วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 03:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2018, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การระลึกถึงความตายแบบพุทธ กับ ระลึกถึงความตายแบบชาวบ้าน มีความแตกต่างกัน คร่าวๆดังนี้

ชาวบ้านทั่วๆไป นึกถึงความตายแล้วสลดหดหู่ใจ เกิดความเศร้าสร้อยหงอยเหงาซึมเศร้าเหี่ยวแห้งใจ บ้าง เกิดความหวั่นกลัวหวาดเสียวใจบ้าง เกิดความท้อถอยไม่อยากได้อะไร ตายแล้วก็เอาอะไรติดตัวไปไม่ได้ ไม่รู้จะทำไปทำไมเซ็งเป็ด แม้จำต้องทำงานก็ทำแบบซังกะตาย บ้าง เป็นต้น ครั้นนึกถึงความตายของคนที่โกรธกันเป็นศัตรูกัน เกิดความดีใจ

ส่วนการนึกถึงความตายแบบพุทธ คือ คิดถูกวิธี เกิดกุศลธรรม คือ เกิดความรู้สึกตื่นตัวเร้าใจ ไม่ประมาท เร่งขวนขวายปฏิบัติกิจหน้าที่ ทำสิ่งดีงามเป็นประโยชน์ ประพฤติปฏิบัติธรรม ตลอดจนรู้เท่าทันความจริง ที่เป็นคติธรรมดาของสังขาร

ท่านกล่าวว่า การคิดถึงความตายอย่างถูกวิธี จะประกอบด้วยสติ (ความคุมคงใจไว้ หรือมีใจอยู่กับตัว ระลึกรู้ถึงสิ่งที่พึงเกี่ยวข้องจัดทำ) สังเวค (ความรู้สึกเร้าใจ ได้คิด และสำนึกที่จะเร่งรีบทำการที่ควรทำ) และ ญาณ (ความรู้เท่าทันธรรมดา หรือรู้ตามความเป็นจริง) นอกจากนั้น ท่านได้แนะนำอุบายแห่งโยนิโสมนสิการเกี่ยวกับความตายไว้หลายอย่าง (วิสุทฺธิ. 2/2-14)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2018, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รู้คุณโรส กับ เมโลกสวยจะเข้าใจหรือเปล่าไม่รู้ แต่ไม่เป็นไร ไม่เข้าก็ไม่เข้าใจ ลงต่อเรื่อยๆ เพื่อให้เห็นแนวทางความคิดแบบพุทธธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2018, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้ในพระไตรปิฎก ก็มีตัวอย่างง่ายๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงบ่อยๆ คือ เหตุปรารภหรือเรื่องราวกรณีอย่างเดียวกัน คิดมองไปอย่างหนึ่ง ทำให้ขี้เกียจ
คิดมองไปอีกอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดความขยันหมั่นเพียรพยายาม ดังความในพระสูตรว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องของผู้เกียจคร้าน (กุสีตวัตถุ) 8 อย่างเหล่านี้ 8 อย่างคืออะไร ?

1. ภิกษุมีงานที่จะต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เรามีงานที่จะต้องทำ เมื่อเราทำงานร่างกายก็จะเหน็ดเหนื่อย อย่ากระนั้นเลย เรานอนเอาแรงเสียก่อนเถิด คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย ไม่เริ่มระดมความเพียร เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่เข้าถึง เพื่อประจักษ์แจ้งธรรมที่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง...

2. อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำงานเสร็จแล้ว และเมื่อเราทำงาน ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อยแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนพักละ คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย...

3. อีกประการหนึ่ง ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะต้องเดินทาง เมื่อเราเดินทาง ร่างกายก็จะเหน็ดเหนื่อย อย่ากระนั้นเลย เรานอนเอาแรงเสียก่อนเถิด คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย...

4. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางเสร็จแล้ว และเมื่อเราเดินทาง ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อยแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนละ คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย...

5. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้าน หรือตามชุมชน ไม่ได้โภชนะอย่างหมองหรือประณีตเต็มตามต้องการ เธอมีความคิดว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้าน หรือตามชุมชน ไม่ได้โภชนะอย่างหมองหรือประณีตเต็มตามต้องการ ร่างกายของเราก็เหน็ดเหนื่อย ไม่เหมาะแก่งาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนพักละ คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย

6. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้าน หรือตามชุมชน ได้โภชนะอย่างหมองหรือประณีตเต็มตามต้องการ เธอมีความคิดว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้าน หรือตามชุมชน ได้โภชนะอย่างหมองหรือประณีตเต็มตามต้องการ ร่างกายของเราก็หนักอึ้ง เป็นเหมือนดังถั่วหมัก ไม่เหมาะแก่งาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนพักเสียเถิด คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย...

7. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเกิดอาพาธเล็กๆน้อยๆ เธอมีความคิดดังนี้ว่า เราเกิดมีอาพาธเล็กน้อยขึ้น มีเหตุผลสมควรที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย เรานอนพักเสียเถิด คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย...

8.อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายป่วย ฟื้นจากไข้ไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายป่วย ฟื้นจากไข้ยังไม่นาน ร่างกายของเรายังอ่อนแอ ไม่เหมาะแก่งาน อย่ากระนั้นเลย เรานอนเสียเถิด คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย...

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2018, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ความคิดเป็นวิถีชีวิตของคน ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2018, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


onion
:b32:
ชาวพุทธคือพุทธบริษัทมี2แบบคือ
1ชาวบ้านคือคฤหัสถ์หรือฆราวาสมีอุบาสกและอุบาสิกา(รวมแม่ชี)ต้องนอนที่บ้าน
2ลืมอีกแบบนะชาววัดคือบรรพชิตและสามเณรพระพุทธเจ้าอนุญาตให้จำวัดกรุณาอย่ามั่วนิ่มทำตามๆกันผิดๆ
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2018, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
การระลึกถึงความตายแบบพุทธ กับ ระลึกถึงความตายแบบชาวบ้าน มีความแตกต่างกัน คร่าวๆดังนี้

ชาวบ้านทั่วๆไป นึกถึงความตายแล้วสลดหดหู่ใจ เกิดความเศร้าสร้อยหงอยเหงาซึมเศร้าเหี่ยวแห้งใจ บ้าง เกิดความหวั่นกลัวหวาดเสียวใจบ้าง เกิดความท้อถอยไม่อยากได้อะไร ตายแล้วก็เอาอะไรติดตัวไปไม่ได้ ไม่รู้จะทำไปทำไมเซ็งเป็ด แม้จำต้องทำงานก็ทำแบบซังกะตาย บ้าง เป็นต้น ครั้นนึกถึงความตายของคนที่โกรธกันเป็นศัตรูกัน เกิดความดีใจ

ส่วนการนึกถึงความตายแบบพุทธ คือ คิดถูกวิธี เกิดกุศลธรรม คือ เกิดความรู้สึกตื่นตัวเร้าใจ ไม่ประมาท เร่งขวนขวายปฏิบัติกิจหน้าที่ ทำสิ่งดีงามเป็นประโยชน์ ประพฤติปฏิบัติธรรม ตลอดจนรู้เท่าทันความจริง ที่เป็นคติธรรมดาของสังขาร

ท่านกล่าวว่า การคิดถึงความตายอย่างถูกวิธี จะประกอบด้วยสติ (ความคุมคงใจไว้ หรือมีใจอยู่กับตัว ระลึกรู้ถึงสิ่งที่พึงเกี่ยวข้องจัดทำ) สังเวค (ความรู้สึกเร้าใจ ได้คิด และสำนึกที่จะเร่งรีบทำการที่ควรทำ) และ ญาณ (ความรู้เท่าทันธรรมดา หรือรู้ตามความเป็นจริง) นอกจากนั้น ท่านได้แนะนำอุบายแห่งโยนิโสมนสิการเกี่ยวกับความตายไว้หลายอย่าง (วิสุทฺธิ. 2/2-14)



นั่นเป็นแบบพุทธธรรมที่คลุมเคลือ ค่ะ

ไม่ใช่ และไม่ตรง ตามแบบที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง

การอบรมเจริญปัญญา ในการระลึกถึงความตาย
นั้น จะต้องเจริญให้รู้ทั่วเข้าไป ใน จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์
อันเป็นปรมัตถ์ธรรม ฝ่ายสังขตะธรรม
เพื่อให้ จิต เจตสิก รูป ปรากฎไตรลักษณะ
ก็คือ อนิจจลักษณะ ทุกข์ลักษณะ และอนัตตะลักษณะ
อย่างใดอย่างหนี่งมาเป็นอารมณ์
จึงจะเกิดปัญญา
เห็นในความตายได้

ตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงค่ะ




โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2018, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

ความคิดเป็นวิถีชีวิตของคน ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว

:b32: :b32: :b32:
ตถาคตบอกว่ามีจิตคิดนึก1ทางอายตนะยังมีอีก5ทางอายตนะเป็นธัมมะเรียกว่านามธรรม
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2018, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="โลกสวย"][quote="กรัชกาย"]การระลึกถึงความตายแบบพุทธ กับ ระลึกถึงความตายแบบชาวบ้าน มีความแตกต่างกัน คร่าวๆดังนี้

ชาวบ้านทั่วๆไป นึกถึงความตายแล้วสลดหดหู่ใจ เกิดความเศร้าสร้อยหงอยเหงาซึมเศร้าเหี่ยวแห้งใจ บ้าง เกิดความหวั่นกลัวหวาดเสียวใจบ้าง เกิดความท้อถอยไม่อยากได้อะไร ตายแล้วก็เอาอะไรติดตัวไปไม่ได้ ไม่รู้จะทำไปทำไมเซ็งเป็ด แม้จำต้องทำงานก็ทำแบบซังกะตาย บ้าง เป็นต้น ครั้นนึกถึงความตายของคนที่โกรธกันเป็นศัตรูกัน เกิดความดีใจ

ส่วนการนึกถึงความตายแบบพุทธ คือ คิดถูกวิธี เกิดกุศลธรรม คือ เกิดความรู้สึกตื่นตัวเร้าใจ ไม่ประมาท เร่งขวนขวายปฏิบัติกิจหน้าที่ ทำสิ่งดีงามเป็นประโยชน์ ประพฤติปฏิบัติธรรม ตลอดจนรู้เท่าทันความจริง ที่เป็นคติธรรมดาของสังขาร

ท่านกล่าวว่า การคิดถึงความตายอย่างถูกวิธี จะประกอบด้วยสติ (ความคุมคงใจไว้ หรือมีใจอยู่กับตัว ระลึกรู้ถึงสิ่งที่พึงเกี่ยวข้องจัดทำ) สังเวค (ความรู้สึกเร้าใจ ได้คิด และสำนึกที่จะเร่งรีบทำการที่ควรทำ) และ ญาณ (ความรู้เท่าทันธรรมดา หรือรู้ตามความเป็นจริง) นอกจากนั้น ท่านได้แนะนำอุบายแห่งโยนิโสมนสิการเกี่ยวกับความตายไว้หลายอย่าง (วิสุทฺธิ. 2/2-14)

อีกอย่าง ที่การคิดถึงความตาย ของพุทธธรรม ฉบับนั้น

แสดงถึงแต่ "ตลอดจนรู้เท่าทันความจริง ที่เป็นคติธรรมดาของสังขาร"

เป็นที่ชัดเจน แล้วว่า พุทธธรรมฉบับนั้น ไม่ได้เข้าใจ ตามแบบพระพุทธองค์สอนจริงๆ

แค่รู้เท่าทัน แต่ความตาย อันเป็นคติธรรมดา ของสังขาร

ตก สาระสำคัญ ที่พระพุทธองค์ทรงพร่ำสอนมาตลอดพระชมน์ ไปอย่างน่าใจหาย

ไม่สมกะที่เป็นชาวพุทธเรย ค่ะ


การนึกถึงความตายของชาวพุทธแท้ๆ ตามพระพุทธองค์สอน

ต้อง รู้ว่า ตายแล้ว ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดต่อ
ไม่ใช่ แค่ ธรรมดาๆของสังขาร



นี่แหละสาระสำคัญ ที่พุทธธรรม สอบตกค่ะ

ไม่สมกะอ้างตัวว่าเป็นชาวพุทธเรยค่ะ








โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 05:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คิกๆๆ ต่อ

กรณีเดียวกันทั้งหมดนี้ คิดอีกอย่างหนึ่ง กลับทำให้เริ่มระดมความเพียร ท่านเรียกว่า เรื่องที่จะเริ่มระดมเพียร (อารัพภวัตถุ) แสดง ไว้ 8 ข้อเหมือนกัน ใจความดังนี้

1. (กรณีจะต้องทำงาน) … ภิกษุคิดว่า เรามีงานที่จะต้องทำ และ ขณะเมื่อเราทำงาน การมนสิการคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็จะทำไม่ได้ง่าย อย่ากระนั้น เลย เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด เพื่อจะได้บรรลุธรรมที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่เข้าถึง เพื่อประจักษ์แจ้งธรรมที่ยัง ไม่ประจักษ์แจ้ง คิดดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น ก็จึงเริ่มระดมความเพียร...

2. (กรณีทำงานเสร็จแล้ว) … ภิกษุคิดว่า เราได้ทำงานเสร็จ แล้ว ก็แลขณะเมื่อทำงาน เรามิได้สามารถมนสิการคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้ง หลาย อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเถิด...

3. (กรณีจะต้องเดินทาง) ... ภิกษุคิดว่า เราจักต้องเดินทาง และขณะ เมื่อเราเดินทาง การมนสิการคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็จะทำไม่ได้ ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด....

4. (กรณีที่เดินทางแล้ว) ...ภิกษุคิดว่า เราได้เดินทางเสร็จแล้ว ก็แล ขณะเมื่อเดินทางเรามิได้สามารถมนสิการคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อย่า กระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเถิด...

5. (กรณีบิณฑบาตไม่ได้อาหารเต็มต้องการ) ... ภิกษุคิดว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้าน หรือตามนิคม ไม่ได้โภชนะอย่างหมองหรือประณีตเต็มตามต้องการ ร่างกายของเราก็คล่องเบา เหมาะแก่งาน อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเถิด...


6. (กรณีบิณฑบาตได้อาหารเต็มต้องการ) ... ภิกษุคิดว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้าน หรือตามชุมชน ได้โภชนะอย่างหมองหรือประณีตเต็มตามต้องการแล้ว ร่างกายของเราก็คล่องเบา เหมาะแก่งาน อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเถิด...

7. (กรณีเกิดอาพาธเล็กน้อย) ... ภิกษุคิดว่า เราเกิดมีอาพาธเล็กๆ น้อยๆ ขึ้นแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราอาจหนักขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด...


8. (กรณีหายอาพาธ) ... ภิกษุคิดว่า เราหายป่วยยังฟื้นไข้ไม่นาน เป็นไปได้ที่อาพาธอาจหวนกลับเป็นใหม่ อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด...

(กุสีตวัตถุ และอารัพภวัตถุ มาใน ที.ปา.11/343-4/267-271; 448-9/318-323 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ย้อนกลับไปข้างต้นหน่อย


วิธีคิดแบบเร้ากุศล

วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีคิดแบบเร้ากุศล หรือคิดแบบกุศลภาวนา เป็นวิธีคิดในแนวสกัดกั้นหรือบรรเทา และขัดเกลาตัณหา จึงจัดได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติระดับต้นๆ สำหรับส่งเสริมความเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม และสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ

หลักการทั่วไปของวิธีคิดแบบนี้ มีอยู่ว่า ประสบการณ์ คือ สิ่งที่ได้ประสบ หรือได้รับรู้อย่างเดียวกัน บุคคลผู้ประสบหรือรับรู้ต่างกัน อาจมองเห็นและคิดนึกปรุงแต่งไปคนละอย่าง สุดแต่โครงสร้างของจิต หรือแนวทางความเคยชินต่างๆ ที่เป็นเครื่องปรุงของจิต คือ สังขารที่ผู้นั้นสั่งสมไว้ หรือ สุดแต่การทำใจขณะนั้นๆ

ของอย่างเดียวกัน หรืออาการกิริยาเดียวกัน คนหนึ่งมองเห็นแล้ว คิดปรุงแต่ไปในทางดีงาม เป็นประโยชน์ เป็นกุศล
แต่อีกคนหนึ่งเห็นแล้ว คิดปรุงแต่งไปในทางไม่ดีไม่งาม เป็นโทษ เป็นอกุศล
แม้แต่บุคคลคนเดียวกัน มองเห็นของอย่างเดียวกัน หรือประสบอารมณ์อย่างเดียวกัน แต่ต่างขณะ ต่างเวลา ก็อาจคิดเห็น ปรุงแต่งต่างออกไปครั้งละอย่าง คราวหนึ่งร้าย คราวหนึ่งดี ทั้งนี้โดยเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว

การทำใจ ที่ช่วยตั้งต้น และชักนำความคิดให้เดินไปในทางที่ดีงามและเป็นประโยชน์ เรียกว่า เป็นวิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม หรือโยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศลในที่นี้


โยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศลนี้ มีความสำคัญ ทั้งในแง่ที่ทำให้เกิดความคิด และการกระทำที่ดีงามเป็นประโยชน์ในขณะนั้น และในแง่ที่ช่วยแก้ไขนิสัยความเคยชินร้ายๆของจิตที่ได้สั่งสมไว้แต่เดิม พร้อมกับสร้างนิสัยความเคยชินใหม่ๆ ที่ดีงามให้แก่จิตไปในเวลาเดียวกันด้วย

ในทางตรงข้าม หากปราศจากอุบายแก้ไขเช่นนี้ ความคิด และการกระทำของบุคคล ก็จะถูกชักนำให้เดินไปตามแรงชักจูงของความเคยชินเก่าๆ ที่ได้สั่งสมไว้เดิมเพียงอย่างเดียว และช่วยเสริมความเคยชินอย่างนั้นให้มีกำลังแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในกรณีที่ความคิดอกุศลเกิดขึ้นแล้ว ท่านก็แนะนำวิธีแก้ไขไว้ และ วิธีแก้ไขนั้น ส่วนมากก็ใช้วิธีโยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศลนั่นเอง ดังตัวอย่างในวิตักกสัณฐานสูตร พระพุทธเจ้าแนะนำหลักทั่วไป ในการแก้ความคิดอกุศลไว้ 5 ขั้น มีใจความว่า ถ้าความคิด ความดำริที่เป็นบาปเป็นอกุศล ประกอบด้วยฉันทะ หรือโทสะ หรือโมหะก็ตามเกิดมีขึ้น อาจแก้ไขได้ ดังนี้

1. มนสิการ คือ คิดนึกใส่ใจถึงสิ่งอื่นที่ดีงามเป็นกุศล หรือหาเอาสิ่งอื่นที่ดีงามมาคิด นึกใส่ใจ แทน (เช่น นึกถึงสิ่งที่ทำให้เกิดเมตตา แทนสิ่งที่ทำให้เกิดโทสะ เป็นต้น) ถ้าปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ยังไม่หาย

2. ถึงพิจารณาโทษของความคิดที่เป็นอกุศลเหล่านั้นว่า ไม่ดีไม่งาม ก่อผลร้าย นำความทุกข์มาให้อย่างไรๆ ถ้ายังไม่หาย

3. พึงใช้วิธีต่อไปอีก ไม่คิดถึง ไม่ใส่ใจถึงความคิดชั่วร้ายที่เป็นอกุศลนั้นเลย เหมือนคนไม่ อยากเห็นรูปอะไรที่อยู่ต่อตา ก็หลับตาเสีย หรือหันไปมองทางอื่น ถ้ายังไม่หาย

4. พึงพิจารณาสังขารสัณฐานของความคิดเหล่านั้น คือ จับเอาความคิดนั้นมาเป็นสิ่งสำหรับศึกษาค้นคว้าในแง่ที่เป็นความรู้ ไม่ใช่เรื่องของตัวตน ว่าความคิดนั้นเป็นอย่างไร เกิดจากมูลเหตุปัจจัยอะไร ถ้ายังไม่หาย

5. พึงขบฟัน เอาลิ้นดุนเพดาน อธิษฐานจิต คือ ตั้งใจแน่วแน่เด็ดเดี่ยว ข่มใจระงับความคิดนั้นเสีย


บางแห่ง ท่านแนะนำวิธีปฏิบัติสำหรับแก้ไขความคิดอกุศลเฉพาะอย่างไว้ ก็มี เช่น แห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำวิธีแก้ไขกำจัดความอาฆาตไว้ว่า อาฆาตเกิดขึ้นต่อบุคคลใด พึงเจริญเมตตา ที่บุคคลนั้น พึงเจริญกรุณา พึงเจริญอุเบกขาที่บุคคลนั้น หรือพึงไม่คิดถึง ไม่ใส่ใจถึงบุคคลนั้น หรือตั้งความคิดต่อบุคคลนั้น ตามหลักความที่แต่ละคนมีกรรมเป็นของตน ว่า ท่านผู้นี้-มีกรรม เป็นของของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นที่กำเนิด เป็นพวกพ้อง เป็นที่พึ่งอาศัย เขาทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ก็จักเป็นทายาทของกรรมนั้น * (องฺ.ปญฺจก. 22/162/207)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2018, 19:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ในกรณีที่ความคิดอกุศลเกิดขึ้นแล้ว ท่านก็แนะนำวิธีแก้ไขไว้ และ วิธีแก้ไขนั้น ส่วนมากก็ใช้วิธีโยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศลนั่นเอง ดังตัวอย่างในวิตักกสัณฐานสูตร พระพุทธเจ้าแนะนำหลักทั่วไป ในการแก้ความคิดอกุศลไว้ 5 ขั้น มีใจความว่า ถ้าความคิด ความดำริที่เป็นบาปเป็นอกุศล ประกอบด้วยฉันทะ หรือโทสะ หรือโมหะก็ตามเกิดมีขึ้น อาจแก้ไขได้ ดังนี้

1. มนสิการ คือ คิดนึกใส่ใจถึงสิ่งอื่นที่ดีงามเป็นกุศล หรือหาเอาสิ่งอื่นที่ดีงามมาคิด นึกใส่ใจ แทน (เช่น นึกถึงสิ่งที่ทำให้เกิดเมตตา แทนสิ่งที่ทำให้เกิดโทสะ เป็นต้น) ถ้าปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ยังไม่หาย

2. ถึงพิจารณาโทษของความคิดที่เป็นอกุศลเหล่านั้นว่า ไม่ดีไม่งาม ก่อผลร้าย นำความทุกข์มาให้อย่างไรๆ ถ้ายังไม่หาย

3. พึงใช้วิธีต่อไปอีก ไม่คิดถึง ไม่ใส่ใจถึงความคิดชั่วร้ายที่เป็นอกุศลนั้นเลย เหมือนคนไม่ อยากเห็นรูปอะไรที่อยู่ต่อตา ก็หลับตาเสีย หรือหันไปมองทางอื่น ถ้ายังไม่หาย

4. พึงพิจารณาสังขารสัณฐานของความคิดเหล่านั้น คือ จับเอาความคิดนั้นมาเป็นสิ่งสำหรับศึกษาค้นคว้าในแง่ที่เป็นความรู้ ไม่ใช่เรื่องของตัวตน ว่าความคิดนั้นเป็นอย่างไร เกิดจากมูลเหตุปัจจัยอะไร ถ้ายังไม่หาย

5. พึงขบฟัน เอาลิ้นดุนเพดาน อธิษฐานจิต คือ ตั้งใจแน่วแน่เด็ดเดี่ยว ข่มใจระงับความคิดนั้นเสีย


บางแห่ง ท่านแนะนำวิธีปฏิบัติสำหรับแก้ไขความคิดอกุศลเฉพาะอย่างไว้ ก็มี เช่น แห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำวิธีแก้ไขกำจัดความอาฆาตไว้ว่า อาฆาตเกิดขึ้นต่อบุคคลใด พึงเจริญเมตตา ที่บุคคลนั้น พึงเจริญกรุณา พึงเจริญอุเบกขาที่บุคคลนั้น หรือพึงไม่คิดถึง ไม่ใส่ใจถึงบุคคลนั้น หรือตั้งความคิดต่อบุคคลนั้น ตามหลักความที่แต่ละคนมีกรรมเป็นของตน ว่า ท่านผู้นี้-มีกรรม เป็นของของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นที่กำเนิด เป็นพวกพ้อง เป็นที่พึ่งอาศัย เขาทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ก็จักเป็นทายาทของกรรมนั้น


น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง

เวลาจะตาย เม ก็ขอให้ลุงกรัชกาย นอนทรมานพิจารณาไปแบบนั้น
นานแสนนานเรยนะคะ

หมดลมหายใจ หัวใจหยุด สมองหยุด

ยังพิจารณาไม่จบ 555

เพราะพุทธธรรม ไม่รู้ว่า ตายแล้วต้องเกิดใหม่

เรยพิจารณาแบบน้ำท่วมทุ่ง ตายแล้วไปเกิด ไปพิจารณาใหม่ ไปพิจารณาต่อ พุทธันดรหน้า 555





โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฎิบัติ วิปัสสนา ตามหลักพื้นฐาน ของมหาสติปัฎฐานสูตร

กายานุปัสสนา 14
เวทนานุปัสสนา 9
จิตตานุปัสสนา 16
ธัมมานุปัสสนา 5
รวมทั้งสิ้น เป็นสติปัฎฐาน 44 บรรพ

และเป็นการพิจารณาโดยปรมัตถ์ธรรม อันเป็นความจริงสูงสุด ลงในอริยสัจสี่ ลงในไตรลักษณ์

การพิจารณานั้น ใช้เวลาแค่ ชั่วขนะ แค่ลัดนิ้วมือ ก็จบ

ไม่ใช่ ไปน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรงแบบนั้น
สองวันก็แล้ว สามวันก็แล้ว วกวน วนไปวนมา หาจุดจบไม่เจอ

หลายวันมาแล้ว พุทธธรรมฉบับน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรงนี้
ยังไม่รู้เรยว่า พิจารณายังไม่ถึงเรย

ว่าตายแล้ว ต้องไปเกิดอีกทำไม

เพราะพิจารณาไม่สุด

นี่แหละน๊า คนไม่ได้ปฎิบัติ ได้แต่ไปก๊อบเอาพระสูตรมาใช้

แบกหนังสือทั้งเล่มเกวียน แต่ไม่รู้สาระสำคัญ

ไปเรียนพื้นฐานซะนะคะ
ขอร้อง อย่าดื้อ นะคะ

ไม่งั้นเมตัดลุงออกจากกองมรดก อีกคน






โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ในกรณีที่ความคิดอกุศลเกิดขึ้นแล้ว ท่านก็แนะนำวิธีแก้ไขไว้ และ วิธีแก้ไขนั้น ส่วนมากก็ใช้วิธีโยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศลนั่นเอง ดังตัวอย่างในวิตักกสัณฐานสูตร พระพุทธเจ้าแนะนำหลักทั่วไป ในการแก้ความคิดอกุศลไว้ 5 ขั้น มีใจความว่า ถ้าความคิด ความดำริที่เป็นบาปเป็นอกุศล ประกอบด้วยฉันทะ หรือโทสะ หรือโมหะก็ตามเกิดมีขึ้น อาจแก้ไขได้ ดังนี้

1. มนสิการ คือ คิดนึกใส่ใจถึงสิ่งอื่นที่ดีงามเป็นกุศล หรือหาเอาสิ่งอื่นที่ดีงามมาคิด นึกใส่ใจ แทน (เช่น นึกถึงสิ่งที่ทำให้เกิดเมตตา แทนสิ่งที่ทำให้เกิดโทสะ เป็นต้น) ถ้าปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ยังไม่หาย

2. ถึงพิจารณาโทษของความคิดที่เป็นอกุศลเหล่านั้นว่า ไม่ดีไม่งาม ก่อผลร้าย นำความทุกข์มาให้อย่างไรๆ ถ้ายังไม่หาย

3. พึงใช้วิธีต่อไปอีก ไม่คิดถึง ไม่ใส่ใจถึงความคิดชั่วร้ายที่เป็นอกุศลนั้นเลย เหมือนคนไม่ อยากเห็นรูปอะไรที่อยู่ต่อตา ก็หลับตาเสีย หรือหันไปมองทางอื่น ถ้ายังไม่หาย

4. พึงพิจารณาสังขารสัณฐานของความคิดเหล่านั้น คือ จับเอาความคิดนั้นมาเป็นสิ่งสำหรับศึกษาค้นคว้าในแง่ที่เป็นความรู้ ไม่ใช่เรื่องของตัวตน ว่าความคิดนั้นเป็นอย่างไร เกิดจากมูลเหตุปัจจัยอะไร ถ้ายังไม่หาย

5. พึงขบฟัน เอาลิ้นดุนเพดาน อธิษฐานจิต คือ ตั้งใจแน่วแน่เด็ดเดี่ยว ข่มใจระงับความคิดนั้นเสีย


บางแห่ง ท่านแนะนำวิธีปฏิบัติสำหรับแก้ไขความคิดอกุศลเฉพาะอย่างไว้ ก็มี เช่น แห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำวิธีแก้ไขกำจัดความอาฆาตไว้ว่า อาฆาตเกิดขึ้นต่อบุคคลใด พึงเจริญเมตตา ที่บุคคลนั้น พึงเจริญกรุณา พึงเจริญอุเบกขาที่บุคคลนั้น หรือพึงไม่คิดถึง ไม่ใส่ใจถึงบุคคลนั้น หรือตั้งความคิดต่อบุคคลนั้น ตามหลักความที่แต่ละคนมีกรรมเป็นของตน ว่า ท่านผู้นี้-มีกรรม เป็นของของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นที่กำเนิด เป็นพวกพ้อง เป็นที่พึ่งอาศัย เขาทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ก็จักเป็นทายาทของกรรมนั้น


น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง

เวลาจะตาย เม ก็ขอให้ลุงกรัชกาย นอนทรมานพิจารณาไปแบบนั้น
นานแสนนานเรยนะคะ

หมดลมหายใจ หัวใจหยุด สมองหยุด

ยังพิจารณาไม่จบ 555

เพราะพุทธธรรม ไม่รู้ว่า ตายแล้วต้องเกิดใหม่

เรยพิจารณาแบบน้ำท่วมทุ่ง ตายแล้วไปเกิด ไปพิจารณาใหม่ ไปพิจารณาต่อ พุทธันดรหน้า 555






อย่าคิดล่วงหน้าไปเป็นชาติเลย อิอิ ควรจะคิดว่าชาตินี้เกิดมาเป็นคน ซึ่งมีอายุไม่เกินร้อยปีนี้ จะทำยังไงให้ทุกข์ลดลง จนถึงหมดไปเลย ไม่ต้องไปฆ่าตัวตายหนีปัญหา ซึ่งมีข่าวเกือบจะทุกวัน เช่น โดดสะพานบ้าง ยิงกะบานตัวเองบ้าง โดดตึกบ้าง เสียเวลาเกิดเปล่าๆกว่าจะเกิดมาได้ :b21: ถึงเวลาตายมันตายของมันเอง ตายแล้วจะเกิดไม่เกิดมันเรื่องของมันไม่ใช่เรื่องของเรา อิอิ แต่ว่าเราต้องทำปัจจุบันชาตินี้ให้ดีที่สุด ปัจจุบันเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล เออ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง พระสารีบุตร ได้แนะนำวิธีแก้ไขกำจัดความอาฆาตคือความอึดอัดขัดใจ แค้นเคืองไว้อีก 5 อย่าง โดยให้รู้เข้าใจความจริงเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลว่า

@ บางคน ความประพฤติทางกายไม่เรียบร้อยหมดจด แต่ความประพฤติทางวาจาเรียบร้อยหมดจดก็มี

@ บางคน ความประพฤติทางวาจาไม่เรียบร้อยหมดจด แต่ความประพฤติทางกายเรียบร้อยหมดจดก็มี

@ บางคน ความประพฤติทางกายไม่เรียบร้อยหมดจด ความประพฤติทางวาจาก็ไม่เรียบร้อยหมดจด แต่ทางใจปลอดโปร่งผ่องใสดีงามเป็นครั้งคราว

@ คนบางคน ความประพฤติทางกายก็ไม่เรียบร้อยหมดจด แต่ความประพฤติทางวาจาก็ ไม่เรียบร้อยหมดจด ใจก็ไม่ได้ช่องโอกาสดีงามผ่องใสเป็นครั้งคราว บ้างเลย

@ บางคน ความประพฤติทางกายก็เรียบร้อยหมดจดดี แต่ความประพฤติทางวาจาก็เรียบร้อยหมดจดดี ใจก็ดีงามผ่องใสได้เรื่อยๆ

1. สำหรับคน ที่เสียด้านความประพฤติอาการกิริยาทางกาย แต่ความประพฤติการ แสดงออกทางวาจาเรียบร้อยหมดจดดี ในเวลาที่จะแก้ไขกำจัดอาฆาตนั้น ไม่พึง มนสิการคือใส่ใจพิจารณาคิดถึงความประพฤติไม่ดีทางกายของเขา พึงมนสิการเฉพาะแต่ความประพฤติดีงามทางจาจาของเขา เปรียบเหมือน ภิกษุผู้ถือครองผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เธอเดินไปพบเศษผ้าเก่าบนท้องถนน เธอเอาเท้าซ้ายกด แล้วเอาเท้าขวาคลี่ผ้านั้นออก ส่วนใดยังดีใช้ได้อยู่ ก็ฉีกเอาแต่ส่วนนั้นไป


2. สำหรับคน ที่เสียทางด้านความประพฤติหรือการแสดงออกทางวาจา แต่ความ ประพฤติทางกายเรียบร้อยหมดจดดี ในเวลานั้น ก็ไม่พึงมนสิการถึงการที่เขามีความประพฤติเสียทางวาจา พึงมนสิการแต่การที่เขามีความประพฤติทางกายเรียบร้อยหมดจดดี เปรียบเหมือนสระโบกขรณีมีสาหร่ายจอกแหนคลุมเต็มไปหมด คนเดินทางร้อนแดด เหน็ดเหนื่อย หิวกระหายมาถึงเข้า พึงลงไปยังสระโบกขรณีนั้น เอามือทั้งสองแหวกสาหร่ายจอกแหนออกแล้ว กระพุ่มมือกอบ แต่น้ำขึ้นมาดื่มแล้วเดินทางต่อไป


3. สำหรับคน ที่เสียทั้งความประพฤติทางกาย และการแสดงออกทางวาจา แต่ใจรู้สึกปลอดโปร่งดีงามผ่องใสเป็นครั้งคราว ในเวลานั้น ไม่พึงมนสิการที่เขามีความประพฤติทางกายและทางวาจาที่เสียหาย พึงมนสิการแต่การที่เขามีจิตใจเปิดช่องผ่องใสดีงามได้เป็นครั้งคราว เปรียบเหมือนมีน้ำขังอยู่เล็กน้อยในรอยเท้าโค คนผู้หนึ่งเดินทางร้อนแดด เหน็ดเหนื่อย หิวกระหายมาถึงเข้า เขาคิดว่าน้ำในรอยเท้าโคนี้มีเพียงนิดหน่อย ถ้าเราเอามือวักหรือ ใช้ภาชนะตักดื่ม น้ำก็จักกระเพื่อมและขุ่นคลักขึ้น ถึงกับทำให้ใช้ดื่มไม่ได้ ถ้ากระไร เราควรลงนั่งคุกเข่าเอามือยัน ก้มลงเอาปากดื่มอย่างวัวเถิด เขาคิดดังนั้นแล้ว ก็ลงนั่งคุกเข่า เอามือยันก้มลงทำอย่างโค เอาปากดื่มน้ำเสร็จแล้วก็หลีกไป


4. สำหรับคน ที่เสียทั้งความประพฤติทางกาย และการแสดงออกทางวาจา อีกทั้งจิตใจก็ไม่ปลอดโปร่งดีงามผ่องใสเป็นครั้งคราวได้เลย ในเวลานั้น ควรตั้งความเมตตาการุณย์ ความคิดอนุเคราะห์ช่วยเหลือต่อเขา โดยคิดว่า โอ้หนอ ขอให้ท่านผู้นี้ละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริตได้เถิด ขอให้ละวจีทุจริตบำเพ็ญวจีสุจริตได้เถิด ขอให้ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริตได้เถิด ขอท่านผู้นี้อย่าได้ตายไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกเลย เปรียบเหมือนคนเจ็บไข้ ได้ทุกข์ ป่วยหนัก กำลังเดินทางไกล หมู่บ้านข้างหน้าก็ยังไกล หมู่บ้านข้างหลังก็อยู่ไกล เขาไม่อาจได้อาหารที่เหมาะ ไม่อาจได้ยาที่เหมาะ ไม่อาจได้คนพยาบาลที่เหมาะ ไม่อาจได้คนพาไปสู่ละแวกบ้าน มีคนผู้หนึ่ง เดินทางไกลมาเห็นเข้า เขาพึงเข้าไปตั้งความเมตตาการุณย์ ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือแก่คนที่เจ็บไข้นั้น ด้วยคิดว่า โอ้หนอ ขอให้คนผู้นี้พึงได้อาหารที่เหมาะเถิด พึงได้ยาที่เหมาะเถิด พึงได้คนพยาบาลที่เหมาะเถิด พึงได้คนพาไปสู่ละแวกบ้านที่เหมาะเถิด ขออย่าให้คนผู้นี้ต้องถึง ความพินาศเสีย ณ ที่นี้เลย


5. สำหรับคนที่ดีทั้งความประพฤติทางกายทั้งความประพฤติทางวาจาเรียบร้อยหมดจดดี จิตใจก็ปลอดโปร่งดีงาม ผ่องใสอยู่เรื่อยๆตามกาลเวลา สำหรับคนเช่นนี้ ควรมนสิการทั้งการที่เขามีความประพฤติทางกายเรียบร้อยหมดจด ทั้งการที่เขามีความประพฤติทางวาจาเรียบร้อยหมดจด และทั้งการที่เขาได้มีจิตใจปลอดโปร่งดีงามผ่องใสอยู่เรื่อยๆ ซึ่งนับว่าเป็นคนน่าเลื่อมใสทั่วทุกอย่างรอบด้าน พาให้คนที่มนสิการมีจิตใจผ่องใสด้วย เปรียบเหมือน สระโบกขรณี มีน้ำใส เห็นแจ๋ว เย็นฉ่ำ น่าชื่นใจ ชายฝั่งบริเวณก็เรียบร้อยดีน่ารื่นรมย์ ปกคลุมด้วยหมู่ไม้นานาพรรณ คราวนั้น บุรุษหนึ่งเดินทางร้อนแดด ถูกความร้อนแผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย มาถึงเข้า เขาลงไปยังสระโบกขรณีนั้น ทั้งอาบ ทั้งดื่มแล้วขึ้นมา จะนั่งก็ได้ นอนก็ได้ ภายใต้ร่มไม้ ที่ชายฝั่ง สระนั้น *
*(องฺ.ปญฺจก. 22/162/207-212 – แปลเอาความ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron