วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 04:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2019, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าได้บอกไว้ว่า รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น ..มันเป็นพิษ ..เป็นบ่วง

หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง จ อุบลราชธานี






ถ้าบารมีไม่มี ต้นทุนมันยังไม่มี ก็ต้องเพิ่มเติมสติไปเรื่อยๆ เพิ่มบุญบารมี เพิ่มบุญบารมีเจริญสติไปทีละขั้นๆ ไปตาม เห็นสักแต่เห็น ทำได้รู้เอง ไม่อย่างนั้นเห็นสักแต่เห็น เป็นวิญญาณสติ ไม่ใช่วิญญาณสติไม่ใช่รู้เฉยๆ รู้พ้นรู้ รู้ไม่ติดรู้ รู้ไม่ติดโลก รู้ไม่ติดทั้งหมด เป็นสติ เป็นวิญญาณสติ เน้นรู้พ้นโลกเรียกว่า "วิญญาณสติ" พ้นโลกทั้งหมด "เมื่อพ้นโลกมันก็พ้นทุกข์ชิ" เป็นโลกุตระทุกข์ "พ้นโลกมันก็พ้นทุกข์ ก็สบายใจ" .....

หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต







เรื่อง "จิตเดิมประภัสสร คือ อวิชชา เป็นจิตดั้งเดิมแห่งวัฏฏะ ไม่ใช่จิตเดิมในพระนิพพาน"
“จิตดั้งเดิม” หมายถึง จิตดั้งเดิมแห่ง “วัฏฏะ” ของจิตที่เป็นอยู่นี่ ซึ่งหมุนไปเวียนมา ดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในหลักธรรมว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จิตเดิมแท้ผ่องใส” นั่น! “แต่อาศัยความคละเคล้าของกิเลสหรือกิเลสจรมา จึงทำให้จิตเศร้าหมอง” ท่านว่า
“จิตเดิมแท้” นั้นหมายถึง เดิมแท้ของสมมุติต่างหาก ไม่ได้หมายถึงความเดิมแท้ของความบริสุทธิ์ เวลาท่านแยกออกมา “ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ภิกฺขเว” “ปภสฺสร” หมายถึง ประภัสสร คือความผ่องใส ไม่ได้หมายถึงความบริสุทธิ์ นี่หลักเกณฑ์ของท่านพูดถูกต้องหาที่แย้งไม่ได้เลย ถ้าว่าจิตเดิมเป็นจิตที่บริสุทธิ์นั้นจะมีที่ค้านกันว่า “ถ้าบริสุทธิ์แล้วมาเกิดทำไม?” นั่น แน่ะ!
ท่านผู้ชำระจิตบริสุทธิ์แล้วท่านไม่ได้มาเกิดอีก ถ้าจิตบริสุทธิ์แล้วชำระกันทำไม มันมีที่แย้งกันตรงนี้ จะชำระเพื่ออะไร? ถ้าจิตผ่องใสก็ชำระ เพราะความผ่องใสนั้นแลคือตัว “อวิชชา” แท้ไม่ใช่อื่นใด ผู้ปฏิบัติจะทราบประจักษ์ใจของตนในขณะที่จิตได้ผ่านจากความผ่องใสนี้ไปแล้วเข้าถึง “วิมุตติจิต” ความผ่องใสนี้จะไม่ปรากฏตัวเลย นั่น! ทราบได้ตรงนี้อย่างประจักษ์กับผู้ปฏิบัติ และค้านกันได้ก็ค้านกันตรงนี้ เพราะความจริงนั้นจะต้องจริงกับใจของบุคคล เมื่อใครทราบใครรู้ก็ต้องพูดได้เต็มปากทีเดียว

คติธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน








"หลวงปู่มั่นท่านสอนว่า ให้พยายามรักษาศีลธรรม มันไม่ตายหรอก แล้วไม่ต้องไปขอกับผู้หนึ่งผู้ใด คนขอเป็นคนจน เราไปฆ่าสัตว์ ก็จิตเรานั่นแหละไปฆ่า ไม่ลักของ ไม่ประพฤติผิดในผู้อื่นเขา ไม่โกหกหลอกลวง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่ดื่มเครื่องเมาทั้งหมด ก็จิตดวงนี้ของเรา
ให้ระวังจิตดวงนี้ ให้มีสติ อย่างน้อยให้จิตมีทุน วันนี้ก็ไม่ต้องพูดอะไรมาก ให้พี่น้องกรุณายึดคำสอนของพระพุทธเจ้าไปปฏิบัติทุกวัน ๆ
อยู่บ้านอยู่ที่ไหนจิตก็เป็นกุศล บ้านก็เป็นมงคล ลูกก็เป็นมงคล หลานก็เป็นมงคล อย่าลืมพุทโธทุกวัน ๆ ระลึกอยู่ในหัวใจ ซักฟอกหัวใจ ใครซักฟอกได้มากเท่าไร จิตก็สะอาดขึ้น ๆ จะรู้เอง ผู้ปฏิบัติจะรู้เอง เป็นสันทิฏฐิโก แต่ต้องฝ่าต้องฝืนต้องพยายามปฏิบัติ ท่านจึงพูดว่า วิริเย ทุกขมัจเจติ บุคคลล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร..."

หลวงปู่ปรีดา(ทุย) ฉันทกโร
วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ








ถ้าไม่จำเป็นจริงๆก็ไม่เทศน์
เพราะการเทศน์เป็นเหมือนโปรยยาพิษ
ทำลายคนผู้ที่ไม่มีความเคารพอยู่ภายใน
ส่วนธรรมนั้น ยกไว้ว่าเป็นธรรมที่ยอดเยี่ยมจริงๆ
มีคุณค่ามหาศาลสำหรับผู้ตั้งใจ
และมีเมตตาเป็นธรรม
ไม่อวดรู้อวดฉลาดเหนือธรรม
ตรงนี้แหละสำคัญมาก

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต






ทุกครั้ง ที่เราว่าคนอื่นเลว คนอื่นไม่ดี
ก็เท่ากับ เราประจานความมืดดำ
ในใจตัวเองออกมา
เห็นสิ่งไม่ดีของใคร จงเตือนตัวเอง
ว่าอย่าทำ อย่าเลียนแบบ นั่น คือ “นักปราชญ์”
ถ้าเอาไปว่าร้ายนินทา เรียกว่า “คนพาล”

(โอวาทธรรม หลวงปู่ไม)









การเดินจงกรม
เดินจงกรม ก็หมายถึง เปลี่ยนอิริยาบถนั่นเอง
ให้เข้าใจว่า เดินจงกรมเพื่ออะไร
(เพื่อ) เปลี่ยนอิริยาบถ คือ นั่งนานมันเจ็บแข้งเจ็บขา
บัดนี้ เดินหลาย (เดินมาก) มันก็เมื่อยหลังเมื่อยเอว
นั่งด้านหนึ่ง เขาเรียกว่า เปลี่ยนอิริยาบถ
เปลี่ยนให้เท่าๆกัน นั่งบ้าง นอนบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง
อิริยาบถทั้ง ๔ ให้เท่าๆกัน
แบ่งเท่ากัน หรือไม่แบ่งเท่ากันก็ได้
เพราะว่าเราไม่มีนาฬิกานี่
น้อยมากอะไร ก็พอดีพอควร
เดินเหนื่อยแล้ว ก็ไปนั่งก็ได้
นั่ง เหนื่อยแล้ว ลุกเดินก็ได้
เวลาเดินจงกรม ไม่ให้แกว่งแขน
เอามือกอดอกไว้ หรือเอามือไขว้ไว้ข้างหลังก็ได้
เดินไปเดินมา ก้าวเท้าไปก้าวเท้ามา
ทำความรู้สึก แต่ไม่ได้พูดว่า ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ
ไม่ต้องพูด เพียงเอาความรู้สึกเท่านั้น
เดินจงกรม ก็อย่าไปเดินไวเกินไป
อย่าไปเดินช้าเกินไป เดินให้พอดี
" เดินไปก็ให้รู้ " นี่เป็นวิธีเดินจงกรม
ไม่ใช่ว่าเดินจงกรม เดินทั้งวันไม่รู้สึกตัวเลย
อันนั้นก็เต็มทีแล้ว เดินไปจนตาย มันเป็นอย่างนั้น
ไม่ใช่เดินอย่างนั้น
เดินก้าวไป ก้าวมา " รู้ " นี่(เรียก)ว่า เดินจงกรม

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ







--รุกขเทวดา--

"...ในสมัยหนึ่งกระผมเป็นหัวหน้าอุบาสกอุบาสิกาอยู่ในเมืองมนุษย์ ได้พาคณะศรัทธาทั้งหลายไปบำเพ็ญกุศลตามวัดต่างๆ และทำประโยชน์ในสาธารณกุศลทั่วไป มีวัดหนึ่งเป็นถ้ำใหญ่ มีพระเป็นจำนวนมาก กระผมได้พาหมู่คณะไปบำเพ็ญกุศลในวัดนี้เป็นประจำ และทำไปจนตราบเท่าอายุขัย

...เมื่อกระผมตายไป ได้ไปเกิดเป็นรุกขเทพบุตร ได้ไปอาศัยตันรังใหญ่ต้นหนึ่งในป่าใหญ่แห่งนั้น กระผมสามารถเนรมิตให้ต้นรังใหญ่กลายเป็นปราสาทได้อย่างสวยงาม และได้เป็นใหญ่ในหมู่รุกขเทวดาทั้งหลาย ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กระผมจะพาหมู่เทวดาทั้งหลายไปบำเพ็ญกุศลตามวัดต่างๆ โดยจะออกเดินทางในช่วงตี ๓-๕ ก่อนที่มนุษย์เขาจะไปถึง

...สำหรับพาหนะที่ใช้เดินทางนั้นไม่เหมือนกัน บางกลุ่มเขาก็เนรมิตเป็นปราสาทนั่งอยู่ในนั้น แล้วพากันลอยไปเป็นกลุ่มๆ ดูแล้วสวยงามมาก ระดับความสูงที่ลอยไปนั้น สูงกว่าปลายไม้ไปไม่กี่เมตร บางกลุ่มก็แยกไปที่ต่างๆ ตามต้องการ แต่ใครจะไปที่ไหนต้องมารายงานตัวต่อกระผมทุกครั้งไป

...อีกงานหนึ่งเรียกว่างานรับเชิญ นั่นคืองานบุญกุศล พวกเทพเหล่านี้จะได้ไปในงานนี้บ่อยครั้งทีเดียว เพราะมนุษย์เวลาทำบุญได้อัญเชิญเทวดา

...และมีเทวดาอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า เคหเทวดา คือ เทวดาที่อาศัยอยู่ตามบ้านเรือนของมนุษย์ เทวดากลุ่มนี้ไม่ต้องเชิญเขาก็รู้หน้าที่กันเอง เพราะเขาถือว่าเป็นเจ้าของบ้านดูแลรักษาบ้านนั้นอยู่ เมื่อเจ้าของบ้านจะทำบุญเขาก็ส่งข่าวให้รุกขเทวดาให้มาร่วมบุญนี้เหมือนกัน บ้านที่เทวดากลุ่มนี้อยู่เจ้าของบ้านต้องมีคุณธรรม มีการบำเพ็ญกุศลอยู่เสมอ

...ฉะนั้น รุกขเทวดา ภุมเทวดา หรือเคหเทวดา จึงได้เปรียบกว่าหมู่เทวดาชั้นสูง เพราะได้บำเพ็ญบารมีกับหมู่มนุษย์เป็นประจำ

...เมื่อเล่าเรื่องเทวดาทั้งหมดให้หลวงปู่ขาว อนาลโย ฟัง หลวงปู่ก็ยอมรับว่าความจริงเป็นอย่างนั้น แล้วหลวงปู่ก็ได้อธิบายต่อไปว่า การเป็นเทวดาอยู่ในระดับต่ำนี้มีกำไร เพราะได้บำเพ็ญบุญกุศลร่วมกันกับหมู่มนุษย์มิได้ขาด ได้อนุโมทนาส่วนบุญที่มนุษย์ได้ทำแล้ว การไปอยู่บนสวรรค์ชั้นสูงๆ นั้นก็เหมือนอย่างที่ท่านว่านั้นแหละ ถึงจะไปอยู่ก็อยู่ได้ไม่ตลอด เมื่อบุญกุศลหมดเมื่อไรก็ต้องลงมาเกิดในเมืองมนุษย์อีก เพราะการทำบุญกุศลนั้นต้องกระทำอยู่ในเมืองมนุษย์นี้ ผู้จะเป็นพระพุทธเจ้าหรือพระอริยเจ้าทั้งหลาย ก็ต้องมาสร้างบารมีอยู่ที่เมืองมนุษย์นี้ทั้งนั้น

...ฉะนั้น เมืองมนุษย์นี้เป็นสถานที่สร้างบารมี ถ้าผู้มีความประมาทลืมตัว ก็เอาเมืองมนุษย์นี้เป็นสถานที่ทำบาปอีก น่าเสียดายที่เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วไม่ได้ทำประโยชน์ให้แก่ตัวเอง ส่วนใหญ่จะทำเพื่อเสียประโยชน์ให้ตัวเองทั้งนั้น คำว่าเสียประโยชน์นั้น คือเราทำในสิ่งที่ไม่ดีนั่นเอง เมื่อทำไปแล้วผลที่ไม่ดีก็ต้องได้รับเอง "

----------------
พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโญ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 63 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร