วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2020, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1552811796976.jpg
FB_IMG_1552811796976.jpg [ 38.83 KiB | เปิดดู 1572 ครั้ง ]
ยานิ ปญจินฺทฺริยานิ รูปานิ อินทรีย์ ๕ ที่เป็นรูปเหล่าใด อตฺถิมีอยู่
อิทํ รูปํ นี้ชื่อว่ารูป(อินทรีย์ฝ่ายรูป ๕ จากที่มีอยู่ ๒๒)
ตทุภยํ นามรูปํ นามรูปทั้งสองนั้น วิญฺญาณสมฺปยุตฺตํ เป็นสภาวธรรม
ที่สัมปยุตกับจิต (แม้ว่ารูปในพระอภิธรรมจะเป็นวิปยุตธรรม แต่ในที่นี้
ทานบอกว่าเป็นสัมปยุต เพราะเป็นการกล่าวคำพูดของคนทั่ว ๆ ไป
ไม่ใช่เป็นการพูดถึงสัมปยุตปัจจัย อันนี้เป็นการพูดแบชาวบ้าน ๆ ทั่วไป

นั่นหมายความว่าท่านกำลังจะพูดถึงสภาพของนามรูป กล่าวคือ
ร่างกายกับจิตใจว่ามันเป็นของคู่กันในที่นี้ ผู้ศึกษาจะต้องเข้าใจว่าท่าน
ไม่ได้พูดถึงลักษณะของสัมปยุตปัจจัยในปัฏฐาน แต่เป็นการพูดถึง
สัมปยุตแบบที่ทั่วๆ ไปเข้าใจกัน เพราะฉะนั้น จึงไม่ขัดกันบางคนอาจสงสัยว่า
ในพระอภิธรรมบอกว่ารูปเป็นวิปยุต แต่ทำไมในที่นี้บอกว่านามกับรูปเป็นสัมปยุต

จะอย่างไรก็ตามนามรูปนี้มีความเกี่ยวข้องกับจิตใจ เมื่อจิตดับ
ทุกอย่างก็ดับไป นั่นหมายความว่าวิญญาณนั้นคือ ปฏิสนธิวิญญาณ
ถ้าปฏิสนธิวิญญาณดับ นามรูปที่เหลือก็ชื่อว่าดับ เพราะฉะนั้น
วิญญาณจึงต้องเอาเป็นปฏิสนธิวิญญาณ

ตสฺส นิโรธํ ภควนฺตํ ปุจฺฉนฺโต ดังนั้น อชิตะจึงถามพระผู้มีพระภาค
ถึงการดับของนามรูปนั้น อายสฺมา อชิโต ปารายเน เอวมาห ท่าน จึงทูลถามไว้ใน ปารายนสูตรว่า

ปญฺญา เจว สติ จ นามรูปญจ มาริส
เตํ เม ปุฎฺโฐ ปพฺรูหิ กตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ.

(ขุ.สุ.๒๕/๕๓๒.เนตฺติ ๑๘)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2020, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปญฺญา เจว สติ จ นามรูปญจ มาริส
เตํ เม ปุฎฺโฐ ปพฺรูหิ กตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ.

(ขุ.สุ.๒๕/๕๓๒.เนตฺติ ๑๘)

คาถานี้ผ่านการแปลมาแล้ว อันเป็นกล่าวการสรุปย้อนไปที่คำถาม
อีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้น ถ้าถามว่า นามรูปทั้งหมดนี้ดับในที่ใด
ดับเพราะเหตุใด ก็สามารถนำเอาคาถาที่สองมาตอบได้
แล้วจึงมาดูรายละเอียดข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓

คราวที่แล้วที่ผ่านมาโดยสรุปเป็นการพูดถึงนิพพาน อนุปาทิเสสนิพพาน
คือการดับของธรรมทั้งหลาย นิโรธํ ภควนฺตํ ปุจฺฉนฺโต อชิตมานพ
เมื่อจะถามถึงนิโรธ(ความดับ)กะพระพุทธเจ้าอันเป็นความดับอย่างสิ้นเชิง
กล่าวคือ อนุปาทิเสสนิพพาน คาถาข้างต้นนี้เป็นการถามถึงเรื่องอนุปาทิเสสนิพพาน

คาถานี้ได้พูดถึง การดับแบบอนุปาทิเสสนิพพาน การจะได้อนุปาทิเสสนิพพานนั้น
จะต้องบรรลุอริยมรรค การที่จะบรรลุอริยมรรคก็ต้องเจริญ โพธิปักขิยธรรม หมายความว่า
จะต้องมีธรรมอื่นช่วยเหลือเกื้อกูล การที่จะได้อริยมรรคนั้น
ต้องมีการเจริญภาวนา เช่น การเจริญอินทรีย์ ๕ อิทธิบาท ๔

ที่นำมากล่าวนี้ จะเห็นว่าธรรมทั้งหลายมีความเกื้อกูลกัน
ความเอื้ออุปการและมีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2020, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปนี้ท่านจะแสดงเรื่องของอินทรีย์กับอิทธิบาท
โดยเอาสติและปัญญา มาเป็นตัวหลัก คือเอาสติปัญญา
ที่อยู่ในคำถามในคาถานั้น มาจำแนกโดยอินทรีย์
และจำแนกโดยอิทธิบาท ทั้งนี้ เพราะสติปัญญาจะเป็มูลเหตุ
ในการที่จะได้ บรรลุพระนิพพาน ฉะนั้นจะต้องทราบ
ความเป็นไปของสติและปัญญา ว่ามีกี่ประเภท อย่างไรบ้าง

ตตฺถ สติ จ ปญฺญา จ จตฺตาริ อินฺทฺริยานิ,
สติ เทฺว อินฺทฺริยานิ สตินฺทฺริยญฺจ สมาธินฺทฺริยญฺจ,
ปญฺญา เทฺว อินฺทฺริยานิ ปญฺญินฺทฺริยญฺจ วิริยินฺทฺริยญฺจ,
ยา อิเมสุ จตูสุ อิยฺทฺริเยสุ สทฺทหนา โอกปฺปนา อิทํ สทฺธินฺทฺริยํ,ฯเปฯ

ตตฺถ - ในคาถานั้น สติ จ - สติด้วย - ปญฺญจด้วย
จตฺตาริ อินฺทฺริยานิ - ชื่อว่าอินทรีย์ ๔ (หมายความว่า สติ และปัญญา
จัดเป็นอินทรีย์ได้ อินทรีย์ ๔ อย่าง)

สติ - สติ เทฺว อินฺทฺริยานิ - เป็นอินทรีย์ ๒ อย่าง คือ
สตินฺทฺริยญฺจ - เป็นสตินทรีย์ด้วย สมาธินฺทฺริยญฺจ - เป็นสมาธินทรีย์ด้วย
ปญฺญา - ปัญญา เทฺว อินฺทฺริยานิ - จัดเป็นอินทรีย์ ๒ อย่าง คือ
ปญฺญินฺทฺริยญฺจ - ปัญญินทรีย์ด้วย วินิยินฺทฺริยญฺจ - วิริยินทรีย์ด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2020, 03:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในคาถานี้ท่านบอกแต่ปัญญาและสติ ถ้าพูดถึงปัญญา
ก็คือปัญญินทรีย์ สติ ก็คือ สตินทรีย์(จากอินทรีย์ ๕ มีสัทธา
วิริยะ สติ สมาธิปัญญา) อินทรีย์ ๕ เรียกว่า "ปญฺจินฺทฺริยานิ"
เป็นธรรมะที่อยู่ในโพธิปักขิยธรรมอันเป็นองค์ธรรม
เพื่อการบรรลุอริยมรรค

อินทรีย์ ๕ ก็จัดอยู่ในโพธิปักขิยธรรม
องค์ธรรมของอินทรีย์ ๕ ก็คือ เจตสิกเหล่านี้ :- สัทธา ๑
วิริย ๑ สติ ๑ สมาธิ ๑ ปัญญา ๑

คาถานี้ท่านพูดถึงแต่ปัญญาและสติ ก็เพราะว่า
ปัญญาและสติเป็นเหตุ ที่ทำให้เกิดการบรรลุอริยมรรค
หรือพูดได้ว่าเป็นเหตุ ให้บรรลุพระนิพพาน
แต่ยังขาดธรรม ๓ ประการ คือ สัทธา วิริยะ สมาธิ

ฉะนั้นท่านจึงวินิจฉัยว่า จริง ๆ แล้วคำว่า สติและปัญญา
ในคาถานี้ ถ้าจะจัดเป็นอินทรีย์แล้ว ก็สามารถจัดเป็นอินทรีย์
ได้ทั้ง ๔ สติจัดเป็น ๒ คือสตินทรีย์ และสมาธิยทรีย์
สติจัดเป็นสตินทรีย์โดยตรง และจัดเป็นสมาธิโดยอ้อม
ก็การที่สามารถจัดสติเป็นสมาธิอินทรีย์ก็เพราะ สติเป็นเหตุ
ให้ได้สมาธิ เพราะผู้ที่มีสติจำเป็นจะต้องมีสมาธิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2020, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะฉะนั้น เมื่อพูดถึงสติ สมาธิก็ได้มาโดยปริยาย
เมื่อเราทราบว่าสติเป็นอินทรีย์ได้ถึง ๒ อินทรีย์
คือ สตินทรีย์ และสมาธินทรีย์เช่นนี้แล้ว เวลาไปอ่าน
พระไตรปิฎกหรือไปอ่านพระธรรม ที่มีการกล่าวถึงสติอย่างเดียว

ในกรณีนี้เราสามารถหมายถึงสมาธิด้วย อันนี้เรียกว่า
เป็นวิธีการวิเคราะห์ศัพท์ วิเคราะห์ปัญหา วิเคราะห์คำถาม
วิเคราะห์บท อันจะเป็นความรู้พื้นฐานที่ทำให้สามารถถือเอา
องค์ธรรมได้โดยไม่ขัดแย้ง แต่ถ้าเราไม่สามารถโยงให้องค์ธรรม

สัมพันธ์กันอาจทำให้เราถือเอาแต่แง่เดียวซึ่งก็จะทำให้พระสูตร
ขัดกับหลักพระอภิธรรม เพราะว่าในพระสูตรพระพุทธองค์
ไม่ทรงพูดละเอียดเหมือนในพระอภิธรรม จะทรงพูดถึงธรรมบางส่วน
หรือบางสิ่งบางอย่างเท่านั้น เช่นในบางสูตรอาจพูดแต่ปัญญาบ้าง

พูดสมาธิบ้าง พูดจิตบ้าง บางทีทรงพูดจิตแต่ทรงหมายเอาสมาธิ
อย่างเช่น ในวิสุทธิมรรค ตอนเริ่มต้นของคัมภีร์ ท่านพูดถึงการให้
ภาวนาจิต ถ้าเราเข้าใจก็ไม่รู้ว่าภาวนาจิตแบบไหน ท่านอธิบายว่า
"การภาวนาจิต" หมายถึงอะไร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2020, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉะนั้น จึงขอให้ถือตามหลักการวิจัยของวิจยหาระ
เพื่อจะสามารถเชื่อมโยงได้ ไม่ใช่ว่าเห็นธรรมใดแล้ว
ก็ถือเอมแค่ธรรมนั้นเท่านั้น ถ้าถืออย่างนั้น

อาจทำให้เห็นธรรมได้ไม่ครอบคลุม อาจทำให้เกิด
อัพยาปิดโทษ อพยาปิด หมายถึง คำศัพท์ที่ไม่สามารถ
กินความหมายได้ครอบคลุม

เมื่อนักศึกษาทราบความว่า สติจัดเป็นอินทรีย์ ๒ อย่าง
แล้วก็ควรทราบในส่วนของปัญหาด้วย ปัญญาจัดเป็นอิยทรีย ๒ คือ
ปัญญินทรีย์ และวิริยินทรีย์ ความจริง ความเพียรกับปัญญา
มองดูแล้วมันต่างกัน แต่ท่านถือว่าธรรมเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกัน

คือปัญญานี้มีความเกี่ยวเนื่องกับวิริยะ โดยทำนองว่า
ปัญญาต้องอาศัยความเพียร วิริยะเป็นปัจจัยให้ความเพียร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร