness to take it on because I had been asked to, but it certainly wasn't easy. It was difficult being in a position of leadership and having more responsibilities, mostly just dealing with people much more. Among the great sufferings in the universe, dealing with people is at the top of the list! From my perspective, I didn't have a choice. I had to make it work somehow. I had to learn from it.

FM: Has your practice changed much over the years?

AP: One of the meditation practices I have done from day one, and still do, is mindfulness of breathing. I have experimented with a variety of methods, but mindfulness of breathing is my home base. Of course, it has been refined and become a lot clearer in how to use it skillfully. The Buddha's teachings have a certain simplicity, and the profundity begins to shine out of that.

Other ways it's really changed is that there is a whole lot more ease than when I started. At the start there were a lot of good intentions and effort, but it was not so easeful. I enjoy the practice more now than when I began. It has so much more clarity and contentment.

FM: How is it to be co-abbot here?

AP: It's helpful to share responsibilities and to have somebody to consult with. Furthermore, there is not just one person at the top of the line who is the single role model. Ajahn Amaro and I have different temperaments and provide different models of how to be as a person. It's also helpful to see that there are different ways to practice. It gives people the opportunity to breathe a bit easier and figure out for themselves what is going to work for them rather than just emulating the ajahn.

I've tried to keep my focus at Abhayagiri on spending most of my time at the monastery. I want to be available for the training of the monastics, for people who want to take on monastic training, and for people who want to come to the monastery to practice here.

FM: Is the monastic training here different than in Thailand?

AP: There are definitely differences.

In Thailand, it is a more autocratic model. That's just how it works. In America there is an expectation of being involved and consulted in decision making.

Also, the tendency of American society is toward so much busyness.

We have to be very conscious not to let the monastery get swamped with that same kind of hyper-organization, where everything has to be scheduled and there is very little free time. It's easy for that attitude to drift over into the monastery.

FM: I have heard that in Asia people like themselves more and don't seem to have as much self-hatred as Americans do. Would you say this is true?

AP: I don't think it's that people like themselves more. They are just not so confused about themselves, and there is a higher degree of acceptance of themselves. There is not the same kind of complicated analyzing, proliferating and assessing that goes on in Western minds, particularly Americans!

FM: How is the emphasis of practice different in the West?

AP: I tend to steer people in the direction of what is conducive to harmony. I ask them to be really clear on their virtue, precepts and generosity. People are so wrapped up in themselves, so up in their heads that they don't recognize the value of fundamental qualities like generosity and kindness. Generosity is not just material but includes generosity of time and service and giving of themselves. It gives a lot more confidence.

There is a mystique that says: if I figure myself out, then I will be all right. But there is no end to that. People are so distant from themselves. This is why I also emphasize mindfulness of the body. It's not immediately apparent how important it is to be centered and focused in the body. However, it cuts through the mind's obsession with itself, its comparing and evaluating. The constant asking of what is the most advantageous thing for me. It goes on and on, this spinning out. Just coming back and being attentive to the body is the antidote. It might be the breath or the sensations in the body, the posture or the elements. The important thing is to be anchored in the body.

รูปภาพ

รูปภาพ
Ajahn Pasanno at Abhayagiri Buddhist Monastery
:b39:

July 26, 1949 - Born Reed Perry.

1949 to 1968 - Grew up and went to school in The Pas, Manitoba, Canada.

1968 to 1972 - Studied at University of Winnepeg, Canada,
and graduated with a Bachelor of Arts (History).

1973 - Travelled to Asia.

January 4, 1974 - Ordained as a Buddhist Monk at Wat Pleng Vipassana in Bangkok,
Thailand, at the age of 24.

1974 to 1978 - Trained under Venerable Ajahn Chah at Wat Pah Pong Monastery,
Ubolrachatani Province, Thailand, and at Wat Pah Nanachat.

1979 - Spent a year on retreat and pilgrimage in Thailand.

1981 - Returned to Wat Pah Pong to continue training with Ajahn Chah.

1982 - Appointed abbot of Wat Pah Nanachat, taking on responsibility for teaching,
leading ceremonies, building, and administration.

1987 - Initiated development projects in the villiage of Bung Wai, the nearest village
to the monastery. The village won first prize in the region for their efforts.

1989 - Established Poo Jom Gom Monastery in Ubolrachatani Province
as a forest retreat facility for Wat Pah Nanachat.

1990 - Established Dtao Dum Monastery in Kanchanaburi Province
as a forest retreat facility for Wat Pah Nanachat.

1992 - Assisted in organizing the state funeral of Ajahn Chah.
The preparations took one year and the event was attended by the King
and Queen of Thailand, the Prime Minister, and various dignitaries,
with close to 10,000 monastics and 400,000 laypeople.

1994 - Established Nature Care Foundation in Ubolrachatani to assist
in the protection of the forest near the Poo Jom Gom Monastery.

1996 - Linked the Nature Care Foundation to Dtao Dum Monastery to protect
the forest in that region as well.

1997 - Arrived at Abhayagiri Monastery on January 1 to take up duties as co-abbot.

1998 - Appointed as an upajjhaya and ordained the first "home-grown"
bhikkhu at Abhayagiri, the Venerable Karunadhammo.



:b8: :b8: :b8: Data source ::
http://www.urbandharma.org/udharma9/pasanno.html

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/