วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2018, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




TH_2 man 0005.png
TH_2 man 0005.png [ 31.74 KiB | เปิดดู 5357 ครั้ง ]
วิสุทธิ ๗ กับ วิปัสสนาญาณ
วิสุทธิ ๗ เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไปเพื่อบรรลุนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
ดังบรรยายในรถวินีตสูตร (พระสูตรหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี) เปรียบวิสุทธิ ๗ ว่าเสมือนรถเจ็ดผลัด ส่งต่อกันให้บุคคลถึงที่หมาย สามารถเปรียบเทียบ ไตรสิกขา, วิสุทธิ ๗, ญาณ ๑๖ ,
ปาริสุทธิศีล ๔ และสมาธิ ได้ดังนี้

-อธิศีลสิกขา
- ศีลวิสุทธิ

๑.ปาฏิโมกขสังวรศีล
๒.อินทรียสังวรศีล
๓.อาชีวปาริสุทธิศีล
๔.ปัจจัยสันนิสิตศีล

- อธิจิตตสิกขา
- จิตตวิสุทธิ


-อุปจารสมาธิ
-อัปปนาสมาธิ ในฌานสมาบัติ

-อธิปัญญาสิกขา
- ทิฏฐิวิสุทธิ


๑.นามรูปปริจเฉทญาณ

-กังขาวิตรณวิสุทธิ

๒.นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ

-มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ


๓.สัมมสนญาณ

๔.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่ยังเป็นวิปัสสนาญาณอย่างอ่อน (ตรุณอุทยัพพยญาณ)

-ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

๔.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่เจริญขึ้น (พลวอุทยัพพยญาณ)
๕.ภังคานุปัสสนาญาณ
๖.ภยตูปัฏฐานญาณ
๗.อาทีนวานุปัสสนาญาณ
๘.นิพพิทานุปัสสนาญาณ
๙.มุจจิตุกัมยตาญาณ
๑๐.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
๑๑.สังขารุเบกขาญาณ
๑๒.สัจจานุโลมิกญาณ

-ญาณทัสสนวิสุทธิ

๑๓.โคตรภูญาณ
๑๔.มัคคญาณ
๑๕.ผลญาณ
๑๖.ปัจจเวกขณญาณ = โลกียญาณพิเศษ - มีอารมณ์ คือ มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละ กิเลสที่เหลือ
(เว้นเฉพาะพระอรหันต์)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2018, 04:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 99.09 KiB | เปิดดู 5334 ครั้ง ]
วิสุทธิ ๗
วิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์ หรือความหมดจดจากกิเลส ที่เป็นไปทางกาย ทางจิต และทางปัญญา
คือ หมดจดจากกิเลส ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด

วิสุทธิมี ๗ ขั้น ได้แก่
ศีลวิสุทธิ, จิตตวิสุทธิ, ทิฏฐิวิสุทธิ, กังขาวิตรณวิสุทธิ, มัคคามัคคญาณทัสสนะวิสุทธิ,
ปฏิปทาญาณทัสสนะวิสุทธิ, ญาณทัสสนะวิสุทธิ

ในวิสุทธิทั้ง ๗ ที่จัดเป็นปัญญาวิสุทธิมี ๕ ระดับ คือ ตั้งแต่ทิฏฐิวิสุทธิ จนถึงญาณทัสสนวิสุทธิ

ในแต่ละวิสุทธิ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน จะเจริญเพียงอย่างเดียวหรือจะข้ามขั้นกันไม่ได้
ต้องเจริญอย่างต่อเนื่องกัน และไม่อาจเกิดขึ้นเองโดยลำพัง กล่าวคือ ศีลวิสุทธิ
ต้องเป็นปัจจัยแก่ จิตตวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิก็เป็นปัจจัยแก่ปัญญาวิสุทธิ
การที่จะเป็นวิสุทธิหรือไม่เป็นวิสุทธินั้นขึ้นอยู่กับการโยนิโสมนสิการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2018, 04:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ebcbeda76a722655656b855b6e99cb06.gif
ebcbeda76a722655656b855b6e99cb06.gif [ 17.71 KiB | เปิดดู 5307 ครั้ง ]
๑. ศีลวิสุทธิ
หมายถึง ศีลเพื่อละกิเลส มิใช่ศีลเพื่อกิเลส
ศีลแต่ละข้อล้วนมาจากอำนาจจิตใจ ไม่ใช่มาจากร่างกาย หรือจากอำนาจภายนอก

ศีลมีทั้งที่บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์
ที่ไม่บริสุทธิ์ คือ ศีลที่รักษา เพราะต้องการได้บุญ อยากร่ำรวยทรัพย์สิน ปรารถนาไปเกิดอีกในที่ดี ๆ เป็นต้น
ส่วนศีลที่เป็นวิสุทธินั้ต้องเป็นศีลที่ถือ เพื่อปรารถนาพระนิพพานเท่านั้น

ศีลที่จัดเป็นศีลวิสุทธิมี ๔ อย่าง คือ ปาติโมกข์สังวรศีล, อินทรียสังวรศีล, อาชีวะปาริสุทธิศีล และ ปัจจยสันนิสิตศีล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2018, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1701983225059-removebg-preview.png
ei_1701983225059-removebg-preview.png [ 86.06 KiB | เปิดดู 709 ครั้ง ]
ปาติโมกข์สังวรศีล

เป็นความบริสุทธิ์ในการประพฤติตามธรรมวินัยที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้
พระภิกษุที่มาบวชในพระพุทธศาสนา มิใช่บวชเพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
แต่บวชเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ ให้พ้นจากทุกข์ พ้นจากสังสารวัฏฏ์
ของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เท่านั้น

ปาฏิโมกข์สังวรศีลนี้จะบริสุทธิ์ได้ ก็ด้วยกำลังของศรัทธาที่จะพ้นทุกข์จริง ๆ
จึงจะรักษาได้ เป็นศีลของพระภิกษุโดยตรง ส่วนฆราวาสจะใช้เพียงศีล ๕ หรือ อุโบสถศีลเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2018, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20181115_055656.jpg
20181115_055656.jpg [ 104.58 KiB | เปิดดู 5328 ครั้ง ]
อินทรีย์สังวรศีล

คือ ความบริสุทธิ์ในการสำรวมทวารทั้ง ๖
ในขณะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรู้รส กายถูกต้อง
ใจรู้ธรรมารมณ์ โดยการสำรวมไม่ให้อภิชฌาและโทมนัสเข้าอาศัยได้ กิเลส คือ
ความรัก ความโกรธ ความหลง เข้าครอบงำไม่ได้
อินทรีย์สังวรนี้จะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยกำลังของ"สติ"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2018, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




n01.gif
n01.gif [ 15.16 KiB | เปิดดู 5323 ครั้ง ]
อาชีวะปาริสุทธิศีล

คือ ความบริสุทธิ์ในการเลี้ยงชีพ สิ่งใดที่ไม่ถูกต้องด้วยพระธรรมวินัย
จะไม่ก้าวล่วงเด็ดขาด ถึงแม้ชีวิตต้องตกต่ำหรือตายไปก็ยอม แต่ไม่ยอมผิดศีล
โดยส่วนมากแล้วคนเรามักจะผิดศีลเพราะเห็นแก่ลาภ เห็นแก่ยศ เห็นแก่ญาติ และเห็นแก่ชีวิต
แต่อาชีวปาริสุทธิศีลนี้ไม่ยอมมีที่สุด แม้เพราะลาภ ยศ หรือญาติ หรือเพราะชีวิต
เพราะชีวิตเป็นไปเพื่อทุกข์ จึงรักษาพระธรรมวินัยดีกว่า เพราะพระธรรมวินัยช่วยสงเคราะห์แก่สัตว์โลก
ให้ถึงความพ้นทุกข์ อาชีวปาริสุทธิศีลนี้จะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยกำลังของวิริยะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2018, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20181115_062521.png
20181115_062521.png [ 446.83 KiB | เปิดดู 5321 ครั้ง ]
ปัจจยสันนิสิตศีล
คือ ความบริสุทธิ์ในการรับปัจจัย ขณะที่พระภิกษุจะรับปัจจัย ๔
ต้องพิจารณาเสียก่อนว่า ควรแก่สมณะหรือไม่ ถ้าไม่ควรก็ไม่รับ
การใช้เครื่องนุ่งห่มก็เช่นกันต้องพิจารณาก่อนว่า นุ่งห่มเพื่ออะไร
มิใช่เพื่อความสวยงาม แต่เพื่อกันความหนาว ความร้อน แมลงต่าง ๆ เป็นต้น
อันเป็นเหตุไม่สะดวก แก่การเจริญสมณะธรรม ปัจจยสันนิสิตศีลจะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยกำลังของปัญญา
....ฯลฯ.......

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2018, 06:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1434061353377.png
1434061353377.png [ 353.48 KiB | เปิดดู 5309 ครั้ง ]
จิตตวิสุทธิ

การชำระจิตให้ปราศจากมลทินเครื่องเศร้าหมอง คือ นิวรณ์ ให้สงบลงได้นั้น เรียกว่า จิตตวิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก

ในจิตวิสุทธินั้น บางท่านอาจจะบอกว่า ผู้บำเพ็ญจะต้องเข้าถึงฌานก่อน จึงจะบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาได้ ไม่งั้นจะไม่ได้ผล

คำกล่าวนี้ กล่าวตามสภาวะที่รู้ของแต่ละคน จริงๆแล้ว ใครจะปฏิบัติแบบไหนๆ แล้วแต่เหตุที่ทำมาของแต่ละคน สภาวะของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป จึงไม่จำเป็นต้องได้ฌานก่อนแต่อย่างใด

การเจริญสติ เมื่อมีตัวสัมปชัญญะเกิด ย่อมเป็นเหตุให้รู้ชัดอยู่ในกายได้ นั่นคือ สมาธิเกิด ส่วนกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น จะมีมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับเหตุของแต่ละคนที่กระทำมา

สมาธิมี ๓ ประเภท
๑. ขณิกสมาธิ
๒. อุปจารสมาธิ
๓. อัปปนาสมาธิ

ท่านวิสุทธิมัคคอรรถกถาจารย์กล่าวว่า สมาธิ จ วิปสฺสเนน จ ภาวยมาโน
สมาธิก็ดี วิปัสสนาก็ดี ควรเจริญ ( ทำให้มาก ) ยิ่งๆขึ้นดังนี้

อันนี้เรื่องจริง ไม่ว่าจะสมาธิก็ดี การเจริญสติก็ดี ควรเจริญหรือทำให้มากๆ แต่จะทำได้มากน้อยแค่ไหนนั้น แล้วแต่สภาวะจะเอื้ออำนวยให้ เพราะเหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกัน สัปปายะของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป

เวลาจึงไม่ใช่ตัววัดผลแต่อย่างใด เหตุต่างหากที่เป็นตัววัดผล ทำแล้วดับที่เหตุได้ นั่นคือ มาถูกทาง

สมถสมาธิ ได้แก่ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ เพ่งอยู่แต่อารณ์บัญญัติอย่างเดียว โดยไม่ให้ย้ายอารณ์ ถ้าย้ายไปก็เสียสมาธิ

การเจริญสติ เมื่อมีตัวสัมปชัญญะเกิด สมาธิย่อมเกิดขึ้นตาม ไม่ว่าจะย้ายอารมณ์ที่รู้อยู่ในกาย จะรู้อยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิของแต่ละคน แล้วแต่เหตุที่ทำมา

บางคนอาจจะรู้ได้น้อย เพราะจิตตั้งมั่นได้แค่ระยะสั้นๆ แต่เมื่อมีความเพียร ทำอย่างต่อเนื่อง กำลังของสมาธิหรือจิตที่ตั้งมั่น ย่อมมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายถึง สามารถรู้ชัดอยู่ในกายได้มากขึ้นเรื่อยๆ

ฉะนั้น ญาณ ๑๖ ที่นำมากล่าวๆกันนั้น ล้วนเป็นเรื่องของจิตวิสุทธิเป็นพื้นฐาน เป็นเรื่องของ สติ สัมปชัญญะและสมาธิที่ทำงานร่วมกัน จึงจะเห็นสภาวะตามความเป็นจริงเหล่านั้นได้

หากแม้นเห็นโดยจากการฟัง การอ่าน หรือคิดพิจรณาเอาเอง ล้วนมีกิเลสเจือปนอยู่ทั้งสิ้น เมื่อเห็นโดยกิเลส ย่อมมีการให้ค่า ให้ความหมายตามบัญญัตินั้นๆ
ส่วนจะก่อให้เกิดเหตุขึ้นใหม่มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่า สติจะรู้ทันการปรุงแต่งของจิตได้มากน้อยแค่ไหน

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นชื่อว่าเห็น อย่างน้อย เห็น ย่อมดีกว่าไม่เห็น เพราะเหตุของแต่ละคนแตกต่างกันไป จึงไม่มีวิธีการไหนๆถูกหรือผิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2018, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




source (2).gif
source (2).gif [ 157.91 KiB | เปิดดู 5296 ครั้ง ]
อุปมาด้วยรถ ๗ ผลัด
https://youtu.be/OGucEipf0Sg

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2018, 05:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




book-1740519_960_720.png
book-1740519_960_720.png [ 182.15 KiB | เปิดดู 5273 ครั้ง ]
ทิฏฐิวิสุทธิ
ทิฏฐิวิสุทธิ เป็น ไฉน

ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสกตาญาณ)
ญาณอันสมควรแก่การหยั่งรู้ อริยสัจ (สัจจานุโลมิกญาณ )
ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค (มัคคญาณ)
ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล

นิกเขปกัณฑ์ – สุตตันติกทุกะ อภิธรรมปิฎก – ธรรมสังคณี

พระโยคาวจรเจ้าตั้งอยู่ในสมถยานิกะแล้วพึงกำหนดปัญญาวิปัสสนาลงให้เห็น
ซึ่งนามธรรมและรูปธรรม อันเป็นลักษณะแห่งจิตกามาพจร จิตรูปพจร แลกำหนดเอา
ซึ่งองค์แห่งฌาณมีวิตกเป็นอาทิ และเจตสิกอันเป็นสัมมปยุตตธรรม
เกิดพร้อมดับจิตนั้น นั่นพึงพิจารณาเนืองๆ ว่าจิตนี้มีลักษณะดังฤา

อาศัยซึ่งสิ่งอันใด จึงประพฤติเป็นไปให้เห็นว่าอาศัยหทัยรูป แลหทัยรูปนั้น
อาศัยมหาภูตรูป มหาภูตรูปบังเกิดเป็นที่อาศัย และกำหนดเอา ซึ่ง อุปาทายรูป ๒๔
อันอาศัยมหาภูตรูป ๔ แลวัณณะ คันณะ รส โอชา ประสาทรูป ๕
แลวัตถุภาวรูป อินทรีย์รูป แลเสียง ๒ ประการ แลอากาศธาตุโดยสังเขป ในรูป ๒๔ แล

ให้กำหนดเบญจขันธ์ทั้ง ๕ แลนามรูปทั้ง ๒ คู่ เหมือนกันดังทะลายตาลทั้งคู่นั้น
พึงให้เข้าใจว่าใช่สัตว์ใช่บุคคล นามรูปพากันท่องเที่ยวอยู่ในภูมิทั้ง ๓ นี้
ดังมนุษย์ขี่สำเภาลอยไปในมหาสมุทร อาศัยแก่กันทั้ง ๒ จึงเที่ยวไปได้ก็เหมือนกัน
ถ้าเห็นโดยแท้ด้วย วิปัสสนาญาณ ดังนี้ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ

ธรรมฐิติญาณ ญาณกำหนดรู้ความตั้งอยู่ด้วยธรรมเป็นปัจจัย

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารอาศัยปัจจัยเป็นไป วิญญาณอาศัยสังขารจึงเกิด
วิญญาณอาศัยปัจจัยเป็นไป นามรูปอาศัยวิญญาณจึงเกิด นามรูปอาศัยปัจจัยเป็นไป
สฬายตนะอาศัยนามรูปจึงเกิด สฬายตนอาศัยปัจจัยเป็นไป ผัสสะอาศัยสฬายตนจึงเกิด
ผัสสะอาศัยปัจจัยเป็นไป เวทนาอาศัยผัสสะจึงเกิด เวทนาอาศัยปัจจัยเป็นไป

ตัณหาอาศัยเวทนาจึงเกิด ตัณหาอาศัยปัจจัยเป็นไป อุปาทานอาศัยตัณหาจึงเกิด
อุปาทานอาศัยปัจจัยเป็นไป ภพอาศัยอุปาทานจึงเกิด ภพอาศัยปัจจัยเป็นไป
ชาติอาศัยภพจึงเกิดขึ้น ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติจึงเกิด
แม้ ธรรมทั้งสองอย่างนี้ก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็น ธรรมฐิติญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2018, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1381655013_1667943800.gif
1381655013_1667943800.gif [ 139.17 KiB | เปิดดู 5252 ครั้ง ]
ความบริสุทธิ์์แล้ว ท่านจำแนกำด้ ๗ อย่าง
๑. สีลวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล ได้แก่ วีรตี ๓
๒. จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต ได้แก่ เอกัคคตา
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น ได้แก่ ปัญญา
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งกาข้ามพ้นจากความสงสัย ได้แก่ ปัญญา
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งความรู้เห็นว่าเป็นทางที่ถูกต้อง หรือหรือไม่ได้แก่ ปัญญา
๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งความรู้เห็นว่านี่ใช่ทางปฏิบัติแล้ว ได้แก่ ปัญญา
(วิสุทธิ์ ๖ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังเป็นโลกียวิสุทธิอยู่ ต่อเมื่อ)
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งความรู้เห็นพระนิพพาน ได้แก่ ปัญญา จึงเป็นโลกุตตรวิสุทธิ

วิสุทธิ อันความบริสุทธิ์หมดจดนี้ แม้จะเป็นโลกุตตรวิสุทธิ บริสุทธิโดยสิ้นเชิง
เป็นความบริสุทธิ์ของพระอริยะเจ้าก็ยังจำแนกได้เป็น ๒ อย่าง คือ
๑. ปริยายสุทธิ บริสุทธิโดยเอกเทศ และ
๒. นิปปริยายสุทธิ บริสุทธิโดยสิ้นเชิง
พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี นั้นบริสุทธิ์โดยเอกเทศ คือบริสุทธิบางสิ่งบางอย่างท่านั้น
กิเลสเศร้าหมองบางอย่างยังเหลืออยู่อีกบ้าง
ส่วนพระอรหันต์ จึงบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง ไม่มีกิเลสเครื่อเศร้าหมองใด ๆ เหลืออยู่แม้แต่น้อย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2018, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ปัญญา=วิปัสนา=สัมมาทิฏฐิ=ญาณ...ตรงข้ามกับฌาน
ถ้าไม่เริ่มทำปัญญาแรกตามคำสอนเพื่อรู้ชัดสัจจะตรงปัจจุบันขณะ
ไม่มีทางถึงวิปัสสนาญาณ(นี่คือชื่อของปัญญา)ปัญญาเจริญตามลำดับ123
หยาบกลางละเอียดทุกลำดับข้าม1ไม่ได้ทำฌานนั้นหลับตาทำแต่ทำวิปัสสนาต้องมีจิตเห็นด้วยลืมตาตื่นรู้ค่ะ
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2018, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
ปัญญา=วิปัสนา=สัมมาทิฏฐิ=ญาณ...ตรงข้ามกับฌาน
ถ้าไม่เริ่มทำปัญญาแรกตามคำสอนเพื่อรู้ชัดสัจจะตรงปัจจุบันขณะ
ไม่มีทางถึงวิปัสสนาญาณ (นี่คือชื่อของปัญญา) ปัญญาเจริญตามลำดับ123
หยาบกลางละเอียดทุกลำดับข้าม1ไม่ได้ ทำฌานนั้นหลับตาทำ แต่ทำวิปัสสนาต้องมีจิตเห็นด้วยลืมตาตื่นรู้ค่ะ


คคห.คุณโรสศิษย์สำนักบ้านธัมมะ แบ่งฌานกับวิปัสสนา ว่า ฌานหลับตาทำ วิปัสสนาลืมตารู้ อิอิ พูดเอาเองทั้งเพ :b13:

เอาหลักให้ดูหน่อยก่อน


วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม; ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น

ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นสมาธิ (อัปปนาสมาธิ), ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก

ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึง ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ภาวะจิตที่มีสมาธินั่นเอง แต่สมาธินั้นมีความประณีตสนิทชัดเจนผ่องใส และมีกำลังมากน้อยต่างๆกัน แยกได้เป็นหลายระดับ ความต่างของระดับนั้น กำหนดด้วยคุณสมบัติของจิตที่เป็นองค์ประกอบร่วมของสมาธิในขณะนั้นๆ

ฌาน อาจใช้ในความหมายอย่างหลวมๆ โดยแปลว่า เพ่ง พินิจ ครุ่นคิด เอาใจจดจ่อ ก็ได้ และ
อาจใช้ในแง่ไม่ดี เป็นฌานที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ เช่น เก็บเอากามราคะ พยาบาท ความหดหู่ ความกลัดกลุ้มวุ่นวายใจ ความลังเลสงสัย (นิวรณ์ ๕) ไว้ในใจ ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกลุ้มรุมใจ เฝ้าแต่ครุ่นคิดอยู่ ก็เรียกว่าฌานเหมือนกัน (ม.อุ.14/117/98) หรือกิริยาของสัตว์ เช่น นกเค้าแมวจ้องจับหนู สุนัขจิ้งจอกหาปลา เป็นต้น ก็เรียกว่า ฌาน (ใช้ในรูปกริยาศัพท์ เช่น ม.มู.12/560/604)

บางทีก็นำมาใช้แสดงความหมายด้านวิปัสสนาด้วย โดยแปลว่า เพ่งพินิจ หรือคิดพิจารณา ในอรรถกถาบางแห่งจึงแบ่งฌานออกเป็น ๒ จำพวก คือ

การเพ่งอารมณ์ตามแบบของสมถะ เรียก อารัมมณูปนิชฌาน (ได้แก่ ฌานสมาบัตินั่นเอง)

การเพ่งอารมณ์ให้เห็นไตรลักษณ์ ตามแบบวิปัสสนา หรือวิปัสสนานั่นเอง เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน (ในกรณีนี้ แม้แต่มรรคผล ก็เรียกว่า ฌานได้ เพราะแปลว่า เผากิเลสบ้าง เพ่งลักษณะที่เป็นสุญญตาของนิพพานบ้าง) ดู องฺ.อ.1/536 ปฏิสํ.อ.221 สงฺคณี อ. 273 (ดู ขุ.ปฏิ.31/483/368 ด้วย)



สรุป นิดเดียว สมถะ = สมาธิ วิปัสสนา = ปัญญา แล้วก็เป็นปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์ ซึ่งไม่ใช่ปัญญาแบบคุณโรสว่า เห็นแสง สี เสียง 1 ขณะสว่างวาบ อีก 6 ขณะมืดมิด บ่ช่าย พิมพ์แล้วก็นึกขำ

สำนักบ้านมิจฉาทิฏฐิขอรับ

จบข่าว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2018, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




bug-4.gif
bug-4.gif [ 200.32 KiB | เปิดดู 5227 ครั้ง ]
โพธิปักขิยธรรม มี ๓๗ ประการคือ

๑. สติปัฏฐาน ๔
การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย (กายานุปัสสนา)-(สติ)
การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา(เวทนานุปัสสนา)-(สติ)
การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนา)-(สติ)
การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม (ธรรมานุปัสสนา)-(สติ)

๒. สัมมัปปธาน ๔
การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน (สังวรปธาน)-(วิริยะ)
การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน)-(วิริยะ)
การเพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในตน (ภาวนาปธาน)-(วิริยะ)
การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม้ให้เสื่อมไป (อนุรักขปธาน)-(วิริยะ)

๓. อิทธิบาท ๔
ความชอบใจทำ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น (ฉันทะ)
ความแข็งใจทำ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น (วิริยะ)
ความตั้งใจทำ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ (จิตตะ)
ความเข้าใจทำ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น (วิมังสา)

๔. อินทรีย์ ๕
สัทธินทรีย์ (ศรัทธา)
วิริยินทรีย์ (วิริยะ)
สตินทรีย์ (สติ)
สมาธินทรีย์ (สมาธิ)
ปัญญินทรีย์(ปัญญา)

๕. พละ ๕
ศรัทธาพละ (ศรัทธา)
วิริยะพละ (วิริยะ)
สติพละ (สติ)
สมาธิพละ (สมาธิ)
ปัญญาพละ (ปัญญา)

๖. โพชฌงค์ ๗
สติสัมโพชฌงค์ (สติ)
ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์(ปัญญา)
วิริยะสัมโพชฌงค์ (วิริยะ)
ปิติสัมโพชฌงค์(ปีติ)
ปัสสัทธิสัม โพชฌงค์(ปัสสัทธิ)
สมาธิสัม โพชฌงค์(สมาธิ)
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (อุเบกขา)

๗.มรรค ๘
ความเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ (สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ คือ ดำริละเว้นในอกุศลวิตก (สัมมาสังกัปปะ)
ความเจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต (สัมมาวาจา)
ความทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต (สัมมากัมมันตะ)
ความทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด (สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ คือ สัมมัปปธาน (สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔ (สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ (สัมมาสมาธิ)

สติมีฐาน ๘ วิริยะมีฐาน ๙ สมาธิมีฐาน ๔ปัญญามีฐาน ๕ สัทธามีฐาน ๒ ที่เหลือมี ฐาน ๑ คือ
ส่วนที่มีฐานเดียวมี ๙ องค์ คีอ
สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ อุเปกขา ๑
ปัสสัทธิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ ปีติ ๑ ฉันทะ ๑ จิตตะ ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2019, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-9009.jpg
Image-9009.jpg [ 164.92 KiB | เปิดดู 5020 ครั้ง ]
......

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร