วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนาอย่าเกียจคร้าน

นอนกินถ่ายกาม ไม่เห็นเกียจคร้าน

วันๆมัวเมาแต่แก้ไขร่างกาย

ไม่หาหนทางแก้ไขใจ

ใจอยู่กับบุญ ใจอยู่กับธรรม

ใจอยู่กับการทำความดี

ต้องให้เป็นอย่างนี้

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ





เรื่อง​ "ตั้งสัจจะถือเนสัชชิ​ ภาวนาสละเป็นสละตาย"

(ธรรมประวัติ​ หลวงปู่เจี๊ยะ​ จุนโท)​

ในพรรษาแรกของการบวช ท่าน(หลวงปู่เจี๊ยะ)​เกิดความขี้เกียจและมักจะหลบนอน พอมาถึงกลางพรรษาท่านก็มานึกตำหนิตัวเอง ว่าเรากินข้าวชาวบ้านแล้ว ทำไมถึงมาขี้เกียจอย่างนี้ มันเหมาะสมแล้วหรือสำหรับนักบวชที่สละบ้านเรือนออกมา แต่ก่อนทำงานหนักๆ​ แจวเรือทั้งวันยังทำได้ พระแบบเรานี้จะต่างอะไรกับฆราวาสหัวดำๆ เราทำแบบนี้ควรแล้วหรือที่ให้ญาติโยมเขากราบไหว้บูชา ท่านจึงด่าตัวเองดังๆในใจว่า

“ไอ้ห่า...มึงเป็นพระให้เขากราบไหว้​ แล้วมึงภาวนานั่งสู้โยมแก่ๆไม่ได้​ แล้วมึงจะบวชมาทำไม”

ในพรรษาที่ ๒ หลวงปู่เจี๊ยะได้ถือธุดงค์ปฏิบัติว่าด้วยการไม่นอน คือบำเพ็ญความเพียรไม่นอนในตอนกลางคืนเลย ตลอดช่วงเวลาเข้าพรรษา ๓ เดือน แต่พักผ่อนเล็กน้อยในเวลากลางวัน ท่านได้ตั้งหน้าประกอบความเพียร ทั้งเดินจงกรม และนั่งสมาธิภาวนา และได้ตั้งสัจจะว่า

“ข้าพเจ้าจะถือ​ "เนสัชชิ" คือ​ การไม่นอนตลอดทั้งพรรษา ในเวลาค่ำคืนไม่นอน ด้วยพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ ถ้าแม้นว่าข้าพเจ้าไม่ทำตามสัจจะนี้ ขอให้ข้าพเจ้าถูกฟ้าผ่าตาย ถูกไฟไหม้ตาย ถูกแผ่นดินสูบ ถูกน้ำท่วมตาย”

จากนั้นท่านได้ภาวนาอยู่ไม่รู้คำว่าหยุดถอย จนกระทั่งในพรรษาที่ ๓ เกิดจิตรวมครั้งใหญ่ใต้ต้นกระบก ปรากฏประหนึ่งว่า แผ่นดินแผ่นฟ้าละลายหมด กายกับใจนี้ขาดออกจากกัน เหมือนโลกนี้ขาดพรึบลงไปไม่มีอะไรเหลือเลยเหลือแต่ความบริสุทธิ์ของใจดวงเดียว ท่านถึงกับอุทานภายในใจว่า

“นี่แหละชีวิตอันประเสริฐ เราได้พานพบแล้ว”


ที่มา:ธรรมประวัติหลวงปู่เจี๊ยะ





...พระพุทธเจ้าเลยสอนให้พวกเรา
ถ้าอยากจะไม่ทุกข์กับสิ่งต่างๆที่เรามาเกี่ยวข้องด้วย
เราต้องเข้าใจธรรมชาติของเขา ธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่เราเกี่ยวข้องด้วยนี้สรุปได้ ๓ อัน ก็คือ
๑.ร่างกาย ๒.ความรู้สึกเวทนา ๓.อารมณ์ที่มีอยู่ในใจของเรา
ไอ้ ๓ ตัวนี้มันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
มีขึ้นมีลง มีเกิดมีดับ

.
ดังนั้น วิธีที่จะทำให้ไม่ทุกข์กับไอ้ ๓ ตัวนี้ก็คือ
อย่าไปอยาก อย่าไปอยากให้มันเที่ยง
อย่าไปอยากให้มันเป็นไปตามความต้องการของเรา
อย่าไปมีความอยากกับมัน มันจะแก่ก็ให้มันแก่ไป
มันจะเจ็บก็ให้มันเจ็บไป มันจะตายก็ให้มันตายไป

.
เพราะทำอะไรไม่ได้ เปลี่ยนมันได้หรือเปล่า
บอกให้มันไม่แก่ได้ไหม บอกให้มันไม่เจ็บได้ไหม
บอกให้มันไม่ตายได้ไหม..ไม่ได้..
แล้วไปบอกมันทำไม ไปอยากทำไม

.
เมื่อเช้านี้ก็มีแม่คนหนึ่งมาใส่บาตร
ทุกข์เพราะว่าลูกต้องไปผ่าตัดเป็นมะเร็ง ไม่สบายใจ
แล้วทำอะไรได้หรือเปล่า..ไม่ได้..แต่ทำไมไม่สบายใจ
"เพราะอยาก" ..อยากให้หาย อยากให้ปลอดภัย
แล้วจะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย ก็ไม่มีใครรู้ใช่ไหม
แต่ถ้าไม่ช้าก็เร็ว ต้องรู้อยู่ว่า
"มันไม่ปลอดภัยทั้งนั้นแหละร่างกาย"
มัน ถ้าตอนนี้รักษามันอาจจะหายก็ได้
แต่ไม่ช้าก็เร็วพอหายแล้ว เดี๋ยวมันก็ต้องไปเจออีกแหละ
มันก็มีโรคใหม่หรือโรคชนิดเก่ากลับมาหาอีกแหละ แล้วในที่สุดมันก็ต้องตายไปกันทุกคน

.
"แต่ไม่ยอมรับความจริงอันนี้"
ไม่เห็นความจริง ไม่มองความจริง
อยู่ที่ความอยาก อยากให้หาย อยากให้ไม่เจ็บ
อยากให้อยู่ไปนานๆ ..ก็เลยเกิดความไม่สบายใจ
"เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา".
...............................................
.

คัดลอกการสนทนาธรรม
ธรรมะบนเขา 6/6/2562
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี




"ความโลภ มันมิใช่อยู่ที่วัตถุ
แต่อยู่ที่ใจ คือ ความอยาก
วัตถุมันจะมีมากสักเท่าไร
แต่ความอยากมันไม่พอ
มันก็ไม่พออยู่ดี นั่นเอง"

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron