วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2020, 11:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




images.jpeg
images.jpeg [ 16.45 KiB | เปิดดู 3500 ครั้ง ]
สติ ต่างกับ สัมปชัญญะ อย่างไร และ การปฏิบัติที่ใช้สติ
ควบคู่กับสัมปชัญญะ คืออย่างไร

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

สติ ต่างกับ สัมปชัญญะ อย่างไร และ การปฏิบัติที่ใช้สติ
ควบคู่กับสัมปชัญญะ คืออย่างไร

๑.) สติ

ในทางพระอภิธรรม “สติ” เป็นนามธรรม ฝ่ายเจตสิกธรรม
โดยเป็นเจตสิกที่ดีพร้อมอย่างเดียว “สติ” อยู่ในพวก โสภณ
สาธารณเจตสิก มี ๑๙ ดวง “สติ” อยู่หนึ่งในนั้น “สติเจตสิก”
คือ ธรรมชาติที่มีความระลึกได้ในอารมณ์ และให้สังวรอยู่ใน
กุศลธรรม เป็นลักษณะ มีลักขณาทิจตุกะ ๔ ประการดังนี้

ก.) มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆ เป็นลักษณะ หรือ มีการเข้าไปถือเอา เป็นลักษณะ
ข.) มีความไม่หลงลืม เป็นกิจ
ค.) มีความจดจ่อต่ออารมณ์ เป็นผล
ง.) มีความจำอันมั่นคง เป็นเหตุใกล้ หรือ มีสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2020, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในมิลินทปัญหา แสดงถึงสติ มี ๒ ประการ คือ

ก.) อปิลาปนลักขณาสติ
ได้แก่ สติที่เตือนไปในธรรมทั้งหลายว่า ธรรมสิ่งนั้นหรือนี้ ดีหรือชั่ว มีประโยชน์หรือไม่มี
เช่น ธรรมสิ่งนี้เป็น สติปัฏฐาน ๔ , เป็นพละ ๕ , เป็นโพชฌงค์ ๗ , เป็นมรรค ๘
หรือสิ่งนี้เป็นฌาน , เป็นสมาบัติ , เป็นวิชา , เป็นวิมุตติ , เป็นกองจิต ,
เป็นกองเจตสิก เมื่อ อปิลาปนลักขณาสติ เตือนให้ระลึกถึงธรรมเหล่านี้แล้ว
ก็ส่องเสพแต่ธรรมที่ควรเสพ สตินี้จึงหมายถึงสติที่ประกอบทั่วไปในโสภณจิต
ทำให้ระลึกถึงกุศลธรรม โดยทำหน้าที่กั้นกระแสแห่งนิวรณ์ธรรม
จะประกอบด้วยปัญญาหรือไม่ได้ประกอบก็ตามสามารถให้ระลึกถึงกุศลธรรมโดยชอบได้

ข.) อุปคัณหณลักขณาสติ ได้แก่ สติที่ชักชวนให้ถือเอาคติในธรรมอันดี เป็นสติที่อุปการะแก่ปัญญาโดยตรง ได้แก่ สติสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในการพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม หรือที่เรียกว่าเจริญ “สติปัฏฐาน ๔” อันเป็นปุพพภาคมรรค ซึ่งเป็นเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์ที่จะอุปการะให้แจ้งพระนิพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2020, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุป สติ จึงมี ๒ อย่างคือ

สติที่ประกอบกับโสภณจิตโดยทั่วไป ในขณะระลึกรู้อารมณ์ที่อดีตสัญญาเก็บจำไว้
ตามนัยปริยัติด้วย อปิลาปนลักขณาสติ กับสติที่กระทำความ
รู้สึกตัวขณะกำหนดรูปนามตามความเป็นจริงในการเจริญสติ
ปัฏฐานตามนัยปฏิบัติด้วย อุปคัณหณลักขณาสติ

ข้อสังเกต คำว่า สติ มีลักษณะ “ไม่เลอะเลือน” หมายถึง
บุคคลผู้เลือกเสพธรรมที่ควรเสพ คือ กุศลหรือบุญ
ไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ คือ อกุศลหรือบาป
คบแต่ธรรมที่ควรคบ คือ กุศลหรือบุญ
ไม่คบกับธรรมที่ไม่ควรคบ คือ อกุศลหรือบาป

บุคคลที่มี “สติ” จึงรู้ว่าขณะนั้นตนกำลังทำอะไรอยู่
สิ่งที่กำลังทำอยู่นั้น อะไรเป็นกุศลหรืออกุศล ควรเสพ
หรือไม่ควรเสพ“ไม่เลอะเลือน” ตัวอย่างเช่น
นาย ก. กำลังนั่งตกปลา รอดูปลามากินเหยื่อ แสดงว่ามีจิต
คิดจะฆ่า และ มีเจตนาทำความเพียรเพื่อฆ่าแล้ว แสดงว่า

ขณะนั้นเผลอสติ ไม่สามารถระลึกได้ว่า การตกปลาเป็นอกุศลเป็นบาปที่ไม่ควรทำ
แต่ระหว่างรอปลากินเหยื่อ เห็นภิกษุเดินมา เกิดระลึกขึ้นมาได้ว่าภิกษุองค์นี้
เคยสอนว่าการกระทำเช่นนี้เป็นอกุศล จึงเลิกตกปลา เช่นนี้เรียกว่ามี สติ
เพราะไม่เลอะเลือนสับสนไปว่าการตกปลาเป็นอกุศลไม่ควรเสพ จึงได้เลิกเสพอกุศล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2020, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญาเจตสิก จำอารมณ์ได้แต่ไม่สามารถ แยกแยะได้ว่า
อารมณ์นี้ดีหรือไม่ดี มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ แต่ สติ
สามารถระลึกได้ว่า อารมณ์นี้มีประโยชน์ เมื่อระลึกได้เช่นนี้ก็
เข้าไปถือเอาแต่เฉพาะสิ่งที่มีประโยชน์ ตัดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ทิ้งไป

สัญญา ไม่สามารถกำจัดความหลงลืมได้เพราะกิจของสัญญาก็
คือ การทำเครื่องหมายไว้เพื่อประโยชน์แก่การจำได้ในภายหลัง
ถ้าสัญญาทำกิจไม่ชัดเจน ก็จะทำให้เราจำไม่ได้ในภายหลัง แต่
สติ สามารถกำจัดความหลงลืมได้ เพราะ สติมีความไม่หลงลืมเป็นกิจ

การจำของสัญญามีโอกาสที่จะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้
เช่นจำในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง จำในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าสุข ในสิ่งที่
ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ซึ่งในทางธรรม
เรียกว่า สัญญาวิปลาส แต่ สติ ที่เรียกว่าวิปลาสไม่มี เป็นการจรด
เข้าถึงสภาวธรรมที่แท้จริง จึงไม่มีโอกาสคลาดเคลื่อนจากความ
เป็นจริง แล้วยังสามารถกำจัดวิปลาสได้ด้วย ดังที่พระพุทธองค์
ทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ มีกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นต้น ก็เพื่อ
กำจัดวิปลาส มี สุภวิปลาส เป็นต้น

สัญญา มีอารมณ์ที่ปรากฏ เช่น สีดำ เสียงช้าง เป็นต้น และ เป็น
เหตุใกล้ให้เกิด แต่ สติ มีความจำอันมั่นคง เป็นเหตุใกล้ให้เกิด คือ
สติจะระลึกในอารมณ์ใดได้ ก็ต่อเมื่อสัญญาได้จำอารมณ์นั้นไว้
แล้ว การระลึกชาติย้อนหลังไปได้ ก็เพราะอาศัยกำลังของสติ ไม่ใช่อาศัยสัญญา

ในคราวใดมีสัญญาเกิดขึ้น ในคราวนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องมี สติ
เกิดร่วมด้วย คือจำได้เฉยๆแต่ระลึกไม่ได้ แต่ ในคราวใดมี สติ
เกิดขึ้น ในคราวนั้นต้องมีสัญญาเกิดร่วมได้แน่นอน คือเมื่อระลึก
ได้ก็ต้องจำได้แน่นอน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2020, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทางการแพทย์ คนที่ป่วยด้วยโรคจิตเป็นบ้าเสียสติ
จำอะไรได้หรือไม่ คำตอบในทางอภิธรรม
คือจำได้ เพราะเขามีสัญญา บุคคลผู้เสียสติเป็นผู้มีความจำอยู่
เพียงแต่ว่าสัญญาของเขานั้นทำกิจในการจำไม่ชัดเจน จึง
ทำให้เขาจำอะไรๆ ไม่ค่อยได้เท่านั้น ส่วนเขาจะมี สติ หรือไม่
คำตอบคือ เมื่อใดอาการป่วยกำเริบเขาจะเป็นผู้ไม่มีสติ
หมายความว่า เขาจะไม่สามารถแยกแยะได้เลยว่า สิ่งใดเป็น

ประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ สิ่งใดมีโทษหรือไม่มีโทษ สิ่ง
ใดเป็นกุศลหรืออกุศล ฯลฯ เมื่อไม่สามารถแยกแยะได้เช่นนี้
ก็ทำให้เขาไม่สามารถเข้าไปถือเอาเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์
ตัดทิ้งเสียซึ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ได้เลย การกระทำของเขา
เป็นการกระทำของผู้เลอะเลือน ไม่สามารถแยกแยะชั่วดีได้
กฎหมายถึงไม่เอาโทษกับบุคคลผู้ขาดสติ

คนเสียสติที่กล่าวมาข้างต้น กับ คนหลงลืมสติ เหมือนกันหรือไม่
คำตอบคือไม่เหมือน เพราะคนหลงลืมสติไม่ใช่ผู้ป่วยที่มี
อาการทางจิต เป็นแต่เพียงว่าคนนั้นหลงลืมสติไปชั่วคราว
ปล่อยให้อกุศลครอบงำจิตใจ จนในขณะนั้นไม่สามารถระลึก
ได้ว่า อะไรเป็นกุศล อะไรไม่ควรเสพ เลอะเลื่อนถือเอาธรรมที่
ไม่ควรเสพว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ

พระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอนาคามี ยังมีการ
หลงลืมสติปล่อยให้อกุศลเกิดได้ เพียงแต่การหลงลืมสติของ
ท่านเหล่านั้นไม่รุนแรงจนถึงกับก่อให้เกิดการกระทำทุจริต ที่
เป็นเหตุนำไปเกิดในอบายได้ นั่นก็คือ โลภะ โทสะ โมหะ ยัง
เกิดขึ้นในจิตใจของท่านได้ตามสมควร บุคคลผู้ไม่มีการ
หลงลืม “สติ” ตลอดกาลมีเพียง พระอรหันต์ ท่านเดียวเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2020, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทางการแพทย์ คนที่ป่วยด้วยโรคจิตเป็นบ้าเสียสติ
จำอะไรได้หรือไม่ คำตอบในทางอภิธรรม
คือจำได้ เพราะเขามีสัญญา บุคคลผู้เสียสติเป็นผู้มีความจำอยู่
เพียงแต่ว่าสัญญาของเขานั้นทำกิจในการจำไม่ชัดเจน จึง
ทำให้เขาจำอะไรๆ ไม่ค่อยได้เท่านั้น ส่วนเขาจะมี สติ หรือไม่
คำตอบคือ เมื่อใดอาการป่วยกำเริบเขาจะเป็นผู้ไม่มีสติ
หมายความว่า เขาจะไม่สามารถแยกแยะได้เลยว่า สิ่งใดเป็น

ประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ สิ่งใดมีโทษหรือไม่มีโทษ สิ่ง
ใดเป็นกุศลหรืออกุศล ฯลฯ เมื่อไม่สามารถแยกแยะได้เช่นนี้
ก็ทำให้เขาไม่สามารถเข้าไปถือเอาเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์
ตัดทิ้งเสียซึ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ได้เลย การกระทำของเขา
เป็นการกระทำของผู้เลอะเลือน ไม่สามารถแยกแยะชั่วดีได้
กฎหมายถึงไม่เอาโทษกับบุคคลผู้ขาดสติ

คนเสียสติที่กล่าวมาข้างต้น กับ คนหลงลืมสติ เหมือนกันหรือไม่
คำตอบคือไม่เหมือน เพราะคนหลงลืมสติไม่ใช่ผู้ป่วยที่มี
อาการทางจิต เป็นแต่เพียงว่าคนนั้นหลงลืมสติไปชั่วคราว
ปล่อยให้อกุศลครอบงำจิตใจ จนในขณะนั้นไม่สามารถระลึก
ได้ว่า อะไรเป็นกุศล อะไรไม่ควรเสพ เลอะเลื่อนถือเอาธรรมที่
ไม่ควรเสพว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ

พระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอนาคามี ยังมีการ
หลงลืมสติปล่อยให้อกุศลเกิดได้ เพียงแต่การหลงลืมสติของ
ท่านเหล่านั้นไม่รุนแรงจนถึงกับก่อให้เกิดการกระทำทุจริต ที่
เป็นเหตุนำไปเกิดในอบายได้ นั่นก็คือ โลภะ โทสะ โมหะ ยัง
เกิดขึ้นในจิตใจของท่านได้ตามสมควร บุคคลผู้ไม่มีการ
หลงลืม “สติ” ตลอดกาลมีเพียง พระอรหันต์ ท่านเดียวเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2020, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สติ เป็นธรรมชาติฝ่ายสังขารขันธ์ และเป็นฝ่ายสังขารธรรม หมายความว่า
มีการเกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุปัจจัยโดยประการต่างๆ ปรุงแต่ง เหตุนั้น จึงมีการดับไปเป็นธรรมดา
และตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ คือ ไม่คงที่ถาวร ไม่คงตัว และไม่
เป็นตัวตนอะไรที่มีอำนาจสั่งการ บังคับได้

สติ ที่ประกอบประจำในกุศลจิตทั้งหลาย โดยเฉพาะกุศลที่นำออกจากสังสารทุกข์
เป็นธรรมที่ควรเจริญทุกเมื่อ ที่มาโดย เป็นโพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เป็นฝ่ายน้อมไป
เพื่อการตรัสรู้ บรรลุมรรคผล แจ้งพระนิพพาน) คือ เป็นสติปัฏฐาน ๔ เป็นสตินทรีย์ ,
เป็นสติพละ เป็นสติสัมโพชฌงค์ และเป็นสัมมาสติในองค์มรรค

สติ เป็นนามธรรม ทั้งฝ่ายผู้รู้อารมณ์ และฝ่ายผู้ถูกรู้ คือ เป็นอารมณ์ให้จิต
แยกได้อย่างนี้คือ ฝ่ายผู้รู้อารมณ์ คือ สติ เกิดประจำในโสภณจิตทั้งหมด
รับรู้อารมณ์ได้ทั้งที่เป็นปรมัตถ์ บัญญัติ โลกียอารมณ์ โลกุตรอารมณ์ เป็นต้น

ฝ่ายผู้ถูกรับรู้ คือ สติ เป็นอารมณ์ประเภทธัมมารมณ์ ที่เป็นได้ทั้ง ๓ กาล คือ
ปัจจุบันอารมณ์ อดีตอารมณ์ และอนาคตอารมณ์ ให้แก่กามาวจรจิตและอภิญญาจิต
ตามควร ซึ่งควรศึกษา หาตัวอย่างอธิบายเพิ่มเติมต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2020, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในคัมภีร์วิภังค์ แห่งพระอภิธรรมปิฎกให้คำจำกัดความ “สติ” ที่มาในรูปศัพท์ “สัมมาสติ” ดังนี้

“สัมมาสติ” เป็นองค์มรรค ในหมวดสมาธิหรืออธิจิตตสิกขา สัมมาสติ
ตามคำจำกัดความตามแบบพระสูตรนี้นั้นก็คือหลักธรรมที่เรียกว่า “สติปัฏฐาน” นั่นเอง
หัวข้อทั้ง ๔ ของหลักธรรมหมวดนี้มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ

ก.) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย
การตามดูรู้ทันกายในกายทั้งหลาย ; ๑๔ บรรพ
ข.) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา
การตามดูรู้ทันเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ; ๙ บรรพ
ค.) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต
การตามดูรู้ทันจิตในจิตทั้งหลาย ; ๑๖ บรรพ
ง.) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ
การตามดูรู้ทันธรรมในธรรมทั้งหลาย ; ๕ บรรพ

สาระสำคัญของ “สติปัฏฐาน”

จากข้อความในคำแสดงสติปัฏฐานแต่ละข้อข้างต้น
จะเห็นได้ว่า ในเวลาปฏิบัตินั้นไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว
แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ ก็คือสมาธิ
ซึ่งจะมีอยู่ด้วย อย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ พอใช้สำหรับการนี้

เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ (ท่านจัดไว้ในลำดับระหว่าง ขณิกสมาธิ
คือ สมาธิชั่วขณะ กับ อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่จวนจะแน่วแน่
ปรากฏในสัทธัมมปกาสินีอรรถกถา แห่งปฏิสัมภิทามรรค)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2020, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนธรรมข้ออื่นๆ ที่ระบุไว้ได้แก่

ก.) อาตาปี คือมีความเพียร ได้แก่ วิริยะ ที่มาในฐานะสัมมัปปธาน
จนถึงสัมมาวายามะในองค์มรรค ซึ่งหมายถึง เพียรระวัง
ป้องกันและละความชั่ว (ในที่นี้ คือ นิวรณ์ เป็นต้น) กับความ
เพียรสร้างและรักษาความดี (คือ สติปัญญา)
ข.) สัมปชาโน คือมีสัมปชัญญะ (ตัวปัญญา)
ค.) สติมา คือมีสติ (หมายถึง สติ ที่กำลังกล่าวถึงนี้)

ข้อน่าสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ นี้จะเห็น
ได้ว่า เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ สัมปชัญญะ ก็คือ
ปัญญา ดังนั้น การฝึกฝนในเรื่องสตินี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งใน
กระบวนการพัฒนาปัญญา หรือวิปัสสนาภาวนา นั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2020, 02:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒.) สัมปชัญญะ

สัมปชัญญะ คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดต่อสิ่งที่สติ
กำหนดไว้นั้น หรือต่อการกระทำในกรณีนั้นๆ ว่า มีความมุ่งหมาย
อย่างไร สิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร ปฏิบัติต่อมันอย่างไร และไม่เกิด
ความหลงหรือความเข้าใจผิดใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ

สัมปชัญญะ เป็นชื่อของปัญญา เพราะเป็นธรรมชาติที่รู้โดย
ประการทั้งหลายโดยชอบ, รู้ในสิ่งที่สมควรรู้ในวาระนั้นๆ เป็น
ความรู้ที่เกี่ยวกับความเป็นไปของตน ไม่ใช่ความเป็นไปของผู้อื่น
เป็นความพิจารณาใส่ใจในกิจที่ตนพึงกระทำ ไม่ใช่กิจที่ผู้อื่นกระทำ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2020, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมปชัญญะสามารถจำแนกตามอาการที่รู้หรือทำกิจเกี่ยวกับ
ความหยั่งรู้ออกเป็น ๔ ประการ คือ

ก.) สาตถกสัมปชัญญะ คือปัญญาที่กำหนดได้ว่าการกระทำของตนนั้นอะไรเป็นประโยชน์
อะไรไม่ใช่ประโยชน์ รู้ประโยชน์จึงทำกิจนั้น แต่ถ้ายังมองไม่เห็นประโยชน์
ในการกระทำหรือจะใช้อิริยาบถนั้น ก็ยังไม่กระทำโดยมุ่งถือเอาแต่ประโยชน์เท่านั้น
เป็นสำคัญ ไม่ทำอะไรตามความเคยชิน การไม่พิจารณาถึงประโยชน์ ย่อมเป็นช่องทาง
ให้กิเลสอาศัยความไม่รู้เกิดขึ้น

เช่นการกำหนดรู้ว่าทุกข์ คือความปวดเมื่อย เกิดขึ้นแล้วในอิริยาบถนี้ แล้วจึงเดิน ยืน นั่ง
หรือนอน เหยียดหรือคู้ เพื่อบำบัดเพื่อบรรเทาทุกข์นั้น เป็นประโยชน์ของการเปลี่ยน
อิริยาบถ เพราะความทุกข์คอยดึงใจจนความรู้สึกตั้งอยู่กับอิริยาบถนั้นลำบาก
การเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อแก้ทุกข์ จะเป็นเหตุให้ความรู้สึกตั้งอยู่กับอริยาบทใหม่ได้ต่อเนื่อง การกำจัด
ทุกข์เป็นประโยชน์ของการเปลี่ยนอิริยาบถ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2020, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในเวลาใช้สอยปัจจัย ๔ มีการกำหนดรู้ประโยชน์ที่แท้จริงของปัจจัยนั้นๆ เสียก่อนที่จะใช้สอย เกี่ยวกับการจะทำอะไรต้องรู้เหตุผลในการกระทำนั้น ว่าก่อให้เกิดประโยชน์หรือไม่ ก่อนที่จะทำหรือใช้สอย เช่น รู้ว่าเดินทำไม รับประทานอาหารทำไม ดื่มน้ำทำไม ใส่เสื้อผ้าทำไม ไม่ใช่ทำอะไรตามความเคยชิน แต่ได้พิจารณาถึงประโยชน์เสียก่อน ก็เป็นสาตถกสัมปชัญญะ ย่อมไม่เป็นช่องทางให้กิเลสคือความยินดียินร้าย อาศัยเกิดขึ้นได้ ในทางตรงข้าม เช่น เมื่อทุกข์เวทนาคือความปวดเมื่อยเกิดขึ้นแล้ว

ในอริยาบทนั่ง การที่ยืนขึ้นตามความเคยชิน โดยไม่พิจารณาก่อนว่าจะยืนทำไม เพื่อประโยชน์อะไร ในเวลานั้นยอมปิดโอกาสแห่งความรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นประโยชน์ของการเปลี่ยนอริยาบท มีแต่ความไม่รู้ซึ่งเป็นอวิชชานุชสัย และก็เพราะเหตุที่ไม่รู้นั่นแหละ, กิเลส คือความยินดีในอิริยาบถที่ปรารภจะเปลี่ยนย่อมได้โอกาสเกิดขึ้น สุขเวทนาที่พึ่งได้จากการเปลี่ยนอิริยาบถยืน เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งกามราคานุสัย และขณะนั้นกิเลสคือความยินร้ายในอิริยาบถนั่งเก่า ย่อมได้โอกาสเกิดขึ้น เพราะ

ทุกขเวทนาคือความปวดเมื่อยนั้น เป็นที่ตั้งแห่งปฏิฆานุสัย คือโทสะขุ่นเคือง ไม่พอใจอิริยาบทเก่า เป็นอันว่ากิเลสที่เป็นประธาน ๓ อย่างคือโลภะ โทสะ โมหะ ย่อมพร้อมเพรียงกันเกิดขึ้น เพราะเหตุที่ไม่มีการพิจารณาในการเปลี่ยนอิริยาบถแต่ละครั้ง

ความรู้ที่ทำให้เกิดขึ้นเกี่ยวกับกำหนดประโยชน์ในการใช้อิริยาบถใหญ่ และอิริยาบถย่อยในเวลานั้นๆ เสียก่อนเพื่อกำจัดความไม่รู้ที่คอยจะเกิดขึ้นด้วยอำนาจการกระทำตามความเคยชิน ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2020, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข.) สัปปายสัมปชัญญะ คือปัญญาที่กำหนดถึงความสะดวก ไม่สะดวก สมควร ไม่สมควร ในการทำกิจนั้นๆ โดยมุ่งถือเอาความสะดวกเป็นสำคัญ แม้กำหนดประโยชน์ได้แล้วก็ตามแต่เห็นว่าไม่สมควร ไม่สะดวก ก็ไม่ทำ เห็นว่าสมควร สะดวกจึงทำ เพื่อเป็นการส่งเสริม ศีล สมาธิ ปัญญาให้เจริญขึ้น ยับยั้งการเกิดขึ้นของกิเลสได้ ความไม่เกิดขึ้นแห่งกิเลสชื่อว่าสะดวก ความเกิดขึ้นแห่งกิเลสชื่อว่าไม่สะดวก, สัปปายะ ไม่ได้หมายถึงความสบายที่เป็นความสุข ความเพลิดเพลิน อันเป็นเหตุให้ตัณหาเกิด ในที่นี้หมายถึงความสะดวก

อนึ่ง สัปปายะ ๗ อย่าง ได้แก่ อาวาส โคจร ภัสสะ บุคดล โภชนะ อุตุ อิริยาบถ ที่สร้างความสะดวกในการเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีอสัปปายะ ๗ อย่าง ที่สร้างความไม่สะดวกในการเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็มี สำหรับผู้ปฏิบัติที่หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอสัปปายะ เสพแต่สิ่งที่เป็นสัปปยะเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2020, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ค.) โคจรสัมปชัญญะ คือปัญญาที่เข้าถึงอารมณ์ปัจจุบันที่ควรใส่ใจขณะปฎิบัติ จึงสามารถปรารภอารมณ์กรรมฐานได้สม่ำเสมอติดต่อกันไป โดยไม่หลงไปจากความจริงและไม่ทอดทิ้งอารมณ์กรรมฐาน สติ สัมปชัญญะ เมื่อเกิดขึ้น รู้อารมณ์แล้วย่อมหมดไป

งต้องน้อมใจให้สติสัมปชัญญะเกิดขึ้นใหม่เนืองๆ มีอุบายที่ทำให้โคจรสัมปชัญญะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ได้ใหม่ ก็คือทำไว้ในใจว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ กำลังรู้อะไรอยู่เป็นการใส่ใจนาม ผู้ดูว่ากำลังรู้รูปอะไร นามอะไร เป็นปัญญาที่ใส่ใจความรู้สึก ใส่ใจผู้ดูอารมณ์กรรมฐาน รู้ว่ากำลังดูอะไรอยู่ คือรู้ทั้งนามผู้ดู และ

อารมณ์กรรมฐานที่ถูกดู จึงแยกได้ว่า ผู้ดูก็อย่างหนึ่ง อารมณ์กรรมฐานที่ถูกดูก็อย่างหนึ่ง ไม่ปะปนกัน “โคจร” ในที่นี้หมายถึงอารมณ์กรรมฐาน ปัญญาที่ไม่ทอดทิ้งอารมณ์กรรมฐาน จึงชื่อว่า “โคจรสัมปชัญญะ” ไม่ว่าจะอยู่ในอริยาบทได้ก็ตามจึงต้องมีโคจรสัมปชัญญะกำกับไปตลอดเวลา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2020, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ค.) โคจรสัมปชัญญะ คือปัญญาที่เข้าถึงอารมณ์ปัจจุบันที่ควรใส่ใจขณะปฎิบัติ จึงสามารถปรารภอารมณ์กรรมฐานได้สม่ำเสมอติดต่อกันไป โดยไม่หลงไปจากความจริงและไม่ทอดทิ้งอารมณ์กรรมฐาน สติ สัมปชัญญะ เมื่อเกิดขึ้น รู้อารมณ์แล้วย่อมหมดไป

ต้องน้อมใจให้สติสัมปชัญญะเกิดขึ้นใหม่เนืองๆ มีอุบายที่ทำให้โคจรสัมปชัญญะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ได้ใหม่ ก็คือทำไว้ในใจว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ กำลังรู้อะไรอยู่เป็นการใส่ใจนาม ผู้ดูว่ากำลังรู้รูปอะไร นามอะไร เป็นปัญญาที่ใส่ใจความรู้สึก ใส่ใจผู้ดูอารมณ์กรรมฐาน รู้ว่ากำลังดูอะไรอยู่ คือรู้ทั้งนามผู้ดู และอารมณ์กรรมฐานที่ถูกดู จึงแยกได้ว่า ผู้ดูก็อย่างหนึ่ง อารมณ์

กรรมฐานที่ถูกดูก็อย่างหนึ่ง ไม่ปะปนกัน “โคจร” ในที่นี้หมายถึงอารมณ์กรรมฐาน ปัญญาที่ไม่ทอดทิ้งอารมณ์กรรมฐาน จึงชื่อว่า “โคจรสัมปชัญญะ” ไม่ว่าจะอยู่ในอริยาบทได้ก็ตามจึงต้องมีโคจรสัมปชัญญะกำกับไปตลอดเวลา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร