วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๙. เทวธาวิตักกสูตร
ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน
เรื่องวิตก


ว่าด้วยวิชชา ๓

[๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว
มีสติมั่นคง ไม่เลอะเลือนแล้ว มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่ายแล้ว มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นอันเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ...
บรรลุจตุตถฌาน ... เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอักมาก
คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว
วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น
ก็เพราะเราไม่ประมาทมีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น


หมายเหตุ;

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
มีเกิดขึ้นสภาวะจิตดวงสุดท้าย






เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว
เราจึงโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย
เรานั้นย่อมเห็นสัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

เราย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้


ดูกรภิกษุทั้งหลายวิชชาที่สองนี้แล เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี
เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงเกิดขึ้น
ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น


หมายเหตุ;

อนาคามิมรรค อนาคามิผล
มีเกิดขึ้นสภาวะจิตดวงสุดท้าย





เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร แก่การงาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่สามนี้แล เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี
เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น
ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลสส่งตนไปอยู่ฉะนั้น.


หมายเหตุ;

อรหันตมรรค อรหันตผล
มีเกิดขึ้นสภาวะจิตดวงสุดท้าย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 20 มิ.ย. 2021, 11:01, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนที่มีพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เรื่อง สัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล



ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล

[๔๖๙] พระนครสาวัตถี.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

จักษุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

จมูกไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้

เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด.

เราเรียกผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้.

เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.







๙. เทวธาวิตักกสูตร

ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน

เรื่องวิตก

[๒๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

[๒๕๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่ตรัสรู้ทีเดียว ได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยกวิตกให้เป็น ๒ ส่วนๆ ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงแยก กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนหนึ่ง
และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น
เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่ามันย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ
ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย
ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป




ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ พยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ

วิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
ทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลละเสีย บรรเทาเสีย
ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆได้ทำให้มันหมดสิ้นไป.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่พยาบาทวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในสรทสมัยเดือนท้ายแห่งปี
คนเลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า
เขาต้องตี ต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้นๆ กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจำ การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน
เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แลเห็นโทษ
ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย
และเห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้
เนกขัมมวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่าเนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี
เราก็ยังมองไม่เห็นภัย อันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดทั้งกลางคืน
และกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่าเมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป
ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่านเมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ
ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปแล้ว
อยู่อย่างนี้อัพยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ

อวิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า
อวิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย [คือตนและบุคคลอื่น]
เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดวันก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตนั้น ตลอดทั้งคืนและกลางวันก็ดี
เราก็ยังมองไม่เห็นภัยภัยจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย
ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย
เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ
ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะหมายในใจว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลยดังนี้.




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก
เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆมาก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกเสียได้
ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้
ทำอัพยาบาทวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้
ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็น้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คนเลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลาย ในที่ใกล้บ้านในทุกด้าน
เมื่อเข้าไปสู่โคนต้นไม้ หรือไปสู่ที่แจ้ง จะต้องทำสติอยู่เสมอว่า นั้นฝูงโค [ของเรา] ดังนี้ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้น ต้องทำสติอยู่เสมอว่า เหล่านี้เป็นธรรม [คือกุศลวิตก] ดังนี้.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นีวรณสูตร
นิวรณ์ทำให้มืด


[๕๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?

คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

พยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ... วิจิกิจฉานิวรณ์
กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา
เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.


[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?

คือ สติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล
กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.






นิวรณ์ ที่ถูกแต่งขึ้นมาใหม่ เกิดจากเรียนมาผิด จำมาผิด

[๗๔๘] ธรรมเป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?
นิวรณ์ ๖ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์.

[๗๔๙] บรรดานิวรณ์ ๖ นั้น กามฉันทนิวรณ์ เป็นไฉน?
ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่
ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่ ความสยบคือความใคร่
ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กามฉันทนิวรณ์.

[๗๕๐] พยาปาทนิวรณ์ เป็นไฉน?
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้น
ได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสีย
แก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อม
เสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า
ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็น
ที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความ
กระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความประทุษร้าย
ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ
มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย
การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความ
ปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า พยาปาทนิวรณ์.


[๗๕๑] ถีนมิทธนิวรณ์ เป็นไฉน?
ถีนมิทธะนั้น แยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง.
ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน?
ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย
ความหดหู่ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความซบเซา อาการที่ซบเซา ภาวะที่ซบเซาแห่งจิต
อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ.


มิทธะ เป็นไฉน?
ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่งานแห่งนามกาย ความปกคลุม
ความหุ้มห่อ ความปิดบังไว้ภายใน ความง่วงเหงา ความหาวนอน ความโงกง่วง ความหาวนอน
อาการที่หาวนอน ภาวะที่หาวนอน อันใด นี้เรียกว่า มิทธะ.
ถีนะและมิทธะดังว่านี้ รวมเรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์.


[๗๕๒] อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เป็นไฉน?
อุทธัจจกุกกุจจะนั้น แยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่ง.
ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน?
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต อันใด
นี้เรียกว่า อุทธัจจะ.


กุกกุจจะ เป็นไฉน?
ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ความสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ความสำคัญว่ามี
โทษในของที่ไม่มีโทษ ความสำคัญว่าไม่มีโทษในของที่มีโทษ การรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความ
รำคาญ ความเดือดร้อนใจ ความยุ่งใจ ซึ่งมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า กุกกุจจะ.
อุทธัจจะและกุกกุจจะนี้ รวมเรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์.


[๗๕๓] วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นไฉน?
ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน
อดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม
นี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความ
คิดเห็นไปต่างๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทาง
สองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิด
คิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มี
ลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉานิวรณ์.



[๗๕๔] อวิชชานิวรณ์ เป็นไฉน?
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกข-
*นิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีตและ
ส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเป็นจริง
ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความ
ไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความมีปัญญาทราม ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง
ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา
ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า
อวิชชานิวรณ์.



http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 4&item=749

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 12:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue tongue tongue


กำลังเกิดความวิตก(ความคิด)อย่างหนึ่งว่า ถึงเวลาแล้วหรือหนอๆ กาลแห่งพระธรรมราชา

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ยมกวรรคที่ ๒
อวิชชาสูตร


[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน
แต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕

แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓ แม้ทุจริต ๓

เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓
ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์

แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เรา ก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์

ควรกล่าวว่าความไม่มีสติสัมปชัญญะ แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่าการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

ควรกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา

ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม ซอกเขา
ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม
แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม
มหาสมุทรสาครนั้น มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ...
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗

แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔

แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓

แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์

แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ

แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย

แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่าศรัทธา

แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม

แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบสัปบุรุษ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม ซอกเขา
ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็ม ย่อมยังบึงให้เต็ม
บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม
แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม
มหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ...
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

จบสูตรที่ ๑

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 16:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ยมกวรรคที่ ๒
อวิชชาสูตร


[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน
แต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕

แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓ แม้ทุจริต ๓

เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓
ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์

แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เรา ก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์

ควรกล่าวว่าความไม่มีสติสัมปชัญญะ แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่าการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

ควรกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา

ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม ซอกเขา
ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม
แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม
มหาสมุทรสาครนั้น มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ...
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗

แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔

แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓

แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์

แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ

แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย

แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่าศรัทธา

แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม

แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบสัปบุรุษ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม ซอกเขา
ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็ม ย่อมยังบึงให้เต็ม
บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม
แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม
มหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ...
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

จบสูตรที่ ๑



สาธุ สาธุ สาธุ

พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนไว้ดีแล้ว

:b8: :b8: :b8:

ขอสนทนาด้วยสักนิดนะครับ

เราทั้งหลายผู้ยังรู้ทุกคนก็มักจะกล่าวว่า อวิชชาเป็นต้นตอทั้งปวง อวิชชา คือ ความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้อริยะสัจ ๔ ผมก็เห็นจริงถูกดังว่านะครับ เพราะแม้พระเถระ เอคทัคคะ มีพระสารีบุตรเป็นต้นก็ได้กล่าวไว้

แต่โดยส่วนตัวผมหากจะขอกล่าวย่นย่อแล้วอย่างคนไม่รู้ เข้าไม่ถึง แต่พอจะมีโอกาสสัมผัสรับรู้ในเศษฝุ่นของผู้รู้ได้บ้างดังนี้ อวิชชา คือ ความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เห็นตามจริง ด้วยเหตุว่า อวิชชาทั้ง ๘ ประการ คือ ความไม่รู้ของจริงนั่นเอง แต่เมื่อแสดงธรรมทำไมพระเถระ และำพระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่รู้พระอริยะสัจ ๔ เป็นหลัก ด้วยความเห็นส่วนตัวอย่างปุถุชนผู้ไม่้รู้ไม่ถึงอย่างผมก็พอจะพิจารณาเข้าใจตามได้ว่า เพราะพระอริยะสัจ ๔ รอบ ๓ อาการ ๑๒ คือ สิ่งที่ทำให้เห็นตามจริงจนตัดสิ้นสังโยชน์ ทำไมกล่าวว่ามหาสติปัฏฐานสำคัญเพื่อบรรลุธรรม เพราะ ธรรม ๔ อันเป็นที่ตั้งแห่งสตินี้ เป็นเหตุให้ โพชฌงค์บริบูรณ์ โพชฌงค์เป็นธรรมเครื่องตรัสรู้ิีันทพใก้ะพระอริยะสัจ ๔ เดินในครบจบสิ้นถึงวิราคะด้วยรอบ ๓ อาการ ๑๒

ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยครับ ผมไม่ถึง :b9: :b9: :b9: แต่อยากคุยด้วยกลัวป้าเหงา

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
ด้วยเหตุว่า อวิชชาทั้ง ๘ ประการ คือ ความไม่รู้ของจริงนั่นเอง




ที่มาของอวิชชาทั้ง 8




walaiporn เขียน:
3. ส่วนตรงนี้ "อริยสัจ 4"
เกิดขึ้นจากการแต่งขึ้นมาใหม่โดยท่านพระพุทธโฆษาจารย์ มีเขียนอยู่ในหนังสือ คัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งท่านได้เขียนไว้ว่า เขียนตามความรู้ที่มีอยู่ ทั้งที่ยังไม่แจ้งนิพพาน





ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายก็เป็นทุกข์
การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นนั่น ก็เป็นทุกข์
กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

กามตัณหา(ตัณหาในกาม)
ภวตัณหา(ตัณหาในความมีความเป็น)
วิภวตัณหา(ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้
ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา) การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ) ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ) ความระลึกชอบ(สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง





อีกนัยหนึ่ง สัจจ 4 มีปวัจจิ(ความหมุนไป) ปวัตตะ(เหตุให้หมุนไป) และนิวัตติ(เหตุให้หมุนกลับ) เป็นลักษณะโดนลำดับกัน อนึ่งมีความเป็นสังขตะ ตัณหา(ความกระหาย) ความเป็นอสังขตะและทัสสนะ(ความเห็นตามความเป็นจริง) เป็นลักษณะโดยลำดับกันอย่างนั้น

[๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้

ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็นอายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้ ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ

ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลายในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอนาคต

ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็นอายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้

พระโยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาทมีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 16:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่ครับ

ผมกล่าวถูกใช่มะ
:b16: :b16: :b16:

เวลาฟังในความหมายพระเถระ อวิชชา คือ ไม่รู้ อริยะสัจ ๔ ท่านหมายถึง พระอริยะสัจ เดินไปรอบ ๓ อาการ ๑๒
แต่ปุถุชนที่ไม่รู้ ไหม่มีครูบาอาจารย์พระอริยะสงฆ์ จะเข้าใจว่า ไม่รู้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็จะท่องจำทำสัญญาตามๆกันไปว่านี้ทุกข์ๆๆๆๆ สมทัยๆๆๆๆๆ นี่นิโรธๆๆๆๆ นี่มรรคๆๆๆๆ นี่จำจนครบพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ แล้วก็กล่าวอ้างว่าตนรู้อริยะสัจ ๔ ทั้งที่ตนยังมีแต่อวิชชาอยู่ ส่วนสิ่งที่รู้คือสมมติความคิดอนุมานเอาเท่านั้น

เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปจึงต้องใช้คำให้ทันยุคสมัยใช่ปะครับ

ถ้ากล่าวว่า อวิชชา คือ ความไม่รู้เห็นตามจริง ไม่รู้ของจริง ความหมายจะต่างออกไป ความจริงมีสิ่งใดได้บ้าง พระอริยะสัจ ๔ ก็ได้ เราก็สามารถจะหยิบยกเอาในมหาสติปัฏฐานสูตรมากล่าวอ้างได้ ก็ตรงตามที่ไม่รู้ทั้งใน ๘ ข้อนั้นทั้งสิ้น เห็นดังนี้ๆเป็นต้น ชื่อว่าเห็นจริง เห็นสัจจะในขันธ์ เมื่อสติปัฏฐานรวมกันเป็นหนึ่งทำให้องค์มรรคที่เริ่มต้นเป็นแต่เพียงความสุจริต ๓ แทงขึ้นน้อมไปในความรู้เห็นตามจริงในสังขารุเปกขา จิตทำความแยบคายด้วยรอบ ๓ อาการ ๑๒ แต่ก่อนจะถึงรอบ ๓ อาการ ๑๒ สิ่งที่เห็นแน่นอนคือ ไตรลักษณ์ของจริง :b1: :b1: :b1: อันนี้ก็เป็นอานิสงส์ให้คนปฏิบัติใช่มั้ยครับป้า จนเมื่อเขาเห็นจริง โดยสัญญาที่ใจจำไว้อยู๋ก็ยังคงความหน่ายคลายกำหนัดได้ในระยะหนึ่ง แม่ไม่ถึงตัดสังโยชน์ แต่จิตจะน้อมไปในมรรคโดยส่วนเดียว ดำรงมั่นจะเป็นไปเพื่อถึงพระอริยะสาวก :b16: :b16: :b16: ถูกมั้ยครับป้า

ผมไม่ได้ท่องจำแบบคนที่เรียนปริยัติ คงพูดในภาษาชาวบ้าน ภาษาวัยรุ่น ที่ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ ไม่ยกอรรถมาอ้างมาก กลั่วจะเพี้ยนเพราะผม :b32: :b32: :b32:

ผมพูดง่ายดีมั้ยครับป้า แต่ไม่มีสิ่งใดขัดกับคำพระธรรมคำสอนของพระศาสดาครับ ถ้าจะผิดก็ผิดต่ใจคนนี่แหละครับ 555
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
ใช่ครับ

ผมกล่าวถูกใช่มะ
:b16: :b16: :b16:

เวลาฟังในความหมายพระเถระ อวิชชา คือ ไม่รู้ อริยะสัจ ๔ ท่านหมายถึง พระอริยะสัจ เดินไปรอบ ๓ อาการ ๑๒
แต่ปุถุชนที่ไม่รู้ ไหม่มีครูบาอาจารย์พระอริยะสงฆ์ จะเข้าใจว่า ไม่รู้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็จะท่องจำทำสัญญาตามๆกันไปว่านี้ทุกข์ๆๆๆๆ สมทัยๆๆๆๆๆ นี่นิโรธๆๆๆๆ นี่มรรคๆๆๆๆ นี่จำจนครบพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ แล้วก็กล่าวอ้างว่าตนรู้อริยะสัจ ๔ ทั้งที่ตนยังมีแต่อวิชชาอยู่ ส่วนสิ่งที่รู้คือสมมติความคิดอนุมานเอาเท่านั้น

เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปจึงต้องใช้คำให้ทันยุคสมัยใช่ปะครับ

ถ้ากล่าวว่า อวิชชา คือ ความไม่รู้เห็นตามจริง ไม่รู้ของจริง ความหมายจะต่างออกไป ความจริงมีสิ่งใดได้บ้าง พระอริยะสัจ ๔ ก็ได้ เราก็สามารถจะหยิบยกเอาในมหาสติปัฏฐานสูตรมากล่าวอ้างได้ ก็ตรงตามที่ไม่รู้ทั้งใน ๘ ข้อนั้นทั้งสิ้น เห็นดังนี้ๆเป็นต้น ชื่อว่าเห็นจริง เห็นสัจจะในขันธ์ เมื่อสติปัฏฐานรวมกันเป็นหนึ่งทำให้องค์มรรคที่เริ่มต้นเป็นแต่เพียงความสุจริต ๓ แทงขึ้นน้อมไปในความรู้เห็นตามจริงในสังขารุเปกขา จิตทำความแยบคายด้วยรอบ ๓ อาการ ๑๒ แต่ก่อนจะถึงรอบ ๓ อาการ ๑๒ สิ่งที่เห็นแน่นอนคือ ไตรลักษณ์ของจริง :b1: :b1: :b1: อันนี้ก็เป็นอานิสงส์ให้คนปฏิบัติใช่มั้ยครับป้า จนเมื่อเขาเห็นจริง โดยสัญญาที่ใจจำไว้อยู๋ก็ยังคงความหน่ายคลายกำหนัดได้ในระยะหนึ่ง แม่ไม่ถึงตัดสังโยชน์ แต่จิตจะน้อมไปในมรรคโดยส่วนเดียว ดำรงมั่นจะเป็นไปเพื่อถึงพระอริยะสาวก :b16: :b16: :b16: ถูกมั้ยครับป้า

ผมไม่ได้ท่องจำแบบคนที่เรียนปริยัติ คงพูดในภาษาชาวบ้าน ภาษาวัยรุ่น ที่ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ ไม่ยกอรรถมาอ้างมาก กลั่วจะเพี้ยนเพราะผม :b32: :b32: :b32:

ผมพูดง่ายดีมั้ยครับป้า แต่ไม่มีสิ่งใดขัดกับคำพระธรรมคำสอนของพระศาสดาครับ ถ้าจะผิดก็ผิดต่ใจคนนี่แหละครับ 555
:b8: :b8: :b8:





เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ในแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ตาม
ยึดมาก ถือมั่นมาก สร้างเหตุทุกข์ให้เกิดขึ้น ก็ยังมองไม่เห็น
เมื่อไม่รู้ จึงกระทำตามกิเลส โดยมีตัณหาเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดภพชาติ
เมื่อไม่รู้ การปรุงแต่งยิ่งมาก เมื่อเกิดมาก จึงประมาณในบุคคลตามเกิดขึ้นเพิ่มอีก คือ ไม่กระทำเพื่อความดับ



จะวัยไหน วัยรุ่น แก่ จะใกล้หมดลมหายใจ
ผลการปฏิบัติ วัดผลกันตรงนั้นแหละ(ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง) ไม่ได้เกิดขึ้นจากการคาดเดาของใครๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 17:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
ใช่ครับ

ผมกล่าวถูกใช่มะ
:b16: :b16: :b16:

เวลาฟังในความหมายพระเถระ อวิชชา คือ ไม่รู้ อริยะสัจ ๔ ท่านหมายถึง พระอริยะสัจ เดินไปรอบ ๓ อาการ ๑๒
แต่ปุถุชนที่ไม่รู้ ไหม่มีครูบาอาจารย์พระอริยะสงฆ์ จะเข้าใจว่า ไม่รู้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็จะท่องจำทำสัญญาตามๆกันไปว่านี้ทุกข์ๆๆๆๆ สมทัยๆๆๆๆๆ นี่นิโรธๆๆๆๆ นี่มรรคๆๆๆๆ นี่จำจนครบพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ แล้วก็กล่าวอ้างว่าตนรู้อริยะสัจ ๔ ทั้งที่ตนยังมีแต่อวิชชาอยู่ ส่วนสิ่งที่รู้คือสมมติความคิดอนุมานเอาเท่านั้น

เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปจึงต้องใช้คำให้ทันยุคสมัยใช่ปะครับ

ถ้ากล่าวว่า อวิชชา คือ ความไม่รู้เห็นตามจริง ไม่รู้ของจริง ความหมายจะต่างออกไป ความจริงมีสิ่งใดได้บ้าง พระอริยะสัจ ๔ ก็ได้ เราก็สามารถจะหยิบยกเอาในมหาสติปัฏฐานสูตรมากล่าวอ้างได้ ก็ตรงตามที่ไม่รู้ทั้งใน ๘ ข้อนั้นทั้งสิ้น เห็นดังนี้ๆเป็นต้น ชื่อว่าเห็นจริง เห็นสัจจะในขันธ์ เมื่อสติปัฏฐานรวมกันเป็นหนึ่งทำให้องค์มรรคที่เริ่มต้นเป็นแต่เพียงความสุจริต ๓ แทงขึ้นน้อมไปในความรู้เห็นตามจริงในสังขารุเปกขา จิตทำความแยบคายด้วยรอบ ๓ อาการ ๑๒ แต่ก่อนจะถึงรอบ ๓ อาการ ๑๒ สิ่งที่เห็นแน่นอนคือ ไตรลักษณ์ของจริง :b1: :b1: :b1: อันนี้ก็เป็นอานิสงส์ให้คนปฏิบัติใช่มั้ยครับป้า จนเมื่อเขาเห็นจริง โดยสัญญาที่ใจจำไว้อยู๋ก็ยังคงความหน่ายคลายกำหนัดได้ในระยะหนึ่ง แม่ไม่ถึงตัดสังโยชน์ แต่จิตจะน้อมไปในมรรคโดยส่วนเดียว ดำรงมั่นจะเป็นไปเพื่อถึงพระอริยะสาวก :b16: :b16: :b16: ถูกมั้ยครับป้า

ผมไม่ได้ท่องจำแบบคนที่เรียนปริยัติ คงพูดในภาษาชาวบ้าน ภาษาวัยรุ่น ที่ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ ไม่ยกอรรถมาอ้างมาก กลั่วจะเพี้ยนเพราะผม :b32: :b32: :b32:

ผมพูดง่ายดีมั้ยครับป้า แต่ไม่มีสิ่งใดขัดกับคำพระธรรมคำสอนของพระศาสดาครับ ถ้าจะผิดก็ผิดต่ใจคนนี่แหละครับ 555
:b8: :b8: :b8:





เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ในแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ตาม
ยึดมาก ถือมั่นมาก สร้างเหตุทุกข์ให้เกิดขึ้น ก็ยังมองไม่เห็น
เมื่อไม่รู้ จึงกระทำตามกิเลส โดยมีตัณหาเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดภพชาติ
เมื่อไม่รู้ การปรุงแต่งยิ่งมาก เมื่อเกิดมาก จึงประมาณในบุคคลตามเกิดขึ้นเพิ่มอีก คือ ไม่กระทำเพื่อความดับ



จะวัยไหน วัยรุ่น แก่ จะใกล้หมดลมหายใจ
ผลการปฏิบัติ วัดผลกันตรงนั้นแหละ(ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง) ไม่ได้เกิดขึ้นจากการคาดเดาของใครๆ



นั่นแหละครับ สิ่งที่ผมพยายามจะสื่อกับป้าว่า เราจำแนกธรรมออกเป็นระดับได้ถ้าเราเข้าถึงธรรมแล้ว
จะใช้ธรรมภาษาไหนมันก็สามารถสื่อให้ถึงจุดนั้นได้ แต่หากเราสื่อให้มันง่าย ชัดเจน และตรง มันก็จะสามารถชี้ชัดได้ง่ายใช่ไหมครับ

ใครจะอ้างตนว่าบรรลุธรรมแล้วอะไรแล้วมันดูง่ายจากการที่แจ้งแทงตลอดในธรรมที่สามารถสื่อสารเข้าใจง่ายแต่ไม่บิดเบือนธรรมนี่แหละครับ ย่นย่อได้ ขยายความได้ อธิบายได้ชัดเจน
นี่ก็เป็นปฏิสัมภิทาอย่างหนึ่ง

เมื่อบรรลุโสดาบันแล้วมองย้อนดูตนก่อนยึดมานะทิฏฐิ เราจะเห็นเสมอว่า เราก็เหมือนกับปุถุชนทั่วไปทุกอย่าง ต่างกันแค่มีศีลที่เยอะกว่าและไม่กลับกรอกเท่านั้นเอง :b12: :b12: :b12:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
walaiporn เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
ใช่ครับ

ผมกล่าวถูกใช่มะ
:b16: :b16: :b16:

เวลาฟังในความหมายพระเถระ อวิชชา คือ ไม่รู้ อริยะสัจ ๔ ท่านหมายถึง พระอริยะสัจ เดินไปรอบ ๓ อาการ ๑๒
แต่ปุถุชนที่ไม่รู้ ไหม่มีครูบาอาจารย์พระอริยะสงฆ์ จะเข้าใจว่า ไม่รู้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็จะท่องจำทำสัญญาตามๆกันไปว่านี้ทุกข์ๆๆๆๆ สมทัยๆๆๆๆๆ นี่นิโรธๆๆๆๆ นี่มรรคๆๆๆๆ นี่จำจนครบพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ แล้วก็กล่าวอ้างว่าตนรู้อริยะสัจ ๔ ทั้งที่ตนยังมีแต่อวิชชาอยู่ ส่วนสิ่งที่รู้คือสมมติความคิดอนุมานเอาเท่านั้น

เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปจึงต้องใช้คำให้ทันยุคสมัยใช่ปะครับ

ถ้ากล่าวว่า อวิชชา คือ ความไม่รู้เห็นตามจริง ไม่รู้ของจริง ความหมายจะต่างออกไป ความจริงมีสิ่งใดได้บ้าง พระอริยะสัจ ๔ ก็ได้ เราก็สามารถจะหยิบยกเอาในมหาสติปัฏฐานสูตรมากล่าวอ้างได้ ก็ตรงตามที่ไม่รู้ทั้งใน ๘ ข้อนั้นทั้งสิ้น เห็นดังนี้ๆเป็นต้น ชื่อว่าเห็นจริง เห็นสัจจะในขันธ์ เมื่อสติปัฏฐานรวมกันเป็นหนึ่งทำให้องค์มรรคที่เริ่มต้นเป็นแต่เพียงความสุจริต ๓ แทงขึ้นน้อมไปในความรู้เห็นตามจริงในสังขารุเปกขา จิตทำความแยบคายด้วยรอบ ๓ อาการ ๑๒ แต่ก่อนจะถึงรอบ ๓ อาการ ๑๒ สิ่งที่เห็นแน่นอนคือ ไตรลักษณ์ของจริง :b1: :b1: :b1: อันนี้ก็เป็นอานิสงส์ให้คนปฏิบัติใช่มั้ยครับป้า จนเมื่อเขาเห็นจริง โดยสัญญาที่ใจจำไว้อยู๋ก็ยังคงความหน่ายคลายกำหนัดได้ในระยะหนึ่ง แม่ไม่ถึงตัดสังโยชน์ แต่จิตจะน้อมไปในมรรคโดยส่วนเดียว ดำรงมั่นจะเป็นไปเพื่อถึงพระอริยะสาวก :b16: :b16: :b16: ถูกมั้ยครับป้า

ผมไม่ได้ท่องจำแบบคนที่เรียนปริยัติ คงพูดในภาษาชาวบ้าน ภาษาวัยรุ่น ที่ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ ไม่ยกอรรถมาอ้างมาก กลั่วจะเพี้ยนเพราะผม :b32: :b32: :b32:

ผมพูดง่ายดีมั้ยครับป้า แต่ไม่มีสิ่งใดขัดกับคำพระธรรมคำสอนของพระศาสดาครับ ถ้าจะผิดก็ผิดต่ใจคนนี่แหละครับ 555
:b8: :b8: :b8:





เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ในแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ตาม
ยึดมาก ถือมั่นมาก สร้างเหตุทุกข์ให้เกิดขึ้น ก็ยังมองไม่เห็น
เมื่อไม่รู้ จึงกระทำตามกิเลส โดยมีตัณหาเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดภพชาติ
เมื่อไม่รู้ การปรุงแต่งยิ่งมาก เมื่อเกิดมาก จึงประมาณในบุคคลตามเกิดขึ้นเพิ่มอีก คือ ไม่กระทำเพื่อความดับ



จะวัยไหน วัยรุ่น แก่ จะใกล้หมดลมหายใจ
ผลการปฏิบัติ วัดผลกันตรงนั้นแหละ(ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง) ไม่ได้เกิดขึ้นจากการคาดเดาของใครๆ



นั่นแหละครับ สิ่งที่ผมพยายามจะสื่อกับป้าว่า เราจำแนกธรรมออกเป็นระดับได้ถ้าเราเข้าถึงธรรมแล้ว
จะใช้ธรรมภาษาไหนมันก็สามารถสื่อให้ถึงจุดนั้นได้ แต่หากเราสื่อให้มันง่าย ชัดเจน และตรง มันก็จะสามารถชี้ชัดได้ง่ายใช่ไหมครับ

ใครจะอ้างตนว่าบรรลุธรรมแล้วอะไรแล้วมันดูง่ายจากการที่แจ้งแทงตลอดในธรรมที่สามารถสื่อสารเข้าใจง่ายแต่ไม่บิดเบือนธรรมนี่แหละครับ ย่นย่อได้ ขยายความได้ อธิบายได้ชัดเจน
นี่ก็เป็นปฏิสัมภิทาอย่างหนึ่ง

เมื่อบรรลุโสดาบันแล้วมองย้อนดูตนก่อนยึดมานะทิฏฐิ เราจะเห็นเสมอว่า เราก็เหมือนกับปุถุชนทั่วไปทุกอย่าง ต่างกันแค่มีศีลที่เยอะกว่าและไม่กลับกรอกเท่านั้นเอง :b12: :b12: :b12:






นำกรรมฐานมาให้ เผื่อจะทำให้เกิดสติ




๙. มลสูตร

[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทินในภายใน ๓ ประการนี้
เป็นอมิตร เป็นศัตรู เป็นผู้ฆ่า เป็นข้าศึกใน
ภายใน ๓ ประการเป็นไฉน
คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทินในภายใน ๓ ประการนี้แล
เป็นอมิตร เป็นศัตรู เป็นผู้ฆ่า เป็นข้าศึกในภายใน ฯ


โลภะให้เกิดความฉิบหายโลภะทำจิตให้กำเริบชนไม่รู้สึกโลภะนั้น อันเกิดแล้วในภายในว่าเป็นภัย
คนโลภย่อมไม่รู้ประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โลภะย่อมครอบงำนรชนในขณะนั้น ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น
ก็ผู้ใดละความโลภได้ขาด ย่อมไม่โลภในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ
ความโลภอันอริยมรรคย่อมละเสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบเหมือนหยดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น


โทสะให้เกิดความฉิบหาย โทสะทำจิตให้กำเริบ ชนไม่รู้จักโทสะนั้นอันเกิดในภายในว่าเป็นภัย
คนโกรธย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โทสะย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น
ก็บุคคลใดละโทสะได้ขาด ย่อมไม่ประทุษร้ายในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย
โทสะอันอริยมรรคย่อมละเสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบเหมือนผลตาลสุกหลุดจากขั้วฉะนั้น


โมหะให้เกิดความฉิบหาย โมหะทำจิตให้กำเริบ ชนไม่รู้สึกโมหะนั้นอันเกิดในภายในว่าเป็นภัย
คนหลงย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โมหะย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น
ก็บุคคลใดละโมหะได้ขาด ย่อมไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
บุคคลนั้นย่อมกำจัดความหลงได้ทั้งหมด เปรียบเหมือนพระอาทิตย์อุทัยขจัดมืดฉะนั้น ฯ





walaiporn เขียน:
เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ในแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ตาม
ยึดมาก ถือมั่นมาก สร้างเหตุทุกข์ให้เกิดขึ้น ก็ยังมองไม่เห็น
เมื่อไม่รู้ จึงกระทำตามกิเลส โดยมีตัณหาเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดภพชาติ
เมื่อไม่รู้ การปรุงแต่งยิ่งมาก เมื่อเกิดมาก จึงประมาณในบุคคลตามเกิดขึ้นเพิ่มอีก คือ ไม่กระทำเพื่อความดับ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 18:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
walaiporn เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
ใช่ครับ

ผมกล่าวถูกใช่มะ
:b16: :b16: :b16:

เวลาฟังในความหมายพระเถระ อวิชชา คือ ไม่รู้ อริยะสัจ ๔ ท่านหมายถึง พระอริยะสัจ เดินไปรอบ ๓ อาการ ๑๒
แต่ปุถุชนที่ไม่รู้ ไหม่มีครูบาอาจารย์พระอริยะสงฆ์ จะเข้าใจว่า ไม่รู้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็จะท่องจำทำสัญญาตามๆกันไปว่านี้ทุกข์ๆๆๆๆ สมทัยๆๆๆๆๆ นี่นิโรธๆๆๆๆ นี่มรรคๆๆๆๆ นี่จำจนครบพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ แล้วก็กล่าวอ้างว่าตนรู้อริยะสัจ ๔ ทั้งที่ตนยังมีแต่อวิชชาอยู่ ส่วนสิ่งที่รู้คือสมมติความคิดอนุมานเอาเท่านั้น

เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปจึงต้องใช้คำให้ทันยุคสมัยใช่ปะครับ

ถ้ากล่าวว่า อวิชชา คือ ความไม่รู้เห็นตามจริง ไม่รู้ของจริง ความหมายจะต่างออกไป ความจริงมีสิ่งใดได้บ้าง พระอริยะสัจ ๔ ก็ได้ เราก็สามารถจะหยิบยกเอาในมหาสติปัฏฐานสูตรมากล่าวอ้างได้ ก็ตรงตามที่ไม่รู้ทั้งใน ๘ ข้อนั้นทั้งสิ้น เห็นดังนี้ๆเป็นต้น ชื่อว่าเห็นจริง เห็นสัจจะในขันธ์ เมื่อสติปัฏฐานรวมกันเป็นหนึ่งทำให้องค์มรรคที่เริ่มต้นเป็นแต่เพียงความสุจริต ๓ แทงขึ้นน้อมไปในความรู้เห็นตามจริงในสังขารุเปกขา จิตทำความแยบคายด้วยรอบ ๓ อาการ ๑๒ แต่ก่อนจะถึงรอบ ๓ อาการ ๑๒ สิ่งที่เห็นแน่นอนคือ ไตรลักษณ์ของจริง :b1: :b1: :b1: อันนี้ก็เป็นอานิสงส์ให้คนปฏิบัติใช่มั้ยครับป้า จนเมื่อเขาเห็นจริง โดยสัญญาที่ใจจำไว้อยู๋ก็ยังคงความหน่ายคลายกำหนัดได้ในระยะหนึ่ง แม่ไม่ถึงตัดสังโยชน์ แต่จิตจะน้อมไปในมรรคโดยส่วนเดียว ดำรงมั่นจะเป็นไปเพื่อถึงพระอริยะสาวก :b16: :b16: :b16: ถูกมั้ยครับป้า

ผมไม่ได้ท่องจำแบบคนที่เรียนปริยัติ คงพูดในภาษาชาวบ้าน ภาษาวัยรุ่น ที่ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ ไม่ยกอรรถมาอ้างมาก กลั่วจะเพี้ยนเพราะผม :b32: :b32: :b32:

ผมพูดง่ายดีมั้ยครับป้า แต่ไม่มีสิ่งใดขัดกับคำพระธรรมคำสอนของพระศาสดาครับ ถ้าจะผิดก็ผิดต่ใจคนนี่แหละครับ 555
:b8: :b8: :b8:





เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ในแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ตาม
ยึดมาก ถือมั่นมาก สร้างเหตุทุกข์ให้เกิดขึ้น ก็ยังมองไม่เห็น
เมื่อไม่รู้ จึงกระทำตามกิเลส โดยมีตัณหาเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดภพชาติ
เมื่อไม่รู้ การปรุงแต่งยิ่งมาก เมื่อเกิดมาก จึงประมาณในบุคคลตามเกิดขึ้นเพิ่มอีก คือ ไม่กระทำเพื่อความดับ



จะวัยไหน วัยรุ่น แก่ จะใกล้หมดลมหายใจ
ผลการปฏิบัติ วัดผลกันตรงนั้นแหละ(ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง) ไม่ได้เกิดขึ้นจากการคาดเดาของใครๆ



นั่นแหละครับ สิ่งที่ผมพยายามจะสื่อกับป้าว่า เราจำแนกธรรมออกเป็นระดับได้ถ้าเราเข้าถึงธรรมแล้ว
จะใช้ธรรมภาษาไหนมันก็สามารถสื่อให้ถึงจุดนั้นได้ แต่หากเราสื่อให้มันง่าย ชัดเจน และตรง มันก็จะสามารถชี้ชัดได้ง่ายใช่ไหมครับ

ใครจะอ้างตนว่าบรรลุธรรมแล้วอะไรแล้วมันดูง่ายจากการที่แจ้งแทงตลอดในธรรมที่สามารถสื่อสารเข้าใจง่ายแต่ไม่บิดเบือนธรรมนี่แหละครับ ย่นย่อได้ ขยายความได้ อธิบายได้ชัดเจน
นี่ก็เป็นปฏิสัมภิทาอย่างหนึ่ง

เมื่อบรรลุโสดาบันแล้วมองย้อนดูตนก่อนยึดมานะทิฏฐิ เราจะเห็นเสมอว่า เราก็เหมือนกับปุถุชนทั่วไปทุกอย่าง ต่างกันแค่มีศีลที่เยอะกว่าและไม่กลับกรอกเท่านั้นเอง :b12: :b12: :b12:






นำกรรมฐานมาให้ เผื่อจะทำให้เกิดสติ




๙. มลสูตร

[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทินในภายใน ๓ ประการนี้
เป็นอมิตร เป็นศัตรู เป็นผู้ฆ่า เป็นข้าศึกใน
ภายใน ๓ ประการเป็นไฉน
คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทินในภายใน ๓ ประการนี้แล
เป็นอมิตร เป็นศัตรู เป็นผู้ฆ่า เป็นข้าศึกในภายใน ฯ


โลภะให้เกิดความฉิบหายโลภะทำจิตให้กำเริบชนไม่รู้สึกโลภะนั้น อันเกิดแล้วในภายในว่าเป็นภัย
คนโลภย่อมไม่รู้ประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โลภะย่อมครอบงำนรชนในขณะนั้น ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น
ก็ผู้ใดละความโลภได้ขาด ย่อมไม่โลภในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ
ความโลภอันอริยมรรคย่อมละเสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบเหมือนหยดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น


โทสะให้เกิดความฉิบหาย โทสะทำจิตให้กำเริบ ชนไม่รู้จักโทสะนั้นอันเกิดในภายในว่าเป็นภัย
คนโกรธย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โทสะย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น
ก็บุคคลใดละโทสะได้ขาด ย่อมไม่ประทุษร้ายในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย
โทสะอันอริยมรรคย่อมละเสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบเหมือนผลตาลสุกหลุดจากขั้วฉะนั้น


โมหะให้เกิดความฉิบหาย โมหะทำจิตให้กำเริบ ชนไม่รู้สึกโมหะนั้นอันเกิดในภายในว่าเป็นภัย
คนหลงย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โมหะย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น
ก็บุคคลใดละโมหะได้ขาด ย่อมไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
บุคคลนั้นย่อมกำจัดความหลงได้ทั้งหมด เปรียบเหมือนพระอาทิตย์อุทัยขจัดมืดฉะนั้น ฯ


walaiporn เขียน:
เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ในแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ตาม
ยึดมาก ถือมั่นมาก สร้างเหตุทุกข์ให้เกิดขึ้น ก็ยังมองไม่เห็น
เมื่อไม่รู้ จึงกระทำตามกิเลส โดยมีตัณหาเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดภพชาติ
เมื่อไม่รู้ การปรุงแต่งยิ่งมาก เมื่อเกิดมาก จึงประมาณในบุคคลตามเกิดขึ้นเพิ่มอีก คือ ไม่กระทำเพื่อความดับ



สาธุ ขอบคุณครับเป็นกรรมฐานที่มีประโยชน์มากครับ
คำพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ถูกแล้ว มีอุปการะมากแล้ว

ส่วนตัวผมผลจากการเจริญปฏิบัติต่างๆที่ป้ายกมานั้น ผมเข้าถึงได้บ้างตามประสาปุุถุชนแล้วทำให้แจ้งใจ ไดก้สัมผัสจริงบ้าง มีจุดหลักในการสงบระงับในกิเลสของผมดังนี้


- ละโลภะ โดยไม่เอาความสุขสำเร็จไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งใด
- ละโทสะ โดยความไม่ติดใจข้องแวะ
- ละโมหะ โดยฝึกจิตให้มีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ให้รู้เห็นตามจริง


- ทำจิตให้ผ่องใส(ละโมหะ) มีใจเอื้อเฟื้อ(ละโลภะ) เว้นจากความเบียดเบียน(ละโทสะ)


ถ้าป้าเจริญตามพระศาสดาสติมีมากดีแล้ว บริบูรณ์แล้วผมขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ
และเชื่อว่าป้าย่อมแยกแยะถูกผิดได้ ใช้ปัญญา ไม่ใช่ความรู้สึกจะทำให้ป้าเห็นโลกที่กว้างขึ้นกว่าที่เคยเห็น

ผมไม่เคยยกตนข่มท่าน ไม่อ้างคุณวิเศษในตน ไม่ขัดแย้งธรรมป้า ไม่ขัดแย้งคำสอนพระศาสดา เห็นเป็นสิ่งดีงามมีคุณมากเสมอ คุยด้วยสัมมาวาจา และเสนอแนะแนวทางที่จะใช้เผยแพร่ธรรมของป้าได้ หากป้าไม่ใช่ความรู้สึกแต่ใช้ปัญญาพิจารณาป้าก็จะเห็นชัดว่า ป้ากำลังอคติเพราะชัง เพราะไม่ถูกใจ แล้วคิดไปเองว่าผมต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ใช่ปะครับ ดังนั้นหากกล่าวว่าตนสูง ตนถึง ย่อมไม่เห็นสิ่งไรๆในความรู้สึกจากคำกล่าวผมว่าเบียดเบียนป้า ย่อมไม่ถือตน

ธรรมของพระอริยะเมื่อกล่าวแล้วคนที่ไม่ถึงย่อมเห็นเป็นของยาก หากเรากล่าวโดยการสะสมเหตุ แล้วชี้ให้เห็นว่าการสะสมเหตุนั้นนำไปสู่ผลอันยิ่งใหญ่แล้วค่อยยกให้ถึงสิ่งอันเป็นผลที่พระอริยะสาวกได้รับ ธรรมนั้นย่อมมีอุปการะมาก ธรรมของพระอริยะสาวกคือธรรมที่มีอุปการะแก่หมู่สัตว์ไม่แบ่งแยก การที่จะไปให้ธรรมของพระอริยะชี้ให้สัตว์เห็นมันเป็นของยาก หากใช้ปัญญามากกว่าความรู้สึกก็จะเข้าถึงการสื่อถึงใจคน แม้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมก็ยังทรงจำแนกเริ่มจากการทำเหตุปรับจิต จนเมื่อจิตเขาอ่อนควรแก่งานจึงยกธรรมอันเป็นไปเพื่อเข้าถึง เพื่อปหานขึ้นให้เขาโยนิโสมนสิการ

ผมเชื่อว่าป้าฉลาดนะครับ :b8: :b8: :b8: ป้าลองดูสิครับผมไม่ทะเลาะกับใครมีแต่คุยสนุกสนานมีญาตมิตร ใครทำดีก็อนุโมทนา อยากช่วยส่งเสริมใครก็แนะนำ ไม่ขัด ไม่ทำลาย :b1: :b1: :b1:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณอากาศ(ไอ้นี่) ที่โพสลงไปเมื่ออ่านแล้ว อาจจะรู้โยนิโสมนสิการ เผื่อจะรู้สึกตัว
แทนที่จะหยุด ที่ไหนล่ะ ยังจะพร่ำเพรื่อโลกธรรม 8 แถมจะมาจูงโคคนอื่นให้เข้าคอกด้วย

เอาเถอะนะ ถ้ายังยินดีกับโลกธรรม 8 ก็ยินดีไปคนเดียวนะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 15:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
คุณอากาศ(ไอ้นี่) ที่โพสลงไปเมื่ออ่านแล้ว อาจจะรู้โยนิโสมนสิการ เผื่อจะรู้สึกตัว
แทนที่จะหยุด ที่ไหนล่ะ ยังจะพร่ำเพรื่อโลกธรรม 8 แถมจะมาจูงโคคนอื่นให้เข้าคอกด้วย

เอาเถอะนะ ถ้ายังยินดีกับโลกธรรม 8 ก็ยินดีไปคนเดียวนะ


:b32: :b32: :b32: เป็นหนักมากนะป้า

ทำได้แค่นี้เองหราครับป้า โม้มาตั้งเยอะ s002 s002 s002 อ้างพระไตรแต่เข้าไม่ถึงธรรมแท้ในพระไตร
คนที่เพ้อคือป้านะครับโพสท์มาเยอะแล้ว ถ้าป้ามีปัญญาคงเข้าใจสิ่งที่ผมพูดแล้ว เพราะเป็นสิ่งที่อริยะสาวกยึดถือเจริญปฏิบัติไม่ขาด นี่ทำให้เห็นถึงความอวดโม้แต่เข้าไม่ถึงธรรมจริงของป้าชัดเจนครับ

ผมว่าป้าน่าสงสารนะครับ จึงแนะนำอย่างอริยะชน แต่ป้าคงเสพย์สันดานปุถุชนไว้มาก แก่เกินจะปรับปรุงตัวเองได้ น่าสงสารๆ
อย่างว่าแหละป้าหลงมากเลยบ้ามาก ดึงสติกลับมานะป้า โลกธรรม ๘ ป้ายังไม่รู้ว่าคืออะไรเลย จะปรามาสอริยะสาวกเอานะครับ เพราะถ้าป้าแจ้งโลกรรม ๘ สันดานปุถุชนของป้าจะไม่แสดงออกมาอย่างนี้ครับ
อวดโม้ได้แต่กับคนเพิ่งเริ่มศึกษาธรรม เจอของจริงก็ร้อนรน คนอวดอ้างจะเป็นแบบป้านี่แหละครับป้า

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 19:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีอะไรจริง..หรอกน่า...แค่พะยับแดด..

:b12: :b12: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร