วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2020, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจาก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=59090

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2020, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมปฏิสันถาร : สนทนาปัญหาธรรม

ปฏิสันถาร คือ การต้อนรับแขกผู้มาหา มีวิธีต้อนรับอยู่ ๒ อย่าง คือ ด้วยอามิส หรือ ด้วยธรรม หากทำได้ทั้งสองอย่างพร้อมกันไปก็เป็นการดี

การต้อนรับด้วยอามิสนั้น คือ การต้อนรับด้วยเครื่องบริโภคอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น น้ำร้อน น้ำเย็นหรือ อาหาร ขนมหวาน ผลไม้ แล้วแต่กรณี

ทางพระพุทธศาสนาถือการต้อนรับเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา เราไปที่ใดหากเจ้าถิ่นต้อนรับดี เราจะรู้สึกดื่มด่ำในอัธยาศัยไปนาน บางทีอาจถึงตลอดชีวิต หากต้อนรับไม่ดีก็ได้รับผลตรงกันข้าม เมื่อเรารู้สึกอย่างนี้ คนอื่นก็เช่นกัน จึงควรที่เราจะต้อนรับผู้อื่นอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

ส่วนการต้อนรับด้วยธรรมนั้น คือ การสนทนาธรรม นำเอาเรื่องราวที่เป็นประโยชน์แก่การครองชีพมาสนทนา หากเป็นบรรพชิตก็นำเอากถาวัตถุ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่งมาสนทนาเพื่อการขัดเกลา เช่น พูดกันเรื่องความสันโดษ ความมักน้อย ความเพียร เป็นต้น สำหรับบรรพชิตนั้น โดยปกติพระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ๒ อย่าง คือ การนิ่งอย่างหนึ่ง กับการพูดจาอันประกอบด้วยธรรมอย่างหนึ่ง (ธมฺมีกถา วา อริโย วา ตุณฺหีภาโว) เรื่องที่พูดนอกจากนี้ ทรงถือว่าไม่ใช่กิจของบรรพชิต

คนที่รู้จักปฏิสันถารด้วยธรรมนั้น ก่อให้เกิดความดื่มด่ำแก่ผู้เข้าใกล้ รู้สึกว่ามาได้รับยาสำหรับดวงจิตหรือวิญญาณ คฤหัสถ์ได้คุยกับพระนั้น อยากให้พระคุยธรรมะให้ฟัง อยากให้ปรารภเรื่องใดเรื่องหนึ่งอันเป็นเรื่องเย็น เพราะในโลกของชาวบ้านนั้นร้อนอยู่ด้วยเรื่องต่างๆ มากมาย

อนึ่ง ในหมู่ของคฤหัสถ์ หากธรรมะฟังได้ยาก เมื่อรวมหัวกันก็มักคุยกันเรื่องทำมาหากิน เรื่องเที่ยวเตร่เสเพลต่างๆ

ธรรมะเป็นของหายากในหมู่ฆราวาสทั่วไป ธรรมะจึงมีค่ามากสำหรับฆราวาส พระที่ชอบคุยธรรมะคนจึงชอบและเลื่อมใส

ในหมู่ชาวบ้านด้วยกัน หากผู้ใหญ่คนใด พูดสิ่งที่เป็นคติเป็นประโยชน์ พวกคนหนุ่มๆก็ชอบ ผู้ใหญ่ที่ชอบแต่พูดจาตลกคะนองเสียเรื่อยไป อย่านึกว่าเขาจะนิยมชมชอบจริง ที่แท้เขานึกดูถูกอยู่ในใจ

ในทางปฏิบัติ การปฏิสันถารจึงควรทำทั้งสองอย่าง คือ ทั้งอามิสปฏิสันถาร และธรรมปฏิสันถาร ทั้งนี้ควรทำโดยเลือกบุคคลเลือกกาลเทศะ บางโอกาสอาจทำพร้อมๆกันไปได้ บางโอกาสอาจทำได้เพียงอย่างเดียว อย่างใดอย่างหนึ่ง

ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่กรุณาสละเวลาอันมีค่ามาร่วมสนทนาธรรม บางท่านก็เขียนถามมา ถือได้ว่าท่านเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการให้หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้น แม้อาจจะไม่เคยเห็นตัวกัน แต่ก็มีความรู้สึกสนิทสนมเป็นกันเอง เพราะมีฉันทะเดียวกัน คือ ธรรมฉันทะ เป็นญาติกันโดย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2020, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


@ ไม่ศรัทธาพระสงฆ์ ควรทำอย่างไร

ถาม. เมื่อก่อนผมไม่เคยรู้เรื่องศาสนาพุทธ ทำให้อยากรู้ จึงเข้าไปบวช เมื่อเข้าไปบวชแล้วได้เห็นว่าพระไม่ได้ปฏิบัติตัวเอง สมกับที่สอนคนอื่นเขา หรือเมื่อท่านปฏิบัติตัวเองดี ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากเรา ทำให้ความศรัทธาที่มีอยู่ลดน้อยลงจริงๆ แล้วท่านก็ไม่ได้สูงส่งสุดเอื้อมอย่างที่เคยคิด

ตอบ. นี่เป็นข้อบกพร่องจุดหนึ่งที่ทำให้คนที่ศรัทธาอยู่แล้วคลายความเลื่อมใส ผู้ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสยิ่งไม่ศรัทธามากขึ้น

อย่างที่ผมเรียนตั้งแต่ต้นแล้วว่า การศึกษาต้องหมายถึงการเรียนรู้ การทำความเข้าใจ และการปฏิบัติตามที่เรียนรู้จนเกิดผลขึ้นจริงๆ มิฉะนั้นแล้วก็มีผลไปในทางลบ

โดยธรรมดาแล้วชาวบ้านจะมองพระสงฆ์เป็นธงชัยของพระพุทธศาสนา เมื่อเข้าวัดไหนเห็นพระสงฆ์ปฏิบัติไม่ดีไม่ชอบ จะเกิดความรู้สึกไม่สบายใจไม่มีความสุข ทำให้มีความรู้สึกว่าพุทธศาสนาแย่แล้ว อย่างนั้นเป็นเพียงความรู้สึก

จริงๆ พุทธศาสนา หมายถึงพระธรรมของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นของดีจริง พระสงฆ์เป็นแต่เพียงองค์ประกอบหนึ่งของพุทธศาสนา

พุทธบริษัท ๔ มี ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เวลานี้นับสามเณรด้วยก็ได้ เพราะมีสามเณรเป็นจำนวนแสน ถือว่าเป็นเสาหลัก ๔ เสา พวกเรานี้ ก็นับเป็น ๒ เสาของพุทธศาสนา คือ อุบาสก อุบาสิกา ที่ต้องช่วยกันจรรโลงพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2020, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม. เมื่อตอนเด็กๆ แม่สอนว่าพระสงฆ์เป็นสิ่งสูงสุด ครั้งหนึ่ง แม่พาไปใส่บาตร อาจจะเป็นเพราะว่าแม่สนิทกับพระหรือไรไม่ทราบ พระท่านบอกว่า “โยมเมื่อไรจะใส่ทุเรียน” ตอนนั้นทำให้คิดว่า แม้แต่พระยังมีกิเลส จึงทำให้นำตัวเองห่างออกมาไม่ค่อยเชื่อไม่ค่อยนับถือ

ตอบ. การไม่นับถือพระสงฆ์เป็นบางรูปไม่เป็นไร เป็นความชอบธรรมด้วยสำหรับพระที่ไม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เรามีสิทธิเสรีภาพโดยชอบธรรมที่จะไม่นับถือ ไม่บาป เป็นการเตือนให้ท่านดีขึ้น
แต่สิ่งที่เรานับถือและนำมาปฏิบัติคือพระธรรม พระธรรมเป็นสิ่งบริบูรณ์ ดีจริง ใครปฏิบัติตามแล้วได้รับผลตามสมควรแก่การปฏิบัติ แต่ต้องรู้จักกาลเทศะ มีปัญญา ปัญญาเป็นแสงสว่างสำคัญมาก

แม้จะทำความดีก็ต้องมีความระมัดระวัง มิฉะนั้นแล้วจะเกิดผลร้าย ที่บังเกิดผลร้ายเพราะมีตัวแปรเยอะ ทำดีไม่เป็นแล้วจะเกิดผลร้าย คล้ายๆ กับ ข้าวสาร น้ำ เป็นของดี กินได้ แต่ถ้าเราหุงข้าวไม่เป็นก็กินไม่ได้ เสียไปทั้งข้าวทั้งน้ำ

พระธรรมที่บอกว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” นั้นวางไว้เป็นหลักกว้างๆ แต่ในรายละเอียด ยังไม่ได้พูดว่า ควรทำความดีอย่างไร เว้นความชั่วอย่างไร ยังไม่ได้พูดเงื่อนไขและเหตุปัจจัย เพราะว่าชีวิต มีกฎ If-then-law คือ conditionality ความมีเงื่อนไข ถ้าเป็นอย่างนั้นต้องทำอย่างนี้ ถ้าเป็นอย่างนี้ต้องทำอย่างนั้น ไม่มีหลักตายตัวโดยไม่ยึดหยุ่น

แม้เรื่องกฎแห่งกรรมก็ไม่ใช่กฎตายตัว แต่ยึดหยุ่นได้ตามเงื่อนไข และเหตุปัจจัย เราเคยเห็นเขาเตะฟุตบอลซึ่งประตู (goal) มีขนาดกว้าง ถ้าไม่มีอะไรไปขวางย่อมเตะเข้าได้แน่นอน

แต่บางทีเตะไป ๓๐ นาที ยังทำประตูไม่ได้เลย เพราะอะไร เพราะมีคนคอยขวางอยู่ นี่คือเงื่อนไขที่เข้ามาทำให้ยิงประตูไม่ได้

ทำดีก็ต้องระวังให้ถูกคนถูกกาล ฯลฯ จะมาบ่นว่าทำดีไม่ได้ดี ไม่ได้ ต้องตรวจสอบดูก่อนว่าเราทำถูกให้ผิดหรือเปล่า หรือทำความดีผิดวิธีหรือไม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ก.ค. 2020, 18:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2020, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2020, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม. มีบางคนบอกว่า พระไตรปิฎกมีเรื่องที่ใส่เข้ามาภายหลัง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตรงไหนจริง เชื่อถือได้

ตอบ. ใส่หรือไม่ใส่ เราทราบได้ยาก สันนิษฐานว่าคงมีใส่บ้าง พระไตรปิฎกทั้งหมดที่เป็นหนังสือ นั้นเนื้อหาก็คือ พระธรรมวินัย เป็นพระวินัย ๘ เล่ม นอกนั้นเป็นพระธรรม แบ่งเป็นพระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม และพระอภิธรรม ๑๒ เล่ม รวมทั้งหมด ๔๕ เล่ม สรุปรวมเป็นพระธรรมวินัย

สำหรับส่วนที่ใส่เข้ามาภายหลังคงมีบ้าง ส่วนมากเชื่อถือได้ บางคนเชื่อว่าบางเรื่องใส่เข้ามาภายหลัง เช่น เรื่องภาณยักษ์ ภาณยักษ์ แปลว่า ยักษ์พูด ภาณ แปลว่า พูด ภาณพระ แปลว่า พระพูด เป็นเรื่องเกี่ยวกับยักษ์มาเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วทูลว่าสาวกของพระองค์อยู่ป่าบ้าง อยู่เขาบ้าง พวกยักษ์ที่นับถือพระก็มี ไม่นับถือพระก็มี อาจจะไปรังแกส่งเสียงให้พระเดือดร้อน จึงให้พระสาวกว่าคำเหล่านี้ไว้ ถ้าได้ว่าคำเหล่านี้แล้วพวกยักษ์จะไม่รบกวน เช้าขึ้นพระพุทธเจ้าตรัสเล่าให้พระสาวกฟัง ถึงเรียกว่า ภาณพระ คือ พระพุทธเจ้าตรัสในข้อความเดียวกัน แต่นำมาสวดกันจนน่ากลัว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2020, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


@ ทำไมต้องศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติ

ถาม. ทำไมเราต้องศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติ ไม่รู้ปริยัติไว้บ้าง เวลาพลาดเราจะรู้ได้อย่างไร ที่จริงปริยัตินั้นก็คือการปฏิบัติที่บันทึกไว้นั่นเอง คือ ท่านผู้รู้ปฏิบัติผ่านมาแล้วมีเมตตาจึงเขียนบันทึกไว้ว่า ปฏิบัติอย่างนี้จะได้ผล อย่างนี้ หลักธรรมนี้จะอำนวยผลอย่างนี้ เหมือนนักวิทยาศาสตร์ที่พบอะไรแล้วบันทึกไว้

อีกประการหนึ่ง คือ มันจะช่วยกัน ถ้ามีแต่ปฏิบัติอย่างเดียวได้ความรู้โดยตรง แต่ความรู้อาจจะแคบไป
ถ้ามีปริยัติความรู้จะกว้าง ถ้ามีการปฏิบัติเป็นพยานก็ทำให้หนักแน่นขึ้น

ขอยกตัวอย่างท่านพุทธทาส ที่มีคนนับถือท่านมาก (บางคนก็ไม่นิยมท่าน) เราถือว่าท่านเป็นพระที่ปฏิบัติมาอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันท่านก็เชี่ยวชาญทางปริยัติ ซึ่งจะหาพระเถระในเมืองไทยที่จะเชียวชาญปริยัติเหมือนอย่างท่านแทบจะหาไม่ได้

พระเถระที่ชำนาญในการปฏิบัติมีจำนวนไม่น้อย แต่ท่านไม่เชียวชาญในปริยัติ ฉะนั้น เวลาท่านพูดอะไรคนไม่ค่อยเข้าใจ ผลงานของท่านจึงไม่ค่อยแพร่หลาย พระหรือชาวบ้านถ้าอยู่กับการปฏิบัติธรรมแล้วเชียวชาญปริยัติด้วยจะเป็นประโยชน์กับมหาชนมาก

ถาม. คิดว่าการถ่ายทอดธรรมเป็นของยาก

ตอบ. ใช่ครับ พระพุทธเจ้าถือเป็นความแตกฉานแขนงหนึ่ง เรียกว่า นิรุติปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานทางนิรุติ การใช้ภาษาอย่างพระเถระที่ได้รับการรับรอง ได้รับความนิยมจากนักการศึกษา นักวิชาการอยู่ในสังคมไทยในเวลานี้อีกท่านหนึ่ง คือ ท่านเจ้าคุณพระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านเชียวชาญปริยัติมาก เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาแสวงหาความรู้อย่างแท้จริง การปฏิบัติของท่านก็ดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2020, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


@ ทำอย่างไร จึงจะเข้าถึงคำสอนในพุทธศาสนาได้จริง

ถาม. ผมคิดว่าการเข้าถึงเนื้อหาคำสอนในพุทธศาสนาเป็นเรื่องลึกซึ้งละเอียดอ่อนมาก ทำอย่างไรจึงจะเข้าถึงได้

ตอบ. ส่วนหนึ่งต้องอาศัยการเพ่งพินิจ การที่จะเข้าถึงพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับปัญหาชีวิต เราต้องอาศัยการเพ่งพินิจ การสำรวจจิต และการสำรวจความรู้สึก เอากระจกธรรมไปส่องดูโลก

ทีนี้ การทำอย่างนั้น เราต้องมีกระจก ถ้าเราไม่มีกระจกเราส่องดูโลกไม่ได้ ต้องมีธรรม การมีธรรมต้องมีความรู้ความเข้าใจในตัวธรรม ได้ผ่านการทดสอบมาด้วยตัวเองพอสมควร แล้วเอากระจกธรรมนี้ไปดูโลก แล้วจะเข้าใจโลก เข้าใจธรรม เข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น

มิฉะนั้น ก็ศึกษาเล่าเรียนกันไปตามตัวหนังสือ ไม่ได้ตัวธรรมะออกมาแท้ๆ ไม่มี Practical reason คือ เหตุผลภาคปฏิบัติ มีแต่ Pure reason คือ เหตุผลบริสุทธิ์ เช่น ให้เด็กท่องเรื่อง

พรหมวิหาร ๔ เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา สงสารคิดจะช่วยให้เขาพ้นทุกข์ ว่าเรื่อยไปจนถึงอุเบกขา การวางเฉย เด็กท่องได้ เวลาสอบก็สอบตามที่ท่อง แต่ว่าทั้ง ๔ ข้อ ไม่ได้ซึมซาบลงในจิตใจของผู้ท่อง

เวลาขึ้นรถเมล์แม้ถือหนังสือธรรมะอยู่ แต่ไม่ได้แสดงออกด้วยความกรุณา ลุกให้คนที่ควรลุกให้นั่ง ปล่อยให้ลำบากทั้งๆ ที่พอช่วยได้ก็ไม่ช่วย อย่างนี้ ความกรุณาไม่เข้าไปถึงจิตใจ ไม่เป็น Practical reason ไม่ใช่เหตุผลภาคปฏิบัติ ถ้ามีเหตุผลภาคปฏิบัติ มีความกรุณาเร้าอยู่ในใจแล้ว เขาจะทนดูอยู่ไม่ได้ที่จะไม่ช่วยคนที่ควรช่วย ซึ่งปรากฏอยู่เฉพาะหน้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2020, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


@ มีปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่นควรทำอย่างไร

ถาม. ในที่ทำงานบางครั้งมีปัญหามากทำให้สับสน บางครั้งถึงกับท้อแท้ ควรใช้หลักธรรมข้อไหน

ตอบ. ต้องแล้วแต่เหตุการณ์ เหตุการณ์ไหนเป็นอย่างไร ควรทำอย่างไรต่อไป ถ้าใช้ปัญญาอย่างธรรมดา ภาษาธรรมเรียกว่า การณวสิกตา ความเป็นผู้ทำให้เหมาะแก่เหตุ ในเมื่อตัวแปรเปลี่ยนไปอย่างนั้นแล้วมีเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างนั้นแล้วเราต้องยืดหยุ่นได้

บางคนมีปัญหาจากที่ทำงานมาก ผมแนะนำว่าเมื่อมีเหตุการณ์อย่างนี้ ต้องเปลี่ยนท่าทีใหม่ เป็น Conditionality มีเงื่อนไข เมื่อมีเงื่อนไขอย่างนี้ต้องเปลี่ยนท่าทีไปอีกอย่างหนึ่ง เราไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้อย่างตรงไปตรงมา เพราะมีตัวแปรและเงื่อนไข บางทีต้องถอยออกมายืนดูห่างๆ บ้างก็ได้

ถ้าเห็นว่ามีคนอื่นทำกันมากแล้ว หรือเห็นว่าเวลานั้นเราไม่เป็นตัวเอกแล้ว เราอาจจะเป็นผู้ช่วยหรืออื่นๆ ไป ไม่จำเป็นต้องเป็นพระเอกอยู่ตลอดเวลา

มีความแตกต่างระหว่างความย่อท้อ กับกาลัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักกาล บางทีเราไม่ได้ย่อท้อแต่เรา รู้จักกาล รู้จักบุคคล เอาหลักสัปปุริสธรรมมาใช้ว่า ชุมชนนี้มีลักษณะอย่างนี้เราจะทำอย่างไร ธรรมนี้มี ๗ ข้อ ถ้าลักษณะชุมชนนี้เราต้องวางตัวใหม่มีท่าทีใหม่ นำธรรมะมาใช้

ผมเองก็ทำงานอยู่กับชุมชน ก็ต้องใช้สิ่งเหล่านี้กับเหตุการณ์ที่ขึ้นลงต่างๆ เหมือนกัน เหมือนเรือที่ขึ้นลงตามกระแสน้ำแต่ลอยอยู่เหนือน้ำตลอดเวลา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2020, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


@ ข้อคิดสำหรับชีวิตครอบครัว

ถาม. เรื่องการยึดมั่นถือมั่นในตัวบุคคลหรือคนในครอบครัว เช่น สามีไม่ทำอะไรอย่างใจเรา อาจารย์ให้มองในแง่ดี เก็บเอาแต่ส่วนดีของเขามาคิด จนเขาไม่เห็นความสำคัญของเรา เราจะทำตัวอย่างไรให้ความสุขในครอบครัวกลับมาดีขึ้น

ตอบ. ปัญหาครอบครัว เราต้องรู้อะไรหลายๆ อย่างของบุคคลผู้นั้นจึงวินิจฉัยได้ ถ้าเป็นหมอก็ต้องรู้ประวัติคนไข้นิดหน่อย ขอให้ผู้ถามเล่ารายละเอียดบ้าง

สรุปปัญหาของผู้ถามได้ว่า ทางฝ่ายสามีต้องการให้ภรรยาทำอะไรๆ ให้เขา เขาหวังให้ภรรยาเป็นอย่างที่ใจเขาอยากให้เป็น

ทางฝ่ายภรรยาก็หวังให้สามีเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือทำอะไรๆ ให้บ้าง แต่ก็ไม่ได้ตามที่หวัง ในกรณีอย่างนี้ จะทำอย่างไร

ทางที่ดีที่สุดเท่าที่ผ่านการทดลองปฏิบัติมาในชีวิต ทั้งสองฝ่ายอย่าหวังที่จะให้ใครทำอะไรให้ แต่เราต้องพยายามตั้งใจที่จะทำอะไรให้ผู้อื่น เราตั้งใจทำให้เขามากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยไม่หวังที่จะให้ผู้อื่นทำอะไรให้แก่เรา

ถ้าเป็นสามีก็ไม่หวังอะไรจากภรรยา ภรรยาก็ไม่หวังอะไรจากสามี คิดแต่จะทำ คิดแต่จะให้ ถ้าเราสามารถทำใจให้ได้อย่างนี้ ปฏิบัติตามความตั้งใจให้ได้อย่างนี้ แม้สิ่งที่เขาทำอะไรให้เล็กๆ น้อยๆ เราจะรู้สึกว่าได้มาก

แต่ถ้าเราตั้งความหวังไว้มาก แม้เขาจะทำให้มากก็ยังมีความรู้สึกว่าน้อย

เกี่ยวกับเรื่องลูกก็เหมือนกัน เราไม่หวังอะไรจากเขา ถ้าเราตั้งความหวังอะไรในตัวเขาไว้น้อยๆ แล้วทำหน้าที่ของพ่อแม่ให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้

ถ้าจะหวังในตัวเขาบ้าง ก็ขอให้เขาเรียนหนังสือได้ ขอให้เรียนให้สำเร็จ ขอให้เป็นคนดี เขาจะดีเท่าไร ดีแค่ไหนเป็นเรื่องของเขาเอง เราไม่สามารถที่จะไปบีบไปเสกสรรปั้นแต่งให้เขาเป็นอย่างที่เราต้องการได้ แต่ละคนเขามี aggregations คือ มีผลรวมอะไรๆ ที่เป็นตัวของเขาเอง ที่สืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา บางครั้งจึงมีคนรู้สึกว่ามีแต่ได้รับจนเกินต้องการ เพราะว่าเขาไม่ได้เรียกร้องอะไรเลย เมื่อจิตใจไม่ได้เรียกร้องอะไรจึงมีความต้องการน้อย สิ่งที่ได้มาแม้น้อยก็เหมือนมาก

ถ้าเรามีความต้องการมาก สิ่งที่ได้มาแม้จะมากก็เหมือนน้อย

ความน้อยความมากบางทีก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ได้รับมากหรือน้อย มันขึ้นอยู่กับความต้องการและความรู้สึกของเราเอง เหมือนคนที่เราต้องการให้เขาอยู่คุยกับเรานานๆ เขาคุยเพียง ๑๕ นาที เราจะรู้สึกน้อยเหลือเกิน

แต่ถ้าคนที่เราต้องการให้เขาอยู่คุยกับเราน้อยๆ แม้เขาคุยด้วยพอสมควร เรากลับรู้สึกว่ายาวนาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2020, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


@ ควรสอนสมาธิแก่เด็กวัยไหน

ถาม. ควรจะสอนสมาธิแก่เด็กตั้งแต่ระดับใด เริ่มตั้งแต่ ๕-๖ ขวบ หรือว่าควรจะเป็นวัยไหนถึงจะดี

ตอบ. ข้อนี้เป็นไปตามอุปนิสัยของเด็ก บางคนสอนได้เร็วบางคนสอนได้ช้า ให้ดูที่ความพร้อมของตัวเด็กเองด้วย เพราะในขณะที่อายุเท่ากัน เด็กบางคนทำได้ บางคนทำไม่ได้

ผู้ใหญ่ก็เหมือนกัน บางคนบอกว่าทำตอนเด็กๆ จะดี มีเรื่องยุ่งๆ ไม่มาก จิตใจผ่องใส ข้อนี้ไม่แน่เสมอไป ส่วนมากไม่ค่อยได้ผล เพราะเด็กยังไม่เห็นคุณค่า เด็กยังอยากสนุกสนานอยู่มาก

เด็กควรเริ่มจากศรัทธาก่อน ศรัทธาก็เริ่มจากประเพณีนี่แหละ

ศรัทธาเริ่มปลูกฝังได้ตั้งแต่เขายังเป็นทารกอยู่ในครรภ์ โดยผู้เป็นแม่พาทำพาไป ส่วนระดับสมาธิเขาจะต่อยอดของเขาเอง จากฐานศรัทธาที่ครอบครัวปลูกฝังไว้ในจิตใจของเขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2020, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
@ มีปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่นควรทำอย่างไร

ถาม. ในที่ทำงานบางครั้งมีปัญหามากทำให้สับสน บางครั้งถึงกับท้อแท้ ควรใช้หลักธรรมข้อไหน

ตอบ. ต้องแล้วแต่เหตุการณ์ เหตุการณ์ไหนเป็นอย่างไร ควรทำอย่างไรต่อไป ถ้าใช้ปัญญาอย่างธรรมดา ภาษาธรรมเรียกว่า การณวสิกตา ความเป็นผู้ทำให้เหมาะแก่เหตุ ในเมื่อตัวแปรเปลี่ยนไปอย่างนั้นแล้วมีเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างนั้นแล้วเราต้องยืดหยุ่นได้

บางคนมีปัญหาจากที่ทำงานมาก ผมแนะนำว่าเมื่อมีเหตุการณ์อย่างนี้ ต้องเปลี่ยนท่าทีใหม่ เป็น Conditionality มีเงื่อนไข เมื่อมีเงื่อนไขอย่างนี้ต้องเปลี่ยนท่าทีไปอีกอย่างหนึ่ง เราไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้อย่างตรงไปตรงมา เพราะมีตัวแปรและเงื่อนไข บางทีต้องถอยออกมายืนดูห่างๆ บ้างก็ได้

ถ้าเห็นว่ามีคนอื่นทำกันมากแล้ว หรือเห็นว่าเวลานั้นเราไม่เป็นตัวเอกแล้ว เราอาจจะเป็นผู้ช่วยหรืออื่นๆ ไป ไม่จำเป็นต้องเป็นพระเอกอยู่ตลอดเวลา

มีความแตกต่างระหว่างความย่อท้อ กับกาลัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักกาล บางทีเราไม่ได้ย่อท้อแต่เรา รู้จักกาล รู้จักบุคคล เอาหลักสัปปุริสธรรมมาใช้ว่า ชุมชนนี้มีลักษณะอย่างนี้เราจะทำอย่างไร ธรรมนี้มี ๗ ข้อ ถ้าลักษณะชุมชนนี้เราต้องวางตัวใหม่มีท่าทีใหม่ นำธรรมะมาใช้

ผมเองก็ทำงานอยู่กับชุมชน ก็ต้องใช้สิ่งเหล่านี้กับเหตุการณ์ที่ขึ้นลงต่างๆ เหมือนกัน เหมือนเรือที่ขึ้นลงตามกระแสน้ำแต่ลอยอยู่เหนือน้ำตลอดเวลา


สัปปุริสธรรม ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมของคนดี, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ ข้อ คือ
๑. ธัมมัญญุตา รู้หลัก หรือ รู้จักเหตุ
๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักเหตุผล
๓. อัตตัญญุตา รู้จักตน
๔. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ
๕. กาลัญญุตา รู้จักกาล
๖. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน
๗. ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2020, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


@ ปฏิบัติอย่างไรจึงจะบรรลุโสดาบัน

ถาม. กรุณาอธิบายขั้นตอนของการบรรลุธรรมอย่างง่ายๆ ปฏิบัติอย่างไรจึงบรรลุขั้นโสดาบัน

ตอบ. ปฏิบัติธรรมดานี่ก็ได้ คือมีความตั้งใจที่จะเป็น แล้วก็ปฏิบัติตามรรคมีองค์ ๘ ค่อยๆ อบรมมรรคมีองค์ ๘ หรือ ย่อยเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ทำไปเรื่อยๆ ให้สม่ำเสมอ ไม่ย่อท้อ ไม่หันหลังให้ มุ่งหน้าเข้าหาธรรม (ธรรมาภิมุข) สมาธินั้นก็ทำสมาธิตามธรรมชาติได้ ไม่ต้องเป็นพิธีรีตอง คือ ท่านอยู่อย่างธรรมดา ทำงานทำการอะไรไป สมาธิที่ดีที่สุด คือ สมาธิตามธรรมชาติ

สมัยก่อนเขาสำเร็จโสดาบัน อรหันต์ ด้วยสมาธิธรรมชาติ คือ ทำให้สงบอยู่ตามปกติ มันก็พอจะใช้ปัญญาได้ในการพิจารณาสิ่งทั้งหลายทั้งปวงว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ใช้ปัญญาได้ว่า อะไรมันเกิดจากอะไร ปัญญาจะค่อยๆ มากขึ้น จิตใจจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นทีละน้อยๆ แล้วค่อยๆ บรรลุธรรมได้เองโดยธรรมดา

แต่ท่านสนใจในธรรม ปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ ทำกิจอย่างธรรมดา อยู่อย่างธรรมดา ไม่ต้องไปเข้มงวดกับชีวิตมาก แต่ก็ไม่ปล่อยให้หย่อนยานเกินไป สบายๆ จิตใจก็พัวพันอยู่กับธรรม ไม่ลืมธรรม ไม่หันหลังให้ธรรม บรรลุได้ สำคัญตรงที่ตั้งใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2020, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสริม แทรก คคห.บน จากพุทธธรรม หน้า 795

@ การเจริญสมาธิแบบธรรมดาพาไปเอง

การเจริญสมาธิในข้อนี้ ก็คือ การปฏิบัติตามหลักการเกิดขึ้นของสมาธิในกระบวนธรรมที่เป็นไปเองตามธรรมดาของธรรมชาติ หรือธรรมดาพาไปโดยไม่ต้องคิดตั้งใจ ซึ่งมีพุทธพจน์แสดงไว้มากมายหลายแห่ง สาระสำคัญของกระบวนธรรมนี้คือ กระทำสิ่งที่ดีงามอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เกิดปราโมทย์ขึ้น จากนั้นก็จะเกิดมีปีติ ซึ่งตามมาด้วย ปัสสัทธิ ความสุข และ สมาธิ ในที่สุด

พูดเป็นคำไทยว่า เกิดความชื่นบานบันเทิงใจ จากนั้น ก็จะเกิดความเอิบอิ่มใจ ร่างกายผ่อนคลายสงบ จิตใจสบายมีความสุข แล้วสมาธิก็เกิดขึ้นได้ เขียนให้ดูง่าย ดังนี้

ปราโมทย์ = > ปิติ = > ปัสสัทธิ = > สุข = > สมาธิ

หลักโดยทั่วไปมีอยู่อย่างหนึ่งว่า การที่กระบวนธรรมเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้นั้น ตามปกติจะต้องมีศีลเป็นฐานรองรับอยู่ก่อน

สำหรับคนทั่วไป ศีล นี้ ก็หมายเอาเพียงแค่การที่มิได้ไปเบียดเบียนล่วงละเมิดใครมา ที่จะเป็นเหตุให้ใจคอวุ่นวายคอยระแวงหวาดหวั่นกลัวโทษ หรือ เดือดร้อนใจในความผิดความชั่วร้ายของคนเอง มีความประพฤติสุจริตเป็นที่สบายใจของตน ทำให้เกิดความเป็นปกติมั่นใจตัวเองได้

ส่วนการกระทำที่จะให้เกิดปราโมทย์ ก็มีได้หลายอย่าง เช่น อาจนึกถึงความประพฤติงามสุจริตของตนเองแล้ว เกิดความปลาบปลื้มบันเทิงใจขึ้นก็ได้

อาจระลึกถึงการทำงานการบำเพ็ญประโยชน์ของตน

อาจระลึกถึงพระรัตนตรัย และสิ่งดีงามอื่นๆ อาจหยิบยกเอาหลักธรรมบางอย่างขึ้นมาพิจารณาแล้ว เกิดความเข้าใจได้หลัก ได้ความหมาย เป็นต้น (ที่มาหลายแห่ง ไม่นำมาในที่นี้) แล้วเกิดความปลาบปลื้มบันเทิงใจขึ้นมา ก็ได้ทั้งสิ้น

องค์ธรรมสำคัญที่จะเป็นบรรทัดฐาน หรือ เป็นปัจจัยใกล้ชิดที่สุดให้สมาธิเกิดขึ้นได้ ก็คือ ความสุข ดังพุทธพจน์ที่ตรัสเป็นแบบไว้เสมอๆ ว่า “สุขิโน จิตฺตํ สมาธิยติ” แปลว่า ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ

ขอยกตัวอย่างความเต็มมาดูสักแห่งหนึ่ง

“(เมื่อเธอรู้แจ้งธรรม) ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กาย ย่อมผ่อนคลายสงบ ผู้มีกายผ่อนคลายสงบ ย่อมได้เสวยสุข ผู้มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น” (ที.ปา.11/302/257; องฺ.ปญฺจก. 22/26/22 (ข้อความในวงเล็บ แสดงเหตุให้เกิดปราโมทย์ในกรณีนี้ ซึ่งในกรณีอื่นๆ จะแปลกกันไปได้ต่างๆ ส่วนความนอกวงเล็บ คือ หลักทั่วไป)

อย่างไรก็ตาม ว่าที่จริง การเจริญสมาธิในข้อนี้ ก็คือหลักทั่วไปของการฝึกสมาธิ ซึ่งเป็นแกนกลางของวิธีฝึกทั่วไปถึงขั้นก่อนจะได้ฌานนั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2020, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรกอีกเรื่องหนึ่ง พุทธธรรม หน้า 796

การเจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา (ไม่ลงทั้งหมด) เอาพอเห็นแนวฝึกแนวปฏิบัติ คือว่า

อิทธิบาทนั้น พระพุทธเจ้าตรัสพันไว้กับเรื่องสมาธิ เพราะอิทธิบาทเป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดสมาธิ และนำไปสู่ผลสำเร็จที่เป็นจุดหมายของสมาธิ

สมาธิเกิดจากอิทธิบาทข้อใด ก็มีชื่อเรียกตามอิทธิบาทข้อนั้น

สาระของการสร้างสมาธิตามหลักอิทธิบาท ก็คือ เอางาน สิ่งที่ทำ หรือ จุดหมายที่ต้องการ เป็นอารมณ์ของจิต แล้วปลุกเร้าระดมฉันทะ วิริยะ จิตตะ หรือ วิมังสา เข้านำหนุน สมาธิก็เกิดขึ้น และมีกำลังแข็งกล้า ช่วยให้ทำงานอย่างมีความสุข และบรรลุผลสำเร็จด้วยดี

โดยนัยนี้ ในการปฏิบัติธรรมก็ดี ในการเล่าเรียนศึกษา หรือ ประกอบกิจการงานอื่นใดก็ดี เมื่อต้องการสมาธิ เพื่อให้กิจที่ทำนั้นดำเนินไปอย่างได้ผลดี ก็พึงปลุกเร้า และชักจูงอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ให้เกิดเป็นองค์ธรรมเด่นนำขึ้นสักข้อหนึ่ง แล้วสมาธิ ความสุขสบายใจ และการทำงานที่ได้ผล ก็เป็นอันหวังได้เป็นอย่างมากว่าจะเกิดมีตามมาเอง พร้อมกันนั้น การฝึกสมาธิ หรือ การปฏิบัติธรรมส่วนหนึ่ง ก็จะเกิดมีขึ้นในห้องเรียน ในบ้าน ในทุ่งนา ในที่ทำงาน และในสถานที่ทุกๆแห่ง

๑. ฉันทะ ความพอใจ ได้แก่ ความมีใจรักในสิ่งที่ทำ และพอใจใฝ่รักในจุดหมายของสิ่งที่ทำนั้น อยากทำสิ่งนั้นๆ ให้สำเร็จ อยากให้งานนั้น หรือ สิ่งนั้นบรรลุถึงจุดหมาย พูดง่ายๆ ว่า รักงาน และรักจุดหมายของงาน

๒. วิริยะ ความเพียร ได้แก่ ความอาจหาญ แกล้วกล้า บากบั่น ก้าวไป ใจสู้ ไม่ย่อท้อ ไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรคและความยากลำบาก เมื่อคนรู้ว่าสิ่งใดมีคุณค่าควรแก่การบรรลุถึง ถ้าวิริยะเกิดขึ้นแก่เขาแล้ว แม้ได้ยินว่าจุดหมายนั้นจะลุถึงได้ยากนัก มีอุปสรรคมากหรืออาจใช้เวลายาวนานเท่านั้นปี เท่านี้เดือน เขาก็ไม่ท้อถอย กลับเห็นเป็นสิ่งท้าทาย ที่จะเอาชนะให้ได้ ทำให้สำเร็จ

๓. จิตตะ ความมีใจจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ ได้แก่ ความมีจิตผูกพัน จดจ่อ เฝ้าคิดเรื่องนั้น ใจอยู่กับงานนั้น ไม่ปล่อย ไม่ห่างไปไหน ถ้าจิตเป็นไปอย่างแรงกล้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง คนผู้นั้นจะไม่สนใจ ไม่รับรู้เรื่องอื่นๆ ใครจะพูดอะไรเรื่องอื่นๆ ไม่สนใจ แต่ถ้าพูดเรื่องนั้น งานนั้น จะสนใจเป็นพิเศษทันที บางทีจัดทำเรื่องนั้น งานนั้นขลุกง่วนอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน ไม่เอาใจใส่ร่างกาย การแต่งเนื้อแต่งตัว อะไรจะเกิดขึ้น ก็ไม่สนใจ เรื่องอื่นเกิดขึ้นใกล้ๆ บางทีก็ไม่รู้ ทำจนลืมวันลืมคืน ลืมกินลืมนอน ความมีใจจดจ่อฝักใฝ่เช่นนี้ ย่อมนำให้สมาธิเกิดขึ้น จิตจะแน่วแน่ แนบสนิทในกิจที่ทำมีกำลังมาก เรียกว่าเป็นจิตตสมาธิ

๔. วิมังสา ความสอบสวนไตร่ตรอง ได้แก่ การใช้ปัญญาพิจารณาหมั่นใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อน เกินเลยบกพร่อง หรือขัดข้อง เป็นต้น ในกิจที่ทำ รู้จักทดลองและคิดค้นหาทางแก้ไขปรับปรุง ข้อนี้ เป็นการใช้ปัญญาชักนำสมาธิ

ความจริง อิทธิบาท ๔ อย่างนี้ เกื้อหนุนกัน และมักมาด้วยกัน เช่น เกิดฉันทะ มีใจรักแล้ว ก็ทำให้พากเพียร เมื่อพากเพียร ก็เอาใจจดจ่อใฝ่ใจอยู่เสมอ และเปิดช่องให้ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง แต่ที่แยกเป็นแต่ละข้ออย่างนี้ ก็ด้วยถือเอาภาวะที่เด่นเป็นใหญ่ เป็นตัวนำ เป็นตัวชักจูงข้ออื่นๆ ในแต่ละกรณี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร