วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 17:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2019, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b27: :b27: :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2019, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฤษฎี เขียน:
กรัชกายตั้งกระทู้เก่ง ตั้งกระทู้ได้สาระพัด แต่มีสาระรึเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่ง

แต่ท่ายากจริงๆ แต่ละท่า ช่างสรรหา ช่างคิด คนที่คิดจะทรมานตน
ซึ่งพระพุทธองค์ก่อนที่จะได้ตรัสรู้ ได้ประพฤติมาแล้ว
ทำให้ทรงทราบว่าไม่ใช่หนทางที่เป็นไปเพื่อตรัสรูธรรมอันใด ดังมีข้อความในพระสูตรว่า

Quote Tipitaka:
ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
[๔๙๕] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงกดฟันด้วยฟัน
กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่น ให้ร้อนจัด. แล้วอาตมภาพก็กดฟันด้วยฟัน
กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่น ให้ร้อนจัด. เมื่ออาตมภาพกดฟันด้วยฟัน กด
เพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่น ให้เร่าร้อนอยู่ เหงื่อก็ไหลจากรักแร้. ดูกรราชกุมาร
เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงจับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วกดบีบไว้ให้เร่าร้อน
ก็ฉันนั้น เหงื่อไหลออกจากรักแร้. ดูกรราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้ว จะย่อ
หย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้ว จะฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่การที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ
ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง กระสับกระส่ายไม่สงบระงับ.

[๔๙๖] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพก็กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากและทางจมูก.
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากและทางจมูก เสียงลมที่ออกทางช่องหูทั้งสอง
ดังเหลือประมาณ. เปรียบเหมือนเสียงสูบของช่างทองที่กำลังสูบอยู่ดังเหลือประมาณ ฉันใด
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากและทางจมูก เสียงลมที่ออกทางช่องหู
ทั้งสองก็ดังเหลือประมาณ ฉันนั้น. ดูกรราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้วจะย่อ
หย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้วจะได้ฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ
ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นและเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

[๔๙๗] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและ
ทางช่องหู. เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้า
ยิ่งย่อมเสียดแทงศีรษะ. ดูกรราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเชือดศีรษะด้วยมีดโกนอันคม
ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้ายิ่ง
ย่อมเสียดแทงศีรษะ ฉันนั้น. ดูกรราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อน
ก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้วจะได้ฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้
อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นและเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

[๔๙๘] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและ
ทางช่องหู. เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็ปวด
ศีรษะเหลือทนที่ศีรษะ. ดูกรราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังรัดศีรษะด้วยเชือกอันเขม็ง
ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็ปวดศีรษะ
เหลือทนที่ศีรษะ ฉันนั้น. ดูกรราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หา
มิได้ สติที่ตั้งไว้จะได้ฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้อันความ
เพียรที่ทนได้ยากนั้นและเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

[๔๙๙] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและ
ทางช่องหู. ลมกล้าเหลือประมาณ ย่อมเสียดแทงท้อง. ดูกรราชกุมาร เปรียบเหมือนนายโคฆาต
หรือลูกมือนายโคฆาตผู้ขยัน พึงเชือดท้องโคด้วยมีดเชือดโคอันคม ฉันใด เมื่ออาตมภาพ
กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้าเหลือประมาณ ย่อมเสียด
แทงท้อง ฉันนั้น. ดูกรราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หามิได้
สติที่ตั้งไว้จะได้ฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพผู้อันความเพียรที่ทน
ได้ยากนั้นและเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

[๕๐๐] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌานอันไม่มี
ลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและ
ทางช่องหู. เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มี
ความร้อนในกายเหลือทน. ดูกรราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังสองคน ช่วยกันจับบุรุษมี
กำลังน้อยที่แขนคนละข้าง ย่างรมไว้ที่หลุมถ่านเพลิง ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะ-
*ปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความร้อนในกายเหลือทน ฉันนั้น. ดูกร
ราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้จะได้ฟั่นเฟือนก็
หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นและเสียดแทง
ไม่สงบระงับแล้ว.

[๕๐๑] ดูกรราชกุมาร โอ เทวดาทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้ว กล่าวกันอย่างนี้ว่า
พระสมณโคดมทำกาละเสียแล้ว. เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ได้ทำกาละ
แล้ว แต่กำลังทำกาละ. เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ได้ทำกาละแล้ว กำลัง
ทำกาละก็หามิได้ พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ความอยู่เห็นปานนี้ นับว่าเป็นวิหารธรรม
ของพระอรหันต์.

[๕๐๒] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงปฏิบัติเพื่อตัด
อาหารเสียโดยประการทั้งปวงเถิด. ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นเข้ามาหาอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า
ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติเพื่อ
ตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวง ข้าพเจ้าทั้งหลายจักแทรกโอชาอันเป็นทิพย์ตามขุมขนของท่าน
ท่านจักได้ยังชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้น. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า เราเองด้วย
พึงปฏิญาณการไม่บริโภคอาหารโดยประการทั้งปวง เทวดาเหล่านี้ด้วยพึงแทรกโอชาอันเป็นทิพย์
ตามขุมขนของเรา เราพึงยังชีวิตให้เป็นไปด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้นด้วย ข้อนั้นพึงเป็นมุสา
แก่เรา ดังนี้. อาตมภาพบอกเลิกกะเทวดาเหล่านั้น จึงกล่าวว่าอย่าเลย. แล้วอาตมภาพได้มี
ความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงบริโภคอาหารลดลงวันละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อ
ถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง. อาตมภาพจึงบริโภค
อาหารลดลงวันละน้อย คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อ
ถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง. เมื่อบริโภคอาหารลดลงวันละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง
เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายก็ผอม
เหลือเกิน.

[๕๐๓] เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง อวัยวะน้อยใหญ่ของอาตมภาพย่อมเป็น
เหมือนเถาวัลย์มีข้อมาก หรือเถาวัลย์มีข้อดำ ฉะนั้น. ตะโพกของอาตมภาพเป็นเหมือนเท้าอูฐ
ฉะนั้น. กระดูกสันหลังของอาตมภาพผุดระกะ เปรียบเหมือนเถาวัฏฏนาวฬี ฉะนั้น. ซี่โครง
ของอาตมภาพขึ้นนูนเป็นร่องๆ ดังกลอนศาลาเก่ามีเครื่องมุงอันหล่นโทรมอยู่ ฉะนั้น. ดวงตา
ของอาตมภาพถล่มลึกเข้าไปในเบ้าตา ประหนึ่งดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำลึก ฉะนั้น. ผิวศีรษะ
ของอาตมภาพที่รับสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้ง ดุจดังผลน้ำเต้าที่ตัดมาสดๆ อันลมและแดดกระทบอยู่
ก็เหี่ยวแห้ง ฉะนั้น. อาตมภาพคิดว่า จะลูบผิวหนังท้องก็จับถูกกระดูกสันหลัง คิดว่า จะลูบ
กระดูกสันหลังก็จับถูกผิวหนังท้อง. ผิวหนังท้องกับกระดูกสันหลังของอาตมภาพติดถึงกัน. เมื่อ
อาตมภาพคิดว่าจะถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ ก็เซซวนล้มลงในที่นั้นเอง. เมื่อจะให้กายนี้แลมี
ความสบาย จึงเอาฝ่ามือลูบตัว. เมื่ออาตมภาพเอาฝ่ามือลูบตัว ขนทั้งหลายมีรากเน่าก็หล่นตก
จากกาย. มนุษย์ทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้วกล่าวกันอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมดำไป. มนุษย์
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ดำเป็นแต่คล้ำไป. มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า จะ
ว่าพระสมณโคดมดำไปก็ไม่ใช่ จะว่าคล้ำไปก็ไม่ใช่ เป็นแต่พร้อยไป. ดูกรราชกุมาร ฉวีวรรณ
อันบริสุทธิ์ผุดผ่องของอาตมภาพ ถูกกำจัดเสียแล้ว เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง.

[๕๐๔] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียง
เท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักได้เสวยทุกขเวทนา
อันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ จักไม่ยิ่งไปกว่านี้. สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ได้เสวยอยู่ซึ่งทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร
อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ จะไม่ยิ่งไปกว่านี้. แต่เราก็ไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณ-
*ทัสสนวิเสส (ความรู้ความเห็นของพระอริยะอันวิเศษอย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์) ด้วย
ทุกกรกิริยาที่เผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางเพื่อรู้อย่างอื่นกระมังหนอ



ึซึ่งโดยปกติพระพุทธเจ้าโดยทั่วไป หลังจากออกบวชแล้วท่านก็สามารถที่จะบรรลุธรรมได้ใช้เวลาไม่นานเลย บางพระองค์เพียง 7 วันเท่านั้น

แต่เหตุใดพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ถึงได้ใช้เวลาบำเพ็ญทุกรกิริยานานถึง 6 ปี ก็เพราะได้มีเหตุคือ เมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์เกิดเป็นโชติปาละมานพ ได้กล่าวคำไม่ดีปรารภพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เมื่อครั้งที่ฆฏิการะช่างหม้อที่เป็นเพื่อนสนิทได้ชวนไปเฝ้าว่า

“อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเห็นเล่า การตรัสรู้ของสมณะโล้นมีได้อย่างไรเล่า เพราะการตรัสรู้เป็นของที่ได้โดยยากยิ่ง”

เพียงคำนี้ปรารภท่านผู้ทรงคุณหาประมาณมิได้ จึงทำให้พระมหาสัตว์ต้องบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง ได้เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ถึงหกปีเต็ม

นักบวชเหล่านี้ก็เช่นกันที่ ไม่ว่าจะทรมานตนด้วยวิธีการใด นักบวชเปลือย อะไรต่างๆพวกนี้ก็มีเหตุ เพราะอกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อนจึงเป็นเหตุให้มีความประพฤติเป็นไปเช่นนั้น ทำให้ได้รับทุกขเวทนาประการต่างๆ

ซึ่งก็ควรที่จะได้พิจารณา เหตุ และ ผล

คือเพราะอกุศลกรรมในอดีตให้ได้รับผลเป็นทุกขเวทนา และเพราะอกุศลกรรมในปัจจุบันจึงเป็นเหตุให้ประพฤติเช่นนี้ ซึ่งก็มีอวิชชาหรือโมหะเป็นมูลทั้งนั้น


ก๊อบมายืดยาว เข้าใจเปล่า หรืออ่านๆแล้วปลื้มน้ำตาไหล :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2019, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนรุ่นใหม่ในอินเดียละทางโลกบวชมากขึ้ัน คือ บวชเป็นนักบวชเชน

รูปภาพ



https://www.bbc.com/thai/international- ... zW2zCiActY

https://www.facebook.com/BBCnewsThai/po ... 1690444857

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2019, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พบกับ หญิงสาวอินเดียที่ละชีวิตทางโลก เพื่อเป็นนักบวชศาสนาเชน

มีคนจำนวนมากละทิ้งชีวิตทางโลกและลาจากครอบครัวเพื่อมาเป็นนักบวชในศาสนาเชนเพิ่มมากขึ้น คาดว่า มีผู้นับถือศาสนาเชนทั่วโลกราว 7 ล้านคน พวกเขาไม่รับประทานเนื้อสัตว์ และไม่ใช้ความรุนแรง ส่วนผู้ที่เป็นนักบวชมีการปฏิบัติที่เคร่งครัดมากขึ้นไปอีก ด้วยการเดินเท้าเปล่าและไม่ใช้ไฟฟ้า เพื่อลดผลกระทบต่อโลก

คาดว่า ช่องยูทิวบ์ที่บอกเล่าเรื่องราวการตัดสินใจออกบวชมีส่วนช่วยทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนมากตัดสินใจดำเนินรอยตาม เช่นเดียวกับ ทรุวี หญิงสาววัย 20 ปี

คุณพ่อของเธอได้กอดลูกสาวเป็นครั้งสุดท้าย ขณะที่เธอกำลังละชีวิตทางโลกและลาจากครอบครัวไปเป็นนักบวชของศาสนาเชน

ทรุวี เล่าว่า "ครั้งแรกที่ฉันบอกกับครอบครัวเรื่องที่จะออกบวช พวกเขาบอกว่า อย่านะ ฉันค่อย ๆ โน้มน้าวทางบ้าน ฉันต้องพยายามอย่างมาก ให้พวกเขาคล้อยตาม"

ปีนี้มีคนละทิ้งชีวิตทางโลกมาเป็นนักบวชในศาสนาเชนมากกว่าที่เคย ส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 30 ปี โซเชียลมีเดีย มีส่วนทำให้จำนวนนักบวชเพิ่มขึ้น

จินวัตซัลยา เล่าเรื่องราวของการตัดสินใจออกบวช เผยแพร่ทางยูทิวบ์

"คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ไม่ได้ตัดขาดจากศาสนา แต่พวกเขาอาจมีข้อสงสัย การเชื่อมต่อกับพวกเขาเช่นนี้ช่วยขจัดความสงสัยเหล่านั้นได้" จินวัตซัลยา กล่าว

ช่องของเขามีคนเข้ามาชมมากกว่า 1 ล้านครั้ง

ในวันที่ ทรุวี จะปฏิญาณตัวและกลายเป็นนักบวช มีผู้คนหลายพันคน มารอชม เหตุการณ์นี้ ได้รับการถ่ายทอดทางยูทิวบ์ด้วย

พ่อแม่ของเธอจ้องมองทรุวีขณะที่เธอละทิ้งชีวิตทางโลกแบบเดิม

"นี่คือสิ่งที่ฉันจะคิดถึงมากที่สุด การใช้เวลากับครอบครัว ความสุขที่คุณได้รับจากรอยยิ้มของแต่ละคน" ทรุวี กล่าว

เหล่านักบวชเชื่อว่า การละทิ้งชีวิตทางโลกจะช่วยปลดปล่อยจิตวิญญาณของพวกเขา

ไม่ถึง 2% ของนักบวชเหล่านี้ กลับมาใช้ชีวิตทางโลกและกลับมาอยู่กับครอบครัว



ดีหน่อยที่นักบวชหญิงยังมีเสื้อผ้าพันกาย แต่นักบวชชายเดินเปลือยโท่งๆ แต่ได้ยินมาว่า กว่าจะได้แก้ผ้าเป็นกิจวัตรนั้นก็ต้องมีบททดสอบ :b32:

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B ... 25#imgrc=_

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2019, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค่อยๆขยับๆเข้าเรื่องไปอีกหน่อย :b1:

“เอเต เต ภิกฺขเว อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ... อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค; เสยฺยถีทํ: สมฺมาทิฏฺฐิ ฯลฯ สมฺมาสมาธิ”

“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่เอียงเข้าหาที่สุด ๒ อย่างนั้น ได้ตรัสรู้ข้อปฏิบัติอันมีในท่ามกลาง... กล่าวคือ มรรคามีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐนี้ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ”
(สํ.ม.19/1664/528)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2019, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ค่อยๆขยับๆเข้าเรื่องไปอีกหน่อย :b1:

“เอเต เต ภิกฺขเว อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ... อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค; เสยฺยถีทํ: สมฺมาทิฏฺฐิ ฯลฯ สมฺมาสมาธิ”

“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่เอียงเข้าหาที่สุด ๒ อย่างนั้น ได้ตรัสรู้ข้อปฏิบัติอันมีในท่ามกลาง... กล่าวคือ มรรคามีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐนี้ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ”
(สํ.ม.19/1664/528)


ในที่สุดก็เลือกด้านสัมมาทิฎฐิ ไม่เลือกด้านมิจฉาทิฎฐิ

tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2019, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ค่อยๆขยับๆเข้าเรื่องไปอีกหน่อย :b1:

“เอเต เต ภิกฺขเว อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ... อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค; เสยฺยถีทํ: สมฺมาทิฏฺฐิ ฯลฯ สมฺมาสมาธิ”

“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่เอียงเข้าหาที่สุด ๒ อย่างนั้น ได้ตรัสรู้ข้อปฏิบัติอันมีในท่ามกลาง... กล่าวคือ มรรคามีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐนี้ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ”
(สํ.ม.19/1664/528)


ในที่สุดก็เลือกด้านสัมมาทิฎฐิ ไม่เลือกด้านมิจฉาทิฎฐิ

tongue


มนุษย์ทุกรูปทุกนามรักชีวิตด้วยกันทั้งนั้น อยากมีชีวิตที่ดีด้วยกันทุกคน เมื่อมันเป็นอย่างนี้แล้วทำไมยังมีคนเห็นผิดหลงผิดทำผิดอยู่อีกเล่า เพราะนามธรรมคือจิตใจมีทั้งกุศลอกุศล มีทั้งสัมมาทิฏฐิ + มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ + มิจฉาสมาธิ คู่กัน

ที่นี้ปัญญาคนรู้ไม่ถึงเข้าไม่ถึงนามธรรมนั่น ก็จึงผิดก็ได้ ถูกก็ได้ แล้วแต่สภาพแวดล้อมตรงนั้นขณะนั้นชักจูงไป

ยกตัวอย่างประกอบความเข้าใจสักเรื่องหนึ่ง ข่าวมีว่า มีวัยรุ่นหญิงชายคู่หนึ่ง กะลังเรียนอยู่ ม.1 เกิดรักใคร่ชอบพอกัน แต่ถูกพ่อแม่พูดตักเตือนว่า ลูกเอ๋ย ลูกอายุยังน้อยนักยังไม่ควรคิดเรื่องนี้ เรียนให้จบก่อนแล้วจะรักจะชอบกันก็ไม่ว่า

ทั้งสองคนโกรธคิดว่าผู้ใหญ่กีดกันความรักของตน จึงพากันไปโดดน้ำตายบูชาความรัก :b1: นับ 1 2 3 ตูม (โดดน้ำ) เมื่อโดดลงไปในคลองแล้ว เห็นตัวเงินตัวทอง (มันเหี้ยนั่นแหละโบราณเรียกเหี้ย) กลัว ร้องหนีตัวเหี้ย คนที่อยู่ใกล้ๆ จึงช่วยขึ้นจากน้ำได้ รอดตาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2019, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มิจฉา ผิด

มิจฉัตตะ ความเป็นผิด, ภาวะที่ผิด มี ๑๐ อย่าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ
๒. มิจฉาสังกัปปะ
๓.มิจฉาวาจา
๔. มิจฉากัมมันตะ
๕.มิจฉาอาชีวะ
๖. มิจฉาวายามะ
๗.มิจฉาสติ
๘.มิจฉาสมาธิ
๙. มิจฉาญาณ
๑๐.มิจฉาวิมุตติ ตรงข้ามกับสัมมัตตะ

สัมมา โดยชอบ, ดี, ถูกต้อง, ถูกถ้วน, สมบูรณ์, จริง, แท้

สัมมัตตะ ความเป็นถูก, ภาวะที่ถูก มี ๑๐ อย่าง ๘ ข้อต้นตรงกับองค์มรรคทั้ง ๘ ข้อ เพิ่ม ๒ ข้อท้าย คือ
๙. สัมมาญาณ รู้ชอบ ได้แก่ ผลญาณและปัจจเวกขณญาณ
๑๐. สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ ได้แก่ พระอรหัตผลวิมุตติ;
เรียกอีกอย่างว่า อเสขธรรม ๑๐ ตรงข้ามกับมิจฉัตตะ ๑๐

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2019, 01:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ค่อยๆขยับๆเข้าเรื่องไปอีกหน่อย :b1:

“เอเต เต ภิกฺขเว อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ... อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค; เสยฺยถีทํ: สมฺมาทิฏฺฐิ ฯลฯ สมฺมาสมาธิ”

“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่เอียงเข้าหาที่สุด ๒ อย่างนั้น ได้ตรัสรู้ข้อปฏิบัติอันมีในท่ามกลาง... กล่าวคือ มรรคามีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐนี้ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ”
(สํ.ม.19/1664/528)


ในที่สุดก็เลือกด้านสัมมาทิฎฐิ ไม่เลือกด้านมิจฉาทิฎฐิ

tongue


มนุษย์ทุกรูปทุกนามรักชีวิตด้วยกันทั้งนั้น อยากมีชีวิตที่ดีด้วยกันทุกคน เมื่อมันเป็นอย่างนี้แล้วทำไมยังมีคนเห็นผิดหลงผิดทำผิดอยู่อีกเล่า เพราะนามธรรมคือจิตใจมีทั้งกุศลอกุศล มีทั้งสัมมาทิฏฐิ + มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ + มิจฉาสมาธิ คู่กัน

ที่นี้ปัญญาคนรู้ไม่ถึงเข้าไม่ถึงนามธรรมนั่น ก็จึงผิดก็ได้ ถูกก็ได้ แล้วแต่สภาพแวดล้อมตรงนั้นขณะนั้นชักจูงไป

ยกตัวอย่างประกอบความเข้าใจสักเรื่องหนึ่ง ข่าวมีว่า มีวัยรุ่นหญิงชายคู่หนึ่ง กะลังเรียนอยู่ ม.1 เกิดรักใคร่ชอบพอกัน แต่ถูกพ่อแม่พูดตักเตือนว่า ลูกเอ๋ย ลูกอายุยังน้อยนักยังไม่ควรคิดเรื่องนี้ เรียนให้จบก่อนแล้วจะรักจะชอบกันก็ไม่ว่า

ทั้งสองคนโกรธคิดว่าผู้ใหญ่กีดกันความรักของตน จึงพากันไปโดดน้ำตายบูชาความรัก :b1: นับ 1 2 3 ตูม (โดดน้ำ) เมื่อโดดลงไปในคลองแล้ว เห็นตัวเงินตัวทอง (มันเหี้ยนั่นแหละโบราณเรียกเหี้ย) กลัว ร้องหนีตัวเหี้ย คนที่อยู่ใกล้ๆ จึงช่วยขึ้นจากน้ำได้ รอดตาย


พอตกน้ำ แล้วคงคิดถึงเห็นลุงกรัชกายมั๊งค๊ะ
เรยรีบตะกายขึ้นฝั่ง

tongue


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร