วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 14:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจาก กท.นี้

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57647

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาษาธรรมเป็นบาลี เขามีความหมายของเขา ไม่ใช่ภาษาไทย คิดตีความหมายเอาอย่างไทยๆผิด :b1:

คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์

ขอยกเอาหลักธรรมที่แสดงไตรลักษณ์ หรือสามัญลักษณะ ๓ อย่าง มาตั้งเป็นหัวข้ออีกครั้งหนึ่ง เพื่ออธิบายให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ตามแนวหลักวิชาที่มีหลักฐานอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ ดังนี้

๑. สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
๒. สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์
๓. ธรรม ทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา

สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เรียกตามคำบาลีว่า เป็นอนิจจ์ หรืออนิจจะ แต่ในภาษาไทยนิยมใช้คำว่าอนิจจัง ความไม่เที่ยง ความเป็นสิ่งไม่เที่ยง หรือภาวะที่เป็นอนิจจ์ หรืออนิจจังนั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า อนิจจตา ลักษณะที่แสดงถึงความไม่เที่ยง เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อนิจจลักษณะ

สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ในภาษาไทย บางทีใช้อย่างภาษาพูดว่า ทุกขัง ความเป็นทุกข์ ความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ความเป็นสภาวะมีความบีบคั้นขัดแย้ง หรือภาวะเป็นทุกข์นั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า ทุกขตา ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ เรียกเป็นศัพท์ว่า ทุกขลักษณะ

ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ความเป็นอนัตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน หรือภาวะที่เป็นอนัตตานั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า อนัตตตา ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นอนัตตา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อนัตตลักษณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ธรรม" พูดกันบ่อยที่สุดในโลก :b1: คคห.นี้ คงทำให้ผู้พูดมั่นใจตนเองว่า ธรรม ที่พูดนั้นหมายถึงอะไรแค่ไหน



ในหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา นั้น มีข้อที่ควรทำความเข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติม ดังนี้

@ ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

๑. สังขารทั้งปวง กับ ธรรมทั้งปวง

ผู้ศึกษาจะสังเกตเห็นว่า ในข้อ ๑ และข้อ ๒ ท่านกล่าวถึงสังขารทั้งปวง ว่า ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์

แต่ในข้อ ๓ ท่านกล่าวถึงธรรมทั้งปวงว่า เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัว หรือมิใช่ตน การใช้คำที่ต่างกันเช่นนี้ แสดงว่ามีความแตกต่างกันบางอย่างระหว่างหลักที่ ๑ และที่ ๒ คือ อนิจจตา และทุกขตา กับหลักที่ ๓ คือ อนัตตตา และความแตกต่างกันนี้จะเห็นได้ชัด ต่อเมื่อเข้าใจความหมายคำว่า “สังขาร” และคำว่า “ธรรม”

“ธรรม” เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุด กินความครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามี ทั้งที่มีได้ และได้มี ตลอดจนกระทั่งความไม่มี ที่เป็นคู่กับความมีนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ใครก็ตามกล่าวถึง คิดถึง หรือรู้ถึง ทั้งเรื่องทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งที่ดี และที่ชั่ว ทั้งที่เป็นสามัญวิสัยและเหนือสามัญวิสัย รวมอยู่ในคำว่า ธรรม ทั้งสิ้น

ถ้าจะให้ “ธรรม” มีความหมายแคบเข้า หรือจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เติมคำขยายประกอบลงไป เพื่อจำกัดความให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการ หรือจำแนกแยกธรรมนั้นแบ่งประเภทออกไป แล้วเลือกเอาส่วน หรือแง่ด้านแห่งความหมายที่ต้องการ หรือ
มิฉะนั้น ก็ใช้คำว่า ธรรม คำเดียวโดดเต็มรูปของมันตามเดิมนั่นแหละ แต่ตกลง หรือ หมายรู้ร่วมกันไว้ว่า เมื่อใช้ในลักษณะนั้นๆ ในกรณีนั้น หรือในความแวดล้อมอย่างนั้นๆ จะให้มีความหมายเฉพาะในแนวความ หรือในขอบเขตว่าอย่างนั้น เช่น
เมื่อคู่กับอธรรม หรือ ใช้เกี่ยวกับความประพฤติที่ดี ที่ชั่วของบุคคล หมายถึง บุญ หรือ คุณธรรมคือความดี

เมื่อมากับคำว่า อัตถะ หรือ อรรถ หมายถึงตัวหลัก หลักการ หรือเหตุ

เมื่อใช้สำหรับการเล่าเรียน หมายถึง ปริยัติ พุทธพจน์ หรือคำสั่งสอน ดังนี้เป็นต้น

“ธรรม” ที่กล่าวถึงในหลักอนัตตา แห่งไตรลักษณ์นี้ ท่านใช้ในความหมายที่กว้างที่สุดเต็มที่ สุดขอบเขตของศัพท์ คือ หมายถึง สภาวะ หรือ สภาพทุกอย่าง ไม่มีขีดขั้นจำกัด
ธรรมในความหมายเช่นนี้ จะเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อแยกแยะแจกแจงประเภทออกไป เช่น
จำแนกเป็นรูปธรรม และนามธรรม บ้าง
โลกิยธรรม และโลกุตรธรรม บ้าง
สังขตธรรม และอสังขตธรรม บ้าง
กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรม (สภาวะที่เป็นกลางๆ) บ้าง

ธรรมที่จำแนกเป็นชุดเหล่านี้ แต่ละชุดครอบคลุมความหมายของธรรมได้หมดสิ้นทั้งนั้น แต่ชุดที่ตรงกับแง่ที่ศึกษาในที่นี้ คือ ชุด สังขตธรรม และอสังขตธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมทั้งหลายทั้งปวง แยกประเภทได้เป็น ๒ อย่าง คือ *

๑. สังขตธรรม ธรรมที่ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่มีปัจจัย สภาวะที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สภาวะที่ปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันแต่งสรรค์ขึ้น สิ่งที่ปัจจัยประกอบเข้า หรือ สิ่งที่ปรากฏและเป็นไปตามเงือนไขของปัจจัย
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขาร ซึ่งมีรากศัพท์และคำแปลเหมือนกัน หมายถึง สภาวะทุกอย่าง ทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ทั้งที่ดี ที่ชั่ว และที่เป็นกลางๆ ทั้งหมด เว้นแต่นิพพาน

๒. อสังขตธรรม ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่ไม่มีปัจจัย หรือ สภาวะที่ไม่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของปัจจัย
เรียกอีกนัยหนึ่งว่า วิสังขาร ซึ่งแปลว่า สภาวะปลอดสังขาร หรือสภาวะที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หมายถึง นิพพาน

ที่อ้างอิง *
* ดู สงฺคณี อ.34/3/2 ; 702/277 ฯลฯ (สังขตธรรม มีคำจำกัดความแบบอภิธรรมนัยหนึ่ง ตามที่มาที่อ้างไว้ข้างต้นนั้นว่า ได้แก่ กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓, และรูปทั้งปวง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

โดยนัยนี้ จะเห็นว่า สังขาร คือ สังขตธรรม เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรม แต่ธรรมกินความหมายกว้างกว่า มีทั้งสังขาร และนอกเหนือจากสังขาร คือทั้งสังขตธรรม และอสังขตธรรม ทั้งสังขารและวิสังขาร หรือทั้งสังขารและนิพพาน
เมื่อนำเอาหลักนี้มาช่วยในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับไตรลักษณ์ จึงสามารถมองเห็นขอบเขตความหมายในหลักสองข้อต้นคือ อนิจจตาและทุกขตา ว่าต่างจากข้อสุดท้ายคืออนัตตตาอย่างไร โดยสรุปได้ ดังนี้

สังขาร คือ สังขตธรรมทั้งปวง ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ ตามหลักข้อ ๑ และข้อ ๒ แห่งไตรลักษณ์ (และเป็นอนัตตาด้วยตามหลักข้อ ๓) แต่อสังขตธรรม หรือวิสังขาร คือนิพพาน ไม่ขึ้นต่อภาวะเช่นนี้

ธรรมทั้งปวง คือ ทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม ทั้งสังขารและมิใช่สังขาร คือสภาวะทุกอย่างทั้งหมดทั้งสิ้น รวมทั้งนิพพาน เป็นอนัตตา คือไร้ตัว มิใช่ตน

อนัตตตาเท่านั้น เป็นลักษณะร่วมที่มีทั้งในสังขตธรรม และอสังขตธรรม
ส่วนอนิจจตา และทุกขตาเป็นลักษณะที่มีเฉพาะในสังขตธรรม ซึ่งทำให้ต่างจากอสังขตธรรม
ในพระบาลีบางแห่งจึงมีพุทธพจน์แสดงลักษณะของสังขตธรรม และอสังขตธรรมไว้ เรียกว่า สังขตลักษณะ และอสังขตลักษณะ ใจความว่า * (องฺ.ติก.20/486-7/192)

สังขตลักษณะ คือ เครื่องหมายที่ทำให้กำหนดรู้ หรือ เครื่องกำหนดหมายให้รู้ว่าเป็นสังขตะ (ว่าเป็นสภาวะที่มีปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันแต่งสรรค์ขึ้น) ของสังขตธรรม มี ๓ อย่าง คือ

๑. ความเกิดขึ้น ปรากฏ
๒. ความแตกดับหรือความสลาย ปรากฏ
๓. เมื่อดำรงอยู่ ความผันแปร ปรากฏ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วน อสังขตลักษณะ คือ เครื่องหมายที่ทำให้กำหนดรู้ หรือ เครื่องกำหนดหมายให้รู้ว่า เป็นอสังขตะ (ว่ามิใช่สภาวะที่มีปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันทำขึ้นแต่งขึ้น) ของอสังขตธรรม มี ๓ อย่าง คือ

๑. ไม่ปรากฏความเกิด
๒. ไม่ปรากฏความสลาย
๓. เมื่อดำรงอยู่ ไม่ปรากฏความผันแปร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความย้ำอีกครั้งหนึ่งให้ชัดขึ้นอีกว่า อสังขตธรรม หรือ วิสังขาร คือ นิพพาน พ้นจากภาวะไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ แต่ก็เป็นอนัตตา ไร้ตัว มิใช่ตน
ส่วนธรรมอื่นนอกจากนั้น คือ สังขาร หรือ สังขตธรรมทั้งหมด ทั้งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ดังความในบาลีแห่งวินัยปิฎกผูกเป็นคาถายืนยันไว้ว่า

"สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขตธรรม ทั้งปวงเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีอยู่ดังนี้" * (วินย.8/826/224)

ที่อ้างอิง *

* ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา พึงอ้างหลักฐานเช่น "อมตบท (นิพพาน) ว่างจากอัตตา" (อตฺตสุญญมตปทํ ;วิสุทฺธิ.3/102) "นิพพานธรรมชื่อว่าว่างจากอัตตา เพราะไม่มีตัวตนนั่นเอง" (นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ, ปฏิสํ.อ.2/356)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราจะแยกได้อย่างไร ว่า ไหนเป็นสังขารในขันธ์ ๕ ไหนเป็นสังขารในไตรลักษณ์

๒ สังขารในขันธ์ ๕ กับ สังขารในไตรลักษณ์

ในภาษาไทย มีตัวอย่างมากมายที่คำพูด หรือคำศัพท์เดียวกัน แต่มีความหมายต่างกันหลายอย่าง ที่ต่างกันเล็กน้อย ยังมีเค้าความหรือลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงหรือพอเทียบเคียงกันได้ก็มี ที่ต่างกันห่างไกลจนไม่มีอะไรเทียบหรือโยงถึงกันเลย ก็มี เช่น
"กลอน" หมายถึงคำประพันธ์ประเภทหนึ่งก็ได้ หมายถึง ไม้ขัด หรือ ลูกสลักประตูหน้าต่าง ก็ได้ ลูกตุ้มที่ใช้เป็นอาวุธ ก็ได้

"เขา" ที่หมายถึงเนินอันสูงขึ้นไปบนพื้นดิน และ "เขา" ที่หมายถึงส่วนของกายมีลักษณะแข็ง ที่งอกออกมาจากหัวสัตว์บางพวก กล่าวได้ว่ามีลักษณะคล้ายกันอยู่บ้าง "เขา" ที่เป็นสรรพนามบุรุษที่สาม กับ "เขา" ที่เป็นชื่อนกพวกหนึ่ง คงพูดได้ยากว่ามีอะไรใกล้เคียงหรือเทียบคล้ายกันได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่เข้าใจความหมายนัยต่างๆ ของถ้อยคำดีแล้ว และได้ยินได้ฟังได้ใช้อยู่จนเคยชิน เมือพบคำเช่นนั้น ที่มีผู้ใช้พูดใช้เขียนในข้อความต่างๆ ตามปกติจะแยกได้ไม่ยากว่า คำนั้น ที่ใช้ในข้อความนั้น มีความหมายอย่างไร โดยมากจะเข้าใจได้ทันที ตัวอย่างเช่น
"จะเย็บผ้าได้ ก็ต้องใช้เข็ม จะสร้างบ้านใหญ่ ท่านให้ลงเข็ม"
"เขาขึ้นเขาตามล่ากวางเพื่อเอาเขา"
"หญิงชราไปในเรือเดินทะเล พอได้ยินว่า จะพบลมใหญ่ ก็จะเป็นลม"
"เขาหักพวงมาลัยหลบเด็กขายพวงมาลัย"
"อย่าทำล้อเล่น รถนี้มีแค่สองล้อ"
"พอหนังจบ เขาก็รีบคว้ากระเป๋าหนังรุดไปทำงาน"
"ตายังตาดี แต่ฟันไม่ดี"
"กาน้ำนั้นหากินในน้ำ กาน้ำนี้คนขายกาแฟใช้หากิน"
"เพราะเสียดสี จึงเสียสี" "ร่วงโรจไม่ร่วงโรย" ดังนี้ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในภาษาบาลีก็เช่นเดียวกัน มีศัพท์มากมายที่มีความหมายหลายนัย ผู้ได้เล่าเรียนดีแล้ว แม้พบศัพท์เหล่านี้ที่ใช้ในความหมายหลายอย่างปะปนกันอยู่ ก็สามารถจับแยกและเข้าใจได้ทันที แต่ผู้ไม่คุ้นเคย หรือผู้แรกศึกษาอาจสับสนงุนงง หรือถึงกับเข้าใจผิดได้


ตัวอย่างคำจำพวกนี้ ที่มาจากภาษาบาลี เช่น

"นาค" อาจหมายถึงสัตว์คล้ายงูแต่ตัวใหญ่มาก ก็ได้ หมายถึงช้างใหญ่เจนศึกก็ได้ หมายถึงบุคคลผู้ประเสริฐ ก็ได้
"นิมิต" ในทางพระวินัย หมายถึง วัตถุที่เป็นเครื่องหมายเขตที่ประชุมสงฆ์บ้าง หมายถึง อาการแสวงหาลาภในทางที่ผิดด้วยวิธีขอเขาแบบเชิญชวนโดยนัย บ้าง แต่ในทางธรรมปฏิบัติ หมายถึง ภาพที่เห็นในใจการเจริญกรรมฐาน
"นิกาย" หมายถึง หมวดตอนในพระไตรปิฎกส่วนพระสูตร ก็ได้ หมายถึง คณะนักบวช หรือกลุ่มศาสนิกที่แบ่งกันเป็นพวกๆก็ได้
"ปัจจัย" ในทางพระวินัย หมายถึง เครื่องอาศัยของชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ...แต่ในทางธรรม หมายถึง เหตุ (เหตุปัจจัย) หรือเครื่องสนับสนุนให้ธรรมอื่นเกิดขึ้น

ขอให้พิจารณาความหมายของคำศัพท์เดียวกัน ที่ต่างนัยกันออกไป เมื่อใช้ในข้อความต่างๆ ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้

"ภิกษุรู้รสด้วยลิ้น อร่อยก็ตาม ไม่อร่อยก็ตาม เธอไม่ปล่อยให้ความติดใจ หรือความขัดใจเข้าครอบงำจิต ภิกษุนี้ ชื่อว่าสำรวมอินทรีย์ คือลิ้น"

"อินทรีย์คือศรัทธา มีการยังธรรมทั้งหลายที่ประกอบอยู่ด้วยให้เข้าถึงภาวะผ่องใสเป็นรส ประดุจดังสารส้ม หรือมีการวิ่งแล่นไปหาอารมณ์เป็นรส ภิกษุพึงเจริญอินทรีย์คือศรัทธานั้น"

คำว่า รส ก็ดี อินทรีย์ ก็ดี ในข้อความ ๒ ท่อนนี้ มีความหมายต่างกัน
ในข้อความแรก รส หมายถึง สิ่งที่รู้ด้วยลิ้น หรือ สิ่งที่เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ
อินทรีย์ หมายถึง สิ่งที่เป็นเจ้าการในการรับรู้อารมณ์ กล่าวคืออายตนะภายใน
ส่วนข้อความหลัง รส หมายถึงกิจ หรือหน้าที่
อินทรีย์ หมายถึงกุศลธรรมที่เป็นเจ้าการในการกำราบอกุศลธรรมที่เป็นปฏิปักษ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ภิกษุพึงกระทำโยคะ เพื่อบรรลุธรรมเป็นที่ปลอดภัยจากโยคะ"

โยคะ คำต้น หมายถึงการประกอบความเพียรในการเจริญภาวนา คือ ฝึกฝนพัฒนาจิตปัญญา
โยคะ คำหลัง หมายถึง ธรรม คือ กิเลสที่ประกอบ คือ เทียมหรือผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในภพ

"ปุถุชน มองเห็นรูปบ้าง เวทนาบ้าง สัญญาบ้าง สังขารบ้าง วิญญาณบ้าง ว่าเป็นตน แต่ขันธ์ทั้ง ๕ นั้น จะเป็นตนหาได้ไม่ เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัว มิใช่ตนทั้งสิ้น"

สังขาร คำแรก หมายถึงเพียงขันธ์หนึ่งในบรรดาขันธ์ ๕ แต่สังขารคำหลัง ครอบคลุมความหมายของสังขตธรรมทั้งหมดที่เป็นไปตามไตรลักษณ์

คำเกี่ยวข้องที่ต้องการอธิบายในที่นี้ คือ "สังขาร" แต่ที่ได้ยกตัวอย่างคำอื่นๆ มาแสดงไว้มากมาย และได้บรรยายมาอย่างยืดยาว ก็เพื่อให้เห็นว่า คำพูดในภาษาไทยก็ตาม ในภาษาบาลีก็ตาม ที่เป็นคำเดียวกัน แต่มีความต่างกันเป็นสองอย่างบ้าง หลายอย่างบ้าง กว้างแคบกว่ากันบ้าง เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกันบ้าง ตลอดจนตรงข้ามกันก็มีนั้น มีอยู่มากมายและเป็นของสามัญ

เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว มาเห็นคำว่า สังขาร ที่ท่านใช้ในความหมายต่างๆ หลายนัย ก็จะไม่เห็นเป็นของแปลก และจะเข้าใจมองเห็นตามได้ง่าย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า “สังขาร” นั้น มีที่ใช้ในความหมายต่างๆ กันไม่น้อย กว่า ๔ นัย

แต่เฉพาะที่ต้องการให้เข้าใจในที่นี้ มี ๒ นัย คือ สังขารที่เป็นข้อหนึ่งในขันธ์ ๕ กับ สังขารที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ เพราะสังขาร ๒ นัยนี้มาในหลักธรรมสำคัญ กล่าวอ้างกันบ่อย และความหมายคล้ายจะซ้อนกันอยู่ ทำให้ผู้ศึกษา สับสนได้ง่าย อีกทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมที่กำลังอธิบาย อยู่โดยตรง เบื้องแรกขอยกคำมาดูให้เห็นชัด

๑. สังขาร ในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

๒. สังขาร ในไตรลักษณ์ สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำความหมายทั้ง ๒ นั้น มาทบทวน โดยเข้าคู่เทียบให้เปรียบกันดู ดังนี้

๑. สังขาร ซึ่งเป็นข้อที่ ๔ ในขันธ์ ๕ หมายถึงสภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกายวาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นตัวการของการทำกรรม เรียก ง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ เป็นต้น (คัมภีร์อภิธรรมจำแนกไว้ ๕๐ อย่าง เรียก ว่า เจตสิก ๕๐ ในจำนวนทั้ง ๕๒) ซึ่งทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นนามธรรม มีอยู่ในใจทั้งสิ้น นอกเหนือจาก เวทนา สัญญา และวิญญาณ


๒. สังขาร ที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นทุกอย่าง ประดามี ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมก็ตาม เป็นด้านร่างกาย หรือ จิตใจก็ตาม มีชีวิต หรือไร้ชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจ หรือเป็นวัตถุก็ตาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม คือทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่นิพพาน

จะเห็นว่า “สังขาร” ในขันธ์ ๕ มีความหมายแคบกว่าสังขารในไตรลักษณ์หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์นั่นเอง ความต่างกัน และแคบกว่ากันนี้ เห็นได้ชัดทั้งโดยความหมายของศัพท์ (สัททัตถะ) และโดยองค์ธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังมีต่อ แต่เท่าที่ยกหลักมาให้ดูแล้วนั้น ผู้ที่มีพื้นฐานทางธรรมอ่านดูแล้วร้องอ๋อเลย คือ เห็นความต่างกันระหว่างสังขารทั้งสอง (สังขารในขันธ์ ๕ กับ สังขารในไตรลักษณ์) นั่นเลย ถ้ายังไม่เข้าใจยังไม่อ๋อ ควรกลับขึ้นไล่ๆดูทำความเข้าใจมาใหม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2019, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ก. โดยความหมายของศัพท์: "สังขาร" ในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ตัวปรุงแต่งจิตใจ และการกระทำ ให้มีคุณภาพต่างๆ เครื่องปรุงของจิต หรือแปลกันง่ายๆ ว่า ความคิดปรุงแต่ง

ส่วน "สังขาร" ในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ ถูกปัจจัยของมันปรุงแต่งขึ้นมา แปลง่ายๆ ว่า สิ่งที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งปรุงแต่งหรือของปรุงแต่ง


นอกจากความหมายจะต่างกันอย่างที่พอสังเกตเห็นได้อย่างนี้แล้ว ความหมายนั้น ยังแคบกว่ากันด้วย กล่าวคือ

สภาวะที่ปรุงแต่งจิต เครื่องปรุงของจิต หรือความคิดปรุงแต่ง (สังขารในขันธ์ ๕ ) นั้น ตัวของมันเอง ก็เป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง เป็นสิ่งปรุงแต่ง หรือเป็นของปรุงแต่ง เพราะเกิดจากปัจจัยอย่างอื่นปรุงแต่งขึ้นมาอีกต่อหนึ่ง ทยอยกันไปเป็นทอดๆ จึงไม่พ้นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในความหมายอย่างหลัง (สังขารในไตรลักษณ์) คือ เป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง หรือ เป็นของปรุงแต่งนั่นเอง "สังขาร" ในขันธ์ ๕ จึงกินความหมายแคบกว่า เป็นเพียงส่วนหนึ่ง
ส่วน "สังขาร" ในไตรลักษณ์กินความหมายครอบคลุมทั้งหมด

ข. โดยองค์ธรรม: ถ้าแบ่งธรรมหรือสิ่งต่างๆ ออกเป็น ๒ อย่างคือ รูปธรรม กับ นามธรรม และแบ่งนามธรรมซอยออกไปอีกเป็น ๔ อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จะเห็นว่า "สังขาร" ในขันธ์ ๕ เป็นนามธรรมอย่างเดียว และเป็นเพียงส่วนหนึ่งในสี่ส่วนของนามธรรมเท่านั้น แต่ "สังขาร" ในไตรลักษณ์ ครอบคลุมทั้งรูปธรรม และนามธรรม
อนึ่ง รูปธรรม และนามธรรม ที่กล่าวถึงนี้ เมื่อแยกออกไปก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง

จะเห็นว่า สังขาร ในขันธ์ ๕ เป็นเพียงขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕ (เป็นลำดับที่สี่)

แต่สังขารในไตรลักษณ์ ครอบคลุมขันธ์ ๕ ทั้งหมด กล่าวคือ สังขาร (ในขันธ์ ๕) เป็นสังขารอย่างหนึ่ง (ในไตรลักษณ์) เช่นเดียวกับขันธ์อื่นๆ ทั้งสี่ขันธ์


นอกจากนั้น ธรรม หรือสิ่งต่างๆ ที่นำมาแบ่งในที่นี้ ก็คือสังขตธรรม ซึ่งก็เป็นไวพจน์ คือ อีกชื่อหนึ่งของสังขาร (ในไตรลักษณ์) นั่นเอง จะเห็นชัดเจนว่า สังขาร (ในขันธ์ ๕) เป็นเพียงส่วนย่อยอย่างหนึ่งฝ่ายนามธรรมที่รวมอยู่ด้วยกันทั้งหมดภายในสังขาร (ในไตรลักษณ์) เท่านั้นเอง

เพื่อกันความสับสน บางทีท่านใช้คำว่า "สังขารขันธ์" สำหรับคำว่าสังขารในขันธ์ ๕ ที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในนามธรรม และใช้คำว่า สังขารที่เป็นสังขตธรรม หรือ "สังขตสังขาร" หรือ "สังขาร" เดี่ยวๆ สำหรับสังขารในไตรลักษณ์ที่มีความหมายครอบคลุมทั้งรูปธรรมและนามธรรม หรือขันธ์ ๕ ทั้งหมด

การที่ข้อธรรม ๒ อย่างนี้ มาลงเป็นคำศัพท์เดียวกันว่า "สังขาร" ก็เพราะมีความหมายเหมือนกันว่า "ปรุงแต่ง"
แต่มาต่างกันตรงที่ว่า อย่างแรกเป็น "ความคิดปรุงแต่ง" อย่างหลังเป็น "สิ่งปรุงแต่ง หรือของปรุงแต่ง"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 138 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร