วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 04:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2020, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1582869703737.jpg
FB_IMG_1582869703737.jpg [ 12.37 KiB | เปิดดู 1451 ครั้ง ]
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส
ขอน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

นโม นอบน้อม องค์ธรรมหมายถึงอะไร ?
ตามหลักพระอภิธรรม จะต้องเก็บองค์ธรรมถึงขั้นจิตตุปบาท
อนึ่ง การนอบน้อมนี้พึงทราบว่า เป็นบุญ

เพราะฉะนั้นเรียกว่า กุศล อะไรคือกุศล? อะไรเป็นกรรม?
พระพุทธเจ้าตรัสว่า เจตนา เป็นกรรม การนอบน้อมถ้าไม่มีเจตนาเป็นไปไม่ได้

เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า "ปณามเจตนา" กุศลจิตตุปบาท
ที่มีปณามเจตนาเป็นประธาน คำว่า นโมนี้ตามสภาวธรรมแล้ว หมายถึง กุศลจิต
และต้องเป็นจิตตุปบาทด้วย เพราะถ้าเรียกจิตเฉยๆ อาจเข้าใจว่า
หมายถึงจิตอย่างเดียว แต่ถ้าเรียกว่า "จิตตุปบาท"
ย่อมทำให้เรารู้ความหมายถึง จิตและเจตสิกที่สัมปยุตกันกับจิตดวงนั้น

ดังนั้น กุศลจิตตุปบาทที่มีปณามเจตนาเป็นประธาน
เรียกว่า นโม ไม่ใช่แต่สักแต่ว่าเป็นแต่เพียงคำพูดว่านโม เท่านั้น
โดยธาตุแท้ของนโมก็คือ กุศลจิตตุปบาทที่มี ปณามเจตนาเป็นประธาน
ก็อันนี้แหละเป็นองค์ธรรมของ "นโม"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2020, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉะนั้น เมื่อเรารู้องค์ธรรมของคำว่า นโมแล้ว เรามาตรวจสอบ
ดูปทัฏฐานของกุศลจิตดังกล่าว ก็จะเห็นว่า โยนิโสมนสิการ
เป็นปทัฏฐานของกุฅลจิตตุปบาท

กุศลจิตตุปบาทมีโยนิโสมนสิการเป็นปทัฏฐาน โยนิโสมสิการ
หรือปัญญามีสัทธัมมัสสวนะเป็นปทัฏฐาน (การได้ฟังพระสัทธรรมให้เกิด
โยนิโสมนสิการ) สัทธัมมัสสวนะมีสัปปุริสูปนิสสยะ (การอาศัยสัตบุรุษ)เป็นปทัฏฐาน

สัปปุริสูปนิสสยะมีปฏิรูปเทสวาส(การอยู่ในที่ ๆ มีพระพุทธศาสนา)เป็นปทัฏฐาน
ปฏิรูปปเทสวาสมีปุพเพกตปุญญตา(บุญเก่า)เป็นปทัฏฐาน
ส่วนอะไรเป็นปทัฏฐานของปุพเพกตปุญฺญตานั้นเราไม่ต้องหาแล้ว
เพราะมันสุดวิสัยของบุคคลธรรมดาทั่วไป อนึ่ง นอกจาก
ปุพเพกตปุญฺญตาแล้ว ยังมีปทัฏฐานอื่นอีกเช่นการสั่งสมบารมี(โพธิสัมภาระ)

การสั่งสมบารมีนี้อยู่ในระดับเดียวกันกับปุพเพกตปุญฺญตา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2020, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น นำปุพเพกตปุญฺญตา
(คำนี้แปลตามศัพท์ว่า ความมีบุญเคยสั่งสมไว้แจ่ชาติปางก่อน = วิบากบุญเก่า)
หรือมีปารมีสัมภาระ มาเป็นปทัฏฐานของปฏิรูปเทสวาสได้
ก็โดยรุยโหรุยหนยะนี้เป็นวิธีการหาปทัฏฐานแบบสาวไปหาต้นตอที่เป็นตัวการ
โดยผู้หาจะต้องสาวลงมาหาเหตุทีละขั้น ๆ ไกลออกไปจนหมดสภาวธรรมที่จะหาแล้ว

ค่อยหยุดดังที่ท่านกล่าวว่า "ยาว สพฺพธมฺมา" เสร็จแล้วให้ทวนกลับขึ้นไปด้วยวิธี
อารุยหารุยหนยะ เช่น เมื่อสักครู่ถึงปุพเพกตปุญฺญตา เราก็ใช้วิธีทวนกลับดังนี้

ปุพกตปุญฺญตาหรือปารมีสัมภารเป็นปทัฏฐานแก่ปฏิรูปเทสวาส
(การอยู่ในประเทศที่เหมาะสมกล่าวคือ ประเทศที่มีพระพุทธศาสนา)

ปฏิรูปเทสวาสเป็นปทัฏฐานแก่สัปปุริสูปนิสสยั

สัปปุริสูปนิสสยะเป็นปทัฏฐานแก่สัทธัมมัสสวนะ (การได้ฟังพระสัทธรรม)

สัทธัมมัสสวนะเป็นปทัฏฐานแก่โยนิโสมนสิการ (การใช้ปัญญาไตร่ตรองอย่างมีเหตุมีผล)

โยนิโสมนสิการเป็นปทัฏฐานแก่กุศลจิตตุปบาท

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2020, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พอมาถึงตรงนี้แหละจะไปไกลเพราะธรรมยังไม่หมด
เราจึงจะต้องว่าต่อไปอีกว่า กุศลจิตเป็นปทัฏฐานให้เกิดอะไร
ซึ่งอาจจะเกิดสุขโสมนัส (ขอให้นึกถึงพระพุทธเจ้าที่ว่า
"มา ภิกฺขเว ปุญฺญํ ภายิตฺถ, สุขสฺเสตํ อธิวจนํ" ดูกร ภิกษุ ท. เธอ ท. อย่ากลัวบุญ

เพราะว่าบุญเป็นชื่อของความสุข คำว่า "ชื่อของความสุข" หมายความว่า บุญ(กุศล)
เป็นเหตุให้เกิดสุข แล้วสุขเป็นเหตุเป็นเหตุให้เกิดอะไร? ก็เกิดสมาธิ
ผู้มีสมาธิย่อมเห็นการเกิดดับของรูปนาม ... ในที่สุดกุศลก็จะพาเราเข้าสู่พระนิพพาน
อันเป็นเป้าหมายอันสูงสุดในพระพุทธศาสนานี้ ดังนั้น ท่านบอกว่า ยาว สพฺพธมฺมา
ขอให้นักศึกษาจงโชคดีกับการพิจารณาสาวหาเหตุจนถึงที่สุดเท่าที่จะหาได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2020, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กุศลเป็นปทัฏฐานแก่อะไร
เรากำลังพูดถึงการนอบน้อม ก็อานิสงส์ของการนอบน้อม
หรืออานิสงส์ของกุศลจิตได้แก่ อนฺตรายวิโสสน(กำจัดภัยได้จริง)
มันแล้วแต่มันอยู่ในเหตุการณ์ไหน กุศลจิตเป็นปทัฏฐาน
ในการขจัดให้อันตรายเหือดแห้งไป

เวลาเรานอบน้อมผู้มีคุณนั้น
อานุภาพของการนอบน้อมย่อมสามารถขจัดปัดเป่า
อันตรายให้หายไปได้

เพราะฉะนั้น การที่เรานอบน้อมอยู่ในปัจจุบันจึงไม่ใช่สักแต่ว่า
นอมน้อมไปโดยไม่เห็นจุดหมาย
การกระทำย่อมมีผล ถ้ามีเจตนาบริสุทธิใสสะอาด
การนอบน้อมนั้นจะทำให้เกิด อนฺตรายวิโสสน
(วิโสสน แปลว่าทำให้เหือดแห้ง)

ขจัดปัดเป่าอันตรายให้หมดไปหรือว่าป้องกันอันตราย
การที่หมดอันตรายไปแบบนี้ เช่น อย่างที่เราเรียนหนังสือ
ก็เรียนหนังสือจบ สอนหนังสืออยู่ก็สอนได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2020, 03:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อไม่มีอุปสรรคอันตรายเราก็สามารถเรียนคัมภีร์เนตติจบ
จนสามารถเข้าใจหลักเนตติ เมื่อเข้าใจหลักเนตติก็จะเป็นปทัฏฐาน

แก่การเข้าใจพระไตรปิฎก การเข้าใจพระไตรปิฎกเป็นปทัฏฐาน
แก่วิธีการปฏิบัติ การจะเข้าใจพระไตรปิฎกได้ไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ
จับพระไตรปิฎกขึ้นมาอ่านแล้วเข้าใจ ฉะนั้นอาจารย์กัจจายนะ
ท่านจึงเอาหลักเนตติมาแสดงเพื่อที่จะให้อ่านเข้าใจก่อนที่จะไปอ่านพระไตรปิฎก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2020, 08:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 702

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron