วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 03:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2020, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ ประเภทต่างๆ

"..เพื่อความชัดเจน ไม่กังวล จึงควรสังเกตความสงบของตนที่มีมากน้อยในขณะที่จิตมีสติภาวนาเกิดความสงบขึ้นมา จะสงบประเภทไหนเราก็รู้ของเราเอง ชื่อนามนั้นเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ขณิกะ อุปจาระ อัปปนา ก็คือความละเอียดแห่งความสงบนั่นเอง.."

โอวาทธรรม หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน










...ในเบื้องต้น
การเจริญสมาธิ..
"ก็เพื่อทำจิตให้สงบ"
ทำให้จิตหยุดนิ่ง
จาก..ความคิดปรุงต่างๆ.
..................................
กำลังใจ 10 กัณฑ์ 151
ธรรมะบนเขา 17/1/2546
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี










"สมาธิ" ที่อยู่ใน "อริยมรรค" คือ "จิตสงบ" ประชุมลงพร้อมที่จิต หรืออริยมรรคประชุมลงพร้อมที่จิตนั้นสามารถทำจิตให้ดำรงมั่นคงอยู่ในความเป็นกลาง

เมื่อจิตมีอริยมรรคประคับประคองอยู่ที่จิต จิตเป็นอริยมรรค อริยมรรคเป็นจิต

แม้จะอยู่ในระดับสมาธิขั้นอ่อน ๆ จิตจะมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันเหตุการณ์

อะไรเกิดขึ้นก็รู้ รู้แล้วไม่ยึดถือปล่อยวางไป
อาการที่จะเสวยอารมณ์ขณะที่รู้เห็นอะไรนั้น ไม่มี
คือ จิต ไม่มีอาการซึมซาบ เข้าไปใน สิ่งที่รู้นั่น เพราะไม่มีความยึด

เพราะ สิ่งที่รู้เห็น นั้น เป็นภูมิปัญญาของจิต ซึ่งถูกอริยมรรคคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ประชุมพร้อมลงแล้ว
สามารถปฏิวัติภูมิจิตภูมิธรรมเข้าไปสู่ขั้นสูงเป็นลำดับ ๆ ซึ่งจิตในลักษณะอย่างนี้

อารมณ์ ก็คือ ธรรม ธรรม ก็คือ อารมณ์ นั่นเอง
ในเมื่อรู้อะไรขึ้นมา อยู่ในลักษณะอุปจารสมาธิในขั้นอ่อน ๆ ซึ่งมันอาจจะเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติในขณะที่จิตสงบลงไปแล้ว ความรู้สึกในภายนอกยังมีอยู่

แต่จิตยังอยู่ในลักษณะแห่งความสงบ แล้วก็มีภูมิจิตภูมิธรรมเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

แม้ในบางครั้งจะพูดอยู่หรือทำอะไรอยู่ก็ตาม
ลักษณะของความสงบของจิตมันมีอยู่ ภูมิรู้ สิ่งต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ว่าสามารถจะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ในขณะนั้น
อันนี้เรียกว่า เป็นภูมิจิตที่มี “อริยมรรค” “ประชุมพร้อมลงที่จิต”

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา










" เมื่อจิตไม่ยึดถือ
แม้มันจะเจ็บปวด
ขนาดไหนก็ตาม
เจ็บนั้นก็เป็นเหมือนกับว่า
มันเจ็บในตัวคนอื่น คือ

ธาตุดินเขาเจ็บ
ธาตุน้ำเขาเจ็บ
ธาตุไฟ ธาตุลมเขาเจ็บ

จิตผู้ภาวนาไม่เข้าไปยึดถือ
ว่า เราเจ็บไข้ได้ป่วย

เราจะแตกเราจะตาย
หรือว่าเราจะตาย
ก็ไม่มีความไปยึดถือ

เมื่อความไม่ยึดถือ
มีอยู่ในผู้ปฏิบัติ
เจ็บมันก็เข้าไปไม่ถึง
อะไร ๆ มันก็เข้าไปไม่ถึง
เหมือนกับมันเป็นอยู่
อีกโลกหนึ่ง
อีกแผ่นดินแผ่นหนึ่ง

เมื่อใดภาวนา
เข้าใจอย่างนี้แล้ว
ก็จะปล่อยวางได้ "

โอวาทธรรม
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร








“โลกนี้มันเป็นโลกที่ไม่เที่ยงนะ
มีกฏของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เข้าบังคับบัญชาอยู่ตลอดเวลา แล้วมนุษย์เรา
แต่ละคนๆ ไม่ใช่ว่าอายุจะยืนยาวอะไรนักหนา

แล้วก็บอกไม่ได้ด้วยว่า คนแก่จะต้องตาย
ก่อนวัยเด็กเสมอไป เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุทำให้
เสียชีวิตลง เกิดโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเบียดเบียน
ทำให้ตายก่อนวัยอันควร

ท่านจึงสอนว่า อย่าประมาทในคุณงามความดี
อย่าคิดว่า ทำน้อยนิดมันจะไม่ให้ผล เมื่อทำอยู่บ่อย ๆ
มันก็จะติดเป็นนิสัย แล้วสิ่งเหล่านี้แหละ
ที่จะชักนำเราให้พ้นทุกข์ไป ภายในวันหนึ่งแน่นอน

หลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน












“เราลองทบทวนดู หนึ่งปีที่ผ่านมา
เราเผชิญกับความทุกข์มากมายขนาดไหน
ทั้งโรคภัยไข้เจ็บ ปัญหาครอบครัว
ปัญหาการงาน ปัญหาการเมือง สารพัดปัญหา

แต่เราไม่อยากคิดถึงความทุกข์ที่ผ่านมา
เราอยากฝันถึงความสุขในอนาคต
เราไม่จำโทษภัยของสังสารวัฏ
เรายังยินดีพอใจในการเกิดเรื่อยไป
มีความเกิดทีไร ก็มีความทุกข์ ทุกที

ทุกข์เพราะแก่ ทุกข์เพราะเจ็บ ทุกข์เพราะตาย
ทุกข์เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
ทุกข์เพราะประสบแต่สิ่งที่ไม่รัก ทุกข์เพราะ
ไม่สมปรารถนา มีอยู่ตลอดทุกภพทุกชาติ

ถ้าระลึกได้ก็จะเบื่อ อยู่ต่อไปไม่ไหวแล้ว”

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช









"ถ้าเราฉลาด เราสามารถได้ความสุข
จากความดีของเรา โดยไม่ต้องถือตัวถือตน
ว่าเราดีเราเก่ง นี่ก็เป็นความสุขที่คนดีควรจะได้
และเป็นความสุข ที่คนดีหลายคนขาด เพราะ
ไม่กล้าชื่นชมในความดีของตนเอง"

พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ









#ขณะพิจารณาให้ตั้งคำถามตนเองไปด้วยว่า_คำว่าเราเรานั้นอยู่ตรงไหน

ในร่างกายนี้ ตรงไหนในร่างกายนี้ที่เป็นเรา และตรงไหนที่น่าชื่นชมยินดี เมื่อค้นไปค้นมา ค้นมาค้นไปแล้ว ก็เห็นว่าเราไม่มีในร่างกายนี้จริงๆ ร่างกายนี้ก็ไม่มีเราจริงๆ เพราะกายนี้เป็นสักแต่ก้อนธาตุเท่านั้น และเต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูลไม่สะอาด ก็จะทำให้เรากำจัดราคะ ความกำหนัดยินดีในตน และในผู้อื่นได้ แต่ต้องพิจารณาให้เห็นอยู่เสมอๆตลอดเวลา ให้ร่างกายนี้เป็นเครื่องอยู่ของจิต ไม่ให้จิตหลุดออกจากกายนี้ได้เลย จิตจึงจะเป็นสมาธิที่แน่นหนา มั่นคง และมีมาตรฐานตลอดเวลา

การปล่อยให้จิตเลื่อนไหลหลุดออกจากกาย จิตจะหลงโลกไม่รู้แจ้งอริยสัจ จึงเป็นที่มาของการปรุงแต่งไม่จบสิ้น ก็คือกิเลสนั่นเอง การปฏิบัติธรรมก็จะไปไม่รอด จะไม่เจริญก้าวหน้า เพราะถ้าส่งจิตออกนอก เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายสัมผัสร้อนเย็นอ่อนแข็ง ในสิ่งที่ชอบก็จะเกิดเป็นราคะ ถ้าไม่ชอบก็เป็นโทสะ ชอบก็ไม่ใช่ ไม่ชอบก็ไม่ใช่ ก็เป็นโมหะ

เพราะฉะนั้น กิเลส ๓ ตัวนี้ คือ ยังทำงานต่อในใจเราเหมือนเดิม เดินเครื่องเหมือนเดิม แม้จะทำสมาธิมานาน ๒๐ ปี ๓๐ ปี เข้าออกสมาธิเก่งมากเพียงใดก็ตาม ถ้าปล่อยให้จิตที่ท่องเที่ยวเร่ร่อนออกนอกกาย ก็เหมือนกับมีการเวียนเกิดเวียนตาย สร้างภพน้อย ภพใหญ่ อยู่ไม่รู้จักหมดสิ้นนั่นเอง

หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ








คนที่ไม่มีสมาธิ. เป็นหลักของใจ. ถึงจะทำบุญ. เท่าไหร่ๆๆ. มันก็ไม่มีความสุข.

ท่านพ่อลี ธัมมธโร








#คนที่จะพ้นจากทุกข์ได้_พ้นจากโลกนี้ได้_พ้นจากกรรมได้_ก็เพราะใจอันเดียว

จงยึดใจถือใจ เป็นสำคัญ จะมาเกิดก็เพราะใจ เกิดแล้วจะมาสร้างกิเลสขึ้นก็เพราะใจ เป็นทุกข์ก็เพราะใจ

ถ้าใจไม่เป็นทุกข์ ใจไม่ยึดถือ ปล่อยทิ้งเสีย กายอันนี้ก็ไปตามเรื่องของกาย ใจก็เป็นตามเรื่องของใจ หมดเรื่องหมดราวกันที

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 117 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron