วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2020, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-934.jpg
Image-934.jpg [ 63.6 KiB | เปิดดู 1284 ครั้ง ]
ญาณ ๑๖

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ
๒. นามรูปปัจจยปริคคหญาณ
๓. สัมมสนญาณ
๔. อุทยัพพยญาณ
๕. ภังคาญาณ
๖. ภยตูปัฏฐานญาณ
๗. อาทีนวญาณ
๘. นิพพิทาญาณ
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ
๑๐. ปฏิสังขาญาณ
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ
๑๒. อนุโลมญาณ

๑๓. โคตรภูญาณ
๑๔. มัคคญาณ
๑๕. ผลญาณ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2020, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การที่เริ่มต้นเอาตั้งแต่เฉพาะอุทยัพพลญาณ เป็นต้น จนถึงอนุโลมญาณเป็นที่สุด
เป็นตัววิปัสสนาก็เพราะว่า ความรู้ที่เกิดขึ้นจากปัญญาที่แท้จริง ที่สามารถจะชำระกิเลส
หรือวิปลาสมีทิฏฐิวิปลาสเป็นต้น จะต้องเป็นปัญญาที่เข้าถึงอุทยัพพญาณ
อนึ่ง อุทยัพพญาณเป็นความรู้ที่เกิดจากการพิจารณาที่เป็นประจักษ์สิทธิ
มิใช่ความรู้ที่อาศัยความลูบไล้ แต่เป็นโลกียปัญญาเหตุว่ายังมีสังขาร เป็นอารมณ์อยู่

ส่วนเบื้องต้นมีนามรูปปริเฉทญาณ, ปัจจยปริคคหญาณ, และสัมมสนญาณ,ทั้ง ๓ นี้
ก็เป็นบาทเป็นปัจจัยที่จะให้เกิดอุทยัพพญาณเหมือนกัน แต่ความรู้ยังเป็นลูบไล้อยู่
คือยังต้องอาศัยกาลเวลาและปริยัติอยู่ และยังอยู่ในเขตของจินตาญาณ
จนอุทยัพพญาณไม่ต้องอาศัยปริยัติเลย เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากปฏิปทาที่ถูกต้อง
โดยแท้จริง โดยเหตุนี้ท่านจัดเอาอุทยัพพญาณเป็นขั้นต้นของวิปัสสนาในขั้นโลกีย์

ส่วนอนุโลมที่จัดเป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนานั้นก็เหตุว่าอารมณ์ของวิปัสสนาที่เป็นโลกีย์นั้น
มาสิ้นสุดที่อนุโลมญาณนั้น ฉะนั้นท่านจึงจัดเอาอนุโลมญาณเป็นที่สิ้นสุดของวิปัสสนา
แต่อย่างไรก็ตาม ญาณ ๓ ในเบื้องต้นนั้น ก็ต้องอยู่ในทางของวิปัสสนาด้วย
ฉะนั้น ถ้าจะนับโดยประเภทของญาณนั้น รวมทั้งโลกียะและโลกุตตระก็คือ ญาณ ๑๖

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2020, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนา คือการเห็นแจ้งพิเศษ เห็นแจ้งรูปนาม
เมื่อรูปนามปรากฏ ก็จะมาบอกความไม่เที่ยงของรูปนาม
จะมาบอกให้เห็นอาการ ๓ อย่าง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
วิปัสสนาเห็นแจ้งความจริงในอาการ ๓ อย่าง ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย
คลายความสงสัย และทิฏฐิ คลายความยึดถือว่ามีตัวตนตั้งแต่แรก
วิปัสสนาปัญญาจึงทิ้งรูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์ น้อมเอาพระนิพพานมาเป็นอารมณ์
โดยทำให้มรรคจิตเกิดขึ้นทำการประหารกิเลสตามสมควรกับของตนๆนั้นๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2020, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1580607900912.jpg
FB_IMG_1580607900912.jpg [ 30.51 KiB | เปิดดู 1276 ครั้ง ]
ตรางเปรียบเทียบญาณ ๑๖

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2020, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนาญาณ 9 (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือที่จัดเป็นวิปัสสนา คือ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง

1. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด

2. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด

3. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์

5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ

6. มุญจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น

7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป

8. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้

9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป)

ธรรมหมวดนี้ ท่านปรุงศัพท์ขึ้น โดยถือตามนัยแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นำมาอธิบายพิสดารในวิสุทธิมรรค แต่ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเติม สัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ 5 ตามแนวไตรลักษณ์

เข้ามาเป็นข้อที่ 1 จึงรวมเป็น วิปัสสนาญาณ 10 และเรียกชื่อญาณข้ออื่นๆ สั้นกว่านี้ คือ เรียก อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร