วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 12:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 184 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2019, 00:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:


555เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา
ตรงกับกาลามสูตรข้อไหนไปหามา
เออไม่เชื่อตาที่ตัวเองดูหูตัวเองที่ฟัง
บอกว่าทางหูน่ะมีแต่เสียงสูงหรือเสียงต่ำ
แต่ใจตัวเองไปหมายมั่นว่าเป็นเสียงอะไรแล้วนั้น
มันเป็นนิมิตเสียงต่างๆที่เกิดตามสัณฐานเสียงที่ดับนับไม่ถ้วน
ดูสิน่ะไม่เห็นเหรอคะกิเลสตัวเองดับไปแสนล้านขณะรอเกิดไปให้ผลในอนาคตแล้ว
กิเลสหนาขึ้นทุกแสนล้านขณะเดี๋ยวนี้ที่เข้าไม่ถึงความจริงที่กายใจตัวเองกำลังมีตรง1ทางตรงปัจจุบันขณะ


อ้างคำพูด:
555เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา


คุณโรสไม่เชื่อตำรา พ่ะน่ะ แล้วไปเอาจากไหนมาพูด ตอบสิ คิกๆๆ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีในตำราไหม ตอบหน่อย :b32:

พระไตรปิฎกเป็นตำราไหม ตอบ :b13:

เสร็จแน่งานนี้ แทบจะขายสำนักเลยแหละ

:b12:
กาลามสูตร10ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจ
คิดตรงทางตรงขณะก็ไม่เข้าใจนะ
แล้วจะเข้าใจหลักความจริงได้ยังไงคะ
คนเราเนี่ยมีปกติไม่รู้ว่าตัวเองมีกิเลสรู้ป่าว
ตถาคตสอนให้รู่จักกิเลสแล้วที่ก็อปแปะจำคำมากๆ
รู้ตัวไหมว่าเพิ่มกิเลสไม่ใช่เพิ่มปัญญาตามคำสอนนะคะ
คำสอนเป็นการสอนให้ละความไม่รู้ที่กำลังมีด้วยการอบรมจิตตอนกำลังฟัง
เข้าใจไหมแต่ละคนที่เขาฟังคำสอนเข้าใจเขาพาคนอื่นกลับมาเฝ้าฟังคำตถาคตจากพระโอษฐ์
ส่วนคนที่ไม่ชอบฟังคำสอนจากพระโอษฐ์เขาก็ไปเฝ้าเกจิอาจารย์อื่นๆค่ะ(เกจิแปลว่าอื่นๆ)เข้าใจไหมล่ะ
https://youtu.be/wstIXQTjxVs
:b12:
:b32: :b32:



ตอบตรงกับโจทก์สะที่ไหนน่า เขาถามว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในตำราพระไตรปิฎกมีไหม ตอบสิ บอกว่าไม่ให้เชื่อตำรา แล้วคุณโรสไปเอาจากไหน จำมาจากใครพูด คิดเองหรอ ไหนลองตอบตรงๆคำถามให้นอนตายตาหลับทีเอ้า :b32:

เห็นผิดอยู่
ไม่รู้จักคิดตาม
จิตเห็น=แสงสี+ตา+จิต
มันมีตัวอักษรที่ไหนล่ะนั่นน่ะ
ไม่งั้นตถาคตก็ต้องตรัสบอกว่าจิตเห็นตัวอักษรสิคะว่าไหม
:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2019, 00:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
หูก็ได้ยินเสียงทีละ1เสียงสลับกะเห็นบ้างกลิ่นบ้างรสบ้างเย็นร้อนสลับทีละ1แต่ละ1ไม่ซ้ำเก่าเลย
จมูกก็มีแค่กลิ่นทีละ1กลิ่น
ลิ้นก็มีแค่รสทีละ1รส
กายแค่กระทบ
ไม่มีตัวตน
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2019, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงนี้นำไปถกเถียงกันบ้อยบ่อยบ่อย

ขันธ์ ๕ กับ อุปาทานขันธ์ ๕ หรือ ชีวิต กับ ชีวิตซึ่งเป็นปัญหา


ในพุทธพจน์นี้แสดงความหมายของอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ประมวลใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา มีข้อความที่น่าสังเกตเป็นพิเศษเกี่ยว กับ ขันธ์ ๕ ปรากฏอยู่ในอริยสัจข้อที่ ๑ คือ ข้อว่าด้วยทุกข์

ในอริยสัจข้อที่ ๑ นั้น ตอนต้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงความหมาย หรือคำจำกัดความของทุกข์ ด้วยวิธียกตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆ ที่มองเห็นได้ง่ายและมีอยู่เป็นสามัญในชีวิตของบุคคล ขึ้นแสดงว่าเป็นความทุกข์แต่ละอย่างๆ
แต่ในตอนท้าย พระองค์ตรัสสรุปลงเป็นข้อเดียวว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดังพุทธพจน์ว่า

"ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ ทุกขอริยสัจ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์" (วินย.4/14/18 ฯลฯ)

พุทธพจน์นี้ นอกจากแสดงถึงฐานะของขันธ์ ๕ ในพุทธธรรมแล้ว
ยังมีข้อสังเกตสำคัญ คือ ความหมายของ "ทุกข์" นั้น จำง่ายๆ ด้วยคำสรุปที่สั้นที่สุดว่า คือ อุปาทานขันธ์ ๕ หรือเบญจอุปาทานขันธ์เท่านั้น และคำว่า ขันธ์ในที่นี้ มี "อุปาทาน" นำหน้ากำกับไว้ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2019, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่ควรศึกษาในที่นี้ ก็คือ คำว่า "ขันธ์" กับ "อุปาทานขันธ์" ซึงขอให้พิจารณาตามพุทธพจน์ ต่อไปนี้

"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"

"ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม....เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕"

"อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ (สาสวะ) เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยะ) เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕" * (สํ.ข.17/95-96/58-60)


"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง"

"รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทราคะ ใน รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคืออุปาทาน ในสิ่งนั้นๆ" * (สํ.ข.17/309/202)

หลักการนี้ เป็นพื้นฐานความเข้าใจที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการศึกษาพุทธธรรมต่อๆไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2019, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิง * คคห.บน

* ฉันทราคะ ความพอใจติดใคร่, ความชอบใจจนติด, ความอยากที่แรงขึ้นเป็นความติด; ฉันทะในที่นี้ หมายถึงอกุศลฉันทะ คือตัณหาฉันทะ ซึ่งในขั้นต้น เมื่อเป็นราคะอย่างอ่อน (ทุพพลราคะ) ก็เรียกแค่ว่าเป็นฉันทะ แต่เมื่อมีกำลังมากขึ้น ก็กลายเป็นฉันทะราคะ คือราคะ อย่างแรง (พลวราคะ หรือสิเนหะ)

ฉันทะ 1. ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่ใฝ่ปรารถนาในสิ่งนั้นๆ (เป็นกลางๆเป็นอกุศลก็ได้ เป็นกุศลก็ได้) เป็นอัญญสมานเจตสิก ข้อ ๑๓ ที่เป็นอกุศล เช่น ในคำว่า กามฉันทะ ที่เป็นกุศล เช่น ในคำว่า อวิหิงสาฉันทะ

2. ฉันทะ ที่ใช้เป็นคำเฉพาะ มาเดี่ยวๆ โดยทั่วไปหมายถึงกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ ได้แก่ กัตตุกัมยตาฉันทะ คือ ความต้องการที่จะทำ หรือความอยากทำ (ให้ดี) เช่น ฉันทะที่เป็นข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔ ตรงข้ามกับ ตัณหาฉันทะ คือ ความอยากเสพ อยากได้ อยากเอาเพื่อตัว ที่เป็นฝ่ายอกุศล 3. ความยินยอม ความยินยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้นๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย เป็นธรรมเนียมของภิกษุที่อยู่ในวัดเดียวกันภายในสีมา มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ พึงเข้าร่วมประชุมทำสังฆกรรม เว้นแต่ภิกษุใดมีเหตุจำเป็นจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ เช่น อาพาธ ก็มอบฉันทะ คือ แสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้นๆได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2019, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปาทาน ความถือมั่น, ความยึดติดถือค้างถือคาไว้ (ปัจจุบันมักแปลกันว่า ความยึดมั่น) ไม่ปล่อยไม่วางตามควรแก่เหตุผล เนื่องจากติดใคร่ชอบใจหรือใฝ่ปรารถนาอย่างแรง ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ

๑. กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม
๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ
๓. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นในศีลและพรต
๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน
ตามสำนวนทางธรรม ไม่ใช่คำว่า "ถือมั่น" กับความมั่นแน่วในทางที่ดีงาม แต่ใช้คำว่า "ตั้งมั่น" เช่น ตั้งมั่นในศีล ตั้งมั่นในธรรม ตั้งมั่นในสัจจะ
ในภาษาไทย มักใช้ "อุปาทาน" ในความหมายที่แคบลงมาว่า ยึดติดอยู่กับความนึกคิดเอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือจะต้องเป็นไปเช่นนั้นเช่นนี้

อุปาทานขันธ์ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่ เบญจขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ประกอบด้วยอาสวะ

อุปาทิ 1. สภาพที่ถูกกรรมกิเลสถือครอง, สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น, เบญจขันธ์ 2. กิเลสเป็นเหตุถือมั่น, ความยึดติดถือมั่น, อุปาทาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาดีๆแยกแยะให้ออก

คุณค่าทางจริยธรรม

ตามปกติ มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะยึดถืออยู่เสมอว่า ตัวตนที่แท้ของตนมีอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง
บ้างก็ยึดเอาจิตเป็นตัวตน *

บ้างก็ยึดว่า มีสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากแฝงซ้อนอยู่ในจิตนั้น ซึ่งเป็นเจ้าของ และเป็นตัวการที่คอยควบคุมบังคับบัญชากาย และใจนั้นอีกชั้นหนึ่ง

การแสดงขันธ์ ๕ นี้ มุ่งให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" "ตัวตน" เป็นต้นนั้น เมื่อแยกออกไปแล้ว ก็จะพบแต่ส่วนประกอบ ๕ ส่วนเหล่านี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นเหลืออยู่ที่จะมาเป็นตัวตนต่างหากได้ และ
แม้ขันธ์ ๕ เหล่านี้ แต่ละอย่าง ก็มีอยู่เพียงในรูปที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน ไม่เป็นอิสระ ไม่มีโดยตัวของมันเอง
ดังนั้น ขันธ์ ๕ แต่ละอย่างๆ นั้นก็ไม่ใช่ตัวตนอีกเช่นกัน


ที่อ้างอิง *

พึงสังเกตพุทธพจน์ว่า "ภิกษุทั้งหลาย การที่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้จะเข้าไปยึดถือร่างกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ว่าเป็นตัวตน ยังดีกว่าจะยึดถือจิตว่าเป็นตัวตน เพราะว่า กายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ยังปรากฏให้เห็นว่าดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓-๔-๕ ปีบ้าง ๑๐-๒๐-๓๐-๔๐-๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง แต่สิ่งที่เรียกว่า จิต มโน หรือวิญญาณ นี้ เกิดดับอยู่เรื่อย ทั้งคืนทั้งวัน" (สํ.นิ.16/231/114)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความว่า หลักขันธ์ ๕ แสดงถึงความเป็นอนัตตา ให้เห็นว่า ชีวิตเป็นการประชุมเข้าของส่วนประกอบต่างๆ
หน่วยรวมของส่วนประกอบเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ตัวตน
ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆนั้นเอง ก็ไม่ใช่ตัวตน และสิ่งที่เป็นตัวอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านี้ก็ไม่มี (ดู สํ.ข.๑๗/๔-๕,๓๒-๓๓,๑๙๙-๒๐๗ ฯลฯ)
เมื่อมองเห็นเช่นนี้แล้ว ก็จะถอนความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องตัวตนได้
ความเป็นอนัตตานี้ จะเห็นได้ชัดต่อเมื่อเข้าใจกระบวนการของขันธ์ ๕ ในวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท

(อนัตตา มิใช่ไม่มีอะไรเลย มันมีอยู่เห็นอยู่นั่นแหละ แต่ว่ามันมิใช่ตัวใช่ตน เป็นอนัตตา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง เมื่อมองเห็นว่า ขันธ์ ๕ มีอยู่อย่างสัมพันธ์และอาศัยซึ่งกันและกัน ก็จะไม่เกิดความเห็นผิดว่าขาดสูญ ที่เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ และความเห็นผิดว่าเที่ยง ที่เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ
เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน และมีอยู่อย่างสัมพันธ์ และอาศัยกันเช่นนี้แล้ว ก็จะเข้าใจหลักกรรมโดยถูกต้องว่าเป็นไปได้อย่างไร กระบวนแห่งสัมพันธ์ และอาศัยกันของสิ่งเหล่านี้ มีคำอธิบายอยู่ในหลักปฏิจจสมุปบาทเช่นเดียวกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 05:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกประการหนึ่ง การมองสิ่งทั้งหลายโดยวิธีแยกส่วนประกอบออกไปอย่างวิธีขันธ์ ๕ นี้ เป็นการฝึกความคิด หรือ สร้างนิสัยที่จะใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ความจริง คือ เมื่อประสบ หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ความคิดก็ไม่หยุดตันอึ้ง ยึดถือเฉพาะรูปลักษณะภายนอกเท่านั้น เป็นการสร้างนิสัยชอบสอบสวนสืบค้นหาความจริง และที่สำคัญยิ่งคือ ทำให้รู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามสภาวะล้วนๆ ของมัน หรือตามแบบสภาววิสัย (objective) คือ มองเห็นสิ่งทั้งหลาย "ตามที่มันเป็น" ไม่นำเอาตัณหา อุปาทานเข้าไปจับ อันเป็นเหตุให้มองเห็นตามที่อยาก หรือไม่อยากให้มันเป็น อย่างที่เรียกว่า สกวิสัย "subjective" คุณค่าอย่างหลังนี้ นับว่าเป็นการเข้าถึงจุดหมายที่ต้องการของพุทธธรรม และของหลักขันธ์ ๕ นี้ คือการไม่ยึดมั่นถือมั่น การไม่่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายด้วยการใช้ตัณหาอุปาทาน แต่เข้าไปเกี่ยวข้องจัดการด้วยปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี ในการแสดงพุทธธรรมนั้น ตามปกติท่านไม่แสดงเรื่องขันธ์ ๕ ลำพังโดดๆ เพราะขันธ์ ๕ เป็นแต่สภาวะที่ยกขึ้นเป็นตัวตั้งสำหรับพิจารณา และ
การพิจารณานั้น ย่อมเป็นไปตามแนวแห่งหลักธรรมอย่างอื่น ที่เป็นประเภทกฎสำหรับนำมาจับ หรือกำหนดว่าขันธ์ ๕ มีสภาวะเป็นอย่างไร มีความเป็นไปอย่างไร เป็นต้น คือ
ต้องแสดงโดยสัมพันธ์กับหลักธรรมอย่างอื่น เช่น หลักอนัตตา เป็นต้น จึงจะปรากฏคุณค่าในทางปฏิบัติโดยสมบูรณ์ ดังนั้น จึงขอยุติเรื่องขันธ์ ๕ ไว้เพียงในฐานะสิ่งที่ยกขึ้นเป็นตัวตั้งสำหรับนำไปพิจาณาในหลักต่อๆไป

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ อายตนะ ๖

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57490

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2019, 03:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
หูก็ได้ยินเสียงทีละ1เสียงสลับกะเห็นบ้างกลิ่นบ้างรสบ้างเย็นร้อนสลับทีละ1แต่ละ1ไม่ซ้ำเก่าเลย
จมูกก็มีแค่กลิ่นทีละ1กลิ่น
ลิ้นก็มีแค่รสทีละ1รส
กายแค่กระทบ
ไม่มีตัวตน
:b32: :b32:

tongue
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่ทุกคนมีและรู้เองไม่ได้
หลังจากตรัสรู้จึงทรงเทศนาธรรมบอกกล่าวให้คนที่ฟังเข้าใจ
45ปีที่ทรงตรัสแสดงไว้ละเอียดให้คนที่ฟังเข้าใจถูกตรงตามได้
ฟังเข้าใจเกิดปัญญาแล้วต้องอบรมเพิ่มปัญญาจากการฟังแล้วฟังอีก
เพื่อปัญญาทำกิจหน้าที่ของปัญญาไม่ใช่ตัวเราไปทำไม่พึ่งการฟังเข้าใจไหมคะ
https://youtu.be/6eN7Ce2JPp4
:b11:
:b20: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2019, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


2คนนี่ยังวนกับเรื่อง. ขันธ์ๆกันอยู่อีกเหลือ. ไปโน้น เรือนว่าง โคนไม้. นั่งกายตรงดำรงสติให้มั่น. หายใจเข้ายาวรู้ หายใจออกยาวรู้. ฯ.

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 184 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร