วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 13:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2019, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าทีของพุทธศาสนา ต่อเรื่องนรก - สวรรค์

ทีนี้ พูดถึงการวางท่าที ซึ่งเป็นหัวข้อที่สอง การวางท่าทีเป็นหัวข้อที่บอกแล้วว่าสำคัญ

การวางท่าทีสำคัญกว่าความมีจริงหรือไม่ ? ตอบได้ว่า สำคัญกว่าแง่ที่พูดถึงนรก -สวรรค์หลังตาย แต่มันจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนรก - สวรรค์ระดับที่สาม เพราะการวางท่าทีว่าเราจะปฏิบัติอย่างไร จะสอดคล้องกับสิ่งที่ปฏิบัติได้ ซึ่งอยู่ในระดับที่สามหรือรองลงไป ก็ระดับที่สอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2019, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑) มีศรัทธา

ขอย้อนหลังหน่อย เมื่อพูดถึงท่าที ก็ต้องย้อนมาตั้งแต่ระดับที่หนึ่ง คือ นรก - สวรรค์หลังจากตายแล้ว ที่เป็นแหล่งเป็นโลกเป็นภพ ซึ่งเราจะไปรับผลกรรม หรือ พูดตามแบบศาสนาที่มีเทพเจ้าสูงสุดว่า จะไปรับโทษ รับรางวัล

นรก - สวรรค์ระดับนี้ ได้บอกแล้วว่า เป็นเรื่องที่เราคนสามัญไม่อาจพิสูจน์ได้ ไม่ว่าในทางลบหรือทางบวก เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ ก็ต้องขึ้นกับศรัทธา ว่าอันนี้ถ้าทางศาสนาสอนไว้ จะเชื่อไหม ? อยู่ที่นี่เท่านั้นเอง

ส่วนในทางพุทธศาสนานั้น ก็บอกว่าให้เชื่ออย่างมีเหตุผลสำหรับสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ ในเมื่อจะต้องเอาทางศรัทธา ก็ต้องให้ได้หลักก่อน

ศรัทธา คือ การไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น หรือพูดใแง่หนึ่งคือ เราฝากปัญญาไว้กับคนอื่น หมายความว่า เราไม่รู้ไม่เห็นด้วยตนเอง จึงไปยอมรับความรู้ของคนอื่น ไว้วางใจในความรู้ของเขา เขาบอกว่าตรงนั้นมีของอย่างนั้นๆ เราจะเชื่อไหม ถ้าเราไว้ใจในความรู้ของเขา เราก็เชื่อ เราก็ฝากปัญญาไว้กับเขา

แต่ถ้าเมื่อใดเรารู้เห็นด้วยตนเอง เราไม่ต้องฝากปัญญาไว้กับผู้อื่น เราก็ไม่ต้องเชื่อใคร แต่เราต้องรู้เห็นจริงๆ ซึ่งเลยขั้นศรัทธา

ตอนนี้ เรื่องนรก - สวรรค์ เรายังไม่รู้เห็นด้วยตนเอง ก็มีปัญหาว่า เราจะยอมฝากปัญญาไว้กับผู้อื่นไหม ? ทีนี้คนที่เราจะฝากปัญญาไว้ เราก็ต้องคิดว่าน่าเชื่อหรือไม่ ถ้าจะเชื่อ เราก็ต้องดูภาวะแวดล้อม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2019, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยมาก คนเราจะอาศัยสิ่งต่อไปนี้เป็นเครื่องช่วยชักจูง ให้มอบความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น คือ

๑. ด้านที่หนึ่ง ดูที่ปัญญา คือ มองดูว่า ตามปกติคนผู้นี้เป็นคนมีความรู้ มีปัญญาจริงไหม ? คำสั่งสอนของศาสนานี้ เช่น อย่างพุทธศาสนา ก็คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่สอนหลักธรรมโดยทั่วไปนี่ มีเหตุผลไหม ? เป็นความจริงไหม ?

ถ้าเห็นว่าคำสอนของท่านเท่าที่เรารู้และเข้าใจได้ คือเท่าที่ปัญญาของเราจะหยั่งถึงได้ และเท่าที่เราผ่านมา ล้วนเป็นความจริงทั้งนั้น ก็ทำให้พลอยเชื่อสิ่งที่เรายังไม่รู้ไม่เห็นด้วยตนเอง

เราคิดว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสมานั้น เท่าที่เรามองเห็นได้ก็เป็นความจริง เราจึงเห็นว่าพระองค์มีปัญญาพอที่เราจะฝากปัญญาของเราไว้กับท่านได้ เราจึงเกิดศรัทธาขึ้น เป็นขั้นที่หนึ่ง

๒. ด้านที่สอง ดูที่เจตนา ซึ่งเป็นความปรารถนาดี อันนี้เป็นเหตุแห่งความไว้วางใจอีกด้านหนึ่ง ถ้าคนเขามีปัญญา แต่เขาไม่หวังดี เขาอาจจะหลอกเรา แต่ถ้าเขาต้องการช่วยเหลือเรา เขามีแต่เมตตา ปรารถนาดีต่อเราอย่างจริงใจ เราก็ศรัทธาได้เพราะน่าไว้ใจ

เพราะฉะนั้น เรื่องของศรัทธา หลักใหญ่ก็อยู่ที่ว่า บุคคลผู้นั้น

๑. มีความรู้จริง มีปัญญาจริง สมควรเชื่อไหม ?

๒. มีเจตนาของผู้ปรารถนาดี มีเมตตากรุณา จริงไหม ?

การที่จะมีเมตตากรุณาและจริงใจหรือไม่ ก็อยู่ที่เหตุปัจจัยประกอบ เช่นว่า ท่านมีเบื้องหลังที่จะหวังได้อะไรจากเราไหม ? ถ้าจะหลอกเรา จะหลอกเราไปทำไม หรือตามปกติท่านเป็นผู้มีความประพฤติบริสุทธิ์ไหม ? ที่จะทำให้เราเห็นว่าเป็นผู้มีความหวังดีปรารถนาดีต่อเราอย่างแท้จริง

เหมือนอย่างพ่อแม่ เมื่อเราเป็นเด็กๆ ยังมีความรู้ไม่พอ ยังเล็กอยู่ เราก็ต้องทำอะไรๆ โดยอาศัยความเชื่อเท่านั้น โดยเฉพาะพ่อแม่เป็นผู้หวังดี เราเกิดความไว้วางใจ เราก็เชื่อ โดยเป็นไปเอง

เราอยู่ในโลก เราอยู่ด้วยความเชื่อมากมาย เรานั่งรถยนต์โดยสารมา เราไม่เคยพิสูจน์เครื่องยนต์ว่ามันเรียบร้อยหรือไม่ เราเคยไปพิสูจน์ทุกอย่างไหม มันวิ่งๆ ไป เครื่องอุปกรณ์หรือส่วนประกอบอาจหลุดได้

เวลานี้ เรานั่งกันอยู่บนกุฎิ เอ เสากุฎินี่เขาหล่อไว้ดีหรือเปล่า เรายังไม่ได้ตรวจเลย คานไม้ที่ทำไว้อยู่ในที่ถูกต้องมั่นคงหรือเปล่า เกิดนั่งๆ อยู่มันหล่นลงมาก็หมดน่ะสิ อะไรอย่างนี้

มนุษย์เราอยู่ด้วยความไว้วางใจ ต้องอาศัยศรัทธา โดยบางทีไม่รู้ตัวเลย มันเป็นไปเองในชีวิตประจำวัน ทั้งที่ความจริงเราไม่ได้พิสูจน์ เราไม่ได้รู้เห็นอะไรทุกอย่าง เราเห็นว่าเขาไม่ได้มาหลอกลวงอะไรเรา เพียงแค่นี้เราก็เชื่อในขั้นพื้นฐานไปเสียแล้ว

สำหรับในทางพุทธศาสนา ก็เป็นอันมาพิจารณากันว่า

๑. พระพุทธเจ้าเป็นผู้มีปัญญามาก เท่าที่แสดงออกเป็นคำสั่งสอนต่างๆนั้นเป็นจริง มีเหตุผลน่าเชื่อไหม ?

๒. พระองค์มีความปรารถนาดี มีเมตตากรุณา สอนเราโดยบริสุทธิ์พระทัย ต้องการให้เราได้รับประโยชน์ใช่ไหม ?

ถ้าหากเรามั่นใจในพระองค์โดยเหตุผลทั้งสองประการ เราก็โน้มไปข้างมีศรัทธา หรือมีศรัทธาได้

พระองค์สอนเรื่องนรก - สวรรค์ว่าชาติหน้ามีจริงหรือเปล่า ถ้าเรามีศรัทธา เราก็น้อมไปทางที่จะเชื่อตามที่มีหลักฐานว่าพระองค์ได้ตรัสไว้ เรื่องก็เป็นอย่างนั้น

เป็นอันว่า นรก - สวรรค์ขั้นนี้ อยู่ที่ศรัทธา

แต่ทั้งนี้ พึงทำความเข้าใจกันไว้ก่อนว่า ในที่นี้ มุ่งเอาศรัทธาในความหมายแบบพุทธ คือ ศรัทธาหมายถึง เมื่อมีมูลฐานดังที่ว่ามานั้นแล้ว ก็รับไว้ศึกษา เพื่อให้รู้จริงด้วยปัญญาต่อไป (ศรัทธาเพื่อปัญญา ไม่ใช่ศรัทธาปิดปัญญา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2019, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒) พิจารณาเหตุผล

แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า จะเชื่อหรือไม่ ก็ไม่เป็นไร ไม่ได้ถือเป็นเรื่องที่ต้องเชื่อ ในพุทธศาสนาไม่มีการบังคับ

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพบกับคนที่ยังไม่เชื่อ ไม่มีศรัทธา พระองค์ก็ทรงสอนให้มีท่าทีอย่างที่สอง คือ ท่าทีในกรณีที่ยังไม่รู้ด้วยตนเอง และยังรู้ไม่พอที่จะมั่นใจ เช่น ที่ตรัสในกาลามสูตร

เรื่องมีว่า พระพุทธเจ้าทรงพบกับกาลามชน พวกนี้ยังไม่นับถือลัทธิศาสนาไหนทั้งนั้น แต่ได้พบกับพวกเจ้าลัทธิต่างๆ ที่ผ่านไปมา เขาก็ถามปัญหา พวกเจ้าลัทธิเหล่านั้นซึ่งสอนต่างๆกันไป ต่างก็ว่าของตนจริง ของพวกอื่นเหลวไหล เลยไม่รู้่จะเชื่อใคร

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมาในถื่นของเขา คนพวกนี้ก็ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ พระพุทธเจ้าตรัสว่า อย่าให้ว่าเลย ใครจริงใครเท็จ ไม่ต้องพูด ยังไม่ต้องตัดสิน

จากนั้น พระองค์ตรัสวิธีวางท่าทีเชิงเป็นกลางไว้ก่อน (ยังไม่รู้แน่ ก็แค่รับฟังไว้ แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธ) ว่า อย่าเชื่อเพียงเพราะได้ยินได้ฟังตามกันมา หรือเรียนต่อกันมา อย่าเชื่อเพียงเพราะข่าวเล่าลือ อย่าเชื่อเพียงเพราะมีเขียนในตำรา หรือเพียงเพราะเห็นว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา ฯลฯ พระองค์ตรัสหลักกาลามสูตร ที่มี ๑๐ ข้อ ให้เราพิจารณาด้วยตนเอง

ตอนท้ายพระองค์ตรัสยกตัวอย่าง ซึ่งมาเข้าเรื่องนรก - สวรรค์ และกรรมดี - กรรมชั่ว กุศล - อกุศล

ทรงสอนให้พิจารณาในปัจจุบันนี้ว่า สิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เป็นกุศล ทำแล้วมันเกื้อกูลแก่ชีวิตของตนเอง มันดีต่อตัวเราไหม ดีต่อผู้อื่นไหม เป็นผลดีต่อทั้งสองฝ่ายใช่ไหม

ที่ว่าเป็นอกุศล มันดีต่อชีวิตจิตใจของเราไหม ดีต่อผู้อื่นไหม เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นไหม บางทีดีต่อเรา แต่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น หรือมันดีเพียงว่าเราเห็นในชั่วสายตามองสั้นๆ แคบๆ แต่ที่จริงเป็นผลร้ายแก่ตัวเราเอง เราพิจารณารอบคอบหรือยัง

เมื่อพิจารณาแล้ว มองเห็นว่าา สิ่งที่เป็นกุศลดีงาม ก็คือเป็นประโยชน์ต่อชีวิต เกื้อกูลอย่างแท้จริงแก่ชีวิตจิตใจของเราเองระยะยาว และแก่ผู้อื่น แก่สังคม ส่วนอกุศลนั้นตรงข้าม ไม่เกื้อกูล

เมื่อพิจารณามองเห็นอย่างนี้แล้ว ถามว่าอย่างไหนควรทำ อย่างไหนควรเว้น ก็เห็นว่ากุศล คือ สิ่งที่ทำโดยมิใช่เพราะโลภ โกรธ หลง เกิดจากใจที่มีเมตตา เผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีปัญญา แบบนี้ดีกว่า ควรจะทำ นี้ว่ากันให้เห็นในปัจจุบันนี้เลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2019, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระองค์ตรัสต่อไปว่า ถ้าเราทำดี บังเกิดผลดี เป็นสิ่งที่เกื้อกูลในปัจจุบันแล้ว หากว่าสวรรค์ - นรกมีจริง เราก็ไม่ต้องไปตกนรก เราจะไปสวรรค์ ก็เป็นกำไรเพิ่มเติมขึ้น ถ้าสวรรค์ - นรก ไม่มี เราก็ได้ผลดีไปขั้นหนึ่งแล้ว ส่วนในขั้นที่สอง เราก็ปลอดภัย ไม่มีเสีย

แต่ถ้าเป็นฝ่ายอกุศล เกิดจากโลภ โกรธ หลง ในปัจจุบันนี้ มันก็ไม่เกื้อกูลแก่จิตใจ และเป็นการเบียดเบียน ไม่เกื้อกูลแก่สังคม นี่คือผลเสียเกิดขึ้นตั้งแต่ชาตินี้แล้ว ทีนี้ เมื่อตายไป ถ้านรก - สวรรค์มีจริง เราก็ไม่ได้ไปสวรรค์ แต่ไปนรกแน่ ก็เป็นอันว่าเสียทั้งสองด้าน ถ้านรก - สวรรค์ไม่มี ปัจจุบันนี้ก็เสียไปแล้ว ไม่ได้เลยสักขั้น

เพราะฉะนั้น ก็เป็นอันสรุปในแง่นี้ได้ว่า ถึงแม้ไม่ต้องใช้ศรัทธา เอาตามเหตุผล ก็ควรทำกรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว นี้เป็นแนวกาลามสูตร ซึ่งเป็นการวางท่าทีในขั้นปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓) มั่นใจตน - ไม่อ้อนวอน

เลยจากนี้ไปอีกขั้นหนึ่ง พุทธศาสนาแสดงหลักนรก - สวรรค์อะไรต่างๆไว้เพื่อมุ่งประสงค์อะไร อย่างที่บอกไว้เมื่อกี้ว่า ท่าทีสำคัญกว่าจะมัวรอพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่

เคยพูดข้างต้นแล้วว่า ในกรณีที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงผลของการทำความดีความชั่ว พระองค์ตรัสว่า การทำชั่วนั้นมีผลต่อไปนี้ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า โดยระบุผลหลายข้อที่มีในชาตินี้ก่อน ส่วนผลชาติหน้าที่ตามมาหลังจากตาย เอาไว้เป็นข้อสุดท้าย แม้ผลดีก็เช่นกัน อันนี้ ก็ส่อไปถึงลักษณะของการที่เราจะวางท่าที

เรื่องนี้ ขออธิบายว่า ในการที่พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนรก - สวรรค์นั้น ทรงแสดงว่า ผลอะไรต่างๆ ย่อมเป็นไปตามเหตุ หลักพระพุทธศาสนาถือเรื่องกรรม ซึ่งเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย เป็นกฎธรรมของธรรมชาติ เมื่อมันเป็นไปตามกฎธรรมดา ก็เป็นเรื่องของการที่เรารู้เท่านั้น เราไม่ต้องไปวิงวอนให้ผลอย่างนั้นเกิด

ในเมื่อมันเป็นกฎ ผลเกิดจากเหตุ เมื่อเหตุเป็นอย่างนี้แล้ว ผลอย่างนั้นๆก็เกิดเอง เราไม่ต้องอ้อนวอนว่าฉันทำเหตุนี้แล้ว ขอให้ผลนั้นเกิดขึ้นเถิด เพราะว่า ถึงจะอ้อนวอนอย่างไร มันก็ไม่เป็นไปตามคำอ้อนวอน แต่มันเป็นไปตามเหตุที่ทำ

เมื่อทำกรรมดี ผลดีที่เกิดก็เป็นไปตามหลักกรรม มันเป็นไปตามกฎธรรมดา ไม่เป็นไปตามคำอ้อนวอนของเรา

เพราะฉะนั้น การที่พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องผลดีผลร้ายต่างๆ จนถึงว่าตายแล้วไปตกนรก หรือขึ้นสวรรค์นี่ เป็นการตรัสในแง่กฎธรรมดา คือ เป็นเรื่องความรู้ ไม่ใช่เป็นคำสั่ง ไม่ใช่คำบงการบัญชาหรือบอกใบ้ให้เราต้องไปขอร้องอ้อนวอนอะไรอีก แต่เป็นการย้ำความรู้ที่จะมั่นใจว่า เมื่อทำอย่างนี้ ผลอย่างนั้นจะเกิดขึ้น
ในทางตรงข้าม ถ้ามีคนที่คอยให้รางวัลและลงโทษให้เป็นไปตามนั้น เราจึงจะจำเป็นต้องยึดถือจำเอาไว้ เพื่อจะได้อ้อนวอน เพราะเดี๋ยวทำดีไปแล้ว ไม่เอาใจท่าน อาจจะไม่ได้ไปสวรรค์


แต่ในทางพุทธศาสนา คนที่ทำดี ไม่ต้องอ้อนวอนขอไปสวรรค์ เพราะมันเป็นไปตามกฎธรรมดา เพียงแต่รู้ไว้และมั่นใจเท่านั้น ถึงเราไม่รู้ ถึงท่านไม่บอก มันก็เป็นอย่างนั้น แต่รู้แล้วเราจะได้ปฏิบัติตัวเองถูก และมั่นใจ นี่ต้องวางท่าทีให้ถูกต้อง
พุทธศาสนิกชนมีความรู้ไว้สำหรับให้เกิดความมั่นใจตนเอง เรารู้แล้วว่าทำกรรมดี จะเกิดผลดี พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เราก็มั่นใจว่า ถ้าทำกรรมดีแล้ว ผลดีจะเกิดขึ้น ไม่ต้องใช้วิธีอ้อนวอน นี่คือการวางท่าทีอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา

เราเอาเวลาที่จะอ้อนวอนไปใช้ในการพิจารณาสิ่งที่ทำว่าทำดีรอบคอบ ทำเหตุปัจจัยครบถ้วนไหม เป็นประโยชน์ทั้งบัดนี้ และเบื้องหน้าไหม เกื้อกูลแก่ชีวิต แก่สังคมแค่ไหม แทนที่จะเอาเวลาไปใช้อ้อนวอนขอผล ก็มั่นใจได้ว่าผลจะมาตามเหตุของมันเอง นี่เป็นท่าทีระดับที่สาม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔) ไม่งอนง้อผลตอบแทน

ต่อจากระดับที่สามนี้แล้ว ยังมีขั้นสูงขึ้นไปอีก ซึ่งเราจะมองเห็นว่า ถึงอย่างไรก็ตาม เรื่องนรก - สวรรค์ก็ยังมีส่วนเหมือนเป็นผลตอบแทน นรกเป็นผลร้าย เปรียบเทียบเหมือนเป็นการลงโทษสำหรับกรรมชั่ว และสวรรค์เป็นผลตอบแทนของกรรมดี


ทีนี้ ถ้าเรายังทำกรรมดีและเว้นกรรมชั่วโดยหวังผลอยู่นี่ เราก็ยังไม่พัฒนา ยังไม่เป็นอารยชนตามหลักพระพุทธศาสนา ควรทราบว่า พระพุทธศาสนาสอนต่อไปอีกระหนึ่งว่า ถ้าเรายังทำกรรมดีเพราะหวังผลอยู่ ก็เรียกว่า เป็นโลกียปุถุชน เป็นปุถุชนที่ยังมีกิเลสหนา คนของพระพุทธศาสนาแท้จริง ต้องเป็นอริยสาวก


อริยสาวก คือ อย่างไร อริยสาวกเป็นคนที่ทำความดีโดยไม่ต้องห่วงผล เพราะเรื่องผลดีผลร้ายนั้น มันเป็นไปตามกฎธรรมดาของมันเอง เรารู้แล้ว เราย่อมมีความมั่นใจในตัวเอง แต่เมื่อปฏิบัติให้สูงไปกว่านั้น ก็คือไม่ต้องหวังผลเลย เราทำความดีเพื่อให้สิ่งที่ดีงามเกิดขึ้น สิ่งที่ดีงามคืออะไร คือ สิ่งที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจของเราตั้งแต่ปัจจุบัน และมีผลดีที่เกิดแก่สังคมแก่ผู้อื่น

เราทำดี เพราะต้องการให้ธรรม คือ ความดีงามเกิดขึ้นในโลก อย่างนี้ หมายความว่า มีความรักธรรม รักความดีงาม รักสิ่งที่ถูกต้อง ถ้าทำได้ถึงขั้นนี้ ก็เป็นขั้นดำเนินตามอริยสาวกแล้ว คือ เลยจากขั้นหวังผลหวังตอบแทน ซึ่งเป็นขั้นโลกียปุถุชน


พระพุทธศาสนาต้องการให้เราก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง คือ ขั้นสูงที่เป็นเรื่องของธรรมแท้ๆ นี่ ซึ่งเป็นขั้นอริยสาวก ให้มีจิตใจของคนที่อยู่ในขั้นอริยสาวก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงตอนนี้ก็มาเข้าสู่นรก - สวรรค์ระดับที่สาม เมื่อกี้เราพูดถึงนรก - สวรรค์ระดับที่สาม ซึ่งมีอยู่ตลอดเวลาที่เราปรุงแต่ง ดังนั้น ท่าทีที่มีต่อนรก - สวรรค์ กับความมีอยู่ของนรก - สวรรค์ในขั้นสุดท้าย ก็มารับกัน คือ ผลที่สุดก็มาอยู่ที่ปัจจุบันเป็นสำคัญ


ถึงขั้นนี่ ก็จะให้ความรู้สึกแก่เราอย่างหนึ่งว่า ในขั้นสูงสุดที่แท้จริงแล้ว ชาวพุทธจะก้าวไปสู่การทำความดี โดยรักธรรม รักความดีงาม รักสิ่งที่เป็นกุศลนั้นเอง


มนุษย์เรานั้น ทุกคน ถ้าว่าด้วยใจจริงแล้ว ย่อมมีเยื่อใยต่อชีวิตของตน ทุกคนรักชีวิตของตน เราต้องการให้ชีวิตของเราเป็นชีวิตที่ดีงาม เราต้องการให้ชีวิตของเราเป็นชีวิตที่บริสุทธิ์ ถ้าเราได้พัฒนาจิตใจของเราให้สูงขึ้น จนลักษณะนี้ เด่นชัดขึ้น เราก็ไม่ต้องไปนึกถึงผลตอบแทนข้างหน้ามากมาย


ถ้าเรารักความดีงามบริสุทธิ์ของชีวิต รักความประณีตบริสุทธิ์ของจิตใจ ก็กลายเป็นว่าเรารักธรรม รักความดีงาม เราก็อยากถนอมชีวิตของเราให้เป็นชีวิตที่ดีงาม ให้เป็นชีวิตที่ประณีต ให้เป็นชีวิตที่บริสุทธิ์ เราก็อยากจะทำความดีด้วยใจตัวเอง ไม่ต้องไปหวังผลเป็นลาภ ยศ สุข สรรเสริญอะไร เรารักชีวิต รักความดีงาม รักตัวธรรมที่แท้จริง ไม่ดีกว่าหรือ


ท่าทีสุดท้ายนี่ไปรับกับเรื่องสวรรค์ที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งเราจะต้องสร้าง เป็นอันว่า ชีวิตของเราก้าวหน้า คือ เราปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปเรื่อยๆ จากขั้นเป็นโลกียปุถุชน ขึ้นสู่ขั้นเป็นอริยสาวก ซึ่งเลยจากการทำความดีหลีกหนีความชั่ว เพราะต้องการเลี่ยงผลร้าย หรือต้องการผลดีตอบแทน


เมื่อเลยขั้นนั้นไปแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจในธรรม รักชีวิตของคนในทางที่ถูก เช่นต้องการให้ชีวิตของตนเป็นชีวิตดีงามบริสุทธิ์


เมื่อชีวิตของเราประณีตขึ้น สิ่งที่ทำไว้เป็นความดีความชั่วจะยิ่งมีผลเหมือนดังว่าชัดมากขึ้น เพราะว่าจิตใจของเราประณีต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่เราจะก้าวหน้าในคุณความดี บรรลุอะไรที่สูงขึ้นไป จิตของเราจะต้องประณีตขึ้นไปด้วย เมื่อเราพัฒนาจิตให้ประณีตขึ้น พอจิตละเอียดอ่อนขึ้น สิ่งที่ทำไว้แม้เป็นเรื่องเล็กน้อย ก็รับรู้ง่าย มีความไวขึ้น เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราทำไว้ ก็แสดงผลชัดมากขึ้น


มีท่านผู้รู้เปรียบเทียบไว้ เหมือนว่า พื้นถนน ปัดกวาดแล้ว ถึงจะยังมีฝุ่นมาก ก็นับว่าสะอาด ขยับขึ้นมาเป็นพื้นบ้านต้องฝุ่นน้อยลง จึงจะนับว่าสะอาด แต่ที่กระจกแว่นตา ฝุ่นนิดเดียวก็เห็นชัด ต้องไม่มีละอองจับเลย จึงจะนับว่าสะอาด


พื้นถนนเราใช้สำหรับรถวิ่ง หรือให้คนเดินผ่าน สะอาดแค่ไม่เกะกะ ไม่เลอะเทอะ ก็ดีแล้ว ใช้งานได้ แต่กระจกแว่นตา ถ้าสะอาดแค่อย่างพื้นถนน ก็ยังดูอะไรไม่เห็น ใช้ประโยชน์ยังไม่ได้


เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะรองรับงานที่ประณีต คุณภาพก็ต้องถึงขั้น ชีวิตจิตใจที่จะเข้าถึงสิ่งที่ประเสริฐขึ้นไป ก็ต้องประณีตพอ จึงจะถึงได้


ถ้าเราต้องการให้ชีวิตก้าวไป ให้ประณีตอย่างนั้น เราก็ต้องไม่ประมาท ต้องระวังไว้ในเรื่องความดี - ความชั่วเหล่านี้ ว่ามันจะไปมีผลกระทบต่อชีวิตของเราที่ประณีตขึ้นทุกทีด้วย เพราะฉะนั้น เราจะต้องรักษาคุณความดี หรือคุณภาพของชีวิตนี้ไว้ให้ดี จึงเป็นการจำเป็นอยู่เองที่เราจะต้องพยายามสร้างกรรมที่ดีงามยิ่งขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อที่

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57657



รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร