วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 10:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 184 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจาก กท.นี้นี้

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57535




อ้างคำพูด:
Rosarin
ยังไม่เข้าใจอีก1ขณะจิต มีครบ ขันธ์ 5 มีเจตสิก 1 คือ สัญญาขันธ์ ดับแล้ว นี่มีอดีตสัญญาไหม
มีแต่ความคิดนึกจำเรื่องราวเก่าๆที่ไปอ่านมา ไม่ปล่อยวาง เออน่ะจิตเกิดดับทีละ 1 ขณะไม่มีตัวตน
ขณะนี้เป็นจิตขณะใหม่ทั้งหมด ตรงปัจจุบันขณะ รู้ตรงตามเสียง ใครรู้ล่วงหน้าว่า เสียงต่อไปคือเสียงคำไหน



อ้างคำพูด:
กรัชกายถาม

คุณโรสกินข้าวเช้าแล้วนะ กินหรือยังจำได้ไหม ตอบ


อ้างคำพูด:
Rosarin
รู้ที่กายใจตัวเอง
เอาเรื่องเก่ามาถามทำไม
เดี๋ยวนี้เห็นขณะใหม่ เกิดดับนับไม่ถ้วน
อ่ะที่เห็นอยู่เนี่ย อันไหนดับ อันไหนยังไม่ดับ ที่กำลังเห็นอยู่เนี่ยก็ไม่รู้ 555
มีตัวตน คิดนึกไปตามเห็นผิดไงคะ มีปัญญารู้ไหม ว่า เห็นที่กำลังเห็นเป็น 1 ขณะลำดับไหน ในแสนล้านขณะค๊ะ
https://youtu.be/Utc-PSozbyw


คุณโรสเข้าใจว่าตนเองพูดธัมมะเป็นธัมมะ อันที่จริงไม่ใช่นะ
ถาม แล้วเป็นอะไร ? ตอบ เป็นความเข้าใจผิดเป็นมิจฉาทิฐิ คือว่า ไปศัพท์เอาชื่อทางหลักธรรมของเขามา เช่น ไปเอาปัญญามาพูดตัวหนึ่ง แล้วก็มาเสริมเติมต่อเข้าไปอะไรก็ว่าไป เป็นนั่นเป็นนี่ เป็นแสนเป็นล้านเป็นโกฏิขณะ เกิดๆดับๆ :b32: นึกอะไรได้ก็ว่าไป

ไปเอาสัญญามาก็ทำนองเดียวกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วางหลักไว้อีกที นี่ท่านจำแนกแนวพระสูตร


โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ ๕ พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรม ว่า เบญจขันธ์ คือ

๑. รูป ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสาร และพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น

๒. เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ

๓. สัญญา ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ นั้นๆได้

๔. สังขาร ได้แก่ องค์ประกอบ หรือ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม

๕. วิญญาณ ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

ข้อ ๑ เป็นรูปขันธ์ ๔ ข้อหลังเป็นนามขันธ์ เรียกสั้นๆว่า รูปนาม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
วางหลักไว้อีกที นี่ท่านจำแนกแนวพระสูตร


โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ ๕ พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรม ว่า เบญจขันธ์ คือ

๑. รูป ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสาร และพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น

๒. เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ

๓. สัญญา ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ นั้นๆได้

๔. สังขาร ได้แก่ องค์ประกอบ หรือ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม

๕. วิญญาณ ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

ข้อ ๑ เป็นรูปขันธ์ ๔ ข้อหลังเป็นนามขันธ์ เรียกสั้นๆว่า รูปนาม

:b32:
เขาเรียนจนถึงระดับม.ปลายแล้ว
คุณกรัชกายยังวนมาที่ประถมปีที่1
จิต(๕) + เจตสิก(๒,๓,๔) + รูป(๑) = จิต1ขณะ = ครบแล้วขันธ์ทั้ง5และอุปาทานว่าขันธ์เป็นตัวเอง555
...นิพพาน...
วางข้อที่คุณกรัชกายเขียนมาตรงหัวข้อแล้วที่ไม่มีคือปัญญารู้ถึงนิพพานเพราะขาดการฟังคำสอน
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
วางหลักไว้อีกที นี่ท่านจำแนกแนวพระสูตร


โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ ๕ พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรม ว่า เบญจขันธ์ คือ

๑. รูป ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสาร และพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น

๒. เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ

๓. สัญญา ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ นั้นๆได้

๔. สังขาร ได้แก่ องค์ประกอบ หรือ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม

๕. วิญญาณ ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

ข้อ ๑ เป็นรูปขันธ์ ๔ ข้อหลังเป็นนามขันธ์ เรียกสั้นๆว่า รูปนาม

:b32:
เขาเรียนจนถึงระดับม.ปลายแล้ว
คุณกรัชกายยังวนมาที่ประถมปีที่1
จิต(๕) + เจตสิก(๒,๓,๔) + รูป(๑) = จิต1ขณะ = ครบแล้วขันธ์ทั้ง5และอุปาทานว่าขันธ์เป็นตัวเอง555
...นิพพาน...
วางข้อที่คุณกรัชกายเขียนมาตรงหัวข้อแล้วที่ไม่มีคือปัญญารู้ถึงนิพพานเพราะขาดการฟังคำสอน
:b12:
:b4: :b4:


พ่ะน่ะ ว่า ม.ปลาย คิกๆๆ ครู/อาจารย์คนไหนนะ ให้เลือนชั้นไปได้ อนุบาลยังไม่ผ่านเลย :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาต่อ

ขันธ์ ๔ ข้อหลัง ซึ่งเป็นพวกนามขันธ์ มีข้อควรทำความเข้าใจเพิ่มเติม เพื่อเห็นความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น และเพื่อป้องกันความสับสน * (คำอธิบายตั้งแต่นี้ไป อาศัยเค้าความจากบาลี และอรรถกถาบางแห่งเทียบเคียงด้วย โดยเฉพาะ ม.มู.12/494/536 ฯลฯ วิสุทฺธิมัคค์ 3/1,23 ฯลฯ) ดังนี้

สัญญา * เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึง การหมายรู้ หรือ กำหนดรู้ อาการของอารมณ์ เช่น ลักษณะทรวดทรง สี สัณฐาน ฯลฯ ตลอดจนชื่อเรียก และสมมติบัญญัติต่างๆ ว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา ทุ้ม แหลม อ้วน ผอม โต๊ะ ปากกา หมู หมา ปลา แมว คน เขา เรา ท่าน เป็นต้น

การหมายรู้ หรือกำหนดรู้นี้ อาศัยการเทียบเคียงระหว่างประสบการณ์ หรือ ความรู้เก่า กับประสบการณ์ หรือ ความรู้ใหม่
ถ้าประสบการณ์ใหม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เช่น พบเห็นคน หรือ สิ่งของที่เคยรู้จักแล้ว ได้ยินเสียง ที่เคยได้ยินแล้ว
ดังตัวอย่าง นาย ก. รู้จักนาย เขียว ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง นาย ก. เห็นนายเขียว อีก และรู้ว่าคนที่เขาเห็นนั้นคือนายเขียว อย่างนี้เรียก ว่า จำได้ (พึงสังเกตว่า ในที่นี้ “จำได้” ต่างจาก “จำ”)

ถ้าประสบการณ์ใหม่ไม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เราย่อมนำเอาประสบการณ์ หรือ ความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วนั่นเอง มาเทียบเคียงว่าเหมือนกัน และไม่เหมือนในส่วนไหน อย่างไร แล้วหมายรู้สิ่งนั้นตามคำบอกเล่า หรือ ตามที่ตนกำหนดเอาว่า เป็นนั่น เป็นนี่ ไม่ใช่นั่น ไม่ ใช่นี่ อย่างนี้ เรียกว่า กำหนดหมาย หรือ หมายรู้

การหมายรู้เช่นนี้ ย่อมมีหลายชั้น หมายรู้ไปตามความตกลงอันเนื่องด้วยความรู้สามัญบ้าง เช่น ว่า เขียว ขาว เหลือง แดง เป็นต้น ตามนิยมของโลก ของสังคม ของวัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้นบ้าง เช่นว่า อย่างนี้สุภาพ อย่างนั้นสวยงาม อย่างนั้น ถูกธรรมเนียม อย่างนี้ผิดธรรมเนียม เป็นต้น
ตามนิยมปรุงแต่งจำเพาะตนบ้าง เช่นว่า อย่างนี้สวย อย่างนั้นน่าชม อย่าง นี้น่าหมั่นไส้ เป็นต้น

หมายรู้สองชั้น (แบบสัญลักษณ์) บ้าง เช่นว่า สีเขียวแดง หมายถึงมหาวิทยาลัยแห่ง หนึ่ง เสียงระฆังสองครั้งหมายถึงการกินอาหาร
ตลอดจนตามการศึกษา อบรมในทางธรรม เช่น หมายรู้ในภาวะที่ไม่เที่ยง หมาย รู้ในภาวะที่เป็นอนัตตา เป็นต้น มีทั้งความหมายรู้สามัญ และความ หมายรู้ที่ละเอียดซับซ้อน (คือสัมพันธ์กับขันธ์อื่นมากขึ้น) มีทั้งหมายรู้เกี่ยวกับรูปธรรม และหมายรู้เกี่ยวกับนามธรรม

คำแปล สัญญา ว่า จำได้ กำหนดได้ หมายรู้ กำหนดหมาย จำหมาย สำคัญหมาย ล้วนแสดงแง่ต่างๆ แห่งความหมายของกองสัญญานี้ทั้งสิ้น

พูดเพื่อให้เข้าใจอย่างง่ายๆ สัญญา ก็คือ กระบวนการเรียกเก็บรวบรวม และสั่งสมข้อมูลของการเรียนรู้ และวัตถุดิบสำหรับความคิดนั่นเอง


สัญญา เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก

แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีโทษมิใช่น้อย เพราะมนุษย์จะยึดติดตามสัญญา ทำให้สัญญากลายเป็นเครื่องกีดกั้นกำบังตนเอง และห่อหุ้มคลุมตัวสภาวะไว้ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ที่อยู่ลึกลงไป

สัญญา แยกออกคร่าวๆ เป็น ๒ ระดับ คือ สัญญาอย่างสามัญ ซึ่งกำหนดหมายอาการของอารมณ์ที่เกิดขึ้น หรือเป็นไป อยู่ตามปกติธรรมดาของมัน อย่างหนึ่ง และ
สัญญาสืบทอด หรือ สัญญาอย่างซับซ้อน ที่บางคราวก็ใช้คำเรียกให้ต่างออกไป เฉพาะอย่างยิ่ง "ปปัญจสัญญา" อันหมายถึงสัญญา เนื่องด้วยอารมณ์ที่คิดปรุงแต่งขึ้นให้ซับซ้อนพิสดาร ด้วยแรงผลักดันของตัณหา มานะ และ ทิฏฐิ ซึ่งเป็นสังขารชั้นนำฝ่ายร้าย อีกอย่างหนึ่ง

การแยกเช่นนี้ จะช่วยให้มองเห็นความหมายของสัญญาที่กำลังแสดงบทบาทอยู่ พร้อมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสัญญา กับ ขันธ์อื่นภายในกระบวนธรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

(เมื่อจะศึกษาพุทธธรรม ต้องซื่อตรงต่อตนเอง เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจข้อไหนอย่างไร พึงยอมรับกับตนเองว่าตนไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วพัฒนาสิ่งนั้นให้เกิดขึ้นให้มีขึ้น ที่รู้แล้วเข้าใจแล้วก็พัฒนาให้ยิ่งๆขึ้นไป)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิง * คคห.บน

* คัมภีร์ชั้นอรรถกถา แสดงลักษณะ หน้าที่ เป็นต้น ของสัญญาไว้ว่า สัญญา มีลักษณะจำเพาะคือสัญชานน์ (จำได้ รู้จัก)
มีหน้าที่ทำเครื่องหมายไว้เป็นปัจจัยแห่งการจำได้ (หรือรู้จัก) ต่อไปว่า "นั่นคือสิ่งนั้น" เหมือนดังช่างไม้ เป็นต้น ทำเครื่องหมายไว้ที่วัสดุมีตัวไม้เป็นอาทิ
มีผลปรากฏคือ เกิดความยึดถือไปตามเครื่องหมายที่กำหนดเอาไว้ เหมือนพวกคนตาบอดคลำช้าง ยึดถือไปตามเครื่องหมายที่ตนจับได้ (ว่าช้างเป็นอย่างนั้นๆ)
มีปทัฏฐาน คืออารมณ์ตามที่ปรากฏ เหมือนลูกเนื้อเห็นหุ่นคนที่ผูกด้วยมัดหญ้า สำคัญหมายว่าเป็นคนจริงๆ (วิสุทฺธิมัคค์ 3/35)
ถ้าเทียบกับหลักจิตวิทยาฝ่ายตะวันตก สัญญาจะครอบคลุมเรื่อง perception, conception และ recognition (แต่ไม่ใช่ memory ทั้งหมด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
วางหลักไว้อีกที นี่ท่านจำแนกแนวพระสูตร


โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ ๕ พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรม ว่า เบญจขันธ์ คือ

๑. รูป ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสาร และพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น

๒. เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ

๓. สัญญา ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ นั้นๆได้

๔. สังขาร ได้แก่ องค์ประกอบ หรือ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม

๕. วิญญาณ ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

ข้อ ๑ เป็นรูปขันธ์ ๔ ข้อหลังเป็นนามขันธ์ เรียกสั้นๆว่า รูปนาม

:b32:
เขาเรียนจนถึงระดับม.ปลายแล้ว
คุณกรัชกายยังวนมาที่ประถมปีที่1
จิต(๕) + เจตสิก(๒,๓,๔) + รูป(๑) = จิต1ขณะ = ครบแล้วขันธ์ทั้ง5และอุปาทานว่าขันธ์เป็นตัวเอง555
...นิพพาน...
วางข้อที่คุณกรัชกายเขียนมาตรงหัวข้อแล้วที่ไม่มีคือปัญญารู้ถึงนิพพานเพราะขาดการฟังคำสอน
:b12:
:b4: :b4:


พ่ะน่ะ ว่า ม.ปลาย คิกๆๆ ครู/อาจารย์คนไหนนะ ให้เลือนชั้นไปได้ อนุบาลยังไม่ผ่านเลย :b32:

:b32:
555เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา
ตรงกับกาลามสูตรข้อไหนไปหามา
เออไม่เชื่อตาที่ตัวเองดูหูตัวเองที่ฟัง
บอกว่าทางหูน่ะมีแต่เสียงสูงหรือเสียงต่ำ
แต่ใจตัวเองไปหมายมั่นว่าเป็นเสียงอะไรแล้วนั้น
มันเป็นนิมิตเสียงต่างๆที่เกิดตามสัณฐานเสียงที่ดับนับไม่ถ้วน
ดูสิน่ะไม่เห็นเหรอคะกิเลสตัวเองดับไปแสนล้านขณะรอเกิดไปให้ผลในอนาคตแล้ว
กิเลสหนาขึ้นทุกแสนล้านขณะเดี๋ยวนี้ที่เข้าไม่ถึงความจริงที่กายใจตัวเองกำลังมีตรง1ทางตรงปัจจุบันขณะ
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณ แปลตามแบบว่า ความรู้แจ้ง คือ รู้แจ้งอารมณ์ หมายถึง ความรู้ประเภทยืนพื้น หรือ ความรู้ที่เป็นตัวยืน เป็นฐาน และเป็นทางเดินให้แก่นามขันธ์อื่นๆ เกี่ยวข้องกับนามขันธ์อื่นทั้งหมด เป็นทั้งความรู้ต้น และความรู้ตาม

ที่ว่าเป็นความรู้ต้น คือ เป็นความรู้เริ่มแรก เมื่อเห็น ได้ยิน เป็นต้น (เกิดวิญญาณขึ้น)
จึงจะรู้สึกชื่นใจ หรือ บีบคั้นใจ (เวทนา)
จึงจะกำหนดได้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ (สัญญา)
จึงจะจำนงตอบและคิดปรุงแต่งไปต่างๆ (สังขาร) เช่น
เห็นท้องฟ้า (วิญญาณ)
รู้สึกสบายตาชื่นใจ (เวทนา)
หมายรู้ว่า ท้องฟ้า สีคราม สดใส ฟ้าสวย ฟ้าบ่าย ฟ้าสวย (สัญญา)
ชอบใจฟ้านั้น อยากเห็นฟ้านั้นนานๆ ไม่อยากให้เวลาผ่านไป โกรธชายคาที่บังไม่ให้เห็นฟ้านั้นเต็มที่ คิดหาวิธีจะทำให้ได้นั่งดูฟ้านั้นได้สบายๆ ชัดเจนและนานๆ ฯลฯ (= สังขาร)

ที่รู้ตาม คือ รู้ตามไปตามกิจกรรมของขันธ์อื่นๆ เช่น รู้สึกสุขสบาย (เวทนา)
ก็รู้ว่าเป็นสุข (วิญญาณ)
รู้สึกบีบคั้นใจไม่สบาย (เวทนา)
ก็รู้ว่าเป็นทุกข์ (วิญญาณ)
หมายรู้ว่าอย่างนี้เป็นสุข อย่างนั้นเป็นทุกข์ (สัญญา)
ก็รู้ไปตามนั้น เมื่อคิดนึกปรุงแต่งตั้งเจตจำนงไปอย่างใดๆ (สังขาร)
ก็ย่อมมีความรู้ควบอยู่พร้อมกันด้วยโดยตลอด กระแสความรู้ยืนพื้น ซึ่งเกิดดับต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาควบไปกับนามขันธ์อื่นๆ หรือกิจกรรมทุกอย่างในจิตใจ นี้เรียกว่า วิญญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ลักษณะอีกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยความเข้าใจเกี่ยวกับวิญญาณ คือ วิญญาณ เป็นการรู้ความต่างจำเพาะ รู้ความหมายจำเพาะ หรือรู้แยกต่าง ความหมายนี้ พึงเข้าใจด้วยตัวอย่าง เช่น

เมื่อเห็นผืนผ้าลาย ที่ว่าเห็นนั้น แม้จะไม่ได้กำหนดหมายว่า อะไรเป็นอะไร ก็ย่อมเห็นลักษณะอาการ เช่น สีสัน เป็นต้น ซึ่งแตกต่างกันเป็นพื้นอยู่พร้อมด้วยเสร็จ นี้เป็นความรู้ขั้นวิญญาณ เพราะวิญญาณรู้เห็นความแตกต่างนั้นอยู่
สัญญา จึงหมายรู้อาการที่แตกต่างกันนั้นได้ว่า เป็นนั่น เป็นนี่ เช่น เป็นเขียว ขาว แดง เป็นต้น หรือ
อย่างเมื่อรับประทานผลไม้ ถึงจะไม่ได้กำหนดหมายว่า เป็นรสหวาน รสเปรี้ยว ก็รู้รสที่หวาน ที่เปรี้ยวนั้น ซึ่งแตกต่างกัน และแม้ในรสที่เปรี้ยว หรือหวานด้วยกัน แม้จะไม่กำหนดหมาย ว่า รสเปรี้ยวมะม่วง เปรี้ยวมะปราง เปรี้ยวมะขาม เปรี้ยวมะนาว เปรี้ยวสับปะรด หรือ หวานกล้วยหอม หวานกล้วยน้ำว้า หวานกล้วยไข่ หวานแอปเปิ้ล เมื่อลิ้มก็ย่อมรู้รสที่ต่างจำเพาะนั้น ความรู้อย่างนี้ คือ วิญญาณ เป็นความรู้ยืนพื้น เมื่อรู้แล้ว นามขันธ์อื่น จึงจะทำงาน หรือ ปฏิบัติหน้าที่ได้ เช่น
รู้สึกอร่อย ไม่อร่อย (เวทนา)
จำได้หมายรู้ ว่า รสหวานอะไร รสเปรี้ยวอะไร (สัญญา) เป็นต้น

ส่วนในแง่ที่ว่า รู้ความหมายจำเพาะนั้น อธิบายสั้นๆว่า เมื่อเกิดวิญญาณขึ้น คือ เห็น ได้ยิน เป็นต้น ว่าที่จริงแล้วจะเป็นการเห็นการได้ยินจำเพาะบางแง่ บางความหมาย ของสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยินเท่านั้น

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า จะเป็นการเห็น การได้ยิน ตามความหมายจำเพาะแง่จำเพาะอย่างที่เราใส่ให้แก่สิ่งนั้น ทั้งนี้ สุดแต่สังขารที่เป็นปัจจัยให้วิญญาณนั้นเกิดขึ้น* (ดู ตอนว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท)

ตัวอย่าง เช่น ในท้องทุ่งแห่งหนึ่ง เป็นที่โล่งกว้าง มีต้นมะม่วงขึ้นอยู่ต้นเดียว เป็นต้นใหญ่มาก แต่มีผลอยู่เพียงไม่กี่ลูก และใบห่าง แทบจะอาศัยร่มเงาไม่ได้ มีชาย ๕ คน เดินทางมาถึงต้นมะม่วงนั้นในโอกาสต่างๆกัน

คนหนึ่ง วิ่งหนีสัตว์ร้าย

คนหนึ่ง กำลังหิวมาก

คนหนึ่ง ร้อนแดด กำลังต้องการร่มไม้

คนหนึ่ง กำลังหาผักผลไม้ไปขาย

คนหนึ่ง กำลังหาที่ผูกสัตว์เลี้ยงของตนเพราะจะแวะไปธุระในย่านใกล้เคียง

คนทั้ง ๕ นั้น มองเห็นต้นมะม่วงใหญ่ทุกคน แต่จะเป็นการเห็นในแง่และขอบเขตความหมายต่างๆ กัน วิญญาณเกิดขึ้นแก่ทุกคน แต่วิญญาณของแต่ละคนหาเหมือนกันไม่ เพราะแตกต่างกันไปตามเจตนาของตนๆ ต่อต้นมะม่วง ในเวลาเดียวกัน สัญญา คือ การกำหนดหมายของแต่ละคนก็จะต่างๆกันไปภายในขอบเขตแห่งความหมายที่ตนเห็นในขณะนั้นด้วย แม้เวทนาที่เกิดขึ้นก็ไม่เหมือนกัน เช่น

คนที่วิ่งหนีสัตว์ร้าย เห็นต้นมะม่วงใหญ่แล้วดีใจ เพราะเห็นเครื่องช่วยให้หนีรอดปลอดภัย

คนที่หิวมากก็ดีใจ เพราะผลมะม่วงเพียง ๓-๔ ลูก ก็จะช่วยให้ตนอิ่มพ้นอดตายได้

คนที่ร้อนแดด อาจเสียใจ เพราะผิดหวังที่ไม้ใหญ่ไม่มีร่มให้อย่างที่ควรจะเป็น

คนหาผลไม้ไปขาย ก็อาจเสียใจ เพราะผิดหวังต่อจำนวนผลไม้ที่น้อย

ส่วนคนหาที่ผูกสัตว์เลี้ยง อาจจะรู้สึกสบายใจแต่เพียงเล็กน้อย แค่โล่งใจว่า ไม่ต้องจูงสัตว์ไปหรือไปหาที่ผูกทีอื่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:


555เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา
ตรงกับกาลามสูตรข้อไหนไปหามา
เออไม่เชื่อตาที่ตัวเองดูหูตัวเองที่ฟัง
บอกว่าทางหูน่ะมีแต่เสียงสูงหรือเสียงต่ำ
แต่ใจตัวเองไปหมายมั่นว่าเป็นเสียงอะไรแล้วนั้น
มันเป็นนิมิตเสียงต่างๆที่เกิดตามสัณฐานเสียงที่ดับนับไม่ถ้วน
ดูสิน่ะไม่เห็นเหรอคะกิเลสตัวเองดับไปแสนล้านขณะรอเกิดไปให้ผลในอนาคตแล้ว
กิเลสหนาขึ้นทุกแสนล้านขณะเดี๋ยวนี้ที่เข้าไม่ถึงความจริงที่กายใจตัวเองกำลังมีตรง1ทางตรงปัจจุบันขณะ


อ้างคำพูด:
555เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา


คุณโรสไม่เชื่อตำรา พ่ะน่ะ แล้วไปเอาจากไหนมาพูด ตอบสิ คิกๆๆ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีในตำราไหม ตอบหน่อย :b32:

พระไตรปิฎกเป็นตำราไหม ตอบ :b13:

เสร็จแน่งานนี้ แทบจะขายสำนักเลยแหละ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวต่อไป เวทนา


เวทนา แปลกันว่า การเสวยอารมณ์ หรือการเสพรสของอารมณ์ คือ ความรู้สึกต่อสิ่งที่ถูกรับรู้ ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการรับรู้ เป็นความรู้สึกสุข สบาย ถูก ใจ ชื่นใจ หรือทุกข์ บีบคั้น เจ็บปวด หรือไม่ก็เฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง

ข้อที่ควรทำความเข้าใจอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเวทนา เพื่อป้องกันความสับสน กับ สังขาร คือ เวทนาเป็นกิจกรรมของจิตในขั้นรับ กล่าวคือ เกี่ยวข้องกับผลที่อารมณ์มีต่อจิตเท่านั้น (เวทนาจัดอยู่ในจำพวกวิบากไม่ดีไม่ชั่วโดยลำพังตัวของมันเอง) ยังไม่ใช่ขั้นที่เป็นฝ่ายจำนง หรือ กระทำต่ออารมณ์ซึ่งเป็นกิจกรรมสังขาร

ดังนั้น คำว่าชอบ ไม่ชอบ ชอบใจ ไม่ชอบใจ ตามปกติจะใช้เป็นคำแสดงกิจกรรมในหมวดสังขาร โดยเป็นอาการสืบเนื่องมาจากเวทนาอีกต่อหนึ่ง เพราะคำว่า ชอบ ไม่ชอบ ชอบใจ ไม่ชอบใจ แสดงถึงอาการจำนง หรือกระทำตอบต่ออารมณ์ ดังจะเห็นได้ในลำดับกระบวนธรรม เช่น

-เห็นรูปที่น่าปรารถนาน่าใคร่ => เกิดความสุขสบาย => ก็ชอบใจ (ต่ออารมณ์นั้น)

(จักขุ+อิฏฐารมณ์=>จักขุวิญญาณ=>(สุขเวทนา) ==> (สังขาร – ราคะ)

- ได้ยินเสียงที่ไม่ปรารถนาน่ารำคาญ => เกิดความทุกข์ไม่สบาย =>ก็ไม่ชอบใจ(ต่ออารมณ์นั้น)

(โสตะ + อนิฏฐารมณ์ => โสตวิญญาณ) => ทุกขเวทนา====> (สังขาร – โทสะ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนาความสำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งมุ่งประสงค์ เสาะแสวง (หมายถึงสุขเวทนา) และเป็นสิ่งเกลียดกลัวเลี่ยงหนี (หมายถึงทุกขเวทนา) สำหรับสัตว์ทั้งหลาย
เมื่อมีการรับรู้เกิดขึ้นแต่ละครั้ง เวทนาจะเป็นขั้วต่อและเป็นต้นทางแยก ที่ชี้แนะ หรือ ส่งแรงผลักดันแก่องค์ธรรมอื่นๆ ว่าจะดำเนินไปในทางใด อย่างไร เช่น ถ้ารับรู้อารมณ์ใดแล้วสุขสบาย ก็จะกำหนดหมายอารมณ์นั้นมาก และในแง่ หรือ ในแนวทางที่จะสนองเวทนานั้น และคิดปรุงแต่งเพื่อให้ได้อารมณ์นั้นมาเสพเสวยต่อไปอีก ดังนี้เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นถึงหลักธรรมข้ออื่นๆด้วย



เวทนา ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ

๑. สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย

๒. ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย

๓. อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างหนึ่ง อุเบกขาเวทนา

อีกหมวดหนึ่งจัดเป็นเวทนา ๕ คือ

๑. สุข สบายกาย

๒. ทุกข์ ไม่สบายกาย

๓. โสมนัส สบายใจ

๔. โทมนัส ไม่สบายใจ

๕. อุเบกขา เฉยๆ

(ในภาษาไทย ใช้หมายความว่า เจ็บปวด บ้าง สงสาร บ้าง ก็มี)

เวทนาขันธ์ (เวทนา+ขันธ์) กองเวทนา (ข้อ ๒ ในขันธ์ ๕)

เวทนานุปัสสนา สติตามดูเวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์โดยรู้เท่าทันว่า เวทนานี้ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา (ข้อ ๒ ในสติปัฏฐาน ๔)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 23:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:


555เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา
ตรงกับกาลามสูตรข้อไหนไปหามา
เออไม่เชื่อตาที่ตัวเองดูหูตัวเองที่ฟัง
บอกว่าทางหูน่ะมีแต่เสียงสูงหรือเสียงต่ำ
แต่ใจตัวเองไปหมายมั่นว่าเป็นเสียงอะไรแล้วนั้น
มันเป็นนิมิตเสียงต่างๆที่เกิดตามสัณฐานเสียงที่ดับนับไม่ถ้วน
ดูสิน่ะไม่เห็นเหรอคะกิเลสตัวเองดับไปแสนล้านขณะรอเกิดไปให้ผลในอนาคตแล้ว
กิเลสหนาขึ้นทุกแสนล้านขณะเดี๋ยวนี้ที่เข้าไม่ถึงความจริงที่กายใจตัวเองกำลังมีตรง1ทางตรงปัจจุบันขณะ


อ้างคำพูด:
555เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา


คุณโรสไม่เชื่อตำรา พ่ะน่ะ แล้วไปเอาจากไหนมาพูด ตอบสิ คิกๆๆ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีในตำราไหม ตอบหน่อย :b32:

พระไตรปิฎกเป็นตำราไหม ตอบ :b13:

เสร็จแน่งานนี้ แทบจะขายสำนักเลยแหละ

:b12:
กาลามสูตร10ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจ
คิดตรงทางตรงขณะก็ไม่เข้าใจนะ
แล้วจะเข้าใจหลักความจริงได้ยังไงคะ
คนเราเนี่ยมีปกติไม่รู้ว่าตัวเองมีกิเลสรู้ป่าว
ตถาคตสอนให้รู่จักกิเลสแล้วที่ก็อปแปะจำคำมากๆ
รู้ตัวไหมว่าเพิ่มกิเลสไม่ใช่เพิ่มปัญญาตามคำสอนนะคะ
คำสอนเป็นการสอนให้ละความไม่รู้ที่กำลังมีด้วยการอบรมจิตตอนกำลังฟัง
เข้าใจไหมแต่ละคนที่เขาฟังคำสอนเข้าใจเขาพาคนอื่นกลับมาเฝ้าฟังคำตถาคตจากพระโอษฐ์
ส่วนคนที่ไม่ชอบฟังคำสอนจากพระโอษฐ์เขาก็ไปเฝ้าเกจิอาจารย์อื่นๆค่ะ(เกจิแปลว่าอื่นๆ)เข้าใจไหมล่ะ
https://youtu.be/wstIXQTjxVs
:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2019, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:


555เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา
ตรงกับกาลามสูตรข้อไหนไปหามา
เออไม่เชื่อตาที่ตัวเองดูหูตัวเองที่ฟัง
บอกว่าทางหูน่ะมีแต่เสียงสูงหรือเสียงต่ำ
แต่ใจตัวเองไปหมายมั่นว่าเป็นเสียงอะไรแล้วนั้น
มันเป็นนิมิตเสียงต่างๆที่เกิดตามสัณฐานเสียงที่ดับนับไม่ถ้วน
ดูสิน่ะไม่เห็นเหรอคะกิเลสตัวเองดับไปแสนล้านขณะรอเกิดไปให้ผลในอนาคตแล้ว
กิเลสหนาขึ้นทุกแสนล้านขณะเดี๋ยวนี้ที่เข้าไม่ถึงความจริงที่กายใจตัวเองกำลังมีตรง1ทางตรงปัจจุบันขณะ


อ้างคำพูด:
555เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา


คุณโรสไม่เชื่อตำรา พ่ะน่ะ แล้วไปเอาจากไหนมาพูด ตอบสิ คิกๆๆ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีในตำราไหม ตอบหน่อย :b32:

พระไตรปิฎกเป็นตำราไหม ตอบ :b13:

เสร็จแน่งานนี้ แทบจะขายสำนักเลยแหละ

:b12:
กาลามสูตร10ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจ
คิดตรงทางตรงขณะก็ไม่เข้าใจนะ
แล้วจะเข้าใจหลักความจริงได้ยังไงคะ
คนเราเนี่ยมีปกติไม่รู้ว่าตัวเองมีกิเลสรู้ป่าว
ตถาคตสอนให้รู่จักกิเลสแล้วที่ก็อปแปะจำคำมากๆ
รู้ตัวไหมว่าเพิ่มกิเลสไม่ใช่เพิ่มปัญญาตามคำสอนนะคะ
คำสอนเป็นการสอนให้ละความไม่รู้ที่กำลังมีด้วยการอบรมจิตตอนกำลังฟัง
เข้าใจไหมแต่ละคนที่เขาฟังคำสอนเข้าใจเขาพาคนอื่นกลับมาเฝ้าฟังคำตถาคตจากพระโอษฐ์
ส่วนคนที่ไม่ชอบฟังคำสอนจากพระโอษฐ์เขาก็ไปเฝ้าเกจิอาจารย์อื่นๆค่ะ(เกจิแปลว่าอื่นๆ)เข้าใจไหมล่ะ
https://youtu.be/wstIXQTjxVs
:b12:
:b32: :b32:



ตอบตรงกับโจทก์สะที่ไหนน่า เขาถามว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในตำราพระไตรปิฎกมีไหม ตอบสิ บอกว่าไม่ให้เชื่อตำรา แล้วคุณโรสไปเอาจากไหน จำมาจากใครพูด คิดเองหรอ ไหนลองตอบตรงๆคำถามให้นอนตายตาหลับทีเอ้า :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 184 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร