วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2021, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรม ๙ ประการที่ควรเจริญ

(ข) ธรรม ๙ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๙ ได้แก่
๑. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือสีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล)

๒. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือจิตตวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งจิต)

๓. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)

๔. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือกังขาวิตรณวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย)

๕. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง)

๖. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
(ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นทางดำเนิน)

๗. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ)

๘. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือปัญญาวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งปัญญา)

๙. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือวิมุตติวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งความหลุดพ้น)

นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรเจริญ
………………
ข้อความบางตอนใน ทสุตตรสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑
http://www.84000.org/tipitaka/read/m_si ... 11&siri=11

บทว่า สีลวิสุทฺธิ ความว่า ปาริสุทธิศีล ๔ สามารถที่จะให้สัตว์ถึงความหมดจดได้.

บทว่า ปาริสุทฺธิปธานิยงฺคํ ความว่า องค์อันเป็นประธานแห่งภาวะความบริสุทธิ์.

บทว่า จิตฺตวิสุทฺธิ ความว่า สมาบัติอันช่ำชอง ๘ อย่างเป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา.

บทว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ ความว่า การเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย.

บทว่า กงฺขาวิตรณวิสุทฺธิ ได้แก่ ความรู้ในปัจจยาการ.
จริงอยู่ เมื่อบุคคลเห็นว่า ธรรมทั้งหลายย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งปัจจัย แม้ในกาลทั้ง ๓ นั่นเอง ดังนี้ ย่อมข้ามความสงสัยเสียได้.

บทว่า มคฺคามคฺคญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ ความรู้ว่าทางมิใช่ทาง อย่างนี้ว่า อุปกิเลสมีแสงสว่างเป็นต้นมิใช่ทาง อุทยัพยญาณอันดำเนินไปสู่วิถีเป็นหนทาง (บรรลุ) ดังนี้.

บทว่า ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความว่า วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี ท่านกล่าวไว้ในรถวินีตวัตถุ วิปัสสนาอย่างอ่อนท่านกล่าวไว้ในที่นี้.

บทว่า ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความว่า ท่านกล่าวมรรคไว้ในรถวินีตวัตถุ กล่าววุฏฐานคามินีวิปัสสนาไว้ในที่นี้. ก็วิสุทธิแม้ทั้ง ๗ เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคโดยพิสดารแล้ว.

บทว่า ปญฺญา ได้แก่ ปัญญาของพระอรหัตตผล.

บทว่า วิมุตติ ได้แก่ ความหลุดพ้นของพระอรหัตตผลนั่นเอง.
…………
ข้อความบางตอนใน อรรถกถาทสุตตรสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=11&i=364

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2021, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2022, 13:54 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร