วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




sangyoch.jpg
sangyoch.jpg [ 51.5 KiB | เปิดดู 1037 ครั้ง ]
สังโยชน์เป็นไฉน?

สังโยชน์ ได้แก่กิเลสที่ประกอบ คือผูกสัตว์ให้ติดอยู่กับวัฏฏทุกข์ โดยถูกตาให้ติดกับรูป หูให้ติดกับเสียง เป็นต้น คำว่า “ให้ติด” มีความหมายว่า ให้ข้อง ให้พะวง ให้ถือเอาเป็นสาระ เป็นเหมือนว่าจะจากกันไปไม่ได้ ระหว่างของ 2 อย่าง มีตากับรูป เป็นต้นนั่นเอง
เหมือนอย่างคำอุปมาที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะท่านพระมหาโกฏฐิกะในสังยุตตนิกาย สฬายนวรรค ว่า ระหว่างโค 2 ตัว คือ โคดำ และโคขาว โคแต่ละตัวถูกผูกด้วยปลายเชือกแต่ละข้างของเชือกเส้นเดียวกัน การที่จะกล่าวว่า โคดำเป็นผู้ผูกโคขาวไว้ หรือโคขาวเป็นผู้ผูกโคดำไว้ ย่อมไม่ควร แต่ควรกล่าวว่า เชือกนั่นแหละผูกโคทั้งสองเข้าด้วยกัน อุปมานี้เป็นฉันใด เมื่อตากระทบรูป คือมีการเห็นรูปทางตา เป็นต้น การที่จะกล่าวว่า ตาเป็นเครื่องผูกรูป หรือรูปเป็นเครื่องผูกตา เป็นต้น ย่อมไม่ควรฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว แม้แต่พระอรหันต์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เมื่อยังไม่ปรินิพพาน ก็ยังมีตามีหู ตาหูยังไม่บอดไม่หนวก ยังมีการเห็นรูปทางตาได้ยินเสียงทางหูเป็นต้นอยู่ ก็จะเป็นผู้ที่ยังละสังโยชน์ทั้งหลายไม่ได้ แต่เมื่อความจริงท่านเป็นผู้ละได้แล้ว ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น มีตาคู่กับรูป หูคู่กับเสียง เป็นต้น จึงไม่ใช่สังโยชน์ คือ เครื่องผูกซึ่งกันและกัน ก็แต่ว่ากิเลส มีฉันทราคะ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นในเวลาตากระทบรูปเป็นต้นต่างหากเล่าที่ควรกล่าวว่าเป็นเครื่องผูกตาและรูป เป็นต้น เข้าด้วยกันนั่นแล

กิเลสที่เกิดขึ้นในเวลามีการเห็นรูปทางตา เป็นต้น เปรียบได้กับเชือก อายตนะทั้งหลายมีตากับรูปเป็นต้น เปรียบได้กับโคดำและโคขาว เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หลุดพ้นไปจากวัฏฏทุกข์ไม่ได้

ก็กิเลสประเภทที่ทำหน้าที่เป็นสังโยชน์นี้ท่านกล่าวไว้ มี 10 อย่างคือ

1.สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่า กาย(ทั้งนามกายและรูปกาย คือ ขันธ์ 5) ซึ่งมีอยู่ว่าเป็นเรา ว่าของเรา
2.วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย กล่าวคือ สงสัยใน พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นต้น หรือสงสัยในขันธ์ส่วนอดีต เป็นต้น
3.สีลัพพัตตปรามาส คือ ความเห็นผิดที่ลูบคลำ หรือยึดมั่นในศีลและข้อวัตรปฏิบัติต่างๆที่นอกไปจากมรรคปฏิปทา ว่าเป็นทางให้ถึงพระนิพพานได้
4.กามราคะ คือ ความกำหนัดยินดีในกามคุณต่างๆ
5.ปฏิฆะ คือ ความขัดเคืองใจ
6.รูปราคะ คือ ความกำหนัดยินดีในรูปฌาน หรือในรูปภพที่จะพึงเข้าถึงได้ ด้วยรูปฌานนั้นๆ
7.อรูปราคะ คือ ความกำหนัดยินดีในอรูปฌาน หรือในอรูปภพที่จะพึงเข้าถึงได้ ด้วยอรูปฌานนั้นๆ
8.มานะ คือ ความถือตัว กล่าวคือ ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา เป็นต้น
9.อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน กล่าวคือ ความที่จิตซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ ไม่สงบตั้งมั่นลงได้
10.อวิชชา คือ ความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้อริยสัจจ์ 4 มีทุกข์ เป็นต้น

(วิสุทธิมรรค ปฏิสัมภิทามรรค มหาฎีกา นิสสยอักษรปัลลวะ อักษรสิงหล อักษรขอม อักษรมอญ อักษรพม่า อักษรธรรมล้านช้าง อักษรธรรมล้านนา และอักษรโรมัน)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2021, 21:18 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron