วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 06:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เข้าเรื่อง ผู้มีพื้นฐานทางพุทธธรรมอยู่แล้ว เพียงแค่สามบันทัดนั่น เข้าใจโล่งถึงกระดูกไขสันหลังเรย :b32: กล่าวคือ แยกได้ระหว่างภาษาคน กับ ภาษาธรรม ดู

https://babycare.in.th/wp-content/uploa ... 222857.jpg


ตัวสภาวะ

พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นธาตุ เป็นธรรม เป็นสภาวะ* อันมีอยู่เป็นอยู่ตามภาวะของมัน ที่เป็นของมันอย่างนั้น เช่นนั้น ตามธรรมดาของมัน มิใช่มีเป็นสัตว์ บุคคล อัตตา ตัวตน เราเขา ที่จะยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ครอบครอง บังคับบัญชาให้เป้นไปตามปรารถนาอย่างไรๆ ได้



ที่อ้างอิง *

*นิยมเรียกยาวเป็น "สภาวธรรม" ตามคำบาลีว่า "สภาวธมฺม" ซึ่งมาจาก ส+ภาว+ธมฺม แปลตรงตัวว่า สิ่งที่มีภาวะของมันเอง


ต่อ


บรรดาสิ่งทั้งหลาย ที่รู้จักเข้าใจกันอยู่โดยทั่วไปนั้น มีอยู่เป็นอยู่เป็นไปในรูปของส่วนประกอบต่างๆ ที่มาประชุมกัน ตัวตนแท้ๆ ของสิ่งทั้งหลายไม่มี
เมื่อแยกส่วนต่างๆ ที่มาประกอบกันเข้านั้นออกไปให้หมด ก็จะไม่พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่

ตัวอย่างง่ายๆ ที่ยกขึ้นอ้างกันบ่อยๆ คือ "รถ" เมื่อนำส่วนประกอบต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกันตามแบบที่กำหนด ก็บัญญัติเรียกกันว่า "รถ*" (สํ.ส.15/554/198)

แต่ถ้าแยกส่วนประกอบทั้งหมดออกจากกัน ก็จะหาตัวตนของรถไม่ได้ มีแต่ส่วนประกอบทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆกัน จำเพาะแต่ละอย่างอยู่แล้ว คือ ตัวตนของรถมิได้มีอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านั้น มีแต่เพียงคำบัญญัติว่า "รถ"

สำหรับสภาพที่มารวมตัวกันเข้าของส่วนประกอบเหล่านั้น แม้ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆนั้นเอง ก็ปรากฏขึ้นโดยการรวมกันเข้าของส่วนประกอบย่อยๆ ต่อๆไปอีก และหาตัวตนที่แท้ไม่พบเช่นเดียวกัน

เมื่อจะพูดว่า สิ่งทั้งหลายมีอยู่ ก็ต้องเข้าใจในความหมายว่า มีอยู่ในฐานะมีส่วนประกอบต่างๆ มาประชุมเข้าด้วยกัน

เมื่อมองเห็นสภาพของสิ่งทั้งหลายในรูปของการประชุมส่วนประกอบเช่นนี้ พุทธธรรมจึงต้องแสดงต่อไปว่า ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็พอเป็นตัวอย่าง และโดยที่พุทธธรรมมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องชีวิต โดยเฉพาะด้านจิตใจ
การแสดงส่วนประกอบต่างๆ จึงต้องครอบคลุมทั้งวัตถุและจิตใจ หรือทั้งรูปธรรมและนามธรรม และมักแยกเป็นพิเศษในด้านจิตใจ


ต่อ

การแสดงส่วนประกอบต่างๆนั้น ย่อมทำได้หลายแบบ สุดแต่วัตถุประสงค์จำเพาะของการแสดงแบบนั้นๆ * แต่ในที่นี้ แสดงแบบขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในพระสูตร


ที่อ้างอิง *

* แบ่งอย่างกว้างๆ ว่านาม และ รูป หรือนามธรรม กับ รูปธรรม; แต่ตามแนวอภิธรรมนิยมแบ่งเป็น ๓ คือ จิต เจตสิก และรูป ถ้าเทียบกับขันธ์ ๕ ดังแสดงแล้ว
จิต = วิญญาณขันธ์
เจตสิก = เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์
รูป = รูปขันธ์



ในที่นี้ท่านจำแนกตามแนวพระสูตร แต่ก็เทียบให้เห็นแนวอภิธรรมกับพระสูตรด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ ๕ (The Five Aggregates) พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรม ว่า เบญจขันธ์ คือ

๑. รูป (Corporeality) ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสาร และพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น

๒. เวทนา (Feeling หรือ Sensation) ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ

๓. สัญญา (Perception) ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ * (object) นั้นๆได้

๔. สังขาร (Mental Formations หรือ Volitional Activities) ได้แก่ องค์ประกอบ หรือ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา * ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม

๕. วิญญาณ (Consciousness) ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

ข้อ ๑ เป็นรูปขันธ์ ๔ ข้อหลังเป็นนามขันธ์ เรียกสั้นๆว่า รูปนาม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิง * คคห.บน

* คำว่า "อารมณ์" หมายถึงสิ่ง ที่จิตรับรู้ หรือ สิ่งที่ถูกรับรู้ โดยอาศัยทวารทั้ง ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (ความนึกคิดต่างๆ)

* อุเบกขา เป็นธรรมสำคัญยิ่งข้อหนึ่ง และมักมีผู้เข้าใจความหมายสับสนผิดพลาดอยู่เสมอ จึงควรศึกษาให้เข้าใจชัด อย่างน้อยต้องสามารถแยกอุเบกขาในหมวดสังขาร ซึงตรงกับ ตัตรมัชฌัตตตา ออกจากอุเบกขาในหมวดเวทนา ซึ่งตรงกับ อทุกขมสุข อันเป็นความรู้สึกเฉยๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงสังเกต "บัญญัติ" ไว้ด้วย ยังไงเรียก บัญญัติ

ทำถึงขนาดนี้ คุณโรสยังไม่เข้าใจ คงต้องขอบอกว่า สุดขอบเขตปัญญาของกรัชกายแล้วล่ะ :b13: ทีนี้มีทางเดียว คือ :b21:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พึงสังเกต "บัญญัติ" ไว้ด้วย ยังไงเรียก บัญญัติ

ทำถึงขนาดนี้ คุณโรสยังไม่เข้าใจ คงต้องขอบอกว่า สุดขอบเขตปัญญาของกรัชกายแล้วล่ะ :b13: ทีนี้มีทางเดียว คือ :b21:

มาชวนให้ฟังคำสอน
ไม่ได้ชวนให้ทำบาป
โดยการเอาเงินทอง
ไปถวายพระภิกษุ
พระพุทธเจ้าไม่ได้
อนุญาตให้บวชเข้ามาทำลายคำสอน
รับเงินคือกิจของชาวบ้านเขาใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยน
รู้จักตนเองซิคะยังอยากใช้เงินก็ลาสิกขาออกมาทำงาน
อย่าไปทำลายคำสอนโดยทำตามๆกันอยู่รับเงินถวายเงินนั้นน่ะบาปไม่ใช่บุญ
ยังไม่รู้สึกตัวไม่ละอายแก่ใจและไม่เกรงกลัวต่อบาปอยู่อีกดอกหรือคะอายคนที่เขาเข้าใจคำสอนไหมคะ
กฐินแปลว่าสะดึงขึงผ้า/ผ้าป่าคือผ้าที่เก็บมาจากป่าช้าที่เขาทิ้งแล้วเอามาทำจีวรไม่เกี่ยวกับเงินและทองนะคะ
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พึงสังเกต "บัญญัติ" ไว้ด้วย ยังไงเรียก บัญญัติ


คำศัพท์เหล่านี้ นำไปพูดกันบ่อยๆ พึงทำความเข้าใจให้ขึ้นใจ

บัญญัติ การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การตั้งชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ

สมมติ การรู้ร่วมกัน, การตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน;

สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย ก. นาย ข. พ่อค้า ปลา แมว โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น

สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหรือยอมรับร่วมกันของมนุษย์ เช่น พระราชา เป็นต้น

ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
พึงสังเกต "บัญญัติ" ไว้ด้วย ยังไงเรียก บัญญัติ

ทำถึงขนาดนี้ คุณโรสยังไม่เข้าใจ คงต้องขอบอกว่า สุดขอบเขตปัญญาของกรัชกายแล้วล่ะ :b13: ทีนี้มีทางเดียว คือ :b21:

มาชวนให้ฟังคำสอน
ไม่ได้ชวนให้ทำบาป
โดยการเอาเงินทอง
ไปถวายพระภิกษุ
พระพุทธเจ้าไม่ได้
อนุญาตให้บวชเข้ามาทำลายคำสอน
รับเงินคือกิจของชาวบ้านเขาใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยน
รู้จักตนเองซิคะยังอยากใช้เงินก็ลาสิกขาออกมาทำงาน
อย่าไปทำลายคำสอนโดยทำตามๆกันอยู่รับเงินถวายเงินนั้นน่ะบาปไม่ใช่บุญ
ยังไม่รู้สึกตัวไม่ละอายแก่ใจและไม่เกรงกลัวต่อบาปอยู่อีกดอกหรือคะอายคนที่เขาเข้าใจคำสอนไหมคะ
กฐินแปลว่าสะดึงขึงผ้า/ผ้าป่าคือผ้าที่เก็บมาจากป่าช้าที่เขาทิ้งแล้วเอามาทำจีวรไม่เกี่ยวกับเงินและทองนะคะ
:b32: :b32:

หน้าที่ของพระภิกษุมี2ประการคือ
1คันถธุระ2วิปัสสนา
ขอก็อปมาแปะละเอียดๆนะคะคุณกรัชกาย
ชาวบ้านจะได้รู้ว่าใครทำถูกตามคำสอนได้บ้าง
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2019, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
"สภาวะ" "สภาวธรรม"

รูปภาพ


สภาพ, สภาวะ ความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเอง, ธรรมดา

สภาวธรรม หลักแห่งความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย

สรีระ ร่างกาย

สรีรยนต์ กลไกคือร่างกาย



จิต, จิตต์ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ, ตามหลักอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดาร เป็น ๑๒๑)

วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่น รู้อารมณ์ในเวลา เมื่อ รูป มากระทบ ตา เป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยิน เป็นอาทิ
วิญญาณ ๖ คือ

๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา (เห็น)

๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน)

๓.ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น)

๔.ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส)

๕.กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)

๖.มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)


จิตตสันดาน การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต,

Kiss
๖ข้อมีครบแล้วเดี๋ยวนี้ที่กายของคุณ
ตา. =๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา (เห็น)

หู. =๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน)

จมูก. =๓.ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น)

ลิ้น. =๔.ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส)

กาย. =๕.กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)

ใจ. =๖.มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)

คนไม่ตาย. =จิตตสันดาน การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต

อันที่ไม่มีเดี๋ยวนี้คือปัญญาเริ่มต้นตามลำดับจาก1สุตมยปัญญามันถึงจะเจริญขึ้นถูกตรงตามคำสอน
:b12:
:b4: :b4:


ปัญญาก็เจตสิกซึ่งเป็นคุณสมบัติของจิตนั่นไง

:b12:
ทุกคำพิสูจน์ได้...มีตรงแล้วเดี๋ยวนี้ทุกคำ...และตรงตามพระไตรปิฎกมีตรงเดี๋ยวนี้ทุกคำ
แค่๖ข้อที่คุณเขียนมาก็มีครบแล้วเดี๋ยวนี้ที่กายของคุณ...ปัญญาไม่ใช่จิตเออเนาะ
จิตแค่เป็นประธานเสาธงยืนดูเฉยๆทำอะไรไม่ได้ยืนดูเจตสิกทำงานไปพอทำผิด
จิตตูผิดด้วย555เวลาซื้อล็อตเตอรี่เพราะอยากถูกรางวัลน่ะโลภะ+โมหะมีอวิชชา
แล้วเห็นข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ไหมพระภิกษุถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่1โอ๊ยไม่รู๊ๆๆๆๆ
ในเมื่อตถาคตให้สละเงินทองออกบวชรับเงินผิดที่1ไม่สละแถมเอาไปต่อลาภ555
:b32: :b32: :b32:

ต้องสละก่อนปลงอาบัติค่ะ...อาบัติ แปลว่า ขาดจากการเป็นนักบวชแล้วแค่ห่มผ้าเหมือนมีขายเต็มตลาด
ถูกรางวัลต้องสละเนี่ยไม่สละเก็บไปไว้ทำอะไร บวชฉันจากบิณฑบาต พอยังชีพไม่เก็บสะสมอะไรใช่ไหมคะ
เหยียบย่ำสิกขาบทน้อยใหญ่กันเป็นว่าเล่นคำสอนแทนตถาคต/คิดไหมตายแล้วไปอบายภูมิ/คำสอนตรงจริง
:b8:
ลืมหูลืมตาดูพฤติกรรมต่างๆของคนที่ทำผิดสิคะทำอะไรเอาไว้...ชาวบ้านเขาฟังคำสอนจนตาสว่างกันแระ
:b32: :b32:



คุณโรสรู้อะไรรู้ไม่จริง ไม่มีหลัก รู้ตามๆกันมา แบบเถรส่องบาตร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูต่อที่

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57536

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นการจำแนกขันธ์ ๕ อย่าง โดยแนวพระสูตรแล้ว ต่อไปดูการจำแนกโดยแนวพระอภิธรรมคร่าวๆ

ดังนี้

๑. รูป ตามแนวอภิธรรมแบ่งรูปเป็น ๒๘ อย่าง คือ

๑) มหาภูตรูป ๔ (เรียกง่ายๆว่า ธาตุ ๔) คือ
ปฐวีธาตุ (สภาพที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่)
อาโปธาตุ (สภาพที่ดึงดูดซาบซึม)
เตโชธาตุ (สภาพที่แผ่ความร้อน)
วาโยธาตุ (สภาพที่สั่นไหว)

๒) อุปาทายรูป (รูปอาศัยหรือรูปที่สืบเนื่องมาจากมหาภูตรูป) ๒๔ คือ

ประสาททั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา และกาย)
อารมณ์ ๔ คือ รูป เสียง กลิ่น รส (รูปะ สัททะ คันธะ รสะ, โผฏฐัพพะไม่นับ เพราะตรงกันกับ ปฐวี เตโช และวาโย)
ความเป็นหญิง (อิตถินทรีย์)
ความเป็นชาย (ปุริสินทรีย์)
ที่ตั้งของจิต (หทัยวัตถุ)
การแสดงให้รู้ความหมายด้วยกาย (กายวิญญัติ)
การแสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจา (วจีวิญญัติ)
ชีวิตินทรีย์
ช่องว่าง (อากาศ)
ความเบาของรูป (รูปสฺส ลหุตา)
ความอ่อนหยุ่นของรูป (รูปสฺส มุทุตา)
ภาวะที่ควรแก่การงานของรูป (รูปสฺส กมฺมญฺญตา)
ความเจริญหรือขยายตัวขอบรูป (รูปสฺส อุปจย)
การสืบต่อของรูป (รูปสฺส สนฺตติ)
ความเสื่อมตัว (ชรตา)
ความสลายตัว (อนิจฺจตา) และ
อาหาร (หมายถึงโอชา)
พึงสังเกตว่า คำว่า “หทัยวัตถุ” ซึ่งแปลกันว่าหัวใจ และถือว่าเป็นที่ทำงานของจิตนั้น เป็นมติในคัมภีร์รุ่นหลัง ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรความหมาย ชีวิตินทรีย์ ข้างบน

อายุ สภาวธรรมที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่หรือเป็นไป, พลังที่หล่อเลี้ยงดำรงรักษาชีวิต, พลังชีวิต, ความสามารถของชีวิตที่จะดำรงอยู่และดำเนินต่อไป, ตามปกติท่านอธิบายว่า “อายุ” ก็คือ ชีวิตินทรีย์ นั่นเอง, ช่วงเวลาที่ชีวิตจะเป็นอยู่ได้ หรือได้เป็นอยู่, ในภาษาไทย อายุ มีความหมายเพี้ยนไปในทางที่ไม่น่าพอใจ เช่น กลายเป็นความผ่านล่วงไปหรือความลดถอยของชีวิต

ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมด้วย) ดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว เป็นต้น มี ๒ ฝ่ายคือ
๑. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นชีวิตรูป เป็นอุปาทายรูปอย่างหนึ่ง เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงเหล่ากรรมชรูป (รูปที่เกิดแต่กรรม) บางทีเรียกว่า รูปชีวิตินทรีย์
๒. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก อย่างหนึ่ง เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลาย บางทีเรียกอรูปชีวิตินทรีย์ หรือนามชีวิตินทรีย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. เวทนา แบ่งเป็น ๓ คือ
สุข (ทางกายหรือทางใจก็ตาม)
ทุกข์ (ทางกายหรือทางใจก็ตาม)
อทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข คือ เฉยๆ บางทีเรียกว่า อุเบกขา)
อีกอย่างหนึ่ง แบ่งเป็น ๕ คือ สุข (ทางกาย) ทุกข์ (ทางกาย) โสมนัส (ดีใจ) โทมนัส (เสียใจ) อุเบกขา (เฉยๆ)
แบ่งตามทางที่เกิดเป็น ๖ คือ เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจักขุ ทางโสตะ ทางฆานะ ทางชีวหา ทางกาย และทางมโน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. สัญญา แบ่งเป็น ๖ ตามทางแห่งการรับรู้ คือ

๑) รูปสัญญา ความหมายรู้รูป เช่นว่า ดำ แดง เขียว ขาว เป็นต้น

๒) สัททสัญญา ความหมายรู้เสียง เช่นว่า ดัง เบา ทุ้ม แหลม เป็นต้น

๓) คันธสัญญา ความหมายรู้กลิ่น เช่นว่า หอม เหม็น เป็นต้น

๔) รสสัญญา ความหมายรู้รส เช่นว่า หวาน เปรี้ยว ขม เค็ม เป็นต้น

๕) โผฏฐัพพสัญญา ความหมายรู้สัมผัสทางกาย เช่นว่า อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด ร้อน เย็น เป็นต้น

๖) ธัมมสัญญา ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ เช่นว่า งาม น่าเกลียด เที่ยง ไม่เที่ยง เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. สังขาร ตามหลักอภิธรรม แบ่งเจตสิกเป็น ๕๒ อย่าง

ถ้าเทียบกับการแบ่งแบบขันธ์ ๕ เจตสิกก็ได้แก่ เวทนา สัญญา และสังขารทั้งหมด คือ ในจำนวนเจตสิก ๕๒ นั้น เป็นเวทนา ๑ เป็นสัญญา ๑ ทีเหลืออีก ๕๐ อย่าง เป็นสังขารทั้งสิ้น

สังขารขันธ์ จึงเท่ากับเจตสิก ๕๐ อย่าง ซึ่งแยกย่อยได้ ดังนี้

๑) อัญญสมานเจตสิก (เจตสิกที่เข้าได้ทั้งฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว) ๑๑ (นับครบมี ๑๓ เพราะเวทนา และสัญญาเป็นเจตสิกหมวดนี้ แต่ไม่เป็นสังขาร จึงตัดออกไป ) คือ

(๑) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง) ๕ คือ ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา (สมาธิ) ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (จำนวนเดิม มี ๗ ทั้งเวทนา กับ สัญญา)

(๒) ปกิณณกเจตสิก (เกิดกับจิตได้ทั่วๆไป ทั้งดีฝ่ายชั่ว แต่ไม่ตายตัว) ๖ คือ วิตก วิจาร อธิโมกข์ (ความปักใจ) วิริยะ ปีติ ฉันทะ

๒) อกุศลเจตสิก (เจตสิกที่เป็นอกุศล) ๑๔ คือ

(๑) อกุศลสาธารณเจตสิก (เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลทุกดวง) ๔ คือ โลภะ อหิริกะ อโนตตัปปะ และอุทธัจจะ

(๒) ปกิณณกอกุุศลเจตสิก (เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลแต่ไม่ตายตัวทุกครั้ง) ๑๐ คือ โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ถีนะ มิทธะ และวิจิกิจฉา

๓) โสภณเจตสิก (เจตสิกดีงาม คือ เกิดกับจิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤต) มี ๒๕ คือ

(๑) โสภณสาธารณเจตสิก (เกิดกับจิตดีงามทุกดวง) ๑๙ คือ

ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ (= เมตตา) ตัตรมัชฌัตตตา (บางทีเรียกอุเบกขา) กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งแห่งนามกาย คือ กองเจตสิก) จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งนามกาย คือกองเจตสิก) จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งนามกาย คือ กองเจตสิก) จิตตุชุกตา

(๒) ปกิณณกโสภณเจตสิก (เกิดกับจิตฝ่ายดีงาม แต่ไม่ตายตัวทุกครั้ง) ๖ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ (รวมเรียก วิรตีเจตสิก ๓) กรุณา มุทิตา (เรียกรวมกันว่า อัปปมัญญาเจตสิก ๒) และ ปัญญา

ในพระสูตร (เช่น สํ.ข.17/116/74) ตามปกติ ท่านแสดงความหมายของสังขารว่า ได้แก่ เจตนา ๖ หมวด คือ
รูปสัญเจตนา
สัททสัญเจตนา
คันธสัญเจตนา
รสสัญเจตนา
โผฏฐัพพสัญเจตนา และ
ธรรมสัญเจตนา และว่า เจตจำนงหรือความคิดปรุงแต่ง เกี่ยวกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. วิญญาณ แบ่งตามทางที่เกิดเป็น ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ (แปลตามแบบว่า ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ)

ตามแนวอภิธรรม เรียกวิญญาณขันธ์ทั้งหมดว่า "จิต" และจำแนกจิตออกไปเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง คือ

ก. จำนวนตามภูมิ หรือระดับของจิต เป็นกามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจร ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๓ โลกุตรจิต ๘ (แยกพิสดารเป็น ๔๐)

ข. จำแนกโดยคุณสมบัติเป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิบากจิต ๓๖ (พิสดารเป็น ๕๒) กิริยาจิต ๒๐ ในที่นี้ จะไม่แสดงรายละเอียดชื่อของจิตแต่ละอย่าง ๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 35 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร